กรุณารอสักครู่

 

HomeBlog

เงินค่าน้ำมันและค่าโทรศัพท์ถือเป็นค่าจ้าง ที่ต้องนำมาคำนวณในฐานค่าชดเชยหรือไม่

เงินค่าน้ำมันและค่าโทรศัพท์ถือเป็นค่าจ้างที่ต้องนำมาคำนวณในฐานค่าชดเชยหรือไม่ หลายบริษัทก็จะแยก เงินเดือนออกเป็น ค่าจ้าง ค่าน้ำมัน ค่าตำแหน่ง ค่าโทรศัพท์ จึงมีประเด็นคำถามเกิดขึ้นว่า แล้วเวลาที่ถูกเลิกจ้าง ค่าชดเชยจะคำนวณจากเงินฐานไหนกันแน่ รวมเงินค่าน้ำมันลดค่าโทรศัพท์หรือไม่ ก่อนที่จะตอบคำถามก็ต้องอธิบายว่า ค่าชดเชยจะนำค่าจ้างในอัตราสุดท้ายมาคำนวณ ตามอายุงาน รายละเอียดไปดูในมาตรา 118 พรบ.แรงงาน โดยค่าจ้างก็คือเงินที่นายจ้าง “ตกลงจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงาน” แต่หากจ่ายเพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น จ่ายเป็นขวัญและกำลังใจเพื่อจูงใจให้ลูกจ้างปฎิบัติงานตรงเวลา ทุ่มเท ขยัน แบบนี้ไม่ถือว่าเป็นค่าจ้างหรือเงินอื่นๆเช่น ค่าผ่านทางด่วน ค่าที่จอดรถ ที่ให้เป็นครั้งคราวไปแบบนี้ ไม่ถือว่าจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงาน ไม่เป็นค่าจ้าง แต่หากในกรณีที่นายจ้างจ่ายเงินจำนวนหนึ่ง โดยวิธีเหมาจ่ายให้กับลูกจ้างเป็นประจำเท่ากันทุกเดือน เช่น นายจ้างรายนึงจ่ายค่าน้ำมันรถและค่าโทรศัพท์ให้กับลูกจ้างโดยวิธีเหมาจ่ายเป็นรายเดือนเดือนละ 10,000 บาท เท่ากันทุกเดือนโดยไม่ได้คำนึงว่าลูกจ้างจะจ่ายค่าน้ำมันรถและค่าโทรศัพท์หรือไม่ หรือได้จ่ายไปจำนวนมากน้อยแค่ไหน ประกอบกับลูกจ้างก็ไม่ต้องนำใบเสร็จค่าน้ำมันรถหรือใบเสร็จค่าโทรศัพท์มาเป็นหลักฐานในการเบิกด้วยเงินดังกล่าวจึงเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานถือเป็นค่าจ้าง อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 7402-7403 / 2554 ติดต่องาน Info@legalclinic.co.th #เงินเดือน #เลิกจ้าง #สัญญาจ้าง #Professional #บริษัท #ค่าชดเชย #ที่ปรึกษากฎหมาย #ลูกน้อง #ลูกจ้าง #เจ้านาย...

สัญญากำหนดว่า หลังลาออก”ห้าม” ไปทำธุรกิจประเภทเดียวกัน เกินไปมั้ยพี่ทนาย บังคับใช้ได้จริงเหรอ

สัญญากำหนดว่า หลังลาออก"ห้าม" ไปทำธุรกิจประเภทเดียวกัน เกินไปมั้ยพี่ทนาย บังคับใช้ได้จริงเหรอ ข้อตกลงจำกัดสิทธิในการทำสัญญาจ้างแรงงานนั้น โดยทั่วไปสามารถทำได้ เพราะความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง นอกจากมีหน้าที่ทำงานตามคำสั่งนายจ้างแล้ว ลูกจ้างยังหน้าที่งดเว้นไม่กระทำการใด ๆ ที่ไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต เช่น ลูกจ้างต้องไม่เปิดเผยความลับทางการค้าของนายจ้าง ไม่ทำให้ทรัพย์สินของนายจ้างได้รับความเสียหาย ไม่ไปทำงานหรือเข้าเป็นหุ้นส่วน ผู้ถือหุ้น เป็นผู้บริหารในสถานประกอบการที่มีลักษณะเป็นอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับนายจ้าง ซึ่งการจำกัดสิทธิดังกล่าวนั้น กำหนดได้ทั้งระหว่างที่เป็นลูกจ้าง และหลังพ้นสภาพไปแล้ว กรณีที่ลูกจ้างลาออกไปประกอบกิจการค้าแข่ง หากในสัญญามีข้อตกลงว่าห้ามลูกจ้างประกอบกิจการค้าแข่ง ดังนี้ นายจ้างสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายได้ หากข้อสัญญานั้นจำกัดสิทธิหรือนายจ้างได้เปรียบเกินสมควร ศาลมีอำนาจปรับลดได้ โดยหลักในการพิจารณาของศาลนั้น ประกอบด้วย 1.ข้อตกลงจำกัดสิทธินั้น ต้องไม่เป็นการตัดการประกอบอาชีพของลูกจ้างเลยทีเดียว เช่น กำหนดว่าห้ามประกอบกิจการค้าแข่งตลอดระยะเวลาที่ลาออกไปหรือพ้นสภาพจากการเป็นพนักงาน ไม่ได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3597/2561 บันทึกข้อตกลงการทำงานและการอบรมการทำงาน แม้เป็นการจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของจำเลยทั้งสองในการประกอบอาชีพ แต่คงห้ามเฉพาะไม่ให้ไปทำงานในบริษัทคู่แข่งหรือไม่ไปทำงานกับบริษัทอื่นใดที่ประกอบธุรกิจประเภทเดียวกันกับโจทก์ รวมทั้งไม่ทำการใดอันเป็นการแข่งขันกับธุรกิจของโจทก์เฉพาะที่อาศัยข้อมูลทางการค้า อันเป็นความลับทางการค้าของโจทก์ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ตลอดจนไม่กระทำหรือช่วยเหลือหรือยินยอมให้บุคคลใดกระทำการดังกล่าวตลอดระยะเวลาของสัญญานี้และภายในกำหนดระยะเวลาสองปีนับแต่สัญญานี้สิ้นสุดลงเท่านั้น มิได้เป็นการตัดการประกอบอาชีพของจำเลยทั้งสองโดยสิ้นเชิง ตำแหน่งหน้าที่ของจำเลยทั้งสองมีโอกาสนำข้อมูลความลับทางการค้าของโจทก์ไปใช้ในการประกอบอาชีพ ซึ่งอาจทำให้โจทก์ต้องเสียประโยชน์ทางการค้า ประกอบกับเมื่อคำนึงถึงทางได้เสียทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายของโจทก์และจำเลยทั้งสองแล้ว การจำกัดสิทธิในการประกอบอาชีพของจำเลยทั้งสองอันเป็นการแข่งขันกับโจทก์ เป็นระยะเวลาเพียงสองปีนับแต่วันที่สัญญานี้สิ้นสุด ไม่ทำให้จำเลยทั้งสองผู้ถูกจำกัดสิทธิต้องรับภาระมากกว่าที่จะพึงคาดหมายได้ตามปกติ จำเลยทั้งสองยังประกอบอาชีพอื่นๆได้โดยไม่มีข้อจำกัด จึงไม่เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม 2. หากจำกัดสูงเกินสมควร หรือทำให้นายจ้างได้เปรียบเกินสมควร ศาลมีอำนาจปรับลดข้อตกลงให้เป็นธรรมแก่คู่กรณีได้...

ลูกจ้างลาออกกะทันหัน นายจ้างจะอายัดเงินเดือนไว้ ไม่จ่ายค่าจ้างได้หรือไม่??

ลูกจ้างลาออกกะทันหัน นายจ้างจะอายัดเงินเดือนไว้ ไม่จ่ายค่าจ้างได้หรือไม่?? ตามกฎหมาย การแสดงเจตนาลาออกของลูกจ้างไม่ว่าด้วยวิธีใดก็ตาม แจ้งทางโทรศัพท์ ส่งอีเมล์ ส่งไลน์ ก็มีผลทำให้สัญญาจ้างแรงงานเป็นอันสิ้นสุดลง โดยที่ไม่จำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากนายจ้าง และ “นายจ้างไม่มีสิทธิอายัดเงินเดือนลูกจ้าง หรืออ้างว่าจะไม่เงินจ่ายเงินเดือนเพราะการลาออกกะทันหันของลูกจ้างทำให้นายจ้างเสียหายไม่ได้” นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้ถูกต้องและตามกำหนดเวลา ถ้ากำหนดเป็นรายเดือน นายจ้างก็ต้องจ่ายเงินตามงวดที่กำหนด หรือถ้าตกลงกันเป็นอย่างอื่นได้ก็ต้องประโยชน์ต่อลูกจ้าง หากไม่จ่ายนายจ้างมีโทษสูงสุด คุก 6 เดือน ปรับ 1 แสนบาท ทั้งนี้ นายจ้างก็มีสิทธิได้รับเงินจากลูกจ้างกรณีลูกจ้างลาออกโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า หรือลาออกโดยไม่เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของบริษัทเช่นกัน ถามว่าได้เงินได้อย่างไร ก็คือลูกจ้างอาจจะถูกนายจ้างฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้ แต่นายจ้างจะต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่าการลาออกของลูกจ้างดังกล่าวนั้น นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างไร สรุปก็คือ ต่อให้ลูกจ้างจะลาออกกะทันหัน ลาออกผิดระเบียบ ลาออกไม่บอก หรืออะไรก็ตามแต่ ยังไงลูกจ้างก็ต้องได้เงินเดือน นายจ้างไม่มีสิทธิทึกทักว่าบริษัทตัวเองเสียหายและอายัดเงินเดือนลูกจ้างเอง ถ้าหากนายจ้างต้องการเงินค่าเสียหายต้องไปยื่นฟ้องร้องลูกจ้างให้ศาลเป็นผู้ตัดสินเท่านั้น จะยึดเงินเอง หักเงินเองไม่ได้ ————- ติดต่องานจ้าง สอบถามค่าบริการได้ทาง Info@legalclinic.co.th #ทนายแรงงาน #ทนายคดีแรงงาน #PDPA #พรบคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล #คลินิกกฎหมายแรงงาน #ทนายฝ้ายคลินิกกฎหมายแรงงาน

บริษัทแจ้งว่าลาพักร้อนจะไม่มีการทบไปในปีถัดไป หากว่าเราใช้ลาพักร้อนไม่หมดในปีนั้น พักร้อนที่เหลือในปีนั้น ถ้าบริษัทไม่จ่ายเป็นเงินให้แบบนี้ได้หรือไม่คะ

บริษัทแจ้งว่าลาพักร้อนจะไม่มีการทบไปในปีถัดไป หากว่าเราใช้ลาพักร้อนไม่หมดในปีนั้น พักร้อนที่เหลือในปีนั้นถ้าบริษัทไม่จ่ายเป็นเงินให้แบบนี้ได้หรือไม่คะ เรื่อง วันหยุดพักผ่อนประจำปี ถือเป็นหัวข้อที่ถามกันมามากมาย ซึ่งในข้อกฎหมายไม่มีอะไรซับซ้อน แต่ด้วยความเข้าใจผิด จึงทำให้ปฏิบัติผิดๆเรื่อยมาจนเป็นข้อถกเถียงไม่สิ้นสุดครับ ความเข้าใจผิดเริ่มจาก กฎหมายเขียนว่า “วันหยุดพักผ่อนประจำปี” ซึ่งเป็น 1 ใน 3 วันหยุดที่กฎหมายกำหนดไว้ (วันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี และวันหยุดพักผ่อนประจำปี) แต่ก็เอามาเรียกเป็น “วันลาพักร้อน ข้อกฎหมายวันหยุดพักผ่อนประจำปี มีกำหนดไว้ใน ม.30 ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้ 2.1 นายจ้าง เป็นผู้กำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้ลูกจ้าง 2.2 ลูกจ้างขอ และนายจ้างอนุมัติตามที่ขอ 2.3 วันหยุดพักผ่อนประจำปี นายจ้าง กับลูกจ้างอาจตกลงกันสะสมหรือ เลื่อนวันหยุดไปเป็นปีถัดไปก็ได้ 2.4 ลูกจ้างที่ยังทำงานไม่ครบ 1 ปี นายจ้างอาจกำหนดให้หยุดตามสัดส่วนตั้งแต่ปีแรก ก็ได้ ใน ม.64 กำหนดให้นายจ้างจะต้องจัดวันหยุดให้กับลูกจ้าง (วันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี และวันหยุดพักผ่อนประจำปี) หากไม่จัด หรือ จัดไม่ครบ จะต้องจ่ายค่าจ้างในวันหยุดให้กับลูกจ้าง วันหยุดประจำสัปดาห์...

ความรับผิดของผู้รับเหมาชั้นต้นร่วมกับผู้รับเหมาช่วง

ความรับผิดของผู้รับเหมาชั้นต้นร่วมกับผู้รับเหมาช่วง มาตรา 12 กฎหมายกำหนดว่า ในกรณีที่นายจ้างเป็นผู้รับเหมาช่วง ให้ผู้รับเหมาช่วงถัดขึ้นไป หากมีตลอดสายจนถึงผู้รับเหมาชั้นต้นร่วมรับผิดกับผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างในค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาใน วันหยุด ค่าชดเชย ค่าชดเชยพิเศษ เงินสะสม เงินสมทบ หรือเงินเพิ่มให้ผู้รับเหมาชั้นต้นหรือผู้รับเหมาช่วงตามวรรคหนึ่ง มีสิทธิไล่เบี้ยเงินที่ได้จ่ายไปแล้วตามวรรคหนึ่งคืนจากผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้าง ข้อสังเกต 3 ประการ สำหรับ มาตรา 12 คือ 1. ผู้ว่าจ้างไม่ต้องร่วมรับผิดต่อลูกจ้างของนายจ้างผู้รับเหมาช่วง 2. ผู้รับเหมาชั้นต้นและผู้รับเหมาช่วงไม่ใช่นายจ้างเพียงแต่ต้องร่วมรับผิดกับนายจ้าง 3. ผู้รับเหมาชั้นต้นและผู้รับเหมาช่วงต้องร่วมรับผิดเฉพาะเงินตามมาตรา 12 เท่านั้น ไม่รวมถึงเงินอื่นๆ เม็ดเงินสำคัญเท่านั้น ได้แก่ ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด ค่าชดเชย ค่าชดเชยพิเศษ เงินสะสม เงินสมทบหรือเงินเพิ่ม ฎีกาที่ 4159/2560 ผู้รับเหมาชั้นต้นจ่ายเงินค่าจ้าง ค่าล่วงเวลาค่าทำงานในวันหยุดให้ลูกจ้างแทนผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างไปแล้วย่อมมีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยค่าจ้างดังกล่าวจากผู้รับเหมาช่วงได้พร้อมดอกเบี้ยผิดนัด และเช่นเคยสำหรับใครที่ไม่อยากจดจำ ไม่มีเวลาหาข้อมูล แต่มีคำถามในทางปฏิบัติมากมาย อยากหาทนายเคียงข้างธุรกิจ เป็นเพื่อนคู่คิดหรือเป็นมิตรคู่กาย ในการให้คำปรึกษาด้านกฎหมายสักคน สามารถติดต่อมาได้ inbox...

นายจ้างไม่อนุมัติให้ลากิจ จะมีความผิดตามกฎหมายหรือไม่?

นายจ้างไม่อนุมัติให้ลากิจ จะมีความผิดตามกฎหมายหรือไม่? การลากิจ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ม.34 กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลากิจธุระจำเป็นได้ 3 วัน โดยนายจ้างต้องจ่ายเงินค่าจ้างในวันลากิจปีหนึ่งไม่เกิน 3 วัน ทั้งนี้ ตาม.57/1 1.หากนายจ้างไม่อนุมัติให้ลากิจ จะมีความผิดตามกฎหมายหรือไม่? การที่นายจ้างไม่อนุมัติให้ลากิจ นายจ้างไม่มีความผิดตามกฎหมายแต่จะมีความผิดเฉพาะกรณีที่ลูกจ้างลากิจแล้วนายจ้างไม่จ่ายเงินค่าจ้างระหว่างลา เท่านั้น ม.144 (1) ซึ่งตามกฎหมายลูกจ้างมีสิทธิยื่นขอลากิจได้ (ลากิจ คือ กิจธุระที่ลูกจ้างต้องดำเนินการเอง เช่น ทำบัตรประชาชน ทำใบขับขี่ ที่ลูกจ้างไม่สามารถมอบหมายให้คนอื่นไปดำเนินการแทนได้) แต่อำนาจในการอนุมัติ เป็นอำนาจของนายจ้าง ซึ่งระเบียบ ขั้นตอน การอนุมัติ เป็นอย่างไร ก็ต้องบังคับไปตามระเบียบ ข้อบังคับของแต่ละบริษัทนั้น ๆ หากลูกจ้างมีเหตุลากิจ ตามหลักเกณฑ์ของบริษัทกำหนด เช่น ระเบียบกำหนดว่า “ลูกจ้างมีสิทธิลากิจธุระอันจำเป็นได้ในกรณีต่อไปนี้ 1.ลากิจธุระเพื่อไปจัดทำบัตรประชาชน 2.ลากิจธุระเพื่อไปจัดทำใบอนุญาตขับขี่รถยนต์/รถจักรยานยนต์ ฯลฯ” ก็มีสิทธิลาได้ นายจ้างจะไม่อนุมัติไม่ได้ 2.หากลูกจ้างมีสิทธิลากิจตามระเบียบ ข้อบังคับ แล้วลูกจ้างมีสิทธิทำอย่างไรได้บ้าง? ลูกจ้างมีสิทธิยื่นคำฟ้องคดีต่อศาลแรงงานเพื่อให้นายจ้างอนุมัติตามระเบีบบฯ หรือ ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานเพื่อมีคำสั่งให้นายจ้างปฏิบัติให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน...

ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ คำสั่งนายจ้าง ที่นายจ้างได้เปรียบลูกจ้างเกินสมควร ศาลแรงงานมีอำนาจสั่งให้มีผลใช้บังคับได้เท่าที่เป็นธรรม

“ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ คำสั่งนายจ้าง ที่นายจ้างได้เปรียบลูกจ้างเกินสมควร ศาลแรงงานมีอำนาจสั่งให้มีผลใช้บังคับได้เท่าที่เป็นธรรม” วันนี้ยาวหน่อย แต่อยากให้อ่าน เพราะหลายคนั้งนายจ้างแพ้ตั้งแต่เริ่ม เพราะคิดว่าอะไรที่นายจ้างสั่ง นายจ้างร่าง ลูกจ้างเซ็น และนายจ้างประกาศถือว่าเป็นอันใช้ได้…ถ้ายังเข้าใจแบบนั้นอยู่ เกียวตัวสู่ขิต แพ้คดีในชั้นศาลได้เลย เพราะ.. การทำสัญญาจ้างแรงงาน คู่สัญญาอาจตกลงสัญญาจ้างอย่างไรก็ได้ ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของนายจ้างและลูกจ้างเป็นสำคัญก็จริง แต่ข้อตกลงนั้นต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย ไม่เอาเปรียบลูกจ้างเกินสมควร และกรณีหากนายจ้างกำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ คำสั่ง ที่นายจ้างได้เปรียบลูกจ้างเกินสมควร แบบนี้ลูกจ้างจะมีสิทธิทำอย่างไรได้บ้าง เชิญอ่าน… 1. ลูกจ้างมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลแรงงาน หากศาลเห็นว่า สัญญาจ้าง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งนั้น นายจ้างได้เปรียบลูกจ้างเกินสมควร ศาลมีอำนาจสั่งให้สัญญาจ้างข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งนั้นมีผลใช้ปังคับเพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ม.14/1 2.มีคำพิพากษาฎีกาทีน่าสนใจ ดังนี้ ฏ.7810/2560 ข้อตกลงอันเป็นลักษณะข้อห้ามของโจทก์ผู้เป็นนายจ้างก็เพื่อปกป้องข้อมูลความลับและธุรกิจการค้าของโจทก์ให้อยู่รอดตำเนินการต่อไปได้ มุ่งเฉพาะสั่งที่เป็นการแข่งชันในการประกอบธุรกิจการค้าในลักษณะประเภทเดียวกับโจทก์และมีกำหนดระยะเวลา มิใช่ห้ามตลอดไป เป็นข้อตกลงหรือสัญญาที่กระทำได้โดยชอบ แต่จำเลย (ลูกจ้าง) มีตำแหน่งเพียงเจ้าหน้าที่ฝ่ายขาย ได้รับค่าจ้างเตือนละ 13,000 บาท...

การเตือนที่ไม่ได้เตือน!! ตัวอย่างหนังสือเตือนที่ไม่มีผลทางกฎหมาย

การเตือนที่ไม่ได้เตือน!! ตัวอย่างหนังสือเตือนที่ไม่มีผลทางกฎหมาย อ่าหัวข้อชื่อวันนี้อาจจะนึกถึงเพลงของ Getsunova ซึ่งมันดูย้อนแย้งกันเองมากสำหรับหัวข้อการเตือนที่ไม่ได้เตือน!! หลายกรณีมากที่ลูกจ้างทำผิดแต่นายจ้างเองไม่มีความเข้าใจในเรื่องการออกหนังสือเตือน เขียนไปอย่างนั้นแหละนานนานออกทีมีผลทางกฎหมายหรือเปล่าไม่รู้ไม่แน่ใจแล้วก็ไม่ได้อยากหาความรู้อะไรเพิ่มเติมด้วยเพราะคิดว่ามันเป็นอำนาจของนายจ้างเตือนแล้วก็เอาออกได้หมดโดยไม่ต้องจ่ายชดเชย กรณีนี้นายจ้างพลาดท่ามานักต่อนักแล้ว เพราะแม้ลูกจ้างจะมีความผิดจริงแต่การเตือนของนายจ้างไม่ได้ครบถ้วนเข้าลักษณะหนังสือเตือน นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย!! มาลองดูฎีกาที่ 694 / 2562 เรื่องนี้เป็นการเตือนที่นายจ้างเตือนโดยระบุเฉพาะข้อเท็จจริงว่าลูกจ้างลาและหยุดงานเป็นจำนวนมากละทิ้งหน้าที่เกลียดค้านไม่ทำงานแต่ในหนังสือดังกล่าวกลับไม่ปรากฏข้อความเตือนในการห้ามทำความผิดซ้ำอีกจึงเป็นเพียงหนังสือแจ้งการกระทำผิดให้ทราบเท่านั้นไม่เข้าลักษณะหนังสือเตือนการเลิกจ้างนายจ้างยังต้องจ่ายค่าชดเชยอยู่ ในกรณีนี้ต้องเรียกได้ว่าตายน้ำตื้นแท้แท้ เพราะลูกจ้างผิดจริงแต่ในหนังสือดังกล่าวไม่ได้มีข้อความเป็นการเตือนเป็นแค่แจ้งการกระทำผิดให้ทราบเท่านั้นไม่เข้าลักษณะหนังสือเตือนตามกฎหมายการนำเพจดังกล่าวมาเลิกจ้างจึงจะยกมาเป็นเหตุไม่จ่ายค่าชดเชยไม่ได้ เอาจริงๆหนังสือเตือนไม่ได้ยากมากเลยนะใส่ใจซะหน่อย จะได้ไม่ต้องคิดว่ากฎหมายไม่ช่วยนายจ้าง นายจ้างเองก็ต้องเรียนรู้นะคะลูกจ้างเดี๋ยวนี้เค้ารู้กันไปถึงไหนตอนไหนแล้ว ส่วนใครที่ต้องการที่ปรึกษางานคดีความหรือหรือบรรยายสามารถติดต่อมาได้ทาง inbox หมือนเดิมนะ #คลินิกกฎหมายแรงงาน #กฎหมายแรงงาน #ใบเตือน # หนังสือเตือน

ข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยกรณีเลิกจ้าง

ข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยกรณีเลิกจ้าง อย่างที่นายจ้างทุกคนทราบว่าข้อยกเว้นนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยในกรณีเลิกจ้างจะถูกกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 มาตรา 119 โดยมีด้วยกันทั้งหมด 6 วงเล็บ แต่สำหรับโพสต์นี้คงว่ากล่าวหกวงเล็บซ้ำอีกแต่จะมาว่ากล่าวกันเรื่องข้อสังเกตว่าถ้านายจ้างต้องการที่จะเลิกจ้างโดยใช้มาตราดังกล่าวนายจ้างต้องทำยังไงบ้าง 1. นายจ้างจะไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างนายจ้างต้องระบุข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุเลิกจ้างไว้ในหนังสือบอกเลิกจ้าง มิเช่นนั้นนายจ้างจะยกเหตุนั้นมาอ้างภายหลังไม่ได้ 2. เมื่อมีเหตุการณ์ตามมาตรา 119 เกิดเกิดขึ้นแล้วนายจ้างต้องรีบเลิกจ้างลูกจ้างมิเช่นนั้นศาลอาจจะพิจารณาได้ว่านายจ้างไม่ติดใจเอาความจากลูกจ้างแล้วหรือให้อภัยลูกจ้างในความผิดนั้นแล้ว 3. การทุจริตต่อหน้าที่คือการแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับลูกจ้างเองหรือผู้อื่นทั้งนี้หากลูกจ้างอาศัยโอกาสในการปฏิบัติหน้าที่เป็นช่องทางในการแสวงหาประโยชน์หรือเป็นช่องทางในการรับประโยชน์หรือทำให้นายจ้างต้องเสียหายจากการแสวงหาประโยชน์หรือได้รับประโยชน์นั้นด้วยนายจ้างจะเลิกจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยก็ได้ 4. การกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างหมายถึงลูกจ้างได้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาหรือกฎหมายอื่นที่มีโทษทางอาญาโดยตั้งใจจะกระทำต่อบุคตัวนายจ้างหรือบุคคลที่ถือว่าเป็นนายจ้างหรือต่อกิจการของนายจ้าง โดยไม่ว่าลูกจ้างจะได้กระทำการเองหรือในฐานะผู้สนับสนุนก็ตาม 5. จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายหมายถึงการกระทำที่ลูกจ้างจงใจที่จะให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง ข้อสังเกตของข้อนี้คือไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นตามความประสงค์ของลูกจ้างแล้วหรือไม่ก็ก็ตามหรือเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใดหากพิสูจน์ได้ว่าจงใจทำให้เกิดความเสียหายก็สามารถเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายชดเชย 6. การเลือกตั้งโดยอ้างเหตุประมาทเลินเล่อให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงนั้น นายจ้างจะต้องพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายที่นายจ้างได้รับคือความเสียหายอย่างร้ายแรงไม่ว่าจะเป็นด้านตัวเงินที่เสียหายเป็นจำนวนมากหรือชื่อเสียง ซึ่งต้องนำสืบได้ว่าลูกจ้างประมาทเลินเล่อไม่ใช้ความระมัดระวังตามปกติวิสัย เขียนมาหลายโพสต์ก็หาว่าเข้าข้างแต่ลูกจ้างนายจ้างเองอ่านโพสต์แบบนี้แล้วไปปรับดูบ้างนะคะ จริงๆโพสต์ไหนที่เขียนไว้เรื่องของลูกจ้างหากมองในมุมกลับกันโดยปราศจากอคตินายจ้างเองก็ได้รู้ว่าตัวเองมีหน้าที่อย่างไร แล้วลองเอาไปปรับดูนะคะ แต่ถ้าไม่มีเวลาไม่เข้าใจอยากจะย่อระยะเวลาในการทำความเข้าใจลงจ้างได้นะคะช่วงนี้ยังว่าง 😊🙏

ลูกจ้างรับทำงานนอกในเวลาบริษัท แม้ใช้เวลาไม่มากก็เป็นกรณีร้ายแรงเลิกจ้างไม่ต้องจ่ายชดเชย

ลูกจ้างรับทำงานนอกในเวลาบริษัท แม้ใช้เวลาไม่มากก็เป็นกรณีร้ายแรงเลิกจ้างไม่ต้องจ่ายชดเชย เชื่อว่าหลายบริษัทเคยเจอแบบนี้ที่รับทราบว่าลูกจ้างทำงานนอก ในเวลาทำงานและเมื่อเรียกมาสอบถามลูกจ้างก็บอกว่าใช้เวลาไม่มาก ไม่ได้รบกวนบริษัทถึงขั้นนั้นซะหน่อย นายจ้างก็เลยไม่แน่ใจว่าจะลงโทษได้หรือเปล่า ดังนั้น ฎีกานี้เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับการลุกลูกจ้างใช้เวลาเวลางานของบริษัทในการรับงานนอก และนายจ้างสามารถเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ฎีกานี้ปรากฏว่าโจทก์รับเป็นพนักงานทวงหนี้ให้บริษัทอื่นด้วยในการทวงหนี้แต่ละครั้งใช้เวลาในการทำงานไม่มากเพียงไม่กี่วินาทีและ มากสุดก็ไม่เกิน 1 นาทีเท่านั้นแต่ในคดีนี้ศาลเห็นว่าแม้การกระทำของโจทก์โจทก์แต่ในแต่ละครั้งช่วงเวลาจะใช้เวลา ไม่มากนักแต่ย่อมมีผลกระทบกระเทือนต่อกิจการของ บริษัทนำซ้ำยังเป็นการเบียดบังเวลาที่จะต้องทำงานให้กับบริษัทถือว่าเป็นกรณีกรณีร้ายแรงตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 ตามมาตรา 119 (4) วรรค 1 ข้อสังเกต : ลองดูดีๆ นะคะฎีกานี้ บริษัทกำหนดไว้ในข้อบังคับด้วยว่าห้ามไม่ให้พนักงานใช้เวลาเพื่อธุรกิจส่วนตัวในเวลาปฏิบัติงานรวมถึงห้ามรับจ้างทำงานกับผู้อื่นหรือดำเนินธุรกิจใดใดอันอาจกระทบกระเทือนเวลาทำงานหรือกิจการของบริษัท ดังนั้นนายจ้างรายไหนที่เห็นพ้องด้วยกับฎีกานี้ในการนำมาควบคุมลูกจ้างก็ต้องมีเงื่อนไขนี้มีข้อบังคับด้วยนะ และเช่นเคยถ้าขี้เกียจดูขี้เกียจอ่านเองไม่มีเวลาจะจ้างก็ฃ inbox มาได้นะ ส่วน inbox มาให้ตรวจฟรี ทางเรายังไม่มีบริการเช่นว่านะคะขอทำงานหาตังค์ค่าไฟค่าผ่อนบ้านก่อนค่ะ 🥲🥲 #คลินิกกฎหมายแรงงาน #กฎหมายแรงงาน #ค่าจ้าง #ค่าแรง #ค่าทำงาน