กรุณารอสักครู่

 

HomeCategoryกฎหมายลิขสิทธิ์ Archives - Page 3 of 7 - บริษัท ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น จำกัด

สัญญากู้ยืมเงินติดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วน ต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน

สัญญากู้ยืมเงินติดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วน ต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน สัญญากู้ยืมเงินจะต้องติดอากรแสตมป์ 1 บาท ต่อทุกๆ 2,000 บาท จึงจะใช้อ้างเป็นพยานหลักฐานต่อศาลได้ โดยจะต้องติดอากรแสตมป์ก่อนที่จะนำสัญญากู้มาอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดี คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1626/2559 ป.รัษฎากร มาตรา 118 บัญญัติว่า “ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีกหรือสำเนาตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ที่ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้และขีดฆ่าแล้ว…” หนังสือสัญญากู้เงิน มีลักษณะเป็นตราสาร จึงต้องปิดอากรแสตมป์ให้ถูกต้องครบถ้วนตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร หนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวระบุจำนวนเงินกู้ 200,000 บาท ต้องปิดอากรแสตมป์ให้ถูกต้องครบถ้วน 100 บาท แต่โจทก์ปิดอากรแสตมป์เพียง 30 บาท จึงไม่ครบถ้วน จึงต้องห้ามมิให้รับฟังหนังสือสัญญากู้เงิน เป็นพยานหลักฐาน เท่ากับว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือตามปพพ. มาตรา 653 วรรคแรก โจทก์จึงฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ จำเลยให้การว่าไม่ได้กู้ยืมเงินและไม่ได้รับเงิน 200,000 บาทจากโจทก์ จำเลยไม่ได้ยอมรับว่าได้ทำสัญญากู้เงินกับโจทก์จริง ดังนั้น การอ้างหนังสือกู้เงินเป็นพยานหลักฐานโจทก์จึงต้องปิดอากรแสตมป์ให้ถูกต้องครบถ้วนตามป.รัษฎากร เมื่อโจทก์ปิดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วนสัญญากู้เงินดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตปิดอากรแสตมป์เพิ่มเติมให้ครบถ้วนอีก 70 บาท มาพร้อมกับฎีกานั้น การร้องขอดังกล่าวโจทก์ชอบที่จะกระทำเสียก่อนหรือในขณะที่ได้นำหนังสือกู้เงินมาอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง หรือก่อนที่ศาลชั้นต้นพิพากษา การที่โจทก์เพิ่งมาร้องขอหลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาคดีไปแล้วย่อมล่วงเลยเวลาที่จะอนุญาตให้แก้ไข

สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ ต้องติดอากรแสตมป์

สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ ต้องติดอากรแสตมป์ สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ เช่น เช่าที่ดิน เช่าสำนักงาน เช่าบ้าน ต้องติดอากรแสตมป์ โดยทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท ของค่าเช่า ต้องอากร 1 บาท และผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ให้เช่า ยกตัวอย่างเช่น สัญญาเช่ามีกำหนด 1 ปี ค่าเช่าเดือนละ 10,000 บาท รวมเป็นจำนวนเงิน 120,000 บาท ผู้ให้เช่าก็ต้องติดอากร 120 บาท หากสัญญาเช่าไม่ได้ติดอากรแสตมป์ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ คือจะฟ้องบังคับตามสัญญาเช่าก็ไม่ได้ และหากสรรพากรตรวจพบอาจจะต้องเสียเงินเพิ่มอากร 2 – 6 เท่าอีกด้วย

การนำสืบส่งหนังสือมอบอำนาจเป็นพยานหลักฐานต้องติดอากรแสตมป์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย แต่หากคู่ความนำสืบสำเนาหนังสือมอบอำนาจและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่คัดค้าน สำเนานั้นก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้

การนำสืบส่งหนังสือมอบอำนาจเป็นพยานหลักฐานต้องติดอากรแสตมป์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย แต่หากคู่ความนำสืบสำเนาหนังสือมอบอำนาจและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่คัดค้าน สำเนานั้นก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8536/2558 แต่ในกรณีที่โจทก์นำสืบส่งสำเนาหนังสือมอบอำนาจเป็นพยานต่อศาลจำเลยไม่ได้คัดค้านว่าไม่มีต้นฉบับหรือต้นฉบับปลอม หรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับ ถือว่าจำเลยยอมรับว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องกับต้นฉบับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 125 ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารเช่นว่านั้นเป็นพยานหลักฐานได้ตามมาตรา 93(4) สำเนาหนังสือมอบอำนาจจึงรับฟังเป็นพยานเอกสารได้ เมื่อปรากฎว่าเป็นการรับฟังสำเนาเอกสารเป็นพยานหลักฐานแทนต้นฉบับเอกสาร จึงหาใช่การรับฟังต้นฉบับเอกสารเป็นพยานหลักฐานอันจะต้องปิดอากรแสตมป์และขีดฆ่าอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรและสำเนาหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวก็มิใช่คู่ฉบับหรือคู่ฉีกแห่งตราสารจึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปิดอากรแสตมป์และขีดฆ่าอากรแสตมป์ด้วยเช่นกัน สำเนาหนังสือมอบอำนาจจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้

ข้อตกลง/ข้อสัญญาให้ระงับการดำเนินคดีหรือถอนฟ้องคดีอาญาแผ่นดิน เป็นข้อตกลงที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 จึงตกเป็นโมฆะ

ข้อตกลง/ข้อสัญญาให้ระงับการดำเนินคดีหรือถอนฟ้องคดีอาญาแผ่นดิน เป็นข้อตกลงที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 จึงตกเป็นโมฆะ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4351/2548 บันทึกข้อตกลงประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ทั้งสามและจำเลยกับ ว. ที่ให้โจทก์ทั้งสามถอนฟ้องคดีอาญาที่ยื่นฟ้องจำเลยกับ ว. ไว้ให้โจทก์ทั้งสามถอนฟ้องคดีอาญาที่ยื่นฟ้องจำเลยกับ ว. ไว้ในข้อหาปลอมเอกสารสิทธิ ใช้เอกสารสิทธิ ใช้เอกสารสิทธิปลอมซึ่งเป็นคดีอาญาแผ่นดินไม่ใช่คดีความผิดอันยอมความได้ เป็นข้อตกลงที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 150

“โจทก์ฟ้องว่าจำเลยลักเงินของผู้เสียหาย แต่ในทางพิจารณาฟังได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการฉ้อโกงธนาคาร ศาลจะลงโทษจำเลยในความผิดฐานฉ้อโกง และสั่งให้จำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายได้หรือไม่ ?

“โจทก์ฟ้องว่าจำเลยลักเงินของผู้เสียหาย แต่ในทางพิจารณาฟังได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการฉ้อโกงธนาคาร ศาลจะลงโทษจำเลยในความผิดฐานฉ้อโกง และสั่งให้จำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายได้หรือไม่ “ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 687/2563 มาตรา 192 ห้ามมิให้พิพากษา หรือสั่ง เกินคำขอหรือที่มิได้กล่าว ในฟ้อง ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่าง กับข้อเท็จจริงดั่งที่กล่าวในฟ้อง ให้ศาลยกฟ้องคดีนั้น เว้นแต่ข้อ แตกต่างนั้นมิใช่ในข้อสาระสำคัญและทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลจะ ลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นก็ได้ ในกรณีที่ข้อแตกต่างนั้นเป็นเพียงรายละเอียด เช่น เกี่ยวกับ เวลาหรือสถานที่กระทำความผิดหรือต่างกันระหว่างการกระทำผิด ฐานลักทรัพย์ กรรโชกรีดเอาทรัพย์ ฉ้อโกง โกงเจ้าหนี้ ยักยอก รับ ของโจร และทำให้เสียทรัพย์หรือต่างกันระหว่างการกระทำผิด โดยเจตนากับประมาท มิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญ ทั้งมิให้ ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคำขอหรือเป็นเรื่องที่ โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ เว้นแต่จะปรากฏแก่ศาลว่าการที่ ฟ้องผิดไปเป็นเหตุให้จำเลยหลงต่อสู้ แต่ทั้งนี้ศาลจะลงโทษจำเลย เกินอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดที่โจทก์ฟ้องไม่ได้ ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงบางข้อดั่งกล่าวในฟ้อง และตามที่ปรากฏ ในทางพิจารณาไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ห้ามมิให้ ศาลลงโทษจำเลยในข้อเท็จจริงนั้น ๆ ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามฟ้องนั้นโจทก์สืบสม แต่โจทก์อ้างฐาน ความผิดหรือบท มาตรา ผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐาน ความผิดที่ถูกต้องได้ ถ้าความผิดตามที่ฟ้องนั้นรวมการกระทำหลายอย่าง...

จำเลยมีเจตนาที่จะเอาของมีค่าในกระเป๋าเท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาจะเอากระเป๋า เมื่อหาของมีค่าไม่เจอจึงส่งกระเป๋าคืน การกระทำของจำเลยยังไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์สำเร็จไป

จำเลยมีเจตนาที่จะเอาของมีค่าในกระเป๋าเท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาจะเอากระเป๋า เมื่อหาของมีค่าไม่เจอจึงส่งกระเป๋าคืน การกระทำของจำเลยยังไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์สำเร็จไป คำพิพากษาฎีกาที่ 869/2555 จำเลยใช้อาวุธปืนจี้ขู่เข็ญผู้เสียหายว่า อย่าส่งเสียงและให้ส่งของมีค่าให้เมื่อผู้เสียหายส่งกระเป๋าสะพายให้และพูดว่า จะเอาอะไรก็เอาไปขอบัตรประจำตัวประชาชนไว้ จำเลยค้นกระเป๋าสะพายแล้วไม่มีของมีค่าจึงส่งกระเป๋าสะพายคืนให้และคลำที่คอผู้เสียหายเพื่อหาสร้อยคอ ผู้เสียหายบอกจำเลยว่าไม่มีของมีค่าติดตัวมา จำเลยจึงปล่อยตัวผู้เสียหายแล้วเดินหนีไป แสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้ประสงค์จะแย่งเอากระเป๋าสะพายของผู้เสียหายไปเป็นของตน เพียงแต่ต้องการค้นหาของมีค่าในกระเป๋าสะพายเท่านั้น มิฉะนั้นเมื่อจำเลยได้กระเป๋าสะพายแล้วก็ต้องหลบหนีไปทันทีโดยไม่ต้องเปิดดูและคืนกระเป๋าสะพายให้ผู้เสียหาย ดังนั้น เมื่อจำเลยยังไม่ได้ของมีค่าตรงตามเจตนาของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงยังไม่เป็นการชิงทรัพย์สำเร็จ ติดต่องานจ้าง

หย่าโดยยินยอมและหย่าเพื่อหนีหนี้ ขั้นตอนและผลทางฎหมายเป็นอย่างไร ?

หย่าโดยยินยอมและหย่าเพื่อหนีหนี้ ขั้นตอนและผลทางฎหมายเป็นอย่างไร ? มาฟัง…. “หย่าโดยความยินยอม” ๑.ทำเป็นคำร้องยื่นต่อนายอำเภอ ตกลงหย่าขาดจากกัน โดยลงชื่อคู่สมรสและพยานสองคนกด็เป็นการหย่าที่สมบรูณ์ คำพิพากษาฏีกา ๖๑๐/๒๔๙๖ ๒.สัญญาหย่ามีพยานสองคน พยานที่ลงชื่อเป็นพยานคนแรกเบิกความว่า หลังจากที่ตนเซ็นชื่อแล้วจะมีใครเซ็นชื่อหรือไม่ไม่ทราบ พยานอีกคนเบิกความว่า เมื่อภรรยานำหนังสือสัญญาหย่ามาให้เซ็นก็เซ็นไป ไม่ถือว่าทั้งสองคนรู้เห็นเป็นพยานในการหย่า ไม่ถือเป็นหนังสือหย่าตามกฎหมาย คำพิพากษาฏีกา ๔๑๗/๒๔๙๔ ๓. ตกลงหย่ากันแล้ว สามีลงชื่อในหนังสือหย่าต่อหน้าพยานสองปาก ส่วนภรรยาลงชื่อหลังจากที่พยานคนหนึ่งไปแล้ว ถือว่าสัญญาหย่าสมบรูณ์ กฎหมายไม่ได้บังคับให้ลงชื่อต่อหน้าพยานพร้อมกันสองคน ความประสงค์มีเพียง ให้พยานลงชื่อในสัญญานั้นพยานทั้งสองคนต้องรู้เห็นในข้อความที่ตกลงกัน คำพิพากษาฏีกา ๑๔๑/๒๔๘๗ ๔.ทำหนังสือหย่ากันถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ไม่ยอมไปจดทะเบียนหย่าอีกฝ่ายฟ้องบังคับให้สามีไปจดทะเบียนหย่าได้ คำพิพากษาฏีกา ๑๒๙๑/๒๕๐๐ ๕.ทำหนังสือสัญญาหย่ากันแล้ว อีกฝ่ายไม่ไปจดทะเบียนหย่าที่อำเภอ ยังสามารถบังคับโดยวิธีอื่นที่ไม่ต้องจับกุมคุมขัง ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาได้ คำพิพากษาฏีกา ๕๘๐/๒๕๐๘ ๖.การหย่ามีผลสมบรูณ์เมื่อจดทะเบียนหย่า ส่วนระเบียบการจดทะเบียนครอบครัวที่นายทะเบียนที่รับแจ้งการหย่า ให้แจ้งการหย่าไปที่อำเภอที่จดทะเบียนสมรส หรือแจ้งไปที่สนง.จดทะเบียนกลาง ก็เป็นเพียงหลักฐานการตรวจสอบทางทะเบียนเท่านั้น คำพิพากษาฏีกา ๕๙๕/๒๕๓๔ ๗.หย่าโดยสมรู้กันโดยหลอกลวงโดยสมคบกันระหว่างคู่กรณี แล้วไปจดทะเบียนหย่า การหย่าไม่ผูกพันคนภายนอก คำพิพากษาฏีกา ๓๖๙๘/๒๕๒๔ ๘.หย่าแล้วยังอยู่ด้วยกัน และร่วมกันสร้างเรือนพิพาทอีกหลังร่วมกัน ปรับปรุงที่พิพาททำเป็นนา ขุดบ่อปลา...

อายุความในทางคดี คืออะไร ?

อายุความคือ กำหนดเวลาในการฟ้องร้องดำเนินคดีแพ่งหรือคดีอาญา ครับ กล่าวคือว่า ถ้าในทางแพ่งไม่ได้ยื่นฟ้องภายในกำหนดระยะเวลา คดีก็จะขาดอายุความในการฟ้องร้องคดีนั้นเองครับ ส่วนคดีอาญา ถ้าไม่ฟ้องภายในกำหนดเวลา คดีก็จะขาดอายุความเช่นกัน ผลของการไม่ยื่นฟ้องภายในกำหนดเวลาตามที่กฎหมายกำหนดคือ ศาลอาจยกเอาเหตุแห่งการขาดอายุความมายกฟ้องคดีได้นั้น เอง ซึ่งจะมีผลทำให้โจทก์แพ้คดีนั้น ครับ

จะฟ้องใครฐานฉ้อโกง ให้ดูว่าครบตามองค์ประกอบนี้ไหม !!

จะฟ้องใครฐานฉ้อโกงให้ดูว่าครบตามองค์ประกอบตามนี้ไหม!! ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ไม่ได้ถือเอาจำนวนผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวงว่ามากหรือน่้อย แต่ถือเอาเจตนาแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนเป็นสำคัญ และต้องกระทำการดังกล่าวด้วยตนเองมาแต่ต้นทุกครั้งเพียงแต่จำเลยแสดงข้อความอันเป็นเท็จแก่ผู้เสียหายบางคนแล้วมีการบอกกันต่อๆไปเป็นทอดๆ เมื่อผู้เสียหายคนหลังทราบข่าวและมาสอบถามจำเลย จำเลยได้ยืนยันแสดงข้อความอันเป็นเท็จนั้น และให้ผู้เสียหายไปติดต่อที่แฟลตทุกครั้ง อันถือได้ว่าเป็นสำนักงานของจำเลยกับพวก แม้ไม่มีประกาศรับสมัครงานปิดไว้ก็ตาม ก็เป็นการฉ้อโกงประชาชน คำพิพากษาฏีกา ๕๒๙๒/๒๕๔๐ ข้อสังเกต ๑. ฉ้อโกงประชาชนไม่ได้ถือเอาจำนวนคนมาเป็นเกณท์พิจารณาว่ามีคนเท่าใดจึงถือเป็นประชาชน แต่ถือเอาลักษณะการกระทำว่ามีการแสดงข้อความเท็จที่ประชาชนโดยทั่วไปอาจทราบและหลงเชื่อและอาจถูกหลอกได้ ๒.การหลอกลวงดังกล่าวไม่จำต้องกระทำด้วยตัวเองมาตั้งแต่ต้น อาจมาทำในช่วงหลัง โดยมีการพูดต่อๆกันมาถึงการหลอกลวงดังกล่าว แต่เมื่อจำเลยมายืนยันข้อความดังกล่าวแม้จะไม่ได้กระทำมาตั้งแต่ต้น ก็เป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนได้ ๓.ในสำนักงานของจำเลยแม้ไม่มีการปิดประกาศข้อความอันเป็นการหลอกลวงประชาชนก็ตาม แต่พฤติการณ์ที่ยืนยันด้วยปากเปล่าถึงข้อความหลอกลวงอันเป็นเท็จที่มุ่งหลอกลวงคนทั่วไป ก็เป็นการฉ้อโกงประชาชนได้ ๔.ความผิดดังกล่าวเป็นความผิดที่เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัว ๕.การหลอกลวงดังกล่าวหากมีการหลอกลวงผ่านทางสื่อสาธารณะต่างๆ ไม่ว่าเป็นหนังสือพิมพ์ วิทยุหรือโทรทัศน์ แล้วผู้เสียหายหลงเชื่อ และการหลงเชื่อ ได้ไปซึ่งเงินของผู้เสียหาย ทุกท้องที่ซึ่งผ่านทางสื่อเป็นสถานที่ความผิดเกิดได้หมดเหมือนการลงหนังสือพิมพ์ด้วยข้อความหมิ่นประมาททุกท้องที่ซึ่งหนังสือพิมพ์ไปถึงเป็นท้องที่เกิดเหตุได้หมด เป็นกรณีที่ความผิดส่วนหนึ่งเกิดในท้องที่หนึ่งความผิดอีกส่วนหนึ่งเกิดในอีกท้องที่หนึ่งและเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำการต่อเนื่องในท้องที่ต่างๆกันมากกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป พนักงานสอบสวนทุกท้องที่มีอำนาจในการสอบสวน แต่หากยังจับผู้กระทำผิดไม่ได้ พนักงานสอบสวนท้องที่ที่พบความผิดก่อน เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในการสอบสวน แต่หากยังจับผู้กระทำผิดแล้วได้ พนักงานสอบสวนในท้องที่ที่จับกุมได้ เป็นพนักงานสอบสวนที่รับผิดชอบ ในกรณีนี้พนักงานอัยการจะรวมสำนวนเพื่อพิจารณาสั่งในคราวเดียวกัน

“เจ้าหนี้” ก็ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสีย สามารถร้องจัดการมรดกของลูกหนี้ได้

เจ้าหนี้ ก็ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสีย สามารถร้องจัดการมรดกของลูกหนี้ได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5644/2545 ศาลชั้นต้นเคยยกคำร้องขอของผู้ร้องมาครั้งหนึ่งเพราะเห็นว่าการที่หุ้นของผู้ตายตกเป็นของแผ่นดินมิใช่เหตุขัดข้องในการจัดการมรดกที่จะร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก โดยเห็นว่าผู้ร้องยังสามารถขวนขวายหาทางร้องขอเพื่อรับชำระหนี้จากกระทรวงการคลังได้ แต่ประเด็นสำคัญในคดีนี้มีอยู่ว่า ภายหลังต่อมาผู้ร้องได้ร้องขอรับชำระหนี้ต่อกระทรวงการคลังแล้ว แต่กระทรวงการคลังปฏิเสธไม่ยอมชำระหนี้และแจ้งให้ผู้ร้องไปดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายก่อน อันเป็นเรื่องใหม่ที่เกิดขึ้นหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอของผู้ร้องแล้ว เหตุขัดข้องในการจัดการมรดกของผู้ตายตามคำร้องขอในคดีนี้ เป็นคนละเหตุกับที่ผู้ร้องยกขึ้นอ้างในการขอจัดการมรดกในคดีก่อน และศาลชั้นต้นในคดีก่อนยังมิได้วินิจฉัยถึงเหตุขัดข้องอันเกิดแต่การที่กระทรวงการคลังปฏิเสธไม่ยอมชำระหนี้แก่ผู้ร้อง ดังนี้ คำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีก่อนที่วินิจฉัยถึงเหตุที่ผู้ร้องอ้างว่าเป็นข้อขัดข้องในการจัดการมรดกของผู้ตาย ซึ่งเป็นการวินิจฉัยถึงเหตุอื่นซึ่งไม่ใช่เหตุขัดข้องตามคำร้องขอในคดีนี้ คำร้องขอของผู้ร้องในคดีนี้จึงไม่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอันจะเป็นฟ้องซ้ำ ผู้ตายไม่มีทายาทและไม่มีผู้รับพินัยกรรม หุ้นของผู้ตายย่อมตกทอดแก่แผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1753 แผ่นดินหาใช่ทายาทของผู้ตายไม่ดังนั้นแม้หุ้นของผู้ตายจะตกเป็นของแผ่นดิน แต่หากไม่มีผู้จัดการมรดกอยู่ตราบใดผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของผู้ตายย่อมไม่สามารถบังคับชำระหนี้ของตนได้ จึงต้องถือว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิร้องขอต่อศาลให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 หลักกฎหมายที่ได้จากคำพิพากษาฎีกาที่ 5644/2545 1.ผู้ตายไม่มีทายาทและไม่มีผู้รับพินัยกรรม ทรัพย์มรดกของผู้ตายย่อมตกทอดแก่แผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1753 2.เหตุขัดข้องในการจัดการมรดกของผู้ตายตามคำร้องขอในคดีนี้ เป็นคนละเหตุกับที่ผู้ร้องยกขึ้นอ้างในการขอจัดการมรดกในคดีก่อน คำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีก่อนที่วินิจฉัยถึงเหตุที่ผู้ร้องอ้างว่าเป็นข้อขัดข้องในการจัดการมรดกของผู้ตาย ซึ่งเป็นการวินิจฉัยถึงเหตุอื่นซึ่งไม่ใช่เหตุขัดข้องตามคำร้องขอในคดีนี้ คำร้องขอของผู้ร้องในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ ตาม ป.วิแพ่ง มาตรา 148 3.แม้ทรัพย์ของผู้ตายจะตกเป็นของแผ่นดิน แต่หากไม่มีผู้จัดการมรดกอยู่ตราบใดผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของผู้ตายย่อมไม่สามารถบังคับชำระหนี้ของตนได้ จึงต้องถือว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิร้องขอต่อศาลให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 ติดต่องาน