กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฎหมายกฏหมายแรงงานตำแหน่งตำ่ลง + ลดเงินเดือน ลูกจ้างไม่ยอมจึงออกหนังสือเตือน ข้อหาขัดคำสั่งนายจ้าง มันใช่เหรอ?

14 September 2023
ตำแหน่งตำ่ลง + ลดเงินเดือน ลูกจ้างไม่ยอมจึงออกหนังสือเตือน ข้อหาขัดคำสั่งนายจ้าง มันใช่เหรอ?
จากโพสก่อนหน้า “การโยกย้ายตำแหน่งเนื่องจากการปรับโครงสร้างการทำงานและเป็นไปตามเงื่อนไขการจ้าง นายจ้างสามารถกระทำได้ตามอำนาจในทางบริหารองค์กร” งั้นนายจ้างของโยกย้ายปรับเปลี่ยนตำแหน่งลูกจ้าง ทั้งยังขอลดเงินเดือน ลดสวัสดิการ ก็ได้สิ หรือเงินเดือนเท่าเดิมก็ได้ แต่ลักษณะงานด้วยกว่าเดิมนะ
ใจเย็นนะนายจ้าง อันนั้นมันหมายถึงว่าการกระทำที่จะต้องเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมกับพนักงานหรือลูกจ้างด้วย ไม่ใช่ว่าเขียนไว้ในสัญญาว่ามีอำนาจโยกย้ายหรือลดเงินเดือนแล้วจะทำได้เลย สำหรับใครที่เจอเรื่องในกรณีเดียวกันลองพิจารณาจากฎีกานี้ดู
คำพิพากษาที่ 868/2548
แม้นายจ้างจะมีอำนาจบริหารในการโยกย้ายตำแหน่งงานของลูกจ้างเพื่อให้เหมาะสมแก่งาน เพื่อให้การทำงานของลูกจ้างมีประสิทธิภาพซึ่งมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างก็ตาม แต่การย้ายนั้นต้องไม่เป็นการลดตำแหน่งหรือค่าจ้างของลูกจ้าง อีกทั้งไม่เป็นการกลั่นแกล้งลูกจ้างด้วย การที่จำเลยย้ายโจทก์ในตำแหน่งเลขานุการประสำนักงานใหญ่ฝ่ายจัดซื้อซึ่งทำงานธุรการในฝ่ายจัดซื้อไปดำรงตำแหน่งพนักงานทั่วไปประจำแผนกผักและผลไม้ สาขาสุขาภิบาล 1 ของจำเลยซึ่งทำหน้าที่จัดเตรียมสินค้าและชั่งผลไม้ รวมทั้งทำความสะอาดในบริเวณสถานที่ซึ่งมีลักษณะงานที่ด้อยกว่าเดิม
ทั้งเป็นการย้ายโจทก์จากตำแหน่งเลขานุการซึ่งเป็นพนักงานระดับ 4 ไปเป็นพนักงานทั่วไปประจำแผนกผักและผลไม้ ซึ่งหัวหน้าแผนกดังกล่าวเป็นพนักงานระดับ 3
จึงเป็นการย้ายที่ลดตำแหน่งของโจทก์ลง แม้จะจ่ายค่าจ้างเท่าเดิม ก็เป็นคำสั่งย้ายที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรมแก่โจทก์
การที่โจทก์ปฏิเสธไม่ยอมไปทำงานในตำแหน่งใหม่ที่ต่ำกว่าเดิมนั้น มิใช่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของนายจ้าง
จำเลยไม่อาจออกหนังสือเตือนในการกระทำของโจทก์ดังกล่าวได้ การที่โจทก์ปฏิเสธไม่ยอมไปทำงานในตำแหน่งใหม่จึงมิใช่เป็นการกระทำผิดซ้ำหนังสือเตือน ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (4) เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
จากคำพิพากษาเห็นได้ชัดว่าเจตนาของนายจ้างไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรมกับลูกจ้าง ลูกจ้างมีสิทธิ์ที่จะปฏิเสธไม่ปฎิบัติตาม นายจ้างจะมาเลิกจ้างโดยอ้างว่าลูกจ้างขัดคำสั่งและไม่จ่ายค่าชดเชยไม่ได้!! ถึงตอนนั้นนายจ้างจะมาอ้างว่าทำผิดโดยไม่รู้หรือไม่เข้าใจ ก็เตรียมเซ็นต์เบิกเงินจ่ายทั้งค่าชดเชยและค่าเลิกจ้างไม่เป็นธรรมไว้ด้วยนะ