กรุณารอสักครู่

 

HomeCategoryกฎหมายครอบครัว Archives - บริษัท ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น จำกัด

ทายาทตามกฎหมาย มีใครบ้าง ?

ทายาทตามกฎหมายในการรับมรดก เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายแน่นอนว่าสิ่งที่ทายาทต้องทำ คือ จัดการทรัพย์มรดกให้แก่ทายาท แต่ทายาทตามกฎหมายมีใครบ้าง วันนี้จะมาอธิบายให้ฟังดังนี้ค่ะ 1.ถ้าผู้ตายมีคู่สมรส ต้องดูว่าทรัพย์สินนั้น เป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรส ถ้าเป็นสินสมรส จะต้องแบ่งให้คู่สมรสครึ่งหนึ่งก่อน และส่วนที่เหลือเป็น “ทรัพย์มรดก” ที่จะตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม หรือ ผู้รับพินัยกรรม 2.ถ้ามีพินัยกรรม ต้องดูว่าผู้ตายได้ยกทรัพย์มรดกให้แก่ผู้รับพินัยกรรมเท่าใด หากยกให้ทั้งหมด ทายาทโดยธรรมจะไม่มีสิทธิได้รับมรดก แต่หากยกให้เพียงบางส่วน ส่วนที่เหลือจะนำมาแบ่งแก่ทายาทโดยธรรมตามลำดับ 3.พิจารณาว่าใครบ้างที่เป็นทายาทโดยธรรม เพื่อที่จะทราบว่าใครบ้างที่เป็นทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดก และได้รับในสัดส่วนเท่าใด โดยทายาทโดยธรรมมีทั้งหมด 6 ลำดับ ได้แก่ ลำดับที่ 1 ผู้สืบสันดาน (บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย บุตรบุญธรรม บุตรที่บิดารับรองโดยพฤตินัย) ลำดับที่ 2 บิดามารดาที่ชอบด้วยกฎหมาย ลำดับที่ 3 พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน (ตามสายเลือด) ลำดับที่ 4 พี่น้องร่วมแต่บิดาหรือมารดาเดียวกัน ลำดับที่ 5 ปู่ ย่า ตา ยาย (โดยชอบด้วยกฎหมาย) ลำดับที่ 6 ลุง...

“แจ้งความเท็จ” เพื่อแกล้งให้คนอื่นได้รับโทษ คนแจ้งติดคุกแน่!!!

“แจ้งความเท็จ” เพื่อแกล้งให้คนอื่นได้รับโทษ คนแจ้งติดคุกแน่!!! ความผิดฐานแจ้งความเท็จนั้น คือ การแจ้งข้อความที่เป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 และยังมีบทเฉพาะมาตรา 172,173,174 ที่มีโทษหนักขึ้นสูงสุดผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 100,000 บาท ที่เป็นการเพื่อจะแกล้งให้บุคคลใดต้องรับโทษหรือรับโทษหนักขึ้น การแจ้งความเท็จนั้น ผู้แจ้งต้องกระทำโดยเจตนา คือ ต้องรู้ข้อเท็จจริงว่าสิ่งที่แจ้งนั้นเป็นเท็จ ไม่มีเป็นความจริง อาจมีการกระทำด้วยการบอกกับเจ้าพนักงาน, ตอบคำถามเจ้าพนักงาน เช่น ให้การเท็จในฐานะเป็นพยาน, แจ้งโดยแสดงหลักฐาน มีลักษณะเป็นการยืนยันข้อเท็จจริง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8611/2553 การที่จำเลยยืนยันข้อเท็จจริงว่าจำเลยเห็นโจทก์ร่วมหยิบเอาเศษสร้อยคอทองคำของจำเลยไปและไปและได้แจ้งความแก่พนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีโจทก์ร่วมในข้อหาลักทรัพย์ซึ่งเป็นข้อความอันเป็นเท็จ โดยจำเลยรู้ดีว่ามิได้มีการกระทำผิดในข้อหาลักทรัพย์เกิดขึ้น แต่กลับไปแจ้งความแก่พนักงานสอบสวนดังกล่าวว่าได้มีการกระทำผิดข้อหาลักทรัพย์อันเป็นเท็จเพื่อให้พนักงานสอบสวนเชื่อว่าได้มีความผิดข้อหาลักทรัพย์เกิดขึ้น เพื่อให้โจทก์ร่วมได้รับโทษ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จตาม ป.อ. มาตรา 137, 174 วรรคสอง ประกอบมาตรา 173 นอกจากนี้ จำเลยยังมีเจตนายังมีเจตนาแจ้งความเพื่อให้โจทก์ร่วมถูกดูหมิ่นเกลียดชังและเสียชื่อเสียง จึงเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมอีกด้วย ติดต่องาน info@legalclinic.co.th

แม่ไม่อาจมอบอำนาจปกครองบุตรให้แก่พ่อที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส (บิดาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย)

แม่ไม่อาจมอบอำนาจปกครองบุตรให้แก่พ่อที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส (บิดาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย) คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3780/2543 โจทก์จำเลยอยู่กินด้วยกันโดยไม่จดทะเบียนสมรสซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1546 บัญญัติว่า เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น ดังนั้น จึงถือได้ว่าเด็กชาย จ. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์และมิใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลย ดังนั้นอำนาจปกครองเด็กชาย จ. นั้น ต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 1566 วรรคหนึ่ง คือต้องอยู่กับโจทก์ซึ่งเป็นมารดาฝ่ายเดียว เมื่อจำเลยมิได้เป็นบิดาตามความหมายของมาตรา 1566 ดังกล่าว การตกลงระหว่างโจทก์จำเลยที่ให้เด็กชาย จ. อยู่ในความปกครองของจำเลยจึงไม่มีผลผูกพันเป็นเหตุให้จำเลยมีอำนาจปกครองเด็กชาย จ. ตามมาตรา 1566 วรรคสอง (6) จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของเด็กชาย จ. ให้อยู่กับตนตามมาตรา 1567 (1) ได้ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยส่งมอบเด็กชาย จ. คืนจากจำเลยตามมาตรา 1567 (4) คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเพียงคำให้การแก้ฟ้องของโจทก์ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่สุจริตเท่านั้น ข้อเท็จจริงที่จำเลยอ้างมิใช่ข้อเท็จจริงที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นจึงไม่เป็นคำฟ้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ดังนั้น ข้อเท็จจริงส่วนนี้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นฟ้องแย้ง...

พ่อแม่ของบุตรไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน (และไม่ได้มีการรับรองบุตรก่อนฟ้องคดี) แม้บุตรต้องการอยู่กับพ่อ ศาลไม่อาจสั่งให้บุตรอยู่กับพ่อได้ อำนาจปกครองเป็นของแม่เท่านั้น

พ่อแม่ของบุตรไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน (และไม่ได้มีการรับรองบุตรก่อนฟ้องคดี) แม้บุตรต้องการอยู่กับพ่อ ศาลไม่อาจสั่งให้บุตรอยู่กับพ่อได้ อำนาจปกครองเป็นของแม่เท่านั้น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7407 / 2556 ถึงแม้พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ ซึ่งใช้บังคับวันที่ 22 พฤษภาคม 2554 กับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ ซึ่งถูกยกเลิกไปแล้วมีบทบัญญัติในหมวดการพิจารณาพิพากษาคดีครอบครัวให้ศาลคำนึงถึงสวัสดิภาพ อนาคตและประโยชน์สูงสุดของบุตรผู้เยาว์ประกอบดุลพินิจในการพิพากษาทำนองเดียวกัน แต่พระราชบัญญัติดังกล่าวก็เป็นกฏหมายวิธีสบัญติที่กำหนดขั้นตอนแนวทางในการดำเนินคดีตลอดจนวิธีปฏิบัติในการพิจารณาพิพากษา เกี่ยวกับคดีเยาวชนและครอบครัวเท่านั้น ไม่มีบทบัญญัติใดในพระราชบัญญัติดังกล่าวที่ระบุให้ศาลต้องฟังความประสงค์ของผู้เยาว์เป็นสำคัญว่าผู้เยาว์ประสงค์จะอยู่ในความปกครองของผู้ใด ในคดีครอบครัวที่พิพาทกันด้วยเรื่องอำนาจปกครองบุตร การใช้ดุลพินิจประกอบข้อวินิจฉัยประเด็นพิพาทเรื่องสิทธิและหน้าที่ของคู่ความในคดีครอบครัวว่ามีอย่างไรหรือไม่นั้นต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งเป็นกฎหมายสารบัญญัติที่บัญญัติไว้ โจทก์กับจำเลยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันแล้วจำเลยไม่ได้จดทะเบียนว่าผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรและยังไม่มีคำพิพากษาของศาลว่าผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรชอบด้วยกฏหมายของจำเลย จำเลยจึงเป็นเพียงบิดามิชอบด้วยกฏหมายที่ไม่มีอำนาจปกครองผู้เยาว์ทั้งสอง ส่วนโจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ทั้งสองแต่เพียงผู้เดียว ด้วยเหตุที่ผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1546 ทั้งนี้ไม่มีบทกฎหมายใดที่บัญญัติให้สิทธิผู้ใช้อำนาจปกครองสละการใช้อำนาจปกครองให้ผู้อื่นได้ ทั้งอำนาจปกครองบุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะที่จะตกอยู่แก่บิดาในกรณีมาตรา 1566  (5) (6) ก็มีได้เฉพาะผู้เป็นบิดาชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องว่าโจทก์ถูกกีดกันขัดขวางไม่ให้รับผู้เยาว์ทั้งสองไปอยู่ด้วยแล้ว ศาลชั้นต้นกลับมีคำสั่งกำหนดให้ผู้เยาว์ไปอยู่กับปู่และย่าซึ่งเป็นบิดาของจำเลย ทั้งที่โจทก์ยังมีชีวิตและไม่ได้ถูกถอนอำนาจปกครองจึงเป็นการไม่ถูกต้องด้วยข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1585 ติดต่อจ้าง Info@legalclinic.co.th

การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หากรับบุตรบุญธรรมโดยไม่จดทะเบียน จะถือว่าไม่สมบูรณ์ ไม่มีผลผูกพันตามกฎหมาย

การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หากรับบุตรบุญธรรมโดยไม่จดทะเบียน จะถือว่าไม่สมบูรณ์ ไม่มีผลผูกพันตามกฎหมาย   คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 591/2563 โจทก์ร่วมเป็นยายของผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ มิใช่ผู้แทนโดยชอบธรรมซึ่งเป็นบุคคลที่มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายที่ 2 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5 (1) แม้ศาลเยาวชนและครอบครัวมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ร่วมจดทะเบียนรับผู้เสียหายที่ 2 เป็นบุตรบุญธรรมก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ร่วมมิได้จดทะเบียนรับผู้เสียหายที่ 2 เป็นบุตรบุญธรรม การรับบุตรบุญธรรมของโจทก์ร่วมยังไม่สมบูรณ์และไม่มีผลตามกฎหมาย โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้รับบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/21 และมาตรา 1598/27   ติดต่องาน info@legalclinic.co.th   #นำสืบ #โมฆะ #รับรองบุตร #ประมวลกฎหมาย #findmylawyer #ทนายความ #มรดก #ฟ้องร้อง

ลูกเมียน้อยมีสิทธิได้รับมรดกจากบิดาหรือไม่ ?

ลูกเมียน้อยมีสิทธิได้รับมรดกจากบิดาหรือไม่ ? ในทางกฎหมายนั้น ลูกเมียน้อย (ลูกนอกสมรส) ก็อาจมีสิทธิได้รับมรดกของบิดาได้ โดยต้องพิจารณา ดังนี้ 1. บิดามีการจดทะเบียนรับรองบุตร 2. มีการรับรองโดยพฤตินัย เช่น บิดาแจ้งในใบเกิดว่าเป็นบิดาของบุตร บิดาให้บุตรใช้นามสกุล บิดาพาเมียน้อยไปฝากครรภ์ที่โรงพยาบาล เป็นต้น ซึ่งหากมีกรณีข้างต้น ลูกเมียน้อยดังกล่าวก็จะถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย จะมีสิทธิได้รับมรดกของบิดาในฐานะทายาทโดยธรรมได้ ทั้งนี้เรื่องการรับมรดกของลูกเมียน้อยนั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงโดยละเอียด การที่ลูกเมียน้อยจะมีสิทธิรับมรดกหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงเป็นรายกรณีไป ควรปรึกษาทนายความที่มีความเชี่ยวชาญ ติดต่องาน info@legalclinic.co.th

ผัวแยกไปอยู่กับเมียใหม่ จะมาฟ้องหย่าเมียเก่า โดยอ้างเหตุสมัครใจแยกกันอยู่ไม่ได้

ผัวแยกไปอยู่กับเมียใหม่ จะมาฟ้องหย่าเมียเก่า โดยอ้างเหตุสมัครใจแยกกันอยู่ไม่ได้ หลายคนอาจจะเคยได้ยินคร่าวๆว่าหนึ่งในเหตุของการฟ้องหย่าก็คือ … สามีและภรรยาสมัครใจแยกกันอยู่หรือไม่อาจอยู่ร่วมกันได้ ปกติสุขเกิน 3 ปีก็สามารถ นำมาเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ แต่กรณีที่สอบถามเขาว่ามาเนี่ย คือผัวไปมีเมียน้อย ย้ายไปเสวยสุขกันแล้วจะมาหัวหมอใช้เหตุนี้ในการฟ้องหย่าเมียหลวงอีก…ทำไมไม่อายขนาดนี้นะ!! ก่อนที่จะอารมณ์ขึ้นไปมากกว่านี้บอกทงคำต่อไปเลยละกันว่าตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาบอกว่าผัวเนี่ยจะอ้างเหตุนี้ในการฟ้องหย่าเมียไม่ได้ โดยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10560/2557 สามีเป็นฝ่ายตัดสินใจแยกไปอยู่ที่อื่นเองแล้วกลับไปมีภริยาใหม่จนมีบุตรด้วยกัน ภริยาจึงไม่ได้ไปมาหาสู่อยู่กินหลับนอนฉันสามีภริยาด้วย สามีฟ้องหย่าไม่ได้ เพราะมิใช่พฤติการณ์ที่แสดงว่าภริยาสมัครใจแยกกันอยู่ เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขมาตลอดมาเกิน 3 ปี อันเป็นเหตุให้สามีฟ้องหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 แค่นี้ไปมีเมียใหม่ก็ว่าแย่แล้ว กลับ มารับผิดชอบดูแลตกลงแบ่งทรัพย์สิน และขอหย่าให้เป็นที่เรียบร้อยจะดีกว่า เอาเหตุที่ตัวเองผิดหมดมาเป็นเหตุฟ้องหย่าอีก อ่านแล้วปวดหัว เฮ้อ

ลูกหนี้โอนย้ายทรัพย์สิน หลังจากที่ถูกเจ้าหนี้ฟ้องคดี มีความผิดอาญาฐานโกงเจ้าหนี้

ลูกหนี้โอนย้ายทรัพย์สิน หลังจากที่ถูกเจ้าหนี้ฟ้องคดี มีความผิดอาญาฐานโกงเจ้าหนี้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16070 – 16072/255 ตาม ป.อ. มาตรา 350 บัญญัติไว้ชัดเจนว่า ผู้ใดเพียงแต่รู้ว่าเจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ แล้วย้ายไปเสีย ซ่อนเร้นหรือโอนไปให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ใด แกล้งให้ตนเองเป็นหนี้จำนวนใดอันไม่เป็นความจริง ก็ถือว่าเป็นความผิดตามมาตราดังกล่าวแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในเรื่องผิดสัญญาและเรียกค่าเสียหาย จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นใดพอชำระหนี้แก่โจทก์ ขณะที่คดีแพ่งดังกล่าวอยู่ระหว่างบังคับคดีตามคำพิพากษา จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดิน 3 แปลง ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเสน่หา แม้คดีแพ่งดังกล่าวจำเลยที่ 1 ได้ฟ้องแย้ง และผลคดีอาจจะเปลี่ยนแปลงโดยศาลฎีกาอาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชนะคดีตามฟ้องแย้ง ซึ่งไม่แน่ว่าโจทก์จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในชั้นที่สุดหรือไม่ก็ตาม ก็ถือว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานโกงเจ้าหนี้แล้ว ไม่จำต้องถือเอาคำพิพากษาของศาลที่พิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดในทางแพ่งมาเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานดังกล่าว

ลูกหนี้กับเจ้าหนี้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยผู้ค้ำประกันไม่ได้ร่วมทำสัญญาด้วย ผู้ค้ำไม่ต้องรับผิด

ลูกหนี้กับเจ้าหนี้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยผู้ค้ำประกันไม่ได้ร่วมทำสัญญาด้วย ผู้ค้ำไม่ต้องรับผิด คำพิพากษาฎีกาที่ 4235/2547 เช็คที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายชำระหนี้ให้แก่โจทก์ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์จึงร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 1 ต่อมามีการทำสัญญาขึ้น โดยจำเลยที่ 1 ไม่ต้องชำระหนี้เต็มจำนวนทันที แต่แบ่งชำระเป็น 4 งวด มีลักษณะเป็นการระงับข้อพิพาทต่อกันและผ่อนผันการชำระหนี้ให้แก่กัน เข้าลักษณะสัญญาประนีประนอมตาม ป.พ.พ. 850 ย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไปและทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามสัญญานั้นตามมาตรา 852 โจทก์คงได้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้นจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันมูลหนี้ซื้อขายเดิมของจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์

ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด สำนักงานบังคับคดี แต่ปรากฏว่ายังมีคนอยู่ในบ้านทำยังไงดี ?

ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด สำนักงานบังคับคดี แต่ปรากฏว่ายังมีคนอยู่ในบ้านทำยังไงดี ? ปัญหา ในกรณีผู้ซื้อทรัพย์สินจากการขายทอดตลาดหรือการประมูลสู้ราคาของสำนักงานบังคับคดี แต่บ้านยังมีลูกหนี้หรือจำเลยและบริวารอาศัยอยู่ ผู้ซื้อจึงจำเป็นต้องยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อบังคับให้ลูกหนี้หรือจำเลยและบริวารออกไป เมื่อพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2560 ได้เริ่มบังคับใช้ ซึ่งเป็นวิธีง่าย โดยผู้ซื้อไม่จำเป็นต้องไปยื่นคำฟ้องขับไล่เป็นคดีใหม่ หลังจากผู้ซื้อได้ทำการโอนกรรมสิทธิ์ต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ในทรัพย์สินที่ประมูลเรียบร้อยแล้ว แต่จำเลยและบริวารยังไม่ยอมย้ายออก ผู้ซื้อต้องดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมาย ดังนี้ 1 ยื่นคำร้องขอออกหมายบังคับคดีลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 334 เพื่อให้ศาลมีคำสั่งออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยผู้ซื้อจะอยู่ในฐานะผู้ร้องในคดีเดิม 2 ผู้ซื้อหรือผู้แทนต้องนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยังที่ตั้งทรัพย์ เพื่อปิดประกาศขับไล่ โดยการจองคิวประมาณ 1-2 วัน เพื่อให้ผู้ที่อยู่อาศัยอ้างว่ามิใช่บริวารจำเลยยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายใน 15 วันนับแต่วันที่ปิดประกาศเพื่อให้ศาลนัดวันไต่สวนคำร้อง 3 หากจำเลยและบริวารยังไม่ออก หรือไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนด ผู้ซื้อต้องเป็นผู้รายงานต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี และขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะมีหนังสือไปรายงานศาล เพื่อมีคำสั่งจับกุมและกักขังโดยผู้ซื้อต้องไปคัดทะเบียนราษฎรบุคคลที่จะขอให้เจ้าพนักงานออกหมายจับรับรองไม่เกิน 1 เดือน 4 คัดถ่ายหมายจับกุมและกักขัง เพื่อนำเจ้าหน้าที่ตำรวจไปดำเนินการจับกุม ส่งตัวมายังศาล หรือบางกรณีศาลอาจจะมีคำสั่งนัดพร้อม เพื่อเรียกตัวจำเลยมีมาสอบถามก่อนก็ได้ 5 กรณีถูกออกหมายจับ ลูกหนี้และบริวาร...