กรุณารอสักครู่

 

HomeBlog

หากศาลมีคำสั่งแล้ว บริษัทนายจ้างยังดื้อแพ่งไม่ยอมจ่ายเงิน ลูกจ้างจะทำอย่างไร?

หากศาลมีคำสั่งแล้ว บริษัทนายจ้างยังดื้อแพ่งไม่ยอมจ่ายเงิน ลูกจ้างจะทำอย่างไร? ถ้าบริษัทนายจ้าง (ลูกหนี้) ยังไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล ขั้นตอนต่อไป ลูกจ้าง(เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) สามารถยื่นคำร้องต่อศาล ตาม ปวิพ. ม.321 (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง | มาตรา 321 | การขอให้ศาลบังคับบุคคลภายนอกชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้อง) “ถ้าบุคคลภายนอกไม่ชำระหนี้ตามคำสั่งอายัดของศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีตามมาตรา 316 ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทราบ ในกรณีเช่นว่านี้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอาจยื่นคำร้องต่อศาลให้บังคับบุคคลภายนอกนั้นปฏิบัติการชำระหนี้ตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งหรือชำระค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ได้ เมื่อศาลทำการไต่สวนแล้วถ้าเป็นที่พอใจว่าสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้นมีอยู่จริงและอาจบังคับได้ จะมีคำสั่งให้บุคคลภายนอกปฏิบัติการชำระหนี้ตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งหรือให้ชำระค่าสินไหมทดแทนตามจำนวนที่เห็นสมควรก็ได้ ถ้าบุคคลภายนอกนั้นมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของศาล เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอาจร้องขอให้ศาลบังคับคดีแก่บุคคลภายนอกนั้นเสมือนหนึ่งว่าเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาก็ได้” สรุปก็คือ ศาลจะออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อให้ลูกจ้าง(เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา)มีสิทธิยึดอายัดทรัพย์สินของบริษัทนายจ้าง เช่น อายัดเงินฝากในบัญชีธนาคาร หรืออายัดเงินค่าจ้าง เสมือนบริษัทนายจ้างเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้นเอง

บริษัททำได้ด้วยเหรอ? ให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา แลกกับวันหยุดที่เพิ่มขึ้น

บริษัททำได้ด้วยเหรอ? ให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา แลกกับวันหยุดที่เพิ่มขึ้น เมื่อนายจ้าง ขอช่วยให้มาทำงานวันหยุด แต่ไม่จ่ายค่าล่วงเวลาให้ แต่เสนอให้เป็นโควต้าวันหยุดแทน นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างทำงานวันหยุดประจำสัปดาห์ จำนวน 1 วัน แล้วบอกพนักงานว่าจะชดเชยการทำงานในวันหยุดนี้ ด้วยการให้วันลาพักร้อนเพิ่มอีก 1 วัน อ้างอิงตาม พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541มาตรา 61 “ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงานให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลา ให้แก่ลูกจ้างในอัตราไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวน ชั่วโมงที่ทำ หรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงาน” การทำงานล่วงเวลา การให้ไปแลกหยุดวันอื่นแทน หรือสามารถสะสมไปเป็นวันหยุด ไม่สามารถทำได้ เพราะมันไม่ใช่ “เงิน” จึงสรุปได้ว่าค่าล่วงเวลา (โอที) ต้องจ่ายเป็นเงินเท่านั้น ไม่สามารถชดเชยเป็นวันหยุดได้ *แต่อย่าลืมว่าการจ่ายค่าล่วงเวลามีกรณียกเว้น ตามมาตรา 65 ลูกจ้างซึ่งมีอำนาจหน้าที่ทำการแทนนายจ้างสำหรับกรณีการจ้าง การให้บำเหน็จ การลดค่าจ้าง หรือการเลิกจ้าง ไม่มิสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามมาตรา 61

ทายาทตามกฎหมาย มีใครบ้าง ?

ทายาทตามกฎหมายในการรับมรดก เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายแน่นอนว่าสิ่งที่ทายาทต้องทำ คือ จัดการทรัพย์มรดกให้แก่ทายาท แต่ทายาทตามกฎหมายมีใครบ้าง วันนี้จะมาอธิบายให้ฟังดังนี้ค่ะ 1.ถ้าผู้ตายมีคู่สมรส ต้องดูว่าทรัพย์สินนั้น เป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรส ถ้าเป็นสินสมรส จะต้องแบ่งให้คู่สมรสครึ่งหนึ่งก่อน และส่วนที่เหลือเป็น “ทรัพย์มรดก” ที่จะตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม หรือ ผู้รับพินัยกรรม 2.ถ้ามีพินัยกรรม ต้องดูว่าผู้ตายได้ยกทรัพย์มรดกให้แก่ผู้รับพินัยกรรมเท่าใด หากยกให้ทั้งหมด ทายาทโดยธรรมจะไม่มีสิทธิได้รับมรดก แต่หากยกให้เพียงบางส่วน ส่วนที่เหลือจะนำมาแบ่งแก่ทายาทโดยธรรมตามลำดับ 3.พิจารณาว่าใครบ้างที่เป็นทายาทโดยธรรม เพื่อที่จะทราบว่าใครบ้างที่เป็นทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดก และได้รับในสัดส่วนเท่าใด โดยทายาทโดยธรรมมีทั้งหมด 6 ลำดับ ได้แก่ ลำดับที่ 1 ผู้สืบสันดาน (บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย บุตรบุญธรรม บุตรที่บิดารับรองโดยพฤตินัย) ลำดับที่ 2 บิดามารดาที่ชอบด้วยกฎหมาย ลำดับที่ 3 พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน (ตามสายเลือด) ลำดับที่ 4 พี่น้องร่วมแต่บิดาหรือมารดาเดียวกัน ลำดับที่ 5 ปู่ ย่า ตา ยาย (โดยชอบด้วยกฎหมาย) ลำดับที่ 6 ลุง...

ด่าว่า “ตอแหล” เป็นการดูหมิ่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท

ด่าว่า “ตอแหล” เป็นการดูหมิ่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท คำพิพากษาฎีกาที่ 8919/2552 การดูหมิ่นผู้อื่น หมายถึง การดูถูกเหยียดหยาม สบประมาท หรือทำให้อับอายการวินิจฉัยว่าการกล่าววาจาอย่างไรเป็นการดูหมิ่นผู้อื่นหรือไม่จึงต้องพิจารณาว่าถ้อยคำที่กล่าวเป็นการดูถูกเหยียดหยามสบประมาทผู้ที่ถูกกล่าว หรือเป็นการทำให้ผู้ที่ถูกกล่าวอับอายหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้นก็ถือได้ว่าเป็นการดูหมิ่นแล้ว เมื่อตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายคำว่า “ตอแหล” ว่า เป็นคำด่าคนที่พูดเท็จ ซึ่งมีความหมายในทางเสื่อมเสีย การที่จำเลยกล่าวถ้อยคำดังกล่าวต่อผู้เสียหายจึงเป็นการพูดด่าผู้เสียหาย เป็นการดูถูกเหยียดหยามและสบประมาทผู้เสียหายว่าเป็นคนพูดเท็จ จึงเป็นการดูหมิ่นผู้เสียหายอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393

นายจ้างประกาศใช้ระเบียบใหม่ ไม่มีใครโต้แย้ง ถือว่ายอมรับโดยปริยาย

นายจ้างประกาศใช้ระเบียบใหม่ ไม่มีใครโต้แย้ง ถือว่ายอมรับโดยปริยาย เรื่องนี้เป็นคดีน่าสนใจที่บังเอิญว่ามีคำพิพากษา ได้วินิจฉัยไว้ในแนวเดียวกันเลยคือเรื่องของพนักงานขายรายนึง ที่มีการมาปรึกษาว่า นายจ้างได้ มีการเปลี่ยนแปลงการคำนวณค่าคอมมิชชั่นใหม่ ต่อมาเมื่อมีการเลิกจ้างค่าคอมมิชชั่นจะคำนวณจากแบบเดิมหรือแบบใหม่?? เมื่อสอบถามรายละเอียดแล้วพบว่าเรื่องของการเปลี่ยนแปลงค่าคอมมิชชั่นก็มีประกาศไว้เมื่อหลายเดือนแล้ว น้องลูกจ้างท่านนี้ก็รู้สึกว่าเงื่อนไขใหม่ก็อาจจะไม่ได้เป็นประโยชน์เท่ากับเงื่อนไขเก่ามากนักแต่ก็ไม่ได้โต้แย้งและเบิกจ่ายปฏิบัติตามเงื่อนไขใหม่มาโดยตลอด ดังนั้นในกรณีนี้ เมื่อมีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และระเบียบปฏิบัติตามสภาพการจ้างที่กำหนดไว้ โดยไม่มีข้อโต้แย้ง ก็ต้องถือว่ายอมรับโดยปริยาย คำพิพากษาฎีกาที่ 15162/2557 ติดต่องาน info@legalclinic.co.th

รู้หรือไม่!! ค่าตกใจมีอายุความฟ้องร้องได้ภายใน 10 ปี

รู้หรือไม่!! ค่าตกใจมีอายุความฟ้องร้องได้ภายใน 10 ปี ก่อนโพสต์เรื่องนี้ก็คิดอยู่นานเหมือนกันว่าจะโดนนายจ้างมองขวางมั้ยนะ 🤔 แต่เมื่อทบทวนดีแล้วก็พบว่าการโพสต์เรื่องนี้จริงๆหากมองอย่างไม่อคติก็จะเป็นประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ก็ถ้าฝั่งนายจ้างทำให้ถูกต้องก็ไม่มีเรื่องอะไรจะต้องกังวล ดังนั้นโพสต์นี้มาเรียนรู้และทำความเข้าใจไปพร้อมๆกันเพื่อจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องทั้งฝั่งนายจ้างและลูกจ้างนะคะ – สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ( หรือที่เรียกภาษาบ้านๆว่าค่าตกใจ) – ค่าชดเชยและ – ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมนั้น “ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความเอาไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนดอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30” ในคดีหนึ่งเมื่อลูกจ้าง ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวยังไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันเลิกจ้างจึงไม่ขาดอายุความ แต่ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีมีลักษณะเป็นค่าจ้างจึงเป็นสิทธิเรียกร้องที่มีกำหนดอายุความ 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(9) ลูกจ้างฟ้องเรียกค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีเกินกว่า2 ปีนับแต่วันเลิกจ้างจึงขาดอายุความแล้ว คำพิพากษาฎีกาที่ 13970-13970/2557 ติดต่องาน info@legalclinic.co.th

นายจ้างโยกย้ายตำแหน่งของลูกจ้างโดยไม่ต้องขอความยินยอมก่อนได้หรือไม่?

นายจ้างโยกย้ายตำแหน่งของลูกจ้างโดยไม่ต้องขอความยินยอมก่อนได้หรือไม่?? จากคำถามใน Inbox ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีหลายคำถามเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงโยกย้ายตำแหน่งงาน ว่าสามารถโยกย้ายได้หรือไม่ลูกจ้างต้องยินยอมก่อนหรือเปล่าในเรื่องนี้คลินิกกฎหมายแรงงานขอให้ความเห็นแบบนี้ค่ะ โดยปกติแล้วการโยกย้ายตำแหน่งของลูกจ้าง เป็นอำนาจของนายจ้างเพื่อบริหารกิจการให้ได้ดีขึ้นและเกิดความคล่องตัว แต่บังเอิญว่าการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของลูกจ้าง ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังนั้นหากเป็นการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งในทางที่เป็นคุณแก่ลูกจ้างเช่นตำแหน่งนี้ขึ้นเงินเดือนเพิ่มมากขึ้นสวัสดิการดีขึ้นกรณีเช่นนี้ไม่ต้องขอความยินยอม แต่ตรงกันข้าม หักย้ายลูกจ้างให้ทำงานในตำแหน่งที่ต่ำกว่าเดิม และเป็นผลเสียกับลูกจ้างมากกว่าเดิมกรณีเช่นนี้ลูกจ้างต้องให้ความยินยอมเสียก่อน แล้วหากลูกจ้างไม่ให้ความยินยอม นายจ้างจะเลิกจ้างเลยได้หรือไม่?? การที่ลูกจ้างปฏิเสธไม่ยอมทำงานในตำแหน่งใหม่ที่ต่ำกว่าเดิมไม่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย หากนายจ้างจะเลิกจ้างด้วยเหตุผลนี้จะต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้าง อีกทั้ง การถูกเลิกจ้างด้วยเหตุผลนี้ ยังถือว่าเป็น การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมอีกด้วย (คำพิพากษาฎีกาที่ 4030/2561) รู้ที่มาที่ไปกันแล้วด้านนายจ้างเองก็ควรพิจารณาโยกย้ายให้เป็นธรรมหรือทำความเข้าใจกับลูกจ้างให้เรียบร้อยก่อนนะคะ  

ด่าคนอื่นลงในกรุ๊ปไลน์ ผิดหมิ่นประมาท !!!

ด่าคนอื่นลงในกรุ๊ปไลน์ ผิดหมิ่นประมาท!!! การหมิ่นประมาท คือ การใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่ 3 โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 โดยหลักเกณฑ์ คือ หากเราพิมพ์ต่อว่า กล่าวหา นินทาผู้อื่น พูดถึงในทางที่เสียหาย ทำเรื่องไม่ดี เช่น เป็นหนี้ เป็นชู้ เป็นคนโกง ลงในกรุ๊ปไลน์ที่มีบุคคลอื่นๆ อีกหลายคนเป็นบุคคลที่สามอยู่ในกรุ๊ปด้วย แม้ว่าข้อความที่เราพิมพ์ลงไปจะเป็นการกล่าวหาซึ่งไม่ใช่คำหยาบคาย ที่ไม่ว่าจะเป็นความจริงหรือไม่ก็ตาม และการกล่าวหานั้นต้องเป็นการระบุตัวตนชัดเจนรู้ได้ทันทีว่าเราพูดถึงใคร แต่ก็ทำให้ผู้นั้นเสียชื่อเสียง ถูกเกลียดชังได้ เตือนนะเตือนนน อย่าใจร้อน พิมพ์ข้อความอะไรคิดดีๆก่อน พิมพ์ไม่ดีติดคุกได้นะจ๊ะ ติดต่องาน info@legalclinic.co.th

“แจ้งความเท็จ” เพื่อแกล้งให้คนอื่นได้รับโทษ คนแจ้งติดคุกแน่!!!

“แจ้งความเท็จ” เพื่อแกล้งให้คนอื่นได้รับโทษ คนแจ้งติดคุกแน่!!! ความผิดฐานแจ้งความเท็จนั้น คือ การแจ้งข้อความที่เป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 และยังมีบทเฉพาะมาตรา 172,173,174 ที่มีโทษหนักขึ้นสูงสุดผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 100,000 บาท ที่เป็นการเพื่อจะแกล้งให้บุคคลใดต้องรับโทษหรือรับโทษหนักขึ้น การแจ้งความเท็จนั้น ผู้แจ้งต้องกระทำโดยเจตนา คือ ต้องรู้ข้อเท็จจริงว่าสิ่งที่แจ้งนั้นเป็นเท็จ ไม่มีเป็นความจริง อาจมีการกระทำด้วยการบอกกับเจ้าพนักงาน, ตอบคำถามเจ้าพนักงาน เช่น ให้การเท็จในฐานะเป็นพยาน, แจ้งโดยแสดงหลักฐาน มีลักษณะเป็นการยืนยันข้อเท็จจริง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8611/2553 การที่จำเลยยืนยันข้อเท็จจริงว่าจำเลยเห็นโจทก์ร่วมหยิบเอาเศษสร้อยคอทองคำของจำเลยไปและไปและได้แจ้งความแก่พนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีโจทก์ร่วมในข้อหาลักทรัพย์ซึ่งเป็นข้อความอันเป็นเท็จ โดยจำเลยรู้ดีว่ามิได้มีการกระทำผิดในข้อหาลักทรัพย์เกิดขึ้น แต่กลับไปแจ้งความแก่พนักงานสอบสวนดังกล่าวว่าได้มีการกระทำผิดข้อหาลักทรัพย์อันเป็นเท็จเพื่อให้พนักงานสอบสวนเชื่อว่าได้มีความผิดข้อหาลักทรัพย์เกิดขึ้น เพื่อให้โจทก์ร่วมได้รับโทษ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จตาม ป.อ. มาตรา 137, 174 วรรคสอง ประกอบมาตรา 173 นอกจากนี้ จำเลยยังมีเจตนายังมีเจตนาแจ้งความเพื่อให้โจทก์ร่วมถูกดูหมิ่นเกลียดชังและเสียชื่อเสียง จึงเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมอีกด้วย ติดต่องาน info@legalclinic.co.th

แม่ไม่อาจมอบอำนาจปกครองบุตรให้แก่พ่อที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส (บิดาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย)

แม่ไม่อาจมอบอำนาจปกครองบุตรให้แก่พ่อที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส (บิดาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย) คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3780/2543 โจทก์จำเลยอยู่กินด้วยกันโดยไม่จดทะเบียนสมรสซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1546 บัญญัติว่า เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น ดังนั้น จึงถือได้ว่าเด็กชาย จ. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์และมิใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลย ดังนั้นอำนาจปกครองเด็กชาย จ. นั้น ต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 1566 วรรคหนึ่ง คือต้องอยู่กับโจทก์ซึ่งเป็นมารดาฝ่ายเดียว เมื่อจำเลยมิได้เป็นบิดาตามความหมายของมาตรา 1566 ดังกล่าว การตกลงระหว่างโจทก์จำเลยที่ให้เด็กชาย จ. อยู่ในความปกครองของจำเลยจึงไม่มีผลผูกพันเป็นเหตุให้จำเลยมีอำนาจปกครองเด็กชาย จ. ตามมาตรา 1566 วรรคสอง (6) จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของเด็กชาย จ. ให้อยู่กับตนตามมาตรา 1567 (1) ได้ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยส่งมอบเด็กชาย จ. คืนจากจำเลยตามมาตรา 1567 (4) คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเพียงคำให้การแก้ฟ้องของโจทก์ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่สุจริตเท่านั้น ข้อเท็จจริงที่จำเลยอ้างมิใช่ข้อเท็จจริงที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นจึงไม่เป็นคำฟ้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ดังนั้น ข้อเท็จจริงส่วนนี้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นฟ้องแย้ง...