กรุณารอสักครู่

 

HomeCategoryกฏหมายแรงงาน Archives - Page 6 of 67 - บริษัท ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น จำกัด

ตบกันนอกบริษัท ไม่ได้ใส่เครื่องแบบพนักงาน เลิกจ้างยังต้องจ่ายค่าชดเชย

ตบกันนอกบริษัท ไม่ได้ใส่เครื่องแบบพนักงาน เลิกจ้างยังต้องจ่ายค่าชดเชย ฎีกา ที่กำลังจะหยิบยกขึ้นมามาเล่าต่อนี้เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่จะทำให้เห็นว่าการระบุไว้ในข้อบังคับไม่ได้ใช้ทุกอย่าง ต้องดูพิจารณาเป็นรายกรณีกรณีไปว่ากระทบกระเทือนทำให้บริษัทเสียหายมากน้อยเพียงใด ฎีกาที่ 2430 / 2557 ลูกจ้างผู้หญิงสองคนทะเลาะวิวาทตบตีกันนอกสถานที่ทำงานบาดเจ็บเล็กน้อยแต่ลูกจ้างก็ใส่เครื่องแบบของพนักงานแม้จะปรากฏว่าบริษัทจะมีในข้อบังคับระบุว่าพนักงานต้องมีความประพฤติสุภาพเรียบร้อยไม่ทะเลาะวิวาทหรือทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกันไม่ว่าจะในเวลาทำงานหรือนอกเวลาทำงานหรือระหว่างยังสวมเครื่องแบบพนักงานระเบียบดังกล่าวมุ่งเน้นห้ามไม่ให้เกิดเกิดขึ้นในบริเวณบริษัทหรือหากไม่ใช่บริเวณบริษัทก็ต้องไม่อยู่ในระหว่างที่สวมใส่เครื่องแบบพนักงานดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงพบว่ามีการด่าทอและทำร้ายร่างกายการเกิดขึ้นหลังเลิกงานนอกบริษัทและพนักงานยังไม่ได้สวมเครื่องแบบพนักงานอีกด้วย การที่พนักงานทะเลาะวิวาทกันดังกล่าวจึงไม่ใช่เหตุร้ายแรงที่นายจ้างจะหยิบยกมาเป็นเรื่องเลิกจ้างได้หากนายจ้างจะเลิกจ้างนายจ้างยังต้องจ่ายค่าชดเชย ถ้าพี่ค่าดังกล่าวเราคงเห็นแล้วว่าข้อบังคับหากจะให้ใช้บังคับได้จริงก็ต้องดูถึงเจตนารมย์และการตีความก็ต้องเป็นไปอย่างตรงไปตรงมาไม่มาขยายความเอาเองก็จะเป็นประโยชน์แก่ตัวผู้ออกกฎนั้นมาบังคับและเป็นประโยชน์ต่อผู้ใต้บังคับบัญชาด้วย ส่วนใครที่ไม่แน่ใจว่าข้อบังคับไหนควรจะเป็นยังไงก็อย่าลืมนะคะงานจ้างยังว่างว่างว่าจ้างกันเข้ามาได้ 😆😆 และเช่นเคยสำหรับใครที่ไม่อยากจดจำ ไม่มีเวลาหาข้อมูล แต่มีคำถามในทางปฏิบัติมากมาย อยากหาทนายเคียงข้างธุรกิจ เป็นเพื่อนคู่คิดหรือเป็นมิตรคู่กาย ในการให้คำปรึกษาด้านกฎหมายสักคน สามารถติดต่อมาได้ inbox เพจนะคะ #มนุษย์เงินเดือน #พนักงานบริษัท #ออฟฟิศ #hr

ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่บ่อยครั้งแต่นายจ้างเตือนด้วยวาจาไม่เคยออกหนังสือ เลิกจ้างจึงต้องจ่ายชดเชย

ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่บ่อยครั้งแต่นายจ้างเตือนด้วยวาจาไม่เคยออกหนังสือ เลิกจ้างจึงต้องจ่ายชดเชย อันนี้คือพูดเป็นรอบที่100 และถ้าอ่านโอเพ่นแชทที่พี่ต้องได้อธิบายก็จะพบว่าเป็นรอบที่ 200 ว่าการเตือนด้วยคำพูดมันก็เป็นเพียงการบ่นเท่านั้น การที่ จะให้มีผลตามกฎหมายก็เตือนเป็นลายลักษณ์อักษร มาดูตัวอย่างคดี ฎีกาที่ 21588 / 2557 ที่ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่บ่อยครั้งแต่นายจ้างก็ตักเตือนด้วยวาจาไม่เคยจะตักเตือนเป็นหนังสือเลย เพราะคิดว่าอยู่กันแบบพี่น้อง เพราะถึงเวลากับพี่น้องคนเดิมนี่แหละ อยากจะเลิกจ้างก็เลิกจ้างเลย กรณีนี้ศาลบอกไว้ว่าแม้ลูกจ้างจะทำผิดจริงแต่นายจ้างไม่เคยเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรเลยนายจ้างยังต้องจ่ายค่าชดเชยอยู่ดี รายละเอียดของฎีกานี้เล่าว่าโจทก์เป็นลูกจ้างตำแหน่งแม่บ้านต่อมาโจทก์ชอบออกไปทำงานส่วนตัวเดือนละหลายครั้งโดยไม่ได้รับอนุญาตจากหัวหน้าหรือจากใครเลยบริษัทก็ได้ตักเตือนด้วยวาจาหลายครั้งแล้วจึงเลิกจ้างในคดีนี้ศาลเห็นว่าการที่บริษัทจะเลิกจ้างโดยบอกว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและเป็นคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายจะต้องมีการตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนกรณีที่บ่นเฉยเฉยไม่เคยมีการเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรเลยแม้จะปรากฏความผิดว่าลูกจ้างทำผิดจริงนายจ้างก็ก็ยังต้องจ่ายชดเชย อ่านมาถึงตรงนี้แล้วทำให้ถูกได้ไหมอ่ะก็รู้อยู่ว่ากฎหมายคุ้มครองแรงงานเค้าก็กำหนดสิทธิและหน้าที่มาแล้วถ้าลูกจ้างทำผิดจริงนายจ้างก็ทำให้มันถูกขั้นตอนไม่ใช่อาศัยความเคยชิน ยุคสมัยมันเปลี่ยนไปแล้วนะลูกจ้างเดี๋ยวนี้เค้ามีความรู้ ถ้าเค้าผิดจริงเราก็ทำหน้าที่ของเราให้ครบถ้วนและเลิกจ้างตามระเบียบและข้อกฎหมาย ไม่ใช่เลิกจ้างตามอำเภอใจ อันนี้เตือนเพราะรักเพราะห่วงนะ ข้อเท็จจริงที่หลายหลายคนปรึกษามาลูกจ้างก็ทำผิดจริงนั่นแหละแต่นายจ้างก็คุ้นชินกับการไม่ออกหนังสือเตือนซึ่งมันไม่มีอะไรดีขึ้นเลยลองเอาไปปรับปรุงดูนะ

ลาออกแล้วเปลี่ยนใจ ไปขโมยใบลาออกมาฉีกทิ้ง นายจ้างเลิกจ้างได้ไม่ต้องจ่ายชดเชย!!

ลาออกแล้วเปลี่ยนใจ ไปขโมยใบลาออกมาฉีกทิ้ง นายจ้างเลิกจ้างได้ไม่ต้องจ่ายชดเชย!! อันนี้เป็นเรื่องที่อ่านแล้วก็มาเล่าให้แฟนเพจฟังว่า แกกกกก ช่วยสติมาปัญญาเกิดหน่อยเถอะอย่าทำอะไรด้วยอารมณ์ การเลิกจ้างหรือการลาออกเป็นการแสดงเจตนาฝ่ายเดียวถ้าผู้ที่บอกเลิกจ้างเป็นผู้ที่มีอำนาจหรือเป็นตัวแทนนายจ้างการบอกเลิกจ้างนั้นสมบูรณ์แล้ว แม้จะด้วยวาจาก็ตาม (แต่พิสูจน์ยากนิดหนึ่งนะดังนั้นถ้าเกิดว่ามีตัวแทนนายจ้างมาเลิกจ้าง ต้องอัดเสียงหรือหาหลักฐานอื่นๆไว้ว่าเค้าพูด) เช่นเดียวกันกับกรณีลาออก ถ้าเกิดลาออกเลยบอกถูกคนไม่ว่าจะบอกตัวนายจ้างเองหรือไปบอก HR ซึ่งเค้ามีอำนาจหน้าที่ในการรับเข้าทำงานรวมถึงเลิกจ้างแบบนี้การลาออกนั้นมันก็เป็นผลแล้ว โดย ฎีกาที่ 1919 / 2546 ก็เป็นในกรณีนี้เหมือนกันคือลูกจ้างลงชื่อในใบลาออกเรียบร้อยแล้วเอามาเกิดเปลี่ยนใจจึงไปขอดูใบลาออกที่ตัวเองเซ็นไว้และหยิบออกไปจากแฟ้มเอาออกไปนอกสำนักงานเมื่อมีผู้ทักท้วงห้ามปรามก็ไม่ได้สนใจว่าก็ฉีกใบลาออกทิ้งเลย กรณีนี้ไม่ได้ทำให้การลาออกมันสิ้นผลนะ แถมยังเป็นกรณีที่ถือว่าลูกจ้างกระทำความผิดโดยเจตนาต่อนายจ้างโดยชัดเจนคือเป็นข้อหาทำให้เสียซับนายจ้างสามารถเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยด้วยซ้ำ ช่วงนี้นี้งานหายาก แน่นอนแหละบางงานมันไม่ได้มีความสุขแต่ถ้าเกิดว่าลองเปรียบเทียบดูแล้วการไม่มีงานมันจะทุกข์กว่า ก็ลองรักษางานนั้นไปพร้อมกับหาโอกาสใหม่ใหม่ให้ตัวเองด้วยไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้เพิ่มเติมหรือมองหางานใหม่ แต่ถ้ามันไม่ไหวจริงๆจะออกแล้วทบทวนตัวเองดีแล้ว ก็ทำเลย แต่ก็แค่เน้นย้ำไว้ว่าให้ทบทวนดีดีนะไม่ใช่ว่ายื่นไปแล้วแกจะไปขโมยใบลาออกมาฉีกแบบนี้ อันนี้ก็ไม่ไหวนะ ติดต่องานคดีงานที่ปรึกษางานบรรยายอินบ็อกซ์มานะคะ

ไม่ได้เมาในเวลางาน แต่เมาค้างแล้วมาทำงาน ก็เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเหมือนกัน!!

ไม่ได้เมาในเวลางาน แต่เมาค้างแล้วมาทำงาน ก็เลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเหมือนกัน!! อันนี้ก็เป็นเรื่องจริงอีกเรื่องหนึ่งที่ลูกจ้างถามเข้ามา และเราต้องควบคุมสติอารมณ์สักเล็กน้อยก่อนที่จะตอบ เพราะคำถามของลูกจ้างคือผมไม่ได้ดื่มเหล้าในเวลางานซะหน่อยผมดื่มมาตั้งแต่ที่บ้านแต่เข้างานมามันก็ยังมีมึนๆนิดหน่อยไม่ได้สร่าง แต่ก็ทำงานได้ไม่ได้มีปัญหาอะไรนายจ้างจะเลิกจ้างผมได้เลยหรอ?? ขอให้ฎีกานี้แทนคำตอบแล้วกัน อ่านหนังสือเยอะเยอะเผื่อจะสร่างเมา หรืออีกทางนึงคือเมาหนักกว่าเดิมเพราะตัวหนังสือเยอะจัด ก็เลือกเอาแล้วกันจะเมาเหล้าหรือเมาความรู้ 😆😆 ถ้าให้เทียบเคียงฎีกาก็คงจะหนีไม่พ้นฎีกาที่ 3938 / 2561 ฎีกานี้นายจ้างประกอบธุรกิจรับจ้างขุดเจาะก๊าซน้ำมันธรรมชาติในข้อบังคับกำหนดว่าต้องไม่ตรวจพบสารเสพติดหรือของมึนเมาตกค้างในร่างร่างกาย ซึ่งมีความหมายรวมถึงการห้ามลูกจ้างรายงานตัวเพื่อเตรียมกลับเข้ามาทำงานด้วย การข้อบังคับดังกล่าวย่อมแสดงให้เห็นว่านายจ้างให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยการทำงานอย่างมาก ดังนั้นเมื่อลูกจ้างในคดีนี้ดื่มสุราก่อนรายงานตัวเพื่อคืนเฮลิคอปเตอร์เมื่อตรวจพบระดับปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายเกินกว่ากำหนดย่อมแสดงว่าขณะนั้นมีสภาพร่างกายและสติสัมปชัญญะไม่อยู่ในเกณฑ์สมบูรณ์การกระทำของจ้างดังกล่าวจึงเป็นความผิดร้ายแรงนายจ้างจึงเลิกจ้างได้ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและไม่ต้องจ่ายค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า จากฎีกาที่หยิบยกไปก็จะเห็นเราว่าในบางลักษณะประเภทกิจการบางลักษณะงานการมีสารเสพติดหรือมึนเมาค้างอยู่ย่อมทำให้การทำงานไม่ปลอดภัยแต่บางคนอาจมาถึงตรงนี้อาจจะมองว่าเราไม่ได้ทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรซะหน่อยไม่เกี่ยวกับความปลอดภัยดังนั้นเมาค้างทำงานไม่น่าจะมีผล แหมแกอ่ะมาถึงขั้นนี้ไม่ว่างานอะไรก็ตามคงไม่มีใครอยากเอาคนเมาค้างมาทำงานมั้ง คือถ้ามันหยุดไม่ได้ลดละเลิกไม่ได้ก็หากินเอานะบริหารเวลาใช้ชีวิตให้เต็มที่แต่กินเต็มที่แล้วมาทำงานเลยสมัยนี้งานหายากมันไม่เกิดผลดีกับใครทั้งนั้นแหละ สนใจติดต่องานว่าความที่ปรึกษาบรรยายติดต่อได้ทาง inbox เพจเลยนะคะ

ลูกจ้างที่ไม่สามารถทำงานได้เพราะประสบภาวะน้ำท่วมไม่ถือเป็นการขาดงานหรือละทิ้งหน้าที่ หากนายจ้างเลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย!!

ลูกจ้างที่ไม่สามารถทำงานได้เพราะประสบภาวะน้ำท่วมไม่ถือเป็นการขาดงานหรือละทิ้งหน้าที่ หากนายจ้างเลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย!! ก่อนอื่นขอแสดงความห่วงใยไปยังเพื่อนพี่น้องแฟนเพจในทุกจังหวัดที่ได้รับผลกระทบ สำหรับเป็นเหตุการณ์น้ำท่วม… คลินิกกฎหมายแรงงาน ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกท่าน ขอให้ทุกท่านปลอดภัย และเข้มแข็งทั้งกายใจนะคะ ในส่วนคำถามวันนี้ขออนุญาตหยิบยกคำถามที่เคยเกิดในช่วงน้ำท่วมและเกี่ยวข้องกับกฎหมายแรงงาน โดยแยกออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้1.กรณีพนักงานไ​ม่สามารถไปทำงานได้เนื่องจากน้ำท่วมถนนถูกตัดขาด แบบนี้ควรใช้ลาอะไรความเห็นของเรานะ : ถ้าการลาเนื่องจากน้ำท่วมถนนที่เป็นทางสัญจรถูกตัดขาดทำให้ไม่สามารถมาทำงานได้ ไม่เข้าลักษณะการลาทั้ง 3 ประเภทแน่นอนว่าไม่ใช่ลาป่วย ไม่ใช่ลากิจและไม่ใช่ลาพักร้อน แต่เป็นเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิย์มาตรา 219 ที่ลูกจ้างไม่สามารถไปทำงานได้ ลูกจ้างหลุดพ้นในการทำงานให้กับนายจ้าง ไม่ถือว่าเป็นการขาดงาน แต่ลูกจ้างก็ไม่มีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างเช่นกัน2. ในกรณีโรงงานถูกน้ำท่วมก็เช่นกัน ถ้าเป็นเหตุสุดวิสัยที่ทางโรงงานและลูกจ้างไม่อาจปัดป้องได้ ถือว่านายจ้างหลุดพ้นจากการชำระหนี้นายจ้างไม่ต้องรับผิดชอบจ่ายค่าจ้าง(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 118/2525)แต่ในทางกลับกัน กรณีพื้นที่อื่นๆท่วมไม่ได้ท่วมโรงงานโรงงานยังสามารถประกอบกิจการได้แต่โรงงานสั่งหยุดการผลิตชั่วคราวเนื่องจากไม่มียอดสั่งซื้อในช่วงน้ำท่วมแบบนี้ไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัยและหากลูกจ้างยังมีความพร้อมในการปฏิบัติงานอยู่นายจ้างยังมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277 – 1278/2529)เป็นกำลังใจให้ทุกท่านและขอให้ผ่านพ้นไปได้นะคะ——-ติดต่องานจ้างสอบถามค่าบริการได้ทางInfo@legalclinic.co.th

เลิกจ้างแบบไหนเป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรมคะ พี่ยกตัวอย่างหน่อย??

เลิกจ้างแบบไหนเป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรมคะ พี่ยกตัวอย่างหน่อย?? 🤔🤔 ได้เลยค่ะ ขอตัวอย่างมาพี่ก็หาและรวบรวมมาให้ โดยมาในรูปแบบตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่เคยวินิจฉัยว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมกันนะคะ Save หรือ Share เก็บไว้เป็นตัวอย่างเลย เลิกจ้างเพราะลูกจ้างฉีกหนังสือเตือน ถือว่าไม่เป็นธรรม (ฎ.1458/2524) เลิกจ้างเพราะสามีลูกจ้างไปทำงานกับบริษัทคู่แข่ง ถือว่าไม่เป็นธรรม (ฎ.3432/2524) สอบสวนแล้วไม่ผิดยังเลิกจ้าง ถือว่าไม่เป็นธรรม (ฎ.682/2525) เลิกจ้างเพราะลูกจ้างเล่นการพนันนอกเวลางานและนอกสถานที่ทำงาน ถือว่าไม่เป็นธรรม (ฎ.1684/2526,1044/2527) เลิกจ้างเนื่องจากลูกจ้างปกครองผู้ใต้บังคับบัญชาเข้มงวด ถือว่าไม่เป็นธรรม (ฎ.3431/2525) เลิกจ้างเพราะลูกจ้างรับทำงานอื่นนอกเวลาที่ไม่ทำให้นายจ้างเสียหาย ถือว่าไม่เป็นธรรม (ฎ.1253/2525) เลิกจ้างเพราะลูกจ้างถูกดำเนินคดีในความผิดเกี่ยวกับเช็คถือว่าไม่เป็นธรรม (ฎ.2187/2529) เลิกจ้างเนื่องจากลูกจ้างฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการเบิกค่าทำหมัน แต่ไม่ทุจริต ถือว่าไม่เป็นธรรม (ฎ.1360/2526) เลิกจ้างเพราะลูกจ้างทำผิดครั้งแรกถือว่าไม่เป็นธรรม (ฎ.3360/2526) ให้ลูกจ้างชายกับหญิงเกษียณอายุไม่เท่ากัน ถือว่าไม่เป็นธรรม (ฎ.6011-6017/2545) เลิกจ้างเพราะลูกจ้างผลักดันให้นายจ้างจ่ายค่าตอบแทนให้ตรงเวลา ถือว่าไม่เป็นธรรม (ฎ.3816/2546) เลิกจ้างเพราะลูกจ้างทำผิดระเบียบไม่ร้ายแรงและไม่ทุจริต ถือว่าไม่เป็นธรรม (ฎ.4064/2530) เลิกจ้างพนักงานขับรถที่มาสายถือว่าไม่เป็นธรรม (ฎ.2067/2529) นายจ้างนำความผิดที่ลงโทษไปแล้วมาเลิกจ้าง ถือว่าไม่เป็นธรรม (ฎ.1043/2527) เลิกจ้างโดยไม่มีสาเหตุถือว่าเลิกจ้างไม่เป็นธรรม (ฎ.2299/2528) เลิกจ้างเพราะลูกจ้างแสดงความเห็นขัดแย้งกับนายจ้าง ถือว่าไม่เป็นธรรม (ฎ.1347/2525)...

กรอกข้อความเท็จในใบสมัครงาน นายจ้างเอามาเป็นเหตุในการเลิกจ้างได้ไหม?

กรอกข้อความเท็จในใบสมัครงาน นายจ้างเอามาเป็นเหตุในการเลิกจ้างได้ไหม? เมื่อมีการมาสมัครงานข้อมูล บางครั้งผู้สมัครอาจจะมีประวัติอาชญากรรมติดตัวมา แต่เมื่อมาสมัครงาน ผู้สมัครเห็นว่าถ้าระบุอาจจะไม่ผ่านการพิจารณาจากนายจ้าง ทำให้ผู้สมัครปกปิดข้อมูล หรือกรอกข้อความเท็จในใบสมัครงาน เมื่อนายจ้างรับเข้าไปทำงาน และมาตรวจสอบพบทีหลัง นายจ้างเอามาเป็นเหตุในการเลิกจ้างได้ไหม?คำพิพากษาฎีกา 9096/2546การยื่นใบสมัครของลูกจ้าง (โจทก์) ที่ระบุว่าไม่เคยต้องคดีใดๆ มาก่อนนั้น เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในกรณีร้ายแรงหรือไม่ เห็นว่าข้อบังคับการทำงานของนายจ้าง (จำเลย) โดยเฉพาะหมวด 10 ว่าด้วยวินัยและโทษทางวินัย ข้อ 3.3 ความซื่อสัตย์สุจริต ข้อ 3.3.2 พนักงานต้องแจ้งข้อมูลส่วนตัวของตนตามที่บริษัทฯ ต้องการแก่บริษัทฯ ตามความเป็นจริง และถ้าข้อมูลที่ได้แจ้งแล้วไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง ไม่ว่าด้วยเหตุผลใด พนักงานต้องรายงานข้อมูลที่ถูกต้องให้บริษัทฯ ทราบโดยเร็วที่สุดจากข้อความที่ระบุไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานนั้น ย่อมมีผลใช้บังคับกับคนที่เป็นลูกจ้างแล้วเท่านั้น ไม่มีผลผูกพันไปถึงบุคคลภายนอก ขณะที่ลูกจ้างที่เป็นโจทก์ฟ้องในคดีนี้ ได้กรอกข้อความลงในใบสมัครงาน ตอนนั้นเป็นแค่ผู้สมัครงานเท่านั้น ยังไม่ได้เป็นลูกจ้าง ก็ต้องถือว่าเป็นบุคคลภายนอก ซึ่งไม่มีหน้าที่ต้องมาทำตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยส่วนที่ตอนท้ายของใบสมัครงานมีข้อความว่า ข้าพเจ้าขอรับรองว่ารายละเอียดดังกล่าวข้างต้นนี้เป็นความสัตย์จริงทุกประการ หากภายหลังที่ได้เข้ามาทำงานแล้ว ปรากฏว่ามีข้อความที่ไม่ตรงกับความจริงหรือเป็นความเท็จ บริษัทฯ มีสิทธิที่จะลงโทษและ/หรือเลิกจ้าง โดยให้ข้าพเจ้าออกจากงานได้ทันทีตามแต่กรณีนั้น ศาลฎีกาท่านมองว่าอาจเป็นเงื่อนไขข้อตกลงในสัญญาว่าจ้าง ที่ให้สิทธิแก่นายจ้างลงโทษลูกจ้างหรือเลิกสัญญาจ้างได้เป็นการเฉพาะรายแต่ก็มิใช่ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่นายจ้างต้องจัดให้มีตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กรณีที่ว่านั้นจึงถือไม่ได้ว่าการกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเมื่อนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยอาศัยเหตุดังกล่าว ลูกจ้างจึงมีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย และไม่สูญเสียสิทธิที่จะได้รับประโยชน์ต่างๆ อันพึงมีพึงได้ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างด้วยข้อเท็จจริงต่อมาคือ นับตั้งแต่ที่รับโจทก์ เข้ามาทำงานเป็นพนักงานควบคุมเครื่องจักร...

กฎหมายแรงงานมีโทษทางอาญาด้วย !!!

กฎหมายแรงงานมีโทษทางอาญาด้วย !!!กฎหมายแรงงานได้กำหนดให้ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล และหากการกระทำของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการ หรือการกระทำของบุคคลใด หรือไม่สั่งการ หรือไม่กระทำการอันมีหน้าที่ต้องกระทำของกรรมการผู้จัดการ หรือบุคคลใด ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินการของนิติบุคคลนั้น ผู้นั้นต้องรับโทษทางอาญาตามความผิดนั้นด้วยซึ่งการกำหนดในลักษณะดังกล่าวใช่ว่าผู้รับผิดชอบจะเป็นตัวนายจ้าง หรือผู้แทนของนายจ้างเท่านั้น ซึ่งโดยทั่วไปจะเข้าใจว่า บริษัทและกรรมการบริษัท แต่จริงๆ กฎหมายตีความครอบคลุมไปถึงบุคคลอื่นที่ไม่ใช่กรรมการด้วย ซึ่งอาจจะเป็นผู้จัดการฝ่ายบุคคลหรือฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ซึ่งอาจต้องร่วมรับผิดกับนายจ้าง (บริษัท) ด้วย หากข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าการกระทำเกิดจากการดำเนินการของผู้จัดการฯความผิดอาญาตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เป็นความผิดอาญาต่อแผ่นดิน ซึ่งหมายความว่า เมื่อมีการกระทำความผิดอาญาเกิดขึ้นแล้ว แม้ว่านายจ้างกับลูกจ้างสามารถตกลงประนีประนอมยอมความกันได้ ความผิดอาญาไม่ระงับ นายจ้างจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนตามที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนด ดังนี้1. พนักงานตรวจแรงงานจะมีหนังสือถึงนายจ้างแจ้งข้อกล่าวหาและให้นายจ้างแจ้งความประสงค์เปรียบเทียบปรับ (หากความผิดนั้นสามารถเปรียบเทียบปรับได้)2. นายจ้างจะต้องยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานตรวจแรงงานเพื่อแจ้งความประสงค์ขอให้ทำการเปรียบเทียบปรับ3. เจ้าพนักงานตรวจแรงงานจะทำการสอบสวน หากเห็นว่า นายจ้างสมควรจะถูกเปรียบเทียบปรับ เจ้าพนักงานตรวจแรงานจะทำเรื่องเสนอบุคคลดังต่อไปนี้ เพื่อสั่งเปรียบเทียบปรับต่อไป ได้แก่ อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย สำหรับความผิดที่ได้เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานครผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายสำหรับความผิดที่เกิดขึ้นในจังหวัดอื่นจากประสบการณ์ทำคดี เราพบเจอกรรมการบริษัทหลายบริษัทถูกเรียกเปรียบเทียบปรับจากการกระทำที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายแรงงานหลายครั้งต่อหลายครั้ง ดังนั้นหากกรรมการบริษัทคนใดไม่อยากถูกพิมพ์ลายนิ้วมือ/มีฐานข้อมูลประวัติในคดีอาญา อย่าลืมใส่ใจเรื่องการบริหารงานจ้างให้สอดคล้องกับกฎหมายแรงงานให้ดีค่ะ#hr #HR #ot #เงินเดือน #เลิกจ้าง #Professional #บริษัท #นายจ้าง #ค่าชดเชย #ที่ปรึกษากฎหมาย #ลูกน้อง #ลูกจ้าง #เจ้านาย #กฎหมายแรงงาน

ย้ายตำแหน่งงานไปในงานที่ไม่เกี่ยวข้อง ปฏิเสธได้หรือไม่

ย้ายตำแหน่งงานไปในงานที่ไม่เกี่ยวข้อง ปฏิเสธได้หรือไม่ การย้าย การสับเปลี่ยนตำแหน่งงาน เป็นเรื่องที่ลูกจ้างหลาย ๆ คนอาจจะต้องเจอ ซึ่งการย้ายตำแหน่งงานดังกล่าวนั้น ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง ที่นายจ้างไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้หากลูกจ้างไม่ยินยอม เว้นแต่ การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่เป็นคุณกับลูกจ้าง นายจ้างจึงจะสามารถทำได้โดยไม่ต้องขอความยินยอม ซึ่งหลักเกณฑ์การย้ายหรือการเปลี่ยนตำแหน่งนั้น ต้องไม่เป็นการ1. ไม่ลดตำแหน่ง2. ไม่ลดเงินเดือน3. ไม่ลดสวัสดิการต่าง ๆดังนั้นเมื่อแฟนเพจอินบล็อคเข้ามาถามว่า “นายจ้างย้าย หรือเปลี่ยนให้ไปทำงานในตำแหน่งงานที่ไม่เกี่ยวข้อง เช่น ทำงานตำแหน่งหัวหน้างานการเงิน แต่ย้ายให้ไปทำงานตำแหน่งเจ้าหน้าที่เวชระเบียน มีหน้าที่และความรับผิดชอบที่แตกต่างกันและไม่เกี่ยวข้องกันเลย แต่เงินเดือนและสวัสดิการต่าง ๆ เท่าเดิม ถามว่า ลูกจ้างปฏิเสธได้หรือเปล่า ?”จากข้อเท็จจริงเท่านี้คลินิกกฎหมายแรงงานมีความเห็นว่า “ปฏิเสธได้” เพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณกับลูกจ้าง ที่เดิมลูกจ้างมีตำแหน่ง “หัวหน้างานการเงิน” (มีอำนาจบังคับบัญชา) แต่นายจ้างจะย้ายให้ไปทำงานตำแหน่ง “เจ้าหน้าที่เวชระเบียน” (ผู้ปฏิบัติ) อันเป็นการลดตำแหน่งให้ต่ำกว่าเดิม ถึงแม้ว่าจะได้รับเงินเดือนหรือสวัสดิการเท่าเดิมก็ตาม ดังนั้น หากลูกจ้างปฏิเสธแล้วถูกเลิกจ้าง นายจ้างจะต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชยให้กับลูกจ้างและอาจจะต้องรับผิดจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมอีกด้วย ฎีกาที่ 7238-39/2544​​2. หากการย้ายตำแหน่งงานนั้น เงินเดือน สวัสดิการ หรืออำนาจบังคับบัญชาของลูกจ้างไม่ต่ำกว่าเดิมแล้ว และไม่มีสัญญาหรือข้อตกลงที่บัญญัติไว้ว่าห้ามเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง ก็ย่อมไม่ผูกมัดนายจ้างที่จะต้องให้ลูกจ้างทำงานในตำแหน่งเดิมตลอดไป แต่จะเป็นเรื่องอำนาจในการบริหารงานบุคคล ที่นายจ้างสามารถทำได้ เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาคำพิพากษาศาลฎีกาที่...

ประเมินผลการทำงานโดยเปรียบเทียบกับเพื่อนร่วมงานคนอื่นแล้วเลิกจ้าง  ถือเป็นเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

ประเมินผลการทำงานโดยเปรียบเทียบกับเพื่อนร่วมงานคนอื่นแล้วเลิกจ้าง ถือเป็นเลิกจ้างไม่เป็นธรรม การประเมินผลการทำงานของพนักงานนั้น นายจ้างจะต้องมาตรฐาน ตำแหน่ง และหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน เพื่อที่จะได้พิจารณาว่าศักยภาพในการทำงานของลูกจ้าง ว่าทำงานมีประสิทธิภาพหรือไม่ หากไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่นายจ้างกำหนด นายจ้างก็อาจจะต้องเลิกจ้าง แต่ในกรณีที่นายจ้างประเมินผลการทำงานโดยเปรียบเทียบกับเพื่อนร่วมงานคนอื่นแล้วเลิกจ้าง ถือเป็นเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ 2123/2565 นายจ้างประกาศโครงการและผลตอบแทนเชิญชวนหาผู้สมัครใจจาก แต่มีลูกจ้างเข้าร่วมโครงการไม่ครบ จึงกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการเลิกจ้างเพื่อพิจารณาคัดเลือกลูกจ้างที่จะเลิกจ้างตามหลักเกณฑ์ นายจ้างจึงอาศัยหลักเกณฑ์การประเมินผลการทำงานย้อนหลัง 3 ปีเปรียบเทียบกันระหว่างโจทก์และนายเอ ลูกจ้างจำเลยอีกคนหนึ่ง ซึ่งเป็นไปโดยไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงและมีความน่าเคลือบแคลงสงสัยเพราะไม่มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมนายจ้างจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหากในเกิดกรณีการประเมินผลงานไม่ถูกต้อง เป็นไปในลักษณะกลั่นแกล้ง ไม่ตรงตามความจริงและไม่เป็นธรรมต่อเราเอง เราต้องทำความเห็นแย้งหรือคัดค้านทันทีที่ทราบผลการประเมินนะคะและเช่นเคยสำหรับใครที่ไม่อยากจดจำ ไม่มีเวลาหาข้อมูล แต่มีคำถามในทางปฏิบัติมากมาย อยากหาทนายเคียงข้างธุรกิจ เป็นเพื่อนคู่คิดหรือเป็นมิตรคู่กาย ในการให้คำปรึกษาด้านกฎหมายสักคน สามารถติดต่อมาได้ inbox เพจนะคะ#มนุษย์เงินเดือน #พนักงานบริษัท #ออฟฟิศ #hr