กรุณารอสักครู่

 

HomeBlog

เล่นแชร์แล้วโดนลูกแชร์โกง หนีหนี้ไม่ยอมส่งเงิน แถมท้าวแชร์ยังหนีไปอีก เราจะฟ้องเรียกเงินคืนได้ไหม ?

เล่นแชร์แล้วโดนลูกแชร์โกง หนีหนี้ไม่ยอมส่งเงิน แถมท้าวแชร์ยังหนีไปอีก เราจะฟ้องเรียกเงินคืนได้ไหม???   ปัญหาเรื่องแชร์นี่เจอทุกยุคทุกสมัยจริงๆค่ะ ตอนแรกเริ่มเล่นก็ตกลงกันอย่างดี แต่กลายเป็นว่าหนีกันไปหมดทั้งลูกแชร์และท้าวแชร์ คนโดนโกงแบบเราจะทำยังไงได้บ้างมาดูกันค่ะ   การเล่นแชร์ เป็นสัญญาทางแพ่งประเภทหนึ่ง ดังนั้นหากลูกแชร์คนใดคนหนึ่งและท้าวแชร์หนีหนีไปโดยไม่ยอมชำระหนี้ค่าแชร์ไม่ว่าจะกี่งวดก็ตาม เราสามารถฟ้องคดีแพ่งเพื่อบังคับเอากับท้าวแชร์และลูกแชร์ได้นะคะ   อย่างไรก็ตาม ในการฟ้องคดีผิดสัญญาแชร์ ลูกแชร์สามารถฟ้องได้ทั้งท้าวแชร์และลูกแชร์ค่ะ แต่ในทางกลับกัน ถ้าคนที่โดนโกงเป็นท้าวแชร์ (กล่าวคือ ท้าวแชร์โดนลูกแชร์โกง หนีหนี้ไม่ยอมจ่าย) ท้าวแชร์จะฟ้องเรียกเงินกับลูกแชร์ที่หนีไปไม่ได้นะคะ ท้าวแชร์จะต้องรับผิดชอบชำระเงินในส่วนนี้ให้แก่ลูกแชร์คนอื่นเองค่ะ   นอกจากนี้แล้ว การฟ้องคดีแพ่งก็มีค่าใช้จ่ายที่ต้องเสีย กล่าวคือ มีค่าธรรมเนียมศาลที่คิดตามทุนทรัพย์ และค่าทนายความค่ะ ดังนั้นในการฟ้องคดีก็ต้องพิจารณาความคุ้มค่ากับจำนวนเงินที่จะได้รับด้วยค่ะ  

ทำสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ 3 ปี หลายฉบับ  นับระยะเวลาต่อเนื่องกัน ผลเป็นอย่างไร ?

ทำสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ 3 ปี หลายฉบับ นับระยะเวลาต่อเนื่องกัน ผลเป็นอย่างไร ? สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ เช่น สัญญาเช่าที่ดิน สัญญาเช่าบ้าน หรือสัญญาเช่าคอนโด การทำสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 1. สัญญาเช่าที่มีกำหนดระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี – ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่จะต้องรับผิดไว้เป็นสำคัญ 2. สัญญาเช่าที่มีกำหนดระยะเวลาเกิน 3 ปี – คู่สัญญาจะต้องไปจดทะเบียนการเช่า ณ สำนักงานที่ดินซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ในเขต หากมีเพียงสัญญาที่ทำขึ้นกันเอง จะถือว่าสัญญาเช่ามีผลใช้บังคับได้เพียง 3 ปี เท่านั้น การที่คู่สัญญาทำสัญญาเช่ากันเอง ฉบับละ 3 ปี หลายฉบับ นับระยะเวลาติดต่อกัน โดยไม่นำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จะมีผลอย่างไร ? ตอบ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การกระทำดังกล่าว เป็นการจงใจหลีกเลี่ยงกฎหมาย ดังนั้นสัญญาเช่ามีผลใช้บังคับได้เพียง 3 ปีแรกเท่านั้น หากพ้นระยะเวลา 3 ปีแรกไปแล้ว คู่สัญญาจะฟ้องร้องบังคับกันไม่ได้...

ลูกจ้างสามารถลาออกจากงานโดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า 30 วัน ถูกต้องตามกฎหมายแรงงานจริงหรือไม่ ?

ลูกจ้างสามารถลาออกจากงานโดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า 30 วัน ถูกต้องตามกฎหมายแรงงานจริงหรือไม่ ? หลายๆ คนอาจเคยได้ยินว่า การลาออกจากงาน ลูกจ้างไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า 30 วัน เพราะเมื่อลูกจ้างยื่นใบลาออกให้กับบริษัท เท่ากับว่าการลาออกเสร็จสมบูรณ์แล้ว ไม่ต้องรอการอนุมัติจากนายจ้าง สามารถออกได้ทันที และต้องได้ค่าตอบแทนถึงวันที่ทำงานวันสุดท้ายนั้น ทางเพจขอบอกไว้ตรงนี้เลยว่า ความเข้าใจดังกล่าวไม่ถูกต้องไปซะทีเดียว กล่าวคือ แม้ว่าการลาออกจะมีผลทันทีโดยนายจ้างไม่จำเป็นต้องอนุมัติการลาออกก็ตาม แต่มาตรา 17 วรรคสอง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ กำหนดไว้ว่าลูกจ้างลาออกต้องบอกกล่าวล่วงหน้าอย่างน้อยหนึ่งงวดการจ่ายค่าจ้าง ดังนั้น หากลูกจ้างไม่บอกกล่าวก่อนหรือออกไปทันที แม้การลาออกไม่ต้องรอให้นายจ้างอนุมัติ แแต่หากการออกจากงานไปทันทีของลูกจ้างก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง นายจ้างสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายจากลูกจ้างได้ และในทางกลับกันหากไม่เกิดความเสียหายหรือนายจ้างพิสูจน์ไม่ได้ว่าเสียหายอย่างไร ศาลก็เพียงแต่ยกฟ้องเท่านั้น อ้างอิงตามฎีกาที่ 10614/2558 เรื่อง ลูกจ้างลาออกจากงานไม่ถูกต้อง เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสอง และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 อันเป็นเหตุให้นายจ้างมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้แต่การกำหนดจำนวนค่าเสียหายเป็นดุลพินิจของศาล ดังนั้นลูกจ้างควรต้องตรวจสอบให้ดีว่า สัญญาจ้างหรือกฎระเบียบของบริษัทมีการระบุให้ลูกจ้างแจ้งลาออกล่วงหน้าก่อน 30 วันหรือไม่ หากสัญญาจ้างหรือกฎหมายระเบียบกำหนดไว้ ลูกจ้างควรต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเพื่อให้ถูกต้องตามกฎระเบียบของบริษัท อย่างไรก็ตาม ลูกจ้างบางคนอาจสงสัยว่าหากมีเหตุให้ลูกจ้างรอครบ 30 วันไม่ได้...

ไม่ผ่านการทดลองงานมีสิทธิได้รับค่าชดเชย หรือต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือไม่ ?

ไม่ผ่านการทดลองงานมีสิทธิได้รับค่าชดเชย หรือต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือไม่ ? สวัสดีตอนเช้า เขียนยาวก็ไม่ค่อยอ่าน งั้นวันนี้ตอบสั้นๆแล้วกันนะ ไม่ผ่านการทดลองงานมีสิทธิได้รับค่าชดเชย หรือไม่นั้น ต้องตอบว่ามีทั้ง ได้ และไม่ได้ เพราะกฎหมายคุ้มครองแรงงาน กำหนดว่า กรณีมีสิทธิได้รับค่าชดเชย จะต้องมีการทำงานต่อเนื่องครบ 120 วัน ดังนั้น ถ้านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างในวันที่ 119 วัน เช่นนี้ ลูกจ้างก็ไม่มีสิทธิได้ค่าชดเชย แต่ๆๆ กรณีที่นายจ้างบอกขยายระยะเวลาทดลองงานออกไปเรื่อยๆ เกิน 120 วัน และเลิกจ้าง โดยที่ลูกจ้างไม่มีความผิด แบบนี้ลูกจ้างก็มีสิทธิได้ค่าชดเชย ส่วนได้เท่าไหร่นั้น เปิด เสริช ดู ม.118 พรบ คุ้มครองแรงงาน ส่วนนายจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือไม่นั้น คำตอบคือ “ต้องบอกล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า 1 งวดการจ่ายค่าจ้าง” หากสัญญาจ้างนั้นเป็นสัญญาแบบไม่มีกำหนดระยะเวลา (สัญญาแบบไม่มีกำหนดระยะเวลา คือไม่ได้บอกว่าเริ่มต้น สิ้นสุดแน่นอนเมื่อใด) โดยสัญญาที่ไม่มีกำหนดเวลาแน่นอน เนี่ยทำให้นายจ้างเกิดหน้าที่ต้องมีการบอกกล่าวล่วงหน้า ตามมาตรา 17 วรรคสอง เช่น ระยะทดลองงานรือ...

ข้อห้ามเรียกรับหลักประกัน !!

ข้อห้ามเรียกรับหลักประกัน!! หลายคนสอบถามเข้ามาว่านายจ้างเรียกรับประกันได้หรือไม่ ถ้าได้ ได้ในตำแหน่งไหนบ้าง พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 10 ที่แก้ไขโดยพระราช บัญญัติคุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 กำหนดห้ามการเรียกหรือรับหลักประกันว่า “ห้ามมิให้นายจ้างเรียกหรือรับหลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นเงิน ทรัพย์สินอื่น หรือการค้ำประกันด้วยบุคคลจากลูกจ้าง เว้นแต่ ลักษณะหรือสภาพของงานที่ทำนั้น ลูกจ้างต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินของนายจ้าง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างได้ ทั้งนี้ลักษณะหรือสภาพของงานที่ให้เรียกหรือรับหลักประกันจากลูกจ้างได้ ตลอดจนประเภทของหลักประกัน จำนวนมูลค่าของหลักประกันและวิธีการเก็บรักษา ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด” ติดต่องาน

บิดาเสียชีวิตแล้วก็ขอรับรองบุตรได้!!

บิดาเสียชีวิตแล้วก็ขอรับรองบุตรได้!! สำหรับกรณีที่บิดาเสียชีวิตแล้ว วิธีการขอรับรองบุตรทำได้ แต่ต้องดำเนินคดี อย่างคดีไม่มีข้อพิพาท คือ เริ่มคดีโดยยื่นคำร้องขอต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 188(1) ตัวอย่างจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8504/2544 การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1555 หากบิดามีชีวิตอยู่ต้องดำเนินคดีอย่างคดีมีข้อพิพาทคือฟ้องบิดาโดยทำเป็นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แต่ถ้าบิดาถึงแก่ความตายไปแล้วต้องดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทคือเริ่มคดีโดยยื่นคำร้องขอต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 188(1) ดังนั้น เมื่อผู้ตายซึ่งเป็นบิดาได้ถึงแก่ความตายไปแล้ว โจทก์จึงต้องดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาท ส่วนบทบัญญัติมาตรา 1558 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิที่จะได้รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมซึ่งเป็นผลตามมาจากการที่ร้องขอให้ศาลพิพากษาเป็นบุตร มิใช่บทบัญญัติที่ให้อำนาจโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะทายาทผู้ตายเพื่อให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย

ผ่านการทดลองงานแล้ว แต่บริษัทไม่ขึ้นเงินเดือนให้ ฟ้องได้ไหม ?

ผ่านการทดลองงานแล้ว แต่บริษัทไม่ขึ้นเงินเดือนให้ ฟ้องได้ไหม ? คำถามนี้มี 2 คำตอบ มิตรรักพอจะเดาได้ไหม ว่าตอบอย่างไรบ้าง ? สำหรับคำถามนี้มี 2 คำตอบคือ “ฟ้องได้”และ “ฟ้องไม่ได้” กล่าวคือ ถ้าในสัญญาจ้างไม่ได้ตกลงว่า ผ่านทดลองงานแล้วจะปรับให้ นายจ้างก็มีสิทธิที่จะไม่ปรับให้ แต่ตรงกันข้าม หากในสัญญากำหนดไว้ ว่าผ่านทดลองงานแล้วจะขึ้นให้เป็นจำนวนเท่าใด แต่ไม่ขึ้นให้ แบบนี้ถือว่าโต้แย้งสิทธิแล้วฟ้องศาลได้

นายจ้างไล่ออกไม่จ่ายค่าชดเชย เพราะลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งไม่ยอมทำ OT ได้ไหม ?

นายจ้างไล่ออกไม่จ่ายค่าชดเชย เพราะลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งไม่ยอมทำ OT ได้ไหม ?? สัญญาจ้างแรงงานที่ลูกจ้างตกลงทำงานให้นายจ้าง นายจ้างจะบังคับให้ทำงานได้เฉพาะในเวลาทำงานปกติวันละไม่เกิน 8 ชั่วโมงเท่านั้น เกินกว่านั้นคือการทำงานล่วงเวลา นายจ้างจะบังคับลูกจ้างไม่ได้!!! และจะใช้เหตุนี้มาอ้างว่าลูกจ้างฝ่าฝืนฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างในกรณีร้ายแรงไม่ได้ นายจ้างไม่มีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย เมื่อนายจ้างบังคับให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาไม่ได้ กฎหมายจึงกำหนดให้ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างด้วยเป็นคราวๆ ไป โดยอาจจะทำเป็นหนังสือ หรือแจ้งผ่านอีเมล์ หรือข้อความ หรือด้วยวาจา หรือด้วยการแสดงกิริยาอาการอย่างใดอย่างหนึ่งที่ไม่คัดค้านคำสั่งของนายจ้าง หรือการที่ลูกจ้างมาทำงานล่วงเวลาก็ถือได้ ว่าเป็นการยินยอมของลูกจ้างแล้ว คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5888/2530 การที่นายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาหรือในวันหยุดได้จึงต้องขึ้นอยู่กับความสมัครใจของลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างไม่สมัครใจมาทำงานเกินเวลาทำงานตามปกติตามคำสั่งของนายจ้างจึงไม่อาจถือได้ว่าลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง นายจ้างจึงไม่มีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย

นายจ้างโอนตัวให้ไปทำงานบริษัทใหม่ถือเป็นการเลิกจ้างหรือไม่ ? ขอรวมฮิตแบตเมกะแด๊นซ์แล้วกันเพราะช่วงนี้ก็จะมีคำถามเกี่ยวกับการขอโอนตัวลูกจ้างให้ไปทำงานที่อื่นเข้ามาหลายคำถาม เริ่มเลออ นายจ้างย้ายลูกจ้างไปทำงานบริษัทในเครือแต่ให้นับอายุงานใหม่แบบนี้ถือว่าเลิกจ้างหรือไม่?? : คำตอบคือ ถือว่าเลิกจ้างและเป็นการเลิกจ้างโดยที่ลูกจ้างไม่มีความผิดนายจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย ที่ตอบแบบนี้เหตุก็เป็นเพราะว่าเมื่อไหร่จ้างอยากจะย้ายลูกจ้างไปทำงานที่อื่นแม้ว่าเป็นบริษัทในเครือแต่ก็เป็นนิติบุคคลต่างกันการที่ลูกจ้างต้องทำสัญญาจ้างใหม่ก็ถือว่านายจ้างเดิมไม่ประสงค์จะจ้างลูกจ้างต่อไปจึงถือว่าเป็นการเลิกจ้าง (อ้างอิงตามคำพิพากษาฎีกาที่ 513 / 2524) แต่ในกรณีกลับกันถ้านายจ้างโอนลูกจ้างไปอีกบริษัท”โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง” และมีการตกลงนับอายุงานกันต่อเนื่องก็ถือเป็นการโอนตัวลูกจ้างไม่ใช่การเลิกจ้าง (ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 3554 / 2525)

ยึดทรัพย์บังคับคดี คืออะไร ?

ยึดทรัพย์บังคับคดี คืออะไร ?? หลายครั้งที่เราไปฟ้องคดีแม้จะชนะคดีแล้วถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ แต่ไม่ได้ทำอะไรต่อเหมือนว่าได้เพียงกระดาษเปล่า ดังนั้นต้องไปดำเนินการขั้นตอนหนึ่งเพื่อให้ ได้มาซึ่งทรัพย์สินของลูกหนี้นั้นเรี่ยวขั้นตอนของการยึดทรัพย์บังคับคดี เดี๋ยววันนี้จะมาเล่าให้ฟังว่าการยึดทรัพย์บังคับคดีคืออะไร ไปฟังกัน.. เมื่อเราไปฟ้องคดีแล้วคดีเสร็จสิ้น ศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้หรือชำระเงินและได้ส่งคำบังคับให้แก่กลายเป็นลูกหนี้ปฎิบัติตามภายในกำหนดเวลาที่ระบุไว้ ลูกหนี้ก็ต้องนำเงินไปวางที่ศาลเพื่อทำตามคำพิพากษา หากลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ เจ้าหนี้จะต้องดำเนินการขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ โดยเมื่อได้หมายบังคับคดีถูกส่งไปยังกรมบังคับคดี เจ้าหนี้มีหน้าที่จะต้องไปตั้งเรื่องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี กรมบังคับ เพื่อให้ทำการยึดและการอายัดของลูกหนี้นำทรัพย์สินออกขายทอดตลาดแล้วนำเงินมาชำระให้เจ้าหนี้ ส่วนทรัพย์สินอะไรที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีสิทธิยึดอายัดได้ ติดตามได้ตามโพสต์ต่อไปนะคะ