กรุณารอสักครู่

 

HomeCategoryกฏหมายแรงงาน Archives - Page 11 of 64 - บริษัท ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น จำกัด

ลดจำนวนลูกจ้าง สามารถเลิกจ้างลูกจ้างได้อย่างเป็นธรรมจริงหรือ ?

ลดจำนวนลูกจ้าง สามารถเลิกจ้างลูกจ้างได้อย่างเป็นธรรมจริงหรือ ? นายจ้างประสบภาวะขาดทุนมาเป็นระยะเวลานาน เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายและต้นทุนลง นายจ้างเองก็อาจจำต้องปรับตัวเองให้อยู่รอดต่อไปให้ได้ ซึ่งมาตรการปรับโครงสร้างกิจก็เป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายประจำของนายจ้าง ทำให้กิจการของนายจ้างสามารถดำเนินต่อไปได้ มาตรการการเลิกจ้างจึงต้องถูกหยิบมาใช้กับลูกจ้าง การที่นายจ้างมุ่งเน้นลดต้นทุนค่าแรงให้ต่ำลง มิใช่ต้องการลดจำนวนลูกจ้าง ถือเป็นอำนาจบริหารจัดการอย่างหนึ่ง การเลิกจ้างจึงมีเหตุผลจำเป็นเพียงพอ ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ขอเพียงแต่หากนายจ้างได้จ่ายค่าชดเชย ค่าพักร้อนที่ไม่ได้ใช้ (ถ้ามี) หรือสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน มาตรา 118 กำหนดว่า “ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง ดังต่อไปนี้ “ค่าชดเชย” หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2226 – 2304/2561 นายจ้างประสบภาวะขาดทุนมาตลอด จึงได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อสหภาพแรงงานเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายและต้นทุนการผลิตลง ทั้งก่อนเลิกจ้างได้จัดทำโครงการ สมัครใจลาออก และโครงการเกษียณก่อนกำหนด แต่มีลูกจ้างเข้าร่วมโครงการไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องเลิกจ้างประจำ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาต้นทุนค่าแรงสูงได้ตรงจุดกว่าการเลิกจ้างลูกจ้างรายปี แม้ภายหลังเลิกจ้างจะรับลูกจ้างประจำที่ถูกเลิกจ้างกลับเข้าทำงานตำแหน่งเดิมแต่เปลี่ยนสัญญาใหม่เป็นรายปีแทนก็ตาม ก็เป็นการยืนยันให้เห็นว่าการที่จำเลยมุ่งเน้นลดต้นทุนค่าแรงให้ต่ำลง มิใช่ต้องการลดจำนวนลูกจ้าง ถือเป็นอำนาจบริหารจัดการอย่างหนึ่ง การเลิกจ้างจึงมีเหตุผลจำเป็นเพียงพอ ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การปรับโครงสร้างองค์กรของนายจ้าง โดยลดจำนวนลูกจ้างลงนั้นจะต้องมาจากเหตุขาดทุนและจะต้องถึงขนาดที่หากไม่ลดจำนวนลูกจ้าง กิจการของนายจ้างจะไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ และการปรับลดจำนวนลูกจ้างนั้นจะต้องเป็นผลโดยตรงที่ช่วยให้กิจการของนายจ้างอยู่รอดหรือดำเนินธุรกิจต่อไปได้ แบบนี้ไม่ถือว่าเลิกจ้างไม่เป็นธรรม แต่หากเป็นการขาดทุนกำไร อันนี้ไม่เรียกขาดทุนนะจ๊ะนายจ้าง

สหภาพแรงงานคืออะไร สำคัญอย่างไรกับลูกจ้างและนายจ้าง?

สหภาพแรงงานคืออะไร สำคัญอย่างไรกับลูกจ้างและนายจ้าง? อธิบายง่าย ๆ ด้วยภาษาบ้าน ๆ เลยก็คือ… สหภาพแรงงานก็คือกลุ่มของลูกจ้างอย่างน้อย 10 คน ที่รวมตัวกันมาจัดตั้งเป็น “องค์กรที่ทำหน้าที่คุ้มครองผลประโยชน์ให้ลูกจ้าง และรักษา ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง หรือลูกจ้างกับลูกจ้าง” นั่นเอง นอกจากนี้ การที่ลูกจ้างตั้งสหภาพแรงงานนั้นไม่ใช่ว่าลูกจ้างจะต้องลาออกจากงานเพื่อมารับหน้าที่ ลูกจ้างสามารถทำหน้าที่เป็นพนักงานสหภาพแรงงานควบคู่ไปกับงานประจำได้เลย ซึ่งจากคำอธิบายดังกล่าว ทุกคนอาจจะสงสัยว่า อ้าว ถ้าอย่างนั้นสหภาพแรงงานในประเทศไทยก็มีหลายที่เลยสิ เพราะแค่ลูกจ้าง 10 คนมารวมตัวกันก็จัดตั้งได้แล้วนี่ คำตอบก็คือ…ใช่ค่ะ ลูกจ้างในองค์กรจะรวมตัวกันแล้วจัดตั้งกันในองค์กรกันเองก็ได้ แต่พอรวมตัวกันแล้วต้องไปจดทะเบียนกับนายทะเบียนสหภาพแรงงานด้วยนะคะ ส่วนหน้าที่ของสหภาพแรงงานนั้นก็ค่อนข้างหลากหลาย หลัก ๆ ที่พบเห็นได้บ่อยก็จะเป็นงานช่วยไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างลูกจ้างด้วยกัน ทำข้อตกลงกับนายจ้างเพื่อเรียกร้องสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ หรือถ้าหากเรื่องใหญ่หน่อยอย่างเช่นเรื่องชักชวนลูกจ้างให้ลูกจ้างนัดหยุดงานก็สามารถทำได้เช่นกัน จะเห็นได้ว่าหน้าที่ของสหภาพแรงงานนั้นสำคัญมากใช่ไหมคะ เพราะนอกจากจะเป็นทั้งนิติบุคคลที่สามารถช่วยลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ ในองค์กรไปได้แล้ว ก็ยังเป็นนิติบุคคลที่ช่วยมอบความเป็นธรรมเบื้องต้นให้กับลูกจ้างอีกด้วยเนอะ

ค่าคอมมิชชั่น เป็นค่าจ้างหรือไม่?

ค่าคอมมิชชั่น เป็นค่าจ้างหรือไม่? ก่อนอื่นเราต้องทราบกันก่อนนะ ว่าค่าคอมมิชชั่นคืออะไร ค่าคอมมิชชั่นหรือเรียกง่ายๆว่าเงินรางวัลการขาย เช่น บริษัท A จ้าง นาง B เป็นพนักงานขายสินค้าหน้าร้านของบริษัท นาง B เป็นคนที่มีเทคนิคการเชียร์ขายสินค้าเก่งมากๆ เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาจึงทำให้มีลูกค้ามาซื้อสินค้าของบริษัทเป็นจำนวนมาก ทำให้ยอดขายของบริษัทพุ่งทะลุหลายล้านบาททางบริษัทจึงมีการตอบแทนผลงานการทำงานของนาง B ด้วยการจ่ายเงินรางวัลการขาย หรือที่เรียกกันว่า “ค่าคอมมิชชั่น” นั่นเอง ส่วนค่าจ้างนั้น คือเงินทุกประเภทที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อเป็นค่าตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานปกติ ไม่ว่าจะคำนวณตามระยะเวลา หรือคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้และให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้ในวันหยุดและวันลาซึ่งลูกจ้างไม่ได้ทำงานด้วยเช่นกัน ดังนั้น ค่าคอมมิชชั่นจึงไม่ใช่ค่าจ้าง ตามมาตรา 5 พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 อย่างที่ลูกจ้างหลายๆคนเข้าใจกันผิดนะคะเพราะค่าคอมมิชชั่นนั้นเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างโดยต้องคำนวณตามผลงาน ตามยอดขาย ฉะนั้น การกำหนดวิธีการจ่าย หรือการจะเรียกชื่อการจ่ายเงินเป็นอย่างไรไม่สำคัญเท่ากับว่า “นายจ้างเจตนาหรือมีวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการจ่ายนั้น” ว่าเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานของลูกจ้าง หรือเพื่อช่วยเหลือหรือเป็นขวัญกำลังใจหรือเป็นสวัสดิการให้กับลูกจ้างในการตั้งใจปฏิบัติงานเท่านั้น โดยให้ดูที่วัตถุประสงค์ เงื่อนไข หรือหลักเกณฑ์ที่กำหนดและตกลงไว้ร่วมกันนะคะ เราจะพามาดูตัวอย่างคำพิพากษาฎีกา กรณี ไม่เป็นค่าจ้างกันเลยค่ะ 1.คำพิพากษาฎีกา ที่ 2625/2561 (เรื่อง “ค่าคอมมิชชั่น” “ค่ารักษาสินค้า” “ค่าตำแหน่ง”) “ค่าคอมมิชชั่น” จ่ายให้เพื่อจูงใจให้ขายสินค้าได้จำนวนมากที่สุด...

ค่าคอมมิชชั่นกับเงินจูงใจ ต่างกันอย่างไร?

ค่าคอมมิชชั่นกับเงินจูงใจ ต่างกันอย่างไร? เงินจูงใจ หรือ Incentive และค่าคอมมิชชั่น ต่างกันอย่างไรสิ่งที่ลูกจ้างทุกคนควรศึกษาเพื่อจะได้เข้าใจอย่างชัดเจนเพื่อให้ทำงานอย่างมีความสุขนะคะ ว่าสิ่งที่เราทำไปไม่เสียเปล่านะ ค่าคอมมิชชั่นหรือเรียกง่ายๆ คือ เงินรางวัลการขาย โดยจะถูกระบุไว้เป็นลายลักษณ์อักษรตามสัญญาจ้าง หรืออาจมีการกำหนดเงื่อนไขในการได้ค่าตอบแทนตรงนี้ไว้แบบแน่นอน โดยจะคำนวณจากยอดขาย คิดจากผลกำไรที่นายจ้างได้รับโดยอาจคิดคำนวณเป็นรายเดือน รายปี ก็สามารถทำได้ ส่วน เงินจูงใจ หรือ Incentive ตามชื่อเลยจ๊ะ เป็นสิ่งกระตุ้นทำให้ใครคนนึงอยากทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และทำได้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ แต่จะไม่ได้ขึ้นอยู่กับอะไรที่แน่นอนเสมอไปนะ เมื่อมีคำว่า จูงใจ เข้าใจง่ายๆเลยว่า จะถูกนำมาจ่ายให้กับลูกจ้างก็ต่อเมื่อต้องการเพิ่มยอดขายให้มากขึ้นหรือนำมาเป็นตัวกระตุ้นให้ลูกจ้างออกไปล่ายอดขายให้ได้ตามเป้าหมายที่นายจ้างกำหนดไว้ในช่วงเวลาหนึ่งที่นายจ้างได้กำหนดขึ้น ดังนั้น ค่าคอมมิชชั่นและเงินจูงใจ จึงมีความแตกต่างกันด้วยวิธีการได้มาตามคำอธิบายข้างต้นเลยค่ะ แต่อย่างไรก็ตามทั้ง 2 อย่างนั้น ถ้าลูกจ้างไม่มีแรงจูงใจในการทำงานนั้นๆ ลูกจ้างก็คงไม่ได้รับค่าคอมมิชชั่นและเงินจูงใจ เพิ่มเติมมาจากค่าจ้างได้อย่างแน่นอน เรามาดูตัวอย่างคำพิพากษาฎีกา ว่าด้วยเรื่อง เงินจูงใจ และ ค่าคอมมิชชั่น ให้เข้าใจง่ายๆกันดีกว่า 1.คำพิพากษาฎีกา ที่ 2246/2548 เงินจูงใจเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายโดยคำนวณให้ตามผลงานที่ลูกจ้างสามารถทำยอดขายได้ตามเป้าหมายที่นายจ้างกำหนดเป็นรายเดือน รายไตรมาสและรายปีซึ่งเป็นจำนวนเงินที่จ่ายไม่แน่นอน ไม่เท่ากันทุกเดือน โดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายซึ่งนายจ้างจะกำหนดเป็นปีๆไป หากทำการขายได้ต่ำกว่าเป้าที่กำหนดก็จะไม่ได้รับเงินจูงใจ 2.คำพิพากษาฎีกา ที่ 3728/2524...

ทำสัญญาให้ลูกจ้างเซ็นว่า…  เมื่อเกษียณ จะไม่ขอรับค่าชดเชย  สัญญาดังกล่าว…บังคับใช้ไม่ได้จริง!!

อ่านฎีกานี้เข้าไปมีคำถามเดียวผุดขึ้นมาในใจคือ “ใครแนะนำให้เขาทำอ่ะ” นายจ้างหลายคนยังเข้าใจผิดอยู่นะคะว่า การที่ให้ลูกจ้างเซ็นอะไรไปแล้ว ลูกจ้างก็จะต้องผูกพันตามที่เซ็น  ซึ่ง “ไม่ใช่ค่ะ” ลูกจ้างบางคนยอมเซ็นทั้งๆที่รู้ว่ามันไม่ถูกต้อง บางคนเพราะไม่อยากหางานใหม่ ยังมีความจำเป็นและยอมๆไปก่อน เซ็นไป แต่สำหรับลูกจ้างที่มีความรู้ความเข้าใจและหาข้อมูลด้านกฎหมายแรงงานเป็นอย่างดี เขาเซ็นไปค่ะ เพราะเขารู้ว่าบังคับใช้ไม่ได้จริงและเรื่องเหล่านี้มีอายุความในการฟ้องนั่นหมายความว่าต่อให้คุณเลิกจ้างเขาไปแล้วเขาก็ยังฟ้องได้อยู่ ส่วนลูกจ้างมาประเภทที่ไม่หาข้อมูลอะไรเลย เน้นเม้นลบ ไม่เน้นเรียนรู้ อันนี้ข้ามนะ ไม่กล่าวถึง เหนื่อยใจ อ่ะเข้าข้อกฎหมายบ้าง… มันยังมีอยู ตลาดบางบริษัทที่เขียนอะไรมาก็ช่างให้มันผิดกฎหมายไว้ก่อนและให้ลูกจ้างเซ็นในกรณีนี้ผลทางกฎหมายคืออะไรมาดูกัน ในกรณีที่จำเลยมีความจำเป็นหรือเพื่อความเหมาะสมโจทก์ยินยอมให้จำเลยใช้สิทธิยกเลิกสัญญานี้ได้ทันที โดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้าและจำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยหรือค่าเสียหายใด ๆ ทั้งสิ้นขัดต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 ที่กำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งถูกเลิกจ้างตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนการที่จำเลยทำสัญญากับโจทก์ให้ผิดแผกแตกต่างไปจากข้อที่กฎหมายกำหนดไว้และทำให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างได้รับความเสียหาย จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ไม่มีผลใช้บังคับ ทั้งการจ้างโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งผู้อำนวยการก็เป็นการจ้างเข้าทำงานในตำแหน่งงานปกติของจำเลย จึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา  118 วรรคสาม จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้าง หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ ไม่มากก็น้อยนะคะ ติดต่อจ้างงาน info@legalclinic.co.th ไม่จ้างแต่อยากปรึกษากดโอนและสนับสนุนเพจแล้วถามมาใน inbox ค่ะ

ลูกจ้างลาป่วยไม่ถึง 3 วัน มีสิทธิปฏิเสธไม่แสดงใบรับรองแพทย์ได้

ลูกจ้างลาป่วยไม่ถึง 3 วัน มีสิทธิปฏิเสธไม่แสดงใบรับรองแพทย์ได้ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา32 ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง การลาป่วย ตั้งแต่ 3 วันทำงานขึ้นไป นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองของแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งของสถานพยาบาลของทางราชการ ในกรณีที่ลูกจ้างไม่อาจแสดงใบรับรองของแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือของสถานพยาบาลของทางราชการได้ ให้ลูกจ้างชี้แจงให้นายจ้างทราบ ส่วนสิทธิการรับค่าจ้างขณะลาป่วยนั้น มาตรา 57 วรรคแรก กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง ในวันลาป่วยเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ปีหนึ่งต้องไม่เกิน 30 วัน หากบริษัทมีการกำหนดให้ลาป่วย 1 หรือ 2 วัน ต้องใช้ใบรับรองแพทย์มาประกอบการลานั้น ถือว่าไม่สอดคล้องกับกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ลูกจ้างมีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่ต้องแสดงใบรับรองแพทย์ได้ ไม่ถือว่าผิด แต่ถ้ามีลูกจ้างประเภทลาป่วยบ่อย ๆ จนนายจ้างไม่แน่ใจว่า ป่วยจริงหรือป่วยการเมือง นายจ้างก็มีสิทธิที่จะให้ลูกจ้างเข้ารับการตรวจโดยแพทย์ที่นายจ้างจัดหาได้ หากนายจ้างสั่งแล้วลูกจ้างปฏิเสธไม่ยอมเข้ารับการตรวจ นายจ้างมีหนังสือเตือนได้ สรุปแล้วถ้าลูกจ้างป่วยจริงไม่ถึง 3 วัน มีสิทธิปฏิเสธไม่แสดงใบรับรองแพทย์ได้นั่นเอง

หลักเกณฑ์ การอายัดเงินเดือน

หลักเกณฑ์ การอายัดเงินเดือน 1. เงินเดือน ค่าจ้าง บำเหน็จ บำนาญ เบี้ยหวัด ของลูกหนี้ที่เป็นข้าราช หรือลูกจ้างประจำของข้าราชการ ไม่สามารถทำการอายัดได้ 2. ลูกหนี้ที่เป็นลูกจ้างพนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานเอกชน จะถูกอายัดเงินเดือน โดยห้ามอายังเงินเดือนที่ลูกหนี้มีเงินได้ต่ำกว่า เดือนละ 20,000 บาท โดยหากมากว่านั้นก็ จะหักออกจาเงินเดือนทั้งหมด 30% แต่ก็จะไม่ให้ต่ำกว่า 20,000 บาทเช่นกัน 3.เงินโบนัส สามารถอายัดได้ให้ไม่เกินร้อยละ 50 4. เบี้ยขยัน ค่าล่วงเวลา อายัดให้ไม่เกินร้อยละ 30 5. เงินตอบแทนกรณีออกจากงาน บำเหน็จ ค่าชดเชย หรือรายได้อื่นที่มีลักษณะเดียวกัน สามารถอายัดได้ แต่จำนวนต้องไม่เกิน 300,000 บาท หรือตามจำนวนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควร 6. บัญชีเงินฝากธนาคาร สามารถอายัดได้ทั้งหมด แต่ก็ต้องไม่เกินจำนวนหนี้ตามหมายบังคับคดี 7.เงินในสหกรณ์ออมทรัพย์ จำพวกเงินปันผล เงินเฉลี่ยคืน และเงินค่าหุ้น เจ้าหนี้สามารถอายัดได้ ก็ต่อเมื่อสิ้นสุดการเป็นสมาชิกภาพแล้ว 8. บำเหน็จตกทอด...

นายจ้างเบี้ยวไม่จ่ายทั้งค่าจ้าง ค่าเลิกจ้าง และยังไม่ยอมค่าชดเชย ระวังเจอ “คุก”

นายจ้างเบี้ยวไม่จ่ายทั้งค่าจ้าง ค่าเลิกจ้าง และยังไม่ยอมค่าชดเชย ระวังเจอ “คุก” กฎหมายคุ้มครองแรงงานเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนและเป็นกฎหมายที่นายจ้างอาจมีความรับผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญา ซึ่งมีโทษทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 120/1เมื่อคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานพิจารณาคำร้องตามมาตรา 120 วรรค 5 แล้ว เห็นว่า ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าชดเชยพิเศษ ให้คณะกรรมการสวัสดิการแรงงานสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าชดเชยพิเศษ แล้วแต่กรณี ให้แก่ลูกจ้างภายใน 30 วัน นับแต่วันที่นายจ้างทราบคำสั่ง แต่หากนายจ้างฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานของนายจ้าง มีความผิดอาญาต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท ดังนั้นถ้านายจ้างจะมาอ้างว่า ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย คงจะไม่ได้เสียแค่เงิน แต่ต้องเสียอิสรภาพ และได้ไปทำความรู้จักกับ “คุก” แบบใกล้ชิดเลยแหละ เตือนแล้วนะ!!

แฟนเพจหลายคนถามเรื่องนายจ้างขอลดเงินเดือน โดยมีคำถามดังนี้

ในช่วงนี้มีแฟนเพจหลายคนถามเรื่องนายจ้างขอลดเงินเดือน โดยมีคำถามดังนี้ 👉 1. ถ้าเราไม่ยินยอม นายจ้างจะสามารถลดเงินเดือนได้หรือเปล่า 👉2. ถ้าเราไม่ยินยอมและนายจ้างไล่ออกทำอย่างไรได้บ้าง 👉3.ยอมถูกลดเงินเดือนมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้วจนถึงปัจจุบัน โดยไม่เคยโต้แย้ง ผลทางกฎหมายเป็นอย่างไร 👉4.นายจ้างแจ้งล่วงหน้าว่าจะลดเงินเดือนถึงเดือนที่เท่าไหร่จำเป็นต้องยอมหรือไม่ และทำอย่างไรได้บ้าง คลินิกกฎหมายแรงงานขอ รวบรวมคำตอบไว้ในโพสต์นี้เลยนะคะ 1.✅ การลดเงินเดือนหรือลดค่าจ้างนั้น เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างเกี่ยวกับจำนวนค่าจ้างและเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เป็นคุณกับลูกจ้าง ตามหลักกฎหมายแล้วนายจ้างจะกระทำไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากลูกจ้างเสียก่อน 2.✅ดังนั้นลูกจ้างก็มีสิทธิ์ “ยินยอม หรือ ไม่ยินยอมก็ได้” นายจ้างจะบีบบังคับหักคอไม่ได้ 3.✅ถ้าลูกจ้างไม่ยินยอมให้ลด แต่นายจ้างยังยืนยันที่จะลดและจ่ายเงินเดือนไม่ครบถ้วนลูกจ้างสามารถไปเรียกร้องสิทธิ์ได้ที่กรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงานในเขตพื้นที่ตนทำงานอยู่หรือฟ้องร้องต่อศาลได้ 4.✅และหาก ในกรณีที่ลูกจ้างไม่ยินยอมให้ลดเงินเดือน แต่นายจ้างกลับไล่ออกเลย ถือว่าเป็นการไล่ออกโดยที่ลูกจ้างไม่มีความผิด ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยตามอายุการทำงาน สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า (ค่าตกใจ) ขึ้นอยู่กับกรณีว่านายจ้างให้ออกทันทีหรือมีการแจ้งล่วงหน้าหรือไม่ หากนายจ้างมีการแจ้งล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า 1 งวดการจ่ายค่าจ้างนายจ้างก็ไม่ต้องจ่ายค่าตกใจ รวมถึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม(ต้องพิสูจน์) 5.✅กรณีถูกลดเงินเดือนมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้วจนถึงปัจจุบันผลทางกฎหมายมีแน่นอนอยู่แล้วเพราะถือว่าลูกจ้างยินยอมให้เปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยปริยาย 📌📌 มาถึงตรงนี้หลายคนคงมีคำถามว่า “เวลานานพอสมควรถือว่ายินยอมโดยปริยาย” คำว่าเวลานานพอสมควรแค่ไหน ซึ่งตรงนี้ไม่มีข้อกฎหมายบัญญัติไว้โดยตรงต้องดูเป็นพฤติการณ์และรายกรณีไป จึงขอหยิบยกตัวอย่างการยินยอมโดยปริยายจากคำพิพากษา ที่ว่ากันด้วยเรื่องการให้ความยินยอมโดยปริยายดังนี้ 📝 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1921/2545 ” จำเลยประสบวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ จึงขอลดค่าจ้างของโจทก์และลูกจ้างอื่น โดยจำเลยเรียกประชุมผู้จัดการทุกฝ่ายรวมทั้งโจทก์เพื่อแจ้งเรื่องการลดเงินเดือน...

จะลาป่วย…แต่นายจ้างให้ใช้ลาพักร้อนแทน แบบนี้ก็ได้เหรอ?

จะลาป่วยแต่นายจ้างให้ใช้ลาพักร้อนแทน แบบนี้ก็ได้เหรอ? “อโรคยา ปรมาลาภา” การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ แต่พอไม่สบายต้องการจะลาป่วย นายจ้างกลับบอกให้ใช้วันลาพักร้อนให้หมดก่อนซะอย่างงั้น นายจ้างอาจจะมองว่าลูกจ้างลาป่วยแต่ยังต้องจ่ายเงิน เลยให้ใช้พักร้อนซึ่งยังไงก็ต้องจ่ายเงินอยู่แล้วซึ่งกฎหมายบังคับให้หยุดได้ 6 วัน ดูจะเป็นประโยชน์กับนายจ้างมากกว่า ตาม พรบ. คุ้มครองแรงงาน 2541 มาตรา 32 ให้ลูกจ้างลาป่วยได้ เท่าที่ป่วยจริง มาตรา 57 ให้นายจ้าง จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง เท่ากับอัตราค่าจ้างในวันทำงาน ในปีหนึ่ง ต้องไม่เกิน 30 วันทำงาน และหาก ลาป่วยมากกว่า 3 วันทำงาน ต้องแสดงใบรับรองแพทย์ ให้แก่นายจ้าง ในกรณีที่นายจ้างไม่ปฎิบัติตามกฎหมายของนายจ้าง ลูกจ้างสามารถเก็บหลักฐาน และยื่นร้องเรียนได้ทางสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ลาป่วยต้องนอนพัก แต่ถ้าเกิดอกหักต้องลาอะไร….