กรุณารอสักครู่

 

HomeBlog

นายจ้างไม่อนุมัติให้ลากิจ จะมีความผิดตามกฎหมายหรือไม่?

นายจ้างไม่อนุมัติให้ลากิจ จะมีความผิดตามกฎหมายหรือไม่? การลากิจ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ม.34 กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลากิจธุระจำเป็นได้ 3 วัน โดยนายจ้างต้องจ่ายเงินค่าจ้างในวันลากิจปีหนึ่งไม่เกิน 3 วัน ทั้งนี้ ตาม.57/1 1.หากนายจ้างไม่อนุมัติให้ลากิจ จะมีความผิดตามกฎหมายหรือไม่? การที่นายจ้างไม่อนุมัติให้ลากิจ นายจ้างไม่มีความผิดตามกฎหมายแต่จะมีความผิดเฉพาะกรณีที่ลูกจ้างลากิจแล้วนายจ้างไม่จ่ายเงินค่าจ้างระหว่างลา เท่านั้น ม.144 (1) ซึ่งตามกฎหมายลูกจ้างมีสิทธิยื่นขอลากิจได้ (ลากิจ คือ กิจธุระที่ลูกจ้างต้องดำเนินการเอง เช่น ทำบัตรประชาชน ทำใบขับขี่ ที่ลูกจ้างไม่สามารถมอบหมายให้คนอื่นไปดำเนินการแทนได้) แต่อำนาจในการอนุมัติ เป็นอำนาจของนายจ้าง ซึ่งระเบียบ ขั้นตอน การอนุมัติ เป็นอย่างไร ก็ต้องบังคับไปตามระเบียบ ข้อบังคับของแต่ละบริษัทนั้น ๆ หากลูกจ้างมีเหตุลากิจ ตามหลักเกณฑ์ของบริษัทกำหนด เช่น ระเบียบกำหนดว่า “ลูกจ้างมีสิทธิลากิจธุระอันจำเป็นได้ในกรณีต่อไปนี้ 1.ลากิจธุระเพื่อไปจัดทำบัตรประชาชน 2.ลากิจธุระเพื่อไปจัดทำใบอนุญาตขับขี่รถยนต์/รถจักรยานยนต์ ฯลฯ” ก็มีสิทธิลาได้ นายจ้างจะไม่อนุมัติไม่ได้ 2.หากลูกจ้างมีสิทธิลากิจตามระเบียบ ข้อบังคับ แล้วลูกจ้างมีสิทธิทำอย่างไรได้บ้าง? ลูกจ้างมีสิทธิยื่นคำฟ้องคดีต่อศาลแรงงานเพื่อให้นายจ้างอนุมัติตามระเบีบบฯ หรือ ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานเพื่อมีคำสั่งให้นายจ้างปฏิบัติให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน...

ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ คำสั่งนายจ้าง ที่นายจ้างได้เปรียบลูกจ้างเกินสมควร ศาลแรงงานมีอำนาจสั่งให้มีผลใช้บังคับได้เท่าที่เป็นธรรม

“ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ คำสั่งนายจ้าง ที่นายจ้างได้เปรียบลูกจ้างเกินสมควร ศาลแรงงานมีอำนาจสั่งให้มีผลใช้บังคับได้เท่าที่เป็นธรรม” วันนี้ยาวหน่อย แต่อยากให้อ่าน เพราะหลายคนั้งนายจ้างแพ้ตั้งแต่เริ่ม เพราะคิดว่าอะไรที่นายจ้างสั่ง นายจ้างร่าง ลูกจ้างเซ็น และนายจ้างประกาศถือว่าเป็นอันใช้ได้…ถ้ายังเข้าใจแบบนั้นอยู่ เกียวตัวสู่ขิต แพ้คดีในชั้นศาลได้เลย เพราะ.. การทำสัญญาจ้างแรงงาน คู่สัญญาอาจตกลงสัญญาจ้างอย่างไรก็ได้ ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของนายจ้างและลูกจ้างเป็นสำคัญก็จริง แต่ข้อตกลงนั้นต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย ไม่เอาเปรียบลูกจ้างเกินสมควร และกรณีหากนายจ้างกำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ คำสั่ง ที่นายจ้างได้เปรียบลูกจ้างเกินสมควร แบบนี้ลูกจ้างจะมีสิทธิทำอย่างไรได้บ้าง เชิญอ่าน… 1. ลูกจ้างมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลแรงงาน หากศาลเห็นว่า สัญญาจ้าง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งนั้น นายจ้างได้เปรียบลูกจ้างเกินสมควร ศาลมีอำนาจสั่งให้สัญญาจ้างข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งนั้นมีผลใช้ปังคับเพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ม.14/1 2.มีคำพิพากษาฎีกาทีน่าสนใจ ดังนี้ ฏ.7810/2560 ข้อตกลงอันเป็นลักษณะข้อห้ามของโจทก์ผู้เป็นนายจ้างก็เพื่อปกป้องข้อมูลความลับและธุรกิจการค้าของโจทก์ให้อยู่รอดตำเนินการต่อไปได้ มุ่งเฉพาะสั่งที่เป็นการแข่งชันในการประกอบธุรกิจการค้าในลักษณะประเภทเดียวกับโจทก์และมีกำหนดระยะเวลา มิใช่ห้ามตลอดไป เป็นข้อตกลงหรือสัญญาที่กระทำได้โดยชอบ แต่จำเลย (ลูกจ้าง) มีตำแหน่งเพียงเจ้าหน้าที่ฝ่ายขาย ได้รับค่าจ้างเตือนละ 13,000 บาท...

การเตือนที่ไม่ได้เตือน!! ตัวอย่างหนังสือเตือนที่ไม่มีผลทางกฎหมาย

การเตือนที่ไม่ได้เตือน!! ตัวอย่างหนังสือเตือนที่ไม่มีผลทางกฎหมาย อ่าหัวข้อชื่อวันนี้อาจจะนึกถึงเพลงของ Getsunova ซึ่งมันดูย้อนแย้งกันเองมากสำหรับหัวข้อการเตือนที่ไม่ได้เตือน!! หลายกรณีมากที่ลูกจ้างทำผิดแต่นายจ้างเองไม่มีความเข้าใจในเรื่องการออกหนังสือเตือน เขียนไปอย่างนั้นแหละนานนานออกทีมีผลทางกฎหมายหรือเปล่าไม่รู้ไม่แน่ใจแล้วก็ไม่ได้อยากหาความรู้อะไรเพิ่มเติมด้วยเพราะคิดว่ามันเป็นอำนาจของนายจ้างเตือนแล้วก็เอาออกได้หมดโดยไม่ต้องจ่ายชดเชย กรณีนี้นายจ้างพลาดท่ามานักต่อนักแล้ว เพราะแม้ลูกจ้างจะมีความผิดจริงแต่การเตือนของนายจ้างไม่ได้ครบถ้วนเข้าลักษณะหนังสือเตือน นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย!! มาลองดูฎีกาที่ 694 / 2562 เรื่องนี้เป็นการเตือนที่นายจ้างเตือนโดยระบุเฉพาะข้อเท็จจริงว่าลูกจ้างลาและหยุดงานเป็นจำนวนมากละทิ้งหน้าที่เกลียดค้านไม่ทำงานแต่ในหนังสือดังกล่าวกลับไม่ปรากฏข้อความเตือนในการห้ามทำความผิดซ้ำอีกจึงเป็นเพียงหนังสือแจ้งการกระทำผิดให้ทราบเท่านั้นไม่เข้าลักษณะหนังสือเตือนการเลิกจ้างนายจ้างยังต้องจ่ายค่าชดเชยอยู่ ในกรณีนี้ต้องเรียกได้ว่าตายน้ำตื้นแท้แท้ เพราะลูกจ้างผิดจริงแต่ในหนังสือดังกล่าวไม่ได้มีข้อความเป็นการเตือนเป็นแค่แจ้งการกระทำผิดให้ทราบเท่านั้นไม่เข้าลักษณะหนังสือเตือนตามกฎหมายการนำเพจดังกล่าวมาเลิกจ้างจึงจะยกมาเป็นเหตุไม่จ่ายค่าชดเชยไม่ได้ เอาจริงๆหนังสือเตือนไม่ได้ยากมากเลยนะใส่ใจซะหน่อย จะได้ไม่ต้องคิดว่ากฎหมายไม่ช่วยนายจ้าง นายจ้างเองก็ต้องเรียนรู้นะคะลูกจ้างเดี๋ยวนี้เค้ารู้กันไปถึงไหนตอนไหนแล้ว ส่วนใครที่ต้องการที่ปรึกษางานคดีความหรือหรือบรรยายสามารถติดต่อมาได้ทาง inbox หมือนเดิมนะ #คลินิกกฎหมายแรงงาน #กฎหมายแรงงาน #ใบเตือน # หนังสือเตือน

ข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยกรณีเลิกจ้าง

ข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยกรณีเลิกจ้าง อย่างที่นายจ้างทุกคนทราบว่าข้อยกเว้นนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยในกรณีเลิกจ้างจะถูกกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 มาตรา 119 โดยมีด้วยกันทั้งหมด 6 วงเล็บ แต่สำหรับโพสต์นี้คงว่ากล่าวหกวงเล็บซ้ำอีกแต่จะมาว่ากล่าวกันเรื่องข้อสังเกตว่าถ้านายจ้างต้องการที่จะเลิกจ้างโดยใช้มาตราดังกล่าวนายจ้างต้องทำยังไงบ้าง 1. นายจ้างจะไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างนายจ้างต้องระบุข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุเลิกจ้างไว้ในหนังสือบอกเลิกจ้าง มิเช่นนั้นนายจ้างจะยกเหตุนั้นมาอ้างภายหลังไม่ได้ 2. เมื่อมีเหตุการณ์ตามมาตรา 119 เกิดเกิดขึ้นแล้วนายจ้างต้องรีบเลิกจ้างลูกจ้างมิเช่นนั้นศาลอาจจะพิจารณาได้ว่านายจ้างไม่ติดใจเอาความจากลูกจ้างแล้วหรือให้อภัยลูกจ้างในความผิดนั้นแล้ว 3. การทุจริตต่อหน้าที่คือการแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับลูกจ้างเองหรือผู้อื่นทั้งนี้หากลูกจ้างอาศัยโอกาสในการปฏิบัติหน้าที่เป็นช่องทางในการแสวงหาประโยชน์หรือเป็นช่องทางในการรับประโยชน์หรือทำให้นายจ้างต้องเสียหายจากการแสวงหาประโยชน์หรือได้รับประโยชน์นั้นด้วยนายจ้างจะเลิกจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยก็ได้ 4. การกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างหมายถึงลูกจ้างได้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาหรือกฎหมายอื่นที่มีโทษทางอาญาโดยตั้งใจจะกระทำต่อบุคตัวนายจ้างหรือบุคคลที่ถือว่าเป็นนายจ้างหรือต่อกิจการของนายจ้าง โดยไม่ว่าลูกจ้างจะได้กระทำการเองหรือในฐานะผู้สนับสนุนก็ตาม 5. จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายหมายถึงการกระทำที่ลูกจ้างจงใจที่จะให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง ข้อสังเกตของข้อนี้คือไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นตามความประสงค์ของลูกจ้างแล้วหรือไม่ก็ก็ตามหรือเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใดหากพิสูจน์ได้ว่าจงใจทำให้เกิดความเสียหายก็สามารถเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายชดเชย 6. การเลือกตั้งโดยอ้างเหตุประมาทเลินเล่อให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงนั้น นายจ้างจะต้องพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายที่นายจ้างได้รับคือความเสียหายอย่างร้ายแรงไม่ว่าจะเป็นด้านตัวเงินที่เสียหายเป็นจำนวนมากหรือชื่อเสียง ซึ่งต้องนำสืบได้ว่าลูกจ้างประมาทเลินเล่อไม่ใช้ความระมัดระวังตามปกติวิสัย เขียนมาหลายโพสต์ก็หาว่าเข้าข้างแต่ลูกจ้างนายจ้างเองอ่านโพสต์แบบนี้แล้วไปปรับดูบ้างนะคะ จริงๆโพสต์ไหนที่เขียนไว้เรื่องของลูกจ้างหากมองในมุมกลับกันโดยปราศจากอคตินายจ้างเองก็ได้รู้ว่าตัวเองมีหน้าที่อย่างไร แล้วลองเอาไปปรับดูนะคะ แต่ถ้าไม่มีเวลาไม่เข้าใจอยากจะย่อระยะเวลาในการทำความเข้าใจลงจ้างได้นะคะช่วงนี้ยังว่าง 😊🙏

ลูกจ้างรับทำงานนอกในเวลาบริษัท แม้ใช้เวลาไม่มากก็เป็นกรณีร้ายแรงเลิกจ้างไม่ต้องจ่ายชดเชย

ลูกจ้างรับทำงานนอกในเวลาบริษัท แม้ใช้เวลาไม่มากก็เป็นกรณีร้ายแรงเลิกจ้างไม่ต้องจ่ายชดเชย เชื่อว่าหลายบริษัทเคยเจอแบบนี้ที่รับทราบว่าลูกจ้างทำงานนอก ในเวลาทำงานและเมื่อเรียกมาสอบถามลูกจ้างก็บอกว่าใช้เวลาไม่มาก ไม่ได้รบกวนบริษัทถึงขั้นนั้นซะหน่อย นายจ้างก็เลยไม่แน่ใจว่าจะลงโทษได้หรือเปล่า ดังนั้น ฎีกานี้เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับการลุกลูกจ้างใช้เวลาเวลางานของบริษัทในการรับงานนอก และนายจ้างสามารถเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ฎีกานี้ปรากฏว่าโจทก์รับเป็นพนักงานทวงหนี้ให้บริษัทอื่นด้วยในการทวงหนี้แต่ละครั้งใช้เวลาในการทำงานไม่มากเพียงไม่กี่วินาทีและ มากสุดก็ไม่เกิน 1 นาทีเท่านั้นแต่ในคดีนี้ศาลเห็นว่าแม้การกระทำของโจทก์โจทก์แต่ในแต่ละครั้งช่วงเวลาจะใช้เวลา ไม่มากนักแต่ย่อมมีผลกระทบกระเทือนต่อกิจการของ บริษัทนำซ้ำยังเป็นการเบียดบังเวลาที่จะต้องทำงานให้กับบริษัทถือว่าเป็นกรณีกรณีร้ายแรงตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 ตามมาตรา 119 (4) วรรค 1 ข้อสังเกต : ลองดูดีๆ นะคะฎีกานี้ บริษัทกำหนดไว้ในข้อบังคับด้วยว่าห้ามไม่ให้พนักงานใช้เวลาเพื่อธุรกิจส่วนตัวในเวลาปฏิบัติงานรวมถึงห้ามรับจ้างทำงานกับผู้อื่นหรือดำเนินธุรกิจใดใดอันอาจกระทบกระเทือนเวลาทำงานหรือกิจการของบริษัท ดังนั้นนายจ้างรายไหนที่เห็นพ้องด้วยกับฎีกานี้ในการนำมาควบคุมลูกจ้างก็ต้องมีเงื่อนไขนี้มีข้อบังคับด้วยนะ และเช่นเคยถ้าขี้เกียจดูขี้เกียจอ่านเองไม่มีเวลาจะจ้างก็ฃ inbox มาได้นะ ส่วน inbox มาให้ตรวจฟรี ทางเรายังไม่มีบริการเช่นว่านะคะขอทำงานหาตังค์ค่าไฟค่าผ่อนบ้านก่อนค่ะ 🥲🥲 #คลินิกกฎหมายแรงงาน #กฎหมายแรงงาน #ค่าจ้าง #ค่าแรง #ค่าทำงาน

ข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินทดแทน

ข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินทดแทน คราวก่อนว่ากันไปแล้วถึงผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับเงินทดแทนกรณีที่ลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย วันนี้เรามาดูข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินทดแทนให้บ้างดีกว่า ตามพระราชบัญญัติเงินทดแทนพ.ศ. 2537 มาตรา 22 บัญญัติว่านายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินทดแทนในการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยของลูกจ้างเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ 1. ลูกจ้างเสพของมึนเมาหรือสิ่งเสพติดอื่นจนไม่สามารถครองสติได้ 2. ลูกจ้างจงใจให้ตนเองประสบอันตรายหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนเองประสบอันตราย ข้อสังเกต : 1. ถ้าลูกจ้างเสพของมึนเมาหรือสิ่งเสพติดอื่นจนไม่สามารถครองสติได้หรือลูกจ้างจงใจให้ตนเองประสบอันตรายหรือยินยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนเองตนเองประสบอันตรายนายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยให้แก่ลูกจ้างและลูกจ้างไม่มีสิทธิ์ที่จะรับเงินทดแทนดังกล่าว 2. แม้ว่าลูกจ้างจะทำงานด้วยความประมาทเลอรเลอร์อย่างร้ายแรงหรือฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งของนายจ้างถ้าลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยนายจ้างยังต้องจ่ายค่าทดแทน (คำว่าเสพ หมายถึงการนำเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะด้วยการดื่มรับประทานดมฉีดหรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้ของมึนเมาหรือสิ่งเสพติดเข้าสู่ร่างกาย) นายจ้างก็ลองดูข้อยกเว้นเหล่านี้ไว้นะคะไม่ได้จะเป็นเรื่องของการให้ปฏิเสธการรับผิดแต่ในทางปฏิบัติผู้ที่ทำก็ย่อมต้องได้รับผลที่ทำนายจ้างเองก็ต้องจัดสถานที่ทำงานให้เป็นไปตามกฏหมายไม่ให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจากการทำงานจัดให้มีการป้องกันและให้มีความปลอดภัยในแบบต่างๆส่วนตัวลูกจ้างเองก็มีหน้าที่ที่ต้องดูแลตัวเองด้วยนะ อันนี้เตือนเพราะรักทักเพราะห่วง และถ้าบทความนี้เป็นประโยชน์อย่าลืมกดไลท์กดแชร์ให้นะ #คลินิกกฎหมายแรงงาน #กฎหมายแรงงาน #ค่าชดเชย #เงินทดแทน

ผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับเงินทดแทนกรณีกรณีลูกจ้างตายหรือสูญหายได้แก่ใครบ้าง??

ผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับเงินทดแทนกรณีกรณีลูกจ้างตายหรือสูญหายได้แก่ใครบ้าง?? ตามพระราชบัญญัติเงินทดแทนพ.ศ. 2537 มาตรา 20 บัญญัติว่าเมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยถึงแก่ความตายหรือสูญหายให้บุคคลดังต่อไปนี้มีสิทธิ์ได้รับเงินทดแทนจากนายจ้าง 1 บิดามารดา 2. สามีภรรยา 3. บุตรที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีให้มีสิทธิ์ได้รับเงินทดแทนต่อไปจนกว่าจะจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี 4. บุตรที่มีมีอายุ 18 ปีขึ้นไปอยู่ระหว่างการศึกษาระดับไม่สูงกว่าปริญญาตรีให้มีสิทธิ์ได้รับเงินทดแทนจนกว่าจะจบการศึกษาระดับปริญญาตรี 5. บุตรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีและทุพพลภาพหรือจิตฟันเฝื่อนไม่สมประกอบซึ่งอยู่ในอุปการะของลูกจ้างก่อนลูกจ้างถึงแก่ความตายหรือสูญหาย ให้บุตรลูกจ้างซึ่งเกิดภายใน 310 วันนับแต่วันที่ลูกจ้างถึงแก่ความตายหรือวันที่เกิดสูญหายมีสิทธิ์ได้รับเงินทดแทนนับตั้งแต่วันคลอด ในกรณีที่ไม่มีผู้มีสิทธิ์ได้รับตามวรรคข้างต้นให้นายจ้างจ่ายเงินทดแทนให้แก่ผู้อยู่ในอุปการะของลูกจ้างก่อนลูกจ้างถึงแก่ความตายหรือสูญหายแต่ผู้อุปการะดังกล่าวจะต้อง ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจะต้องได้รับความเดือดร้อนเพราะขาดการอุปการะจากการที่ลูกจ้างตายหรือสูญหายด้วย ข้อสังเกตกรณีกรณีที่จะบอกว่าเป็นผู้ขาดไร้อุปการะตามวรรคท้ายของมาตรานี้ต้องปรากฏว่าต้องเป็นผู้อยู่ในอุปการะโดยแท้จริง ยกตัวอย่างฎีกาที่ 3922 / 2546 ลูกจ้างเคยให้เงินกับพี่สาวบางเดือนให้บ้างไม่ได้ให้บ้างเดือนละ 1000 กว่าบาทอันนี้ไม่ถือว่าอยู่ในอุปการะเป็นเพียงแค่ให้พี่สาวได้รับความสะดวกสบายในชีวิตครอบครัวเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น เพราะแม้ไม่ได้รับเงินจากลูกจ้างผู้ตายในบางเดือนพี่สาวก็ไม่ได้ถึงขั้นขาดไร้อุปการะ เป็นต้น วันไหนว่างว่างเดี๋ยวจะเขียนข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินทดแทนให้ฟังนะ แต่ถ้าโพนี่เป็นความรู้และได้ประโยชน์ก็อย่าลืมกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะ #มนุษย์เงินเดือน #พนักงานบริษัท #ออฟฟิศ #hr

ตบกันนอกบริษัท ไม่ได้ใส่เครื่องแบบพนักงาน เลิกจ้างยังต้องจ่ายค่าชดเชย

ตบกันนอกบริษัท ไม่ได้ใส่เครื่องแบบพนักงาน เลิกจ้างยังต้องจ่ายค่าชดเชย ฎีกา ที่กำลังจะหยิบยกขึ้นมามาเล่าต่อนี้เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่จะทำให้เห็นว่าการระบุไว้ในข้อบังคับไม่ได้ใช้ทุกอย่าง ต้องดูพิจารณาเป็นรายกรณีกรณีไปว่ากระทบกระเทือนทำให้บริษัทเสียหายมากน้อยเพียงใด ฎีกาที่ 2430 / 2557 ลูกจ้างผู้หญิงสองคนทะเลาะวิวาทตบตีกันนอกสถานที่ทำงานบาดเจ็บเล็กน้อยแต่ลูกจ้างก็ใส่เครื่องแบบของพนักงานแม้จะปรากฏว่าบริษัทจะมีในข้อบังคับระบุว่าพนักงานต้องมีความประพฤติสุภาพเรียบร้อยไม่ทะเลาะวิวาทหรือทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกันไม่ว่าจะในเวลาทำงานหรือนอกเวลาทำงานหรือระหว่างยังสวมเครื่องแบบพนักงานระเบียบดังกล่าวมุ่งเน้นห้ามไม่ให้เกิดเกิดขึ้นในบริเวณบริษัทหรือหากไม่ใช่บริเวณบริษัทก็ต้องไม่อยู่ในระหว่างที่สวมใส่เครื่องแบบพนักงานดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงพบว่ามีการด่าทอและทำร้ายร่างกายการเกิดขึ้นหลังเลิกงานนอกบริษัทและพนักงานยังไม่ได้สวมเครื่องแบบพนักงานอีกด้วย การที่พนักงานทะเลาะวิวาทกันดังกล่าวจึงไม่ใช่เหตุร้ายแรงที่นายจ้างจะหยิบยกมาเป็นเรื่องเลิกจ้างได้หากนายจ้างจะเลิกจ้างนายจ้างยังต้องจ่ายค่าชดเชย ถ้าพี่ค่าดังกล่าวเราคงเห็นแล้วว่าข้อบังคับหากจะให้ใช้บังคับได้จริงก็ต้องดูถึงเจตนารมย์และการตีความก็ต้องเป็นไปอย่างตรงไปตรงมาไม่มาขยายความเอาเองก็จะเป็นประโยชน์แก่ตัวผู้ออกกฎนั้นมาบังคับและเป็นประโยชน์ต่อผู้ใต้บังคับบัญชาด้วย ส่วนใครที่ไม่แน่ใจว่าข้อบังคับไหนควรจะเป็นยังไงก็อย่าลืมนะคะงานจ้างยังว่างว่างว่าจ้างกันเข้ามาได้ 😆😆 และเช่นเคยสำหรับใครที่ไม่อยากจดจำ ไม่มีเวลาหาข้อมูล แต่มีคำถามในทางปฏิบัติมากมาย อยากหาทนายเคียงข้างธุรกิจ เป็นเพื่อนคู่คิดหรือเป็นมิตรคู่กาย ในการให้คำปรึกษาด้านกฎหมายสักคน สามารถติดต่อมาได้ inbox เพจนะคะ #มนุษย์เงินเดือน #พนักงานบริษัท #ออฟฟิศ #hr

ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่บ่อยครั้งแต่นายจ้างเตือนด้วยวาจาไม่เคยออกหนังสือ เลิกจ้างจึงต้องจ่ายชดเชย

ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่บ่อยครั้งแต่นายจ้างเตือนด้วยวาจาไม่เคยออกหนังสือ เลิกจ้างจึงต้องจ่ายชดเชย อันนี้คือพูดเป็นรอบที่100 และถ้าอ่านโอเพ่นแชทที่พี่ต้องได้อธิบายก็จะพบว่าเป็นรอบที่ 200 ว่าการเตือนด้วยคำพูดมันก็เป็นเพียงการบ่นเท่านั้น การที่ จะให้มีผลตามกฎหมายก็เตือนเป็นลายลักษณ์อักษร มาดูตัวอย่างคดี ฎีกาที่ 21588 / 2557 ที่ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่บ่อยครั้งแต่นายจ้างก็ตักเตือนด้วยวาจาไม่เคยจะตักเตือนเป็นหนังสือเลย เพราะคิดว่าอยู่กันแบบพี่น้อง เพราะถึงเวลากับพี่น้องคนเดิมนี่แหละ อยากจะเลิกจ้างก็เลิกจ้างเลย กรณีนี้ศาลบอกไว้ว่าแม้ลูกจ้างจะทำผิดจริงแต่นายจ้างไม่เคยเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรเลยนายจ้างยังต้องจ่ายค่าชดเชยอยู่ดี รายละเอียดของฎีกานี้เล่าว่าโจทก์เป็นลูกจ้างตำแหน่งแม่บ้านต่อมาโจทก์ชอบออกไปทำงานส่วนตัวเดือนละหลายครั้งโดยไม่ได้รับอนุญาตจากหัวหน้าหรือจากใครเลยบริษัทก็ได้ตักเตือนด้วยวาจาหลายครั้งแล้วจึงเลิกจ้างในคดีนี้ศาลเห็นว่าการที่บริษัทจะเลิกจ้างโดยบอกว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและเป็นคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายจะต้องมีการตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนกรณีที่บ่นเฉยเฉยไม่เคยมีการเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรเลยแม้จะปรากฏความผิดว่าลูกจ้างทำผิดจริงนายจ้างก็ก็ยังต้องจ่ายชดเชย อ่านมาถึงตรงนี้แล้วทำให้ถูกได้ไหมอ่ะก็รู้อยู่ว่ากฎหมายคุ้มครองแรงงานเค้าก็กำหนดสิทธิและหน้าที่มาแล้วถ้าลูกจ้างทำผิดจริงนายจ้างก็ทำให้มันถูกขั้นตอนไม่ใช่อาศัยความเคยชิน ยุคสมัยมันเปลี่ยนไปแล้วนะลูกจ้างเดี๋ยวนี้เค้ามีความรู้ ถ้าเค้าผิดจริงเราก็ทำหน้าที่ของเราให้ครบถ้วนและเลิกจ้างตามระเบียบและข้อกฎหมาย ไม่ใช่เลิกจ้างตามอำเภอใจ อันนี้เตือนเพราะรักเพราะห่วงนะ ข้อเท็จจริงที่หลายหลายคนปรึกษามาลูกจ้างก็ทำผิดจริงนั่นแหละแต่นายจ้างก็คุ้นชินกับการไม่ออกหนังสือเตือนซึ่งมันไม่มีอะไรดีขึ้นเลยลองเอาไปปรับปรุงดูนะ

ลาออกแล้วเปลี่ยนใจ ไปขโมยใบลาออกมาฉีกทิ้ง นายจ้างเลิกจ้างได้ไม่ต้องจ่ายชดเชย!!

ลาออกแล้วเปลี่ยนใจ ไปขโมยใบลาออกมาฉีกทิ้ง นายจ้างเลิกจ้างได้ไม่ต้องจ่ายชดเชย!! อันนี้เป็นเรื่องที่อ่านแล้วก็มาเล่าให้แฟนเพจฟังว่า แกกกกก ช่วยสติมาปัญญาเกิดหน่อยเถอะอย่าทำอะไรด้วยอารมณ์ การเลิกจ้างหรือการลาออกเป็นการแสดงเจตนาฝ่ายเดียวถ้าผู้ที่บอกเลิกจ้างเป็นผู้ที่มีอำนาจหรือเป็นตัวแทนนายจ้างการบอกเลิกจ้างนั้นสมบูรณ์แล้ว แม้จะด้วยวาจาก็ตาม (แต่พิสูจน์ยากนิดหนึ่งนะดังนั้นถ้าเกิดว่ามีตัวแทนนายจ้างมาเลิกจ้าง ต้องอัดเสียงหรือหาหลักฐานอื่นๆไว้ว่าเค้าพูด) เช่นเดียวกันกับกรณีลาออก ถ้าเกิดลาออกเลยบอกถูกคนไม่ว่าจะบอกตัวนายจ้างเองหรือไปบอก HR ซึ่งเค้ามีอำนาจหน้าที่ในการรับเข้าทำงานรวมถึงเลิกจ้างแบบนี้การลาออกนั้นมันก็เป็นผลแล้ว โดย ฎีกาที่ 1919 / 2546 ก็เป็นในกรณีนี้เหมือนกันคือลูกจ้างลงชื่อในใบลาออกเรียบร้อยแล้วเอามาเกิดเปลี่ยนใจจึงไปขอดูใบลาออกที่ตัวเองเซ็นไว้และหยิบออกไปจากแฟ้มเอาออกไปนอกสำนักงานเมื่อมีผู้ทักท้วงห้ามปรามก็ไม่ได้สนใจว่าก็ฉีกใบลาออกทิ้งเลย กรณีนี้ไม่ได้ทำให้การลาออกมันสิ้นผลนะ แถมยังเป็นกรณีที่ถือว่าลูกจ้างกระทำความผิดโดยเจตนาต่อนายจ้างโดยชัดเจนคือเป็นข้อหาทำให้เสียซับนายจ้างสามารถเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยด้วยซ้ำ ช่วงนี้นี้งานหายาก แน่นอนแหละบางงานมันไม่ได้มีความสุขแต่ถ้าเกิดว่าลองเปรียบเทียบดูแล้วการไม่มีงานมันจะทุกข์กว่า ก็ลองรักษางานนั้นไปพร้อมกับหาโอกาสใหม่ใหม่ให้ตัวเองด้วยไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้เพิ่มเติมหรือมองหางานใหม่ แต่ถ้ามันไม่ไหวจริงๆจะออกแล้วทบทวนตัวเองดีแล้ว ก็ทำเลย แต่ก็แค่เน้นย้ำไว้ว่าให้ทบทวนดีดีนะไม่ใช่ว่ายื่นไปแล้วแกจะไปขโมยใบลาออกมาฉีกแบบนี้ อันนี้ก็ไม่ไหวนะ ติดต่องานคดีงานที่ปรึกษางานบรรยายอินบ็อกซ์มานะคะ