กรุณารอสักครู่

 

HomeCategoryกฏหมายแรงงาน Archives - Page 16 of 64 - บริษัท ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น จำกัด

“เจรจาให้ลาออก” ลูกจ้างขอกลับไปนอนคิดและหยุดงานไป แบบนี้ถือว่าลาออกหรือเลิกจ้าง

“เจรจาให้ลาออก” ลูกจ้างขอกลับไปนอนคิด และหยุดงานไป แบบนี้ถือว่าลาออกหรือเลิกจ้าง เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจแล้วก็เกิดขึ้นบ่อยมากจริงๆ วันนี้ฤกษ์งามยามเหมาะเลยขอ มาแชร์เรื่องนี้ หน้าเพจ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทั้งสองฝ่ายไม่ว่าจะเป็นนายจ้างหรือลูกจ้างค่ะ ในเรื่องของการเรียกไปคุยแล้วแจ้งว่า “ถ้าออกไปดีๆจะให้เงินนู่นนี่นั่น ดีกว่าเลิกจ้างนะเดี๋ยวจะเป็นประวัติ” เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เห็นบ่อยมาก ลูกจ้างบางคนเจอแบบนี้ไปก็ขอเก็บไปนอนคิด คิดไปคิดมาก็คิดว่าหรือนั่นอาจจะเป็นการ เลิกจ้างก็เลยหยุดทำงานไปซะ นายจ้างเลยมีหนังสือบอกว่าขาดงานเกิน 3 วันแล้วนะ ถ้าไม่กลับมาฉันจะเลิกจ้างเธอหรือไม่ก็ออกหนังสือเลิกจ้างมาเลย ในกรณีนี้ จะดูว่าเป็นการเลิกจ้างหรือไม่นั้นต้องพิจารณาโดยละเอียดค่ะ การเลิกจ้างคือการไม่ให้ทำงานและไม่ให้เงินหรือมีพฤติกรรมอื่นๆเช่นตัดบัตรเข้าออกไม่ให้เข้าตึกเข้าอาคาร ตัดสิทธิ์การใช้อีเมลคอมพิวเตอร์หรือเข้าสู่ระบบของบริษัท เป็นต้น แต่หากเป็นกรณีที่นายจ้างเรียกไปและให้เราพิจารณาตัวเองว่าจะลาออกไหมถ้าออกจะได้ค่าตอบแทนหรือข้อเสนอเงื่อนไขอะไรบ้างพฤติการณ์เพียงแค่นี้ยังไม่ถือเป็นการเลิกจ้างหากเราขาดงานไปเลย และนายจ้างตามกลับมา ก็ไม่กลับ ก็อาจจะกลายเป็นการ ละทิ้งหน้าที่และเป็นเหตุที่ให้นายจ้างเลิกจ้างได้โดยที่ลูกจ้างไม่ได้ค่าชดเชยไม่ได้ค่าเสียหายใดๆเลยนะคะ หลายท่านอ่านมาถึงตรงนี้ (สมมุติว่าอ่าน) ก็คงจะมีความรู้สึกว่าแล้วถ้าเป็นทนายล่ะนายจ้างเรียกไปคุยแบบนี้ยังจะอยู่ต่อหรอ?? ถ้าเอาจากตัวฝ้ายเองนะ ถ้านายจ้างเรียกไปคุยแล้วบอกว่าให้ไปลาออกซะ ไม่อยากให้มีประวัติติดตัว ออกไปดีๆ จะดีกว่า เราอาจเลือกทางใดทางหนึ่ง ดังนี้ ถ้าเราอยากออกเช่นกัน ไม่ใช่แกทนฉันไม่ได้ฝ่ายเดียว ฉันก็ทนแกไม่ได้เหมือนกันไอ่หัวโล้น…เราจะเลือกจบแบบที่จบง่ายๆเราก็จะต่อรองข้อเสนอก่อนที่จะยอมรับเงื่อนไขลาออก และถ้าได้ในแบบที่เรารับได้จึงทำกันทุกข้อตกลงให้ชัดเจนแล้วค่อยลาออก กับอีกทางนึงที่เรารู้สึกว่าเราเต็มที่กับบริษัทแล้ว การเลิกจ้างอย่างนี้มันไม่เป็นธรรม เราก็คงจะบอกว่าจะไม่มีกรณีการยื่นใบลาออกอยากเลิกจ้างก็ให้ออกหนังสือเลิกจ้างมาเลยแล้วไปเจอกันที่ศาลยอมเสียเวลา ซึ่งเราจะไม่หายไปเฉยๆไม่ปล่อยให้เวลาเป็นคำตอบเพราะเวลาอาจจะเป็นคำตอบได้ แต่อาจจะทำให้ฝ่ายลูกจ้างไม่ได้ค่าชดเชย หรือถ้าใครอยากอ่านดีบาร์ที่มีข้อเท็จจริงใกล้เคียงกันลองไปดู คำพิพากษาฎีกาที่ 5959/2557 นะ ลองไปพิจารณาดูนะคะเราเชื่อว่าไม่มีใครอยากให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้กับตัวเองแต่ถ้ามันเลี่ยงไม่ได้ มันไม่ได้เกิดจากการตัดสินใจของเราฝ่ายเดียว...

นายจ้างรู้ยัง ออกหนังสือเตือนด้วยพักงานด้วยก็ทำได้ ถ้าข้อบังคับเขียนไว้ !!

นายจ้างรู้ยัง ออกหนังสือเตือนด้วยพักงานด้วยก็ทำได้ ถ้าข้อบังคับเขียนไว้ !! คำพิพากษาที่กำลังจะมาเล่าในต่อไปนี้ เป็นคำพิพากษาที่น่าสนใจมากเพราะเป็นกรณีที่นายจ้างออกหนังสือเตือนแล้วก็ให้พักงานลูกจ้างต่อมาลูกจ้างก็ทำผิดซ้ำคำเตือนเดิมอีกนายจ้างจึงเลิกจ้าง!! จึงเป็นประเด็นโต้แย้งกันว่า… อ่าวเห้ย…ก็คราวที่แล้วเตือนแล้วพักงานแล้วด้วย ก็ถือว่าลงโทษไปแล้วนี่จะมาลงโทษซ้ำอีกได้ยังไง แบบนี้เป็นการเลิกจ้างที่ไม่ถูกต้องเลยนะ ต้องบอกก่อนว่าในกรณีนี้ “ทำได้จ้า” ถ้าข้อบังคับเปิดช่องไว้ โดย พิพากษาฎีกาที่ 1074/2558 ลงโทษพักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างและเตือนในคราวเดียวกันได้ ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน การที่ลูกจ้างทำความผิดครั้งแรกและบริษัทฯ ลงโทษด้วยการให้พักงาน 7 วัน โดยไม่ได้รับค่าจ้างและไม่ให้ลูกจ้างทำผิดซ้ำอีก หากยังกระทำผิดวินัยไม่ว่ากรณีใดๆ จะพิจารณาลงโทษขั้นปลดออกโดยไม่จ่ายค่าชดเชยใดๆ หนังสือเตือนดังกล่าว มีลักษณะเป็นหนังสือตักเตือน + เป็นการใช้ดุลพินิจในการใช้อำนาจบริหารจัดการของบริษัทที่จะลงโทษลูกจ้างหลายข้อรวมกันได้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัท*** ( สังเกตตรงดอกจานนี้ดีๆนะนั่นหมายความว่าข้อบังคับของบริษัทต้องเขียนไว้แบบนี้ด้วยว่าสามารถลงโทษหลายข้อรวมกันได้) การที่บริษัทลงโทษพักงานลูกจ้างและในขณะเดียวกันในคำสั่งลงโทษก็ยังมีคำเตือนอยู่ด้วย ก็ไม่ได้ทำให้หนังสือเตือนนั้นสิ้นผลไปด้วย เมื่อลูกจ้างแสดงกิริยาวาจาก้าวร้าว และท้าทายต่อผู้บังคับบัญชาจนถูกตักเตือนเป็นหนังสือมาแล้ว ต่อมาก็ยังทำผิดซ้ำเรื่องเดิมอีก เป็นการกระทำผิดลักษณะเดียวกันกับในหนังสือเตือน และยังไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่กระทำผิด ดังนู้น การกระทำของ ลูกจ้างจึงเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือน บริษั มีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 119 (4)

นายจ้างสั่งโยกย้ายถ้าเป็นคำสั่งโดยชอบและลูกจ้างไม่ไป สามารถเลิกจ้างได้ไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

นายจ้างสั่งโยกย้ายถ้าเป็นคำสั่งโดยชอบและลูกจ้างไม่ไป สามารถเลิกจ้างได้ไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับ ฎีกา และเรื่องราวที่ว่านายจ้างสั่งย้ายตำแหน่ง ย้ายสถานที่ทำงาน เมื่อเป็นการเปลี่ยนสภาพการจ้าง ลูกจ้างมีสิทธิไม่ไปนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย และเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม หากใครที่จำอย่างนั้นอยู่ต้องเข้าใจใหม่นะคะ ว่าจริงๆแล้วอำนาจหน้าที่ในการโยกย้ายตำแหน่ง หรือแม้แต่สถานที่ทำงานเป็นของนายจ้าง แต่ๆๆ การโยกย้ายนั่นจะต้องเป็นไปตามความจำเป็นของธุรกิจนายจ้าง+ ตำแหน่งที่ให้ย้ายและผลตอบแทนก็ต้องไม่ลดลง คือต้องเป็นธรรมกับลูกจ้างด้วย และ นายจ้างมีคำสั่งย้ายที่เป็นธรรมตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นแต่ลูกจ้างอ้างที่จะไม่ไปอย่างเดียว อาจเข้าข่ายฝ่าฝืนคำสั่งโยกย้ายที่เป็นเหตุให้นายจ้างเลิกจ้างได้ มาดูตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาที่ 13940/2557 เป็นกรณีฝ่าฝืนคำสั่งโยกย้าย เลิกจ้างได้ ถือเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม การที่บริษัทโยกย้ายลูกจ้างไปทำงานที่จังหวัดชัยนาท เป็นการย้ายลูกจ้างจากตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายผลิตไปดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายคลังสินค้าซึ่งเป็นตำแหน่งผู้บริหารระดับเดียวกัน แม้จะต้องเปลี่ยนสถานที่ทำงานจากกรุงเทพมหานครไปทำงานที่จังหวัดชัยนาทและต้องทำงานเพิ่มในวันเสาร์เป็น 6 วันทำงาน ( แตกต่างจากตำแหน่งเดิมของลูกจ้างที่ทำงานเพียง 5 วันทำงานก็ตาม **แต่เมื่อพิจารณาข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน กำหนดให้ พนักงานทุกท่าน ต้องทำงานสัปดาห์ละ 6 วันทำงาน และนายจ้างมีอำนาจโอนย้ายลูกจ้างไปทำงานในสถานที่ทำงานอื่นได้ ตามสัญญาจ้างแรงงาน ดังนั้น นายจ้างจึงมีอำนาจโยกย้ายลูกจ้างไปทำงานที่สำนักงานใหญ่จังหวัดชัยนาทได้โดยไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง เมื่อลูกจ้างไม่ปฏิบัติตามคำสั่งโยกย้ายของจึงเป็นการขัดคำสั่งนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายถือเป็นการไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 และเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควรแล้วไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ( แต่ค่าชดเชยต้องได้นะ ค่าชดเชยกับค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมเป็นคนละเรื่อง อันนี้มีรายละเอียดปลีกยอดอื่นๆด้วยลองไปอ่านในฎีกาเต็มดู) สรุปว่า แม้อำนาจในการโยกย้ายและบริหารการทำงานจะเป็นของนายจ้างก็ตาม แต่การโยกย้ายแบบนี้ก็จะต้องมี ค่าตอบแทนที่เพิ่มขึ้นให้ด้วยเช่นถ้าเกิดว่าเขามีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดกรุงเทพฯ...

ลาออกหนีความผิด นายจ้างก็ยังมีสิทธิ์”ไล่ออก”อยู่ดี

ลาออกหนีความผิด นายจ้างก็ยังมีสิทธิ์”ไล่ออก”อยู่ดี บางคนงงนะว่าเอ้าจะลาออกหรือไล่ออกก็ไม่เห็นเป็นไรไหนๆก็จะออก ไม่เหมือนกันนะคะ ในเรื่องสิทธิ์ จากของประกันสังคมเรื่องประวัติการทำงานก็แตกต่างกันอยู่แล้วโดยในกรณีลาออกหนีความผิดนี้ เคยเกิดมีขึ้นในฎีกาที่ 6998/2557 ลูกจ้างคาดหมายได้ว่าศาลแรงงานกลางอาจจะอนุญาตให้บริษัทลงโทษลูกจ้างโดยการไล่ออกหรือเลิกจ้าง ลูกจ้างจึงชิงลาออกซะเลยเพื่อไม่ให้กระบวนการพิจารณาในการขอลงโทษกรรมการลูกจ้างตามกฎหมายดำเนินต่อไปได้ พฤติการณ์ทั้งหลายส่อให้เห็นถึงความไม่สุจริตในการลาออกของลูกจ้างเอง เพื่อที่จะแสวงหาประโยชน์จากการลาออก เนื่องจากหากถูกเลิกจ้างหรือไล่ออกเพราะเหตุทุจริต ย่อมทำให้ลูกจ้างเสียสิทธิที่จะได้รับเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือสิทธิประโยชน์อื่นที่อาจจะได้รับตามกฎหมาย จึงเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยอา ศัยบทบัญญัติแห่งกฎหมายอย่างผิดทำนองคลองธรรมและขัดต่อต่อวัตถุประสงค์ของกฎหมาย แม้นายจ้างจะมีคำสั่งเลิกจ้างหลังจากลูกจ้างลาออก แต่ลูกจ้างอาศัยเหตุลาออกดังกล่าว มาเป็นมูลฟ้องร้องคดีนี้เพื่อให้เพิกถอนคำสั่งเลิกจ้างของเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเช่นนี้ ย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 จึงไม่อาจอ้างเหตุจากการลาออกโดยไม่สุจริตมาขอเพิกถอนคำสั่งไล่ออกเพื่อให้ตนเองได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ จากการลาออกและให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้

ค่าตกใจ ฟ้องย้อนหลังได้ 10ปี!!

ค่าตกใจ ฟ้องย้อนหลังได้ 10ปี!! หลายคนคงจะคุ้นๆกับคำว่าอายุความตามกฎหมาย อายุความหมายถึงอะไร?? คือระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดให้ใช้สิทธิเรียกร้อง สิทธิฟ้อง หรือสิทธิร้องทุกข์ หากปล่อยเนิ่นนานไปจนล่วงระยะเวลาดังกล่าวแล้ว สิทธิเช่นว่าจะเป็นอันยกขึ้นอ้างอีกไม่ได้ ซึ่งเรียกว่า “การขาดอายุความ” ดังนั้นลองมาดูอายุความที่เกี่ยวเนื่องกับการเลิกจ้างบ้างโดยในวันนี้จะหยิบยกเลิกอายุความเพราะค่าตกใจหรือที่เรียกอย่างเป็นทางการว่าติดตั้งแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าตกใจมีอายุความกี่ปี ?? ค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่น” ที่ลูกจ้างใช้สิทธิเรียกร้องเอาจากนายจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(9) หมายถึงสินจ้างตามมาตรา 575 ซึ่งเป็นสิทธิที่เกิดขึ้นตามสัญญาจ้าง แต่สิทธิที่จะได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าที่ลูกจ้างเรียกร้องเอาจากนายจ้างเป็นสิทธิที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากการเลิกจ้างภายหลังสัญญาจ้างสิ้นสุดแล้ว ไม่ใช่สิทธิตามสัญญาจ้าง ไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 193/34(9) จึงมีกำหนดอายุความ10ปีตามมาตรา 193/30 ถ้าอยากอ่านฎีกาเกี่ยวกับเรื่องนี้หรอกไปเจอ คำพิพากษาฎีกาที่ 13970-13971/2557 นะ

สัญญาบอกว่าห้ามไปประกอบธุรกิจ ลักษณะเดียวกับนายจ้างไม่งั้นจะมีค่าปรับ ดังนั้น ถ้าจ่ายค่าปรับแล้ว “ทำได้เลย!!”

สัญญาบอกว่าห้ามไปประกอบธุรกิจ ลักษณะเดียวกับนายจ้างไม่งั้นจะมีค่าปรับ ดังนั้น ถ้าจ่ายค่าปรับแล้ว “ทำได้เลย!!” คนจริงมันต้องแบบนี้!! หลายบริษัทมักจะเขียนกำหนดไว้ว่าหลังจากผู้ฝึกการจ้างไปแล้วไม่ว่าจะด้วยการเลิกจ้างหรือด้วยการลาออกเองก็ห้ามไปประกอบธุรกิจค้าแข่งกับบริษัทหรือในธุรกิจที่มีลักษณะเป็นอย่างเดียวกันกับบริษัท.. ถ้าไปจะมีค่าปรับนะ อนาคตกฎหมายก่อนถามว่าการกำหนดด้วยแบบนี้บังคับใช้ได้ไหมก็คงต้องตอบว่า “บังคับใช้ได้จริงค่ะ” แต่การที่จะไปเรียกค่าปรับนั้น ศาลก็จะพิจารณาจากว่าเขาทำตำแหน่งอะไร การไปเนี่ยมันทำให้บริษัทเดิมเสียหายไหม ส่วนค่าปรับเรียกสูงเกินส่วนไหมถ้าสูงเกินส่วนศาลก็มีสิทธิ์ปรับลดให้ เพราะค่าปรับ คือค่าเสียหายอนาคตไม่มีพยานหลักฐานว่าเกิดความเสียหายถึงขนาดจริง ดังนั้น เมื่อลูกจ้างรับผิดชำระค่าเสียหายแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะต้องมีคำสั่งห้ามไม่ให้ ไปประกอบกิจการในลักษณะที่สัญญาจ้างแรงงานห้ามไว้ ใครสนใจ ลองไปอ่านคำพิพากษาฎีกาที่ 2422/2557 เรื่องสัญญาฝึกอบรม นายจ้างกำหนดเบี้ยปรับได้ เป็นสัญญาที่เป็นธรรม

ครบเกษียณอายุ แม้นายจ้างไม่ได้บอกเลิกจ้าง ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยนับแต่วันครบกำหนดเกษียณ

ครบเกษียณอายุ แม้นายจ้างไม่ได้บอกเลิกจ้าง ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยนับแต่วันครบกำหนดเกษียณ แฟนเพจท่านนึง inbox มาถามว่า พ่อเกษียณแล้ว แต่นายจ้างเค้านิ่งๆ เราต้องส่งหนังสือยังไงไปค่ะพี่ทนาย หรือต้องรอนายจ้างส่งมา หนูลองเลื่อนอ่านแล้ว หาไม่เจอค่ะ น่ารักมากที่พยายามหาก่อน พี่รีโพสอีกทีนะคะ ^^ หากบริษัทมีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการเกษียณอายุไว้อย่างไร ก็บังคับไปตามนัน แต่ถ้าไม่มีระเบียบข้อบังคับกำหนดไว้ เมื่อลูกจ้างแสดงเจตนา ตาม ม.118/1 HR จะ ต้องดำเนินการ เพื่อที่จะจ่ายเงินค่าชดเชยให้ ตาม ม.118 และหากมีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของคุณพ่อระบุไว้ชัดเจนว่า พนักงานเกษียณเมื่อมีอายุครบ 60 ปี โดยพนักงานจะได้รับค่าชดเชยตามกฎหมาย สิทธิในการรับค่าชดเชยของพ่อน้องจึงเกิดขึ้นตั้งแต่มีอายุครบ 60 ปี โดยไม่คำนึงว่าหลังจากนั้นบริษัทจะยังคงจ้างต่อไปหรือเลิกจ้าง สิทธิดังกล่าวเกิดขึ้นจากข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัทที่ให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย แม้บริษัทมิได้เลิกจ้างโจทก์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 ก็ตาม นอกจากนี้ถ้าบริษัทเซนติเมตรไม่จ่ายก็ให้รู้ไว้ว่าเรามีสิทธิ์ได้รับดอกเบี้ยอีกด้วย กรณีของน้องนี้ใกล้เคียงกับ คำพิพากษาฎีกาที่ 1517/57 ลองไป search อ่านดูนะคะ น่าจะเป็นประโยชน์

ยุยงปั่นปวนให้เกิดความวุ่นวาย เลิกจ้างได้ “ไม่ต้อง” จ่ายค่าชดเชย !!

ยุยงปั่นปวนให้เกิดความวุ่นวาย เลิกจ้างได้”ไม่ต้อง”จ่ายค่าชดเชย!! เชื่อว่าหลายออฟฟิศคงมี คนที่ช่างยุยง พูดน้ำไหลไฟดับ พูดไปเรื่อย ให้นายจ้างเสียหาย คนแบบนี้เลิกจ้างได้ ไม่ต้องจ่ายชดเชย!! ตัวอย่างจากการยุยง ปั่นป่วนพูดไปเรื่อยจนนายจ้างเกิดความเสียหายมีมาแล้ว ในฎีกาที่ 13587/2556 โดยยุยงส่งเสริมให้เกิดความปั่นป่วนในหมู่พนักงานเกี่ยวกับการย้ายสถานประกอบการ โดยไปบอกพนักงานแผนกอื่นๆว่า บริษัทจะย้ายสำนักงานใหม่ ถ้าไม่ยอมไป เมื่อถึงเวลาย้ายจะถูกฟ้องนะ จนทำให้ผู้บริหารต้องประชุมชี้แจงว่าไม่เป็นความจริง พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นการเล็งเห็นผลได้ว่าอาจก่อให้เกิดความหวาดระแวงระหว่างพนักงานกับบริษัท ทำให้เกิดความปั่นป่วนในหมู่พนักงานอันจะส่งผลกระทบต่อการย้ายสถานประกอบกิจการของบริษัท เกิดความยุ่งยากมากขึ้น เป็นการกระทำอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตแล้ว ยังเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายอีกด้วย จึงเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 และไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 ( 2 ) จากฎีกาดังกล่าว จะเห็นแล้วว่าการพูดโดยไม่กลั่นกรอง อาจส่งผลเสียให้ตัวเองอย่างมาก [นี่สรุปแบบดีๆ] แต่ใฟ้สรุปแบบคนที่เพิ่งเจอสถานการณ์นี้ และต้องไปแก้ไขข่าวมา ก็อยากบอกพวกที่พูดไปเรื่อยว่า …. ปากอ่ะ ถ้าพูดเรื่องดีๆไม่ได้แนะนำให้เงียบ เก็บไว้ทาสีผึ้งแม่เลียบ หรือเก็บไว้กินข้าวนะ

ลูกจ้างลาไปเลือกตั้ง นายจ้างไม่ยอมให้ลาได้หรือไม่ ?

ลูกจ้างลาไปเลือกตั้ง นายจ้างไม่ยอมให้ลาได้หรือไม่ ? คดีเรื่องนึง ลูกจ้างได้ขออนุญาตลาเพื่อไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส. วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ที่จังหวัดนครราชสีมา แต่นายจ้างกลับไม่ยอมให้ลาเนื่องจากเป็นวันอาทิตย์ หากลูกจ้างจะลาจะต้องถูกหักค่าแรง 3 แรง แต่ลูกจ้างไม่ยอมให้หักและยืนยันจะไปเลือกตั้ง นายจ้างจึงตัดสินใจเลิกจ้างลูกจ้าง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การที่นายจ้างเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม เพราะไม่เป็นการจงใจขัดคำสั่งนายจ้าง ลูกจ้างไม่ได้นำพาต่อคำสั่งเป็นอาจิณหรือกระทำความผิดร้ายแรง เทียบเคียงจากคำพิพากษาดังกล่าวจะเห็นได้ว่า นายจ้างไม่สามารถไม่อนุญาตให้ลูกจ้างไปเลือกตั้งได้ เพราะหากคิดตามหลักกฎหมายการเลือกตั้งเป็นสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุด ดังนั้นในการเลือกตั้งที่จะถึงนี้ หากลูกจ้างจะลาไปใช้สิทธิเลือกตั้ง นายจ้างต้องเข้าใจสิทธิและหน้าที่ของลูกจ้างในส่วนนี้ด้วย (คำพิพากษาฎีกาที่ 13028/2558)

นายจ้างหักหนี้ค่าใช้จ่ายในการขอใบขออนุญาตทำงาน (work permit) จากเงินเดือนลูกจ้างได้หรือไม่ ?

นายจ้างหักหนี้ค่าใช้จ่ายในการขอใบขออนุญาตทำงาน (work permit) จากเงินเดือนลูกจ้างได้หรือไม่ ? ในกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้มีสัญชาติไทย ส่วนมากเมื่อนายจ้างตกลงว่าจ้างลูกจ้าง นายจ้างจะตกลงออกค่าใช้จ่ายในการขอใบอนุญาตทำงาน ได้แก่ ค่าธรรมเนียมในการยื่นคำขอ ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ค่าประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว ค่าตรวจสุขภาพแรงงานต่างชาติ ให้แก่ลูกจ้างก่อนและมาหักออกจากเงินเดือนของลูกจ้างในภายหลัง จึงมีกรณีที่ต้องพิจารณาว่า นายจ้างจะนำหนี้ค่าใช้จ่ายดังกว่ามาหักจากค่าจ้างของลูกจ้างได้หรือไม่ ศาลได้วินิจฉัยว่าต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์การหักค่าจ้างตามที่ได้กำหนดไว้ในมาตรา 76 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 การที่นายจ้างได้ออกค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดทำใบอนุญาตให้แก่ลูกจ้าง นอกจากจะเป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างที่จะสามารถเข้าทำงานให้แก่นายจ้างได้แล้ว นายจ้างเองก็ได้รับประโยชน์จากการทำงานของลูกจ้างเช่นกัน แต่หนี้ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายที่เป็นการจัดสิ่งที่เอื้ออำนวยให้ลูกจ้างมีชีวิตและสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและสะดวกสบายอันจะถือได้ว่าเป็นหนี้ที่เป็นไปเพื่อสวัสดิการที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างฝ่ายเดียวได้ ดังนั้น หนี้ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดทำใบอนุญาตทำงานดังกล่าวจึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่นายจ้างจะนำมาหักค่าใช้จ่ายจากเงินเดือนของลูกจ้างตามมาตรา 76 ข้อตกลงในสัญญาที่ยินยอมให้หักค่าจ้างจึงขัดแย้งกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ข้อความในสัญญาไม่มีผลบังคับได้ นายจ้างไม่มีสิทธิหักค่าจ้างของลูกจ้าง (คำพิพากษาฎีกาที่ 14016/2558)