กรุณารอสักครู่

 

HomeCategoryกฎหมายอาญา Archives - Page 3 of 11 - บริษัท ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น จำกัด

ทายาทของผู้ตายฟ้องเรียกค่ารักษาพยาบาลผู้ถูกทำละเมิดก่อนตายได้ แม้จะเบิกค่ารักษาจากหน่วยงานราชการไปแล้ว

ทายาทของผู้ตายฟ้องเรียกค่ารักษาพยาบาลผู้ถูกทำละเมิดก่อนตายได้ แม้จะเบิกค่ารักษาจากหน่วยงานราชการไปแล้ว คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2258/2527 จำเลยที่ 3 ประกอบการขนส่งบุคคลเดินรถโดยสารประจำทาง ได้เช่ารถยนต์ของจำเลยที่ 2 มาใช้ในการเดินรถโดยสารของตนโดยมีจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 เป็น คนขับ ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 3 เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยสารโดยประมาทชนโจทก์ได้รับบาดเจ็บ จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ด้วย แม้นายจ้างของโจทก์จะได้ออกเงินค่ารักษาพยาบาลให้แก่โจทก์ไปแล้วก็หาทำให้จำเลยที่ 1 ผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์พ้นความรับผิดในการชดใช้ค่ารักษาพยาบาลไม่โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่ารักษาพยาบาลจากจำเลยทั้งสาม ติดต่องาน info@legalclinic.co.th

ค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมายกรณีละเมิดนั้น ดูหน้าที่ตามกฎหมายเป็นสำคัญ แม้ตามความเป็นจริงผู้ตายไม่ได้อุปการะเลี้ยงดู ผู้รับอุปการะก็ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนนี้ได้

ค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมายกรณีละเมิดนั้น ดูหน้าที่ตามกฎหมายเป็นสำคัญ แม้ตามความเป็นจริงผู้ตายไม่ได้อุปการะเลี้ยงดู ผู้รับอุปการะก็ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนนี้ได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5042/2552 ค่าขาดไร้อุปการะตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคสาม นั้น เมื่อปรากฏว่าผู้ตายมีหน้าที่ที่จะต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูโจทก์ทั้งสามตามกฎหมาย โจทก์ทั้งสามจึงมีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะดังกล่าว โดยไม่ต้องพิจารณาว่าในขณะนั้นผู้ตายได้อุปการะเลี้ยงดูโจทก์ทั้งสามหรือไม่ เมื่อพิจารณาถึงอายุของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ซึ่งขณะเกิดเหตุมีอายุประมาณ 58 ปี และ 34 ปี ตามลำดับแล้ว เห็นว่าโจทก์ที่ 2 และที่ 3 มีโอกาสได้รับการอุปการะตามกฎหมายได้ไม่น้อยกว่า 15 ปี ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าขาดไร้อุปการะให้โจทก์ที่ 2 จำนวน 300,000 บาท และโจทก์ที่ 3 จำนวน 100,000 บาท ถือว่าเหมาะสมแล้ว ส่วนโจทก์ที่ 1 ขณะเกิดเหตุละเมิดมีอายุประมาณ 78 ปี นับว่ามีอายุมากแล้วเมื่อเทียบกับอายุขัยของคนทั่วไป ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าขาดไร้อุปการะให้เป็นเงินถึง 300,000 บาท นับว่าเป็นจำนวนค่อนข้างสูง จึงเห็นสมควรลดลงบางส่วนโดยกำหนดค่าขาดไร้อุปการะให้โจทก์ที่...

บุคคลภายนอกที่มิใช่คู่ความ แต่สมัครใจเข้ามาในคดีโดยตกลงร่วมรับผิดกับลูกหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล ก็ถูกบังคับคดีได้

บุคคลภายนอกที่มิใช่คู่ความ แต่สมัครใจเข้ามาในคดีโดยตกลงร่วมรับผิดกับลูกหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล ก็ถูกบังคับคดีได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3787/2564 แม้ ส. เป็นบุคคลภายนอกมิใช่คู่ความในคดีที่ถูกฟ้องแต่แรก แต่ ส. ยินยอมเข้ามาในคดีโดยตกลงยอมรับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความอย่างลูกหนี้ร่วมและได้ลงลายมือชื่อผูกพันตนว่าจะชำระหนี้แก่โจทก์ในสัญญาประนีประนอมยอมความด้วย เมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 274 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2560 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน 2560 และโจทก์ยื่นคำขอออกหมายบังคับคดีภายหลังจากมาตรา 274 ที่แก้ไขใหม่ มีผลใช้บังคับแล้ว การบังคับคดีของโจทก์จึงตกอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 274 วรรคหนึ่งที่แก้ไขใหม่ สัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมที่ ส. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกยินยอมเข้ามาผูกพันตนว่าจะชำระหนี้แก่โจทก์ร่วมรับผิดกับจำเลยมีผลผูกพัน ส. ในฐานะเป็นบุคคลที่ศาลมีคำพิพากษาให้ชำระหนี้หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาให้ต้องปฏิบัติตาม เมื่อ ส. ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอม โจทก์มีสิทธิขอให้บังคับคดี ส. ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 274 วรรคหนึ่งที่แก้ไขใหม่

ตัวแทนขายสินค้า ถือว่าเป็นผู้ครอบครองสินค้าหรือเงินค่าสินค้า หากเบียดบังสินค้าหรือเงินไป จะมีความผิดอาญาฐานยักยอกทรัพย์

ตัวแทนขายสินค้า ถือว่าเป็นผู้ครอบครองสินค้าหรือเงินค่าสินค้า หากเบียดบังสินค้าหรือเงินไป จะมีความผิดอาญาฐานยักยอกทรัพย์ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 445/2536 ส. ภรรยาจำเลยมีหน้าที่จำหน่ายสินค้าและรับเงินค่าสินค้าของโจทก์ร่วม ได้รับเงินสดค่าสินค้าจากลูกค้าของโจทก์ร่วมไว้แล้วไม่นำเงินสดที่รับไว้ส่งมอบให้แก่แคชเชียร์ แต่เบียดบังเอาเงินสดนั้นไปเป็นของตนเองหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต จึงเป็นการยักยอกทรัพย์ของโจทก์ร่วม บัญชีกระแสรายวันของจำเลยมีรายการหมุนเวียนทางการเงินมากการนำเงินเข้าฝากและถอนเงินจากบัญชีแต่ละรายการมีจำนวนมากกว่ารายได้ตามปกติของจำเลยและส.ส.นำเงินฝากเข้าบัญชีจำเลยช่วงระยะเวลาเดียวกับที่ ส.ยักยอกเงินของโจทก์ร่วมและเมื่อส.นำเงินเข้าฝากแล้ว จำเลยได้ออกเช็คสั่งจ่ายเงินจากบัญชีใกล้เคียงกับจำนวนเงินที่ ส. นำเข้าฝาก การถอนเงินโดยสั่งจ่ายเช็คบางฉบับจำเลยก็สั่งจ่ายเพื่อชำระค่าที่ดินพร้อมตึกแถวที่จำเลยกับ ส. ไปติดต่อซื้อด้วยกัน โดยที่ดินพร้อมตึกแถวดังกล่าว มีราคาสูงเกินกว่าฐานะและรายได้ตามปกติของจำเลยกับ ส.ที่จะซื้อได้ พฤติการณ์ถือได้ว่าจำเลยได้รับเอาเงินฝากนั้นไว้ทุกคราวที่ ส.นำเข้าฝากโดยจำเลยรู้ว่าส. ได้เงินนั้นมาจากการยักยอกโจทก์ร่วม จำเลยจึงมีความผิดฐานรับของโจร ส. นำเงินเข้าฝากในบัญชีของจำเลยต่างวันเวลากัน จำเลยจึงมีความผิดหลายกรรมต่างกัน ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏชัดว่าการบังคับคดี ส. ได้เงินมาชำระหนี้ให้โจทก์ร่วมเท่าใด ครบถ้วนแล้วหรือไม่ จะฟังว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ร่วมหาได้ไม่และหากโจทก์ร่วมบังคับคดี ส.แล้วจะบังคับคดีจำเลยได้อีกเพียงใดนั้นเป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี

ขอเงินสามีมาซื้อที่ดิน แต่ตั๋วว่าซื้อที่ดินเอง …ถ้าแสดงแหล่งที่มาของเงินไม่ได้ ที่ดินนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ร่วม

ขอเงินสามีมาซื้อที่ดิน แต่ตั๋วว่าซื้อที่ดินเอง …ถ้าแสดงแหล่งที่มาของเงินไม่ได้ ที่ดินนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ร่วม คู่สมรสชาวไทยซื้อที่ดินและเปิดเผยข้อมูลอันเป็นเท็จว่าเธอนั้นมีสถานะโสด ไม่ได้เปิดเผยว่าเธอสมรสกับชาวต่างชาติ ดังนั้นเนื่องจากคู่สมรสชาวไทยไม่สามารถยืนยันได้ว่ามีแหล่งที่มาของเงินทุนที่ใช้ในการซื้อที่ดิน (ในระหว่างการสมรส) เป็นสินส่วนตัวจึงได้รับการสันนิษฐานตามกฎหมายว่าเงินนั้นเป็นสินสมรสตามมาตรา 1474 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และหากเงินนั้นถูกพิจารณาว่าเป็นสินสมรส คู่สมรสชาวต่างชาติจะมีสถานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน คู่สมรสชาวต่างชาติได้มาซึ่งที่ดินโดยการละเมิดมาตรา 86 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน และอาจได้รับโทษตามมาตรา 111 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน คู่สมรสชาวไทยที่ถือครองที่ดินในฐานะตัวแทนของชาวต่างชาติโดยฝ่าฝืนมาตรา 96 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน และอาจได้รับโทษตามมาตรา 111 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน นอกจากนั้นคู่สมรสชาวไทยยังมีความผิดในฐานแจ้งข้อมูลเท็จแก่พนักงานเจ้าหน้าที่และเป็นเหตุให้ทางเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการตามมาตรา 137 และ 267 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ที่ดินต้องถูกจำหน่ายจ่ายโอนภายในระยะเวลาที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนดตามมาตรา 94 และ 96 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน

คลอดแล้วทิ้ง ศาลถอนอำนาจปกครองได้

คลอดแล้วทิ้ง ศาลถอนอำนาจปกครองได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4323/2540 ในการถอนอำนาจปกครองนั้น กฎหมายให้อำนาจศาลถอนเสียได้โดยลำพังโดยไม่ต้องให้ผู้ใดร้องขอก็ได้ หากมีเหตุตามบทบัญญัติแห่งป.พ.พ.มาตรา 1582 วรรคหนึ่ง ดังนั้น แม้ในขณะผู้ร้องยื่นคำร้องผู้ร้องยังมิได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้เยาว์ก็ตาม แต่เมื่อความปรากฏต่อศาลว่ามารดาของผู้เยาว์ย้ายไปอยู่ที่อื่นและสมรสใหม่ตั้งแต่ผู้เยาว์อายุได้เพียงปีเศษและไม่เคยกลับมาดูแลผู้เยาว์อีกเลย กรณีจึงเป็นการที่มารดาผู้เยาว์ใช้อำนาจปกครองแก่ตัวผู้เยาว์โดยมิชอบ ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาถอนอำนาจปกครองจากมารดาผู้เยาว์ และเมื่อปรากฏว่าผู้เยาว์อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้ร้องมาโดยตลอดการให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ย่อมเหมาะสมกว่า ติดต่องาน info@legalclinic.co.th

นิติกรรมที่ลูกหนี้กระทำต่อบุคคลภายนอกภายหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายแล้ว ตกเป็นโมฆะ แม้บุคคลภายนอกสุจริตและเสียค่าตอบแทน

นิติกรรมที่ลูกหนี้กระทำต่อบุคคลภายนอกภายหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายแล้ว ตกเป็นโมฆะ แม้บุคคลภายนอกสุจริตและเสียค่าตอบแทน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5677/2560 ลูกหนี้ที่ 2 จดทะเบียนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 และได้ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 ภายหลังจากที่ลูกหนี้ที่ 2 ถูกศาลพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว โดยไม่ปรากฏว่าลูกหนี้ที่ 2 กระทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้จัดการทรัพย์หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ การจดทะเบียนโอนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทย่อมเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 , 24 และเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายตกเป็นโมฆะ ตามป.พ.พ.มาตรา 150 แม้จะมีการทำนิติกรรมนั้นโดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและได้จดทะเบียนโดยสุจริตก็ตาม ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ก็ไม่อาจยกความสุจริตและเสียค่าตอบแทนขึ้นอ้างเพื่อให้มีผลลบล้างบทกฎหมายได้

สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งเกิน 1 ปี อีกฝ่ายหนึ่งยกขึ้นเป็นเหตุ “ฟ้องหย่าได้”

สามีหรือภริยา  จงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งเกิน 1 ปี  อีกฝ่ายหนึ่งยกขึ้นเป็นเหตุ “ฟ้องหย่าได้” แต่ต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่าการทิ้งร้างต้องเกิดจากความจงใจในลักษณะที่ไม่หวนกลับไปหาคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง โดยไม่ประสงค์จะอยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยาอีกต่อไป คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4404/2558 การทิ้งร้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (4) นั้น จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่าคู่ความนั้นจงใจทิ้งร้างไปในลักษณะที่ไม่หวนกลับไปหาคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งโดยไม่ประสงค์ที่จะอยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยาอีกต่อไป เป็นเวลาติดต่อกันเกินกว่าหนึ่งปี จำเลยออกไปจากบ้านตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2555 แต่จำเลยกลับมาพักอยู่กับโจทก์ระหว่างวันที่ 11-15 กันยายน 2555 อีกจึงยังไม่เกินกว่ากำหนดเวลา 1 ปี และย่อมแสดงว่าจำเลยยังประสงค์จะอยู่กินกับโจทก์ต่อไป แต่โจทก์เป็นฝ่ายเปลี่ยนกุญแจบ้านไม่ให้จำเลยเข้าไปอยู่ในบ้านและไม่ยอมพูดคุยกับจำเลยเพื่อปรับความเข้าใจ ในขณะที่จำเลยยอมโทรศัพท์ขอโทษมารดาโจทก์ และยอมรับผิดกับมารดาโจทก์ มารดาจำเลยก็ไม่ต้องการให้โจทก์จำเลยหย่ากัน โดยนัดโจทก์และมารดาโจทก์มาพูดคุย แต่มารดาโจทก์ก็ไม่ยอมช่วยและบอกว่าโจทก์กับจำเลยต้องแยกกันอยู่ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยยังมีเยื่อใยต่อโจทก์ ต้องการอยู่กับโจทก์ต่อไป จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์หรือกระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้างแรงอันจะเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่าได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (4) และ (6)

การฟ้องขอแบ่งสินสมรสต้องฟ้องมาในคราวเดียวกัน มิฉะนั้นอาจจะเป็นการดำเนินพิจารณาซ้ำ ฟ้องซ้ำ หรือฟ้องซ้อน (แล้วแต่กรณี)

การฟ้องขอแบ่งสินสมรสต้องฟ้องมาในคราวเดียวกัน มิฉะนั้นอาจจะเป็นการดำเนินพิจารณาซ้ำ ฟ้องซ้ำ หรือฟ้องซ้อน (แล้วแต่กรณี) คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5858/2558 โจทก์เคยฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่งเรื่องขอแบ่งสินสมรสระหว่างโจทก์กับ น. เป็นที่ดินตามแบบแสดงรายการที่ดินเพื่อชำระภาษีบำรุงท้องที่ (ภทบ. 5) เลขสำรวจที่ 191/2553 หมู่ที่ 7 ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เนื้อที่ 79 ไร่ 3 งาน 90 ตารางวา โดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรโต้แย้ง ส่วนคดีนี้ โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ขอแบ่งที่ดินซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับ น. เป็นที่ดินตามแบบแสดงรายการที่ดินเพื่อชำระภาษีบำรุงท้องที่ (ภทบ.5) เลขสำรวจที่ 96/2553 หมู่ที่ 5 ตำบลท่ามะขาม อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เนื้อที่ 3 ไร่ 2 งาน 64 ตารางวา โดยจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นบุตรโต้แย้ง แม้การฟ้องของโจทก์ทั้งสองคดีเป็นการขอให้แบ่งที่ดินต่างแปลงกันแต่มูลเหตุแห่งการฟ้องคดีเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องโดยการยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าที่ดินทั้งสองแปลงเป็นสินสมรส คำฟ้องคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคำฟ้องคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 104/2555 ต้องห้ามมิให้ฟ้องตาม...

การชักชวน หลอกมาลงทุน ไม่ว่าจะเป็น forex-3d อาจเข้าข่ายความผิดตามกฎหมายเรื่องนี้

การชักชวน หลอกมาลงทุน ไม่ว่าจะเป็น forex-3d อาจเข้าข่ายความผิดตามกฎหมายเรื่องนี้ พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ผู้ใดโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏต่อประชาชน หรือกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ปรากฏแก่บุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไปว่าในการกู้ยืมเงิน ตนหรือบุคคลใดจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้ตามพฤติการณ์แห่งการกู้ยืมเงิน ในอัตราที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้โดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าตนหรือบุคคลนั้นจะนำเงินจากผู้ให้กู้ยืมเงินรายนั้นหรือรายอื่นมาจ่ายหมุนเวียนให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน หรือโดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าตนหรือบุคคลนั้นไม่สามารถประกอบกิจการใด ๆ โดยชอบด้วยกฎหมายที่จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียงที่จะนำมาจ่ายในอัตรานั้นได้ และในการนั้นเป็นเหตุให้ตนหรือบุคคลใดได้กู้ยืมเงินไป ผู้นั้นกระทำความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน” การโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏต่อประชาชนหรือการกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ปรากฏแก่บุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไป อันจะทำให้เป็นความผิดสำเร็จฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ไม่จำเป็นที่จำเลยทั้งสองจะต้องกระทำการดังกล่าวต่อผู้เสียหายแต่ละคนด้วยตนเองทุกครั้งเป็นคราว ๆ ไป เพียงแต่จำเลยทั้งสองแสดงข้อความดังกล่าวให้ปรากฏแก่ผู้เสียหายแม้เพียงบางคน แล้วเป็นผลให้ประชาชนหลงเชื่อนำเงินมาให้จำเลยทั้งสองกู้ยืม ก็ถือว่าเป็นการกระทำความผิดแล้ว ข้อสำคัญที่ทำให้ความผิดสำเร็จอยู่ที่ในการนั้นเป็นเหตุให้ตนหรือบุคคลใดได้เงินกู้ยืมไปจากผู้ถูกหลอกลวง ทั้งการกระทำดังกล่าวโดยสภาพเป็นการกระทำต่อบุคคลหลายคนจึงอาจกระทำต่อบุคคลเหล่านั้นต่างวาระกันได้ การกระทำที่จะเป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรมย่อมขึ้นอยู่กับลักษณะของการกระทำที่มีเจตนามุ่งกระทำเพื่อให้เกิดผลต่อบุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไปหรือประชาชนเพียงครั้งเดียวหรือหลายครั้ง มิได้พิจารณาจากองค์ประกอบความผิดที่ต้องกระทำต่อบุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไปเพียงอย่างเดียวเป็นเครื่องชี้เจตนาของผู้กระทำเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า จำเลยทั้งสองกู้ยืมเงินจากโจทก์ร่วมทั้งสิบเจ็ด ผู้เสียหายที่ 11 และที่ 14 คนละวันเวลาและในสถานที่แตกต่างกัน โดยเจตนาให้เกิดผลต่อโจทก์ร่วมและผู้เสียหายแยกต่างหากจากกัน ดังนั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองแต่ละครั้งถือว่าเป็นความผิดสำเร็จสำหรับโจทก์ร่วมและผู้เสียหายแต่ละคนแล้ว จึงเป็นความผิดหลายกรรมตามจำนวนโจทก์ร่วมและผู้เสียหายที่จำเลยทั้งสองร่วมกันหลอกลวง