กรุณารอสักครู่

 

HomeCategoryกฎหมายลิขสิทธิ์ Archives - บริษัท ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น จำกัด

ผัวแยกไปอยู่กับเมียใหม่ จะมาฟ้องหย่าเมียเก่า โดยอ้างเหตุสมัครใจแยกกันอยู่ไม่ได้

ผัวแยกไปอยู่กับเมียใหม่ จะมาฟ้องหย่าเมียเก่า โดยอ้างเหตุสมัครใจแยกกันอยู่ไม่ได้ หลายคนอาจจะเคยได้ยินคร่าวๆว่าหนึ่งในเหตุของการฟ้องหย่าก็คือ … สามีและภรรยาสมัครใจแยกกันอยู่หรือไม่อาจอยู่ร่วมกันได้ ปกติสุขเกิน 3 ปีก็สามารถ นำมาเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ แต่กรณีที่สอบถามเขาว่ามาเนี่ย คือผัวไปมีเมียน้อย ย้ายไปเสวยสุขกันแล้วจะมาหัวหมอใช้เหตุนี้ในการฟ้องหย่าเมียหลวงอีก…ทำไมไม่อายขนาดนี้นะ!! ก่อนที่จะอารมณ์ขึ้นไปมากกว่านี้บอกทงคำต่อไปเลยละกันว่าตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาบอกว่าผัวเนี่ยจะอ้างเหตุนี้ในการฟ้องหย่าเมียไม่ได้ โดยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10560/2557 สามีเป็นฝ่ายตัดสินใจแยกไปอยู่ที่อื่นเองแล้วกลับไปมีภริยาใหม่จนมีบุตรด้วยกัน ภริยาจึงไม่ได้ไปมาหาสู่อยู่กินหลับนอนฉันสามีภริยาด้วย สามีฟ้องหย่าไม่ได้ เพราะมิใช่พฤติการณ์ที่แสดงว่าภริยาสมัครใจแยกกันอยู่ เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขมาตลอดมาเกิน 3 ปี อันเป็นเหตุให้สามีฟ้องหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 แค่นี้ไปมีเมียใหม่ก็ว่าแย่แล้ว กลับ มารับผิดชอบดูแลตกลงแบ่งทรัพย์สิน และขอหย่าให้เป็นที่เรียบร้อยจะดีกว่า เอาเหตุที่ตัวเองผิดหมดมาเป็นเหตุฟ้องหย่าอีก อ่านแล้วปวดหัว เฮ้อ

ลูกหนี้โอนย้ายทรัพย์สิน หลังจากที่ถูกเจ้าหนี้ฟ้องคดี มีความผิดอาญาฐานโกงเจ้าหนี้

ลูกหนี้โอนย้ายทรัพย์สิน หลังจากที่ถูกเจ้าหนี้ฟ้องคดี มีความผิดอาญาฐานโกงเจ้าหนี้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16070 – 16072/255 ตาม ป.อ. มาตรา 350 บัญญัติไว้ชัดเจนว่า ผู้ใดเพียงแต่รู้ว่าเจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ แล้วย้ายไปเสีย ซ่อนเร้นหรือโอนไปให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ใด แกล้งให้ตนเองเป็นหนี้จำนวนใดอันไม่เป็นความจริง ก็ถือว่าเป็นความผิดตามมาตราดังกล่าวแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในเรื่องผิดสัญญาและเรียกค่าเสียหาย จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นใดพอชำระหนี้แก่โจทก์ ขณะที่คดีแพ่งดังกล่าวอยู่ระหว่างบังคับคดีตามคำพิพากษา จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดิน 3 แปลง ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเสน่หา แม้คดีแพ่งดังกล่าวจำเลยที่ 1 ได้ฟ้องแย้ง และผลคดีอาจจะเปลี่ยนแปลงโดยศาลฎีกาอาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชนะคดีตามฟ้องแย้ง ซึ่งไม่แน่ว่าโจทก์จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในชั้นที่สุดหรือไม่ก็ตาม ก็ถือว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานโกงเจ้าหนี้แล้ว ไม่จำต้องถือเอาคำพิพากษาของศาลที่พิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดในทางแพ่งมาเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานดังกล่าว

ลูกหนี้กับเจ้าหนี้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยผู้ค้ำประกันไม่ได้ร่วมทำสัญญาด้วย ผู้ค้ำไม่ต้องรับผิด

ลูกหนี้กับเจ้าหนี้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยผู้ค้ำประกันไม่ได้ร่วมทำสัญญาด้วย ผู้ค้ำไม่ต้องรับผิด คำพิพากษาฎีกาที่ 4235/2547 เช็คที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายชำระหนี้ให้แก่โจทก์ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์จึงร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 1 ต่อมามีการทำสัญญาขึ้น โดยจำเลยที่ 1 ไม่ต้องชำระหนี้เต็มจำนวนทันที แต่แบ่งชำระเป็น 4 งวด มีลักษณะเป็นการระงับข้อพิพาทต่อกันและผ่อนผันการชำระหนี้ให้แก่กัน เข้าลักษณะสัญญาประนีประนอมตาม ป.พ.พ. 850 ย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไปและทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามสัญญานั้นตามมาตรา 852 โจทก์คงได้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้นจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันมูลหนี้ซื้อขายเดิมของจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์

ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด สำนักงานบังคับคดี แต่ปรากฏว่ายังมีคนอยู่ในบ้านทำยังไงดี ?

ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด สำนักงานบังคับคดี แต่ปรากฏว่ายังมีคนอยู่ในบ้านทำยังไงดี ? ปัญหา ในกรณีผู้ซื้อทรัพย์สินจากการขายทอดตลาดหรือการประมูลสู้ราคาของสำนักงานบังคับคดี แต่บ้านยังมีลูกหนี้หรือจำเลยและบริวารอาศัยอยู่ ผู้ซื้อจึงจำเป็นต้องยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อบังคับให้ลูกหนี้หรือจำเลยและบริวารออกไป เมื่อพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2560 ได้เริ่มบังคับใช้ ซึ่งเป็นวิธีง่าย โดยผู้ซื้อไม่จำเป็นต้องไปยื่นคำฟ้องขับไล่เป็นคดีใหม่ หลังจากผู้ซื้อได้ทำการโอนกรรมสิทธิ์ต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ในทรัพย์สินที่ประมูลเรียบร้อยแล้ว แต่จำเลยและบริวารยังไม่ยอมย้ายออก ผู้ซื้อต้องดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมาย ดังนี้ 1 ยื่นคำร้องขอออกหมายบังคับคดีลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 334 เพื่อให้ศาลมีคำสั่งออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยผู้ซื้อจะอยู่ในฐานะผู้ร้องในคดีเดิม 2 ผู้ซื้อหรือผู้แทนต้องนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยังที่ตั้งทรัพย์ เพื่อปิดประกาศขับไล่ โดยการจองคิวประมาณ 1-2 วัน เพื่อให้ผู้ที่อยู่อาศัยอ้างว่ามิใช่บริวารจำเลยยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายใน 15 วันนับแต่วันที่ปิดประกาศเพื่อให้ศาลนัดวันไต่สวนคำร้อง 3 หากจำเลยและบริวารยังไม่ออก หรือไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนด ผู้ซื้อต้องเป็นผู้รายงานต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี และขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะมีหนังสือไปรายงานศาล เพื่อมีคำสั่งจับกุมและกักขังโดยผู้ซื้อต้องไปคัดทะเบียนราษฎรบุคคลที่จะขอให้เจ้าพนักงานออกหมายจับรับรองไม่เกิน 1 เดือน 4 คัดถ่ายหมายจับกุมและกักขัง เพื่อนำเจ้าหน้าที่ตำรวจไปดำเนินการจับกุม ส่งตัวมายังศาล หรือบางกรณีศาลอาจจะมีคำสั่งนัดพร้อม เพื่อเรียกตัวจำเลยมีมาสอบถามก่อนก็ได้ 5 กรณีถูกออกหมายจับ ลูกหนี้และบริวาร...

ค่าขี้นศาลในคดีแพ่ง กรณี “คดีที่มีทุนทรัพย์”

ค่าขี้นศาลในคดีแพ่ง กรณี “คดีที่มีทุนทรัพย์” คดีที่มีทุนทรัพย์ ได้แก่ คดีที่โจทก์เรียกร้องโดยมีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ โดยจำนวนเงินหรือราคาทรัพย์ที่เรียกร้องนั้นถือเป็นทุนทรัพย์ – ค่าขึ้นศาลในคดีที่มีทุนทรัพย์โจทก์ต้องเสียอัตราร้อยละ 2 ของจำนวนทุนทรัพย์ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ซึ่งทุนทรัพย์ 10 ล้านบาท – สำหรับทุนทรัพย์พิพาทเกิน 50 ล้านบาท ส่วนที่เกินเสียอัตราร้อยละ 0.1 – สำหรับคดีมโนสาเร่ ทุนทรัพย์พิพาทไม่เกิน 300,000 บาท เสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 2 แต่ไม่เกิน 1,000 บาท อยู่เขตอำนาจศาลแขวง ติดต่อจ้าง Info@legalclinic.co.th

ค่าขึ้นศาลในคดีแพ่ง กรณีเป็น “คดีที่ไม่มี” ทุนทรัพย์

ค่าขึ้นศาลในคดีแพ่ง กรณีเป็น “คดีที่ไม่มี” ทุนทรัพย์ คดีไม่มีทุนทรัพย์ คือ คดีที่โจทก์มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ โดยสำหรับค่าขึ้นศาลในคดีไม่มีทุนทรัพย์โจทก์ต้องเสียเรื่องละ 200 บาท – ในกรณีเป็นคดีมีทุนทรัพย์กับไม่มีทุนทรัพย์รวมอยู่ในคดีเดียวกันให้คิดค่าขึ้นศาลในอัตราร้อยละ 2 ของจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องโดยเป็นเงินอย่างต่ำ 200 บาท แต่ไม่เกิน 200,000 บาท – คำฟ้องขอให้ศาลบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ คิดค่าขึ้นศาลอัตราร้อยละ 1 ตามจำนวนทุนทรัพย์ที่อนุญาโตตุลาการกำหนดไว้ในคำชี้ขาดแต่ไม่เกิน 100,000 บาท – คำฟ้องขอให้บังคับจำนองหรือบังคับเอาทรัพย์สินจำนองหลุด คิดค่าขึ้นศาลตามจำนวนหนี้ที่เรียกร้องในอัตราร้อยละ 1 แต่ไม่เกิน 100, 000 บาท – อุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 หรือ 228 เสียค่าขึ้นศาลเรื่องละ 200 บาท – ค่าขึ้นศาลในอนาคต เกี่ยวกับค่าเช่า ดอกเบี้ย ค่าเสียหาย เป็นต้น 100 บาท ติดต่อจ้าง Info@legalclinic.co.thค่าขึ้นศาลในคดีแพ่ง กรณีเป็น...

ทายาทเท่านั้นที่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าปลงศพ บุคคลภายนอกแม้จ่ายค่าปลงศพแทน แต่ไม่ใช่ทายาทไม่มีสิทธิฟ้อง

ทายาทเท่านั้นที่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าปลงศพ บุคคลภายนอกแม้จ่ายค่าปลงศพแทน แต่ไม่ใช่ทายาทไม่มีสิทธิฟ้อง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2514 ค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับค่าปลงศพตามมาตรา 443 วรรค 1หมายความเฉพาะผู้ที่เป็นทายาทของผู้ตายที่จะเรียกร้องเอาแก่ผู้ที่กระทำละเมิด ทำให้เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเพราะสิทธิในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนโดยเหตุที่ได้ละเมิดแก่เจ้ามรดกตกทอดมายังตนผู้เป็นทายาทภายใต้บังคับของมาตรา 1649 เท่านั้นมิได้หมายความว่าใครทำศพผู้ตายแล้วก็จะมีสิทธิเรียกร้องค่าทำศพในลักษณะที่เป็นค่าสินไหมทดแทนฐานละเมิดเสียเองได้เสมอไปเมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่ใช่ทายาทผู้ตายเพราะไม่ได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายในการปลงศพเป็นค่าสินไหมทดแทนแก่ตนในการที่จำเลยกระทำละเมิดต่อผู้ตาย

ทายาทของผู้ตายฟ้องเรียกค่ารักษาพยาบาลผู้ถูกทำละเมิดก่อนตายได้ แม้จะเบิกค่ารักษาจากหน่วยงานราชการไปแล้ว

ทายาทของผู้ตายฟ้องเรียกค่ารักษาพยาบาลผู้ถูกทำละเมิดก่อนตายได้ แม้จะเบิกค่ารักษาจากหน่วยงานราชการไปแล้ว คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2258/2527 จำเลยที่ 3 ประกอบการขนส่งบุคคลเดินรถโดยสารประจำทาง ได้เช่ารถยนต์ของจำเลยที่ 2 มาใช้ในการเดินรถโดยสารของตนโดยมีจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 เป็น คนขับ ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 3 เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยสารโดยประมาทชนโจทก์ได้รับบาดเจ็บ จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ด้วย แม้นายจ้างของโจทก์จะได้ออกเงินค่ารักษาพยาบาลให้แก่โจทก์ไปแล้วก็หาทำให้จำเลยที่ 1 ผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์พ้นความรับผิดในการชดใช้ค่ารักษาพยาบาลไม่โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่ารักษาพยาบาลจากจำเลยทั้งสาม ติดต่องาน info@legalclinic.co.th

ค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมายกรณีละเมิดนั้น ดูหน้าที่ตามกฎหมายเป็นสำคัญ แม้ตามความเป็นจริงผู้ตายไม่ได้อุปการะเลี้ยงดู ผู้รับอุปการะก็ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนนี้ได้

ค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมายกรณีละเมิดนั้น ดูหน้าที่ตามกฎหมายเป็นสำคัญ แม้ตามความเป็นจริงผู้ตายไม่ได้อุปการะเลี้ยงดู ผู้รับอุปการะก็ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนนี้ได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5042/2552 ค่าขาดไร้อุปการะตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคสาม นั้น เมื่อปรากฏว่าผู้ตายมีหน้าที่ที่จะต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูโจทก์ทั้งสามตามกฎหมาย โจทก์ทั้งสามจึงมีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะดังกล่าว โดยไม่ต้องพิจารณาว่าในขณะนั้นผู้ตายได้อุปการะเลี้ยงดูโจทก์ทั้งสามหรือไม่ เมื่อพิจารณาถึงอายุของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ซึ่งขณะเกิดเหตุมีอายุประมาณ 58 ปี และ 34 ปี ตามลำดับแล้ว เห็นว่าโจทก์ที่ 2 และที่ 3 มีโอกาสได้รับการอุปการะตามกฎหมายได้ไม่น้อยกว่า 15 ปี ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าขาดไร้อุปการะให้โจทก์ที่ 2 จำนวน 300,000 บาท และโจทก์ที่ 3 จำนวน 100,000 บาท ถือว่าเหมาะสมแล้ว ส่วนโจทก์ที่ 1 ขณะเกิดเหตุละเมิดมีอายุประมาณ 78 ปี นับว่ามีอายุมากแล้วเมื่อเทียบกับอายุขัยของคนทั่วไป ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าขาดไร้อุปการะให้เป็นเงินถึง 300,000 บาท นับว่าเป็นจำนวนค่อนข้างสูง จึงเห็นสมควรลดลงบางส่วนโดยกำหนดค่าขาดไร้อุปการะให้โจทก์ที่...

บุคคลภายนอกที่มิใช่คู่ความ แต่สมัครใจเข้ามาในคดีโดยตกลงร่วมรับผิดกับลูกหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล ก็ถูกบังคับคดีได้

บุคคลภายนอกที่มิใช่คู่ความ แต่สมัครใจเข้ามาในคดีโดยตกลงร่วมรับผิดกับลูกหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล ก็ถูกบังคับคดีได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3787/2564 แม้ ส. เป็นบุคคลภายนอกมิใช่คู่ความในคดีที่ถูกฟ้องแต่แรก แต่ ส. ยินยอมเข้ามาในคดีโดยตกลงยอมรับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความอย่างลูกหนี้ร่วมและได้ลงลายมือชื่อผูกพันตนว่าจะชำระหนี้แก่โจทก์ในสัญญาประนีประนอมยอมความด้วย เมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 274 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2560 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน 2560 และโจทก์ยื่นคำขอออกหมายบังคับคดีภายหลังจากมาตรา 274 ที่แก้ไขใหม่ มีผลใช้บังคับแล้ว การบังคับคดีของโจทก์จึงตกอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 274 วรรคหนึ่งที่แก้ไขใหม่ สัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมที่ ส. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกยินยอมเข้ามาผูกพันตนว่าจะชำระหนี้แก่โจทก์ร่วมรับผิดกับจำเลยมีผลผูกพัน ส. ในฐานะเป็นบุคคลที่ศาลมีคำพิพากษาให้ชำระหนี้หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาให้ต้องปฏิบัติตาม เมื่อ ส. ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอม โจทก์มีสิทธิขอให้บังคับคดี ส. ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 274 วรรคหนึ่งที่แก้ไขใหม่