กรุณารอสักครู่

 

HomeCategoryกฏหมายแรงงาน Archives - Page 18 of 64 - บริษัท ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น จำกัด

ฟรีแลนซ์ฟ้องศาลไหนคะพี่ ศาลแรงงานหรือศาลแพ่ง??

ฟรีแลนซ์ฟ้องศาลไหนคะพี่ ศาลแรงงานหรือศาลแพ่ง?? แน่นอนค่ะ ว่าศาลแรงงาน จะพิจารณาคดี แรงงานเท่านั้นซึ่งหมายความว่าโจรและจำเลยจะต้องมีสถานะเป็นนายจ้างลูกจ้างด้วย แต่จากคำถามของน้องที่ inbox เข้ามาน้องเข้าใจว่า ตัวเองรับงานแบบฟรีแลนซ์ แต่เขาก็เป็น “นายจ้าง” แล้วหนูก็เป็น “ลูกจ้าง” แบบนี้ก็หมายความฟ้องได้ที่ศาลแรงงานใช่ไหมคะ คำตอบคือไม่ใช่ค่ะเพราะแม้ว่าเรารับงานแบบฟรีแลนซ์และจะเรียกตัวเองว่าลูกจ้างเรียกผู้จ่ายเงินว่านายจ้างแต่ต้องดูลักษณะของการทำงานด้วย เช่น การทำงานของลูกจ้างนายจ้างสามารถกำหนดว่าให้เข้ามาทำวันไหนบ้างเวลาไหนบ้างหากไม่ปฏิบัติตามก็จะมีโทษทางวินัย มีอำนาจบังคับบัญชา แล้วก็จ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างด้วย ดังนั้นหากลักษณะงานของน้องเป็นแบบนั้นก็สามารถฟ้องที่ ศาลแรงงานได้แต่ถ้านายจ้างไม่มีอำนาจบังคับบัญชาเช่น ที่บอกไปข้างต้น มุ่งเอาความสำเร็จของงาน ก็ไม่ได้อยู่ในความหมายของคำว่านายจ้างลูกจ้าง อันเป็นเหตุให้ไม่สามารถไปฟ้องที่ศาลแรงงานหรือกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงานได้ค่ะ ติดต่องาน info@legalclinic.co.th

มาสายไม่เท่ากับลากิจ

มาสายไม่เท่ากับลากิจ ก่อนอื่นต้องบอกว่าเรื่องนี้เคยพูดไปแล้วนะคะแต่ก็จะมาพูดซ้ำให้ฟังกันอีกครั้งนึงเรื่องของการที่ลูกจ้างมาศาลและนายจ้างบังคับให้ใช้เป็นวันลากิจ ต้องเข้าใจนะ สายก็คือสาย สายไม่ใช่ลากิจ นายจ้างจะตีความว่า เพราะเธอไปติดธุระส่วนตัวของเธอมาน่ะสิ เธอถึงมาสาย ดังนั้นเธอต้องใช้ลากิจ แบบนี้มันก็เป็นการตีความที่ไม่ถูกต้องเอาเสียเลย ต้องเข้าใจก่อนว่ากฎหมายกำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิ์ลากิจธุระอันจำเป็นได้ไม่น้อยกว่า 3 วันทำงานต่อปี โดยที่กฎหมายมีเจตนารมณ์ให้ลูกจ้างลาเพื่อไปทำธุระที่จำเป็นไม่ว่าจะเป็นธุระส่วนตัวที่คนอื่นทำแทนไม่ได้หรือธุระของบุคคลในครอบครัว ที่เป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นการที่บอกว่ามาสายแล้วให้ไปใช้ลากิจจึงขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย สรุปว่าสายก็คือสายค่ะ นายจ้างจะตัดเบี้ยขยัน จะออกหนังสือเตือนจะพิจารณาไม่ปรับขึ้นเงินเดือนหรือโบนัสก็เป็นมาตรการที่นายจ้างจะต้องจัดทำแต่มาตรการทั้งหลายเหล่านี้ก็ต้องสอดคล้องกับกฎหมายด้วย มีบางองค์กรบอก ว่าทำมาตั้งนานไม่เห็นมีปัญหาเลย เธ๊อออออ เธอ ยังไม่ถูกฟ้องหรือเปล่า เพราะว่าอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจของลูกจ้างเขาไม่มี อันนี้เป็นเรื่องที่นายจ้างต้องพิจารณาและก็ให้รู้ไว้ด้วยว่าหลายคนเขาดับเครื่องชนมีมาแล้วนะ ในกรณีที่นายจ้างไม่ให้ความเป็นธรรมและไม่ดำเนินการตามกฎหมายเลย ไปฟ้องทั้งๆที่ยังร่วมงานกันอยู่ก็มีให้เห็นเยอะไป ในมุมของนายจ้างฝ้ายเข้าใจนายจ้างนะ อย่างที่บอกไปว่าฝ้ายเองเป็นทั้งลูกจ้างแล้วก็เป็นนายจ้างด้วย แต่สุดท้ายแล้วไม่ว่าจะอยู่ในฐานะนายจ้างหรือลูกจ้างการทำงานร่วมกันสิ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาได้คือการสื่อสารและการพูดคุย ลองปรับลองจูนถามหาเหตุผลของการมาสายกันดูนะคะ ปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฎหมายมากที่สุดก็จะเป็นผลดีกับทั้งสองฝ่ายค่ะ ติดต่องาน info@legalclinic.co.th

หัวหน้า Sexual Harassment ลูกน้อง นายจ้างเลิกจ้างได้!!!

หัวหน้า Sexual Harassment ลูกน้อง นายจ้างเลิกจ้างได้!!! กฎหมายคุ้มครองแรงงานได้กำหนดว่า ผู้กระทําการล่วงเกิน คุกคาม หรือก่อความเดือดร้อนรําคาญทางเพศต่อลูกจ้างจะต้องเป็นนายจ้าง หัวหน้างานผู้ควบคุมงาน ผู้ตรวจงาน กระทําต่อผู้ถูกกระทําซึ่งเป็นลูกจ้างโดยไม่จํากัดว่าจะต้องเป็นหญิงและเด็กเท่านั้น Sexual Harassment หรือ การคุกคามทางเพศ อาจไม่ถือว่าเป็นเหตุให้นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 119 โดยตรง แต่หากกำหนดไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ถือเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับกรณีร้ายแรงก็เลิกจ้างได้ ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3560/2556 โจทก์(ลูกจ้าง) ทำงานตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการฟ้องว่าจำเลย (นายจ้าง) เลิกจ้างโจทก์ โดยอ้างว่าโจทก์กระทำการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานร้ายแรงในเรื่องล่วงละเมิดทางเพศ โดยปราศจากหลักฐานยืนยันตามข้อกล่าวอ้าง จำเลยให้การว่าโจทก์กระทำล่วงละเมิดทางเพศต่อนางสาว ก. ผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นความผิดวินัยร้ายแรง ศาลฎีกาเห็นว่าคืนวันที่ 6 กันยายน 2548 ระหว่างโจทก์และนางสาวไก่พักค้างคืนที่โรงแรมเพื่อไปแจกทุนการศึกษาในวันรุ่งขึ้นที่จังหวัดเชียงราย โจทก์กระทำอนาจารอันเป็นการล่วงละเมิดทางเพศต่อน้องสาว ก. ของผู้ใต้บังคับบัญชาการกระทำดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนพรบ. คุ้มครองแรงงาน มาตรา 16 ซึ่งมีโทษทางอาญา และยังมีเป็นการฝ่าฝืนนโยบายเกี่ยวกับข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานจึงถือได้ว่าเป็นความผิดร้ายแรง ติดต่องาน info@legalclinic.co.th

ลูกจ้างลักทรัพย์นายจ้าง แม้จะชดใช้คืนแล้วก็ยังต้องถูกดำเนินคดี

ลูกจ้างลักทรัพย์นายจ้าง แม้จะชดใช้คืนแล้วก็ยังต้องถูกดำเนินคดี ความผิดลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้าง เป็นการลักทรัพย์ในเหตุฉกรรจ์ที่ทำให้ผู้กระทำความผิดต้องรับโทษหนักขึ้นต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 10,000 บาท และความผิดอาญาฐานนี้ เป็นความผิดอาญาต่อแผ่นดิน ไม่อาจยอมความกันได้ เมื่อนายจ้างไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานแล้ว ลูกจ้างจะมาไกล่เกลี่ย ขอชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมด แล้วขอให้นายจ้างยอมความไม่ได้ ลูกจ้างก็ยังคงต้องถูกดำเนินคดีต่อไป จนกว่าจะมีคำพิพากษาของศาล แต่กรณีลูกจ้างชดใช้ให้นายจ้างก็เป็นการบรรเทาความเสียหายให้นายจ้าง ที่ศาลจะหยิบยกมาพิจารณาในการพิพากษาลงโทษก็เป็นดุลพินิจของศาล ก็อาจจะให้ได้รับโทษน้อยลงหรือรอลงอาญาได้ วันนี้ดูมาทางทน๊ายทนายก็เพราะว่าเพิ่งไปฟังคำพิพากษาคดีลักทรัพย์นายจ้างนี่แหละ เกือบทุกคดีที่ฟังศาลมีคำพิพากษาให้ลูกจ้างจำคุกและชดใช้ค่าเสียหาย จึงมาเตือนกันหน่อย ว่าอย่าคิดสั้นขโมยของนายจ้างนะ ติดคุกจริง!!

หนูลาออกโดยแจ้งล่วงหน้าไม่ถึง 30 วัน นายจ้างเลยไม่จ่ายเงินเดือน แล้วบอกว่าจะฟ้องหนูด้วย ทำยังไงได้บ้างคะ

หนูลาออกโดยแจ้งล่วงหน้าไม่ถึง 30 วัน นายจ้างเลยไม่จ่ายเงินเดือน แล้วบอกว่าจะฟ้องหนูด้วย ทำยังไงได้บ้างคะ คำถามนี้เป็นคำถามที่เจอแทบทุกวันเลย ดังนั้นอยากให้ทุกคนลองทำความเข้าใจกับโพสต์นี้ดูโดยขอแยกตอบออกเป็น 2 เรื่อง แบบนี้ ข้อ 1. นายจ้างจะไม่จ่ายเงิน “ไม่ได้” เพราะว่าเป็นเงินส่วนที่เราทำงานไปแล้วและนายจ้างไม่มีสิทธิ์หัก ตามกฎหมายใดๆทั้งสิ้น เว้นแต่เราจะไปเซ็นยอมรับว่าทำให้เกิดความเสียหาย ข้อ 2. นายจ้างจะฟ้องทำยังไงดี?? ก็ถ้าเขาจะฟ้องจริงๆก็ทำอะไรไม่ได้ค่ะ ก็ให้เขาฟ้องไป มีหมายศาลมาเราก็มีหน้าที่ไป ส่วนนายจ้างมีหน้าที่พิสูจน์ให้ศาล เห็นเพื่อพิจารณาว่าการที่เราลาออกโดยไม่บอกล่วงหน้าเขาเสียหายอย่างไรและศาลก็จะเป็นผู้ใช้ดุลพินิจของศาล ในส่วนของเราก็เตรียมตัวไปศาลแล้วก็โต้แย้งไป การไปศาลจำเป็นต้องใช้ทนายหรือไม่?? ถ้าทุนทรัพย์ไม่อำนวยก็ไม่ต้องจ้างค่ะไปที่ศาลได้เลยเพราะศาลแรงงานเป็นระบบไต่สวนศาลจะทำหน้าที่ถามตัวลูกจ้างให้เองและจะพิจารณาตัดสินคดีหากลูกจ้างไม่พอใจก็ใช้สิทธิ์อุทธรณ์ได้ค่ะ.. แต่ถ้าอยากอุ่นใจมีทนายคอยอธิบาย และคอยดำเนินการแทนในชั้นศาลก็จ้างได้แล้วแต่เลยค่ะ ส่วนคนที่ถามว่าแล้วนายจ้างจะฟ้องมั้ยคะ?? เธอออออ เธอต้องมีสตินะ T^T ทนายก็บอกได้แค่ว่าเขามีสิทธิ์แต่เขาจะฟ้องไหม ไม่รู้เลย ตอบแทนเขาไม่ได้ อยากรู้ให้ถามเขาค่ะแต่ก็ไม่แนะนำให้ถามเดี๋ยวเหมือนไปยั่วยุกันอีก แล้วถ้าเขาฟ้องจะฟ้องเรามาเป็นทุนทรัพย์เท่าไหร่ก็ตอบไม่ได้อีกเพราะไม่รู้ค่ะ ฟ้องมาเท่าไหร่ไม่ได้หมายความว่าเขาจะได้เท่านั้นเขาต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นกลับไปอ่านวรรคข้างบนอีกทีนึง เพื่อความสบายใจของตัวเอง ดังนั้นเพื่อลดความกังวลใจความไม่สบายใจ ก่อนจะลาออกก็แจ้งให้ถูกต้องตามกฎหมายหรือตามข้อตกลงที่มีร่วมกันไว้นะคะ แต่หากมีเหตุจำเป็นจริงๆก็เข้าไปคุยกับนายจ้างให้เข้าใจถึงเหตุจำเป็นนั้น เพื่อลดข้อพิพาทในอนาคตและลดความไม่สบายใจที่จะเกิดขึ้นด้วยค่ะ

ลูกจ้างทำผิดร้ายแรงแต่นายจ้าง ไม่ลงโทษ ในภายหลังจะนำมาเป็นเหตุเลิกจ้างอีกไม่ได้

ลูกจ้างทำผิดร้ายแรงแต่นายจ้าง ไม่ลงโทษ ในภายหลังจะนำมาเป็นเหตุเลิกจ้างอีกไม่ได้ คนเราทำผิด 1 ครั้งก็สมควรได้รับการพิจารณาลงโทษ 1 ครั้ง ดังนั้นหากกรณีที่ลูกจ้างทำผิดไปแล้วแต่นายจ้างมองว่าอภัยได้ไม่ลงโทษแต่ต่อมาเหม็นขี้หน้ากันพูดจาขัดหูจะนำความผิดเดิมนั้นมาลงโทษทำไม่ได้ เพราะถือว่าเป็นการลงโทษซ้ำแล้วก็ขัดต่อหลักกฎหมาย อ่านมาถึงตรงนี้ถ้านายจ้างเกิดคำถามว่าอ้าวต่อให้ลงโทษช้าแต่เขาทำผิดจริงนี่ ทำไมจะเอามาลงโทษไม่ได้ ลองมาคิดดูนะว่าถ้าสมมุติว่าเป็นตัวเราเองทำผิดไปแล้วครั้งนึง นายจ้างทราบแล้วและเขาก็ไม่ถือโทษโกรธเคืองอะไรเลย อยากให้ทำงานต่อไป ต่อมา นึกอยากจะเอาออกก็เอาเรื่องเดิมมาพูดซ้ำ ไม่ต้องพูดถึงกฎหมายแรงงานหรอกค่ะพูดถึงการใช้ชีวิตจริงๆการเอาเรื่องในอดีตที่เคยให้อภัยมาแล้วมาพูดซ้ำก็เป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเข้าใจได้ ก็เหมือนความรักนั่นแหละรู้ว่ามันจะเป็นบาดแผลในใจถ้าเกิดว่าเขาทำผิด ร้ายแรงไปแล้ว แต่ถ้าจะกลับมาอยู่ด้วยกันต่อก็ต้องให้อภัยถ้าทุกครั้งยังหยิบเรื่องนั้นมาพูดอีก แล้วมาเป็นบทลงโทษหรือเป็นสาเหตุในการเลิกกัน ฟังแค่นี้ก็รู้แล้วว่าจริงๆแล้ว สาเหตุการเลิกมันไม่ใช่เรื่องเดิม พอเรื่องเดิมมาได้รับการอภัยแล้ว ดังนั้นจะสานต่อหรือปล่อยไปก็ให้พิจารณาให้ดีนะคะ หมายถึงเรื่องนายจ้างลูกจ้างพวกเธอคิดอะไรกัน

ถูกเลิกจ้างกะทันหันมีสิทธิ์ได้อะไรบ้าง ?

ถูกเลิกจ้างกะทันหันมีสิทธิ์ได้อะไรบ้าง ? ก่อนอื่นต้องบอกนะคะว่าสิ่งที่จะได้ตามที่กำลังจะบอกต่อไปนี้จะต้องเป็นกรณีที่ลูกจ้างถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้มีความผิดตามมาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานเท่านั้น ซึ่งถ้าถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้กระทำผิดลูกจ้างมีสิทธิดังนี้ค่ะ 1. ค่าจ้างในส่วนที่ทำงานมาแล้ว 2. เงินต่างๆที่ได้ สำรองจ่ายให้แก่นายจ้าง เช่น ค่าสินค้าเบ็ดเตล็ดค่าอุปกรณ์ต่างๆที่ได้ออกเงินตัวเองไปก่อน ( ซึ่งต้องสามารถเบิกจ่ายได้ตามระเบียบนะไม่ว่าเขาไม่ได้ให้ไปซื้อแล้วไปซื้อนะอันนั้นคนละเรื่อง) 3. ค่าชดเชยตามระยะเวลาการทำงาน ( ทำงานกี่ปีได้เท่าไหร่ search ดูใน Google ได้เลย) 4. ค่าตกใจหรือค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ( ด้วยถ้าตกใจนี้ไม่ใช่ 1 เดือนนะคะอาจจะมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับว่านายจ้างบอกเลิกจ้าง น้อยกว่า 1 งวดการจ่ายค่าจ้างหรือไม่ เรียกได้ว่าบอกผิดชีวิตเปลี่ยนจากจะเสีย 1 เดือนมีโอกาสเสียสูงถึงเกือบ 2 เดือ ก็เป็นได้) ส่วนเรื่องนี้เคยเขียนไว้แล้วนะคะว่าค่าตกใจไม่ใช่ 1 เดือนเสมอไปลองเลื่อนอ่านดู 5. ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมซึ่งเป็นหลังนี้ต้องพร้อมที่ศาลแรงงานและให้ศาลเป็นผู้ใช้ดุลพินิจตัดสินนะคะว่าจะได้เท่าไหร่ไม่ได้มีหลักเกณฑ์กำหนดไว้ตายตัว หลายๆครั้งนะคะก็จะเกิดการโต้แย้งกันระหว่างลูกจ้างกับนายจ้างว่าการเลิกจ้างนี้เป็นการเลิกจ้าง ที่ลูกจ้างกระทำผิดพลาด ในส่วนของคนเลิกจ้างก็บอกว่าลูกจ้างกระทำผิดถึงไล่ออกจึงไม่มีสิทธิ์ได้รับเงินชดเชยอะไรทั้งนั้น แต่ในส่วนของลูกจ้างเองก็บอกว่าไม่ได้ผิดอะไรเลยต้องได้สิในกรณีนี้ไปเลยค่ะกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงานในเขตพื้นที่หรือศาลแรงงาน ไปเล่าเรื่องราวให้เขาฟัง และ นำคดี เข้าสู่กระบวนการพิจารณานะคะ อย่างไรก็ตามในคดีแรงงาน สำหรับลูกจ้างไม่มีทนายความก็ยังทำได้ค่ะแต่ถ้าอยากอุ่นใจติดต่อมาใช้บริการได้ ที่ Info@legalclinic.co.th...

พนักงานไม่เคยใช้ลาพักร้อนเลยแบบนี้บริษัทจะต้องจ่ายเงิน ข้ามาทำงานวันหยุดให้กับพนักงานไหมคะ?

พนักงานไม่เคยใช้ลาพักร้อนเลยแบบนี้บริษัทจะต้องจ่ายเงิน ข้ามาทำงานวันหยุดให้กับพนักงานไหมคะ?? อ่านคำถามแล้วอยากจะมอบโล่จริงๆ แล้วถ้าเกิดโอนถ่ายวันลาพักร้อนกันได้แล้วก็อยากจะขอบ้างเพราะที่มีอยู่ไม่เคยพอเลย อย่างที่เคยบอกไปในโพสก่อนๆ ว่านายจ้างต้องจัดวันลาพักร้อนให้กับพนักงานไม่น้อยกว่า 6 วันทำงานต่อปีหรือจะมากกว่านั้นก็ได้ กรณีที่นายจ้างไม่ให้พนักงานไม่ใช้เลยนายจ้างก็จะต้องจ่ายค่าจ้างในการทำงานวันหยุด แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าเกิดว่าลูกจ้างมีไฟในการทำงาน แล้วไม่อยากลาเลย ในกรณีนี้นายจ้างเอง ก็อยากให้ลูกจ้างลาไปซะเพราะไม่อยากจ่ายค่าทำงานวันหยุด ก็อาจจะต้องให้ลูกจ้างทำหนังสือสละสิทธิ์ ไม่ใช้วันหยุดพักผ่อนหรือไม่ใช้ลาพักร้อน นายจ้างจึงจะไม่ต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดพักร้อนค่ะ ติดต่อ งานบรรยาย งานคดีความและที่ปรึกษากฎหมาย info@legalclinic.co.th

ลูกจ้างไม่ยอมลงชื่อในหนังสือเลิกจ้าง..จะเลิกจ้างได้มั้ยคะ ?

ลูกจ้างไม่ยอมลงชื่อในหนังสือเลิกจ้าง..จะเลิกจ้างได้มั้ยคะ?? น้อง HR ที่เข้ามาถามคำถามนี้มีความกังวลว่า ถ้าเกิดว่าลูกจ้างไม่ยอมลง ชื่อในหนังสือเลิกจ้างการเลิกจ้างจะมีผลหรือไม่ และผลในอนาคตต่อไปจะเป็นยังไงคะ ก่อนอื่นอยากให้น้องเข้าใจก่อนว่าการที่นายจ้างเลิกจ้าง ลูกจ้าง ไม่จำเป็นต้องให้ลูกจ้างยินยอม แต่เป็นความประสงค์ฝ่ายเดียวของนายจ้าง… ซึ่งการเลิกจ้างนี้ลูกจ้างจะได้ค่าชดเชยหรือไม่ก็ต้องดูว่านายจ้างเลิกจ้างเนื่องด้วยเหตุอะไร หากเป็นการเลิกจ้างที่เข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 119 แห่งพรบคุ้มครองแรงงานนายจ้างก็มีสิทธิที่จะไม่จ่ายค่าชดเชย การลาออกก็เช่นกันไม่จำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากนายจ้างก่อน อย่างเดียวที่ต้องเห็นตรงกันในการทำงานคือ แรกเริ่มในการร่วมงานด้วยกันนายจ้าง ก็ต้องตกลงลูกจ้างก็ต้องตกลงกันทั้งสองฝ่ายถึงวันเวลาทำงานลักษณะหน้าที่เงินเดือนสภาพการจ้างต่างๆ ถ้าให้จำง่ายๆ ก็เหมือนความรักนั่นแหละ แรกเริ่มเมื่อตอนจะคบกันก็ต้องตกลงกันทั้งสองฝ่าย แต่ตอนเลิกกัน ไม่จำเป็นต้องตกลงก็ได้แค่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง บอกเลิก ก็จบแล้ว มีผลเหมือนกัน บางคนบอกว่าอ้าวบางคู่ก็ตกลงเลิกกันได้นี่ไม่จำเป็นต้องฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นคนบอกเลิกตกลงเลิกกันทั้งคู่ได้. แบบนี้การเลิกจ้างเหมือนกันไหมคะ คำตอบคือก็ทำได้เหมือนกันค่ะทำเป็นบันทึกข้อตกลงร่วมกัน ว่าจะสิ้นสุดการทำงานด้วยกันแล้วแบบนี้ก็ได้เช่นกัน การทำงานก็เหมือนความรักแหละ ไม่ใช่ดีอย่างเดียว เหนื่อยด้วย ติดต่องานบรรยาย ที่ปรึกษากฎหมาย คดีความ Info@legalclinic.co.th

ถูกกดดันให้เขียนใบลาออก สามารถฟ้องเรียกค่าชดเชยได้!!

ถูกกดดันให้เขียนใบลาออก สามารถฟ้องเรียกค่าชดเชยได้!! เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินเรื่องนี้มาบ้าง ว่า ถ้าถูกกดดันให้เขียนใบลาออกสามารถฟ้องเรียกค่าชดเชยได้ …. ซึ่งถูกต้องค่ะ แต่ประเด็นพิจารณาหลายๆกรณีคือแบบไหนถึงเรียกว่าถูกกดดันให้ลาออก เรามาดูตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่ศาลวินิจฉัยว่ากรณีแบบนี้ถือว่าเป็นการกดดันให้เขียนใบลาออกนะคะ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4052/2548 จำเลยเป็นฝ่ายบีบบังคับให้โจทก์ยื่นใบลาออก โดยพูดว่าหากไม่ยื่นใบลาออกจะเลิกจ้างโดย ไม่จ่ายค่าชดเชย ในภาวะเช่นนั้นโจทก์ซึ่งอยู่ใน ฐานะลูกจ้างย่อมเกิดความกลัวและยอมทำ ใบลาออกให้แก่จำเลย การเขียนใบลาออกของ โจทก์จึงเกิดขึ้นเพราะการพูดข่มขู่ของจำเลย พฤติการณ์ดังกล่าวประกอบกับการที่จำเลย อนุมัติให้โจทก์ลาออกทันทีฟังได้ว่า จำเลยมี เจตนาจะไม่ให้โจทก์ทำงานกับจำเลยต่อไปและจะไม่จ่ายค่าจ้าง ดังนั้นพฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ ว่าเป็นการเลิกจ้าง ส่วนจะมีกรณีใดพฤติการณ์ไหนอีกบ้างรอติดตามกันในโพสต์ต่อไปค่ะ ติดต่อ งานบรรยาย งานคดีความและที่ปรึกษากฎหมาย info@legalclinic.co.th