กรุณารอสักครู่

 

HomeCategoryกฏหมายแรงงาน Archives - Page 14 of 68 - บริษัท ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น จำกัด

เรื่องของใบเตือน ถามกันมามากสุดๆ

เรื่องของใบเตือน ถามกันมามากสุดๆ ✍️ มุมนายจ้าง 1. การออกใบเตือน นั่นคือลูกจ้างต้องทำผิดกฎ ระเบียนข้อบังคับ หรือความผิดตามกฎหมายก็ว่ากันไป 2.กรณีไม่ถูกใจ ไม่ถูกจริจ ไม่ถูกชะตา หาเรื่องไปออกใบเตือนอย่าหาทำ 3.ยิ่งถ้าไปเลิกจ้างเพราะใบเตือนที่ไม่ชอบ นายจ้างอาจจะต้องจ่ายค่าตกใจ ค่าชดเชย ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ตามแต่กรณีไป 4.ใบเตือนออกยังไงให้มีผล ไปดูโพสนี้ https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=174435604134716&id=100831634828447 5.ลูกจ้างทำผิดจริง ไม่รับใบเตือน ไม่เซ็นรับไม่เป็นไร อ่านให้พยานฟังต่อหน้าลูกจ้าง พยานลงลายมือชื่อ ✍️มุมลูกจ้าง 1. ถ้าไม่ผิดก็ไม่ต้องเซ็นรับ การไม่เซ็นรับนายจ้างไม่มีสิทธิออกใบเตือนอีกใบว่าเราฝ่าฝืนคำสั่งเพราะเราไม่เซ็นรับ (นายจ้างก็อย่าไปหาทำนะ หน้าร้าวมาหลายรายแล้วความเข้าใจแบบนั้น) 2.ถ้านายจ้างออกใบเตือนเฉยๆ ยังไม่ได้เลิกจ้าง ไม่ต้องกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน หรือศาลแรงงาน เพราะเค้ายังไม่ได้เลิกจ้าง ใจเย็นก่อน มีสติ พิจารณาคำเตือนว่าจริงไหม ถ้าจริงให้ปรับปรุง ถ้าไม่จริงไม่ต้องเซนรับ หรือโต้แย้งชี้แจง เป็นหนังสือ เป็นเมล เป็นไลน์ ด้วยถ้อยคำสุขภาพจะได้ไม่ลุกลาม 3.แต่ถ้าถูกเลิกจ้างเพราะใบเตือน ที่เราไม่ได้ทำผิด หรือมีข้อโต้แย้ง ก็ไปกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน หรือศาลแรงงานเลย ถ้าไม่สะดวกใจไปเอง มาจ้างได้..ทางเรายินดี

ค่าเดินทางที่เข้าพร้อมค่าจ้างเป็นประจำ นายจ้างยกเลิกได้หรือไม่?

ค่าเดินทางที่เข้าพร้อมค่าจ้างเป็นประจำ นายจ้างยกเลิกได้หรือไม่? ปกติทำงานที่ต้องเดินทาง แต่มาวันนึงโดนโยกย้ายให้อยู่ประจำบริษัทฯ ไม่ต้องเดินทางแล้ว นายจ้างจึงจะยกเลิก ค่าเดินทางที่เข้าพร้อมค่าจ้างเป็นประจำ ทำได้หรือไม่ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 บัญญัติว่า “ค่าจ้าง” หมายความว่า เงินที่นายจ้าง และลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาทำ งานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือระยะเวลาอื่น หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุด และวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงานแต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามพระราชบัญญัตินี้ ค่าน้ำมันรถถ้าเป็นการเหมาจ่าย ไม่ต้องแสดงใบเสร็จรับเงิน ได้รับเงินเท่าๆ กันทุกเดือน ถือว่าค่าน้ำมันรถเป็นค่าจ้างเช่นกัน ดังนั้นหากมีการยกเลิกถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างเกี่ยวกับจำนวนค่าจ้างและเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เป็นคุณกับลูกจ้าง ตามหลักกฎหมายแล้วนายจ้างจะกระทำไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากลูกจ้างเสียก่อน คำพิพากษาฎีกาที่ 11679-11682/2553 1. โจทก์ทั้งสี่ฟ้องว่า ได้รับค่าจ้างอัตราเดือนละ 7,490 บาท 7,420 บาท 7,420 บาท และ7,420 บาท ตามลำดับ ต่อมาเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2550 จำเลยมีคำสั่งลดค่าจ้างโจทก์ทั้งสี่ลงเหลือเดือนละ 7,000 บาทต่อคน...

เอาผลการประเมินมาเลิกจ้าง แต่หลักเกณฑ์ไม่ชัดเจน ระวังต้องจ่ายค่าเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

เอาผลการประเมินมาเลิกจ้าง แต่หลักเกณฑ์ไม่ชัดเจน ระวังต้องจ่ายค่าเลิกจ้างไม่เป็นธรรม เป็นลูกจ้างต้องทำงานตามที่นายจ้างคาดหวังไว้ หากนายจ้างเห็นว่า ลูกจ้างท่านใดมีผลงานไม่เป็นที่พอใจ นายจ้างมักจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงาน ด้วยการนำผลประเมินมาเป็นเหตุผลในการเลิกจ้าง เหตุที่นายจ้างหยิบมาอ้างก็ต่างเป็นเหตุผลที่รับฟังได้ แต่จะถึงขั้นเพียงพอเป็นเหตุอันสมควรหรือไม่ หากพิสูจน์แล้วไม่ชัดเจน อาจจะถูกลูกจ้างเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ซึ่งการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม หมายถึง “การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่มีสาเหตุ หรือมีสาเหตุอยู่บ้าง แต่ไม่ใช่สาเหตุที่จำเป็น หรือสมควรถึงกับต้องเลิกจ้างลูกจ้างนั้น” คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ 2123/2565 เรื่อง เลิกจ้างไม่เป็นธรรม : นายจ้างอาศัยหลักเกณฑ์การประเมินผลการทำงานย้อนหลัง 3 ปี เปรียบเทียบกันระหว่างโจทก์และนาย เอ ลูกจ้างจำเลยอีกคนหนึ่ง ซึ่งเป็นไปโดยไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง และมีความน่าเคลือบแคลงสงสัยเพราะไม่มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมนายจ้างจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การที่นายจ้างนำผลการปฏิบัติงานของลูกจ้างมาใช้ในทางที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างนั้น นายจ้างจะต้องใช้อย่างระมัดระวังเพราะมีความเสี่ยง หากนายจ้างไม่สามารถหยิบยกตัวอย่างที่ชัดเจนเพื่ออธิบายประกอบข้ออ้างของตนได้ หรือหากลูกจ้างสามารถยกเหตุผลมาหักล้างได้แล้ว นอกจากจะต้องจ่ายค่าชดเชยแล้ว อาจจะถูกศาลตัดสินให้จ่ายเพิ่มค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมอีกด้วย หากนายจ้างมีหลักการประเมินที่ชัดเจน ลูกจ้างรับทราบหลักเกณฑ์ในการประเมินและยอมรับในเกณฑ์การประเมิน รวมถึงตั้ง KPI จากผลงานที่พิสูจน์ได้นั้น ถือเป็นหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนที่นายจ้างควรทำเพื่อให้เป็นธรรมกับทั้งตัวนายจ้างและลูกจ้าง ….. ฝากไว้ให้พิจารณา

กรอกข้อความเท็จในใบสมัครงาน นายจ้างเอามาเป็นเหตุในการเลิกจ้างได้ไหม?

กรอกข้อความเท็จในใบสมัครงาน นายจ้างเอามาเป็นเหตุในการเลิกจ้างได้ไหม? เมื่อมีการมาสมัครงานข้อมูล บางครั้งผู้สมัครอาจจะมีประวัติอาชญากรรมติดตัวมา แต่เมื่อมาสมัครงาน ผู้สมัครเห็นว่าถ้าระบุอาจจะไม่ผ่านการพิจารณาจากนายจ้าง ทำให้ผู้สมัครปกปิดข้อมูล หรือกรอกข้อความเท็จในใบสมัครงาน เมื่อนายจ้างรับเข้าไปทำงาน และมาตรวจสอบพบทีหลัง นายจ้างเอามาเป็นเหตุในการเลิกจ้างได้ไหม? คำพิพากษาฎีกา 9096/2546 การยื่นใบสมัครของลูกจ้าง (โจทก์) ที่ระบุว่าไม่เคยต้องคดีใดๆ มาก่อนนั้น เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในกรณีร้ายแรงหรือไม่ เห็นว่าข้อบังคับการทำงานของนายจ้าง (จำเลย) โดยเฉพาะหมวด 10 ว่าด้วยวินัยและโทษทางวินัย ข้อ 3.3 ความซื่อสัตย์สุจริต ข้อ 3.3.2 พนักงานต้องแจ้งข้อมูลส่วนตัวของตนตามที่บริษัทฯ ต้องการแก่บริษัทฯ ตามความเป็นจริง และถ้าข้อมูลที่ได้แจ้งแล้วไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง ไม่ว่าด้วยเหตุผลใด พนักงานต้องรายงานข้อมูลที่ถูกต้องให้บริษัทฯ ทราบโดยเร็วที่สุด จากข้อความที่ระบุไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานนั้น ย่อมมีผลใช้บังคับกับคนที่เป็นลูกจ้างแล้วเท่านั้น ไม่มีผลผูกพันไปถึงบุคคลภายนอก ขณะที่ลูกจ้างที่เป็นโจทก์ฟ้องในคดีนี้ ได้กรอกข้อความลงในใบสมัครงาน ตอนนั้นเป็นแค่ผู้สมัครงานเท่านั้น ยังไม่ได้เป็นลูกจ้าง ก็ต้องถือว่าเป็นบุคคลภายนอก ซึ่งไม่มีหน้าที่ต้องมาทำตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ส่วนที่ตอนท้ายของใบสมัครงานมีข้อความว่า ข้าพเจ้าขอรับรองว่ารายละเอียดดังกล่าวข้างต้นนี้เป็นความสัตย์จริงทุกประการ หากภายหลังที่ได้เข้ามาทำงานแล้ว ปรากฏว่ามีข้อความที่ไม่ตรงกับความจริงหรือเป็นความเท็จ บริษัทฯ มีสิทธิที่จะลงโทษและ/หรือเลิกจ้าง โดยให้ข้าพเจ้าออกจากงานได้ทันทีตามแต่กรณีนั้น ศาลฎีกาท่านมองว่าอาจเป็นเงื่อนไขข้อตกลงในสัญญาว่าจ้าง ที่ให้สิทธิแก่นายจ้างลงโทษลูกจ้างหรือเลิกสัญญาจ้างได้เป็นการเฉพาะรายแต่ก็มิใช่ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่นายจ้างต้องจัดให้มีตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กรณีที่ว่านั้นจึงถือไม่ได้ว่าการกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย เมื่อนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยอาศัยเหตุดังกล่าว...

จ้างนักเรียน นักศึกษาให้ทำงานตามช่วงเวลาเสาร์ อาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ และช่วงปิดภาคเรียน ต้องนำส่งประกันสังคมหรือไม่?

จ้างนักเรียน นักศึกษาให้ทำงานตามช่วงเวลาเสาร์ อาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ และช่วงปิดภาคเรียน ต้องนำส่งประกันสังคมหรือไม่? “ลูกจ้าง” ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ หมายความว่า ผู้ซึ่งทำงานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้าง ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร แต่ไม่รวมถึงลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย แต่การที่จะพิจารณาว่าความสัมพันธ์ของบุคคลดังกล่าวว่าเป็นนายจ้างลูกจ้างกันหรือไม่ นอกจากจะพิจารณาว่าบุคคลทั้งสองฝ่ายดังกล่าวมีความสัมพันธ์กันดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 5 แล้ว ยังต้องปรากฏข้อเท็จจริงด้วยว่าบุคคลที่เป็นลูกจ้างอยู่ในอำนาจบังคับบัญชาโดยต้องปฏิบัติตามคำสั่ง ระเบียบ และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบุคคลที่เป็นนายจ้าง ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ตามความเป็นจริงของความเป็นนายจ้างและลูกจ้างดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ 141/2562 คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ประกอบกิจการบริการพนักงานศูนย์อาหารและสวนสนุกในห้างสรรพสินค้าจำเลยโดยสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่มีคำสั่งให้โจทก์ชำระเงินสมทบเพิ่มเติมเข้ากองทุนเงินทดแทนและกองทุนประกันสังคมว่าโจทก์ไม่นำค่าจ้าง(ไม่เต็มเวลา) ของนักเรียนนักศึกษาที่ทำงานให้โจทก์รวมเป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ โจทก์จ้างนักเรียนนักศึกษาให้ไปทำงานตามช่วงเวลาที่ระบุไว้ในวันเสาร์ อาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ และช่วงวันปิดภาคเรียนแต่จะไปทำงานหรือไม่ไปก็ได้ หากไม่ไปก็เพียงแต่แจ้งทางโทรศัพท์ให้โจทก์ทราบโดยไม่ต้องยื่นใบลา นักเรียนและนักศึกษาที่มาทำงานจะได้รับค่าตอบแทนตามจำนวนชั่วโมงทำงานที่ทำได้ในแต่ละวัน โดยโจทก์จะจ่ายค่าตอบแทนในวันสุดสัปดาห์ถัดไป หากไม่ไปทำงานจะไม่ได้รับค่าตอบแทน ไม่มีการกำหนดวันหยุด วันลา และสวัสดิการสำหรับนักเรียนและนักศึกษา ตามข้อเท็จจริงดังกล่าว แสดงว่านักเรียนนักศึกษามีอิสระในการทำงานให้แก่โจทก์ ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา และไม่ต้องปฏิบัติตาม คำสั่ง ระเบียบ หรือข้อบังคับฯ การตกลงกันปฏิบัติงานตามช่วงเวลาที่ประสงค์ แม้โจทก์จะเป็น คนจ่ายค่าจ้างตามจำนวนชั่วโมงที่ลงเวลาทำงานไว้ก็มิใช่กรณีที่โจทก์ใช้อำนาจบังคับบัญชา แต่เป็น...

โพสต์ social media ต่อว่าคนในบริษัท ด้วยข้อความหยาบคาย นำมาสู่การเลิกจ้าง ไม่จ่ายค่าชดเชยได้ด้วยเหรอ?

โพสต์ social media ต่อว่าคนในบริษัท ด้วยข้อความหยาบคาย นำมาสู่การเลิกจ้าง ไม่จ่ายค่าชดเชยได้ด้วยเหรอ? ทุกวันนี้ผู้คนพร้อมที่จะเปิดเผยความรู้สึกส่วนตัว และใช้โซเชียลมีเดียเป็นพื้นที่ในการแสดงออกตัวตน โดยคิดว่าเป็นพื้นที่ส่วนตัว จะทำอะไรหรือโพสต์อะไรได้อย่างอิสระ แต่ในความเป็นจริงการแสดงทัศนคติผ่านโซเชียลมีเดียนั้นสามารถบ่งบอกถึงความเป็นตัวคุณเองได้ และสามารถส่งผลกระทบได้อย่างกว้างขวาง บางทีอาจจะทำให้กลายเป็นคนตกงานแบบไม่ตั้งตัว คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ 73/2562 การที่โจทก์เข้าใจว่าตนเองถูกแย่งที่จอดรถจึงถ่ายภาพนายดำและพิมพ์ข้อความ ว่า “ผู้ชายหน้าตัวเมีย…” ส่งเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ด้วยโทรศัพท์มือถือผ่านโปรแกรมเฟสบุ๊คไปยังเพื่อนร่วมงานในบริษัทและบริษัทในเครือของจำเลย ทั้งที่ไม่เคยรู้หรือทราบมาก่อนว่านายดำเป็นใคร อันเป็นการประจานนายดำ ต่อสื่อสังคมออนไลน์ ที่มีคนนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยไม่สนใจไยดีในความเดือดร้อนของนายดำ ว่าจะถูกสังคมดูถูก เหยียดหยาม สบประมาท หรือทำให้อับอายมากเพียงใด แม้จะได้ความว่าโจทก์ลบโพสต์ดังกล่าวออกไป ซึ่งถือว่าข้อความที่โจทก์ส่งลงระบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าวเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ ก็ตาม แต่ก็เป็นที่ทราบและรู้ทั่วไปว่าสื่อดังกล่าวสามารถแพร่ข่าวสารไปได้อย่างรวดเร็วในระยะเวลาสั้น พฤติการณ์แห่งการกระทำของโจทก์ดังกล่าวถือเป็น การขาดสติความรับผิดชอบและความยับยั้งชั่งใจย่อมไม่สมควรที่จะกระทำอย่างยิ่ง ถือได้ว่าเป็นการกระทำความผิดร้ายแรงอยู่ในตัวจำเลยย่อมเลิกจ้าง ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ไม่ต้องจ่าย ค่าชดเชยตามมาตรา 119 (4) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ทั้งมิใช่การเลิกจ้างอัน ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย...

ลดจำนวนลูกจ้าง สามารถเลิกจ้างลูกจ้างได้อย่างเป็นธรรมจริงหรือ ?

ลดจำนวนลูกจ้าง สามารถเลิกจ้างลูกจ้างได้อย่างเป็นธรรมจริงหรือ ? นายจ้างประสบภาวะขาดทุนมาเป็นระยะเวลานาน เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายและต้นทุนลง นายจ้างเองก็อาจจำต้องปรับตัวเองให้อยู่รอดต่อไปให้ได้ ซึ่งมาตรการปรับโครงสร้างกิจก็เป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายประจำของนายจ้าง ทำให้กิจการของนายจ้างสามารถดำเนินต่อไปได้ มาตรการการเลิกจ้างจึงต้องถูกหยิบมาใช้กับลูกจ้าง การที่นายจ้างมุ่งเน้นลดต้นทุนค่าแรงให้ต่ำลง มิใช่ต้องการลดจำนวนลูกจ้าง ถือเป็นอำนาจบริหารจัดการอย่างหนึ่ง การเลิกจ้างจึงมีเหตุผลจำเป็นเพียงพอ ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ขอเพียงแต่หากนายจ้างได้จ่ายค่าชดเชย ค่าพักร้อนที่ไม่ได้ใช้ (ถ้ามี) หรือสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน มาตรา 118 กำหนดว่า “ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง ดังต่อไปนี้ “ค่าชดเชย” หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2226 – 2304/2561 นายจ้างประสบภาวะขาดทุนมาตลอด จึงได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อสหภาพแรงงานเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายและต้นทุนการผลิตลง ทั้งก่อนเลิกจ้างได้จัดทำโครงการ สมัครใจลาออก และโครงการเกษียณก่อนกำหนด แต่มีลูกจ้างเข้าร่วมโครงการไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องเลิกจ้างประจำ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาต้นทุนค่าแรงสูงได้ตรงจุดกว่าการเลิกจ้างลูกจ้างรายปี แม้ภายหลังเลิกจ้างจะรับลูกจ้างประจำที่ถูกเลิกจ้างกลับเข้าทำงานตำแหน่งเดิมแต่เปลี่ยนสัญญาใหม่เป็นรายปีแทนก็ตาม ก็เป็นการยืนยันให้เห็นว่าการที่จำเลยมุ่งเน้นลดต้นทุนค่าแรงให้ต่ำลง มิใช่ต้องการลดจำนวนลูกจ้าง ถือเป็นอำนาจบริหารจัดการอย่างหนึ่ง การเลิกจ้างจึงมีเหตุผลจำเป็นเพียงพอ ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การปรับโครงสร้างองค์กรของนายจ้าง โดยลดจำนวนลูกจ้างลงนั้นจะต้องมาจากเหตุขาดทุนและจะต้องถึงขนาดที่หากไม่ลดจำนวนลูกจ้าง กิจการของนายจ้างจะไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ และการปรับลดจำนวนลูกจ้างนั้นจะต้องเป็นผลโดยตรงที่ช่วยให้กิจการของนายจ้างอยู่รอดหรือดำเนินธุรกิจต่อไปได้ แบบนี้ไม่ถือว่าเลิกจ้างไม่เป็นธรรม แต่หากเป็นการขาดทุนกำไร อันนี้ไม่เรียกขาดทุนนะจ๊ะนายจ้าง

สหภาพแรงงานคืออะไร สำคัญอย่างไรกับลูกจ้างและนายจ้าง?

สหภาพแรงงานคืออะไร สำคัญอย่างไรกับลูกจ้างและนายจ้าง? อธิบายง่าย ๆ ด้วยภาษาบ้าน ๆ เลยก็คือ… สหภาพแรงงานก็คือกลุ่มของลูกจ้างอย่างน้อย 10 คน ที่รวมตัวกันมาจัดตั้งเป็น “องค์กรที่ทำหน้าที่คุ้มครองผลประโยชน์ให้ลูกจ้าง และรักษา ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง หรือลูกจ้างกับลูกจ้าง” นั่นเอง นอกจากนี้ การที่ลูกจ้างตั้งสหภาพแรงงานนั้นไม่ใช่ว่าลูกจ้างจะต้องลาออกจากงานเพื่อมารับหน้าที่ ลูกจ้างสามารถทำหน้าที่เป็นพนักงานสหภาพแรงงานควบคู่ไปกับงานประจำได้เลย ซึ่งจากคำอธิบายดังกล่าว ทุกคนอาจจะสงสัยว่า อ้าว ถ้าอย่างนั้นสหภาพแรงงานในประเทศไทยก็มีหลายที่เลยสิ เพราะแค่ลูกจ้าง 10 คนมารวมตัวกันก็จัดตั้งได้แล้วนี่ คำตอบก็คือ…ใช่ค่ะ ลูกจ้างในองค์กรจะรวมตัวกันแล้วจัดตั้งกันในองค์กรกันเองก็ได้ แต่พอรวมตัวกันแล้วต้องไปจดทะเบียนกับนายทะเบียนสหภาพแรงงานด้วยนะคะ ส่วนหน้าที่ของสหภาพแรงงานนั้นก็ค่อนข้างหลากหลาย หลัก ๆ ที่พบเห็นได้บ่อยก็จะเป็นงานช่วยไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างลูกจ้างด้วยกัน ทำข้อตกลงกับนายจ้างเพื่อเรียกร้องสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ หรือถ้าหากเรื่องใหญ่หน่อยอย่างเช่นเรื่องชักชวนลูกจ้างให้ลูกจ้างนัดหยุดงานก็สามารถทำได้เช่นกัน จะเห็นได้ว่าหน้าที่ของสหภาพแรงงานนั้นสำคัญมากใช่ไหมคะ เพราะนอกจากจะเป็นทั้งนิติบุคคลที่สามารถช่วยลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ ในองค์กรไปได้แล้ว ก็ยังเป็นนิติบุคคลที่ช่วยมอบความเป็นธรรมเบื้องต้นให้กับลูกจ้างอีกด้วยเนอะ

ค่าคอมมิชชั่น เป็นค่าจ้างหรือไม่?

ค่าคอมมิชชั่น เป็นค่าจ้างหรือไม่? ก่อนอื่นเราต้องทราบกันก่อนนะ ว่าค่าคอมมิชชั่นคืออะไร ค่าคอมมิชชั่นหรือเรียกง่ายๆว่าเงินรางวัลการขาย เช่น บริษัท A จ้าง นาง B เป็นพนักงานขายสินค้าหน้าร้านของบริษัท นาง B เป็นคนที่มีเทคนิคการเชียร์ขายสินค้าเก่งมากๆ เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาจึงทำให้มีลูกค้ามาซื้อสินค้าของบริษัทเป็นจำนวนมาก ทำให้ยอดขายของบริษัทพุ่งทะลุหลายล้านบาททางบริษัทจึงมีการตอบแทนผลงานการทำงานของนาง B ด้วยการจ่ายเงินรางวัลการขาย หรือที่เรียกกันว่า “ค่าคอมมิชชั่น” นั่นเอง ส่วนค่าจ้างนั้น คือเงินทุกประเภทที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อเป็นค่าตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานปกติ ไม่ว่าจะคำนวณตามระยะเวลา หรือคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้และให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้ในวันหยุดและวันลาซึ่งลูกจ้างไม่ได้ทำงานด้วยเช่นกัน ดังนั้น ค่าคอมมิชชั่นจึงไม่ใช่ค่าจ้าง ตามมาตรา 5 พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 อย่างที่ลูกจ้างหลายๆคนเข้าใจกันผิดนะคะเพราะค่าคอมมิชชั่นนั้นเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างโดยต้องคำนวณตามผลงาน ตามยอดขาย ฉะนั้น การกำหนดวิธีการจ่าย หรือการจะเรียกชื่อการจ่ายเงินเป็นอย่างไรไม่สำคัญเท่ากับว่า “นายจ้างเจตนาหรือมีวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการจ่ายนั้น” ว่าเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานของลูกจ้าง หรือเพื่อช่วยเหลือหรือเป็นขวัญกำลังใจหรือเป็นสวัสดิการให้กับลูกจ้างในการตั้งใจปฏิบัติงานเท่านั้น โดยให้ดูที่วัตถุประสงค์ เงื่อนไข หรือหลักเกณฑ์ที่กำหนดและตกลงไว้ร่วมกันนะคะ เราจะพามาดูตัวอย่างคำพิพากษาฎีกา กรณี ไม่เป็นค่าจ้างกันเลยค่ะ 1.คำพิพากษาฎีกา ที่ 2625/2561 (เรื่อง “ค่าคอมมิชชั่น” “ค่ารักษาสินค้า” “ค่าตำแหน่ง”) “ค่าคอมมิชชั่น” จ่ายให้เพื่อจูงใจให้ขายสินค้าได้จำนวนมากที่สุด...

ค่าคอมมิชชั่นกับเงินจูงใจ ต่างกันอย่างไร?

ค่าคอมมิชชั่นกับเงินจูงใจ ต่างกันอย่างไร? เงินจูงใจ หรือ Incentive และค่าคอมมิชชั่น ต่างกันอย่างไรสิ่งที่ลูกจ้างทุกคนควรศึกษาเพื่อจะได้เข้าใจอย่างชัดเจนเพื่อให้ทำงานอย่างมีความสุขนะคะ ว่าสิ่งที่เราทำไปไม่เสียเปล่านะ ค่าคอมมิชชั่นหรือเรียกง่ายๆ คือ เงินรางวัลการขาย โดยจะถูกระบุไว้เป็นลายลักษณ์อักษรตามสัญญาจ้าง หรืออาจมีการกำหนดเงื่อนไขในการได้ค่าตอบแทนตรงนี้ไว้แบบแน่นอน โดยจะคำนวณจากยอดขาย คิดจากผลกำไรที่นายจ้างได้รับโดยอาจคิดคำนวณเป็นรายเดือน รายปี ก็สามารถทำได้ ส่วน เงินจูงใจ หรือ Incentive ตามชื่อเลยจ๊ะ เป็นสิ่งกระตุ้นทำให้ใครคนนึงอยากทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และทำได้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ แต่จะไม่ได้ขึ้นอยู่กับอะไรที่แน่นอนเสมอไปนะ เมื่อมีคำว่า จูงใจ เข้าใจง่ายๆเลยว่า จะถูกนำมาจ่ายให้กับลูกจ้างก็ต่อเมื่อต้องการเพิ่มยอดขายให้มากขึ้นหรือนำมาเป็นตัวกระตุ้นให้ลูกจ้างออกไปล่ายอดขายให้ได้ตามเป้าหมายที่นายจ้างกำหนดไว้ในช่วงเวลาหนึ่งที่นายจ้างได้กำหนดขึ้น ดังนั้น ค่าคอมมิชชั่นและเงินจูงใจ จึงมีความแตกต่างกันด้วยวิธีการได้มาตามคำอธิบายข้างต้นเลยค่ะ แต่อย่างไรก็ตามทั้ง 2 อย่างนั้น ถ้าลูกจ้างไม่มีแรงจูงใจในการทำงานนั้นๆ ลูกจ้างก็คงไม่ได้รับค่าคอมมิชชั่นและเงินจูงใจ เพิ่มเติมมาจากค่าจ้างได้อย่างแน่นอน เรามาดูตัวอย่างคำพิพากษาฎีกา ว่าด้วยเรื่อง เงินจูงใจ และ ค่าคอมมิชชั่น ให้เข้าใจง่ายๆกันดีกว่า 1.คำพิพากษาฎีกา ที่ 2246/2548 เงินจูงใจเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายโดยคำนวณให้ตามผลงานที่ลูกจ้างสามารถทำยอดขายได้ตามเป้าหมายที่นายจ้างกำหนดเป็นรายเดือน รายไตรมาสและรายปีซึ่งเป็นจำนวนเงินที่จ่ายไม่แน่นอน ไม่เท่ากันทุกเดือน โดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายซึ่งนายจ้างจะกำหนดเป็นปีๆไป หากทำการขายได้ต่ำกว่าเป้าที่กำหนดก็จะไม่ได้รับเงินจูงใจ 2.คำพิพากษาฎีกา ที่ 3728/2524...