กรุณารอสักครู่

 

HomeCategoryกฎหมาย Archives - บริษัท ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น จำกัด

7 เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับการลาออก จำไม่หมดก็จด ขี้เกียจจดก็กดแชร์นะคะ

7 เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับการลาออก จำไม่หมดก็จด ขี้เกียจจดก็กดแชร์นะคะ   1. การลาออกเป็นการแสดงเจตนาเลิกสัญญาจ้างโดยลูกจ้าง ไม่ว่าด้วยวาจาหรือเป็นลายลักษณ์อักษรขอบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานกับนายจ้าง มีผลทำให้สัญญาจ้างแรงงานเป็นอันสิ้นสุดลง (คำพิพากษาฎีกาที่6048-6051/2546)   2. เมื่อแสดงเจตนาลาออกแล้ว จะถอนไม่ได้ ยกเว้นนายจ้างยินยอม การลาออกถือเป็นการแสดงเจตนาฝ่ายเดียวมีผลเมื่ออีกฝ่ายคือนายจ้างและรับทราบการแสดงเจตนานั้นเมื่อแสดงเจตนาลาออกและนายจ้างได้รับทราบเจตนาดังกล่าวแล้วลูกจ้างจะถอนการแสดงเจตนาโดยที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ยินยอมไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 386 (คำพิพากษาฎีกาที่ 1900/2542)   3. ก่อนการลาออกมีผล ลูกจ้างยังมีสถานะเป็นลูกจ้าง หากทำผิดนายจ้างเลิกจ้างได้ เมื่อลูกจ้างยื่นใบลาออกนายจ้างอนุมัติการลาออกแล้ว แต่ในระหว่างที่ยังไม่ถึงกำหนดเวลาพ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้างตามที่กำหนดไว้ในใบลาออก หากลูกจ้างกระทำผิดฝ่าฝืนคำสั่งระเบียบข้อบังคับการทำงานของนายจ้าง นายจ้างมีสิทธิ์ลงโทษทางวินัยและเลิกจ้างได้(คำพิพากษาฎีกาที่ 1919/2546)   4. นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานก่อนครบกำหนดในใบลาออกไม่ใช่การเลิกจ้าง ศาลฎีกาเคยตัดสินว่าสัญญาจ้างสิ้นสุดลงเพราะการลาออกไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง ทั้งนี้เพราะลูกจ้างเป็นฝ่ายแสดงเจตนาขอบอกเลิกสัญญาจ้างก่อน แม้นายจ้างไม่ได้แสดงเจตนาอะไรสัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อถึงวันที่ระบุให้ใบลาออกมีผล แม้นายจ้างจะให้ลูกจ้างออกจากงานก่อนถึงวันดังกล่าวตามที่ลูกจ้างประสงค์โดยลูกจ้างไม่มีความผิดก็มีผลทำให้ลูกจ้างเสียหายเพียงเท่าที่ไม่รับค่าจ้างจนถึงวันที่ลูกจ้างประสงค์จะออกเท่านั้น จึงมิใช่การเลิกจ้าง(คำพิพากษาฎีกาที่ 10161/2551)   5. ลูกจ้างเขียนใบลาออกไว้ล่วงหน้าไม่มีผลใช้บังคับ การที่นายจ้างให้ลูกจ้างลงชื่อในใบลาออกที่ไม่กรอกข้อความทำขึ้นเพื่อให้นายจ้างมีสิทธิลูกจ้างออกจากงานได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ซึ่งเป็นสิทธิขั้นต่ำตามกฎหมาย ถือว่าทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ขัดต่อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลใช้บังคับ   6.การลาออก ไม่จำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากนายจ้าง แต่หากลูกจ้างลาออกโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า หรือลาออกโดยไม่เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของบริษัท ลูกจ้างอาจจะถูกนายจ้างฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้ แต่นายจ้างจะต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่าการลาออกของลูกจ้างดังกล่าวนั้น นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างไร (คำพิพากษาฎีกาที่10614/2558)...

นายจ้างย้ายสถานประกอบการหากลูกจ้างไม่สะดวกจะไปต้องแจ้งว่าไม่ไปไม่ใช่แจ้งว่าลาออก !!

นายจ้างย้ายสถานประกอบการหากลูกจ้างไม่สะดวกจะไปต้องแจ้งว่าไม่ไปไม่ใช่แจ้งว่าลาออก !! นายจ้างย้ายสถานประกอบการ หากลูกจ้างไม่ไป จะถือว่าลูกจ้างผิดหรือไม่จนถึงขั้นเลิกจ้าง โดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้หรือไม่ เป็นประเด็นที่สอบถามกันเข้ามาบ่อยทั้งในฝั่งนายจ้างและลูกจ้างวันนี้คลินิกกฎหมายแรงงานจึงมาขออธิบายให้ฟังแบบไม่สั้น ดังนั้นค่อยๆอ่านกันนะคะ ก่อนอื่นขออธิบายว่า การย้ายสถานประกอบการในที่นี้ คือ ย้ายจากที่เก่าไปที่ใหม่ เช่น เดิมบริษัทตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ ต่อมาไปซื้อที่ดินและสร้างบริษัทใหม่ที่จังหวัดระยอง จึงปิดกิจการที่กรุงเทพฯและย้ายไปจังหวัดระยอง (ไม่ใช่กรณีย้ายสาขาหรือปิดสาขาเดิมไปอีกสาขาหนึ่งที่มีอยู่ก่อนแล้ว อันนี้จะเป็นคนละกรณีกับการย้ายสถานประกอบการ) ดังนั้น หากการย้ายสถานประกอบการนั้น กระทบต่อการดำรงชีพของลูกจ้าง โดยหากลูกจ้างไม่ประสงค์ไปทำงานในที่ทำงานใหม่ ลูกจ้างก็ไม่ได้ผิด และในกรณีที่นายจ้างเข้าใจว่า “ ก็ระบุไว้ในสัญญาจ้างแล้วหนิ ว่านายจ้างมีสิทธิย้ายตำแหน่งงานหรือย้ายให้ไปทำงานที่ไหนก็ได้ และลูจ้างก็เซ็นยินยอมไปแล้ว ดังนั้นจะสั่งย้ายไปไหนก็ได้” แน่นอนค่ะว่าสัญญานั้นสามารถบังคับได้ค่ะ “แต่ไม่ใช่ทุกกรณี” การย้ายก็ต้องมีหลักเกณฑ์ด้วยหลักเกณฑ์ในการย้ายหรือชอบด้วยกฎหมายเป็นยังไงเรียนเชิญอ่านโพสต์นี้ https://www.facebook.com/100831634828447/posts/pfbid02Fwn2UHQVfeMf5VBJmVjq24PPTPuqj69xzSYWkLEr59WY2A6Q6y8e2yuezvvfwFn8l/?d=n อย่างไรก็ตามหากการย้ายไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ลูกจ้างเองได้รับผลกระทบจากการโยกย้ายไม่ว่าในแง่ของการดำรงค์ชีวิตค่าใช้จ่ายหรือแม้แต่ครอบครัว ลูกจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้าง โดยต้องแจ้งภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งหรือนับแต่วันที่นายจ้างย้ายสถานประกอบการ จึงจะมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองฯ ม.120 แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าการย้ายสถานประกอบนั้น ไม่กระทบต่อการดำรงชีพของลูกจ้างแล้ว ลูกจ้างไม่ไปทำงาน หรือหากกระทบแต่ลูกจ้างก็ไม่ได้แจ้งแก่นายจ้างหรือไม่บอกเลิกสัญญาจ้างภายใน 30 วัน นับแต่วันที่นายจ้างแจ้งให้ทราบ ดังนี้ ลูกจ้างก็อาจมี “ความผิด” ฐานฝ่าฝืนคำสั่งหรือละทิ้งหน้าที่...

จะจบสวยหรือไม่สวย  นายจ้างก็มีหน้าที่ต้องออกหนังสือรับรองการทำงานให้กับลูกจ้าง!!

จะจบสวยหรือไม่สวย นายจ้างก็มีหน้าที่ต้องออกหนังสือรับรองการทำงานให้กับลูกจ้าง!! ซึ่งนายจ้างรายนี้ได้สอบถามเข้ามาเพราะเกิดความไม่แน่ใจและทางเพจก็ตอบไปให้แล้วว่า ยังไงก็ต้องให้เพราะเป็นไปตามกฏหมาย แต่ปรากฏว่านายจ้างก็ยังยืนยันว่าลูกจ้างทำผิดตนเองจึงไม่มีหน้าที่ต้องให้ ด้วยความเคารพนะ ถ้ามีธงในใจอยู่แล้วอธิบาย ยกมาตรามาแล้วก็ยังไม่เชื่อ อันนี้เค้าไม่เรียกมาปรึกษาค่ะเค้าเรียกว่ามาหาคนเข้าข้าง ซึ่งเข้าข้างไม่ได้จริงๆเพราะถ้าเข้าข้างไปและเกิดความเข้าใจผิดๆตัวนายจ้างเองนั่นแหละที่มีสิทธิถูกฟ้องและอาจเกิดความเสียหายภายหลัง ดังนั้น จึงขอนำเรื่องนี้มาแชร์เป็นรอบที่ 99 ว่า ไม่ว่าจะจบแบบใดลาออกไปด้วยความสมัครใจหรือถูกเลิกจ้าง “ต้องออกใบรับรองการทำงาน” เพราะ 1. เป็น “สิทธิ” ของลูกจ้างที่กฎหมายกำหนดไว้ และไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างประเภทใดหรือเรียกชื่ออย่างใด เช่น ลูกจ้างทดลองงาน ลูกจ้างชั่วคราว (ฎ.2187/31) ก็มีสิทธิขอได้ ทั้งนี้ ตาม ป.พ.พ. ม.585 2. เป็น “หน้าที่” ของนายจ้างที่จะต้องออกหนังสือฯ ให้กับลูกจ้างเมื่อลูกจ้างร้องขอ โดยนายจ้างจะปฏิเสธไม่ออกหนังสือฯ “ไม่ได้” ถึงแม้ว่าลูกจ้างจะถูกเลิกจ้างเพราะกระทำความผิดโดยทุจริตต่อนายจ้างก็ตาม ซึ่งรายละเอียดที่นายจ้างสามารถระบุไว้ในหนังสือฯ นั้น กฎหมายกำหนดให้ระบุได้เพียงว่า 1.ลูกจ้างทำงานมานานเท่าใด 2.งานที่ทำงานนั้นเป็นอย่างไร นายจ้างไม่มีสิทธิระบุข้อความลงในหนังสือว่าเลิกจ้างเมื่อใด ด้วยวิธีใด และสาเหตุใด เช่น ระบุว่าลูกจ้างถูกเลิกจ้างเพราะเหตุกระทำทุจริตต่อนายจ้าง เหตุที่กฎหมายกำหนดไว้เช่นนั้น เพราะคงไม่มีบริษัทใดที่จะรับลูกจ้างเข้าทำงาน เนื่องจากมีประวัติการทำงานที่ไม่ดี อย่างไรก็ตามหากนายจ้างจะระบุรายละเอียดนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนดก็ได้เช่นกัน ถ้าข้อความนั้นเป็นไปในลักษณะที่เป็นคุณกับลูกจ้าง (ชมได้ ตำหนิกล่าวโทษไม่ได้)...

“ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ คำสั่งนายจ้าง ที่นายจ้างได้เปรียบลูกจ้างเกินสมควร ศาลแรงงานมีอำนาจสั่งให้มีผลใช้บังคับได้เท่าที่เป็นธรรม”

“ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ คำสั่งนายจ้าง ที่นายจ้างได้เปรียบลูกจ้างเกินสมควร ศาลแรงงานมีอำนาจสั่งให้มีผลใช้บังคับได้เท่าที่เป็นธรรม” วันนี้ยาวหน่อย แต่อยากให้อ่าน เพราะหลายคนั้งนายจ้างแพ้ตั้งแต่เริ่ม เพราะคิดว่าอะไรที่นายจ้างสั่ง นายจ้างร่าง ลูกจ้างเซ็น และนายจ้างประกาศถือว่าเป็นอันใช้ได้…ถ้ายังเข้าใจแบบนั้นอยู่ เกียวตัวสู่ขิต แพ้คดีในชั้นศาลได้เลย เพราะ.. การทำสัญญาจ้างแรงงาน คู่สัญญาอาจตกลงสัญญาจ้างอย่างไรก็ได้ ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของนายจ้างและลูกจ้างเป็นสำคัญก็จริง แต่ข้อตกลงนั้นต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย ไม่เอาเปรียบลูกจ้างเกินสมควร และกรณีหากนายจ้างกำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ คำสั่ง ที่นายจ้างได้เปรียบลูกจ้างเกินสมควร แบบนี้ลูกจ้างจะมีสิทธิทำอย่างไรได้บ้าง เชิญอ่าน… 1. ลูกจ้างมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลแรงงาน หากศาลเห็นว่า สัญญาจ้าง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งนั้น นายจ้างได้เปรียบลูกจ้างเกินสมควร ศาลมีอำนาจสั่งให้สัญญาจ้างข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งนั้นมีผลใช้ปังคับเพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ม.14/1 2.มีคำพิพากษาฎีกาทีน่าสนใจ ดังนี้ ฏ.7810/2560 ข้อตกลงอันเป็นลักษณะข้อห้ามของโจทก์ผู้เป็นนายจ้างก็เพื่อปกป้องข้อมูลความลับและธุรกิจการค้าของโจทก์ให้อยู่รอดตำเนินการต่อไปได้ มุ่งเฉพาะสั่งที่เป็นการแข่งชันในการประกอบธุรกิจการค้าในลักษณะประเภทเดียวกับโจทก์และมีกำหนดระยะเวลา มิใช่ห้ามตลอดไป เป็นข้อตกลงหรือสัญญาที่กระทำได้โดยชอบ แต่จำเลย (ลูกจ้าง) มีตำแหน่งเพียงเจ้าหน้าที่ฝ่ายขาย ได้รับค่าจ้างเตือนละ 13,000 บาท...

สัญญาจ้างแบบมีกำหนดระยะเวลา เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาตามสัญญา จะได้ค่าชดเชยหรือไม่ ?

สัญญาจ้างแบบมีกำหนดระยะเวลา เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาตามสัญญา จะได้ค่าชดเชยหรือไม่ ?? หลายบริษัท ใช้วิธีทำสัญญาจางปีต่อปี เมื่อครบปี ก็ทำสัญญาต่ออีกฉบับนึง หรือบางบริษัท ก็ใช้วิธีการทำสัญญาแค่ 11 เดือนโดยเข้าใจว่าวิธีดังกล่าวจะไม่ต้องค่าชดเชย ความเข้าใจแบบนี้ทำให้เสียหายมาหลายบริษัทแล้วนะคะ แต่จะเสียหายอย่างไรคลินิกกฎหมายแรงงานอธิบายให้เข้าใจแบบนี้ค่ะ 1. หลายคน ตีความจากวรรคสามของมาตรา 118 ที่ว่า”..ค่าชดเชยในวรรคหนึ่ง มีให้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้..” จึงใช้วิธีการทำสัญญาจ้างลูกจ้างเป็นแบบมีกำหนดระยะเวลาเพื่อที่จะไม่ต้องจายค่าชดเชย ซึ่งแบบนี้ไม่ถูกต้องเสียทีเดียว เพราะ ในวรรค 4 ของมาตราเดียวกันกำหนดว่าจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาตามวรรคสามจะกระทำได้ สำหรับการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่ไม่ใช่งานปกติของกิจการ หรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอนหรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวมีกำหนด การสิ้นสุด หรือความสำเร็จของงาน หรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน 2 ปี 2.ดังนั้นหากลูกจ้างท่าน ใด ทำงานโดยเซ็นสัญญาเป็นพนักงานแบบมีกำหนดระยะเวลา ในกิจการที่เป็นไปเพื่อการประกอบธุรกิจปกติหรือทางการค้าของนายจ้าง เมื่อครบกำหนดสัญญาจ้างลูกจ้างจึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชย 3.การกำหนดสัญญาจ้างเป็น 11 เดือนนั้นก็ไม่สามารถเลี่ยงไม่จ่ายค่าชดเชยได้ เพราะค่าชดเชยจะเกิดขึ้นเมื่อลูกจ้างทำงานต่อเนื่องกันครบ 120 วันและถูกเลิกจ้างโดยที่ลูกจ้างไม่มีความผิด (ซึ่งการณีที่สัญญาสิ้นสุดลงตามกหนดระยะเวลาก็ถือว่าเป็นการเลิกจ้างโดยที่ลูกจางไม่มีความผิดเช่นกัน) 4. อย่างไรก็ตามสัญญาแบบมีกำหนดระยะเวลานี้นายจ้าง ไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า ก่อนครบกำหนดเพราะมีระยะเวลากำหนดแล้ว เช่นเดียวกันลูกจ้างก็ไม่ต้องแสดงเจตนาลาออกอีก ดังนั้น ค่าตกใจจึงถูกตัดออกไป ในสัญญาประเภทนี้ 5.ส่วนลูกจ้างที่ประสงค์ขอออกก่อนระยะเวลานั้นสิ้นสุดก็ไม่มีสิทธิได้ค่าชดเชย...

ลูกจ้างขู่จะเปิดเผยความลับทางการค้า และข้อมูลการรักษาของลูกค้า  นายจ้างทำยังไงดี

ลูกจ้างขู่จะเปิดเผยความลับทางการค้า และข้อมูลการรักษาของลูกค้า นายจ้างทำยังไงดี ไม่เชื่อก็ต้องเชื่ออ่ะว่ามีการขู่แบบนี้ เพียงเพราะจะให้ไม่ผ่านทดลองงาน คนขู่นี่คิดสั้นมากกก คือทำแบบนี้อยู่ต่อก็ไม่ได้ ปล่อยไปก็คุกนะเธอ ขออธิบายก่อนว่า ข้อมูล Sensitive data คืออะไร ? ข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมืองความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ ข้อมูลสหภาพแรงงาน ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ หรือข้อมูลอื่นใดซึ่งกระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ที่ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) กำหนดว่าห้ามเก็บใช้รวบรวม หรือเปิดเผยข้อมูล โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล ซึ่งหากทำการเปิดเผยข้อมูลโดยไม่ได้รับความยินยอม ผู้ควบคุมข้อมูล (นายจ้าง) จะมีโทษทางอาญา และความรับผิดทางแพ่ง 1. หากลูกจ้าง (ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล) ขู่ว่าถ้าไม่ผ่านโปรให้ จะเปิดเผยข้อมูล Sensitive data (ที่นายจ้างเป็นผู้เก็บใช้ รวมรวม) ออกสู่สาธารณะ นายจ้างทำอย่างไรได้บ้าง ? 1.1 แนะนำให้นายจ้างเก็บหลักฐานและไปแจ้งความดำเนินคดีกับลูกจ้างก่อนเลย ซึ่งกรณีดังกล่าวเข้าลักษณะความผิดลหุโทษ ตาม ม. 392 ฐานทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัว...

สัญญากำหนดว่า หลังลาออก”ห้าม” ไปทำธุรกิจประเภทเดียวกัน เกินไปมั้ยพี่ทนาย บังคับใช้ได้จริงเหรอ

สัญญากำหนดว่า หลังลาออก”ห้าม” ไปทำธุรกิจประเภทเดียวกัน เกินไปมั้ยพี่ทนาย บังคับใช้ได้จริงเหรอ ข้อตกลงจำกัดสิทธิในการทำสัญญาจ้างแรงงานนั้น โดยทั่วไปสามารถทำได้ เพราะความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง  นอกจากมีหน้าที่ทำงานตามคำสั่งนายจ้างแล้ว ลูกจ้างยังหน้าที่งดเว้นไม่กระทำการใด ๆ ที่ไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต เช่น ลูกจ้างต้องไม่เปิดเผยความลับทางการค้าของนายจ้าง  ไม่ทำให้ทรัพย์สินของนายจ้างได้รับความเสียหาย ไม่ไปทำงานหรือเข้าเป็นหุ้นส่วน ผู้ถือหุ้น เป็นผู้บริหารในสถานประกอบการที่มีลักษณะเป็นอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับนายจ้าง ซึ่งการจำกัดสิทธิดังกล่าวนั้น กำหนดได้ทั้งระหว่างที่เป็นลูกจ้าง และหลังพ้นสภาพไปแล้ว กรณีที่ลูกจ้างลาออกไปประกอบกิจการค้าแข่ง หากในสัญญามีข้อตกลงว่าห้ามลูกจ้างประกอบกิจการค้าแข่ง ดังนี้ นายจ้างสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายได้ หากข้อสัญญานั้นจำกัดสิทธิหรือนายจ้างได้เปรียบเกินสมควร ศาลมีอำนาจปรับลดได้ โดยหลักในการพิจารณาของศาลนั้น ประกอบด้วย 1.ข้อตกลงจำกัดสิทธินั้น ต้องไม่เป็นการตัดการประกอบอาชีพของลูกจ้างเลยทีเดียว เช่น กำหนดว่าห้ามประกอบกิจการค้าแข่งตลอดระยะเวลาที่ลาออกไปหรือพ้นสภาพจากการเป็นพนักงาน ไม่ได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3597/2561 บันทึกข้อตกลงการทำงานและการอบรมการทำงาน แม้เป็นการจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของจำเลยทั้งสองในการประกอบอาชีพ แต่คงห้ามเฉพาะไม่ให้ไปทำงานในบริษัทคู่แข่งหรือไม่ไปทำงานกับบริษัทอื่นใดที่ประกอบธุรกิจประเภทเดียวกันกับโจทก์ รวมทั้งไม่ทำการใดอันเป็นการแข่งขันกับธุรกิจของโจทก์เฉพาะที่อาศัยข้อมูลทางการค้า อันเป็นความลับทางการค้าของโจทก์ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ตลอดจนไม่กระทำหรือช่วยเหลือหรือยินยอมให้บุคคลใดกระทำการดังกล่าวตลอดระยะเวลาของสัญญานี้และภายในกำหนดระยะเวลาสองปีนับแต่สัญญานี้สิ้นสุดลงเท่านั้น มิได้เป็นการตัดการประกอบอาชีพของจำเลยทั้งสองโดยสิ้นเชิง ตำแหน่งหน้าที่ของจำเลยทั้งสองมีโอกาสนำข้อมูลความลับทางการค้าของโจทก์ไปใช้ในการประกอบอาชีพ ซึ่งอาจทำให้โจทก์ต้องเสียประโยชน์ทางการค้า ประกอบกับเมื่อคำนึงถึงทางได้เสียทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายของโจทก์และจำเลยทั้งสองแล้ว การจำกัดสิทธิในการประกอบอาชีพของจำเลยทั้งสองอันเป็นการแข่งขันกับโจทก์ เป็นระยะเวลาเพียงสองปีนับแต่วันที่สัญญานี้สิ้นสุด ไม่ทำให้จำเลยทั้งสองผู้ถูกจำกัดสิทธิต้องรับภาระมากกว่าที่จะพึงคาดหมายได้ตามปกติ จำเลยทั้งสองยังประกอบอาชีพอื่นๆได้โดยไม่มีข้อจำกัด จึงไม่เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม 2. หากจำกัดสูงเกินสมควร หรือทำให้นายจ้างได้เปรียบเกินสมควร ศาลมีอำนาจปรับลดข้อตกลงให้เป็นธรรมแก่คู่กรณีได้...

ขอหยุดพักร้อน แต่..นายจ้างไม่อนุญาต ผลจะเป็นยังไง?

ขอหยุดพักร้อนแต่นายจ้างไม่อนุญาต ผลจะเป็นยังไง?? ในกรณีที่ลูกจ้างยื่นขอหยุดพักผ่อน แต่ปรากฏว่านายจ้างไม่อนุญาต ผลทางกฎหมายจะเป็นอย่างไรนั้น ก่อนตอบ ต่องอธิบายก่อนว่า พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ กำหนดให้เป็นหน้าที่ของนายจ้างที่ต้องจัดให้ลูกจ้างมีวันหยุดไม่ว่าจะเป็น วันหยุดประจำสัปดาห์ ม.28 วันหยุดตามประเพณี ม.29 และวันหยุดพักผ่อนประจำปี ม.30 ที่ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี ดังนั้น หากลูกจ้างมีสิทธิหยุดพักผ่อนฯ ก็สามารถใช้สิทธิหยุดพักผ่อนฯ ได้ 1. นายจ้างมีสิทธิที่ไม่อนุญาตให้ใช้วันหยุดพักผ่อนได้หรือไม่ ? ขอตอบว่า  “มีสิทธิไม่อนุญาตให้หยุดพักผ่อนได้” หากเป็นกรณีดังต่อไปนี้ 1.1 หากลูกจ้างขอหยุดพักผ่อนนอกจากวันที่นายจ้างกำหนด นายจ้างก็มีสิทธิที่จะไม่อนุญาตได้ เพราะตาม ม.30 กำหนดไว้ว่า แม้นายจ้างจะมีหน้าที่ต้องจัดให้มีวันหยุดพักผ่อน แต่นายจ้างก็มีสิทธิกำหนดว่าจะให้ลูกจ้างหยุดวันใดก็ได้โดยนายจ้างต้องแจ้งล่วงหน้า ดังนั้น หากลูกจ้างขอหยุดพักผ่อนนอกจากวันที่นายจ้างกำหนด นายจ้างก็มีสิทธิที่จะไม่อนุญาต 1.2 หากนายจ้างและลูกจ้างตกลงให้หยุดพักผ่อนในวันใดก็ได้ ถ้าลูกจ้างรายนั้นลาโดยไม่ถูกต้องตามระเบียบหรือข้อบังคับของทางบริษัท หรือ หากการหยุดไปนั้นจะทำให้เกิดผลกระทบต่องานที่อาจทำให้งานเกิดความเสียหาย เช่น ลูกน้องในแผนกพร้อมใจกันลาพร้อมกัน 3 – 4 คน แบบนี้มีผลกระทบต่องาน นายจ้างไม่อนุญาตให้หยุดพักผ่อนได้ 2. หากลูกจ้างลาถูกต้องตามขั้นตอน...

คำถามยอดฮิต พี่ๆรปภ. รวมไว้ในโพสนี้

คำถามยอดฮิต พี่ๆรปภ. รวมไว้ในโพสนี้ ไม่ต้องพูดพร่ำทำเพลงให้เมื่อยความเพราะวันนี้จำร่วมคำถามที่พี่พี่พนักงานรักษาความปลอดภัยถามมากที่สุดเริ่มกันเลยค่ะ 1. เวลาทำงานของ รปภ ต้องทำวันละ กี่ชั่วโมง? ตอบ : เวลาทำงานของ รปภ ต้องทำวันหนึ่งไม่เกิน 8 ชั่วโมง แต่เนื่องจากงานรักษาความปลอดภัยเป็นงานบริการ นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงทำงานในวันหนึ่งกี่ชั่วโมงก็ได้ แต่เมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นต้องไม่เกินสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมง 2. นายจ้างกำหนดให้ทำงานวันละ 12 ชั่วโมง จะคำนวณค่าจ้างอย่างไร ? ตอบ : ตำแหน่ง รปภ กฎหมายกำหนดเวลาทำงานวันหนึ่งไม่เกิน 8 ชั่วโมง หากนายจ้างให้ทำงานวันละ 12 ชั่วโมง นายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงาน นั้นคือ 4 ชั่วโมง 3. รปภ มีสิทธิได้ OT (ค่าล่วงเวลา) หรือไม่? ตอบ : “ไม่มีสิทธิ” เพราะตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ม.65 (9) กฎกระทรวง...

นายจ้างให้ลูกจ้างกู้ยืมเงินส่วนตัว มีดอกเบี้ยและกำหนดชำระชัดเจนแน่นอนต่อมาลูกจ้างไม่ยอมคืนเงิน ทวงถามแล้วก็ไม่จ่าย จะหักเงินออกจากค่าจ้างเอามาใช้หนี้ก็ทำไม่ได้

วันนี้มีมาศาลด้วยเรื่อง นายจ้างให้ลูกจ้างกู้ยืมเงินส่วนตัว มีดอกเบี้ยและกำหนดชำระชัดเจนแน่นอนต่อมาลูกจ้างไม่ยอมคืนเงิน ทวงถามแล้วก็ไม่จ่าย จะหักเงินออกจากค่าจ้างเอามาใช้หนี้ก็ทำไม่ได้ จึงเป็นคำถามว่าต้องไปศาลอะไร​ ระหว่างศาลแรงงานกับศาลแพ่ง?? แล้วทำไมถึงหักค่าจ้างเอามาชำระหนี้ไม่ได้?? ลองทายกันในใจก่อนที่จะเฉลย 🤔🤔 การที่นายจ้างให้เงินส่วนตัวลูกจ้างในการกู้ยืมโดยมีกำหนดระยะเวลาชัดเจนในการคืนเงินมีดอกเบี้ยที่แน่นอน เมื่อลูกจ้างผิดนัดชำระ “นายจ้างไม่สามารถหักเอากับค่าจ้างของลูกจ้างได้” เพราะอะไรนะรึ เราขออธิบาย ดังเน๊ 1.นายจ้างให้ลูกจ้างกู้ยืม เป็นการส่วนตัวและมีดอกเบี้ยนั้น แม้ลูกจ้างจะผิดนัดชำระหนี้ “นายจ้างก็จะหักค่าจ้างมาชำระหนี้ไม่ได้” เพราะ พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 76 กำหนด “กฎหมายห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด” เว้นแต่เป็นการหักเพื่อ… (3) ชำระหนี้สินสหกรณ์ออมทรัพย์ หรือสหกรณ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันกับสหกรณ์ออมทรัพย์หรือหนี้ที่เป็นไปเพื่อสวัสดิการที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างฝ่ายเดียวโดยได้รับความยินยอมล่วงหน้าจากลูกจ้าง… ดังนั้น จากข้อยกเว้นข้างต้น จะเห็นได้ว่าหากหนี้ที่เป็นไปเพื่อสวัดิการที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างฝ่ายเดียว และลูกจ้างให้ความยินยอม นายจ้างก็หักค่าจ้างได้ แต่ข้อเท็จจริงในคดีนี้คือ นายจ้างให้ลูกจ้างกู้ยืมเงินส่วนตัวแถมมีดอกเบี้ย การกู้ยืมเงินไม่ได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ลูกจ้างฝ่ายเดียว และเป็นเงินส่วนตัวของนายจ้างอีกไม่ได้เป็นเงินของบริษัท ต่อให้ลูกจ้างยินยอมให้หัก ก็ไม่สามารถทำได้ เพราะผิดข้อกฎหมายตามที่กล่าวไปเบื้องต้นนายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างเต็มจำนวน ส่วนการแก้ไขปัญหาของนายจ้างรายนี้เมื่อทวงก็ไม่ได้ หักเงินก็ไม่ได้ เงินเดือนออกทีไร​ ต่อให้ไปรอหน้าตู้ให้พนักงานกดมาให้เลย กลับปรากฏว่าพนักงานโอนเข้าบัญชีอื่นไปแล้วเรียบร้อย จะให้ออกโดยไม่มีความผิดก็เสียค่าชดเชยอีก จึงจำเป็นจะต้องมาใช้สิทธิ์ทางศาลแพ่งต่อไป ใครที่มีปัญหาหนี้สินอยู่ในช่วงนี้ หากเป็นไปได้ ลองเจรจากับเจ้าหนี้ดูนะคะขอให้การขึ้นศาลเป็นทางออกสุดท้ายนะคะ ด้วยรักและห่วงใย