กรุณารอสักครู่

 

HomeBlog

พ่อแม่ของบุตรไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน (และไม่ได้มีการรับรองบุตรก่อนฟ้องคดี) แม้บุตรต้องการอยู่กับพ่อ ศาลไม่อาจสั่งให้บุตรอยู่กับพ่อได้ อำนาจปกครองเป็นของแม่เท่านั้น

พ่อแม่ของบุตรไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน (และไม่ได้มีการรับรองบุตรก่อนฟ้องคดี) แม้บุตรต้องการอยู่กับพ่อ ศาลไม่อาจสั่งให้บุตรอยู่กับพ่อได้ อำนาจปกครองเป็นของแม่เท่านั้น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7407 / 2556 ถึงแม้พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ ซึ่งใช้บังคับวันที่ 22 พฤษภาคม 2554 กับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ ซึ่งถูกยกเลิกไปแล้วมีบทบัญญัติในหมวดการพิจารณาพิพากษาคดีครอบครัวให้ศาลคำนึงถึงสวัสดิภาพ อนาคตและประโยชน์สูงสุดของบุตรผู้เยาว์ประกอบดุลพินิจในการพิพากษาทำนองเดียวกัน แต่พระราชบัญญัติดังกล่าวก็เป็นกฏหมายวิธีสบัญติที่กำหนดขั้นตอนแนวทางในการดำเนินคดีตลอดจนวิธีปฏิบัติในการพิจารณาพิพากษา เกี่ยวกับคดีเยาวชนและครอบครัวเท่านั้น ไม่มีบทบัญญัติใดในพระราชบัญญัติดังกล่าวที่ระบุให้ศาลต้องฟังความประสงค์ของผู้เยาว์เป็นสำคัญว่าผู้เยาว์ประสงค์จะอยู่ในความปกครองของผู้ใด ในคดีครอบครัวที่พิพาทกันด้วยเรื่องอำนาจปกครองบุตร การใช้ดุลพินิจประกอบข้อวินิจฉัยประเด็นพิพาทเรื่องสิทธิและหน้าที่ของคู่ความในคดีครอบครัวว่ามีอย่างไรหรือไม่นั้นต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งเป็นกฎหมายสารบัญญัติที่บัญญัติไว้ โจทก์กับจำเลยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันแล้วจำเลยไม่ได้จดทะเบียนว่าผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรและยังไม่มีคำพิพากษาของศาลว่าผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรชอบด้วยกฏหมายของจำเลย จำเลยจึงเป็นเพียงบิดามิชอบด้วยกฏหมายที่ไม่มีอำนาจปกครองผู้เยาว์ทั้งสอง ส่วนโจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ทั้งสองแต่เพียงผู้เดียว ด้วยเหตุที่ผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1546 ทั้งนี้ไม่มีบทกฎหมายใดที่บัญญัติให้สิทธิผู้ใช้อำนาจปกครองสละการใช้อำนาจปกครองให้ผู้อื่นได้ ทั้งอำนาจปกครองบุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะที่จะตกอยู่แก่บิดาในกรณีมาตรา 1566  (5) (6) ก็มีได้เฉพาะผู้เป็นบิดาชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องว่าโจทก์ถูกกีดกันขัดขวางไม่ให้รับผู้เยาว์ทั้งสองไปอยู่ด้วยแล้ว ศาลชั้นต้นกลับมีคำสั่งกำหนดให้ผู้เยาว์ไปอยู่กับปู่และย่าซึ่งเป็นบิดาของจำเลย ทั้งที่โจทก์ยังมีชีวิตและไม่ได้ถูกถอนอำนาจปกครองจึงเป็นการไม่ถูกต้องด้วยข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1585 ติดต่อจ้าง Info@legalclinic.co.th

ลาออกเองไม่ได้ค่าชดเชย!!

ลาออกเองไม่ได้ค่าชดเชย!! ตั้งแต่ Facebook ปิดกั้นแล้วต้องจ่ายเงินค่าโฆษณาบอกตรงๆว่าอยากจะหนีจากแพลตฟอร์มนี้เหลือเกินลองไปเล่น tiktok มาเดือนนึง ก็รู้สึกหัวจะปวด เพราะถนัดเขียนยาวๆ พูดสั้นๆ ก็ค่อนข้างยากเพราะปกติเป็นคนพูดมากพูดยาวตลอด จะสนุกอย่างเดียวก็ตรงมีฟิลเตอร์หน้าสวยๆทำให้เรารู้สึกอยากมองหน้าตัวเองอยู่บ้างละมั้ง ในติ๊กต๊อกจะมีคนมาถามค่อนข้างเยอะรวมถึง Facebook ในระยะหลังนี้ด้วยเกี่ยวกับเรื่องที่ว่าลาออก มาแล้ว xx ปี ยังสามารถฟ้องเรียกค่าชดเชยได้อยู่ไหม?? เดี๋ยวขอเอามาตอบใน Facebook รวบเลยละกันนะคะ ว่า.. ลาออกคือลาออก ลาออกไม่มีสิทธิ์ได้ค่าชดเชย ค่าชดเชยจะได้ต่อเมื่อ ” นายจ้างเลิกจ้างเราโดยที่เราไม่มีความผิดตามมาตรา 119 + เราทำงานครบ 120 วัน ” นี่คือหลักเกณฑ์พื้นฐานของการได้รับค่าชดเชยค่ะ หลายคนถามว่าพฤติกรรมที่ตัวเองโดนคือถูกบีบออกหรือไม่ เช่น งานที่ออฟฟิศเยอะขึ้น และนายจ้างพูดด้วยไม่ค่อยดีเลย มีการเปลี่ยนผู้บริหาร Set ใหม่แนวทางการบริหารไม่เหมือนกับเซตเก่า การเบิกจ่ายก็ต้องวุ่นวาย รอระยะเวลานานขึ้นเลยตัดสินใจลาออก กรณีแบบนี้ถ้าเอาแค่ที่เล่าให้ฟังมันไม่ใช่การบีบออกเลยค่ะแต่เป็นการพิจารณาแล้วว่าเราไม่ชอบวัฒนธรรมองค์กรแบบนี้ไม่อยากอยู่ด้วยเลยลาออก ส่วนเรื่องบีบออกนั้นกฎหมายไม่เคยบอกว่าพฤติกรรม 1 2 3 4 คือการบีบออกมันต้องดูเป็นกรณีกรณีไปว่านายจ้างและลูกจ้างมีพฤติกรรมระหว่างการอย่างไร ซึ่งเรื่องนี้เคยเขียนไปแล้วลองไปศึกษากันนะคะ ติดต่องาน info@legalclinic.co.th  

กฎบริษัทอยู่เหนือกฎหมายจริงหรือไม่!!

กฎบริษัทอยู่เหนือกฎหมายจริงหรือไม่!! ถ้าให้ตอบตามตัวบทกฎหมายแล้วในโลกของ ตัวอักษรก็ต้องตอบว่าไม่จริงค่ะ กฎบริษัทไม่สามารถอยู่เหนือกฎหมายได้ ไม่ว่าจะเป็นการให้ลูกจ้างเซ็นสัญญาที่มีข้อความตัดสิทธิ์ลูกจ้างเอง เช่น ลูกจ้างตกลงไม่รับค่าชดเชย ลูกจ้างตกลงให้บอกเลิกจ้างเมื่อไหร่ก็ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า กฎเหล่านี้ไม่สามารถใช้บังคับได้เลยและหากจะถามอีกว่าอ้างอิงกฎหมายอะไรก็อ้างอิงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 ค่ะ หรือถ้าใครอยากเห็นฎีกาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องแบบนี้ลองไปเปิดดูฎีกาที่ 5245/45 นะคะ แต่อย่างที่บอกไปค่ะ โลกทุกวันนี้ขับเคลื่อน ด้วยระบบทุนนิยม เมื่ออำนาจการต่อรองของลูกจ้างน้อยกว่าแม้จะรู้ว่าไม่ถูกต้องตามกฎหมายแต่ลูกจ้างก็ต้องยอมไปก่อน ไม่กล้าทักท้วงไม่กล้าหืออืออะไรเพราะ ถ้ากล้าแข็งข้อขึ้นมาก็อาจจะตกงานได้ แล้วแบบนี้จะต้องศึกษากฎหมายไปทำไมล่ะ?? . . เพื่อนๆเคยได้ยินเรื่องอายุความไหมคะ?? อายุความหมายถึงระยะเวลาที่เรายังมีสิทธิ์เรียกร้องตามกฎหมายอยู่ค่ะ ในกรณีที่เราลาออกไปแล้วอายุความในการดำเนินการในเรื่องต่างๆหรือเรียกร้องสิทธิ์ของเราในเรื่องต่างๆก็ยังมีอยู่เช่นหากเป็นค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ที่เราควรจะได้รับแต่นายจ้างกลับหักไป อายุความเหล่านี้มีระยะเวลา 2 ปีในการเรียกค่าจ้างเหล่านั้นคืน เช่นฝ้ายทำงานที่บริษัท A มา 10 ปี ในทุกๆปีนายจ้างไม่เคยคำนวณค่าจ้างตามกฎหมายเลยแล้วมีการหักค่าจ้างที่ไม่ถูกต้องทำโอทีก็ไม่เคยให้ค่าจ้าง เมื่อฝ้ายลาออก หรือถูกเลิกจ้าง อายุความในการ เรียกร้อง ค่า จ้างและโอทีก็ยังมีอยู่อีกถึง 2 ปีเพียงแต่ฝ้ายต้องเก็บหลักฐานแล้วมาพิสูจน์ ส่วนอายุความอื่นๆ เช่น ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมค่าชดเชยมีอายุความถึง 10 ปีค่ะ ดังนั้นหากเราไม่รู้กฎหมายไม่ทราบเรื่องพวกนี้เลย เราก็จะถูกเอาเปรียบอยู่ร่ำไป ดังนั้นในความเห็นฝ้ายการรู้ข้อกฎหมายไว้ก่อนเป็นเรื่องดีค่ะ แต่จะใช้สิทธิ์หรือไม่มันก็ขึ้นอยู่กับความพร้อมของเราด้วย ซึ่งหากเราปิดหูปิดตาและปักใจไว้ว่าการรู้กฎหมายไว้ไม่มีประโยชน์อะไรหรอก...

เลิกจ้างลูกจ้างทดลองงาน ก็ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเช่นกัน

เลิกจ้างลูกจ้างทดลองงานก็ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเช่นกัน อย่างที่เคยเล่าให้ฟังไปก่อนหน้านี้หลายครั้งว่าด้วยแท้จริงแล้วกฎหมายไม่ได้กำหนดเรื่องระยะเวลาทดลองงานไว้เลยแต่ส่วนมากที่เราเห็นว่าสัญญาจ้างแบบที่มีกำหนดระยะเวลาทดลองงานมักจะมีระยะเวลากำหนดไว้ 119 วันนั่นก็เป็น เพราะ นายจ้างได้กำหนดระยะเวลาในการดูผลการทำงานพฤติกรรมนิสัยใจคอของลูกจ้าง ไว้โดย กำหนดไว้ไม่ให้ครบ 120 วันเพราะหากลูกจ้างทำงานครบ 120 วันและนายจ้างเลิกจ้างโดยที่ลูกจ้างไม่มีความผิดตามมาตรา 119 แห่งพรบคุ้มครองแรงงานนายจ้างก็จะต้องจ่ายค่าชดเชย ( เรื่องค่าชดเชยไปดูมาตรา 118 เอานะว่าทำงานมาเท่าไหร่แล้วมีสิทธิ์ได้เท่าไหร่) ดังนั้นหากนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างก่อนที่ลูกจ้างจะทำงานครบ 120 วันนายจ้างก็ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย แต่ๆๆๆ นายจ้างหลายคนก็ยังเข้าใจผิด ว่าในช่วง 119 วันนี้จะบอกเลิกจ้างเมื่อไหร่ก็ได้เช่นบอกเลิกจ้างในวันที่ 118 แล้วบอกว่าพรุ่งนี้ไม่ต้องมาทำงานแล้วนะเพื่อไม่ให้ครบ 120 วัน …. กรณีนี้นายจ้างอาจจะต้องเสียค่าตกใจ (ค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า) ให้แก่ลูกจ้างด้วย เพราะโดยปกติในสัญญาทดลองงานจะกำหนดระยะเวลาทดลองงานไว้เท่านั้นแต่อาจจะไม่ได้กำหนดระยะเวลาแน่นอนในการเลิกสัญญา ดังนั้น หากสัญญาที่มีระยะทดลองงานแต่ไม่มีระยะเวลาเลิกจ้างที่แน่นอน ถ้าจะให้ลูกจ้างไม่ผ่านการทดลองงาน นายจ้างก็จะต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า 1 งวดการจ่ายค่าจ้างนะคะ ส่วนที่บางคนบอกว่าแต่กำหนดไม่ได้สัญญาแล้วนะว่าสามารถบอกได้เลยโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าอันนี้ก็ชัดเจนว่าเป็นข้อตกลงที่กำหนดไว้ขัดกับกฎหมาย ซึ่งข้อตกลงขัดกับกฎหมายไม่ได้ค่ะ แม้ลูกจ้างจะเซ็นรับทราบยินยอมยอมรับ ก็ไม่มีผลบังคับใช้นะคะ เอาเป็นว่าบอกเลิกจ้างให้ถูกต้องดีกว่าค่ะ จะได้ไม่มีใครเจ็บทั้งลูกจ้างทั้งนายจ้าง ติดต่องาน info@legalclinic.co.th

ต่อให้ไล่ออกก็ต้องให้หนังสือรับรองการผ่านงาน

ต่อให้ไล่ออกก็ต้องให้หนังสือรับรองการผ่านงาน เป็นคำถามจากฝั่งนายจ้างเองที่อ่านแล้วรู้สึกหดหู่เหลือเกินกับคำถามที่ว่า “เมื่อลูกน้องคนนี้ทำผิดแล้วเราไล่ออกไปแล้วเรายังจำเป็นต้องให้หนังสือรับรองการผ่านงานเขาไหมคะ และถ้าออกสามารถระบุได้ไหมว่าเขา มีพฤติกรรมไม่ดีอย่างไร” แม้จะรู้สึกหดหู่กับคำถามเล็กน้อยแต่ ก็ขอขอบคุณนะคะที่ยังมาถาม แสดงให้เห็นถึงความ ใส่ใจในเรื่องของกฎหมายก่อนที่จะออกหนังสือ รับรองการผ่านงาน หากว่ากันด้วยหลักกฎหมายแล้วประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 585 กำหนดไว้ว่าเมื่อการจ้างแรงงานสิ้นสุดลงแล้วลูกจ้างชอบที่จะได้รับใบสำคัญที่แสดงว่าลูกจ้างนั้นได้ทำงานมานานเท่าไหร่และงานที่ทำนั้นเป็นงานอย่างไร โดยหนังสือรับรองการทำงานนี้ ต้องออกให้ตั้งแต่ วันที่การจ้างสิ้นสุดลง ไม่ว่าจะด้วยเหตุลูกจ้างลาออกหรือถูกเลิกจ้างด้วยกรณีใดๆก็ตาม ส่วนคำถามที่ว่าจะระบุได้ไหมว่าลูกจ้างมีพฤติกรรมยังไง ก็ขอให้พิจารณาจากตัวบทกฎหมายข้างบนนะคะเพราะหากพิจารณาจากตัวบทกฎหมายแล้ว หนังสือรับรองก็จะมีสาระสำคัญอยู่เพียง 2 ประการคือทำงานมานานแค่ไหนและลักษณะงานที่ทำเป็นอย่างไร แล้วถ้าบริษัทไหนยืนกลางว่าจะไม่ออกหนังสือรับรองการทำงานให้และลูกจ้างมีความจำเป็นต้องใช้จริงๆ ลูกจ้างก็สามารถ ฟ้องร้องเป็นคดีต่อศาลแรงงานนะคะ นอกเหนือจากข้อกฎหมายแล้วก็อยากฝากไว้สักนิดนึงนะคะทางฝั่งนายจ้างและลูกจ้าง ฝั่งนายจ้างเองก็ต้องทราบข้อกฎหมายไว้ บริษัทที่ถูกร้องเรียนบ่อยๆ ไม่น่าจะดีนัก ทั้งในด้านชื่อเสียงและคนที่อยากจะร่วมงานด้วย ส่วนตัวของลูกจ้างเองไม่ว่าจะออกแบบไหนก็ตามในระหว่างอยู่ก็ ทำงานอย่างเต็มที่ให้คง Concept ที่ว่ามาให้ดีใจ ไปให้คิดถึงนะคะ ติดต่องาน Info@legalclinic.co.th    

เจ้าของโครงการหมู่บ้านหรือคอนโดก่อสร้างล่าช้า ไม่เสร็จภายในกำหนด ผู้จองชำระเงินตามสัญญาล่าช้าได้ ไม่ถือว่าผู้จองผิดสัญญา

เจ้าของโครงการหมู่บ้านหรือคอนโดก่อสร้างล่าช้า ไม่เสร็จภายในกำหนด ผู้จองชำระเงินตามสัญญาล่าช้าได้ ไม่ถือว่าผู้จองผิดสัญญา คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6327/2549 โจทก์มิได้ชำระเงินค่างวดตรงตามเวลาและครบถ้วนในกำหนดตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ส่วนจำเลยก็มิได้สร้างบ้านให้แล้วเสร็จภายในกำหนดวันที่โจทก์ต้องชำระเงินค่างวดสุดท้ายและจำเลยตกลงจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ จึงถือว่าต่างฝ่ายต่างมิได้ถือกำหนดระยะเวลาที่กำหนดไว้ ในสัญญาเป็นสาระสำคัญต่อไป หนี้ที่ต่างต้องชำระต่อกันจึงไม่มีกำหนดเวลาแน่นอน ต่างฝ่ายย่อมเรียกอีกฝ่ายหนึ่งชำระหนี้ได้โดยพลัน โดยกำหนดระยะเวลาพอสมควรแล้วบอกกล่าวให้อีกฝ่ายชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาที่กำหนดนั้นได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 204 วรรคแรก สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนและล่วงเลยกำหนดเวลาชำระหนี้มาแล้วประมาณ 10 เดือน ดังนั้นหนังสือบอกกล่าวของจำเลยที่ทวงถามให้โจทก์ชำระเงินค่างวดที่ค้างเพื่อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญานั้น จำเลยจะต้องขอปฏิบัติการชำระหนี้ต่อโจทก์ด้วยว่าจำเลยพร้อมที่จะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านให้แก่โจทก์แล้ว เมื่อจำเลยไม่ได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้ด้วยโจทก์จึงมีสิทธิไม่ชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทนนั้นได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 369 ข้อเท็จจริงปรากฎว่าจำเลยยังก่อสร้างบ้านไม่แล้วเสร็จในขณะที่มีหนังสือบอกกล่าวให้ชำระหนี้ค่างวดที่ค้าง จำเลยจึงไม่อยู่ในฐานะที่พร้อมจะขอปฏิบัติการชำระหนี้ตอบแทนให้แก่โจทก์ได้ การที่โจทก์ไม่ชำระเงินค่างวดที่ค้างให้แก่จำเลย จึงไม่ถือว่าโจทก์ผิดสัญญา จำเลยยังไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบเงินที่โจทก์ชำระแล้ว ติดต่องาน info@legalclinic.co.th

รถที่เช่าซื้อถูกยักยอก ผู้เช่าซื้อซึ่งเป็นผู้ครอบครองรถขณะเกิดเหตุถือเป็นผู้เสียหาย ผู้เช่าซื้อจึงมีอำนาจในการฟ้องร้องดำเนินคดีได้

รถที่เช่าซื้อถูกยักยอก ผู้เช่าซื้อซึ่งเป็นผู้ครอบครองรถขณะเกิดเหตุถือเป็นผู้เสียหาย ผู้เช่าซื้อจึงมีอำนาจในการฟ้องร้องดำเนินคดีได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4965/2565 จำเลยยักยอกรถยนต์ของบริษัท ต. จาก อ. โจทก์ร่วม ซึ่งเป็นผู้ครอบครองในฐานะผู้เช่าซื้อ เมื่อในขณะเกิดเหตุกระทำความผิดโจทก์ร่วมเป็นผู้มีสิทธิครอบครองใช้ประโยชน์รถที่เช่าซื้อ การกระทำของจำเลยย่อมทำให้โจทก์ร่วมได้รับความเสียหายโดยตรง ดังนี้โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยและมีอำนาจร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยได้ โจทก์มีอำนาจฟ้อง  

กฎหมายแรงงานมีโทษทางอาญาด้วย !!!

กฎหมายแรงงานมีโทษทางอาญาด้วย !!! กฎหมายแรงงานได้กำหนดให้ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล และหากการกระทำของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการ หรือการกระทำของบุคคลใด หรือไม่สั่งการ หรือไม่กระทำการอันมีหน้าที่ต้องกระทำของกรรมการผู้จัดการ หรือบุคคลใด ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินการของนิติบุคคลนั้น ผู้นั้นต้องรับโทษทางอาญาตามความผิดนั้นด้วย ซึ่งการกำหนดในลักษณะดังกล่าวใช่ว่าผู้รับผิดชอบจะเป็นตัวนายจ้าง หรือผู้แทนของนายจ้างเท่านั้น ซึ่งโดยทั่วไปจะเข้าใจว่า บริษัทและกรรมการบริษัท แต่จริงๆ กฎหมายตีความครอบคลุมไปถึงบุคคลอื่นที่ไม่ใช่กรรมการด้วย ซึ่งอาจจะเป็นผู้จัดการฝ่ายบุคคลหรือฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ซึ่งอาจต้องร่วมรับผิดกับนายจ้าง (บริษัท) ด้วย หากข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าการกระทำเกิดจากการดำเนินการของผู้จัดการฯ ความผิดอาญาตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เป็นความผิดอาญาต่อแผ่นดิน ซึ่งหมายความว่า เมื่อมีการกระทำความผิดอาญาเกิดขึ้นแล้ว แม้ว่านายจ้างกับลูกจ้างสามารถตกลงประนีประนอมยอมความกันได้ ความผิดอาญาไม่ระงับ นายจ้างจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนตามที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนด ดังนี้ 1. พนักงานตรวจแรงงานจะมีหนังสือถึงนายจ้างแจ้งข้อกล่าวหาและให้นายจ้างแจ้งความประสงค์เปรียบเทียบปรับ (หากความผิดนั้นสามารถเปรียบเทียบปรับได้) 2. นายจ้างจะต้องยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานตรวจแรงงานเพื่อแจ้งความประสงค์ขอให้ทำการเปรียบเทียบปรับ 3. เจ้าพนักงานตรวจแรงงานจะทำการสอบสวน หากเห็นว่า นายจ้างสมควรจะถูกเปรียบเทียบปรับ เจ้าพนักงานตรวจแรงานจะทำเรื่องเสนอบุคคลดังต่อไปนี้ เพื่อสั่งเปรียบเทียบปรับต่อไป ได้แก่ อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย สำหรับความผิดที่ได้เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายสำหรับความผิดที่เกิดขึ้นในจังหวัดอื่น จากประสบการณ์ทำคดี เราพบเจอกรรมการบริษัทหลายบริษัทถูกเรียกเปรียบเทียบปรับจากการกระทำที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายแรงงานหลายครั้งต่อหลายครั้ง ดังนั้นหากกรรมการบริษัทคนใดไม่อยากถูกพิมพ์ลายนิ้วมือ/มีฐานข้อมูลประวัติในคดีอาญา อย่าลืมใส่ใจเรื่องการบริหารงานจ้างให้สอดคล้องกับกฎหมายแรงงานให้ดีค่ะ

การบอกกล่าวล่วงหน้า นับ 1 งวดการจ่ายค่าจ้างนั้น นับอย่างไร ?

การบอกกล่าวล่วงหน้า นับ 1 งวดการจ่ายค่าจ้างนั้น นับอย่างไร ? การบอกกล่าวล่วงหน้า เพื่อจะให้มีผลเป็นการเลิกจ้างลูกจ้างนั้น ปัจจุบันพบว่า มีหลายๆ องค์กรนับระยะเวลาผิดจนเป็นเหตุให้เกิดการเลิกจ้างที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย จนบางครั้งนายจ้างก็ต้องจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 2-3 เท่า วิธีการนับที่ถูกต้องเป็นอย่างไร? วันนี้ทางเพจจะมาเฉลยให้ฟัง 1. การจ้างแบบมีกำหนดเวลา: การที่ได้ว่าจ้างลูกจ้างโดยกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้างไว้ชัดเจน แล้ว เช่น 90 วัน 120 วัน 1 ปี หรือ 2 ปี ถ้านายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างตามกำหนดเวลาในสัญญา นายจ้างไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า เพียงแต่แจ้งให้ลูกจ้างทราบว่า นายจ้างไม่ประสงค์จะต่อสัญญาให้เท่านั้นก็พอ (พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคหนึ่ง) 2. การจ้างแบบไม่มีกำหนดเวลาหรือเลิกจ้างลูกจ้างก่อนกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาจ้าง: กรณีนี้กฎหมายบอกว่าต้องบอกกล่าวล่วงหน้าอย่างน้อย 1 งวดการจ่ายค่าจ้าง แต่หนึ่งงวดการจ่ายค่าจ้างคืออะไรกันแน่? คนชอบเข้าใจว่า หนึ่งงวดการจ่ายค่าจ้าง = 30 วัน ซึ่งความจริงแล้วไม่ถูกต้องอย่างมาก เรามาดูตัวอย่างหนึ่งงวดการจ่ายค่าจ้างที่กฎหมายกำหนดกันค่ะ ตัวอย่างเช่น นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้าง ทุกวันที่...

เลิกจ้างในช่วงทดลองงาน ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า..จริงหรือ?

เลิกจ้างในช่วงทดลองงาน ก็ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า..จริงหรือ?? จริงรึ…จริงซิ๊ แน่นะ…อ๋อแน่สิ ไม่ผิดนะ…ไม่ผิดสิ …..เซาาาาก่อน…ต้องหยุดเล่นสักวันแล้วเข้าเนื้อหาสาระ เพราะผู้ชายเขาไม่ได้ชอบผู้หญิงตลกค่ะ เขาชอบผู้หญิงที่สวย รวยแล้วก็ตลก ดังนั้น ผู้หญิงตลกอย่างเดียวแบบเรา ตลกไปก็เปล่าประโยชน์ ในการทำสัญญากับบริษัทหนึ่ง หากปรากฏว่าบริษัท มีวันเริ่มจ้างที่แน่นอนแต่ไม่มีวันสิ้นสุดที่แน่นอน บอกเพียงว่ามีช่วงทดลองงานคือ 119 วัน กรณีนี้ สัญญาถือเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นสิ้นสุดแน่นอน การบอกเลิกจ้างจึงต้องบอกกล่าวให้ลูกจ้างทราบ เมื่อนายจ้างบอกกล่าวไม่ชอบ จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้ลูกจ้างด้วย ฎีกาที่ 11428/2557 ศาลตัดสินว่า ข้อตกลงในสัญญาดักล่าวหมาย ความว่านายจ้างตกลงจ้างลูกจ้างทำงาน โดยมีระยะเวลาทดลองงาน 120 วัน หากผ่านการทดลองงานจะจ้างต่อไป หากไม่ผ่านการทดลองงาน นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้ จึงไม่แน่นอนว่าสัญญาจ้าง จะสิ้นสุดเมื่อใด จึงเป็นสัญาจ้างที่ไม่มีกำหนดเวลา การบอกเลิกจ้างจึงต้องบอกกล่าว ให้ลูกจ้างทราบ เมื่อนายจ้างบอกกล่าวไม่ชอบ จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการ บอกกล่าวให้ลูกจ้าง คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่สั่งให้นายจ้างจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวฯ จึงชอบแล้ว