กรุณารอสักครู่

 

HomeCategoryกฎหมายลิขสิทธิ์ Archives - Page 6 of 7 - บริษัท ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น จำกัด

กินแล้วชักดาบมีสิทธิ์ติดคุก !!

กินแล้วชักดาบมีสิทธิติดคุก!! หลายท่านอ่านหัวข้อนี้ก็เข้าใจทันทีเพราะเพิ่งจะมีข่าวไปไม่นานนี้กับกรณีที่มีลูกค้ารายหนึ่งสั่งอาหารทานและไม่จ่ายแล้วทำแบบนี้กับหลายร้าน จึงมีประเด็นคำถามขึ้นว่า นอกจากทางร้านจะเรียกเก็บเงินทางร้านมีสิทธิ์แจ้งความดำเนินคดีอย่างไรบ้างมาฟังกันนะคะ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 345 บัญญัติว่า ใครที่สั่งซื้อและบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่ม หรือเข้าอยู่ในโรงแรม โดยรู้ว่าตนไม่สามารถชำระเงินค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม หรือค่าอยู่ในโรงแรมนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ดังนี้แล้วกินเท่าที่มียินดีในความเป็นอยู่อย่าไปหลอกไปรวงสั่งซื้อหรือเขาอยู่ในที่ที่เกินข้อจำกัดด้านการเงินของเราเลยค่ะนอกจากจะสร้างความเดือดร้อนให้กับตนเองแล้วยังสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่นด้วย

จะรู้ได้ยังไงว่าแอพที่เรายืมเงินคือมิจฉาชีพ !!

จะรู้ได้ยังไงว่าแอพที่เรายืมเงินคือมิจฉาชีพ!! แฟนเพจหลายท่านนะคะถามเข้ามาว่าในช่วงที่ชักหน้าไม่ถึงหลังแบบนี้ก็ไปยืมเงินนอกระบบมาจากแอพพลิเคชั่นหนึ่งมีการติดต่อประสานงานผ่าน LINE โดยแฟนเพจก็ให้ข้อมูลส่วนตัวไปมากมายเพื่อใช้ทำสัญญากู้จนถึงขั้นตอนสุดท้าย บุคคลที่อ้างตัวว่าเป็นเจ้าหน้าที่ ก็บอกว่าการกู้สำเร็จแล้วแต่ผู้กู้จะต้องโอนเงินค่าดอกเบี้ยจ่ายไปก่อน ไม่ก็บอกว่าหากไม่มีผู้ค้ำจะต้องถูกหักก่อนเป็นจำนวนเงินจำนวนนึง เมื่อผู้กู้ตกใจไม่อยากโอนเงินไปก็บอกว่ามีค่าดำเนินการหากไม่โอนมาจะใช้สิทธิ์ฟ้องร้องตามกฎหมายมั้ย หนูกลัวติดคุก หนูกลัวถูกยึดทรัพย์ หรือบางรายหนักกว่านั้นผู้กู้หลงเชื่อโอนเงินดอกเบี้ยไปก่อนแต่ก็ไม่มีเงินกู้เข้ามาในบัญชีแบบนี้ทำอย่างไรได้บ้าง 1. อย่างแรกเลยนะคะถ้ามิจฉาชีพขู่จะฟ้องร้องกรณีที่เราไม่โอนเงินค่าดอกเบี้ย ไม่โอนค่าดำเนินการเข้าไป.. ไม่ต้องเชื่อค่ะเพราะเขาคือมิจฉาชีพ ไม่ต้องสนใจใดใดทั้งนั้น 2. แจ้งความด้วยน้ำหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เช่นหน้าจอ LINE ที่แชทคุยกันเลขบัญชีที่ให้เราโอนเงินไปนำเข้าไปแจ้งความร้องทุกข์ที่สถานีตำรวจ และถ้าอยากให้ตอบแบบข้อกฎหมายทนอ่านนิดนึงนะคะเดี๋ยวจะเล่าให้ฟัง 1.การกู้ยืมมีองค์ประกอบ 2 ประการ คือ หากกู้เกิน 2000 บาทต้องมีการทำสัญญาหรือมีหลักฐานอื่นๆ เช่นไลน์ “และ” ต้อง “มีหลักฐานการส่งมอบเงินที่กู้ยืม” 2. การกู้ยืมเป็นคดีแพ่งค่ะไอ้เรื่องหูว่าจะแจ้งความให้ติดคุกแค่พูดมามันก็มั่วแล้วไม่ต้องไปเชื่อ เคยแนะนำไปแบบนี้ แต่เจอแฟนเพจถามกลับมาว่าแล้วจะรู้ได้ยังไงว่าคนนั้นเป็นมิจฉาชีพจริงๆเค้าอาจจะเป็นแอพเงินกู้จริงๆก็ได้หนูกังวลมากเลย… ลองดูการกู้เงินในระบบนะคะมันไม่ได้ง่ายแค่มีบัตรประชาชนแล้วให้กู้ได้เลย หรือแม้แต่กู้นอกระบบเค้ายังต้องมีการค้ำประกันหรือเป็นคนที่ได้มาเจอกันจริงๆเป็นหลักเป็นแหล่งเลยไม่ใช่แค่ผ่านแอพอย่างแน่นอน อยากจะบอกว่าเวลาทนายแนะนำเนี่ยไม่เชื่อแต่คุยกับมิจฉาชีพดันเชื่ออันนี้ทนายเองก็น้อยใจนะคะ ทนายอาจจะพูดแรงนิดนึงนะแต่นี่ก็เพื่อประโยชน์ของตัวเองท่านเอง …. สังคมออนไลน์หรือโซเชียลเนี่ยนอกจากมีไว้เพื่อความบันเทิงใจไว้อ่านข่าวสาร หากยังมีตังเติมอินเตอร์เน็ตอยู่ ก็หาอ่านอะไรที่เป็นประโยชน์บ้างนะคะจะจากเพจไหนก็ได้ดู Pages ที่เป็นความรู้รอบรอบตัวยาเสพติดแต่คอนเทนท์คลายเครียดมันเติมความรู้บ้างจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อค่ะ สุดท้ายนี้ก็หวังว่าจะไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพนะคะ

อัดวีดีโอแทนการเขียนพินัยกรรมสามารถทำได้หรือไม่ ?

ในยุคที่เทคโนโลยีเปลี่ยนไป หลายคนอาจจะเกิดความสงสัยว่าการอัดวิดีโอก็สะดวกดี และก็สามารถพิสูจน์ได้ด้วยว่าผู้ทำพินัยกรรมแสดงเจตนานั้นไว้อีกจริงๆ ไม่ต้องไปพิสูจน์ลายมือชื่อกันอีก จึงเกิดคำถามว่าการอัดวีดีโอแทนการเขียนพินัยกรรมสามารถทำได้หรือไม่และจะมีผลทางกฎหมายหรือเปล่า Find my lawyer ตอบคำถาม คลายข้อสงสัยในใจ ดังนี้ แบบของพินัยกรรม มี 5 แบบ คือ 1. พินัยกรรมแบบธรรมดา (อ้างอิงตามป.พ.พ. มาตรา 1656) 2. พินัยกรรมเขียนเองทั้งฉบับ (อ้างอิงตามป.พ.พ. มาตรา 1657) 3. พินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง (อ้างอิงตามป.พ.พ. มาตรา 1658) 4. พินัยกรรมทำเป็นเอกสารลับ (อ้างอิงตามป.พ.พ. มาตรา 1660) 5. พินัยกรรมทำด้วยวาจา (อ้างอิงตามป.พ.พ. มาตรา 1663) จากแบบของพินัยกรรมตามที่กฎหมายกำหนดข้างต้นจะเห็นได้ว่ามีเพียง 5 แบบ เท่านั้น แต่ละแบบมีวิธีการรายละเอียดในการบริการแตกต่างกันไป (เดี๋ยววันหลังจะมาขยายความให้ฟังในแต่ละแบบนะคะ) ดังนั้นจึงสามารถตอบคำถามได้เลยว่าการอัดวิดีโอแทนการทำพินัยกรรมนั้น “ ไม่มีผลทางกฎหมาย“ ดังนั้นเพื่อเป็นการแสดงเจตนาก่อนตายเพราะผู้ทำพินัยกรรมว่านายกทรัพย์สินให้กับใครบ้างและเพื่อให้พินัยกรรมนั้นมีผลตามการแสดงเจตนานั้น จึงต้องเลือกทำพินัยกรรมแบบใดแบบหนึ่งข้างต้นค่ะ

การไกล่เกลี่ย ก่อนฟ้อง-หลังฟ้อง ต่างกันอย่างไร

การไกล่เกลี่ยเกิดขึ้นได้ทั้งก่อนไปศาลและในชั้นศาล แต่ก็มีความแตกต่าง ส่งนแตกต่างกันอย่างไรนั้น ลองดูตามภาพเลยนะคะ

ภรรยาเซ็นค้ำประกัน แต่ทำไมธนาคารยึดบ้านที่เป็นกรรมสิทธิ์ของสามีแทน

ภรรยาเซ็นค้ำประกัน แต่ทำไมธนาคารยึดบ้านที่เป็นกรรมสิทธิ์ของสามีแทน??? อุทธาหรณ์การค้ำประกันวันนี้ เนื่องจากมีลูกความร้อนใจปรึกษาว่า จู่ๆ พอสามีกลับไปถึงบ้านก็จอหมายยึดทรัพย์แขวนอยู่หน้าบ้าน โดยระบุว่าบ้านโดนยึดขายทอดตลาด สามีก็งงเลยสิคะเพราะหนี้ค่าบ้านทุกวันนี้ก็จ่ายปกติ แถมตัวเองก็ไม่เคยไปมีหนี้ที่อื่นหรือค้ำประกันใครที่ไหน ทำไมอยู่ดีๆ บ้านโดนยึดได้ ไปๆ มาๆ พอมาดูเอกสารดีๆ ปรากฏว่า ต้นตอมาจากคดีที่ภรรยาถูกธนาคารฟ้องเป็นจำเลยร่วมในฐานะผู้ค้ำประกัน ซึ่งตัวภรรยาเองยังคงมีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัดทำให้ตัวเองไม่เคยรู้ว่าถูกฟ้องเป็นคดีมาก่อน มารู้อีกทีคือ ลูกหนี้ขาดนัดพิจารณา แพ้คดี แถมตัวลูกหนี้เองก็ไม่มีทรัพย์สินให้ยึด จนสุดท้ายธนาคารต้องมาตามยึดทรัพย์ของผู้ค้ำประกันแทน แถมเคราะห์ซ้ำกรรมซัดก็คือ บ้านที่ยึดดันไม่ได้เป็นกรรมสิทธิ์ของภรรยา แต่ดันเป็นของสามีอีก จากข้อเท็จจริงดังกล่าวลูกความเลยสงสัยมากว่า ในเมื่อบ้านเป็นชื่อของสามี ไม่ใช่ชื่อภรรยา แต่ทำไมธนาคารสามารถกลับยึดบ้านของสามีได้ด้วยล่ะ? วันนี้เรามีคำตอบมาฝากกันค่ะ แม้ว่าบ้านหลังดังกล่าวจะไม่ใช่เป็นกรรมสิทธิ์ของภรรยาก็ตาม แต่บ้านหลังดังกล่าวถือเป็นสินสมรสตามมาตรา 1474 (1) (เฉพาะกรณีที่ได้บ้านหลังดังกล่าวมาในระหว่างสมรส) ประกอบกับมาตรา 1499 (2) ที่ได้กำหนดให้หนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันนั้น รวมถึงหนี้ใดๆที่สามีหรือภริยาก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรสด้วย ด้วยเหตุดังกล่าว เมื่อหนี้ค้ำประกันเกิดในระหว่างสมรสจึงถือว่าสามีภริยาเป็นหนี้ร่วมกัน เมื่อภริยาแพ้คดีและตกเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ธนาคารในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงสามารถนำยึดบ้านที่เป็นกรรมสิทธิ์ของสามีในฐานะสินสมรสได้ ดังนั้นก่อนเซ็นค้ำประกันให้ใคร อย่าลืมดูเครดิตลูกหนี้ให้ดีด้วยนะคะ มิเช่นนั้นอาจเป็นปัญหาครอบครัวได้ (แต่ถ้าจะให้ดีที่สุดอย่าเซ็นค้ำประกันให้ใครดีกว่าค่า)

ผู้ตายทำพินัยกรรมไว้แล้ว ยังต้องตั้งผู้จัดการมรดกหรือไม่ ?

เมื่อเจ้ามรดกตายและทำพินัยกรรมเอาไว้แล้ว เรายังต้องยื่นคำร้องต่อศาลขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกหรือไม่ เป็นอีกหนึ่งคำถามที่คนยังสงสัยกันอยู่ วันนี้มีคำตอบมาฝากทุกคนกันค่ะ ถึงแม้ว่าเจ้ามรดกจะทำพินัยกรรมเอาไว้ก่อนเสียชีวิตก็ตาม แต่ในการจัดการทรัพย์สินยังคงต้องมีผู้จัดการมรดกเป็นตัวแทนในการดำเนินการติดต่อหน่วยงานราชการ/เอกชน ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว หน่วยงานต่างๆ เรานี้ยังคงต้องการคำสั่งแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของศาลอยู่ค่ะ ดังนั้นถึงแม้เราจะมีพินัยกรรมตัวจริงและถือพินัยกรรมตัวจริงไป เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆ จะยังไม่ดำเนินการโอนทรัพย์สินของเจ้ามรดกให้เรา จนกว่าเราจะมีคำสั่งแต่งตั้งผู้จัดการมรดกจากศาลนะคะ โดยการขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกทำได้โดยการยื่นคำร้องต่อศาลซึ่งจะใช้ระยะเวลาดำเนินการประมาณ 3-6 เดือน ขึ้นอยู่กับวันนัดของศาลแต่ละท้องที่ด้วยค่ะ และสำหรับใครที่มีปัญหาด้านกฎหมายต้องการติดต่อหาทนายความเพื่อดำเนินการใช้สิทธิ์เรียกร้องตามกฏหมาย หรือแม้แต่ขั้นตอนการสืบบุคคล สืบทรัพย์สินก็สามารถติดต่อได้ที่ info@legalclinic.co.th #ที่ปรึกษากฎหมาย #ทนายความ #สืบทรัพย์ #สืบก่อนแต่ง #นำยึด #วิทยากรสอนกฎหมาย #วิทยากรอารมณ์ดี

สามีซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลด้วยเงินส่วนตัวเมื่อถูกรางวัลเงินรางวัลจะเป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัว ??

สามีซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลด้วยเงินส่วนตัวเมื่อถูกรางวัลเงินรางวัลจะเป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัว?? แม้นว่าเป็นคำตอบที่ปวดใจกับคุณสามี แต่ก็เป็นคำตอบในทางกฎหมายนะคะ เพราะคำตอบคือ “แม้ว่าจะซื้อสลากกินแบ่งด้วยเงินส่วนตัวเมื่อถูกรางวัลเงินดังกล่าวย่อมกลายเป็นสินสมรส” และเพื่อยกตัวอย่างให้มันชัดเจนขึ้นมีคำพิพากษาศาลฎีกา 1053 / 2537 ได้พิพากษาไว้ว่าสามีใช้เงินของสามีซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลก่อนจดทะเบียนสมรสกับภรรยาต่อมาสลากกินแบ่งรัฐบาลออกรางวัลหลังจากที่สามีภรรยาจดทะเบียนสมรสกันแล้วเงินรางวัลที่สามีได้รับจากการถูกสลากกินแบ่งรัฐบาลระหว่างสมรสจึงถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสย่อมเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1475 (1)

สามีเสียชีวิต ภรรยาจะได้มรดกเท่าไร ?

สามีเสียชีวิต ภรรยาจะได้มรดกเท่าไร ? หลายคนอาจจะเข้าใจผิดว่าหากเมื่อสามีเสียชีวิต ภรรยาจะต้องได้รับทรัพย์มรดกทั้งหมด กรณีนี้ภรรยาถือเป็นทายาทโดยธรรมตามกฎหมาย มีสิทธิได้รับมรดกกึ่งหนึ่ง โดยจะแบ่งกับทายาทโดยธรรม 6 ลำดับที่มีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังตามลำดับได้รับคนละกึ่งหนึ่ง ทั้งนี้ ภรรยาต้องเป็นภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกในเวลาตาย คือจะต้องมีการจดทะเบียนสมรสกันในเวลาสามีตาย หรือแม้แต่หย่าร้างกันหรือแยกกันอยู่โดยมิได้หย่าขาดจากกันก็ยังถือว่าเป็นทายาทอยู่ย่อมมีสิทธิรับมรดกของสามี ยกตัวอย่าง หากสามีเสียชีวิต โดยที่ไม่มีลูกด้วยกันและพ่อแม่ของสามีเสียชีวิตไปก่อนแล้ว ภรรยาก็จะต้องแบ่งมรดกคนละครึ่งหนึ่งกับทายาทโดยธรรมลำดับ 3 คือ พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

บุตรนอกกฎหมาย หากบิดาเซ็นรับรองก็มีสิทธิ์ได้รับมรดก

บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วมีสิทธิ์ได้รับมรดกของบิดาเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย อันนี้เป็นคำถามที่ถามกันมาบ่อย นอกจากวิธีการรับรองบุตรแล้วก็ยังมีเรื่องสิทธิในการรับมรดกของบิดา กับคำถามกรณีที่ว่าบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วมีสิทธิ์ได้รับมรดกเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ คำตอบสำหรับคำถามนี้ ขออ้างอิงคำพิพากษาที่ 3753 / 2535 มาเป็นคำตอบ กรณีที่โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายของ ส และ ส บิดาได้รับรองแล้วก็ถือว่าโจทก์เป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของ ส และเป็นทายาทโดยทำมีสิทธิ์ได้รับมรดกของ ส ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1627 1629 (1) โจทก์ย่อมมีสิทธิ์ได้รับมาดกทันทีที่ ส ถึงแก่ความตายตามมาตรา 1599 วรรคแรก โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์เป็นทายาทผู้มีสิทธิ์ได้รับมรดกก่อนหรือไม่โจทก์จะมีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยแบ่งซับมรดกให้แก่โจทก์ได้ หวังว่าผู้ที่สอบถามเข้ามาได้รับคำตอบและคลายความกังวลใจนะคะ และสำหรับใครที่มีปัญหาด้านกฎหมายต้องการติดต่อหาทนายความเพื่อดำเนินการใช้สิทธิ์เรียกร้องตามกฏหมาย หรือแม้แต่ขั้นตอนการสืบบุคคล สืบทรัพย์สินก็สามารถติดต่อได้ที่ info@legalclinic.co.th #ที่ปรึกษากฎหมาย #ทนายความ #สืบทรัพย์ #สืบก่อนแต่ง #นำยึด #วิทยากรสอนกฎหมาย

ระวังชวดมรดก !! หากผู้รับมรดกเซ็นเป็นพยานเสียเอง

ระวังให้ดีผู้รับมรดกตามพินัยกรรม จะเซ็นเป็นพยานในพินัยกรรมไม่ได้!! หลายหลายคนมักจะถามเพียงว่าพินัยกรรมทำอย่างไรพินัยกรรมมีกี่แบบ ต้องฝากไว้ที่ใคร แต่ข้อสำคัญบางประการที่อาจทำให้พินัยกรรมตกไปเป็นโมฆะนั่น คือทายาทผู้รับมรดกตามพินัยกรรมลงลายมือชื่อเป็นพยานในพินัยกรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1653 กำหนดห้ามไม่ให้พยานในพินัยกรรมเป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมนั้น และถ้าหากดันไปลงลายมือชื่อผลก็คือย่อมทำให้ทรัพย์มรดกที่ผู้ตายยกให้ตกเป็นโมฆะและกลับไปแบ่งตามลำดับทายาทตามเดิม อ้างอิงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5404 / 2533 พยานในพินัยกรรมจะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมไม่ได้ตามความหมายแห่งประมวลแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1653 วรรคหนึ่งหมายถึงพยานซึ่งต้องลงลายมือชื่อในใบพินัยกรรมที่ทำขึ้นนั้น การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมนั่งอยู่ด้วยขณะที่ผู้ตายทำพินัยกรรม “แต่ไม่ได้ลงลายมือชื่อเป็นพยาน” ในพินัยกรรมก็ไม่ได้ทำให้พินัยกรรมนั้นตกไป พินัยกรรมนั้นไม่เป็นโมฆะและยังสามารถยกให้จำเลยได้ตามเจตนาของผู้ตาย สำหรับใครที่มีปัญหาด้านกฎหมายต้องการติดต่อหาทนายความเพื่อดำเนินการใช้สิทธิ์เรียกร้องตามกฏหมาย หรือแม้แต่ขั้นตอนการสืบบุคคล สืบทรัพย์สินก็สามารถติดต่อได้ที่ info@legalclinic.co.th #ที่ปรึกษากฎหมาย #ทนายความ #สืบทรัพย์ #สืบก่อนแต่ง #นำยึด #วิทยากรสอนกฎหมาย