กรุณารอสักครู่

 

HomeCategoryกฏหมายแรงงาน Archives - Page 7 of 68 - บริษัท ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น จำกัด

ย้ายตำแหน่งงานไปในงานที่ไม่เกี่ยวข้อง ปฏิเสธได้หรือไม่

ย้ายตำแหน่งงานไปในงานที่ไม่เกี่ยวข้อง ปฏิเสธได้หรือไม่ การย้าย การสับเปลี่ยนตำแหน่งงาน เป็นเรื่องที่ลูกจ้างหลาย ๆ คนอาจจะต้องเจอ ซึ่งการย้ายตำแหน่งงานดังกล่าวนั้น ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง ที่นายจ้างไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้หากลูกจ้างไม่ยินยอม เว้นแต่ การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่เป็นคุณกับลูกจ้าง นายจ้างจึงจะสามารถทำได้โดยไม่ต้องขอความยินยอม ซึ่งหลักเกณฑ์การย้ายหรือการเปลี่ยนตำแหน่งนั้น ต้องไม่เป็นการ1. ไม่ลดตำแหน่ง2. ไม่ลดเงินเดือน3. ไม่ลดสวัสดิการต่าง ๆดังนั้นเมื่อแฟนเพจอินบล็อคเข้ามาถามว่า “นายจ้างย้าย หรือเปลี่ยนให้ไปทำงานในตำแหน่งงานที่ไม่เกี่ยวข้อง เช่น ทำงานตำแหน่งหัวหน้างานการเงิน แต่ย้ายให้ไปทำงานตำแหน่งเจ้าหน้าที่เวชระเบียน มีหน้าที่และความรับผิดชอบที่แตกต่างกันและไม่เกี่ยวข้องกันเลย แต่เงินเดือนและสวัสดิการต่าง ๆ เท่าเดิม ถามว่า ลูกจ้างปฏิเสธได้หรือเปล่า ?”จากข้อเท็จจริงเท่านี้คลินิกกฎหมายแรงงานมีความเห็นว่า “ปฏิเสธได้” เพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณกับลูกจ้าง ที่เดิมลูกจ้างมีตำแหน่ง “หัวหน้างานการเงิน” (มีอำนาจบังคับบัญชา) แต่นายจ้างจะย้ายให้ไปทำงานตำแหน่ง “เจ้าหน้าที่เวชระเบียน” (ผู้ปฏิบัติ) อันเป็นการลดตำแหน่งให้ต่ำกว่าเดิม ถึงแม้ว่าจะได้รับเงินเดือนหรือสวัสดิการเท่าเดิมก็ตาม ดังนั้น หากลูกจ้างปฏิเสธแล้วถูกเลิกจ้าง นายจ้างจะต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชยให้กับลูกจ้างและอาจจะต้องรับผิดจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมอีกด้วย ฎีกาที่ 7238-39/2544​​2. หากการย้ายตำแหน่งงานนั้น เงินเดือน สวัสดิการ หรืออำนาจบังคับบัญชาของลูกจ้างไม่ต่ำกว่าเดิมแล้ว และไม่มีสัญญาหรือข้อตกลงที่บัญญัติไว้ว่าห้ามเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง ก็ย่อมไม่ผูกมัดนายจ้างที่จะต้องให้ลูกจ้างทำงานในตำแหน่งเดิมตลอดไป แต่จะเป็นเรื่องอำนาจในการบริหารงานบุคคล ที่นายจ้างสามารถทำได้ เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาคำพิพากษาศาลฎีกาที่...

ประเมินผลการทำงานโดยเปรียบเทียบกับเพื่อนร่วมงานคนอื่นแล้วเลิกจ้าง  ถือเป็นเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

ประเมินผลการทำงานโดยเปรียบเทียบกับเพื่อนร่วมงานคนอื่นแล้วเลิกจ้าง ถือเป็นเลิกจ้างไม่เป็นธรรม การประเมินผลการทำงานของพนักงานนั้น นายจ้างจะต้องมาตรฐาน ตำแหน่ง และหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน เพื่อที่จะได้พิจารณาว่าศักยภาพในการทำงานของลูกจ้าง ว่าทำงานมีประสิทธิภาพหรือไม่ หากไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่นายจ้างกำหนด นายจ้างก็อาจจะต้องเลิกจ้าง แต่ในกรณีที่นายจ้างประเมินผลการทำงานโดยเปรียบเทียบกับเพื่อนร่วมงานคนอื่นแล้วเลิกจ้าง ถือเป็นเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ 2123/2565 นายจ้างประกาศโครงการและผลตอบแทนเชิญชวนหาผู้สมัครใจจาก แต่มีลูกจ้างเข้าร่วมโครงการไม่ครบ จึงกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการเลิกจ้างเพื่อพิจารณาคัดเลือกลูกจ้างที่จะเลิกจ้างตามหลักเกณฑ์ นายจ้างจึงอาศัยหลักเกณฑ์การประเมินผลการทำงานย้อนหลัง 3 ปีเปรียบเทียบกันระหว่างโจทก์และนายเอ ลูกจ้างจำเลยอีกคนหนึ่ง ซึ่งเป็นไปโดยไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงและมีความน่าเคลือบแคลงสงสัยเพราะไม่มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมนายจ้างจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหากในเกิดกรณีการประเมินผลงานไม่ถูกต้อง เป็นไปในลักษณะกลั่นแกล้ง ไม่ตรงตามความจริงและไม่เป็นธรรมต่อเราเอง เราต้องทำความเห็นแย้งหรือคัดค้านทันทีที่ทราบผลการประเมินนะคะและเช่นเคยสำหรับใครที่ไม่อยากจดจำ ไม่มีเวลาหาข้อมูล แต่มีคำถามในทางปฏิบัติมากมาย อยากหาทนายเคียงข้างธุรกิจ เป็นเพื่อนคู่คิดหรือเป็นมิตรคู่กาย ในการให้คำปรึกษาด้านกฎหมายสักคน สามารถติดต่อมาได้ inbox เพจนะคะ#มนุษย์เงินเดือน #พนักงานบริษัท #ออฟฟิศ #hr

นายจ้างมอบหมายงานเกินหน้าที่ ไม่ทำได้ไหม จะเป็นเหตุแห่งการเลิกจ้างโดยไม่ได่รับค่าชดเชยได้ไหม

คำถามดี มีประเด็น กับคำถามที่ว่า“นายจ้างมอบหมายงานเกินหน้าที่ ไม่ทำได้ไหม จะเป็นเหตุแห่งการเลิกจ้างโดยไม่ได่รับค่าชดเชยได้ไหม”กรณีจากคำถามข้างต้นนั้น ผู้เขียนมีความเห็นว่า ลูกจ้าง “ปฏิเสธได้”หากเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้1.ในการทำงานมีการกำหนด Job description หน้าที่และความรับผิดชอบไว้ชัดเจน2.การมอบหมายงานเกินหน้าที่ เกินตำแหน่ง ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง ที่นายจ้างไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้หากลูกจ้างไม่ยินยอม ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ3.กรณีที่ลูกจ้างถูกเลิกจ้างเพราะเหตุที่ลูกจ้างปฏิเสธคำสั่งดังกล่าว ไม่ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของนายจ้าง ลูกจ้างมีสิทธิฟ้องเรียกค่าชดเชย ค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า หรืออาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมได้ทั้งนี้ เทียบเคียงแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536-542/2538 คำสั่งของนายจ้างที่ลูกจ้างต้องปฏิบัติตามป.พ.พ.มาตรา575,583และประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(3)ต้องเป็นคำสั่งให้ลูกจ้างทำงานตามหน้าที่ของลูกจ้างและเป็นงานในกิจการของนายจ้างการที่จำเลยให้โจทก์ทั้งเจ็ดไปทำงานที่บริษัทอ. ซึ่งมิได้เป็นกิจการของจำเลยทั้งมิใช่งานตามหน้าที่ของโจทก์ทั้งเจ็ดย่อมมิใช่คำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายกรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งเจ็ดขัดหรือฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง4. แต่ถ้าใน Job description มีการกำหนดว่า “ลูกจ้างต้องทำงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย” (ซึ่งส่วนมากกำหนดแบบนี้ทุกบริษัท) ซึ่งถ้างานอื่นๆเกี่ยวข้องกับตำแหน่งหน้าที่ที่รับผิดชอบลูกจ้างก็ไม่สามารถปฏิเสธได้หรือถ้าปฏิเสธไม่ทำก็อาจจะถูกใบเตือนซึ่งนำมาสู่การเลิกจ้างได้อย่างไรก็ตาม โดยคำว่างานอื่นๆตามที่ได้รับมอบหมายมันครอบคลุมแสนแปดประการ ถ้ายังงั้นนายจ้างสั่งให้ทำอะไรก็ต้องทำงั้นสิ??ไอ่คำว่างานอื่นๆในความเห็นของฝ้าย ฝ้ายคิดว่างานอื่นๆนั้นก็ต้องเกี่ยวกับหน้าที่ในการทางที่จ้างด้วย สมมุติว่าเป็นนิติกรของบริษัทแห่งหนึ่ง งานอื่นๆจะให้ไปทำคือทำ บัญชี หรือไปขับรถให้ผู้บริหาร อันนี้ก็คงไม่ได้เกี่ยวกับหน้าที่งานหรือความรู้ความสามารถแต่อย่างใด และโดยเฉพาะถ้าเป็นวิชาชีพเฉพาะการมอบหมายให้ไปทำ โดยอ้างว่าอยู่ในคำว่าขอบเขตงานอื่นๆ ก็เห็นว่านอกจากจะไม่แฟร์กับลูกจ้างแล้วยังอาจเกิดความเสียหายตามมาภายหลังให้แก่นายจ้างด้วยแต่อย่างไรก็ตามในส่วนนี้มีความเห็นว่า ถ้านายจ้างมอบหมายงานเป็นครั้งคราว ลูกจ้างก็อย่าเพิ่งผลีผลามปฏิเสธ เอาเป็นว่าถ้างานดังกล่าว อยู่ในขอบเขตงานเกี่ยวเนื่องกับงานตามหน้าที่หรือเป็นงานเล็กๆน้อยๆ ที่ช่วยกันได้ก็ช่วยกันไปเป็นครั้งคราวลูกจ้างก็ควรจะต้องทำ และถ้างานนั้นต้องทำนอกเวลางานที่ลูกจ้างต้องทำงานล่วงเวลา อันนี้ลูกจ้างมีสิทธิที่จะปฏิเสธได้ หรือหากลูกจ้างยินยอมทำนายจ้างก็ต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้กับลูกจ้างด้วยและเช่นเคยสำหรับใครที่ไม่อยากจดจำ ไม่มีเวลาหาข้อมูล...

โพสด่านายจ้างว่าบริหารงานห่วยเอาเปรียบลูกจ้างแต่ไม่ระบุชื่อบริษัท นายจ้างไล่ออกได้หรือไม่

  เนื่องจากมีแฟนเพจคนหนึ่งของเราสอบถามว่าตนเองได้โพสต์ด่านายจ้างว่าบริหารงานไม่ดี มีเจตนาโกงลูกน้อง แต่ไม่ได้ระบุชื่อบริษัท ไม่ระบุชื่อนายจ้าง ไม่ได้เช็คอินบริษัทแต่อย่างใด มีพนักงานในบริษัทท่านอื่นเห็นก็ได้แคปข้อความดังกล่าวไปฟ้องฝ่ายบุคคล จึงได้มีการเรียกลูกจ้างไปตักเตือนว่าให้ลบข้อความดังกล่าวออก เพราะอาจทำให้เกิดความเสื่อมเสียให้แก่บริษัทเราไม่ลบได้หรือไม่และหากไม่ลบ บริษัทออกใบเตือนได้หรือเปล่า ใบเตือนนั้นจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่??ในเรื่องนี้ เราขอให้ความเห็นแบบนี้นะคะ1. การโพสที่ทำให้บริษัทเสียหาย ไม่จำเป็นจะต้องมีชื่อบริษัทหรือชื่อนายจ้างก็ได้เพียงแต่บุคคลทั่วไปสามารถเข้าใจได้ว่าผู้โพสต์หมายถึงใคร ยกตัวอย่างให้เห็นได้ชัดเจนในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8206/2560 ลูกจ้างโพสต์บนเฟสบุ๊กว่า “เมื่อไหร่จะได้ในสิ่งที่ควรได้ว๊ะ…ต้องกินต้องใช้ ไม่ได้แดกดินแดกลมนะ”และ “ใครที่เกลียดเจ้านายเป็นบ้าเป็นหลัง โดนเจ้านายกลั่นแกล้ง หยุดซะเถอะความเกลียด ความโกรธ ปล่อยให้เขาเป็นอย่างนั้นไปคนเดียว เพราะถ้ามีเจ้านายเฮงซวยจริงๆ ก็ถือว่าเจ้านายของคุณมีทุกข์เยอะที่ชีวิตเขาต้องมาเจอลูกน้องเกลียดและเขาก็จะไม่มีความสุขในสิ่งที่เขาเป็น ยุ่งเหยิงยิ่งกว่าหมxย…ลูกค้าเกลียดวันที่ลูกค้าเต็ม…ตลอด 3 ปีมานี้เขาบอกว่าขาดทุนตลอด อยู่ได้ไงตั้ง 3 ปี…งง…ให้กำลังใจกันได้ดีมากขาดทุนทุกเดือน”ซึ่งการโพสต์แบบนี้เข้าข่ายจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย เพราะ Social Media คือสื่อออนไลน์ที่ บุคคลอื่นสามารถเข้าถึงได้ ผลที่ตามมาคือมีความเสี่ยงที่จะถูกเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย อ้างอิงตาม ม.119 (2)ประเด็นต่อมา ก็เกิดคำถามอีกว่า โพสแบบนั้นนายจ้างก็ไม่เสียหายสักหน่อย ไม่ได้ทำอย่าร้อนตัวสิ ?? ตนเองไม่มีสิทธิ์ระบายอะไรเลยหรือไง นั่นเฟสของตนเองนะ?ซึ่งในส่วนนี้ เราไม่พูดถึงหลักกฎหมายเลย เราพูดถึงหลักความจำเป็นในการดำรงชีวิต คือ– คุณพร้อมรับความเสี่ยงในการตกงานหรือไม่– พร้อมรับความเสี่ยงในการถูกกดดัน จากที่ทำงานอันเนื่องมาจากความขัดแย้งหรือเปล่าในกรณีที่เรามองว่าเราไม่อยากทำงานแล้ว และโดนเอาเปรียบเรื่องอะไรบ้าง เช่น...

นายจ้างหักเงินประกันโดยไม่มีสิทธิ ถือเป็นการหักค่าจ้างโดยชอบหรือไม่?? ลูกจ้างทำยังไงได้บ้าง??

ถ้างานที่ลูกจ้างทำนั้นนายจ้างไม่มีสิทธิเก็บเงินประกัน แต่นายจ้างยังฝ่าฝืนเรียกเก็บเงินประกันโดยหักจากเงินค่าจ้างรายเดือน จะถือเป็นการหักค่าจ้างไม่ชอบด้วยมาตรา 76 หรือไม่ และหากฟ้องคดีต่อศาลจะฟ้องอย่างไร? ​​1. การที่นายจ้างเรียกเงินประกันการทำงานโดยไม่ว่าจะเรียกเก็บก่อนเข้าทำงานหรือโดยหักจากเงินค่าจ้างของลูกจ้างเป็นรายเดือน จากลูกจ้างที่ทำงานในตำแหน่งที่นายจ้างไม่สามารถเรียกหลักประกันในการทำงานได้นั้น ถือเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ม 10 และ ม.76 ที่มีโทษทางอาญา ตาม ม.144 ที่นายจ้างจะต้องคืนเงินประกันและคืนเงินค่าจ้างที่หักไว้แก่ลูกจ้าง (คำพิพากษาศาลฎีกาที่3039/2550) 2. ถามว่า เงินที่คืน จะใช้สิทธิเรียกคืนในฐานของ “เงินค่าจ้าง” หรือ “เงินประกัน” ความเห็นของผู้เขียนเห็นว่า เจตนาของนายจ้างคือการหักเงินเพื่อเป็นหลักประกัน หากจะฟ้องก็ต้องฟ้องเรียกคืนในฐานของ “เงินประกัน” โดยลูกจ้างสามารถเรียกคืนเงินค่าจ้างที่หักไว้ในแต่ละเดือนได้พร้อมดอกเบี้ย (เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 668/2544) ระเบียบของจำเลยว่าด้วยพนักงานและลูกจ้าง ข้อ 25 กำหนดให้เงินสะสมของพนักงานหรือลูกจ้างรวมทั้งดอกเบี้ยเป็นประกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ร้านสหกรณ์โดยการกระทำหรืองดเว้นการกระทำของพนักงานหรือลูกจ้างนั้น ๆ แต่โจทก์เป็นพนักงานทำความสะอาดไม่ใช่งานเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินที่นายจ้างจะเรียกหรือรับเงินประกันการทำงานหรือเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้างได้ตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับเงินประกันการทำงานหรือเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้าง ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2541 ข้อ 4 จำเลยจึงต้องห้ามไม่ให้เรียกหรือรับเงินประกันการทำงานหรือเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากโจทก์ เมื่อจำเลยเลิกจ้างจึงต้องคืนค่าจ้างที่หักไว้เป็นรายเดือนให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 มาตรา 10​ เหตุผลเพราะอะไรนั้น...

7 เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับการลาออก จำไม่หมดก็จด ขี้เกียจจดก็กดแชร์นะคะ

7 เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับการลาออก จำไม่หมดก็จด ขี้เกียจจดก็กดแชร์นะคะ   1. การลาออกเป็นการแสดงเจตนาเลิกสัญญาจ้างโดยลูกจ้าง ไม่ว่าด้วยวาจาหรือเป็นลายลักษณ์อักษรขอบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานกับนายจ้าง มีผลทำให้สัญญาจ้างแรงงานเป็นอันสิ้นสุดลง (คำพิพากษาฎีกาที่6048-6051/2546)   2. เมื่อแสดงเจตนาลาออกแล้ว จะถอนไม่ได้ ยกเว้นนายจ้างยินยอม การลาออกถือเป็นการแสดงเจตนาฝ่ายเดียวมีผลเมื่ออีกฝ่ายคือนายจ้างและรับทราบการแสดงเจตนานั้นเมื่อแสดงเจตนาลาออกและนายจ้างได้รับทราบเจตนาดังกล่าวแล้วลูกจ้างจะถอนการแสดงเจตนาโดยที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ยินยอมไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 386 (คำพิพากษาฎีกาที่ 1900/2542)   3. ก่อนการลาออกมีผล ลูกจ้างยังมีสถานะเป็นลูกจ้าง หากทำผิดนายจ้างเลิกจ้างได้ เมื่อลูกจ้างยื่นใบลาออกนายจ้างอนุมัติการลาออกแล้ว แต่ในระหว่างที่ยังไม่ถึงกำหนดเวลาพ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้างตามที่กำหนดไว้ในใบลาออก หากลูกจ้างกระทำผิดฝ่าฝืนคำสั่งระเบียบข้อบังคับการทำงานของนายจ้าง นายจ้างมีสิทธิ์ลงโทษทางวินัยและเลิกจ้างได้(คำพิพากษาฎีกาที่ 1919/2546)   4. นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานก่อนครบกำหนดในใบลาออกไม่ใช่การเลิกจ้าง ศาลฎีกาเคยตัดสินว่าสัญญาจ้างสิ้นสุดลงเพราะการลาออกไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง ทั้งนี้เพราะลูกจ้างเป็นฝ่ายแสดงเจตนาขอบอกเลิกสัญญาจ้างก่อน แม้นายจ้างไม่ได้แสดงเจตนาอะไรสัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อถึงวันที่ระบุให้ใบลาออกมีผล แม้นายจ้างจะให้ลูกจ้างออกจากงานก่อนถึงวันดังกล่าวตามที่ลูกจ้างประสงค์โดยลูกจ้างไม่มีความผิดก็มีผลทำให้ลูกจ้างเสียหายเพียงเท่าที่ไม่รับค่าจ้างจนถึงวันที่ลูกจ้างประสงค์จะออกเท่านั้น จึงมิใช่การเลิกจ้าง(คำพิพากษาฎีกาที่ 10161/2551)   5. ลูกจ้างเขียนใบลาออกไว้ล่วงหน้าไม่มีผลใช้บังคับ การที่นายจ้างให้ลูกจ้างลงชื่อในใบลาออกที่ไม่กรอกข้อความทำขึ้นเพื่อให้นายจ้างมีสิทธิลูกจ้างออกจากงานได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ซึ่งเป็นสิทธิขั้นต่ำตามกฎหมาย ถือว่าทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ขัดต่อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลใช้บังคับ   6.การลาออก ไม่จำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากนายจ้าง แต่หากลูกจ้างลาออกโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า หรือลาออกโดยไม่เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของบริษัท ลูกจ้างอาจจะถูกนายจ้างฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้ แต่นายจ้างจะต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่าการลาออกของลูกจ้างดังกล่าวนั้น นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างไร (คำพิพากษาฎีกาที่10614/2558)...

นายจ้างย้ายสถานประกอบการหากลูกจ้างไม่สะดวกจะไปต้องแจ้งว่าไม่ไปไม่ใช่แจ้งว่าลาออก !!

นายจ้างย้ายสถานประกอบการหากลูกจ้างไม่สะดวกจะไปต้องแจ้งว่าไม่ไปไม่ใช่แจ้งว่าลาออก !! นายจ้างย้ายสถานประกอบการ หากลูกจ้างไม่ไป จะถือว่าลูกจ้างผิดหรือไม่จนถึงขั้นเลิกจ้าง โดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้หรือไม่ เป็นประเด็นที่สอบถามกันเข้ามาบ่อยทั้งในฝั่งนายจ้างและลูกจ้างวันนี้คลินิกกฎหมายแรงงานจึงมาขออธิบายให้ฟังแบบไม่สั้น ดังนั้นค่อยๆอ่านกันนะคะ ก่อนอื่นขออธิบายว่า การย้ายสถานประกอบการในที่นี้ คือ ย้ายจากที่เก่าไปที่ใหม่ เช่น เดิมบริษัทตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ ต่อมาไปซื้อที่ดินและสร้างบริษัทใหม่ที่จังหวัดระยอง จึงปิดกิจการที่กรุงเทพฯและย้ายไปจังหวัดระยอง (ไม่ใช่กรณีย้ายสาขาหรือปิดสาขาเดิมไปอีกสาขาหนึ่งที่มีอยู่ก่อนแล้ว อันนี้จะเป็นคนละกรณีกับการย้ายสถานประกอบการ) ดังนั้น หากการย้ายสถานประกอบการนั้น กระทบต่อการดำรงชีพของลูกจ้าง โดยหากลูกจ้างไม่ประสงค์ไปทำงานในที่ทำงานใหม่ ลูกจ้างก็ไม่ได้ผิด และในกรณีที่นายจ้างเข้าใจว่า “ ก็ระบุไว้ในสัญญาจ้างแล้วหนิ ว่านายจ้างมีสิทธิย้ายตำแหน่งงานหรือย้ายให้ไปทำงานที่ไหนก็ได้ และลูจ้างก็เซ็นยินยอมไปแล้ว ดังนั้นจะสั่งย้ายไปไหนก็ได้” แน่นอนค่ะว่าสัญญานั้นสามารถบังคับได้ค่ะ “แต่ไม่ใช่ทุกกรณี” การย้ายก็ต้องมีหลักเกณฑ์ด้วยหลักเกณฑ์ในการย้ายหรือชอบด้วยกฎหมายเป็นยังไงเรียนเชิญอ่านโพสต์นี้ https://www.facebook.com/100831634828447/posts/pfbid02Fwn2UHQVfeMf5VBJmVjq24PPTPuqj69xzSYWkLEr59WY2A6Q6y8e2yuezvvfwFn8l/?d=n อย่างไรก็ตามหากการย้ายไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ลูกจ้างเองได้รับผลกระทบจากการโยกย้ายไม่ว่าในแง่ของการดำรงค์ชีวิตค่าใช้จ่ายหรือแม้แต่ครอบครัว ลูกจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้าง โดยต้องแจ้งภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งหรือนับแต่วันที่นายจ้างย้ายสถานประกอบการ จึงจะมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองฯ ม.120 แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าการย้ายสถานประกอบนั้น ไม่กระทบต่อการดำรงชีพของลูกจ้างแล้ว ลูกจ้างไม่ไปทำงาน หรือหากกระทบแต่ลูกจ้างก็ไม่ได้แจ้งแก่นายจ้างหรือไม่บอกเลิกสัญญาจ้างภายใน 30 วัน นับแต่วันที่นายจ้างแจ้งให้ทราบ ดังนี้ ลูกจ้างก็อาจมี “ความผิด” ฐานฝ่าฝืนคำสั่งหรือละทิ้งหน้าที่...

จะจบสวยหรือไม่สวย  นายจ้างก็มีหน้าที่ต้องออกหนังสือรับรองการทำงานให้กับลูกจ้าง!!

จะจบสวยหรือไม่สวย นายจ้างก็มีหน้าที่ต้องออกหนังสือรับรองการทำงานให้กับลูกจ้าง!! ซึ่งนายจ้างรายนี้ได้สอบถามเข้ามาเพราะเกิดความไม่แน่ใจและทางเพจก็ตอบไปให้แล้วว่า ยังไงก็ต้องให้เพราะเป็นไปตามกฏหมาย แต่ปรากฏว่านายจ้างก็ยังยืนยันว่าลูกจ้างทำผิดตนเองจึงไม่มีหน้าที่ต้องให้ ด้วยความเคารพนะ ถ้ามีธงในใจอยู่แล้วอธิบาย ยกมาตรามาแล้วก็ยังไม่เชื่อ อันนี้เค้าไม่เรียกมาปรึกษาค่ะเค้าเรียกว่ามาหาคนเข้าข้าง ซึ่งเข้าข้างไม่ได้จริงๆเพราะถ้าเข้าข้างไปและเกิดความเข้าใจผิดๆตัวนายจ้างเองนั่นแหละที่มีสิทธิถูกฟ้องและอาจเกิดความเสียหายภายหลัง ดังนั้น จึงขอนำเรื่องนี้มาแชร์เป็นรอบที่ 99 ว่า ไม่ว่าจะจบแบบใดลาออกไปด้วยความสมัครใจหรือถูกเลิกจ้าง “ต้องออกใบรับรองการทำงาน” เพราะ 1. เป็น “สิทธิ” ของลูกจ้างที่กฎหมายกำหนดไว้ และไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างประเภทใดหรือเรียกชื่ออย่างใด เช่น ลูกจ้างทดลองงาน ลูกจ้างชั่วคราว (ฎ.2187/31) ก็มีสิทธิขอได้ ทั้งนี้ ตาม ป.พ.พ. ม.585 2. เป็น “หน้าที่” ของนายจ้างที่จะต้องออกหนังสือฯ ให้กับลูกจ้างเมื่อลูกจ้างร้องขอ โดยนายจ้างจะปฏิเสธไม่ออกหนังสือฯ “ไม่ได้” ถึงแม้ว่าลูกจ้างจะถูกเลิกจ้างเพราะกระทำความผิดโดยทุจริตต่อนายจ้างก็ตาม ซึ่งรายละเอียดที่นายจ้างสามารถระบุไว้ในหนังสือฯ นั้น กฎหมายกำหนดให้ระบุได้เพียงว่า 1.ลูกจ้างทำงานมานานเท่าใด 2.งานที่ทำงานนั้นเป็นอย่างไร นายจ้างไม่มีสิทธิระบุข้อความลงในหนังสือว่าเลิกจ้างเมื่อใด ด้วยวิธีใด และสาเหตุใด เช่น ระบุว่าลูกจ้างถูกเลิกจ้างเพราะเหตุกระทำทุจริตต่อนายจ้าง เหตุที่กฎหมายกำหนดไว้เช่นนั้น เพราะคงไม่มีบริษัทใดที่จะรับลูกจ้างเข้าทำงาน เนื่องจากมีประวัติการทำงานที่ไม่ดี อย่างไรก็ตามหากนายจ้างจะระบุรายละเอียดนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนดก็ได้เช่นกัน ถ้าข้อความนั้นเป็นไปในลักษณะที่เป็นคุณกับลูกจ้าง (ชมได้ ตำหนิกล่าวโทษไม่ได้)...

“ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ คำสั่งนายจ้าง ที่นายจ้างได้เปรียบลูกจ้างเกินสมควร ศาลแรงงานมีอำนาจสั่งให้มีผลใช้บังคับได้เท่าที่เป็นธรรม”

“ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ คำสั่งนายจ้าง ที่นายจ้างได้เปรียบลูกจ้างเกินสมควร ศาลแรงงานมีอำนาจสั่งให้มีผลใช้บังคับได้เท่าที่เป็นธรรม” วันนี้ยาวหน่อย แต่อยากให้อ่าน เพราะหลายคนั้งนายจ้างแพ้ตั้งแต่เริ่ม เพราะคิดว่าอะไรที่นายจ้างสั่ง นายจ้างร่าง ลูกจ้างเซ็น และนายจ้างประกาศถือว่าเป็นอันใช้ได้…ถ้ายังเข้าใจแบบนั้นอยู่ เกียวตัวสู่ขิต แพ้คดีในชั้นศาลได้เลย เพราะ.. การทำสัญญาจ้างแรงงาน คู่สัญญาอาจตกลงสัญญาจ้างอย่างไรก็ได้ ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของนายจ้างและลูกจ้างเป็นสำคัญก็จริง แต่ข้อตกลงนั้นต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย ไม่เอาเปรียบลูกจ้างเกินสมควร และกรณีหากนายจ้างกำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ คำสั่ง ที่นายจ้างได้เปรียบลูกจ้างเกินสมควร แบบนี้ลูกจ้างจะมีสิทธิทำอย่างไรได้บ้าง เชิญอ่าน… 1. ลูกจ้างมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลแรงงาน หากศาลเห็นว่า สัญญาจ้าง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งนั้น นายจ้างได้เปรียบลูกจ้างเกินสมควร ศาลมีอำนาจสั่งให้สัญญาจ้างข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งนั้นมีผลใช้ปังคับเพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ม.14/1 2.มีคำพิพากษาฎีกาทีน่าสนใจ ดังนี้ ฏ.7810/2560 ข้อตกลงอันเป็นลักษณะข้อห้ามของโจทก์ผู้เป็นนายจ้างก็เพื่อปกป้องข้อมูลความลับและธุรกิจการค้าของโจทก์ให้อยู่รอดตำเนินการต่อไปได้ มุ่งเฉพาะสั่งที่เป็นการแข่งชันในการประกอบธุรกิจการค้าในลักษณะประเภทเดียวกับโจทก์และมีกำหนดระยะเวลา มิใช่ห้ามตลอดไป เป็นข้อตกลงหรือสัญญาที่กระทำได้โดยชอบ แต่จำเลย (ลูกจ้าง) มีตำแหน่งเพียงเจ้าหน้าที่ฝ่ายขาย ได้รับค่าจ้างเตือนละ 13,000 บาท...

สัญญาจ้างแบบมีกำหนดระยะเวลา เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาตามสัญญา จะได้ค่าชดเชยหรือไม่ ?

สัญญาจ้างแบบมีกำหนดระยะเวลา เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาตามสัญญา จะได้ค่าชดเชยหรือไม่ ?? หลายบริษัท ใช้วิธีทำสัญญาจางปีต่อปี เมื่อครบปี ก็ทำสัญญาต่ออีกฉบับนึง หรือบางบริษัท ก็ใช้วิธีการทำสัญญาแค่ 11 เดือนโดยเข้าใจว่าวิธีดังกล่าวจะไม่ต้องค่าชดเชย ความเข้าใจแบบนี้ทำให้เสียหายมาหลายบริษัทแล้วนะคะ แต่จะเสียหายอย่างไรคลินิกกฎหมายแรงงานอธิบายให้เข้าใจแบบนี้ค่ะ 1. หลายคน ตีความจากวรรคสามของมาตรา 118 ที่ว่า”..ค่าชดเชยในวรรคหนึ่ง มีให้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้..” จึงใช้วิธีการทำสัญญาจ้างลูกจ้างเป็นแบบมีกำหนดระยะเวลาเพื่อที่จะไม่ต้องจายค่าชดเชย ซึ่งแบบนี้ไม่ถูกต้องเสียทีเดียว เพราะ ในวรรค 4 ของมาตราเดียวกันกำหนดว่าจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาตามวรรคสามจะกระทำได้ สำหรับการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่ไม่ใช่งานปกติของกิจการ หรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอนหรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวมีกำหนด การสิ้นสุด หรือความสำเร็จของงาน หรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน 2 ปี 2.ดังนั้นหากลูกจ้างท่าน ใด ทำงานโดยเซ็นสัญญาเป็นพนักงานแบบมีกำหนดระยะเวลา ในกิจการที่เป็นไปเพื่อการประกอบธุรกิจปกติหรือทางการค้าของนายจ้าง เมื่อครบกำหนดสัญญาจ้างลูกจ้างจึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชย 3.การกำหนดสัญญาจ้างเป็น 11 เดือนนั้นก็ไม่สามารถเลี่ยงไม่จ่ายค่าชดเชยได้ เพราะค่าชดเชยจะเกิดขึ้นเมื่อลูกจ้างทำงานต่อเนื่องกันครบ 120 วันและถูกเลิกจ้างโดยที่ลูกจ้างไม่มีความผิด (ซึ่งการณีที่สัญญาสิ้นสุดลงตามกหนดระยะเวลาก็ถือว่าเป็นการเลิกจ้างโดยที่ลูกจางไม่มีความผิดเช่นกัน) 4. อย่างไรก็ตามสัญญาแบบมีกำหนดระยะเวลานี้นายจ้าง ไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า ก่อนครบกำหนดเพราะมีระยะเวลากำหนดแล้ว เช่นเดียวกันลูกจ้างก็ไม่ต้องแสดงเจตนาลาออกอีก ดังนั้น ค่าตกใจจึงถูกตัดออกไป ในสัญญาประเภทนี้ 5.ส่วนลูกจ้างที่ประสงค์ขอออกก่อนระยะเวลานั้นสิ้นสุดก็ไม่มีสิทธิได้ค่าชดเชย...