กรุณารอสักครู่

 

HomeCategoryกฏหมายแรงงาน Archives - Page 9 of 68 - บริษัท ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น จำกัด

ลดตำแหน่ง…แต่ให้เงินเดือนเท่าเดิม.. ลูกจ้างมีสิทธิปฎิเสธ

ลดตำแหน่งแต่ให้เงินเดือนเท่าเดิม ลูกจ้างมีสิทธิปฎิเสธ . ก่อนอื่นต้องบอกว่าการ โยกย้ายตำแหน่งในทางการจ้างเพื่อการบริหารงานนายจ้างสามารถทำได้แต่การโยกย้ายตำแหน่งนั้นก็ต้องไม่เป็นไปในเชิงกลั่นแกล้งหรือโยกย้ายไปในตำแหน่งที่ต่ำลงกว่าเดิม . เช่นในฎีกานึง นายจ้างย้ายลูกจ้างในตำแหน่งเลขานุการสำนักงานใหญ่ฝ่ายจัดซื้อซึ่งทำงานธุรการในฝ่ายจัดซื้อไปดำรงตำแหน่งพนักงานทั่วไปประจำแผนกผักและผลไม้ของบริษัท ซึ่งย้ายพนักงานจากตำแหน่งเลขานุการ ที่เป็นพนักงานระดับ 4 ไปเป็นพนักงานทั่วไปประจำแผนกผักและผลไม้ ซึ่งหัวหน้าแผนกดังกล่าวเป็นพนักงานระดับ 3 จึงเป็นการย้ายที่ลดตำแหน่งของลูกจ้างลง แม้จะจ่ายค่าจ้างเท่าเดิมก็เป็นคำสั่งย้ายที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรมแก่ลูกจ้าง การที่ลูกจ้างปฏิเสธไม่ยอมไปทำงานในตำแหน่งใหม่ที่ต่ำกว่าเดิมนั้น ไม่ถือเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของนายจ้าง นายจ้างจึงไม่อาจออกหนังสือเตือนในการกระทำของโจทก์ดังกล่าวได้ การที่ลูกจ้างปฏิเสธไม่ยอมไปทำงานในตำแหน่งใหม่จึงไม่ใช่เป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือนตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (4) เมื่อจำเลยเลิกจ้างจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม . หรือจะอีกฎีกานึงที่ศาลได้โปรดวินิจฉัยไว้ว่า แม้เป็นการลดตำแหน่งจากหัวหน้า รปภ เป็นรปภ ธรรมดา โดยค่าจ้างเท่าเดิมก็ถือว่าคำสั่งลดตำแหน่งที่ลูกจ้างไม่ยินยอมนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ลูกจ้างฝ่าฝืนไม่ไปทำในหน้าที่ใหม่ก็มีเหตุสมควร จะถือว่าละทิ้งหน้าที่ไม่ได้ (ฎีกาที่ 5073/2546) . นอกจากเดือนเงินเดือนแล้วตำแหน่งก็สัมพันธ์สำหรับลูกจ้างหลายๆรายเพราะเป็นการแสดงถึงความก้าวหน้าในอาชีพ ดังนั้นหากองค์กรมีความจำเป็นจะต้องเปลี่ยนแปลงตำแหน่งไม่ว่าด้วยสาเหตุใดๆก็ควรเรียกลูกจ้างมาคุยและทำความเข้าใจกันให้เรียบร้อยเสียก่อน ใจเขาใจเราเนอะ  

ยังไม่ผ่านช่วงทดลองงาน “ขอลาพักร้อน” ได้หรือไม่?

ยังไม่ผ่านช่วงทดลองงาน “ขอลาพักร้อน” ได้หรือไม่? . ก่อนอื่นต้องบอกว่า ในกฎหมายแรงงานไม่มีคำว่าลาพักร้อน เพราะกฎหมายใช้คำว่า ลาพักผ่อนประจำปี(แต่พี่ก็พูดประจำ) ซึ่ง พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 30 กำหนดว่า ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบหนึ่งปีมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน . โดยให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างล่วงหน้าหรือกำหนดให้ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน และในปีต่อมานายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างมากกว่าหกวันทำงานก็ได้โดยนายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าให้สะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ยังมิได้หยุดในปีนั้นรวมเข้ากับปีต่อ ๆ ไปได้ . สำหรับลูกจ้างซึ่งทำงานยังไม่ครบหนึ่งปี นายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างโดยคำนวณให้ตามส่วนก็ได้ จากคำถามข้างต้น ลูกจ้างที่ทำงานยังไม่ผ่านโปรหรือทำงานยังไม่ครบปี ก็อาจจะมีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีได้ . โดยนายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างโดยคำนวณให้ตามส่วนก็ได้ เช่น ทำงานมาแล้ว 2 เดือน นายจ้างอาจจะกำหนดให้ลาได้ 1 วัน เป็นต้น . ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับระเบียบข้อปังคับของนายจ้างว่ากำหนดเรื่อง ลาพักผ่อนประจำปีไว้อย่างไร แต่ต้องไม่ต่ำกว่าที่กฎหมายแรงงานกำหนดนะคะ . ลาไปเที่ยวไหนก็ระวังสุภาพกันด้วยนะ ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพเงิน ปีนี้เป็นปีที่หนักหน่วงจริงๆ

เตือนด้วยวาจา หลายรอบ หลายหน แต่ไม่แก้ไขสักที แบบนี้เลิกจ้างเลยได้ไหม?

เตือนด้วยวาจา หลายรอบ หลายหน แต่ไม่แก้ไขสักที แบบนี้เลิกจ้างเลยได้ไหม? . ในทางกฎหมายกรณีลูกจ้างฝ่าฝืนระเบียบข้อปังคับหรือคำสั่งของนายจ้างกรณีไม่ร้ายแรงนายจ้างต้องตักเตือนลูกจ้างเป็นหนังสือการที่นายจ้างเคยตักเตือนลูกจ้างด้วยวาจาหลายครั้งจะถือว่าเท่ากับเป็นการตักเตือนเป็นหนังสือแล้วไม่ได้ เพราะมิใช่การเตือนเป็นหนังสือ ตาม ม.119(4) แห่งพรบ.คุ้มครองแรงงานฯ . ดังนั้น การนายจ้างเลิกจ้างเพราะผิดซ้ำคำเตือนทางวาจาจึงต้อง จ่ายค่าชดเชย . ปัญหาว่านายจ้างลงโทษเตือนด้วยวาจา แต่บันทึกการลงโทษไว้เป็นลายลักษณ์อักษรจะถือเป็นการตักเตือนเป็นหนังสือหรือไม่ เช่น นายจ้างกำหนดโทษไว้ 4 สถาน คือ ตักเตือนด้วยวาจา ตักเตือนเป็นหนังสือพักงานและเลิกจ้างหากลูกจ้างทำผิดไม่ร้ายแรง นายจ้างลงโทษตักเตือนด้วยวาจาแต่บันทึกการตักเตือนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร กรณีนี้เห็นได้ว่าเป็นการเตือนด้วยวาจาอันเป็นโทษเบาสุดไม่ใช่การเตือนเป็นหนังสือถือว่าตักเตือนเป็นหนังสือไม่ได้ . *กรณีทำผิดร้ายแรงนายจ้างไม่ต้องเตือนเลิกจ้างได้เลย*** . แต่อย่างไรก็ดีแม้ว่าการเตือนด้วยวาจาไม่มีผลในทางกฎหมายที่จะไปในการเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้ แต่นายจ้างหลายรายก็ได้กำหนดให้นำเอาสถิติการขาดลามาสายที่เตือนทางวาจาบ่อยๆมาใช้เป็นเกณฑ์ในการขึ้นค่าจ้าง โบนัส ประจำปีของลูกจ้างได้และไม่ผิดกฎหมายแต่อย่างใด

6 เรื่อง ที่นายจ้าง..”มักเข้าใจผิด”

6 เรื่อง ที่นายจ้าง..”มักเข้าใจผิด” . 1. การต่อโปร (ขยายช่วงทดลองงาน) ออกไปเรื่อยๆ ไม่ทำให้ ไม่เสียค่าชดเชยและค่าตกใจ ถ้าเลิกจ้างไม่ถูกต้อง . 2. บอกเลิกจ้าง ถ้าไม่บอกหรือบอกไม่ครบก่อนหนึ่งงวดการจ่ายค่าจ้าง ต้องจ่ายค่าตกใจ . 3. นายจ้างจัดวันหยุดต่ำกว่ากฎหมายกำหนดไม่ได้ . 4. หนังสือเตือน ต้องครบองค์ประกอบการเตือน ไม่เช่นนั้นอาจไม่มีผลตามเจตนาการเตือน . 5. ดอกเบี้ยผิดนัดชำระ ตาม พรบ.แรงงาน ร้อยละ 15 ต่อปี ของเงินต้นที่ค้างชำระ นับแต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ . 6. การทำสัญญาปีต่อปี ไม่ได้ทำให้หยุดการนับอายุการทำงานต่อเนื่อง (ต้องดูรายละเอียดในการจ้างให้ดี)

บริษัท..ออกข้อบังคับการทำงานว่า “ห้ามพนักเป็นสามีภรรยากัน” ถ้าพบว่าฝ่าผืนจะให้ออก แบบนี้ก็ได้เหรอ ผิดกฎหมายแรงงานมั้ยคะพี่ทนาย?

บริษัท..ออกข้อบังคับการทำงานว่า “ห้ามพนักเป็นสามีภรรยากัน” ถ้าพบว่าฝ่าผืนจะให้ออก แบบนี้ก็ได้เหรอ ผิดกฎหมายแรงงานมั้ยคะพี่ทนาย?? . ปัญหานี้เราเคยถามกับตัวเองตอนที่ดูหนังเรื่องATM เออรักเออเร่อ ว่ากฎแบบนี้ตั้งไปเพื่ออะไร?? . เมื่อได้ทำความเข้าใจแลกเปลี่ยนมุมมองกับเพื่อนๆฝ่าย HR และผู้ประกอบการ ก็เลยได้ทราบเจตนาที่บริษัทออกข้อห้ามแปลกๆแบบนี้ . โดยเพื่อนให้คำอธิบายในมุมมองของ HR และผู้ประกอบการว่า . 1.เคยเจอกรณีที่ สามีภรรยาร่วมด้วยช่วยกันเอื้อความสะดวกในการทุจริต หรือเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ . 2. เจอปัญหาทะเลาะวิวาทความมึนตึงในแผนกจนเพื่อร่วมงานอึดอัด ดังนั้น ใครที่มีสามีหรือภรรยามาสมัคร บริษัทจึงไม่พิจารณาที่จะรับอีกคนเลย หรือเมื่อพบว่าเป็นแฟนกันหรือสมรสกันภายหลังทำงานบริษัทเดียวกัน บริษัทก็จะให้คนใดคนหนึ่งพิจารณาลาออกหรือไล่ออกหรือสิ้นสุดสภาพการจ้างแล้วแต่กรณี เพราะเหตุที่กล่าวไปข้างต้น ไม่ใช่อยากจะขวางทางรักให้บาปกรรมแต่อย่างใด ซึ่งนั่นเป็นมุมมองของการบริหารพนักงานขององค์กรนั้นๆ แต่ในมุมมองของกฎหมายและผลของการที่บริษัทให้คนใดคนหนึ่งพิจารณาลาออกหรือไล่ออกเนื่องจากกฎดังกล่าว เราขอให้ความเห็นดังนี้ค่ะ . 1) กรณีพบแล้วไล่ออก !! แม้กำหนดในข้อบังคับบริษัทก็ไม่สามารถไล่ออกโดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้ เพราะการที่พนักงานแต่งงานกับคนในบริษัทเดียวกันไม่ได้เป็นความผิดตามพรบ.คุ้มครองแรงงานมาตรา 119 หรือแม้แต่มีกำหนดไว้ในข้อบังคับของบริษัทว่า “ห้ามแต่งงานหรือเป็นแฟนกับพนักงานในบริษัทเดียวกันหากพบจะถูกไล่ออก” . ในความเห็นของเราเรามองว่าเป็นข้อตกลงที่ไม่เป็นธรรมและไม่สมควรแก่เหตุ หากเลิกจ้างด้วยเหตุดังกล่าวนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าบอกกล่าวล่วงหน้า (หากให้ออกโดยไม่แจ้งล่วงหน้า) รวมไปถึงอาจถูกฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมด้วย . ในส่วนความเห็นเรานะ เรื่องรักชอบกันนี่ห้ามกันยากเหมือนเพลงๆนึงที่เราชอบฟัง มันมีท่อนนึงร้องว่า “ห้ามน้ำไม่ไหล ห้ามไฟไม่ให้มีควันห้ามอาทิตย์ห้ามดวงจันทร์...

นายจ้างประจาน!! ติดประกาศใบเตือนได้หรือไม่?

นายจ้างประจาน!! ติดประกาศใบเตือนได้หรือไม่? . สำหรับคำถามนี้ต้องแยกเป็น 2 ประเด็น คือ 1)ทำได้หรือไม่ และ 2)ถ้าทำได้ทำได้แค่ไหน. . หากเทียบเคียง ตาม ฎ.2171/2542 เมื่อลูกจ้างกระทำผิดวินัยเกี่ยวกับการทำงาน “นายจ้างย่อมมีอำนาจออกหนังสือตักเตือนและมีอำนาจนำหนังสือตักเตือนไปประกาศให้ลูกจ้างผู้กระทำผิดวินัยและลูกจ้างอื่นทราบได้” . การที่ลูกจ้างผู้กระทำผิดวินัยไปฉีกทำลายประกาศหนังสือตักเตือนของนายจ้างโดยพลการ ทำให้ทรัพย์สินคือหนังสือตักเตือนของนายจ้างต้องเสียหายและขาดประโยชน์ และอาจทำให้ลูกจ้างอื่นเอาอย่าง ทำให้นายจ้างไม่ สามารถปกครองบังคับบัญชาลูกจ้างได้ การกระทำของลูกจ้างดังกล่าวจึงเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง . จากแนวคำพิพากษาดังกล่าวจึงตอบคำถามว่านายจ้างสามารถติดประกาศหนังสือเตือนได้ . แต่!! การเขียนหนังสือเตือนก็ควรเป็นไปตามองค์ประกอบหนังสือเตือนและเขียนให้ลูกจ้างเข้าใจได้ถึงการกระทำความผิดพอที่จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและไม่กระทำซ้ำ แต่ต้องไม่ใช่การ การใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ซึ่งการโพสต์ข้อความที่เป็นความผิดในข้อหาหมิ่นประมาทจะเป็นเรื่องเท็จหรือเรื่องจริงก็ผิด . ทราบแบบนี้แล้ว หากนายจ้างต้องการใช้สิทธิ์ ในการบริหารและกำกับระเบียบวินัยพนักงาน ก็สามารถทำได้ แต่ต้องตรวจสอบถ้อยคำ ให้ชัดเจนและเป็นการป้องกันติดตาม สมควร อย่าพสต์เอาสะใจ มันอาจทำร้ายชีวิตใครมากกว่าที่คิด ในทางตรงกันข้ามหากพิสูจน์ได้ว่าลูกจ้างทุจริตและประสงค์ดำเนินคดีก็ให้ใช้สิทธิ์ตามกฎหมาย อย่าใช้อารมณ์เพราะในกรณีที่ใช้อารมณ์จะมีแต่ความสูญเสียเกิดขึ้นทั้งสองฝ่าย

เสพยาบ้าอยู่ที่บ้าน ถูกตำรวจจับ แต่ไม่ติดคุก แค่ต้งได้รับการฟื้นฟูนายจ้างเลิกจ้างได้ด้วยหรอ?

เสพยาบ้าอยู่ที่บ้าน ถูกตำรวจจับ แต่ไม่ติดคุก แค่ต้งได้รับการฟื้นฟูนายจ้างเลิกจ้างได้ด้วยหรอ?? . เป็นคำถามที่อ่านแล้วปวดหัวมากเลยนะคะ ไม่รู้จะเริ่มปวดหัวจากประเด็นไหนก่อนดี ระหว่างคำถามกับ Energy ของคนถามที่มาแบบหัวฟัดหัวเหวี่ยงบอกว่าตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรม . ในกรณีที่ลูกจ้างเสพยาบ้าหรือยาเสพติดให้โทษจนถูกจับกุมนั้น หากในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานมีระบุไว้ว่าพฤติกรรมดังกล่าวที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดเป็นพฤติกรรมที่ร้ายแรง นายจ้างก็สามารถเลิกจ้างได้ แม้ผลการดำเนินคดีจะออกมาว่าไม่ต้องรับโทษจำคุก แต่ให้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดก็ตามก็ยังถือว่าเป็นความผิดร้ายแรงที่นายจ้างสามารถเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย . เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะบริษัทมีข้อบังคับชัดเจนเกี่ยวกับการทำงานและระบุเรื่องยาเสพติดให้โทษไว้ประกอบกับผู้ที่ติดยาเสพติดให้โทษเหล่านี้เมื่อมาทำงานก็อาจจะมีอาการมึนเมาหรือมีพฤติกรรมความเสี่ยงที่จะเสพยาอยู่เรื่อยๆเมื่อนายจ้างกำหนดไว้ให้เป็นความผิดร้ายแรงนายจ้างจึงสามารถเลือกสร้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยค่ะ เรื่องแบบนี้เคยมีเกิดขึ้นเช่นกัน ใครอยากลองอ่านไปหาฎีกาที่ 6924/57 ดูนะคะ . เอาจริงๆเลิกได้ก็เลิกเถอะมันไม่มีอะไรดีเลย . พักหลังๆมาเจอคำถามแบบนี้บ่อยมาก เช่น กินน้ำท่อม 4 x 100 นายจ้างเลิกจ้างได้ไหม หรือสูบกัญชานายจ้างเลิกจ้างได้หรือเปล่าเพราะถูกกฎหมายหมดแล้ว เอาจริงๆพวกยาเสพติดเหล่านี้อย่าไปเริ่มตั้งแต่แรกเลยค่ะ ไม่มีอะไรดีเลย เคยคุยกับพี่ต้อง แฟนเพจที่เคารพ ว่าทำไมลูกจ้างถึงเข้าใจว่าเมื่อมันถูกกฎหมายแล้วจะไม่ผิด โดยพี่ต้องเทียบเคียงให้เห็นชัดๆเลยว่าเมื่อก่อนเหล้าก็ผิดกฎหมายแต่เดี๋ยวนี้เล่าก็ถูกกฎหมายหมดแล้ว . แต่การดื่มสุราและมึนเมา เข้าไปในสถานที่ทำงานหรือสามารถทำงานได้ไม่เต็ม 100% เนื่องจากการ ดื่มสุราก็ยังเป็นความผิดร้ายแรงที่เลิกจ้างได้อยู่ อันนี้ก็อยากให้ลองเทียบเคียงกันดูนะคะ เราไว้ว่างๆจะมาเขียนให้ฟังใหม่เกี่ยวกับประเด็นกัญชาค่ะ

นายจ้างประเมินคะแนนให้เป็น 0 ลูกจ้าง มีสิทธิ์ ฟ้อง ขอให้ประเมินใหม่ได้!!

นายจ้างประเมินคะแนนให้เป็น 0 ลูกจ้าง มีสิทธิ์ ฟ้อง ขอให้ประเมินใหม่ได้!! . วันนี้ไปเจอฎีกานึงมาน่าสนใจ เป็นฎีกาที่เกี่ยวกับลูกจ้างรายนึงได้ไปดำเนินการฟ้องนายจ้างกรณีที่นายจ้างประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นศูนย์ ซึ่งคะแนนผลการปฏิบัติงานเป็นศูนย์นี้ดันไปอยู่ในหัวข้อ ความรับผิดชอบงาน ดังนั้นหากได้ 0 ในหัวข้อความรับผิดชอบนี้ก็อาจจะเข้าใจได้ว่าเราไม่มีความรับผิดชอบอะไรเลย ทั้งที่ร่วมงานมาทั้งปีไม่มีงานอะไรเสร็จเลยซึ่งมันเป็นไปได้ค่อนข้างยาก ลูกจ้างก็ไม่เห็นด้วยและรู้สึกว่าอาจจะถูกเลิกจ้างจากการประเมินแบบนี้หรืออาจจะไม่ได้โบนัสหรือการปรับเงินเดือนเพิ่มก็เป็นได้ . ซึ่งเป็นประเด็นว่าในเมื่อนายจ้างยังไม่ได้เลิกจ้างเลยแต่ประเมินไม่เป็นทำแบบนี้ลูกจ้างทำอะไรได้บ้างในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7621/2559 ก็มีการวินิจฉัยไว้ชัดเจนว่าในกรณีนี้ ศาลมองว่าการประเมินการปฏิบัติงานจะเป็นการกลั่นแกล้งหรือไม่ ก็ เป็นกรณีที่ถูกโต้แย้งสิทธิเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง มาตรา 55 ลูกจ้างยังมีอำนาจฟ้องประกอบกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานมาตรา 31 . บางท่านอ่านมาถึงตรงนี้ ก็อาจจะมีความรู้สึกว่าถ้าไปฟ้องอย่างนั้นโอกาสในการร่วมงานต่อไปก็ยากน่ะสิ ใครจะไปทำ?? ใครกำลังคิดแบบนี้อยู่ก็อยากจะชี้แจงให้ทราบว่าต้องมีคนทำมาก่อนแล้วสิคะถึงมีฎีกา ส่วนทำไมเขาถึงทำหรือจะอยู่ต่อยังไงนั้นต่างก็เป็นเหตุผลส่วนตัวที่แต่ละคนต้องพิจารณาถึงผลได้ผลเสียกันเอาเองค่ะ

นายจ้างพักงานไปเรื่อยๆจนกว่าการสอบสวนจะสิ้นสุด ไม่ได้!!

นายจ้างพักงานไปเรื่อยๆจนกว่าการสอบสวนจะสิ้นสุด ไม่ได้!! . จากการจัดอบรมไปครั้งก่อนก็มีผู้เข้าร่วมอบรม มาสอบถามว่านายจ้างกำหนดให้พักงานจนกว่าการสอบสวนจะสิ้นสุดได้หรือเปล่าคะซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าจะสิ้นสุดเมื่อไหร่แต่อยากรวบรวมหลักฐานให้ชัดเจนก่อน . ในกรณีนี้ก็ต้องตอบไปว่าหากนายจ้างกำหนดให้พักงานไปเรื่อยๆจนกว่าการสอบสวนจะสิ้นสุดนั้นเป็นการขัดต่อมาตรา 116 ตามพรบคุ้มครองแรงงาน ซื้อในมาตราดังกล่าวบัญญัติห้ามไม่ให้นายจ้างสั่งพักงานลูกจ้างในระหว่างการสอบสวน เว้นแต่จะมีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้อำนาจนายจ้างสั่งพักงานได้โดยนายจ้างจะต้องมีคำสั่งพนักงานเป็นหนังสือระบุความผิดและกำหนดระยะเวลาพักงานได้ไม่เกิน 7 วัน . ดังนั้น สำหรับนายจ้างที่สั่งพักงานเกินกว่า 7 วันนายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างเต็มจำนวนให้แก่ลูกจ้างด้วย แล้วเรื่องแบบนี้ก็เคยเกิดขึ้นมาแล้วเช่นกันนายจ้างท่านใดที่ยังปฏิบัติแบบนี้อยู่ให้ลองไปดูคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14659-14660/2557 นะคะ