กรุณารอสักครู่

 

HomeCategoryกฏหมายแรงงาน Archives - Page 23 of 68 - บริษัท ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น จำกัด

ลูกจ้างขับรถชนคนอื่น นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างหรือไม่?

ลูกจ้างขับรถชนคนอื่น นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างหรือไม่? ความรับผิดของนายจ้างกับลูกจ้าง สำหรับกรณีที่ผู้ทำละเมิดนั้นเป็นลูกจ้าง เนื่องจากนายจ้างมีหน้าที่จะต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างเท่านั้น ดังนั้น จึงต้องพิจารณาต่อไปว่า การกระทำละเมิดของลูกจ้างนั้นได้กระทำไปในทางการที่จ้างหรือไม่ หรือการทำละเมิดของลูกจ้างนั้นเป็นผลมาจากการปฏิบัติงานหรือไม่ โดยจะเกิดละเมิดในเวลาปฏิบัติงานหรือนอกเวลาปฏิบัติงานก็ได้ แต่ต้องเป็นงานตามที่มอบหมายให้ปฏิบัติไปตามหน้าที่ แต่หากมอบหมายงานให้ทำนอกหน้าที่แล้วลูกจ้างยอมทำก็ถือว่าเป็นทางการที่จ้างเหมือนกัน หรือลูกจ้างทำเกินหน้าที่แต่นายจ้างยินยอมให้ทำ ก็ถือว่าทางการที่จ้างเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ลูกจ้างขับรถชนผู้อื่น ในเวลาทำงานหากเป็นฝ่ายผิด นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างต่อผู้เสียหายด้วย โดยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิช์ มาตรา 425 ได้กำหนดไว้ว่า “นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้าง” อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4786/2558 ความหมายของคำว่า “ในทางการที่จ้าง” มิได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะในเวลาทำงานของนายจ้างหรือระหว่างเวลาที่ต่อเนื่องคาบเกี่ยวใกล้ชิดกันกับการปฏิบัติหน้าที่ในทางการที่จ้างดังที่จำเลยที่ 3 กล่าวอ้างมาเท่านั้น หากแต่เมื่อลูกจ้างที่มีหน้าที่ขับรถและได้กระทำไปในทางการที่จ้างแล้ว หลังจากนั้นแม้ลูกจ้างจะได้ขับรถไปทำธุรกิจส่วนตัวหรือประการใดก็ตาม ตราบใดที่ลูกจ้างยังมิได้นำรถกลับคืนสู่ความครอบครองของนายจ้าง ก็ยังคงถือว่าอยู่ในระหว่างทางการที่จ้างหรือต่อเนื่องกับทางการที่จ้างซึ่งนายจ้างยังคงต้องรับผิดในการกระทำละเมิดของลูกจ้าง ดังนั้น แม้ขณะเกิดเหตุคดีนี้จะเป็นเวลา 2 นาฬิกา นอกเวลาทำงานปกติและ ว. ขับรถยนต์กระบะคันเกิดเหตุออกไปเที่ยว ก็ถือได้ว่า ว. ขับรถยนต์กระบะคันเกิดเหตุไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3 ซึ่งจำเลยที่ 3 เป็นนายจ้างจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในความเสียหายที่เกิดจากการกระทำละเมิดของ ว. นั้นด้วย...

นายจ้างแต่งตั้งลูกจ้างเป็นผู้บริหารและมีคำสั่งย้อนหลัง กรณีเช่นนี้ ลูกจ้างจะเบิกโอทีในช่วงก่อนถูกแต่งตั้งได้หรือไม่ ?

นายจ้างแต่งตั้งลูกจ้างเป็นผู้บริหารและมีคำสั่งย้อนหลัง กรณีเช่นนี้ ลูกจ้างจะเบิกโอทีในช่วงก่อนถูกแต่งตั้งได้หรือไม่ ? กรณีนี้เป็นเรื่องเกิดขึ้นในองค์กรรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง เรื่องมีอยู่ว่า ขณะที่ลูกจ้างดำรงตำแหน่งนักบริหาร 7 ยังไม่มีคำสั่งแต่งตั้งเป็นนักบริหาร 8 ลูกจ้างยังมีสิทธิเบิกค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุด ต่อมานายจ้างจะแต่งตั้งให้ลูกจ้างเป็นนักบริหารระดับ 8 โดยให้มีผลย้อนหลัง โดยกรณีเช่นนี้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า แม้จะมีคำสั่งแต่งตั้งให้มีผลย้อนหลังก็ย่อมไม่กระทบสิทธิในการเบิกค่าล่วงเวลา ซึ่งลูกจ้างมีอยู่ก่อนและไม่อาจมีผลในทางเป็นคุณแก่ลูกจ้างได้ ดังนั้นนายจ้างจึงไม่มีสิทธิหักเงินค่าโอทีที่ลูกจ้างได้เบิกไปออกจากค่าจ้างของลูกจ้าง (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17604-17605/2557)

ลูกจ้างถูกเลิกจ้างก่อนเริ่มทำงานให้กับนายจ้าง ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างหรือไม่ ?

ลูกจ้างถูกเลิกจ้างก่อนเริ่มทำงานให้กับนายจ้าง ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างหรือไม่ ? เมื่อลูกจ้างมิได้ทำงานให้แก่นายจ้าง เนื่องจากถูกเลิกจ้างเสียก่อนเริ่มต้นทำงาน ลูกจ้างจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันนั้น และเมื่อลูกจ้างมีผลการปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามเป้าทั้งปี ระดับผลการปฏิบัติงานต้องปรับปรุง บกพร่องในเรื่องการอนุมัติการขายสินค้า ผลการสำรวจภาวะผู้นำ ประเมินศักยภาพทักษะการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ได้คะแนนต่ำกว่าร้อยละ 50 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน การเลิกจ้างจึงมีเหตุผลอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม (คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ 820/2562)

นายจ้าง…หักค่าธรรมเนียมธนาคารออกจากค่าจ้างได้หรือไม่ ?

นายจ้างหักค่าธรรมเนียมธนาคารออกจากค่าจ้างได้หรือไม่ ? ในคดีเรื่องหนึ่ง นายจ้างได้หักค่าจ้าง 10 บาท เป็นเวลา 21 เดือน เป็นค่าธรรมเนียมแก่ธนาคารในการโอนเงินเข้าบัญชีลูกจ้างแต่ละคน กรณีเช่นนี้ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การหักเงินดังกล่าวไม่ใช่หนี้ที่เป็นไปเพื่อสวัสดิการอันเป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างฝ่ายเดียว ตามมาตรา 76 (3) พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ นายจ้างจะหักค่าจ้างของลูกจ้างไม่ได้ การหักค่าจ้างดังกล่าวจึงไม่ชอบ ต้องคืนค่าจ้างพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ให้กับลูกจ้าง คำพิพากษาฎีกาที่ 14541-14551/2557

นายจ้างเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างฝ่ายเดียว ได้หรือไม่ ?

นายจ้างเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างฝ่ายเดียว ได้หรือไม่ ? เนื่องจากในคดีหนึ่ง นายจ้างลดค่าจ้าง และปรับเปลี่ยนตำแหน่งลูกจ้างมาโดยตลอดหลายปี และลูกจ้างก็ไม่ได้โต้แย้ง คัดค้านหรือไปร้องพนักงานตรวจแรงงาน ส่วนรถยนต์ประจำตำแหน่งพร้อมคนขับ นายจ้างไม่ได้จัดหาให้ตั้งแต่ลูกจ้างเข้าทำงาน โดยลูกจ้างใช้รถยนต์โจทก์เองตลอดเวลากว่า 10 ปี จากพฤติการณ์ ถือได้ว่านายจ้างและลูกจ้างต่างตกลงกันโดยปริยายเปลี่ยนแปลงข้อตกลงการจ้างแล้ว (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3017/2561) ดังนั้นเป็นอุทธาหรณ์ว่า หากนายจ้างปรับเปลี่ยนสภาพการจ้างใดๆ ฝ่ายเดียวและลูกจ้างไม่เห็นด้วย ลูกจ้างต้องใช้สิทธิโต้แย้งคัดค้าน มิเช่นนั้นหากปล่อยไประยะเวลานึง จะถือว่าลูกจ้างคกลงยอมรับโดยปริยายดังคดีดังกล่าวข้างต้น

ผู้ประกอบกิจการตาม (ม.11/1) ส่งลูกจ้างรับเหมาค่าแรงคืนนายจ้างโดยตรง ไม่เป็นการเลิกจ้าง

ผู้ประกอบกิจการตาม (ม.11/1) ส่งลูกจ้างรับเหมาค่าแรงคืนนายจ้างโดยตรง ไม่เป็นการเลิกจ้าง การที่นายจ้างผู้ประกอบกิจการซึ่งเป็นนายจ้างตาม ม.11/ 1 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ส่งลูกจ้างรับเหมาค่าแรงคืนนายจ้างตามสัญญาจ้างบริการ ไม่ถือว่านายจ้างผู้ประกอบการกิจการเลิกจ้างเพราะเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาว่าจ้าง ระหว่างผู้ประกอบกิจการกับนายจ้างรับเหมาค่าแรง ศาลฎีกาก็ตัดสินไว้ในหลายคดี เช่นในฎีกาที่ 4599/2561 ,4600/2561 เป็นต้น เมื่อมิใช่การเลิกจ้างของนายจ้างผู้ประกอบกิจการ จึงเป็นหน้าที่ของนายจ้างโดยตรงของลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่จะต้องหางานให้ลูกจ้างตนเองทำต่อไป และจ่ายค่าจ้างให้ตลอดระยะเวลาที่ลูกจ้างพร้อมที่จะทำงาน ตราบใดที่นายจ้างตรงไม่มีงานให้ลูกจ้างทำ แต่ตราบนั่นยังคงจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้าง แม้ไม่ได้งานให้ลูกจ้างทำ ก็ยังไม่ถือว่า นายจ้างโดยตรงได้เลิกจ้างลูกจ้างรับเหมาค่าแรง ตามนิยาม ม.118 พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ แต่ถ้าหากนายจ้างไม่มีงานให้ลูกจ้างทำ และไม่จ่ายค่าจ้าง ก็ถือว่านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างตาม ม.118 พรบ.คุ้มครองแรงงานฯและเมื่อการเลิกจ้างด้วยเหตุดังกล่าว มิใช่กรณีลูกจ้างทำผิดตาม ม.119 และลูกจ้างมีอายุงาน 120 วันขึ้นไป ย่อมมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามอัตรา ตาม ม. 118 พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ ฉะนั้น เมื่อนายจ้างผู้ประกอบกิจการตาม ม.11/1 ส่งตัวลูกจ้างกลับคืนนายจ้างโดยตรงแล้ว ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงจึงไม่ต้องกลับไปทำงานกับนายจ้างผู้ประกอบกิจการตาม ม.11/1 อีก แต่ต้องสอบถามนายจ้างโดยตรงของเราว่า มีงานอะไรให้เราทำหรือไม่ หากไม่มีงานให้ทำ ไม่จ่ายค่าจ้าง ไม่จ่ายค่าชดเชยและหายเงียบไปเฉยๆ...

ไม่เลิกจ้าง แต่ไม่มีงานให้ทำ บอกให้ไปนอนรองานอยู่บ้านก่อน แบบนี้ถือว่าเลิกจ้าง!!

ไม่เลิกจ้าง แต่ไม่มีงานให้ทำ บอกให้ไปนอนรองานอยู่บ้านก่อน แบบนี้ถือว่าเลิกจ้าง!! เรื่องบางเรื่องแม้ไม่พูด คำตอบก็อาจชัดเจนได้จากพฤติกรรม ก็เหมือนความรักนั่นแหละ ไม่พูดว่ารัก แต่ก็มีวิธีการแสดงออกหลายอย่างให้รู้ แต่ไม่ว่ายังไงก็ตาม การรับรู้ของคนแตกต่างกัน พูดบ้างก็ดี อย่าวให้คิดเอง เพราะนี่เป็นคนคิดมาก ทั้งบวกมากลับมาก เอ๊ะ ..เข้าเรื่องนี้ได้ไงยังก่อนพี่ทนายยยย กลับมาเข้าเรื่องก่อน เดี๋ยวไกลไปกว่านี้ เรื่องของเรื่องวันนี้คือ ไม่เลิกจ้าง แต่ไม่มีงานให้ทำ บอกให้ไปนอนรองานอยู่บ้านก่อน แบบนี้เลิกจ้รางหรือยัง ไม่บอกตรงๆแต่ทำแบบนี้ ไม่เข้าใจ หรืออาจจะเข้าใจไม่ตรงกัน ในเรื่องนี้ เคยมีคดีแบบเดียวกันเลยในปี 62 ในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7393/2562 ว่า นายจ้าง แสดงพฤติกรรมแนวๆเดียวกันนั้นและศาลตัดสินว่า พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นพฤติการณ์เลิกจ้าง !! “พฤติการณ์เลิกจ้าง” โดยพฤติการณ์ในคดีนี้คือ หลังสิ้นสุดการทำงานโครงการ บริษัทแจ้งลูกจ้างว่าไม่ต้องเข้ามาทำงานอีกและให้แต่ละคนกลับไปทำงานที่บ้านพร้อมคืนอุปกรณ์สิ่งของทั้งหมด และตัดลูกจ้างออกจากระบบข่าวสารทางอีเมลของบริษัทด้วย ต่อมา เมื่อถึงครบกำหนดวันจ่ายค่าจ้างบริษัทก็ไม่จ่ายค่าจ้างให้ “ในกรณีที่ไม่ให้งานและไม่ให้เงินเช่นนี้ก็ถือว่าเป็นการเลิกจ้างแล้ว” ไม่ต้องบอกชัดเจนแต่ก็ชัดแจ้งด้วยพฤติกรรม แต่อย่างที่เคยบอกไปว่าเวลาอ่านฎีกาเพื่อนำมาอ้างอิงกับเคสเราเอง อยากให้ลองอ่านฎีกาเต็ม และทำความเข้าใจก็ อย่าไปอ่านฎีกาโดยย่อเท่านั้น อาจเข้าใจผิดได้ ที่ให้ลองไปอ่านฎีกายาวดูเพราะฎีกานี้ในทางนำสืบ ทางลูกจ้างก็นำสืบได้ว่า ลูกจ้างยังคงรอการทำงานที่บ้านตามคำสั่งของบริษัท แต่ไม่ปรากฏว่าบริษัทไปประมูลงานใหม่มาเลย...

ต้องการจ้างลูกจ้างซึ่งมีอายุเกิน 60 ปี ยังสามารถทำได้ไหม ?

ต้องการจ้างลูกจ้างซึ่งมีอายุเกิน 60 ปี ยังสามารถทำได้ไหม ? ทำได้สิ ทำไมจะไม่ได้ แก่แต่กายใจยังสดชื่น เหมือนคนแถวนี้ จะเลขสี่แล้วก็ยังฝดใฝ 5555+ อ่ะ สาระดีกว่า กรณีนี้ มีเพื่อน HR ท่านนึง ไปพบผู้สมัครรายนึงที่อายุ 60 ปีแล้ว แค่คุณสมบัติตรงกับที่หาอยู่ เลยสอบถามว่า มีแนวปฏิบัติในการจ้างพนักงานอานยุเกิน 60 อย่างไร? ยังจ้างแบบจ้างแรงงานได้ไหม ? หรือต้องจ้างแบบที่ปรึกษา ? ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า สัญญาจ้างแรงงานเป็นสัญญาที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ในลักษณะที่เป็นปัจเจกชน ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานหลักเสรีภาพในการทำสัญญา ตราบเท่าที่ไม่ขัดกับความสงบเรียบร้อย ดังนั้น นายจ้างกับลูกจ้าง จึงสามารถทำความตกลงในสัญญาจ้างเกี่ยวกับเงื่อนไขการจ้าง การทำงาน ระยะเวลาการจ้าง การเกษียณอายุ รวมถึงการระงับของสัญญาจ้างแรงงานได้ โดยความตกลงนั้นต้องไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ดังนั้น เมื่อพรบ. คุ้มครองแรงงานไม่ได้มีบทบัญญัติห้ามในเรื่องกำหนดเงื่อนไขการเกษียณอายุไว้ จะรับมาเป็นพนักงานประจำก็ได้ หรือในทางกลับกันจะเป็นที่ปรึกษาก็ได้ ซึ่งความเห็นเรามันไม่เกี่ยวกัยอายุ แต่เกี่ยวกับลักษณะงานมากกว่า ต้องดูลักษฌะงาน ตำแหน่งงานก่อนว่า เหมาะสมกับการจ้างประเภทใด แบบนั้นจะเป็นประโยชน์ กับทั้งสองฝ่ายมากที่สุดฮะ

ลาคลอดได้กี่วัน นับยังไง ?

ลาคลอดได้กี่วัน นับยังไง ? 1. ลาคลอดได้ 98 วัน ซึ่งในระยะเวลา 98 วันของการลาคลอดนี้ จะนับรวมการลาเพื่อไปตรวจครรภ์ก่อนคลอดบุตรด้วย เป็นการลาเพื่อคลอดบุตร 90 วัน และลาเพื่อไปตรวจครรภ์เดือนละครั้ง รวม 8 วัน ทั้งหมดเป็น 98 วัน เพราะฉะนั้น หากต้องการลาไปตรวจครรภ์ เดือนละครั้ง ก็สามารถใช้สิทธิวันลาคลอดได้เลย (ไม่ใช่สิทธิลาป่วย เพราะกาตั้งท้องไม่ใช่โรค) 2. หากลูกจ้าง/พนักงาน ตกลงกับทางบริษัทกันได้แล้วว่าจะเริ่มลาคลอด วันแรกในวันไหน สิทธิวันลาคลอดนั้นก็จะนับรวดเดียวจากวันนั้นๆ ยาวไปเลยจนครบ 90 วัน 3. ลาคลอดนับรวมวันหยุด โดย มาตรา 41 แห่ง พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ กำหนดให้นับรวมวันหยุดในระหว่างวันลาคลอดนั้นด้วย ดังนั้น หากมีวันหยุดทั้ง 3 กรณี คือ วันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี และวันหยุดพักผ่อนประจำปี ระหว่างวันลาเพื่อการคลอดบุตรต้องนับรวมเข้าไปในวันลาคลอด 98 วันด้วย ดังนั้น...

แก้ไขข้อบังคับ ไม่ต้องส่งไปที่ กรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน

แก้ไขข้อบังคับ ไม่ต้องส่งไปที่ กรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน มีเพื่อนๆสอบถามมาทาง inbox ว่า ที่ปรึกษามีการแก้ไขข้อบังคับให้เป็นปัจจุบันทั้งในเรื่องของการกำหนดนิยามวันลาต่างๆสิทธิประโยชน์ต่างๆรวมถึงความผิดในหมวดวินัยจึงมีประเด็นว่าในกรณีที่แก้ไขข้อบังคับดังกล่าวแล้วจะต้องนำส่งกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงานหรือเปล่าเพราะไปฟัง บางท่านมาก็บอกว่าต้องส่งบางท่านก็บอกว่าไม่ต้องส่ง พรบคุ้มครองแรงงานกำหนดไว้ในมาตรา 108 ว่า ให้นายจ้างที่มีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปจัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานโดยข้อบังคับนั้นก็จะต้องประกอบไปด้วยรายละเอียดประมาณ 8 ข้อ โดยให้นายจ้างประกาศให้ใช้ข้อบังคับ เกี่ยวกับการทำงานภายใน 15 วันนับแต่วันที่นายจ้างมีลูกจ้างรวมกันได้ 10 คนขึ้นไป โดยให้นายจ้างจัดเก็บสำเนาข้อบังคับนั้นไว้ณสถานประกอบกิจการหรือสำนักงานของนายจ้างตลอดเวลาและให้นายจ้างเผยแพร่และปิดประกาศข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานโดยเปิดเผยณสถานทำงานของลูกจ้างหรือเพิ่มเติมโดยวิธีการอิเล็กทรอนิกส์ด้วยก็ได้เพื่อให้ลูกจ้างได้รับทราบและเข้าถึงได้โดยสะดวก จากข้อความดังกล่าว ก็จะเห็นว่าไม่ต้องส่งไปที่กรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงานกฎหมายกำหนดให้นายจ้างจัดเก็บไว้ณสถานประกอบกิจการและการปิดประกาศก็ต้องชัดเจนให้ลูกจ้างรับทราบเท่านั้นค่ะ