กรุณารอสักครู่

 

HomeBlog

จะลาออก ต้องอ่าน !!

จะลาออกต้องอ่าน!! มีถามกันเข้ามาใน inbox เพจทุกวันนะคะไม่ว่าจะเป็นเรื่องขอลาออกแต่นายจ้างไม่อนุมัติ ขอลาออกแต่บอกล่วงหน้าไม่ครบ งวดสุดท้ายนายจ้างไม่จ่ายเงินเดือน หรือแม้แต่นายจ้างไม่ให้ใช้แบบฟอร์มลาออก ดังนั้นลาออกต้องอ่านโพสต์นี้นะคะ 1. การลาออกเป็นการแสดงเจตนาเลิกสัญญาจ้างโดยลูกจ้าง ไม่ว่าด้วยวาจาหรือเป็นลายลักษณ์อักษร ขอบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานกับนายจ้าง มีผลทำให้สัญญาจ้างแรงงานเป็นนสิ้นสุดลง (คำพิพากษาฎีกาที่6048-6051/2546) 2.เมื่อแสดงเจตนาลาออกแล้ว จะถอนไม่ได้ ยกเว้นนายจ้างยินยอม การลาออกถือเป็นการแสดงเจตนาฝ่ายเดียวมีผลเมื่ออีกฝ่ายคือนายจ้างและรับทราบการแสดงเจตนา นั้นเมื่อแสดงเจตนาลาออกและนายจ้างได้รับทราบเจตนาดังกล่าวแล้วลูกจ้างจะถอนการแสดงเจตนาโดยที่อีกฝ่ายหนึ่ง ไม่ยินยอมไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 386 (คำพิพากษาฎีกาที่1900/2542) 3.ก่อนการลาอกมีผล ลูกจ้างยังมีสถานะเป็นลูกจ้างหากทำผิดนายจ้างเลิกจ้างได้ เมื่อลูกจ้างยื่นใบลาออก นายจ้างอนุมัติการลาออกแล้ว แต่ในระหว่างที่ยังไม่ถึงกำหนดเวลาพันสภาพจากการเป็นลูกจ้างตามที่กำหนดไว้ในใบลาออก หากลูกจ้างกระทำผิดฝ่าฝืนคำสั่งระเบียบข้อปังคับการทำงานของนายจ้าง นายจ้างมีสิทธิ์ลงโทษทางวินัยและเลิกจ้างได้ (คำพิพากษาฎีกาที่1919/2546) 4.นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานก่อนครบกำหนดในใบลาออกไม่ใช่การเลิกจ้าง ศาลฎีกาเคยตัดสินว่าสัญญาจ้างสิ้นสุดลงเพราะการลาออกไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง ทั้งนี้ เพราะลูกจ้างเป็นฝ่ายแสดงเจตนาขอบอกเลิกสัญญาจ้างก่อน แม้นายจ้างไม่ได้แสดงเจตนาอะไรสัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อถึงวันที่ระบุให้ใบลาออกมีผล แม้นายจ้างจะให้ลูกจ้างออกจากงานก่อนถึงวันดังกล่าวตามที่ลูกจ้างประสงค์ โดยลูกจ้างไม่มีความผิดก็มีผลทำให้ลูกจ้างเสียหายเพียงเท่าที่ไม่รับค่าจ้างจนถึงวันที่ลูกจ้างประสงค์จะออกเท่านั้น จึงมิใช่การเลิกจ้าง (คำพิพากษาฎีกาที่ 10161/2551) 5.นายจ้างให้ลูกจ้างเขียนใบลาออกไว้ล่วงหน้า ไม่มีผลใช้บังคับ การที่นายจ้างให้ลูกจ้างลงชื่อ ในใบลาออกที่ไม่กรอกข้อความ ทำขึ้นเพื่อให้นายจ้างมีสิทธิไล่ลูกจ้างออกจากงานได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ซึ่งเป็นสิทธิขั้นต่ำตามกฎหมาย ถือว่าทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ขัดต่อกฎหมาย เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลใช้บังคับ 6.การลาอก ไม่จำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากนายจ้างแต่หากลูกจ้างลาออกโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า หรือลาออกโดยไม่เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของบริษัท...

ขอลาออกให้มีผลสิ้นเดือนแต่นายจ้างบอกว่าให้ออกไปเลยวันนี้แบบนี้ถือว่าไล่ออกมั้ยคะ!!

ขอลาออกให้มีผลสิ้นเดือนแต่นายจ้างบอกว่าให้ออกไปเลยวันนี้แบบนี้ถือว่าไล่ออกมั้ยคะ!! เรื่องนี้โพสต์ไปหลายรอบแล้ว แต่สำหรับใครที่ยังไม่ทราบและยังลังเลอยู่ว่าสรุป “เป็นการลาออก” หรือ “ไล่ออก” ลองอ่านเรื่องนี้ดูนะคะ กรณีนายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานก่อนครบกำหนดในใบลาออกไม่ใช่การเลิกจ้าง ศาลฎีกาเคยตัดสินว่าสัญญาจ้างสิ้นสุดลงเพราะการลาออกไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง ทั้งนี้ เพราะลูกจ้างเป็นฝ่ายแสดงเจตนาขอบอกเลิกสัญญาจ้างก่อน แม้นายจ้างไม่ได้แสดงเจตนาอะไรสัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อถึงวันที่ระบุให้ใบลาออกมีผล แม้นายจ้างจะให้ลูกจ้างออกจากงานก่อนถึงวันดังกล่าวตามที่ลูกจ้างประสงค์โดยลูกจ้างไม่มีความผิดก็มีผลทำให้ลูกจ้างเสียหายเพียงเท่าที่ไม่รับค่าจ้างจนถึงวันที่ลูกจ้างประสงค์จะออกเท่านั้น จึงมิใช่การเลิกจ้าง (คำพิพากษาฎีกาที่10161/2551) สรุป สิ่งที่นายจ้างจะต้องจ่ายก็คือเงินเดือน จนถึงวันที่ลูกจ้างแจ้งลาออก แต่ไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าชดเชยหรือถ้าตกใจอีกค่ะ เช่น ลูกจ้างแจ้งลาออกวันที่ 20 มีนาคมให้มีผลวันที่ 30 เมษายนแต่นายจ้างบอกว่าออกไปเลยจ้ะ 20 มีนาคมนี้เก็บของไปเลยนายจ้างก็มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างตั้งแต่วันลูกจ้างทำงานมาคือวันที่ 1 มีนาคมจนถึง 30 เมษายน ค่ะ

ลูกจ้างเสพกัญชาจนมึนเมา อยากเลิกจ้างแต่ในข้อบังคับไม่มีเขียนไว้ แบบนี้สามารถเลิกจ้างได้ไหมคะ ?

ลูกจ้างเสพกัญชาจนมึนเมา อยากเลิกจ้างแต่ในข้อบังคับไม่มีเขียนไว้ แบบนี้สามารถเลิกจ้างได้ไหมคะ ? โอ๊ยเธอฉันอ่านเรื่องนี้แล้วฉันก็รู้สึกหงุดหงิดเล็กน้อยบางทีมันก็ไม่ต้องไปยึดติดกับข้อบังคับขนาดนั้นไหมถ้าให้เปรียบเทียบนะถ้าลูกจ้างทำความผิดร้ายแรงเช่นขโมยของประพฤติชั่วใดๆก็ตามซึ่งมันเป็นเรื่องร้ายแรงอยู่ในตัวอยู่แล้วมันไม่จำเป็นต้องมีข้อบังคับกำหนดไว้ก็เลิกจ้างได้ ปัญหามันไม่ได้อยู่ที่ว่ามีข้อบังคับในเรื่องนั้นหรือไม่เสียทีเดียวแต่ปัญหามันอยู่ที่ว่าสิ่งที่เรียกว่าเป็นการประพฤติชั่วหรือจงใจกระทำผิดต่อนายจ้างนั่นคืออะไรมากกว่าเช่นบางความผิดบางคนมองว่าอันนี้ไม่ได้ประพฤติชั่ว แต่บางคนกลับมองว่านี่คือการจะไปชั่วเช่นลุกขึ้นเถียงนายจ้างในที่ประชุมนายจ้างบอกว่านี่คือการประพฤติชั่วขอไล่ออกได้ไหมในข้อบังคับกำหนดเรื่องนี้ไว้เป็นวินัยร้ายแรง.. ซึ่งถ้าให้พิจารณาจากแค่นี้ก็บอกได้เลยว่าอาจจะไม่ได้ร้ายแรงมากต้องดูตัวอย่างข้อความการด่าสถานการณ์สภาพแวดล้อม ตำแหน่งหน้าที่ หลายอย่างประกอบกัน พี่จะดูได้ว่าพฤติกรรมดังกล่าวรุนแรงหรือไม่ ? แต่ในทางกลับการกรณีที่สอบถามมาคือลูกจ้างเสียบกัญชาจนมึนเมาไม่สามารถทำงานได้เลยแม้กัญชาจะถูกปลดล็อคแล้วเมื่อไม่นานมานี้แต่มันก็ชัดเจนว่าพฤติกรรมดังกล่าวเป็นพฤติกรรมที่ไม่สามารถทำให้ทำงานได้เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีและเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงกระทบกับหลายภาคส่วนเช่นนี้ก็เลิกจ้างได้แม้ไม่ได้กำหนดไว้ในข้อบังคับการทำงานในหมวดวินัยของบริษัท

ทำสัญญาปีต่อปีเมื่อสิ้นสุดสัญญาต้องได้ค่าชดเชย

ทำสัญญาปีต่อปีเมื่อสิ้นสุดสัญญาต้องได้ค่าชดเชย ก่อนที่จะไปพิจารณาถึงเรื่องอื่นต้องพิจารณาก่อนด้วยว่างานที่ทำเป็นสัญญาปีต่อปีนั้นเป็นงานตามปกติธุรกิจการค้าของนายจ้างหรือไม่ ? หากเป็นงานตามปกติธุรกิจการค้าของนายจ้าง แม้จะทำสัญญาทีละปีเมื่อสัญญาจ้างสิ้นสุดลงก็ถือเป็นการเลิกจ้าง และแม้ว่าจะมีการแบ่งสัญญาออกเป็นช่วงๆสัญญานั้นก็จะถูกนับระยะเวลารวมกันตามพรบคุ้มครองแรงงานมาตรา 20 (มาตรา 20 การที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานติดต่อกันโดยนายจ้าง มีเจตนาที่จะไม่ให้ลูกจ้างนั้นมีสิทธิใดตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่ว่า นายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานในหน้าที่ใด และการจ้างแต่ละช่วงมี ระยะเวลาห่างกันเท่าใดก็ตาม ให้นับระยะเวลาการทำงานทุก ช่วงเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ในการได้สิทธิของลูกจ้างนั้น) พอแค่นี้แหละไม่อยากเขียนยาว สงสัยตรงไหนก็พิมถามไว้นะเดี๋ยวว่างๆจะมาตอบ

ครบกำหนดการจ้างตามสัญญาแต่ยังให้ทำงานต่อไปเรื่อยๆโดยไม่ได้เซ็นต่อสัญญาแบบนี้คืออะไรคะ?

ครบกำหนดการจ้างตามสัญญาแต่ยังให้ทำงานต่อไปเรื่อยๆโดยไม่ได้เซ็นต่อสัญญาแบบนี้คืออะไรคะ?? ใครจะสถานการณ์แบบนี้ก็ไม่ต้องสงสัยนะคะว่าเรื่องระหว่างเราตอนนี้คืออะไร… เพราะเดี๋ยววันนี้จะมาเล่าให้ฟังค่ะ โดยคำถามวันนี้เป็นคำถาม inbox ที่น่าสนใจ ซึ่งเรื่องนี้เคยตอบไปหลายครั้งแล้วว่าสัญญาจ้างแบบมีกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดที่แน่นอนเมื่อนายจ้างจะเลิกจ้างไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวล่วงหน้าอีกเพราะว่า ลูกจ้างก็ได้ทราบกำหนดการเลิกจ้างล่วงหน้าแล้วประเด็นต่อมาคือ ถ้าเกิดว่าระยะเวลาตามสัญญาจ้างสิ้นสุดลงแล้วแต่ลูกจ้างยังคงทำงานต่ออีกแบบนี้จะถือว่าต่อไปอีกเท่าระยะเวลาสัญญาเดิมหรือเปล่าคำตอบก็คือ “ไม่ใช่ค่ะ” ในส่วนนี้กฎหมายก็ได้บอกไว้ว่าถ้าเกิดว่าสิ้นสุดระยะเวลาการทำงานตามสัญญาแล้วนายจ้างก็ยังคงให้ลูกจ้างทำงานต่อไปลูกจ้างก็ยังทำงานส่งมอบแก่นายจ้างยังมีการทำงานร่วมกันจ่ายเงินเดือนร่วมกันตามปกติ ในกรณีนี้ กฎหมายก็ให้สันนิษฐานว่าก็ยังมีการจ้างกันต่อซึ่งกลายเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนในจ้างจะเลิกจ้างคราวนี้ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 งวดการจ่ายค่าจ้างด้วย หากไม่บอกกล่าวคราวนี้ก็จะมีค่าตกใจค่ะ

ใช้ตำแหน่งที่ใหญ่กว่ามารังแก… มาอ่านกันว่าเจอแบบนี้มีกฎหมายอะไรคุ้มครองผู้น้อยแบบเราๆบ้าง ?

ใช้ตำแหน่งที่ใหญ่กว่ามารังแก… มาอ่านกันว่าเจอแบบนี้มีกฎหมายอะไรคุ้มครองผู้น้อยแบบเราๆบ้าง ? ก่อนอื่นมารู้จักพฤติกรรม ผู้ใหญ่รังแกผู้น้อยกันว่าพฤติกรรมดังกล่าวมีชื่อเรียกว่าอย่างไร…. พฤติกรรมดังกล่าวมีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า Power Harassment หรือแปลเป็นภาษาไทยง่ายๆก็หมายถึง การข่มเหงรังแกในที่ทำงาน ไม่ว่าจะเป็น การกลั่นแกล้ง การทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อนรำคาญใจ ไม่สบายใจ โดยใช้อำนาจหรือตำแหน่งหน้าที่ในการงานเป็นเครื่องมือ มีผลให้ผู้ถูกกระทำทำงานด้วยความลำบากกาย ลำบากใจ ถูกมองด้วยสายตาไม่ดีจากผู้ร่วมงานคนอื่น การดังกล่าวถือว่าเป็นความผิดอาญา ตามมาตรา 397 ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ ต่อผู้อื่น อันเป็นการรังแก ข่มเหง คุกคาม หรือกระทำการให้ได้รับความอับอาย หรือเดือดร้อนรำคาญ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง เป็นการกระทำในที่สาธารณสถาน หรือต่อหน้าธารกำนัล หรือเป็นการทำในลักษณะส่อไปในทางล่วงเกินทางเพศ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่ง 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคสอง เป็นการกระทำโดยเหตุที่ผู้กระทำมีอำนาจเหนือผู้ถูกกระทำ อันเนื่องมาจากความสัมพันธ์ในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชา นายจ้าง หรือผู้มีอำนาจเหนือประการอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน และปรับไม่เกิน 10,000 บาท” ความผิดตามมาตรานี้เป็นความผิดลหุโทษ ซึ่งหมายถึงความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ...

ข้อบังคับบริษัทกำหนดให้เตือนครบ 3 ครั้งจึงเลิกจ้างได้ แต่กฎหมายแรงงานกำหนดไว้แค่ 2 ครั้ง นายจ้างจึงเลิกจ้างเมื่อทำผิดซ้ำใบเตือน 2 ครั้ง ทำได้จริงหรอ?

ข้อบังคับบริษัทกำหนดให้เตือนครบ 3 ครั้งจึงเลิกจ้างได้ แต่กฎหมายแรงงานกำหนดไว้แค่ 2 ครั้ง นายจ้างจึงเลิกจ้างเมื่อทำผิดซ้ำใบเตือน 2 ครั้ง ทำได้จริงหรอ? ตามกฎหมายแรงงานไม่จำเป็นให้นายจ้างต้องออกใบเตือนครบ 3 ครั้งก็เลิกจ้างได้ เพราะกฎหมายแรงงานกำหนดไว้ว่า ถ้าลูกจ้างทำผิดระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งของนายจ้าง และนายจ้างได้เตือนเป็นหนังสือ แล้วภายใน 1 ปี ลูกจ้างก็ยังทำผิดซ้ำในเรื่องเดียวกันกับที่ได้เตือนมาแล้ว นายจ้างก็มีสิทธิเลิกจ้างได้เลย เพราะลูกจ้างทำผิดซ้ำ” และเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย แต่!!! ถ้าบริษัทมีระเบียบ ข้อบังคับกำหนดการทำผิดวินัยของลูกจ้างในบางเรื่อง บางกรณีไว้ว่าลูกจ้างทำผิด กี่ครั้งจึงจะออกคำเตือน และทำผิดในเรื่องที่เคยเตือนกี่ครั้งแล้วมาถึงจะเลิกจ้างเพราะทำผิดซ้ำหนังสือเตือน ตัวอย่างเช่น ภายในบริษัทระบุไว้ว่า จะตักเตือนกี่ครั้งถึงจะเลิกจ้าง เช่น จะเตือน 3 ครั้ง 4 ครั้ง หรือ 5 ครั้ง หากตักเตือนยังไม่ครบตามระบุแล้วบริษัทเลิกจ้างเสียก่อน เช่น บริษัทระบุว่าจะตักเตือน 3 ครั้ง แต่เลิกจ้างตั้งแต่การเตือนครั้งที่ 2 นายจ้างอาจต้องจ่ายค่าชดเชยเช่นกัน กรณีเช่นนี้ นายจ้างก็ต้องปฏิบัติหรือทำตามกฎระเบียบที่ตนสร้างขึ้นมาจะข้ามขั้นตอนการลงโทษโดยการเลิกจ้างทันทีไม่ได้ ตามฎีกาที่ 7786/2556...

การฟ้องขอแบ่งสินสมรสต้องฟ้องมาในคราวเดียวกัน มิฉะนั้นอาจจะเป็นการดำเนินพิจารณาซ้ำ ฟ้องซ้ำ หรือฟ้องซ้อน (แล้วแต่กรณี)

การฟ้องขอแบ่งสินสมรสต้องฟ้องมาในคราวเดียวกัน มิฉะนั้นอาจจะเป็นการดำเนินพิจารณาซ้ำ ฟ้องซ้ำ หรือฟ้องซ้อน (แล้วแต่กรณี) คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5858/2558 โจทก์เคยฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่งเรื่องขอแบ่งสินสมรสระหว่างโจทก์กับ น. เป็นที่ดินตามแบบแสดงรายการที่ดินเพื่อชำระภาษีบำรุงท้องที่ (ภทบ. 5) เลขสำรวจที่ 191/2553 หมู่ที่ 7 ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เนื้อที่ 79 ไร่ 3 งาน 90 ตารางวา โดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรโต้แย้ง ส่วนคดีนี้ โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ขอแบ่งที่ดินซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับ น. เป็นที่ดินตามแบบแสดงรายการที่ดินเพื่อชำระภาษีบำรุงท้องที่ (ภทบ.5) เลขสำรวจที่ 96/2553 หมู่ที่ 5 ตำบลท่ามะขาม อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เนื้อที่ 3 ไร่ 2 งาน 64 ตารางวา โดยจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นบุตรโต้แย้ง แม้การฟ้องของโจทก์ทั้งสองคดีเป็นการขอให้แบ่งที่ดินต่างแปลงกันแต่มูลเหตุแห่งการฟ้องคดีเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องโดยการยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าที่ดินทั้งสองแปลงเป็นสินสมรส คำฟ้องคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคำฟ้องคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 104/2555 ต้องห้ามมิให้ฟ้องตาม...

คู่สมรสฟ้องขอแบ่งสินสมรสภายหลังจากที่ยื่นฟ้องหย่าได้ ไม่เป็นการดำเนินพิจารณาซ้ำ ฟ้องซ้ำ หรือฟ้องซ้อน

คู่สมรสฟ้องขอแบ่งสินสมรสภายหลังจากที่ยื่นฟ้องหย่าได้ ไม่เป็นการดำเนินพิจารณาซ้ำ ฟ้องซ้ำ หรือฟ้องซ้อน คำพิพากษาฎีกาที่ 3786/2546 ประเด็นในการฟ้องหย่าในคดีก่อนมีสาระเป็นเรื่องของสภาพการอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยา แต่เรื่องการขอแบ่งสินสมรสในคดีหลังเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์สินโดยมีสาระอยู่ที่ว่าทรัพย์สินนั้นเป็นสินสมรสหรือไม่ จึงเป็นคนละมูลคดีกันแม้จะมีผลมาจากการฟ้องหย่าแต่ก็หาจำต้องขอแบ่งสินสมรสมากับคดีฟ้องหย่าไม่ ทั้งไม่มีบทกฎหมายใดที่บัญญัติว่าจะต้องฟ้องขอแบ่งสินสมรสมาพร้อมกันกับการฟ้องหย่า ฟ้องแย้งของจำเลยที่ขอแบ่งสินสมรสจึงไม่เป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)

ลูกจ้างขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง

ลูกจ้างขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง ลูกจ้างทำหน้าที่พนักงานขับรถบรรทุกพ่วง 18 ล้อ มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่กำหนด กล่าวคือ ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมงซึ่งเป็นระเบียบที่กำหนดขึ้นเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน แต่ลูกจ้างกลับละเลยขับรถบรรทุกพ่วง 18 ล้อ ด้วยความเร็วเกินกว่าข้อบังคับของนายจ้างกำหนดไว้ คดีนี้ศาลพิจารณาว่า แม้ข้อบังคับเกี่ยวการทำงานของจำเลยไม่ได้ระบุว่าการขับรถด้วยความเร็วเกินกำหนดเป็นความผิดร้ายแรงไว้ แต่การที่ลูกจ้างละเลยขับรถเกินกว่าอัตราความเร็วที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 5 และมาตรา 67 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 ( พ.ศ. 2522 ) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ข้อ 1 ( 2 ) นั้น เป็นการอันมีโทษทางอาญาจึงถือว่าลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง นายจ้างสามารถเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย (คำพิพากษาฎีกาที่ 16305/2557)