กรุณารอสักครู่

 

HomeCategoryกฏหมายแรงงาน Archives - Page 2 of 67 - บริษัท ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น จำกัด

อย่าคิดว่าการที่ไม่มีสัญญาจ้าง แล้วลูกจ้างไม่สามารถฟ้องได้นะ

อย่าคิดว่าการที่ไม่มีสัญญาจ้าง แล้วลูกจ้างไม่สามารถฟ้องได้นะ มีแฟนเพจท่านหนึ่งสอบถามเข้ามาด้วยความระกำใจว่า…. ” ทำงานมาตั้งนาน ประกันสังคมก็หัก จู่ๆมาเลิกจ้างแบบฟ้าผ่า นายจ้างบอกว่าไม่สิทธิได้ค่าชดเชย เพียงเพราะไม่มีสัญญาจ้าง กฎหมายไม่เป็นธรรมเลย”ใจเย็นก่อนเตง…ใครบอกกฎหมายไม่เป็นธรรม ฟ้องไม่ได้ ถ้ามั่นใจว่าทำงานร่วมกันแบบที่นายจ้างมีอำนาจบังคับบัญชา อยู่ภายใต้กฎระเบียบที่นายจ้างมาโดยตลอด ขาดลามาสายต้องแจ้ง ที่สำคัญนายจ้างส่งประกันสังคมให้ ถ้าครบขนาดที่พูดมานี้ เมื่อถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด “ ก็มีสิทธิได้ค่าชดเชย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม”เพราะไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายกำหนดว่าสัญญาจ้างแรงงานต้องทำเป็นหนังสือ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3598/2561) ดังนั้น การจ้างแรงงานอาจจะมีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือตกลงกันด้วยวาจา หรือ เกิดขึ้นโดยปริยายก็ได้ทั้งสิ้นอ่านมาถึงตรงนี้อาจเกิดคำถามว่า อ่าว!! แล้วให้เอาหลักฐานอะไรมาฟ้องคดีหล่ะ??ก็หลักฐานต่างๆที่แสดงว่ามีการจ้างงานกัน มีการมอบหมายงานให้ทำ ไม่ว่าจะเป็นไลน์ อีเมลล์ เอกสารต่างๆ บัตรพนักงาน การหักเงินส่งประกันสังคม รวมถึงเอกสารที่แสดงว่าเราได้รับเงินเท่าไหร่ ไม่ว่าจะเป็น statement แสดงว่าเงินเข้าออกจากบริษัท เท่าไหร่ รวมถึงหลักฐานอื่นที่แสดงว่าระยะเวลาการทำงานร่วมกันมานานแค่ไหน เป็นต้นดังนั้น บริษัทไหนที่จะหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามกฎหมายโดยอ้างว่าไม่มีสัญญาจ้างแรงงานบอกได้เลยว่า ไม่พ้น !!ทำให้ถูกต้อง เป็นธรรม และใช้วิธีบริหารการจ้างให้ถูกต้องตามกฎหมายจะดีกับทุกฝ่ายมากที่สุด———— 

พนักงานมาสายแต่กลับดึกคิดว่าชดเชยเวลาให้ เจอแบบนี้สามารถออกใบเตือนได้หรือไม่

พนักงานมาสายแต่กลับดึกคิดว่าชดเชยเวลาให้ เจอแบบนี้สามารถออกใบเตือนได้หรือไม่ ล่าสุดเป็นคำถามที่ต้องตั้งสติก่อนจะตอบ สำหรับเรามาก เนื่องจากมีแฟนเพจถามว่า…ขออนุญาตถามค่ะ ในเมื่อกฎหมายแรงงานกำหนดให้ลูกจ้างทำงานไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง ถ้างั้น หนูมาสายแต่นั่งทำงานจนครบ 8 ชั่วโมงโดยไม่ขอค่าล่วงเวลา นายจ้างออกหนังสือเตือนว่ามาสาย แบบนี้ได้ด้วยเหรอค่ะ??เอาแบบนี้ คือ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 23 กำหนดให้นายจ้างกำหนดเวลาทำงานปกติ และประกาศแจ้งให้ลูกจ้างทราบ ถึงเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดการทำงานในแต่ละวันของลูกจ้างได้ไม่เกินเวลาทำงานของแต่ละประเภทงานตามที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่วันหนึ่งต้องไม่เกิน 8 ชั่วโมง และสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกิน 48 ชั่วโมงก็จริงอยู่แต่อย่าลืม ว่าถ้านายจ้างเค้ากำหนดเวลางานปกติให้แล้ว เช่น 8.30-16.30 น. รวม 8 ชั่วโมงต่อวัน แต่สาวมาทำงานในเวลาที่ไม่ปกติอย่างหมู่เขา ใครจะติดต่องานกับสาวได้ และการที่สาวนั่งเกินเวลาและอ้างว่าไม่ขอค่าล่วงเวลานั่นยิ่งแล้วใหญ่ เพราะว่าการทำงานล่วงเวลาที่จะได้ค่าล่วงเวลานั้น ตามมาตรา 24 แห่งพ.ร.บ เดียวกัน กำหนดว่า ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน เว้นแต่ได้รับความยินยอม จากลูกจ้างก่อนเป็นคราวๆ ไป ในกรณีที่ลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไปถ้าหยุดจะเสียหายแก่งาน หรือเป็นงาน ฉุกเฉิน หรือเป็นงานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง นายจ้างอาจให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้เท่าที่จำเป็นนั่นหมายถึง...

สั่งแล้วสั่งเลย ห้ามเอ่ยคำลา!! นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา แม้ไม่มีงานให้ทำก็ต้องจ่าย

สั่งแล้วสั่งเลย ห้ามเอ่ยคำลา!! นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา แม้ไม่มีงานให้ทำก็ต้องจ่าย เปิดหัวข้อมา บางคนขำแห้ง บอกว่าเป็นไปไม่ได้ ที่นายเปิดโอทีแล้วให้นั่งชิล มีแต่จะเตรียมงานกองไว้ให้ต่างหากล่ะแหม่ เราไม่เคยเจอใช่ว่าคนอื่น ไม่เคยเจอเนอะ อย่างเช่นคุณหมอท่านนึงในคำพิพากษาฎีกาที่ 2686/2527 ที่ถูกนายจ้างสั่งให้ทำงานล่วงเวลา แต่ในช่วงดังกล่าวไม่มีงานให้ทำหรือมีงานให้ทำเพียงบางช่วง นายจ้างจึงปฏิเสธไม่จ่ายค่าล่วงเวลาและขอจ่ายแบบเหมาๆแทน โดยนายจ้างอ้างว่า ลักษณะของงานคือต้องรองาน (รอคนไข้) ไม่มีงานทำตลอดเวลา ระหว่างที่รองานหมอก็นอนได้ นายจ้างจึงได้คำนวณการจ่ายเงินตอบแทนในระหว่างรอการทำงานและการทำงานจริงเป็นการเหมาจ่ายโดยในกรณีดังกล่าว ศาลได้วินิฉัยว่า การทำงานนอกเวลาทำงานปกติ หรือการต้องทำงานในวันหยุดตามที่โจทก์มีหน้าที่ต้องทำตามเวร กับการมีงานให้ทำจริง ๆ ในช่วงเวลานั้น ๆเป็นคนละกรณีกัน เมื่อหมอมีหน้าที่ต้องมาทำงานในช่วงเวลาตามที่นายจ้างกำหนด หมอก็ถือว่าได้ประจำทำงานตามหน้าที่นั้นแล้ว ส่วนข้อที่ว่าจะมีงาน (มีคนไข้) ให้หมอรักษาหรือไม่ ก็ไม่เป็นข้อที่จะทำให้ช่วงเวลานั้น ๆ กลายสภาพไม่เป็นการทำงานล่วงเวลานอกเวลาทำงานปกติไม่เป็นการทำงานในวันหยุด และไม่เป็นการทำงานล่วงเวลาในวันหยุดเกินเวลาปกติ————-ติดต่องานจ้างสอบถามค่าบริการได้ทางInfo@legalclinic.co.th#ทนายแรงงาน #ทนายคดีแรงงาน#PDPA #พรบคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล#คลินิก​กฎหมาย​แรงงาน#ทนายฝ้ายคลินิกกฎหมายแรงงาน

ทำไมออกหนังสือเตือนแล้วเลิกจ้างตามระเบียบจึงแพ้คดีได้อีก

ทำไมออกหนังสือเตือนแล้วเลิกจ้างตามระเบียบจึงแพ้คดีได้อีก??   คำถามนี้เข้าใจนะคะว่านายจ้างเจ็บปวดทั้งๆที่ลูกจ้างก็ทำผิดจริงแต่เมื่อทำการลงโทษไล่ลูกจ้างออกตามระเบียบกรณีทำผิดซ้ำคำเตือนแต่กลายเป็นแพ้คดี   เมื่อมาไล่เรียงข้อเท็จจริงดูแล้วพบว่ามีอยู่หลายกรณี เช่นหนังสือเตือนมีลักษณะเป็นหนังสือแจ้งเพื่อทราบไม่มีความหนักแน่น ไม่มีบทลงโทษบอกไว้ว่าหากกระทำผิดจะถูกพิจารณาโทษสถานหนักอย่างไร บางแห่งเป็นหนังสือให้ลูกจ้างเขียนว่ายอมรับความผิด ซึ่งไม่ได้เข้าลักษณะองค์ประกอบของหนังสือเตือนแม้แต่น้อย ดังนั้นหากหนังสือเตือนนั้นไม่ครบถ้วนตามองค์ประกอบที่หนังสือเตือนควรจะต้องมี การที่นายจ้างไล่ลูกจ้างออกก็อาจจะเป็นเหตุที่ทำให้นายจ้างแพ้คดีได้ส่วนหนังสือเตือนที่ถูกต้องจะต้องมีลักษณะอย่างไรนั้น โปรดอ่านหนังสือเตือนที่ถูกต้องควรมีข้อความให้ครบถ้วนตามหลักกฎหมาย โดยมี   1.สถานที่ออกหนังสือเตือน 2. วันเดือนปี 3. เตือนลูกจ้างรายใด 4. ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการฝ่าฝืน และข้ออ้างที่ระบุว่าการกระทำนั้นเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของบริษัท 5. มีข้อความที่มีลักษณะเป็นการเตือน และกำหนดว่าหากมีการฝ่าฝืนอีกบริษัทจะลงโทษทางวินัยในสถานหนักขึ้นตามระเบียบข้อบังคับต่อไปและที่สำคัญ 6.ต้องลงลายมือชื่อของนายจ้างตัวแทนนายจ้างที่มีอำนาจออกหนังสือเตือนด้วย   #HR #HR #OT #เงินเดือน #เลิก จ้าง #PROFESSIONAL #บริษัท #นายจ้าง #ค่าชดเชย #ที่ปรึกษา กฎหมาย #ลูกน้อง #ลูกจ้าง #เจ้านาย #กฎหมายแรงงาน #ONLINETRAINING #ไล่ออก #PDPA #PDPA #PDPA #PDPAระUUระเบียบ PDPA #PDPA #กฎหมายคุ้มครองป้อง #ปัญหาเกิน กรอบ #ควบคุม...

ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย กรรมการระวังโทษจำคุก

ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย กรรมการระวังโทษจำคุก ในช่วงนี้เจอคำถามที่น่าเห็นใจทั้งฝั่งนายจ้างและลูกจ้าง ในฝั่งของลูกจ้างก็เป็นคำถามที่ว่า พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินตามที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับหรือศาลแรงงานมีคำพิพากษาให้นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง แต่นายจ้างก็ยังเพิกเฉยไม่จ่ายจะทำอย่างไรได้บ้าง ส่วนด้านนายจ้างก็สอบถามว่า ถ้าไม่มีจ่าย จะต้องถูกลงโทษอย่างไร และควรทำอย่างไร เรามาตอบในฝั่งของลูกจ้างก่อนว่าหากเจ้าพนักงานตรวจแรงงานหรือศาลมีคำสั่งให้นายจ้างจ่าย แล้วนายจ้างไม่จ่ายขั้นตอนต่อไป มีดังนี้ 1. เมื่อศาลมีคำพิพากษามาแล้ว ก็ให้รีบยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี แล้วรีบยึดทรัพย์ของนายจ้างเท่าที่มี เช่น ที่ดิน , เงินฝาก เป็นต้น แต่ต้องบอกไว้ก่อนนะการยึดทรัพย์นี้ไม่ได้เป็นการเดินเข้าไปหยิบมาได้เลย แต่เป็นการตั้งเรื่องให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อดำเนินการดังกล่าว 2.โดยในส่วนคดีอาญา ลูกจ้างในฐานะผู้เสียหายจากการฝ่าฝืนไม่จ่ายเงินตามสิทธิที่ลูกจ้างมีสิทธิ์จะได้รับ ก็สามารถร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีกับนายจ้างได้ พูดง่ายๆก็คือนายจ้างอาจมีโทษทางอาญา กรณีไม่ว่าจะเป็นการค้างชำระค่าจ้าง ค่าชดเชย ซึ่งตรงนี้นอกจากจะเสียค่าจ้างค่าชดเชยแล้วนายจ้างยังต้องถูกเปรียบเทียบปรับหรือจำคุกอีกด้วย และที่สำคัญกรณีที่และนายจ้างยังคงไม่ ให้ความสำคัญโดยไม่ไปตามหมายเรียกเพื่อเปรียบเทียบปรับ ไม่มีไม่หนีไม่จ่าย พนักงานสอบสวนก็จะสรุปสำนวนคดีส่งให้กับพนักงานอัยการจังหวัดฟ้องคดี และเมื่อคดีขึ้นสู่ศาลศาลก็มีอำนาจสั่งนายจ้างจ่ายค่าจ้าง ค่าชดเชย ให้กับลูกจ้าง รวมทั้งสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าปรับหรือจำคุกได้ คราวนี้มาฟังในฝั่งของนายจ้างกันบ้างว่า ถ้ากรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานมีคำสั่งให้จ่ายเงินแก่ลูกจ้างหรือศาลมีคำพิพากษาให้ชำระเงินแก่ลูกจ้าง นายจ้างมีสิทธิและหน้าที่อย่างไรกันบ้าง 1. ถ้าไม่พอใจไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน นายจ้างสามารถนำคดีขึ้นสู่ศาล เพื่อให้ศาลมีคำพากษาเพิกถอนคำสั่งเจ้าพนักงานตรวจแรงงาน แต่อย่าลืมว่าในขั้นตอนการยื่นคำฟ้องดังกล่าวต้องวางเงินเท่าจำนวนที่เจ้าพนักงานตรวจแรงงานสั่งให้นายจ้างจ่ายจึงจะมีอำนาจฟ้อง (ในประเด็นนี้มีนายจ้างท่านนึงถามว่าถ้ามีเงินจะคงจ่ายลูกจ้างไปแล้ว ไม่ให้ถึงศาลหรอก แต่มาถึงขั้นนี้ไม่มีเงิน จะทำอย่างไรได้บ้าง) ในส่วนนี้แนะนำให้เจรจาอย่างเดียวเลยค่ะตกลงร่วมกันไม่ว่าจะเป็นการ ผ่อนจ่าย...

จะลาออกต้องได้รับการอนุมัติจากนายจ้างจริงเหรอ????

จะลาออกต้องได้รับการอนุมัติจากนายจ้างจริงเหรอ???? หลายคนยังกังวลว่า​ หากยื่นลาออกแล้วบริษัทไม่อนุมัติจะทำอย่างไรดี ลาออกต้องใช้แบบฟอร์มบริษัทหรือไม่​ กระดาษทั่วไปเขียนเอง​ อีเมลล์​ ไลน์​ได้หรือเปล่า​ วันนี้คลินิกกฎหมายแรงงานมีคำตอบ​ ดังนี้การลาออก คือ การบอกเลิกสัญญาจ้างของฝ่ายลูกจ้างต่อนายจ้าง เมื่อแสดงการลาออกต่อนายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างโดย นายจ้างได้รับทราบการลาออก สัญญาจ้างก็สิ้นสุดลง ไม่ได้เป็นนายจ้างลูกจ้างกันต่อไป การลาออกลูกจ้างจะทำด้วยวาจา หรือ ทำเป็นหนังสือก็ได้(ฎีกาที่ 10161/2551) ดังนั้น​ วาจา​ ไลน์​อีเมลล์​หรือเป็นหนังสือมีผลหมดค่ะอย่างไรตาม​ หากบริษัทกำหนดว่าต้องได้รับการอนุมัติก่อน​ แต่ลูกจ้างแจ้งลาออกและออกโดยโดยที่นายจ้างไม่อนุมัติ ก็เป็นเพียงการลาออกที่ผิดระเบียบวิธีปฏิบัติของนายจ้าง ซึ่งหากนายจ้างเกิดความเสียหายก็สามารถฟ้องร้องได้​ แต่ต้องนำสืบพิสูจน์ให้ศาลเห็นถึงความเสียหายดังกล่าว​ด้วยการลาออกของลูกจ้าง​ “ไม่ต้อง” ได้รับการอนุมัติจากนายจ้างก่อน การลาออกก็มีผล ทำให้สัญญาจ้างสิ้นสุดลง​ แต่เพื่อไม่ให้นายจ้างเกิดความเสียหาย ลูกจ้างควรแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดและส่งมอบงานให้เรียบร้อยนะคะมาให้ดีใจไปให้คิดถึงยังไงก็ดีกว่าอยู่แล้วเนอะ #HR #HR #OT #เงินเดือน #เลิก จ้าง #PROFESSIONAL #บริษัท #นายจ้าง #ค่าชดเชย #ที่ปรึกษา กฎหมาย #ลูกน้อง #ลูกจ้าง #เจ้านาย #กฎหมายแรงงาน #ONLINETRAINING #ไล่ออก #PDPA #PDPA #PDPA #PDPAระUUระเบียบ...

นายจ้างหยุดพักร้อนน้อยกว่ากฎหมายกำหนดได้หรือไม่

นายจ้างหยุดพักร้อนน้อยกว่ากฎหมายกำหนดได้หรือไม่   สำหรับคำถามนี้มีคำตอบที่ชัดเจนแล้วใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 64 กำหนดว่า “หากนายจ้างไม่จัดให้ลูกจ้างหยุดพักผ่อนประจำปี หรือให้หยุดน้อยกว่าขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด นายจ้างต้องรับผิดชอบจ่ายค่าทำงานในวันหยุดหากมีการทำงานล่วงเวลาต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างด้วย” ตัวอย่างเช่น นายจ้างมีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุว่า “พนักงานที่ทำงานติดต่อกันมาแล้วครบหนึ่งปีมีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีได้ไม่น้อยกว่าปีละ 6 วันทำงาน โดยพนักงานจะได้รับค่าจ้างเท่ากับวันทำงานปกติและบริษัทเป็นผู้กำหนดวันหยุดให้แก่พนักงานล่วงหน้า” จึงเป็นหน้าที่ของนายจ้างที่จะต้องกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้าง เช่น   หากนายจ้างมิได้กำหนดให้แม้ลูกจ้างมิได้แสดงความจำนงว่าจะขอลาหยุด นายจ้างก็ยังคงมีหน้าที่ที่จะต้องกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้าง การกำหนดวันหยุดนี้เป็นหน้าที่ของนายจ้างตามกฎหมาย โดยที่ลูกจ้างไม่จำเป็นต้องร้องขอ นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้าง   จากตัวอย่างข้างต้น หากเปลี่ยนข้อเท็จจริงเป็นว่า นายจ้างกำหนดให้วันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างน้อยกว่าที่ขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด นายจ้างก็มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างให้ครบตามจำนวนวันที่กฎหมายกำหนด คือ 6 วันด้วย เช่น ตอนแรกนายจ้างกำหนดไว้ 3 วัน ก็ต้องจ่ายเพิ่มอีก 3 วันเป็นต้น   ติดต่องานขอทราบค่าบริการ 💬คดีความ 💬ที่ปรึกษากฎหมาย 💬 ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง 💬Thai/Eng 💬 งานบรรยาย สอบถามค่าบริการได้ทาง Labour.clinique@gmail.com ได้เช่นเคยครับ💬 ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง 💬Thai/Eng 💬 งานบรรยาย...

หายป่วยแล้วไม่กลับมาทำงาน ถือว่าขัดคำสั่งหรือไม่

หายป่วยแล้วไม่กลับมาทำงาน ถือว่าขัดคำสั่งหรือไม่   ในกรณีที่ลูกจ้างขอลาป่วยเป็นระยะเวลานานและนายจ้างอนุญาตให้ลาป่วยไปแล้ว แต่ข้อเท็จจริงปรากฏภายหลังว่า ลูกจ้างหายป่วยก่อนครบกำหนดที่ได้รับอนุญาตให้ลาไป นายจ้างมีสิทธิเรียกให้ลูกจ้างกลับมาทำงานได้ หากไม่กลับเข้าทำงาน ถือว่าจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างและเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร   คดีเรื่องหนึ่ง ลูกจ้างยื่นใบลาป่วยขอหยุดงาน 90 วัน นายจ้างอนุญาตให้ลูกจ้างลาป่วยและลูกจ้างหยุดงานแล้ว ต่อมาปรากฏว่าลูกจ้างมิได้ป่วยจนปฏิบัติงานไม่ได้และหยุดงานไปทำกิจธุระส่วนตัว นายจ้างจึงมีหนังสือให้ลูกจ้างรายงานตัวกลับเข้าทำงาน การที่นายจ้างมีหนังสือแจ้งให้ลูกจ้างทราบถือปฏิบัติ แสดงว่าเหตุแห่งการลาป่วยที่นายจ้างอนุญาตสิ้นไปแล้วและเป็นการยกเลิกการอนุญาตให้ลาป่วย เมื่อลูกจ้างฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามและนายจ้างเตือนเป็นหนังสือหลายครั้งแล้ว ย่อมเป็นการจงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างและเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควรนายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่จ่ายค่าชดเชยและไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า   ติดต่องานขอทราบค่าบริการ 💬คดีความ 💬ที่ปรึกษากฎหมาย 💬 ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง 💬Thai/Eng 💬 งานบรรยาย สอบถามค่าบริการได้ทาง Labour.clinique@gmail.com ได้เช่นเคยครับ💬 ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง 💬Thai/Eng 💬 งานบรรยาย สอบถามค่าบริการได้ทาง Labour.clinique@gmail.com ได้เช่นเคยครับ   #ลูกจ้าง #hr #คลินิกกฎหมายแรงงาน #มนุษย์เงินเดือนรู้กฎหมาย #ทนายฝ้าย #กฎหมายแรงงาน #วันหยุด #โอที #ot #ค่าจ้าง #ค่าแรง #ค่าทำงาน

ลูกจ้างลาป่วยคร่อมวันหยุดได้หรือไม่

ลูกจ้างลาป่วยคร่อมวันหยุดได้หรือไม่   แน่นอนว่าหลายบริษัทคงจะเคยเจอกับพฤติกรรมแบบนี้ของลูกจ้างมาบ้างไม่มากก็น้อย กล่าวคือ ลูกจ้างชอบลาป่วยคร่อมวันหยุดยาวบ้าง ลาปิดหัวท้ายวันหยุดบ้าง หรือบางคนชอบป่วยวันจันทร์ก็มีทำให้บริษัทต้องการแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยการออกกฎระเบียบว่าลูกจ้างห้ามลาป่วยปิดหัวปิดท้ายหรือลาคั่นกลางวันหยุด จึงเป็นประเด็นที่น่าพิจารณาว่า สรุปแล้วลูกจ้างลาป่วยคร่อมวันหยุดได้ไหม และระเบียบข้อบังคับดังกล่าวของนายจ้าง ใช้บังคับได้ตามกฎหมายหรือไม่   ตอบเลยว่า ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 32 กำหนดว่า “ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง…” ดังนั้นตราบใดที่ลูกจ้างบอกว่าป่วยย่อมลาได้เสมอ ในทำนองเดียวกัน นายจ้างก็ออกกฎระเบียบในลักษณะดังกล่าว “ไม่ได้” มีผลเป็นโมฆะเพราะกฎระเบียบนั้นขัดกับกฎหมาย หากลูกจ้างเจ็บป่วยจริง นายจ้างก็ไม่มีอำนาจห้ามไม่ให้ลูกจ้างลาป่วยได้   แต่หากปรากฏว่า นายจ้างสืบหาข้อเท็จจริงแล้วพบว่าลูกจ้างลาคร่อมวันหยุดแล้วป่วยเท็จ ไปนั่งกินเหล้าอยู่ร้านค้า หรือไปทำกิจกรรมอื่นๆ ที่แสดงให้เห็นว่าลูกจ้างไม่ได้ป่วยจริง แบบนี้กฎหมายย่อมไม่คุ้มครองลูกจ้างที่ไม่สุจริต นายจ้างสามารถลงโทษได้และหากการลาป่วยเท็จดังกล่าวติดต่อกัน 3 วันทำงาน ไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ นายจ้างก็เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (5) นะคะ   ดังนั้นลูกจ้างโปรดใช้ความสุจริตในการลาป่วยด้วยนะคะ   ติดต่องานขอทราบค่าบริการ 💬คดีความ 💬ที่ปรึกษากฎหมาย 💬 ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง 💬Thai/Eng 💬...

งานผลิตสารเคมีอันตราย ถ้าหากมีอุปกรณ์ป้องกันแล้ว นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างทำงาน 8 ชั่วโมง/วัน ลูกจ้างจะต้องได้รับค่าล่วงเวลาหรือไม่

งานผลิตสารเคมีอันตราย ถ้าหากมีอุปกรณ์ป้องกันแล้ว นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างทำงาน 8 ชั่วโมง/วัน ลูกจ้างจะต้องได้รับค่าล่วงเวลาหรือไม่   แม้ว่าจะเป็นงานผลิตสารเคมีอันตราย หรือใช้สารเคมีอันตรายเป็นสารตั้งต้นในการผลิต แต่หากลักษณะของโรงงานผลิตสารเคมีปลอดภัยตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด มีอุปกรณ์และระบบป้องกัน อีกทั้งงานของตัวลูกจ้างก็ไม่ใช่งานที่ต้องสัมผัสกับสารอันตรายเป็นระยะเวลานานก็ถือว่าไม่ใช่งานอันตรายที่ห้ามทำเกิน 7 ชั่วโมง/วัน ลูกจ้างจะไม่ได้รับค่าล่วงเวลา แต่ถ้าหากไม่เหมือนกรณีตามที่ได้กล่าวไปข้างต้นทุกประการ เช่น แม้ตัวโรงงานและอุปกรณ์ป้องกันทุกอย่างจะครบถ้วนตามมารฐาน แต่ลูกจ้างต้องทำงานโดยที่ต้องสัมผัสสารเคมีนาน 7-8 ชั่วโมง กรณีนี้ลูกจ้างก็มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาเพิ่มเติมเช่นกัน ไม่ต้องไปคำนึงถึงเรื่องมีอุปกรณ์หรือระบบป้องกันตัวลูกจ้างหรือไม่ เพราะถือว่างานที่ลูกจ้างทำเป็นงานอันตรายตามกฎหมายแล้ว   คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9548-9570/2539 คุณสมบัติของสารเฟอร์ฟูรัลและเฟอร์ฟูริลแอลกอฮอล์ แม้ในอุณหภูมิปกติก็ระเหยเป็นไอได้ และเมื่อสัมผัสทางผิวหนังหรือเยื่อบุตาก็ทำให้ผิวหนังหรือดวงตาได้รับอันตราย หากเข้าสู่ร่างกายโดยทางหายใจหรือทางปากก็อาจเกิดอันตรายต่อร่างกายได้ สารดังกล่าวจึงเป็นวัตถุเคมีที่เป็นอันตรายในตัวของมันเอง เมื่อสารดังกล่าวเป็นสารที่ระเหยได้ในอุณหภูมิปกติ บุคคลที่ทำงานผลิตสารดังกล่าวจึงอาจได้รับอันตรายตลอดเวลา โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยทำงานด้านการผลิตสารดังกล่าว งานของโจทก์จึงเป็นงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือร่างกาย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือร่างกายของลูกจ้าง ทั้งนี้ไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยจะมีระบบป้องกันอันตรายหรืออุบัติเหตุดีเพียงใดและลูกจ้างของจำเลยเคยได้รับอันตรายหรือไม่ งานดังกล่าวของจำเลยจึงตกอยู่ในบังคับประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน จำเลยจะต้องจัดให้ลูกจ้างทำงานไม่เกินสัปดาห์ละ 42 ชั่วโมง   เมื่อปรากฎว่าจำเลยให้โจทก์ทำงานสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมง หรือเฉลี่ยวันละ 8 ชั่วโมงโดยทำงาน 6 วัน เวลาทำงานปกติคือ 8 ถึง 17...