กฏหมายแรงงานถ้าลูกจ้างสมัครงาน โดยกรอกข้อมูลประวัติอันเป็นเท็จ และนายจ้างมาทราบภายหลังสามารถเลิกจ้างได้หรือไม่
ถ้าลูกจ้างสมัครงาน โดยกรอกข้อมูลประวัติอันเป็นเท็จ และนายจ้างมาทราบภายหลังสามารถเลิกจ้างได้หรือไม่ คำถามดีมีประเด็นในวันนี้ มีอยู่ว่า ถ้าลูกจ้างสมัครงาน โดยกรอกข้อมูลประวัติอันเป็นเท็จ และนายจ้างมาทราบภายหลังสามารถเลิกจ้างได้หรือไม่ คลินิกกฎหมายแรงงานขอ ขออธิบายดังนี้ครับ 🤓 1.ใบสมัครงานไม่ใช่ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่นายจ้างต้องจัดให้มีตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ดังนั้น แม้ลูกจ้างกรอกข้อความในใบสมัครงานเป็นเท็จ จึงถือไม่ได้ว่าการกระทำฝ่าฝืนต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้าง แต่ต้องพิจารณาด้วยว่าข้อความอันเป็นเท็จดังกล่าวเป็นสาระสำคัญในการจ้างงานหรือไม่ 2. หากไม่ได้เป็นสาระสำคัญและ นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยอาศัยเหตุดังกล่าว ลูกจ้างจึงมีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย และไม่สูญเสียสิทธิที่จะได้รับประโยชน์ต่างๆ อันพึงมีพึงได้ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างด้วย ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6075/2549 จำเลยทั้งสามติดต่อและตกลงรับโจทก์เข้าทำงานกับจำเลยที่ 1 เพราะเห็นว่าโจทก์เป็นผู้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์สามารถทำหน้าที่บริหารดูแลงานทรัพย์สินทางปัญญาอันเป็นสาระสำคัญของสัญญาจ้างงาน การเป็นเนติบัณฑิตมลรัฐแคลิฟอร์เนีย หาใช่สาระสำคัญของสัญญาจ้างงานไม่ เพียงแต่ทำให้โจทก์ดูมีคุณสมบัติเด่นเป็นพิเศษ มีความน่าเชื่อถือและน่าไว้วางใจในการดูแลและบริหารงานมากยิ่งขึ้นเท่านั้น การที่โจทก์ระบุในใบสมัครงานว่าเป็นเนติบัณฑิตมลรัฐแคลิฟฟอร์เนียอันเป็นการเท็จ สัญญาจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นโมฆียะกรรม แม้ขณะที่โจทก์ยื่นใบสมัครเข้าทำงานกับจำเลยที่ 1 เป็นเหตุที่เกิดขึ้นก่อนที่จำเลยที่ 1 จะรับโจทก์เข้าทำงาน ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ยังมิได้เป็นลูกจ้างนายจ้างกัน กฎและมาตรฐานความประพฤติของจำเลยที่ 1 ยังไม่มีผลบังคับโจทก์ จะถือว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างกรณีกรอกข้อความในใบสมัครอันเป็นเท็จไม่ได้ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์เข้าทำงานกับจำเลยที่ 1 แล้ว การที่จำเลยที่ 1 ทำประวัติข้อมูลการศึกษาและประวัติการทำงานของโจทก์โดยระบุว่าโจทก์เป็นเนติบัณฑิตมลรัฐแคลิฟอร์เนียตามที่โจทก์ระบุไว้ในใบสมัครอันเป็นเท็จซึ่งโจทก์ตรวจแล้วรับรองว่าถูกต้องนั้น ย่อมเป็นการกระทำผิดข้อบังคับและมาตรฐานความประพฤติของพนักงาน และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน...