กรุณารอสักครู่

 

HomeCategoryกฏหมายแรงงาน Archives - Page 15 of 68 - บริษัท ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น จำกัด

ทำสัญญาให้ลูกจ้างเซ็นว่า…  เมื่อเกษียณ จะไม่ขอรับค่าชดเชย  สัญญาดังกล่าว…บังคับใช้ไม่ได้จริง!!

อ่านฎีกานี้เข้าไปมีคำถามเดียวผุดขึ้นมาในใจคือ “ใครแนะนำให้เขาทำอ่ะ” นายจ้างหลายคนยังเข้าใจผิดอยู่นะคะว่า การที่ให้ลูกจ้างเซ็นอะไรไปแล้ว ลูกจ้างก็จะต้องผูกพันตามที่เซ็น  ซึ่ง “ไม่ใช่ค่ะ” ลูกจ้างบางคนยอมเซ็นทั้งๆที่รู้ว่ามันไม่ถูกต้อง บางคนเพราะไม่อยากหางานใหม่ ยังมีความจำเป็นและยอมๆไปก่อน เซ็นไป แต่สำหรับลูกจ้างที่มีความรู้ความเข้าใจและหาข้อมูลด้านกฎหมายแรงงานเป็นอย่างดี เขาเซ็นไปค่ะ เพราะเขารู้ว่าบังคับใช้ไม่ได้จริงและเรื่องเหล่านี้มีอายุความในการฟ้องนั่นหมายความว่าต่อให้คุณเลิกจ้างเขาไปแล้วเขาก็ยังฟ้องได้อยู่ ส่วนลูกจ้างมาประเภทที่ไม่หาข้อมูลอะไรเลย เน้นเม้นลบ ไม่เน้นเรียนรู้ อันนี้ข้ามนะ ไม่กล่าวถึง เหนื่อยใจ อ่ะเข้าข้อกฎหมายบ้าง… มันยังมีอยู ตลาดบางบริษัทที่เขียนอะไรมาก็ช่างให้มันผิดกฎหมายไว้ก่อนและให้ลูกจ้างเซ็นในกรณีนี้ผลทางกฎหมายคืออะไรมาดูกัน ในกรณีที่จำเลยมีความจำเป็นหรือเพื่อความเหมาะสมโจทก์ยินยอมให้จำเลยใช้สิทธิยกเลิกสัญญานี้ได้ทันที โดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้าและจำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยหรือค่าเสียหายใด ๆ ทั้งสิ้นขัดต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 ที่กำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งถูกเลิกจ้างตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนการที่จำเลยทำสัญญากับโจทก์ให้ผิดแผกแตกต่างไปจากข้อที่กฎหมายกำหนดไว้และทำให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างได้รับความเสียหาย จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ไม่มีผลใช้บังคับ ทั้งการจ้างโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งผู้อำนวยการก็เป็นการจ้างเข้าทำงานในตำแหน่งงานปกติของจำเลย จึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา  118 วรรคสาม จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้าง หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ ไม่มากก็น้อยนะคะ ติดต่อจ้างงาน info@legalclinic.co.th ไม่จ้างแต่อยากปรึกษากดโอนและสนับสนุนเพจแล้วถามมาใน inbox ค่ะ

ลูกจ้างลาป่วยไม่ถึง 3 วัน มีสิทธิปฏิเสธไม่แสดงใบรับรองแพทย์ได้

ลูกจ้างลาป่วยไม่ถึง 3 วัน มีสิทธิปฏิเสธไม่แสดงใบรับรองแพทย์ได้ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา32 ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง การลาป่วย ตั้งแต่ 3 วันทำงานขึ้นไป นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองของแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งของสถานพยาบาลของทางราชการ ในกรณีที่ลูกจ้างไม่อาจแสดงใบรับรองของแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือของสถานพยาบาลของทางราชการได้ ให้ลูกจ้างชี้แจงให้นายจ้างทราบ ส่วนสิทธิการรับค่าจ้างขณะลาป่วยนั้น มาตรา 57 วรรคแรก กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง ในวันลาป่วยเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ปีหนึ่งต้องไม่เกิน 30 วัน หากบริษัทมีการกำหนดให้ลาป่วย 1 หรือ 2 วัน ต้องใช้ใบรับรองแพทย์มาประกอบการลานั้น ถือว่าไม่สอดคล้องกับกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ลูกจ้างมีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่ต้องแสดงใบรับรองแพทย์ได้ ไม่ถือว่าผิด แต่ถ้ามีลูกจ้างประเภทลาป่วยบ่อย ๆ จนนายจ้างไม่แน่ใจว่า ป่วยจริงหรือป่วยการเมือง นายจ้างก็มีสิทธิที่จะให้ลูกจ้างเข้ารับการตรวจโดยแพทย์ที่นายจ้างจัดหาได้ หากนายจ้างสั่งแล้วลูกจ้างปฏิเสธไม่ยอมเข้ารับการตรวจ นายจ้างมีหนังสือเตือนได้ สรุปแล้วถ้าลูกจ้างป่วยจริงไม่ถึง 3 วัน มีสิทธิปฏิเสธไม่แสดงใบรับรองแพทย์ได้นั่นเอง

หลักเกณฑ์ การอายัดเงินเดือน

หลักเกณฑ์ การอายัดเงินเดือน 1. เงินเดือน ค่าจ้าง บำเหน็จ บำนาญ เบี้ยหวัด ของลูกหนี้ที่เป็นข้าราช หรือลูกจ้างประจำของข้าราชการ ไม่สามารถทำการอายัดได้ 2. ลูกหนี้ที่เป็นลูกจ้างพนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานเอกชน จะถูกอายัดเงินเดือน โดยห้ามอายังเงินเดือนที่ลูกหนี้มีเงินได้ต่ำกว่า เดือนละ 20,000 บาท โดยหากมากว่านั้นก็ จะหักออกจาเงินเดือนทั้งหมด 30% แต่ก็จะไม่ให้ต่ำกว่า 20,000 บาทเช่นกัน 3.เงินโบนัส สามารถอายัดได้ให้ไม่เกินร้อยละ 50 4. เบี้ยขยัน ค่าล่วงเวลา อายัดให้ไม่เกินร้อยละ 30 5. เงินตอบแทนกรณีออกจากงาน บำเหน็จ ค่าชดเชย หรือรายได้อื่นที่มีลักษณะเดียวกัน สามารถอายัดได้ แต่จำนวนต้องไม่เกิน 300,000 บาท หรือตามจำนวนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควร 6. บัญชีเงินฝากธนาคาร สามารถอายัดได้ทั้งหมด แต่ก็ต้องไม่เกินจำนวนหนี้ตามหมายบังคับคดี 7.เงินในสหกรณ์ออมทรัพย์ จำพวกเงินปันผล เงินเฉลี่ยคืน และเงินค่าหุ้น เจ้าหนี้สามารถอายัดได้ ก็ต่อเมื่อสิ้นสุดการเป็นสมาชิกภาพแล้ว 8. บำเหน็จตกทอด...

นายจ้างเบี้ยวไม่จ่ายทั้งค่าจ้าง ค่าเลิกจ้าง และยังไม่ยอมค่าชดเชย ระวังเจอ “คุก”

นายจ้างเบี้ยวไม่จ่ายทั้งค่าจ้าง ค่าเลิกจ้าง และยังไม่ยอมค่าชดเชย ระวังเจอ “คุก” กฎหมายคุ้มครองแรงงานเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนและเป็นกฎหมายที่นายจ้างอาจมีความรับผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญา ซึ่งมีโทษทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 120/1เมื่อคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานพิจารณาคำร้องตามมาตรา 120 วรรค 5 แล้ว เห็นว่า ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าชดเชยพิเศษ ให้คณะกรรมการสวัสดิการแรงงานสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าชดเชยพิเศษ แล้วแต่กรณี ให้แก่ลูกจ้างภายใน 30 วัน นับแต่วันที่นายจ้างทราบคำสั่ง แต่หากนายจ้างฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานของนายจ้าง มีความผิดอาญาต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท ดังนั้นถ้านายจ้างจะมาอ้างว่า ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย คงจะไม่ได้เสียแค่เงิน แต่ต้องเสียอิสรภาพ และได้ไปทำความรู้จักกับ “คุก” แบบใกล้ชิดเลยแหละ เตือนแล้วนะ!!

แฟนเพจหลายคนถามเรื่องนายจ้างขอลดเงินเดือน โดยมีคำถามดังนี้

ในช่วงนี้มีแฟนเพจหลายคนถามเรื่องนายจ้างขอลดเงินเดือน โดยมีคำถามดังนี้ 👉 1. ถ้าเราไม่ยินยอม นายจ้างจะสามารถลดเงินเดือนได้หรือเปล่า 👉2. ถ้าเราไม่ยินยอมและนายจ้างไล่ออกทำอย่างไรได้บ้าง 👉3.ยอมถูกลดเงินเดือนมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้วจนถึงปัจจุบัน โดยไม่เคยโต้แย้ง ผลทางกฎหมายเป็นอย่างไร 👉4.นายจ้างแจ้งล่วงหน้าว่าจะลดเงินเดือนถึงเดือนที่เท่าไหร่จำเป็นต้องยอมหรือไม่ และทำอย่างไรได้บ้าง คลินิกกฎหมายแรงงานขอ รวบรวมคำตอบไว้ในโพสต์นี้เลยนะคะ 1.✅ การลดเงินเดือนหรือลดค่าจ้างนั้น เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างเกี่ยวกับจำนวนค่าจ้างและเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เป็นคุณกับลูกจ้าง ตามหลักกฎหมายแล้วนายจ้างจะกระทำไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากลูกจ้างเสียก่อน 2.✅ดังนั้นลูกจ้างก็มีสิทธิ์ “ยินยอม หรือ ไม่ยินยอมก็ได้” นายจ้างจะบีบบังคับหักคอไม่ได้ 3.✅ถ้าลูกจ้างไม่ยินยอมให้ลด แต่นายจ้างยังยืนยันที่จะลดและจ่ายเงินเดือนไม่ครบถ้วนลูกจ้างสามารถไปเรียกร้องสิทธิ์ได้ที่กรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงานในเขตพื้นที่ตนทำงานอยู่หรือฟ้องร้องต่อศาลได้ 4.✅และหาก ในกรณีที่ลูกจ้างไม่ยินยอมให้ลดเงินเดือน แต่นายจ้างกลับไล่ออกเลย ถือว่าเป็นการไล่ออกโดยที่ลูกจ้างไม่มีความผิด ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยตามอายุการทำงาน สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า (ค่าตกใจ) ขึ้นอยู่กับกรณีว่านายจ้างให้ออกทันทีหรือมีการแจ้งล่วงหน้าหรือไม่ หากนายจ้างมีการแจ้งล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า 1 งวดการจ่ายค่าจ้างนายจ้างก็ไม่ต้องจ่ายค่าตกใจ รวมถึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม(ต้องพิสูจน์) 5.✅กรณีถูกลดเงินเดือนมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้วจนถึงปัจจุบันผลทางกฎหมายมีแน่นอนอยู่แล้วเพราะถือว่าลูกจ้างยินยอมให้เปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยปริยาย 📌📌 มาถึงตรงนี้หลายคนคงมีคำถามว่า “เวลานานพอสมควรถือว่ายินยอมโดยปริยาย” คำว่าเวลานานพอสมควรแค่ไหน ซึ่งตรงนี้ไม่มีข้อกฎหมายบัญญัติไว้โดยตรงต้องดูเป็นพฤติการณ์และรายกรณีไป จึงขอหยิบยกตัวอย่างการยินยอมโดยปริยายจากคำพิพากษา ที่ว่ากันด้วยเรื่องการให้ความยินยอมโดยปริยายดังนี้ 📝 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1921/2545 ” จำเลยประสบวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ จึงขอลดค่าจ้างของโจทก์และลูกจ้างอื่น โดยจำเลยเรียกประชุมผู้จัดการทุกฝ่ายรวมทั้งโจทก์เพื่อแจ้งเรื่องการลดเงินเดือน...

จะลาป่วย…แต่นายจ้างให้ใช้ลาพักร้อนแทน แบบนี้ก็ได้เหรอ?

จะลาป่วยแต่นายจ้างให้ใช้ลาพักร้อนแทน แบบนี้ก็ได้เหรอ? “อโรคยา ปรมาลาภา” การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ แต่พอไม่สบายต้องการจะลาป่วย นายจ้างกลับบอกให้ใช้วันลาพักร้อนให้หมดก่อนซะอย่างงั้น นายจ้างอาจจะมองว่าลูกจ้างลาป่วยแต่ยังต้องจ่ายเงิน เลยให้ใช้พักร้อนซึ่งยังไงก็ต้องจ่ายเงินอยู่แล้วซึ่งกฎหมายบังคับให้หยุดได้ 6 วัน ดูจะเป็นประโยชน์กับนายจ้างมากกว่า ตาม พรบ. คุ้มครองแรงงาน 2541 มาตรา 32 ให้ลูกจ้างลาป่วยได้ เท่าที่ป่วยจริง มาตรา 57 ให้นายจ้าง จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง เท่ากับอัตราค่าจ้างในวันทำงาน ในปีหนึ่ง ต้องไม่เกิน 30 วันทำงาน และหาก ลาป่วยมากกว่า 3 วันทำงาน ต้องแสดงใบรับรองแพทย์ ให้แก่นายจ้าง ในกรณีที่นายจ้างไม่ปฎิบัติตามกฎหมายของนายจ้าง ลูกจ้างสามารถเก็บหลักฐาน และยื่นร้องเรียนได้ทางสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ลาป่วยต้องนอนพัก แต่ถ้าเกิดอกหักต้องลาอะไร….

หากศาลมีคำสั่งแล้ว บริษัทนายจ้างยังดื้อแพ่งไม่ยอมจ่ายเงิน ลูกจ้างจะทำอย่างไร?

หากศาลมีคำสั่งแล้ว บริษัทนายจ้างยังดื้อแพ่งไม่ยอมจ่ายเงิน ลูกจ้างจะทำอย่างไร? ถ้าบริษัทนายจ้าง (ลูกหนี้) ยังไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล ขั้นตอนต่อไป ลูกจ้าง(เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) สามารถยื่นคำร้องต่อศาล ตาม ปวิพ. ม.321 (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง | มาตรา 321 | การขอให้ศาลบังคับบุคคลภายนอกชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้อง) “ถ้าบุคคลภายนอกไม่ชำระหนี้ตามคำสั่งอายัดของศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีตามมาตรา 316 ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทราบ ในกรณีเช่นว่านี้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอาจยื่นคำร้องต่อศาลให้บังคับบุคคลภายนอกนั้นปฏิบัติการชำระหนี้ตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งหรือชำระค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ได้ เมื่อศาลทำการไต่สวนแล้วถ้าเป็นที่พอใจว่าสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้นมีอยู่จริงและอาจบังคับได้ จะมีคำสั่งให้บุคคลภายนอกปฏิบัติการชำระหนี้ตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งหรือให้ชำระค่าสินไหมทดแทนตามจำนวนที่เห็นสมควรก็ได้ ถ้าบุคคลภายนอกนั้นมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของศาล เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอาจร้องขอให้ศาลบังคับคดีแก่บุคคลภายนอกนั้นเสมือนหนึ่งว่าเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาก็ได้” สรุปก็คือ ศาลจะออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อให้ลูกจ้าง(เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา)มีสิทธิยึดอายัดทรัพย์สินของบริษัทนายจ้าง เช่น อายัดเงินฝากในบัญชีธนาคาร หรืออายัดเงินค่าจ้าง เสมือนบริษัทนายจ้างเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้นเอง

บริษัททำได้ด้วยเหรอ? ให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา แลกกับวันหยุดที่เพิ่มขึ้น

บริษัททำได้ด้วยเหรอ? ให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา แลกกับวันหยุดที่เพิ่มขึ้น เมื่อนายจ้าง ขอช่วยให้มาทำงานวันหยุด แต่ไม่จ่ายค่าล่วงเวลาให้ แต่เสนอให้เป็นโควต้าวันหยุดแทน นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างทำงานวันหยุดประจำสัปดาห์ จำนวน 1 วัน แล้วบอกพนักงานว่าจะชดเชยการทำงานในวันหยุดนี้ ด้วยการให้วันลาพักร้อนเพิ่มอีก 1 วัน อ้างอิงตาม พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541มาตรา 61 “ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงานให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลา ให้แก่ลูกจ้างในอัตราไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวน ชั่วโมงที่ทำ หรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงาน” การทำงานล่วงเวลา การให้ไปแลกหยุดวันอื่นแทน หรือสามารถสะสมไปเป็นวันหยุด ไม่สามารถทำได้ เพราะมันไม่ใช่ “เงิน” จึงสรุปได้ว่าค่าล่วงเวลา (โอที) ต้องจ่ายเป็นเงินเท่านั้น ไม่สามารถชดเชยเป็นวันหยุดได้ *แต่อย่าลืมว่าการจ่ายค่าล่วงเวลามีกรณียกเว้น ตามมาตรา 65 ลูกจ้างซึ่งมีอำนาจหน้าที่ทำการแทนนายจ้างสำหรับกรณีการจ้าง การให้บำเหน็จ การลดค่าจ้าง หรือการเลิกจ้าง ไม่มิสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามมาตรา 61

นายจ้างประกาศใช้ระเบียบใหม่ ไม่มีใครโต้แย้ง ถือว่ายอมรับโดยปริยาย

นายจ้างประกาศใช้ระเบียบใหม่ ไม่มีใครโต้แย้ง ถือว่ายอมรับโดยปริยาย เรื่องนี้เป็นคดีน่าสนใจที่บังเอิญว่ามีคำพิพากษา ได้วินิจฉัยไว้ในแนวเดียวกันเลยคือเรื่องของพนักงานขายรายนึง ที่มีการมาปรึกษาว่า นายจ้างได้ มีการเปลี่ยนแปลงการคำนวณค่าคอมมิชชั่นใหม่ ต่อมาเมื่อมีการเลิกจ้างค่าคอมมิชชั่นจะคำนวณจากแบบเดิมหรือแบบใหม่?? เมื่อสอบถามรายละเอียดแล้วพบว่าเรื่องของการเปลี่ยนแปลงค่าคอมมิชชั่นก็มีประกาศไว้เมื่อหลายเดือนแล้ว น้องลูกจ้างท่านนี้ก็รู้สึกว่าเงื่อนไขใหม่ก็อาจจะไม่ได้เป็นประโยชน์เท่ากับเงื่อนไขเก่ามากนักแต่ก็ไม่ได้โต้แย้งและเบิกจ่ายปฏิบัติตามเงื่อนไขใหม่มาโดยตลอด ดังนั้นในกรณีนี้ เมื่อมีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และระเบียบปฏิบัติตามสภาพการจ้างที่กำหนดไว้ โดยไม่มีข้อโต้แย้ง ก็ต้องถือว่ายอมรับโดยปริยาย คำพิพากษาฎีกาที่ 15162/2557 ติดต่องาน info@legalclinic.co.th

รู้หรือไม่!! ค่าตกใจมีอายุความฟ้องร้องได้ภายใน 10 ปี

รู้หรือไม่!! ค่าตกใจมีอายุความฟ้องร้องได้ภายใน 10 ปี ก่อนโพสต์เรื่องนี้ก็คิดอยู่นานเหมือนกันว่าจะโดนนายจ้างมองขวางมั้ยนะ 🤔 แต่เมื่อทบทวนดีแล้วก็พบว่าการโพสต์เรื่องนี้จริงๆหากมองอย่างไม่อคติก็จะเป็นประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ก็ถ้าฝั่งนายจ้างทำให้ถูกต้องก็ไม่มีเรื่องอะไรจะต้องกังวล ดังนั้นโพสต์นี้มาเรียนรู้และทำความเข้าใจไปพร้อมๆกันเพื่อจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องทั้งฝั่งนายจ้างและลูกจ้างนะคะ – สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ( หรือที่เรียกภาษาบ้านๆว่าค่าตกใจ) – ค่าชดเชยและ – ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมนั้น “ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความเอาไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนดอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30” ในคดีหนึ่งเมื่อลูกจ้าง ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวยังไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันเลิกจ้างจึงไม่ขาดอายุความ แต่ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีมีลักษณะเป็นค่าจ้างจึงเป็นสิทธิเรียกร้องที่มีกำหนดอายุความ 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(9) ลูกจ้างฟ้องเรียกค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีเกินกว่า2 ปีนับแต่วันเลิกจ้างจึงขาดอายุความแล้ว คำพิพากษาฎีกาที่ 13970-13970/2557 ติดต่องาน info@legalclinic.co.th