กรุณารอสักครู่

 

HomeBlog

เลิกจ้างโดยอ้างว่า ผลงานไม่ดี แบบนี้ฟ้องได้ไหมคะ

เลิกจ้างโดยอ้างว่า ผลงานไม่ดี แบบนี้ฟ้องได้ไหมคะ ในระบบการทำงาน แน่นอนว่าในแต่ละบริษัทย่อมต้องมีการกำหนดเกณฑ์การประเมินผลงาน เพื่อที่จะได้พิจารณาว่าศักยภาพในการทำงานของลูกจ้าง ว่าทำงานมีประสิทธิภาพหรือไม่หากทำงานไม่ได้ตามเกณฑ์ที่นายจ้างกำหนด นายจ้างก็อาจจะต้องเลิกจ้าง แต่มีแฟนเพจรายนึง บอกว่า เกณฑ์การประเมินนายจ้างไม่เคยแจ้ง ไม่ชัดเจน กรณีนี้ ถือว่าเลิกจ้างไม่เป็นธรรมไหม สำหรับประเด็นเรื่องถูกเลิกจ้างเพราะไม่ผ่านเกณฑ์ประเมินผลการทำงาน จะฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมได้หรือไม่นั้น ประเด็นนี้ก็เป็นเรื่องน่าสนใจ เพราะหากนายจ้างประเมินโดยไม่เป็นธรรม อยากคัดคนออกจึงประเมินให้คะแนนต่ำๆ ก็อาจเกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ดี เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรม มีหลักพิจารณา ด้งนี้ค่ะ 1. ลูกจ้างในตำแหน่งเดียวกัน สายงานเดียวกัน ต้องใช้หลักเกณฑ์การประเมินเดียวกัน ไม่ใช่ไม่พอใจคนไหนก็จะแกล้งประเมินไม่ผ่านเพื่อที่จะเลิกจ้าง อันนี้ไม่ได้นะคะ ต้องระวัง 2. นายจ้างต้องให้เหตุผลได้ว่า ลูกจ้างไม่ผ่านเกณฑ์เพราะอะไร และเหตุนั้นถึงขนาดหรือจำเป็นจนจะต้องเลิกจ้างหรือไม่ เช่น ลูกจ้างทำงานผิดพลาด เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง อันนี้ผู้เขียนเห็นว่าประเมินให้ไม่ผ่านเกณฑ์และเลิกจ้างได้ แต่ถ้าไม่ร้ายแรงอันนี้ก็ต้องมีหนังสือเตือน และให้โอกาสลูกจ้างได้พัฒนาหรือปรับปรุงตัวเองจะเลิกจ้างเลยไม่ได้ (มีแนวคำพิพากษาของศาล ตามฎีกาที่ 2832-2833/2546 พิจารณาว่า การที่นายจ้างกำหนดหลักเกณฑ์ประเมินผลการปฏิบัติงาน และประเมินว่าลูกจ้างมีคะแนนต่ำสุดของหน่วยงาน โดยไม่ปรากฎว่าลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้ดี หรือทำงานให้กับนายจ้างได้รับความเสียหายหรือไม่ปรากฏว่ามีความจำเป็นที่จะต้องเลิกจ้าง จึงไม่มีเหตุอันสมควรและเพียงพอถึงขนาดที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้าง) 3. ถ้าเลิกจ้างโดยอ้างว่าผลงานไม่ดี แม้จะทำงานไม่มีประสิทธิภาพอยู่บ้างแต่ถ้ายังอยู่ในเกณฑ์ ถือเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม เทียบเคียงคำพิพากษาตามฎีกาที่...

สรุป 10 เรื่องที่ลูกจ้างไม่รู้และต้องรู้

สรุป 10 เรื่องที่ลูกจ้างไม่รู้และต้องรู้ สัญญาจ้างทำด้วยวาจาก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นหนังสือ 2. กฎหมายไม่ได้กำหนดระยะเวลาทดลองงานไว้ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่ลูกจ้างทำงานต่อเนื่องการครบ 120 วันและนายจ้างประสงค์เลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิดนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 118 3. แม้นายจ้างไม่พอใจผลการทดลองงานและต้องการเลิกจ้าง ก็ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า เว้นแต่ลูกจ้างทำผิดตาม ม.119 4. ไม่ว่าจะเลิกจ้างด้วยเหตุใดนายจ้างมีหน้าที่ต้องออกหนังสือรับรองการทำงานให้แก่ลูกจ้างและในหนังสือรับรองการทำงานต้องไม่มีข้อความที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง 5. ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 1 ปีมีสิทธิลาพักร้อนได้ปีหนึ่งไม่ น้อยกว่า 6 วันทำงาน กรณีนายจ้างประสงค์จะให้มากกว่า 6 วันก็ได้ แต่ให้น้อยกว่าไม่ได้) 6. กรณีทำงานยังไม่ครบ 1 ปี นายจ้างจะให้วันลาพักร้อนโดยเฉลี่ยตามสัดส่วนก็ได้ 7. การสะสมวันลาพักร้อนเพื่อนำไปใช่ในปีถัดไปเป็นสิทธิที่ นายจ้างจะให้ลูกจ้างหรือไม่ก็ได้ 8. นายจ้างไม่มีสิทธิเรียก รับ หลักประกันการทำงาน หรือหลักประกันความเสียหายในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นเงินหรือทรัพย์สิน อื่น หรือการค้ำประกันด้วยบุคคล เว้นแต่ สภาพของงานที่ลูกจ้างทำนั้นเกี่ยวข้องกับเงิน หรือทรัพย์สินของนายจ้าง ซึ่งอาจทำให้ เกิดความเสียหายแก่นายจ้างได้ เช่น พนักงานบัญชี หรือมีหน้าที่รักษาทรัพย์แทนนายจ้าง เป็นต้น 9....

มนุษย์เงินเดือน เกษียณแล้วจะได้เงินอะไรบ้าง?

มนุษย์เงินเดือน เกษียณแล้วจะได้เงินอะไรบ้าง? 1) เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน : การเกษียณจากการทำงานถือเป็นการเลิกจ้างอย่างหนึ่งนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างตามที่กฎหมายกำหนดไว้ใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 กำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายเงินชดเชยให้กับลูกจ้างในกรณีที่เลิกจ้างซึ่งรวมถึงกรณีเกษียณอายุด้วย จะได้เท่าไหร่ก็ดูจากอายุงาน ถ้านายจ้างไม่จ่ายให้ติดต่อพนักงานตรวจแรงงานท้องที่ที่ทำงาน 2) เงินชราภาพจากประกันสังคม : โดยสิทธิที่จะได้รับจะเกิดขึ้นเมื่อเกษียณอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป และไม่ได้เป็นผู้ประกันตนของประกันสังคมแล้ว สามารถติดต่อรับเงินได้ภายใน 2 ปี 3) เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ : ต้องยื่นคำขอหรือลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่สำนักงานเขตในกรุงเทพมหานคร หรือที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านก่อน

ยังไม่ผ่านทดลองงาน แล้ว..ลาป่วย นายจ้างหักเงินได้ด้วยเหรอ

คำถามจากแฟนเพจที่ว่าในช่วงระหว่างการทดลองงานลูกจ้างมีอาการเจ็บไข้​ จำเป็นต้องหยุดงานแต่นายจ้างแจ้งว่าต้องหักเงินค่าจ้างในวันที่ลาป่วยออกเนื่องจากยังไม่ผ่านช่วงทดลองงาน​ แบบนี้สามารถทำได้หรือไม่​?? เพจคลินิกกฎหมายแรงงานมีคำตอบฮะ 1.​ การลาป่วย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 32 กำหนดไว้ว่า “ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง การลาป่วยตั้งแต่สามวันทำงานขึ้นไปนายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองของแพทย์แผนปัจจุบัน.. 2.พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 57 มีท่อนนึงกล่าวว่า “บริษัทต้องจ่ายค่าจ้างให้พนักงานในวันที่ลาป่วยเท่ากับอัตราค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลาป่วย แต่ปีหนึ่งต้องไม่เกินสามสิบวัน” ดังนั้น​ หากพิจารณาจาก​ 2​ มาตราข้างต้นแล้ว​ แม้จะอยู่ในข่วงทดลองงานลูกจ้างก็มีสิทธิได้รับเงินค่าจ้างในช่วงที่ลาป่วยค่ะ​ 🚩 …แต่… นายจ้างเองก็มีสิทธินำเอาอาการป่วยไข้ที่เกิดขึ้นบ่อย​ มาประเมินเป็นเหตุที่หย่อนสมรรถภาพและทำให้ไม่ผ่านการทดลองงานก็เป็นได้​ ซึ่งหลักเกณฑ์การประเมินดังกล่าวก็ไม่ได้ขัดต่อกฎหมายแต่อย่างใดนะคะ เข้าใจเอาไป​ปรับใช้ให้ถูกต้อง​ ลดปัญหาข้อพิพาทแรงงานนะคะ​ 🥰

ลดตำแหน่ง…แต่ให้เงินเดือนเท่าเดิม.. ลูกจ้างมีสิทธิปฎิเสธ

ลดตำแหน่งแต่ให้เงินเดือนเท่าเดิม ลูกจ้างมีสิทธิปฎิเสธ . ก่อนอื่นต้องบอกว่าการ โยกย้ายตำแหน่งในทางการจ้างเพื่อการบริหารงานนายจ้างสามารถทำได้แต่การโยกย้ายตำแหน่งนั้นก็ต้องไม่เป็นไปในเชิงกลั่นแกล้งหรือโยกย้ายไปในตำแหน่งที่ต่ำลงกว่าเดิม . เช่นในฎีกานึง นายจ้างย้ายลูกจ้างในตำแหน่งเลขานุการสำนักงานใหญ่ฝ่ายจัดซื้อซึ่งทำงานธุรการในฝ่ายจัดซื้อไปดำรงตำแหน่งพนักงานทั่วไปประจำแผนกผักและผลไม้ของบริษัท ซึ่งย้ายพนักงานจากตำแหน่งเลขานุการ ที่เป็นพนักงานระดับ 4 ไปเป็นพนักงานทั่วไปประจำแผนกผักและผลไม้ ซึ่งหัวหน้าแผนกดังกล่าวเป็นพนักงานระดับ 3 จึงเป็นการย้ายที่ลดตำแหน่งของลูกจ้างลง แม้จะจ่ายค่าจ้างเท่าเดิมก็เป็นคำสั่งย้ายที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรมแก่ลูกจ้าง การที่ลูกจ้างปฏิเสธไม่ยอมไปทำงานในตำแหน่งใหม่ที่ต่ำกว่าเดิมนั้น ไม่ถือเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของนายจ้าง นายจ้างจึงไม่อาจออกหนังสือเตือนในการกระทำของโจทก์ดังกล่าวได้ การที่ลูกจ้างปฏิเสธไม่ยอมไปทำงานในตำแหน่งใหม่จึงไม่ใช่เป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือนตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (4) เมื่อจำเลยเลิกจ้างจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม . หรือจะอีกฎีกานึงที่ศาลได้โปรดวินิจฉัยไว้ว่า แม้เป็นการลดตำแหน่งจากหัวหน้า รปภ เป็นรปภ ธรรมดา โดยค่าจ้างเท่าเดิมก็ถือว่าคำสั่งลดตำแหน่งที่ลูกจ้างไม่ยินยอมนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ลูกจ้างฝ่าฝืนไม่ไปทำในหน้าที่ใหม่ก็มีเหตุสมควร จะถือว่าละทิ้งหน้าที่ไม่ได้ (ฎีกาที่ 5073/2546) . นอกจากเดือนเงินเดือนแล้วตำแหน่งก็สัมพันธ์สำหรับลูกจ้างหลายๆรายเพราะเป็นการแสดงถึงความก้าวหน้าในอาชีพ ดังนั้นหากองค์กรมีความจำเป็นจะต้องเปลี่ยนแปลงตำแหน่งไม่ว่าด้วยสาเหตุใดๆก็ควรเรียกลูกจ้างมาคุยและทำความเข้าใจกันให้เรียบร้อยเสียก่อน ใจเขาใจเราเนอะ  

ยังไม่ผ่านช่วงทดลองงาน “ขอลาพักร้อน” ได้หรือไม่?

ยังไม่ผ่านช่วงทดลองงาน “ขอลาพักร้อน” ได้หรือไม่? . ก่อนอื่นต้องบอกว่า ในกฎหมายแรงงานไม่มีคำว่าลาพักร้อน เพราะกฎหมายใช้คำว่า ลาพักผ่อนประจำปี(แต่พี่ก็พูดประจำ) ซึ่ง พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 30 กำหนดว่า ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบหนึ่งปีมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน . โดยให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างล่วงหน้าหรือกำหนดให้ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน และในปีต่อมานายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างมากกว่าหกวันทำงานก็ได้โดยนายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าให้สะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ยังมิได้หยุดในปีนั้นรวมเข้ากับปีต่อ ๆ ไปได้ . สำหรับลูกจ้างซึ่งทำงานยังไม่ครบหนึ่งปี นายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างโดยคำนวณให้ตามส่วนก็ได้ จากคำถามข้างต้น ลูกจ้างที่ทำงานยังไม่ผ่านโปรหรือทำงานยังไม่ครบปี ก็อาจจะมีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีได้ . โดยนายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างโดยคำนวณให้ตามส่วนก็ได้ เช่น ทำงานมาแล้ว 2 เดือน นายจ้างอาจจะกำหนดให้ลาได้ 1 วัน เป็นต้น . ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับระเบียบข้อปังคับของนายจ้างว่ากำหนดเรื่อง ลาพักผ่อนประจำปีไว้อย่างไร แต่ต้องไม่ต่ำกว่าที่กฎหมายแรงงานกำหนดนะคะ . ลาไปเที่ยวไหนก็ระวังสุภาพกันด้วยนะ ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพเงิน ปีนี้เป็นปีที่หนักหน่วงจริงๆ

เตือนด้วยวาจา หลายรอบ หลายหน แต่ไม่แก้ไขสักที แบบนี้เลิกจ้างเลยได้ไหม?

เตือนด้วยวาจา หลายรอบ หลายหน แต่ไม่แก้ไขสักที แบบนี้เลิกจ้างเลยได้ไหม? . ในทางกฎหมายกรณีลูกจ้างฝ่าฝืนระเบียบข้อปังคับหรือคำสั่งของนายจ้างกรณีไม่ร้ายแรงนายจ้างต้องตักเตือนลูกจ้างเป็นหนังสือการที่นายจ้างเคยตักเตือนลูกจ้างด้วยวาจาหลายครั้งจะถือว่าเท่ากับเป็นการตักเตือนเป็นหนังสือแล้วไม่ได้ เพราะมิใช่การเตือนเป็นหนังสือ ตาม ม.119(4) แห่งพรบ.คุ้มครองแรงงานฯ . ดังนั้น การนายจ้างเลิกจ้างเพราะผิดซ้ำคำเตือนทางวาจาจึงต้อง จ่ายค่าชดเชย . ปัญหาว่านายจ้างลงโทษเตือนด้วยวาจา แต่บันทึกการลงโทษไว้เป็นลายลักษณ์อักษรจะถือเป็นการตักเตือนเป็นหนังสือหรือไม่ เช่น นายจ้างกำหนดโทษไว้ 4 สถาน คือ ตักเตือนด้วยวาจา ตักเตือนเป็นหนังสือพักงานและเลิกจ้างหากลูกจ้างทำผิดไม่ร้ายแรง นายจ้างลงโทษตักเตือนด้วยวาจาแต่บันทึกการตักเตือนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร กรณีนี้เห็นได้ว่าเป็นการเตือนด้วยวาจาอันเป็นโทษเบาสุดไม่ใช่การเตือนเป็นหนังสือถือว่าตักเตือนเป็นหนังสือไม่ได้ . *กรณีทำผิดร้ายแรงนายจ้างไม่ต้องเตือนเลิกจ้างได้เลย*** . แต่อย่างไรก็ดีแม้ว่าการเตือนด้วยวาจาไม่มีผลในทางกฎหมายที่จะไปในการเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้ แต่นายจ้างหลายรายก็ได้กำหนดให้นำเอาสถิติการขาดลามาสายที่เตือนทางวาจาบ่อยๆมาใช้เป็นเกณฑ์ในการขึ้นค่าจ้าง โบนัส ประจำปีของลูกจ้างได้และไม่ผิดกฎหมายแต่อย่างใด

6 เรื่อง ที่นายจ้าง..”มักเข้าใจผิด”

6 เรื่อง ที่นายจ้าง..”มักเข้าใจผิด” . 1. การต่อโปร (ขยายช่วงทดลองงาน) ออกไปเรื่อยๆ ไม่ทำให้ ไม่เสียค่าชดเชยและค่าตกใจ ถ้าเลิกจ้างไม่ถูกต้อง . 2. บอกเลิกจ้าง ถ้าไม่บอกหรือบอกไม่ครบก่อนหนึ่งงวดการจ่ายค่าจ้าง ต้องจ่ายค่าตกใจ . 3. นายจ้างจัดวันหยุดต่ำกว่ากฎหมายกำหนดไม่ได้ . 4. หนังสือเตือน ต้องครบองค์ประกอบการเตือน ไม่เช่นนั้นอาจไม่มีผลตามเจตนาการเตือน . 5. ดอกเบี้ยผิดนัดชำระ ตาม พรบ.แรงงาน ร้อยละ 15 ต่อปี ของเงินต้นที่ค้างชำระ นับแต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ . 6. การทำสัญญาปีต่อปี ไม่ได้ทำให้หยุดการนับอายุการทำงานต่อเนื่อง (ต้องดูรายละเอียดในการจ้างให้ดี)

บริษัท..ออกข้อบังคับการทำงานว่า “ห้ามพนักเป็นสามีภรรยากัน” ถ้าพบว่าฝ่าผืนจะให้ออก แบบนี้ก็ได้เหรอ ผิดกฎหมายแรงงานมั้ยคะพี่ทนาย?

บริษัท..ออกข้อบังคับการทำงานว่า “ห้ามพนักเป็นสามีภรรยากัน” ถ้าพบว่าฝ่าผืนจะให้ออก แบบนี้ก็ได้เหรอ ผิดกฎหมายแรงงานมั้ยคะพี่ทนาย?? . ปัญหานี้เราเคยถามกับตัวเองตอนที่ดูหนังเรื่องATM เออรักเออเร่อ ว่ากฎแบบนี้ตั้งไปเพื่ออะไร?? . เมื่อได้ทำความเข้าใจแลกเปลี่ยนมุมมองกับเพื่อนๆฝ่าย HR และผู้ประกอบการ ก็เลยได้ทราบเจตนาที่บริษัทออกข้อห้ามแปลกๆแบบนี้ . โดยเพื่อนให้คำอธิบายในมุมมองของ HR และผู้ประกอบการว่า . 1.เคยเจอกรณีที่ สามีภรรยาร่วมด้วยช่วยกันเอื้อความสะดวกในการทุจริต หรือเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ . 2. เจอปัญหาทะเลาะวิวาทความมึนตึงในแผนกจนเพื่อร่วมงานอึดอัด ดังนั้น ใครที่มีสามีหรือภรรยามาสมัคร บริษัทจึงไม่พิจารณาที่จะรับอีกคนเลย หรือเมื่อพบว่าเป็นแฟนกันหรือสมรสกันภายหลังทำงานบริษัทเดียวกัน บริษัทก็จะให้คนใดคนหนึ่งพิจารณาลาออกหรือไล่ออกหรือสิ้นสุดสภาพการจ้างแล้วแต่กรณี เพราะเหตุที่กล่าวไปข้างต้น ไม่ใช่อยากจะขวางทางรักให้บาปกรรมแต่อย่างใด ซึ่งนั่นเป็นมุมมองของการบริหารพนักงานขององค์กรนั้นๆ แต่ในมุมมองของกฎหมายและผลของการที่บริษัทให้คนใดคนหนึ่งพิจารณาลาออกหรือไล่ออกเนื่องจากกฎดังกล่าว เราขอให้ความเห็นดังนี้ค่ะ . 1) กรณีพบแล้วไล่ออก !! แม้กำหนดในข้อบังคับบริษัทก็ไม่สามารถไล่ออกโดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้ เพราะการที่พนักงานแต่งงานกับคนในบริษัทเดียวกันไม่ได้เป็นความผิดตามพรบ.คุ้มครองแรงงานมาตรา 119 หรือแม้แต่มีกำหนดไว้ในข้อบังคับของบริษัทว่า “ห้ามแต่งงานหรือเป็นแฟนกับพนักงานในบริษัทเดียวกันหากพบจะถูกไล่ออก” . ในความเห็นของเราเรามองว่าเป็นข้อตกลงที่ไม่เป็นธรรมและไม่สมควรแก่เหตุ หากเลิกจ้างด้วยเหตุดังกล่าวนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าบอกกล่าวล่วงหน้า (หากให้ออกโดยไม่แจ้งล่วงหน้า) รวมไปถึงอาจถูกฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมด้วย . ในส่วนความเห็นเรานะ เรื่องรักชอบกันนี่ห้ามกันยากเหมือนเพลงๆนึงที่เราชอบฟัง มันมีท่อนนึงร้องว่า “ห้ามน้ำไม่ไหล ห้ามไฟไม่ให้มีควันห้ามอาทิตย์ห้ามดวงจันทร์...