กรุณารอสักครู่

 

HomeCategoryกฏหมายแรงงาน Archives - Page 22 of 68 - บริษัท ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น จำกัด

ลูกจ้างลักทรัพย์นายจ้าง แม้จะชดใช้คืนแล้วก็ยังต้องถูกดำเนินคดี

ลูกจ้างลักทรัพย์นายจ้าง แม้จะชดใช้คืนแล้วก็ยังต้องถูกดำเนินคดี ความผิดลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้าง เป็นการลักทรัพย์ในเหตุฉกรรจ์ที่ทำให้ผู้กระทำความผิดต้องรับโทษหนักขึ้นต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 10,000 บาท และความผิดอาญาฐานนี้ เป็นความผิดอาญาต่อแผ่นดิน ไม่อาจยอมความกันได้ เมื่อนายจ้างไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานแล้ว ลูกจ้างจะมาไกล่เกลี่ย ขอชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมด แล้วขอให้นายจ้างยอมความไม่ได้ ลูกจ้างก็ยังคงต้องถูกดำเนินคดีต่อไป จนกว่าจะมีคำพิพากษาของศาล แต่กรณีลูกจ้างชดใช้ให้นายจ้างก็เป็นการบรรเทาความเสียหายให้นายจ้าง ที่ศาลจะหยิบยกมาพิจารณาในการพิพากษาลงโทษก็เป็นดุลพินิจของศาล ก็อาจจะให้ได้รับโทษน้อยลงหรือรอลงอาญาได้ วันนี้ดูมาทางทน๊ายทนายก็เพราะว่าเพิ่งไปฟังคำพิพากษาคดีลักทรัพย์นายจ้างนี่แหละ เกือบทุกคดีที่ฟังศาลมีคำพิพากษาให้ลูกจ้างจำคุกและชดใช้ค่าเสียหาย จึงมาเตือนกันหน่อย ว่าอย่าคิดสั้นขโมยของนายจ้างนะ ติดคุกจริง!!

หนูลาออกโดยแจ้งล่วงหน้าไม่ถึง 30 วัน นายจ้างเลยไม่จ่ายเงินเดือน แล้วบอกว่าจะฟ้องหนูด้วย ทำยังไงได้บ้างคะ

หนูลาออกโดยแจ้งล่วงหน้าไม่ถึง 30 วัน นายจ้างเลยไม่จ่ายเงินเดือน แล้วบอกว่าจะฟ้องหนูด้วย ทำยังไงได้บ้างคะ คำถามนี้เป็นคำถามที่เจอแทบทุกวันเลย ดังนั้นอยากให้ทุกคนลองทำความเข้าใจกับโพสต์นี้ดูโดยขอแยกตอบออกเป็น 2 เรื่อง แบบนี้ ข้อ 1. นายจ้างจะไม่จ่ายเงิน “ไม่ได้” เพราะว่าเป็นเงินส่วนที่เราทำงานไปแล้วและนายจ้างไม่มีสิทธิ์หัก ตามกฎหมายใดๆทั้งสิ้น เว้นแต่เราจะไปเซ็นยอมรับว่าทำให้เกิดความเสียหาย ข้อ 2. นายจ้างจะฟ้องทำยังไงดี?? ก็ถ้าเขาจะฟ้องจริงๆก็ทำอะไรไม่ได้ค่ะ ก็ให้เขาฟ้องไป มีหมายศาลมาเราก็มีหน้าที่ไป ส่วนนายจ้างมีหน้าที่พิสูจน์ให้ศาล เห็นเพื่อพิจารณาว่าการที่เราลาออกโดยไม่บอกล่วงหน้าเขาเสียหายอย่างไรและศาลก็จะเป็นผู้ใช้ดุลพินิจของศาล ในส่วนของเราก็เตรียมตัวไปศาลแล้วก็โต้แย้งไป การไปศาลจำเป็นต้องใช้ทนายหรือไม่?? ถ้าทุนทรัพย์ไม่อำนวยก็ไม่ต้องจ้างค่ะไปที่ศาลได้เลยเพราะศาลแรงงานเป็นระบบไต่สวนศาลจะทำหน้าที่ถามตัวลูกจ้างให้เองและจะพิจารณาตัดสินคดีหากลูกจ้างไม่พอใจก็ใช้สิทธิ์อุทธรณ์ได้ค่ะ.. แต่ถ้าอยากอุ่นใจมีทนายคอยอธิบาย และคอยดำเนินการแทนในชั้นศาลก็จ้างได้แล้วแต่เลยค่ะ ส่วนคนที่ถามว่าแล้วนายจ้างจะฟ้องมั้ยคะ?? เธอออออ เธอต้องมีสตินะ T^T ทนายก็บอกได้แค่ว่าเขามีสิทธิ์แต่เขาจะฟ้องไหม ไม่รู้เลย ตอบแทนเขาไม่ได้ อยากรู้ให้ถามเขาค่ะแต่ก็ไม่แนะนำให้ถามเดี๋ยวเหมือนไปยั่วยุกันอีก แล้วถ้าเขาฟ้องจะฟ้องเรามาเป็นทุนทรัพย์เท่าไหร่ก็ตอบไม่ได้อีกเพราะไม่รู้ค่ะ ฟ้องมาเท่าไหร่ไม่ได้หมายความว่าเขาจะได้เท่านั้นเขาต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นกลับไปอ่านวรรคข้างบนอีกทีนึง เพื่อความสบายใจของตัวเอง ดังนั้นเพื่อลดความกังวลใจความไม่สบายใจ ก่อนจะลาออกก็แจ้งให้ถูกต้องตามกฎหมายหรือตามข้อตกลงที่มีร่วมกันไว้นะคะ แต่หากมีเหตุจำเป็นจริงๆก็เข้าไปคุยกับนายจ้างให้เข้าใจถึงเหตุจำเป็นนั้น เพื่อลดข้อพิพาทในอนาคตและลดความไม่สบายใจที่จะเกิดขึ้นด้วยค่ะ

ลูกจ้างทำผิดร้ายแรงแต่นายจ้าง ไม่ลงโทษ ในภายหลังจะนำมาเป็นเหตุเลิกจ้างอีกไม่ได้

ลูกจ้างทำผิดร้ายแรงแต่นายจ้าง ไม่ลงโทษ ในภายหลังจะนำมาเป็นเหตุเลิกจ้างอีกไม่ได้ คนเราทำผิด 1 ครั้งก็สมควรได้รับการพิจารณาลงโทษ 1 ครั้ง ดังนั้นหากกรณีที่ลูกจ้างทำผิดไปแล้วแต่นายจ้างมองว่าอภัยได้ไม่ลงโทษแต่ต่อมาเหม็นขี้หน้ากันพูดจาขัดหูจะนำความผิดเดิมนั้นมาลงโทษทำไม่ได้ เพราะถือว่าเป็นการลงโทษซ้ำแล้วก็ขัดต่อหลักกฎหมาย อ่านมาถึงตรงนี้ถ้านายจ้างเกิดคำถามว่าอ้าวต่อให้ลงโทษช้าแต่เขาทำผิดจริงนี่ ทำไมจะเอามาลงโทษไม่ได้ ลองมาคิดดูนะว่าถ้าสมมุติว่าเป็นตัวเราเองทำผิดไปแล้วครั้งนึง นายจ้างทราบแล้วและเขาก็ไม่ถือโทษโกรธเคืองอะไรเลย อยากให้ทำงานต่อไป ต่อมา นึกอยากจะเอาออกก็เอาเรื่องเดิมมาพูดซ้ำ ไม่ต้องพูดถึงกฎหมายแรงงานหรอกค่ะพูดถึงการใช้ชีวิตจริงๆการเอาเรื่องในอดีตที่เคยให้อภัยมาแล้วมาพูดซ้ำก็เป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเข้าใจได้ ก็เหมือนความรักนั่นแหละรู้ว่ามันจะเป็นบาดแผลในใจถ้าเกิดว่าเขาทำผิด ร้ายแรงไปแล้ว แต่ถ้าจะกลับมาอยู่ด้วยกันต่อก็ต้องให้อภัยถ้าทุกครั้งยังหยิบเรื่องนั้นมาพูดอีก แล้วมาเป็นบทลงโทษหรือเป็นสาเหตุในการเลิกกัน ฟังแค่นี้ก็รู้แล้วว่าจริงๆแล้ว สาเหตุการเลิกมันไม่ใช่เรื่องเดิม พอเรื่องเดิมมาได้รับการอภัยแล้ว ดังนั้นจะสานต่อหรือปล่อยไปก็ให้พิจารณาให้ดีนะคะ หมายถึงเรื่องนายจ้างลูกจ้างพวกเธอคิดอะไรกัน

ถูกเลิกจ้างกะทันหันมีสิทธิ์ได้อะไรบ้าง ?

ถูกเลิกจ้างกะทันหันมีสิทธิ์ได้อะไรบ้าง ? ก่อนอื่นต้องบอกนะคะว่าสิ่งที่จะได้ตามที่กำลังจะบอกต่อไปนี้จะต้องเป็นกรณีที่ลูกจ้างถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้มีความผิดตามมาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานเท่านั้น ซึ่งถ้าถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้กระทำผิดลูกจ้างมีสิทธิดังนี้ค่ะ 1. ค่าจ้างในส่วนที่ทำงานมาแล้ว 2. เงินต่างๆที่ได้ สำรองจ่ายให้แก่นายจ้าง เช่น ค่าสินค้าเบ็ดเตล็ดค่าอุปกรณ์ต่างๆที่ได้ออกเงินตัวเองไปก่อน ( ซึ่งต้องสามารถเบิกจ่ายได้ตามระเบียบนะไม่ว่าเขาไม่ได้ให้ไปซื้อแล้วไปซื้อนะอันนั้นคนละเรื่อง) 3. ค่าชดเชยตามระยะเวลาการทำงาน ( ทำงานกี่ปีได้เท่าไหร่ search ดูใน Google ได้เลย) 4. ค่าตกใจหรือค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ( ด้วยถ้าตกใจนี้ไม่ใช่ 1 เดือนนะคะอาจจะมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับว่านายจ้างบอกเลิกจ้าง น้อยกว่า 1 งวดการจ่ายค่าจ้างหรือไม่ เรียกได้ว่าบอกผิดชีวิตเปลี่ยนจากจะเสีย 1 เดือนมีโอกาสเสียสูงถึงเกือบ 2 เดือ ก็เป็นได้) ส่วนเรื่องนี้เคยเขียนไว้แล้วนะคะว่าค่าตกใจไม่ใช่ 1 เดือนเสมอไปลองเลื่อนอ่านดู 5. ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมซึ่งเป็นหลังนี้ต้องพร้อมที่ศาลแรงงานและให้ศาลเป็นผู้ใช้ดุลพินิจตัดสินนะคะว่าจะได้เท่าไหร่ไม่ได้มีหลักเกณฑ์กำหนดไว้ตายตัว หลายๆครั้งนะคะก็จะเกิดการโต้แย้งกันระหว่างลูกจ้างกับนายจ้างว่าการเลิกจ้างนี้เป็นการเลิกจ้าง ที่ลูกจ้างกระทำผิดพลาด ในส่วนของคนเลิกจ้างก็บอกว่าลูกจ้างกระทำผิดถึงไล่ออกจึงไม่มีสิทธิ์ได้รับเงินชดเชยอะไรทั้งนั้น แต่ในส่วนของลูกจ้างเองก็บอกว่าไม่ได้ผิดอะไรเลยต้องได้สิในกรณีนี้ไปเลยค่ะกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงานในเขตพื้นที่หรือศาลแรงงาน ไปเล่าเรื่องราวให้เขาฟัง และ นำคดี เข้าสู่กระบวนการพิจารณานะคะ อย่างไรก็ตามในคดีแรงงาน สำหรับลูกจ้างไม่มีทนายความก็ยังทำได้ค่ะแต่ถ้าอยากอุ่นใจติดต่อมาใช้บริการได้ ที่ Info@legalclinic.co.th...

พนักงานไม่เคยใช้ลาพักร้อนเลยแบบนี้บริษัทจะต้องจ่ายเงิน ข้ามาทำงานวันหยุดให้กับพนักงานไหมคะ?

พนักงานไม่เคยใช้ลาพักร้อนเลยแบบนี้บริษัทจะต้องจ่ายเงิน ข้ามาทำงานวันหยุดให้กับพนักงานไหมคะ?? อ่านคำถามแล้วอยากจะมอบโล่จริงๆ แล้วถ้าเกิดโอนถ่ายวันลาพักร้อนกันได้แล้วก็อยากจะขอบ้างเพราะที่มีอยู่ไม่เคยพอเลย อย่างที่เคยบอกไปในโพสก่อนๆ ว่านายจ้างต้องจัดวันลาพักร้อนให้กับพนักงานไม่น้อยกว่า 6 วันทำงานต่อปีหรือจะมากกว่านั้นก็ได้ กรณีที่นายจ้างไม่ให้พนักงานไม่ใช้เลยนายจ้างก็จะต้องจ่ายค่าจ้างในการทำงานวันหยุด แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าเกิดว่าลูกจ้างมีไฟในการทำงาน แล้วไม่อยากลาเลย ในกรณีนี้นายจ้างเอง ก็อยากให้ลูกจ้างลาไปซะเพราะไม่อยากจ่ายค่าทำงานวันหยุด ก็อาจจะต้องให้ลูกจ้างทำหนังสือสละสิทธิ์ ไม่ใช้วันหยุดพักผ่อนหรือไม่ใช้ลาพักร้อน นายจ้างจึงจะไม่ต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดพักร้อนค่ะ ติดต่อ งานบรรยาย งานคดีความและที่ปรึกษากฎหมาย info@legalclinic.co.th

ลูกจ้างไม่ยอมลงชื่อในหนังสือเลิกจ้าง..จะเลิกจ้างได้มั้ยคะ ?

ลูกจ้างไม่ยอมลงชื่อในหนังสือเลิกจ้าง..จะเลิกจ้างได้มั้ยคะ?? น้อง HR ที่เข้ามาถามคำถามนี้มีความกังวลว่า ถ้าเกิดว่าลูกจ้างไม่ยอมลง ชื่อในหนังสือเลิกจ้างการเลิกจ้างจะมีผลหรือไม่ และผลในอนาคตต่อไปจะเป็นยังไงคะ ก่อนอื่นอยากให้น้องเข้าใจก่อนว่าการที่นายจ้างเลิกจ้าง ลูกจ้าง ไม่จำเป็นต้องให้ลูกจ้างยินยอม แต่เป็นความประสงค์ฝ่ายเดียวของนายจ้าง… ซึ่งการเลิกจ้างนี้ลูกจ้างจะได้ค่าชดเชยหรือไม่ก็ต้องดูว่านายจ้างเลิกจ้างเนื่องด้วยเหตุอะไร หากเป็นการเลิกจ้างที่เข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 119 แห่งพรบคุ้มครองแรงงานนายจ้างก็มีสิทธิที่จะไม่จ่ายค่าชดเชย การลาออกก็เช่นกันไม่จำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากนายจ้างก่อน อย่างเดียวที่ต้องเห็นตรงกันในการทำงานคือ แรกเริ่มในการร่วมงานด้วยกันนายจ้าง ก็ต้องตกลงลูกจ้างก็ต้องตกลงกันทั้งสองฝ่ายถึงวันเวลาทำงานลักษณะหน้าที่เงินเดือนสภาพการจ้างต่างๆ ถ้าให้จำง่ายๆ ก็เหมือนความรักนั่นแหละ แรกเริ่มเมื่อตอนจะคบกันก็ต้องตกลงกันทั้งสองฝ่าย แต่ตอนเลิกกัน ไม่จำเป็นต้องตกลงก็ได้แค่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง บอกเลิก ก็จบแล้ว มีผลเหมือนกัน บางคนบอกว่าอ้าวบางคู่ก็ตกลงเลิกกันได้นี่ไม่จำเป็นต้องฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นคนบอกเลิกตกลงเลิกกันทั้งคู่ได้. แบบนี้การเลิกจ้างเหมือนกันไหมคะ คำตอบคือก็ทำได้เหมือนกันค่ะทำเป็นบันทึกข้อตกลงร่วมกัน ว่าจะสิ้นสุดการทำงานด้วยกันแล้วแบบนี้ก็ได้เช่นกัน การทำงานก็เหมือนความรักแหละ ไม่ใช่ดีอย่างเดียว เหนื่อยด้วย ติดต่องานบรรยาย ที่ปรึกษากฎหมาย คดีความ Info@legalclinic.co.th

ถูกกดดันให้เขียนใบลาออก สามารถฟ้องเรียกค่าชดเชยได้!!

ถูกกดดันให้เขียนใบลาออก สามารถฟ้องเรียกค่าชดเชยได้!! เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินเรื่องนี้มาบ้าง ว่า ถ้าถูกกดดันให้เขียนใบลาออกสามารถฟ้องเรียกค่าชดเชยได้ …. ซึ่งถูกต้องค่ะ แต่ประเด็นพิจารณาหลายๆกรณีคือแบบไหนถึงเรียกว่าถูกกดดันให้ลาออก เรามาดูตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่ศาลวินิจฉัยว่ากรณีแบบนี้ถือว่าเป็นการกดดันให้เขียนใบลาออกนะคะ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4052/2548 จำเลยเป็นฝ่ายบีบบังคับให้โจทก์ยื่นใบลาออก โดยพูดว่าหากไม่ยื่นใบลาออกจะเลิกจ้างโดย ไม่จ่ายค่าชดเชย ในภาวะเช่นนั้นโจทก์ซึ่งอยู่ใน ฐานะลูกจ้างย่อมเกิดความกลัวและยอมทำ ใบลาออกให้แก่จำเลย การเขียนใบลาออกของ โจทก์จึงเกิดขึ้นเพราะการพูดข่มขู่ของจำเลย พฤติการณ์ดังกล่าวประกอบกับการที่จำเลย อนุมัติให้โจทก์ลาออกทันทีฟังได้ว่า จำเลยมี เจตนาจะไม่ให้โจทก์ทำงานกับจำเลยต่อไปและจะไม่จ่ายค่าจ้าง ดังนั้นพฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ ว่าเป็นการเลิกจ้าง ส่วนจะมีกรณีใดพฤติการณ์ไหนอีกบ้างรอติดตามกันในโพสต์ต่อไปค่ะ ติดต่อ งานบรรยาย งานคดีความและที่ปรึกษากฎหมาย info@legalclinic.co.th

ตัวแทนขายสินค้า ถือว่าเป็นผู้ครอบครองสินค้าหรือเงินค่าสินค้าของตัวการ หากเบียดบังสินค้าหรือเงินไป จะมีความผิดอาญาฐานยักยอกทรัพย์ 

ตัวแทนขายสินค้า ถือว่าเป็นผู้ครอบครองสินค้าหรือเงินค่าสินค้าของตัวการ หากเบียดบังสินค้าหรือเงินไป จะมีความผิดอาญาฐานยักยอกทรัพย์ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 445/2536 ส. ภรรยาจำเลยมีหน้าที่จำหน่ายสินค้าและรับเงินค่าสินค้าของโจทก์ร่วม ได้รับเงินสดค่าสินค้าจากลูกค้าของโจทก์ร่วมไว้แล้วไม่นำเงินสดที่รับไว้ส่งมอบให้แก่แคชเชียร์ แต่เบียดบังเอาเงินสดนั้นไปเป็นของตนเองหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต จึงเป็นการยักยอกทรัพย์ของโจทก์ร่วม บัญชีกระแสรายวันของจำเลยมีรายการหมุนเวียนทางการเงินมากการนำเงินเข้าฝากและถอนเงินจากบัญชีแต่ละรายการมีจำนวนมากกว่ารายได้ตามปกติของจำเลยและส.ส.นำเงินฝากเข้าบัญชีจำเลยช่วงระยะเวลาเดียวกับที่ ส.ยักยอกเงินของโจทก์ร่วมและเมื่อส.นำเงินเข้าฝากแล้ว จำเลยได้ออกเช็คสั่งจ่ายเงินจากบัญชีใกล้เคียงกับจำนวนเงินที่ ส. นำเข้าฝาก การถอนเงินโดยสั่งจ่ายเช็คบางฉบับจำเลยก็สั่งจ่ายเพื่อชำระค่าที่ดินพร้อมตึกแถวที่จำเลยกับ ส. ไปติดต่อซื้อด้วยกัน โดยที่ดินพร้อมตึกแถวดังกล่าว มีราคาสูงเกินกว่าฐานะและรายได้ตามปกติของจำเลยกับ ส.ที่จะซื้อได้ พฤติการณ์ถือได้ว่าจำเลยได้รับเอาเงินฝากนั้นไว้ทุกคราวที่ ส.นำเข้าฝากโดยจำเลยรู้ว่าส. ได้เงินนั้นมาจากการยักยอกโจทก์ร่วม จำเลยจึงมีความผิดฐานรับของโจร ส. นำเงินเข้าฝากในบัญชีของจำเลยต่างวันเวลากัน จำเลยจึงมีความผิดหลายกรรมต่างกัน ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏชัดว่าการบังคับคดี ส. ได้เงินมาชำระหนี้ให้โจทก์ร่วมเท่าใด ครบถ้วนแล้วหรือไม่ จะฟังว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ร่วมหาได้ไม่และหากโจทก์ร่วมบังคับคดี ส.แล้วจะบังคับคดีจำเลยได้อีกเพียงใดนั้นเป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี

นายจ้างเฉลี่ย ให้ใช้ลากิจ 4 เดือนได้ 1 ครั้ง แบบนี้ทำไม่ได้!!

นายจ้างเฉลี่ย ให้ใช้ลากิจ 4 เดือนได้ 1 ครั้ง แบบนี้ทำไม่ได้!! คำถาม inbox วันนี้เป็นคำถามที่ต้องเปิดอ่านซ้ำ เพราะมีเพื่อน HR ท่านนึงถามว่า “นายจ้างให้กำหนดสัดส่วนวันลากิจ เช่นใน 4 เดือนได้ 1 ครั้ง รวมเป็น 1 ปีลากิจได้ 3 ครั้ง บอกว่าเป็นไปตามกฎหมาย” เป็นไปตามกฎหมายอะไรอ่ะ ฮืออออ… “ตามพพรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 34 ประกอบมาตรา 57/1 กำหนดให้ลูกจ้างสามารถลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ไม่น้อยกว่า 3 วันทำงานต่อปี โดยมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานปกติตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 3 วันทำงานต่อปี ” กำหนดแค่นี้เลยไม่ได้กำหนดสัดส่วนไว้ นายจ้างเองอาจจะต้องพิจารณาด้วยนะบางเรื่องที่มันเป็นกิจธุระอันจำเป็นมันทำวันเดียวไม่เสร็จกฎหมายเขาก็กำหนดระยะเวลาไว้ชัดเจนแล้วว่า ให้ลูกจ้างรายได้ไม่น้อยกว่า 3 วันทำงานต่อปี ที่นี้ในมุมนึงนายจ้างก็บอกว่างั้นหมายความว่าเข้ามาเดือนนึงก็ลากิจได้ 3 วันเลยหรอ?? ” ใช่ค่ะถ้ามันเป็นกิจธุระอันจำเป็นที่คนอื่นทำแทนไม่ได้ รวมถึงกิจธุระส่วนตัวของครอบครัวที่คนอื่นไม่สามารถทำแทนได้ “ คือในการตีความกฎหมายเรามองว่าอย่าตีความอย่างแคบนักเลย บางเรื่องกฎหมายกำหนดมาให้แล้วก็ยังไปตีความยังแคบเพื่อตัดสิทธิ์จำกัดสิทธิ์กันอีกแน่นอนค่ะในมุมนายจ้างเราเข้าใจว่าอยากให้ทุกคนทำงานให้คุ้มเงินเดือน แต่นายจ้างก็ต้องคำนึงถึงสิทธิความเป็นมนุษย์ของลูกจ้างด้วย...

นายจ้างไม่คืนหลักประกันทำไงดี รึกว่าจะได้คืนก็โคตรนาน เรียกดอกเบี้ยไหมคะพี่ทนาย ?

นายจ้างไม่คืนหลักประกันทำไงดี รึกว่าจะได้คืนก็โคตรนาน เรียกดอกเบี้ยไหมคะพี่ทนาย ? นอกจากเรื่องเรียกหลักประกัน ไม่ถูกต้องแล้ว เรื่องปัญหาการคืนหลักประกันก็เป็นปัญหาหนึ่งที่มีคน inbox เข้ามาเยอะ โดยก่อนอื่นควรจะต้องทราบก่อนว่านายจ้างมีหน้าที่คือหลักประกันเมื่อใด โดยพรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 10 วรรคสอง กำหนดว่า “ในกรณีที่นายจ้างเรียกหรือรับหลักประกัน หรือทำสัญญาประกันกับลูกจ้างเพื่อชดใช้ความเสียหายที่ลูกจ้างเป็นผู้กระทำ เมื่อนายจ้างเลิกจ้าง หรือลูกจ้างลาออกหรือสัญญาประกันสิ้นอายุให้นายจ้างคืนหลักประกันพร้อมดอกเบี้ย ถ้ามี ให้แก่ลูกจ้างภายใน7 วันนับแต่วันที่นายจ้างเลิกจ้างหรือวันที่ลูกจ้างลาออก หรือวันที่สัญญาประกันสิ้นอายุ แล้วแต่กรณี” ดังนั้น หากนายจ้างไม่คืนหลักประกัน ภายในกำหนดเวลา 7 วันนับแต่วันเลิกจ้าง กฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัด ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี และถ้าการไม่คืน เป็นความจงใจหรือไม่มีเหตุผลอันสมควร นายจ้างจะต้องเสียเงินเพิ่มอีกในอัตราร้อยละ 15 ของทุกระยะเวลา 7 วัน จนกว่าจะจ่ายครบ ส่วนนายจ้างที่บอกว่าในสัญญาก็เขียนไว้ว่าจะคืนภายใน 6 เดือนหรือภายใน 1 ปีแบบนี้ยังต้องคืนภายใน 7 วันอีกหรือไม่เพราะลูกจ้างก็เซ็นรับทราบไปแล้ว กรณีนี้ถือได้ว่าเป็นการทำสัญญาที่ขัดกับความสงบเรียบร้อยจึงไม่มีผลบังคับใช้นายจ้างยังต้องคืนภายใน 7 วันนะคะ