กรุณารอสักครู่

 

HomeCategoryกฏหมายแรงงาน Archives - Page 20 of 64 - บริษัท ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น จำกัด

ต้องการจ้างลูกจ้างซึ่งมีอายุเกิน 60 ปี ยังสามารถทำได้ไหม ?

ต้องการจ้างลูกจ้างซึ่งมีอายุเกิน 60 ปี ยังสามารถทำได้ไหม ? ทำได้สิ ทำไมจะไม่ได้ แก่แต่กายใจยังสดชื่น เหมือนคนแถวนี้ จะเลขสี่แล้วก็ยังฝดใฝ 5555+ อ่ะ สาระดีกว่า กรณีนี้ มีเพื่อน HR ท่านนึง ไปพบผู้สมัครรายนึงที่อายุ 60 ปีแล้ว แค่คุณสมบัติตรงกับที่หาอยู่ เลยสอบถามว่า มีแนวปฏิบัติในการจ้างพนักงานอานยุเกิน 60 อย่างไร? ยังจ้างแบบจ้างแรงงานได้ไหม ? หรือต้องจ้างแบบที่ปรึกษา ? ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า สัญญาจ้างแรงงานเป็นสัญญาที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ในลักษณะที่เป็นปัจเจกชน ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานหลักเสรีภาพในการทำสัญญา ตราบเท่าที่ไม่ขัดกับความสงบเรียบร้อย ดังนั้น นายจ้างกับลูกจ้าง จึงสามารถทำความตกลงในสัญญาจ้างเกี่ยวกับเงื่อนไขการจ้าง การทำงาน ระยะเวลาการจ้าง การเกษียณอายุ รวมถึงการระงับของสัญญาจ้างแรงงานได้ โดยความตกลงนั้นต้องไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ดังนั้น เมื่อพรบ. คุ้มครองแรงงานไม่ได้มีบทบัญญัติห้ามในเรื่องกำหนดเงื่อนไขการเกษียณอายุไว้ จะรับมาเป็นพนักงานประจำก็ได้ หรือในทางกลับกันจะเป็นที่ปรึกษาก็ได้ ซึ่งความเห็นเรามันไม่เกี่ยวกัยอายุ แต่เกี่ยวกับลักษณะงานมากกว่า ต้องดูลักษฌะงาน ตำแหน่งงานก่อนว่า เหมาะสมกับการจ้างประเภทใด แบบนั้นจะเป็นประโยชน์ กับทั้งสองฝ่ายมากที่สุดฮะ

ลาคลอดได้กี่วัน นับยังไง ?

ลาคลอดได้กี่วัน นับยังไง ? 1. ลาคลอดได้ 98 วัน ซึ่งในระยะเวลา 98 วันของการลาคลอดนี้ จะนับรวมการลาเพื่อไปตรวจครรภ์ก่อนคลอดบุตรด้วย เป็นการลาเพื่อคลอดบุตร 90 วัน และลาเพื่อไปตรวจครรภ์เดือนละครั้ง รวม 8 วัน ทั้งหมดเป็น 98 วัน เพราะฉะนั้น หากต้องการลาไปตรวจครรภ์ เดือนละครั้ง ก็สามารถใช้สิทธิวันลาคลอดได้เลย (ไม่ใช่สิทธิลาป่วย เพราะกาตั้งท้องไม่ใช่โรค) 2. หากลูกจ้าง/พนักงาน ตกลงกับทางบริษัทกันได้แล้วว่าจะเริ่มลาคลอด วันแรกในวันไหน สิทธิวันลาคลอดนั้นก็จะนับรวดเดียวจากวันนั้นๆ ยาวไปเลยจนครบ 90 วัน 3. ลาคลอดนับรวมวันหยุด โดย มาตรา 41 แห่ง พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ กำหนดให้นับรวมวันหยุดในระหว่างวันลาคลอดนั้นด้วย ดังนั้น หากมีวันหยุดทั้ง 3 กรณี คือ วันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี และวันหยุดพักผ่อนประจำปี ระหว่างวันลาเพื่อการคลอดบุตรต้องนับรวมเข้าไปในวันลาคลอด 98 วันด้วย ดังนั้น...

แก้ไขข้อบังคับ ไม่ต้องส่งไปที่ กรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน

แก้ไขข้อบังคับ ไม่ต้องส่งไปที่ กรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน มีเพื่อนๆสอบถามมาทาง inbox ว่า ที่ปรึกษามีการแก้ไขข้อบังคับให้เป็นปัจจุบันทั้งในเรื่องของการกำหนดนิยามวันลาต่างๆสิทธิประโยชน์ต่างๆรวมถึงความผิดในหมวดวินัยจึงมีประเด็นว่าในกรณีที่แก้ไขข้อบังคับดังกล่าวแล้วจะต้องนำส่งกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงานหรือเปล่าเพราะไปฟัง บางท่านมาก็บอกว่าต้องส่งบางท่านก็บอกว่าไม่ต้องส่ง พรบคุ้มครองแรงงานกำหนดไว้ในมาตรา 108 ว่า ให้นายจ้างที่มีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปจัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานโดยข้อบังคับนั้นก็จะต้องประกอบไปด้วยรายละเอียดประมาณ 8 ข้อ โดยให้นายจ้างประกาศให้ใช้ข้อบังคับ เกี่ยวกับการทำงานภายใน 15 วันนับแต่วันที่นายจ้างมีลูกจ้างรวมกันได้ 10 คนขึ้นไป โดยให้นายจ้างจัดเก็บสำเนาข้อบังคับนั้นไว้ณสถานประกอบกิจการหรือสำนักงานของนายจ้างตลอดเวลาและให้นายจ้างเผยแพร่และปิดประกาศข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานโดยเปิดเผยณสถานทำงานของลูกจ้างหรือเพิ่มเติมโดยวิธีการอิเล็กทรอนิกส์ด้วยก็ได้เพื่อให้ลูกจ้างได้รับทราบและเข้าถึงได้โดยสะดวก จากข้อความดังกล่าว ก็จะเห็นว่าไม่ต้องส่งไปที่กรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงานกฎหมายกำหนดให้นายจ้างจัดเก็บไว้ณสถานประกอบกิจการและการปิดประกาศก็ต้องชัดเจนให้ลูกจ้างรับทราบเท่านั้นค่ะ

ต่อให้เขียนไว้ชัดว่า หากลาออกไม่บอกล่วงหน้า ก็จะไม่จ่ายค่าจ้าง..ก็ทำไม่ได้ !!

ต่อให้เขียนไว้ชัดว่า หากลาออกไม่บอกล่วงหน้า ก็จะไม่จ่ายค่าจ้าง..ก็ทำไม่ได้ !! จากโพสต์ก่อนๆ ก็เคยเขียนไปหลายครั้งว่า ข้อสัญญาที่ขัดกับความสงบเรียบร้อยนั้น “ใช้บังคับไม่ได้” ยกตัวอย่างเช่น การที่บริษัททำข้อสัญญาไว้ชัดเจน ว่าหากลูกจ้างลาออกโดยแจ้งล่วงหน้าไม่ครบตามที่ตกลงกันนายจ้างมีสิทธิ์ไม่จ่ายค่าจ้างหรือหักค่าจ้างไว้เพื่อชำระค่าเสียหาย “แบบนั้นทำไม่ได้” แต่ก็ยังมีหลายท่านคอมเม้นว่า “ก็ถ้าตกลงกันแล้วทำไมจะทำไม่ได้” “มันต้องดูสัญญาด้วยหรือเปล่าไม่ใช่ดูแต่กฎหมาย” ใครที่ยังคิดแบบนั้นอยู่ ลองทำใจโล่งๆ ไม่อารมณ์เสีย ไม่หุนหวย แล้วคิดตามนะคะ กฎหมายแรงงานเนี่ย เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย มีลักษณะบังคับเป็นการจำกัดเสรีภาพในการทำสัญญาบางประการของนายจ้าง ที่ต้องเป็นเช่นนี้ก็เพราะว่านายจ้างนั้นมีอำนาจต่อรองในเชิงเศรษฐกิจเหนือกว่าลูกจ้าง ดังนั้น ลักษณะของสัญญาจ้างแรงงานจึงมีลักษณะบังคับที่จำกัดเสรีภาพเอาไว เพื่อไม่ให้นายจ้างตกลงอะไรกับลูกจ้างได้ตามใจนายจ้างทุกอย่าง หรือถ้าพูดให้เข้าใจง่ายๆก็คือ ถึงแม้ลูกจ้างจะตกลงทำสัญญาหรือยินยอมทำสัญญาอะไรก็ตาม ที่ขัดกับกฎหมายแรงงาน ที่เป็นการลดสิทธิ์ของผู้รับจ้างเอง ทั้งที่มีกฎหมาย คุ้มครองแรงงานให้สิทธิ์อยู่แล้ว กฎระเบียบข้อนั้น ก็ไม่สามารถทำได้แม้ลูกจ้างจะเซ็นชื่อยอมรับไปแล้ว ผลย่อมเป็นโมฆะ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ค่ะ ซึ่งค่าจ้างในวันที่ลูกจ้างได้ทำงานไปแล้วนั้น นายจ้างก็มีหน้าที่ต้องจ่าย การที่ลูกจ้างลาออกโดยไม่แจ้งล่วงหน้าหรือแจ้งไม่ครบก็เป็นเพียงการลาออกผิดระเบียบ แต่หากทำให้เกิดความเสียหายนายจ้างก็ไปใช้สิทธิ์ฟ้องได้ แต่จะไปหักหรือไม่จ่ายเงินลูกจ้างไม่ได้ ติดต่องาน

ไล่กรรมการบริษัทออกต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่ ?

ไล่กรรมการบริษัทออกต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่ ? การพิจารณาว่าต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่ เบื้องต้นก็ต้องพิจารณานิติสัมพันธ์ระหว่างกรรมการกับบริษัทก่อนว่าเป็นไปตามสัญญาจ้างแรงงานหรือไม่ เพราะหากไม่อยู่ภายใต้สัญญาจ้างแรงงาน กฎหมายแรงงายย่อมไม่สามารถนำมาปรับใช้ ยกตัวอย่างในคดีหนึ่ง กรรมการและผู้ถือหุ้นของบริษัท มีหน้าที่ดูแลด้านการตลาดในการทำงานของกรรมการรายนี้ไม่ปรากฎว่าต้องอยู่ภายใต้ระเบียบหรือข้อบังคับในการทำงาน และแม้ว่าจะได้รับมอบหมายให้ดูแลงานของบริษัทโดยต้องมาทำงานทุกวันก็ไม่มีผู้ใดบังคับบัญชาได้ นอกจากนี้ยังปรากฎว่ากรรมการรายนี้ยังเป็นผู้เริ่มก่อตั้งบริษัท การทำงานจึงทำในฐานะผู้ซึ่งเป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นที่ต้องดูแลรักษาผลประโยชน์ของบริษัทที่ร่วมก่อตั้งมา แม้จะได้รับเงินเดือน แต่เมื่อการทำงานไม่ใช่ลักษณะของสัญญาจ้างแรงงาน ดังนั้นเมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติถอดถอนออกจากการเป็นกรรมการบริษัท จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าชดเชย เพราะฉะนั้นการไล่กรรมการออกอาจไม่จำต้องจ่ายค่าชดเชยเสมอไป ต้องพิจารณานิติสัมพันธ์ระหว่างกรรมการกับบริษัทเป็นที่ตั้ง (คำพิพากษาฎีกาที่ 2548/2548)

สัญญาจ้างแรงงานระบุข้อตกลงว่า ลูกจ้างจะทำงานให้บริษัทเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี หากลาออกก่อนกำหนดยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้กับบริษัท ข้อตกลงเช่นนี้ใช้บังคับได้หรือไม่ ?

สัญญาจ้างแรงงานระบุข้อตกลงว่า ลูกจ้างจะทำงานให้บริษัทเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี หากลาออกก่อนกำหนดยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้กับบริษัท ข้อตกลงเช่นนี้ใช้บังคับได้หรือไม่ ? กรณีเช่นนี้ ศาลฎีกาได้วางหลักไว้ในคำพิพากษาศาลฏีกาที่ 7620/2559 ว่า การที่สัญญาเพิ่มเติมแนบท้ายหนังสือสัญญาจ้าง ข้อ 3 ระบุความว่า พนักงานตกลงที่จะทำงานให้กับบริษัทเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี นับตั้งแต่วันเข้าทำงาน หากพนักงานมีความประสงค์จะลาออกก่อนครบกำหนดเวลา พนักงานยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้กับบริษัทไม่น้อยกว่าเงินเดือนในเดือนสุดท้ายที่พนักงานได้รับ ถือได้ว่าเป็นข้อตกลงกำหนดความเสียหายเพื่อการผิดนัดไม่ชำระหนี้ไว้ล่วงหน้า จึงเป็นข้อตกลงเบี้ยปรับเมื่อโจทก์ไม่ชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 และ 380 ซึ่งหากกำหนดไว้สูงเกินส่วนศาลแรงงานกลางมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้โดยให้พิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สิน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง กล่าวคือศาลแรงงานกลางจะต้องพิจารณาทางได้เสียของจำเลยในฐานะเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย มิใช่เฉพาะความเสียหายที่คำนวณได้เป็นเงินเท่านั้น นอกจากนี้เบี้ยปรับยังเป็นการกำหนดขึ้นเพื่อลงโทษโจทก์ซึ่งมีฐานะเป็นลูกหนี้ผิดสัญญาจ้างแรงงานด้วย จึงชอบที่จะพิจารณามูลเหตุการผิดสัญญาของลูกหนี้ว่าเป็นการจงใจกระทำผิดสัญญาเพื่อแสวงหาประโยชน์ใส่ตนเป็นการได้เปรียบกว่าอีกฝ่ายหนึ่งด้วยหรือไม่ ทั้งนี้ ศาลแรงงานกลางจะใช้ดุลพินิจไม่ให้ค่าเสียหายส่วนนี้เสียเลยไม่ได้เพราะไม่มีบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตราใดที่ให้อำนาจงดเบี้ยปรับเสียทั้งหมด ดังนั้นศาลแรงงานกลางจึงต้องฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมถึงทางได้เสียของจำเลยทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ได้แก่จุดมุ่งหมายของข้อสัญญาที่ให้ทำงานครบ 2 ปี ความจำเป็นที่ต้องทำสัญญาไว้เช่นนี้ ความสำคัญของตำแหน่งหน้าที่การงานของโจทก์ต่อจำเลย ความเสียหายอื่นที่มิใช่ทรัพย์สิน รวมตลอดถึงเหตุผลที่โจทก์ผิดสัญญาจ้างแรงงานว่าเป็นการกระทำไปโดยจงใจเพื่อแสวงหาประโยชน์ใส่ตนเป็นการได้เปรียบกว่าอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่เสียก่อน แล้วใช้ดุลพินิจพิเคราะห์ถึงข้อเท็จจริงทางได้เสียของจำเลยทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายกำหนดเบี้ยปรับเป็นจำนวนพอสมควรเบี้ยปรับได้หรือไม่ กล่าวโดยสรุป นายจ้างสามารถกำหนดเงื่อนไขในลักษณะนี้ไว้ในสัญญาจ้างได้ โดยถือว่าเป็นการกำหนดความเสียหายไว้ล่วงหน้าเป็นลักษณะข้อตกลงเบี้ยปรับ ดังนั้น ศาลมีอำนาจปรับลดจำนวนเบี้ยปรับลงได้หากเห็นว่าสูงเกินส่วน...

เลิกจ้างต้องระบุเหตุผลในการเลิกจ้าง ไม่เช่นนั้นจะยกขึ้นเป็นเหตุต่อสู้ไม่จ่ายค่าชดเชย “ไม่ได้”

เลิกจ้างต้องระบุเหตุผลในการเลิกจ้าง ไม่เช่นนั้นจะยกขึ้นเป็นเหตุต่อสู้ไม่จ่ายค่าชดเชย “ไม่ได้” บอกหลายทีแล้วว่าเวลาเขียนหนังสือเตือนหรือหนังสือเลิกจ้างก็ไม่ต้องกระมิดกะเมี้ยนเกรงใจกันขนาดนั้น ทำดีก็ให้ชม ให้รางวัล แต่ทำผิดก็ต้องเตือน เตือนนี่ก็เตือนเป็นหนังสือนะไม่ใช่พูดเฉยๆถ้าพูดเฉยๆวนไปวนมานี่เรียกว่า “บ่น” ไม่ได้เป็นการเตือนตามกฎหมายแรงงาน (คำนี้ดีฟังมาจากพี่ต๋องแฟนเพจ) เลิกจ้างก็ตรงไปตรงมา ระบุเหตุผลให้ชัดเจนในหนังสือเลิกจ้างไม่ใช่เขียนสั้นๆว่า ประพฤติตนไม่เหมาะสม เหมือนนายจ้างรายนึง ที่มาปรึกษาว่ากรณีนี้ พนักงานประพฤติตนไม่เหมาะสมหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการดูแลลูกน้องในแผนก เรื่องความผิดทางวินัยอื่นๆ ที่ลูกจ้างฝ่าฝืนหลายประการ และยืนยันว่า ลูกจ้างผิดจริง แต่ในทางปฏิบัติกลับไม่มีใบเตือนแทนหนังสือเลิกจ้าง ระบุเหตุผลโคตรสั้นเพียงว่า ประพฤตินไม่เหมาะสม ในกรณีดังกล่าว ในทางกฎหมายเมื่อนายจ้างไม่ได้ระบุเหตุผลแห่งการเลิกจ้างว่า ลูกจ้างประพฤติผิดวินัยอะไรบ้าง ที่เป็นความผิดวินัยตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน นายจ้างจะยกเหตุความผิดทางวินัยอื่นๆที่ไม่ได้ระบุไว้มาต่อสู้ เพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยไม่ได้ เทียบเคียงจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3553/2556 แล้วต้องเขียนยังไงดีคะ?? ใครอ่านมาถึงตรงนี้ก็อยากจะบอกว่านายจ้างก็ควรระบุข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุเกี่ยวกับการเลิกจ้างและผลกระทบความเสียหายให้เพียงพอที่จะทำให้ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างได้ทราบว่าตัวเองถูกเลิกจ้างเพราะเรื่องอะไร เช่นลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับในข้อไหนบ้างโดยที่นายจ้างอาจจะไม่จำเป็นจะต้องระบุรายละเอียดข้อเท็จจริงทั้งหมดก็ได้แต่ก็ต้องระบุให้เพียงพอที่จะให้ลูกจ้างได้ทราบสาเหตุแห่งการเลิกจ้างนั้น อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ใครยังไม่แน่ใจว่าจะต้องเขียนเลิกจ้างยังไงติดต่อ inbox ได้นะคะค่าบริการไม่แพง.. ทนายยังว่างอ่ะจ้างได้. อิอิ

ทำงานด้วยอารมณ์ เพื่อนร่วมงานไม่ประสงค์จะทำงานด้วย เลิกจ้างได้ไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม!!

ทำงานด้วยอารมณ์ เพื่อนร่วมงานไม่ประสงค์จะทำงานด้วย เลิกจ้างได้ไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม!! จากคำถามหลังบ้านวันนี้ก็เป็นคำถามที่อ้างอิงว่าหัวหน้างานรายนึงเป็นคนใช้อารมณ์ทำงานทำให้ลูกน้องไม่อยากร่วมงานด้วยเลย และแผนกอื่นๆก็ไม่ประสงค์จะติดต่อการงานด้วยถ้าไม่จำเป็น ทำให้เกิดความลำบากในการติดต่อประสานงานเป็นอย่างมาก ในกรณีนี้สามารถเลิกจ้างได้หรือไม่คะ?? สำหรับความเห็นของเราเอง เรามองว่าในกรณีนี้หากเพื่อนร่วมงานไม่ประสงค์จะร่วมงานด้วยทำงานด้วยก็ลำบากและมีหลักฐานแน่ชัด ไม่ว่าจะเป็นการสอบสวนหรือการสอบถาม ความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชา ที่มีหลักฐานแน่นอน ก็สามารถเลิกจ้าง โดยไม่ใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมแต่อย่างใด แต่ยังต้องจ่ายค่าชดเชยเนื่องจากว่าไม่ได้เป็นความผิดตามมาตรา 119 แห่งพรบคุ้มครองแรงงานที่จะเป็นเหตุให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย (มาตรา 119 ได้บัญญัติยกเว้นให้ นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้ (1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง (2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย (3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง (4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน โดยหนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด (5) ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันติดต่อกัน ไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร (6) ลูกจ้างได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก) ส่วนถ้าใครเกิดคำถามว่าความเห็นข้างต้น มีแหล่งที่มาหรือเทียบเคียงคำพิพากษาใดบ้าง ความเห็นข้างต้นนี้เรา เทียบเคียงตามคำพิพากษาที่ 2575/2524 ค่ะ .. เป็นกรณีที่ใกล้เคียงกันใครสนใจลองไปเปิดหาอ่านดูได้นะคะ

ลูกจ้าง “ประมาทเลินเล่อ” เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย “ร้ายแรง” นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

ลูกจ้าง “ประมาทเลินเล่อ” เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย “ร้ายแรง” นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย เพราะมีคำว่าประมาทเลินเล่อเข้ามาเกี่ยวข้องก็เป็นข้อน่าพิจารณาอีกว่าแบบไหนเรียกว่า”ประมาท” ได้บ้าง ประมาทนี้ก็คือการกระทำไปโดยที่ “ไม่ได้มีเจตนา” ที่จะให้นายจ้างได้รับความเสียหายแต่ก็ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังหรือความละเอียดรอบคอบให้เพียงพอในภาวะวิสัยและพฤติการณ์ในตำแหน่งหน้าที่ของตนเองที่ควรจะใช้ความระมัดระวังนั้นได้ ยกตัวอย่าง ที่เป็นการประมาทเลินเล่อทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายร้ายแรงเช่น ลูกจ้างได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ปิดเปิดตู้เก็บเงินรักษาเงินสดโดยนายจ้างได้มอบกุญแจลิ้นชักไว้ให้แก่ลูกจ้างแต่ลูกจ้างหลงลืมกุญแจไว้บนโต๊ะทำงานทำให้คนอื่นเอากุญแจไปใช้และขโมยเงินของนายจ้างไป (เทียบเคียงกับคำพิพากษาฎีกาที่ 5603/2546) ยังไงก็ตามตามที่ทำเครื่องหมายฟันหนู (อัญประกาศ) ไว้ในหัวข้อว่าการจะเลิกจ้างได้โดยไม่จ่ายค่าชดเชยนั้นต้องเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง + นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงด้วย….นั่นก็หมายถึงว่า การประมาทเลินเลอนั้นต้องมีผลให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงนายจ้างถึงจะมีสิทธิ์เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ซึ่งถ้าเป็นเพียงความประมาทเลินเล่อแต่นายจ้างเสียหายเพียงเล็กน้อยในกรณีเช่นนี้นายจ้างจะเลิกจ้างก็อาจจะยังต้องจ่ายค่าชดเชย กรณีไหนบ้างที่ไม่ถือว่าร้ายแรงยกตัวอย่างเช่นลูกจ้างทำหน้าที่ขับรถให้กับผู้บริหารขับรถด้วยความประมาทไปเฉี่ยวชนรถต้องเสียค่าซ่อมประมาณ 60,000 บาท แต่รถดังกล่าวมีสัญญาประกันภัย จึงอาจถือได้ว่าลูกจ้างประมาทเลินเล่อ แต่นายจ้างไม่ได้รับความเสียหายร้ายแรง เลิกจ้างนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย (เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 2132/2545) สรุปก็คือจะพิจารณาว่าลูกจ้าง ประมาทเลินเล่อ จนเลิกจ้าง แบบไม่จ่ายค่าชดเชยได้หรือไม่นั้นก็ต้องเข้าองค์ประกอบว่า ต้องเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง + นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงด้วย ลองนำไปพิจารณาดู ถึงหลักเกณฑ์ดังกล่าวนะคะ… ถามทนายทีละประเด็นทนายก็ไม่ทราบเหมือนกันค่ะทนายไม่ใช่ศาลลูกจ้าง “ประมาทเลินเล่อ” เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย “ร้ายแรง” นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย เพราะมีคำว่าประมาทเลินเล่อเข้ามาเกี่ยวข้องก็เป็นข้อน่าพิจารณาอีกว่าแบบไหนเรียกว่า”ประมาท” ได้บ้าง ประมาทนี้ก็คือการกระทำไปโดยที่ “ไม่ได้มีเจตนา” ที่จะให้นายจ้างได้รับความเสียหายแต่ก็ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังหรือความละเอียดรอบคอบให้เพียงพอในภาวะวิสัยและพฤติการณ์ในตำแหน่งหน้าที่ของตนเองที่ควรจะใช้ความระมัดระวังนั้นได้ ยกตัวอย่าง ที่เป็นการประมาทเลินเล่อทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายร้ายแรง เช่น ลูกจ้างได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ปิดเปิดตู้เก็บเงินรักษาเงินสดโดยนายจ้างได้มอบกุญแจลิ้นชักไว้ให้แก่ลูกจ้างแต่ลูกจ้างหลงลืมกุญแจไว้บนโต๊ะทำงานทำให้คนอื่นเอากุญแจไปใช้และขโมยเงินของนายจ้างไป (เทียบเคียงกับคำพิพากษาฎีกาที่...

ฝ่าฝืนระเบียบอะไรบ้าง ? ที่ไม่ถือว่าเป็นการร้ายแรง… ต้องตักเตือนก่อน จึงเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย

ฝ่าฝืนระเบียบอะไรบ้าง ? ที่ไม่ถือว่าเป็นการร้ายแรง… ต้องตักเตือนก่อน จึงเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย หลายครั้งที่มีคนสอบถามเข้ามาว่าพฤติกรรมอย่างไรจึงถือว่าร้ายแรงและไม่ร้ายแรง ถ้าให้ตอบตรงๆก็คือ ต้องมานั่งคุยกันก่อนขอทราบตั้งแต่ ข้อเท็จจริง ระเบียบข้อบังคับของบริษัทผลกระทบ ความเสียหายของนายจ้างหรือบุคลากรรายอื่นๆหรือแม้แต่ชื่อเสียงของนายจ้างก็เกี่ยวข้องด้วยทั้งหมด แต่เคยอธิบายแบบนี้แล้วก็ปรากฏว่าเกิดความไม่พอใจ ว่าตอบแบยทนายนี่หน่า ไม่ชัดเจนเลย โว้ยยแก…ก็มันเกี่ยวข้องอ่ะ ฟังแกพิมพ์มา สี่บรรทัดจะให้ตอบเลยแบบฟันธง ก็คงเกินไป..ศาลยังต้องนัดสืบและฟังพยานหลักฐานคู่ความทั้งสองฝ่าย ฉันเป็นใครก่อน อ่านสี่บรรทัดให้ฟันธง..เดี๋ยวเหอะ!! เพื่อให้เป็นแนวทาง และหยุดวีน วันนี้จึงได้รวบรวม ตัวอย่างการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่ไม่ถือเป็นการร้ายแรงและต้องตักเตือนก่อนโดยรวบรวมมาจากหนังสือของอาจารย์พงษ์รัตน์ เครือกลิ่น ลองอ่านกันนะ ลูกจ้างขาดประสิทธิภาพในการทำงานหรือมีผลการทำงานที่แย่ไม่ถือเป็นการผิดข้อบังคับร้ายแรงอ้างอิงทำพิพากษามีการที่ 4490/2529 ลูกจ้างมาทำงานสายไม่ถือว่าฝ่าฝืนข้อบังคับกรณีร้ายแรงเขาพิพากษาศาลฎีกาที่ 3265/2528 ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ไปกินข้าวเวลา 15 นาทีโดยไม่ปรากฏว่าเกิดความเสียหายแก่นายจ้างไม่ถือว่าเป็นความผิดร้ายแรงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1680/25 2525 ลูกจ้างออกจากสำนักงานไปสอนหนังสือน้อยครั้งครั้งละ 2 ชั่วโมงไม่เป็นความผิดร้ายแรงตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 140/2529 ลูกจ้างออกนอกโรงงานไปทำธุระส่วนตัวโดยไม่ได้ขออนุญาตจากผู้บังคับบัญชาประมาณ 1 ชั่วโมงไม่ถือว่าเป็นความผิดร้ายแรงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3900/2529 จากแนวฎีกาหลายๆอันที่ยกตัวอย่างไปก็จะเห็นได้ว่า ความผิดที่ลูกจ้างได้ทำนั้นไม่ได้ส่งผลกระทบกับนายจ้างอย่างร้ายแรงแต่อย่างใด จึงไม่อาจถือว่าเป็นความผิดอะไรแรงที่นายจ้างสามารถเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยนายจ้างจึงจำเป็นจะต้องออกหนังสือเตือนให้ครบถ้วนตามองค์ประกอบของกฎหมายเสียก่อน แต่ยังไงก็ตามอย่างที่เคยเน้นย้ำไปว่าแนวฎีกาแต่ละฎีกาก็อาจจะมีข้อเท็จจริงแตกต่างกันเช่นสมมุติว่าลูกจ้างแอบออกไปนอกสำนักงานเพียงแค่ 15 นาทีแนวฎีกาอาจจะมองว่าไม่ใช่เรื่องร้ายแรงแต่หาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นคือ 15 นาทีนั้นทำให้การผลิตชิ้นงานเสียหายแก่นายจ้างเป็นอย่างมากกรณีนี้ก็ถือว่าเป็นการร้ายแรง ดังนั้นถึงต้องบอกว่าดูเป็นพฤติกรรมในแต่ละเรื่องและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับนายจ้างด้วย ฝากไว้ให้คิดดดด