กรุณารอสักครู่

 

HomeCategoryกฏหมายแรงงาน Archives - Page 21 of 68 - บริษัท ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น จำกัด

นายจ้างหักค่าจ้างเป็นค่าธรรมเนียมแก่ธนาคารในการโอนเงินค่าจ้างเข้าบัญชีลูกจ้างได้หรือไม่?

นายจ้างหักค่าจ้างเป็นค่าธรรมเนียมแก่ธนาคารในการโอนเงินค่าจ้างเข้าบัญชีลูกจ้างได้หรือไม่ ในคดีนี้ นายจ้างได้หักเงินลูกจ้างคนละ 10 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 21 เดือน เป็นค่าธรรมเนียมแก่ธนาคารในการจ่ายค่าจ้างผ่านธนาคารโดยนายจ้างอ้างว่า การหักเงินในลักษณะดังกล่าวเป็นการหักเงินอันเป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างและกระทำได้ตามมาตรา 76 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 อย่างไรก็ตาม ศาลฎีกาได้พิจารณาแล้วเห็นว่า เมื่อนายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง ณ สถานที่ทำงานตามมาตรา 55 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ดังนั้นการหักค่าจ้างชำระค่าธรรมเนียมการโอนเงินค่าจ้างเข้าบัญชีเงินฝากของลูกจ้างจึงไม่ใช่หนี้ที่เป็นไปเพื่อสวัสดิการอันเป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างแต่ฝ่ายเดียวตามมาตรา 76 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ดังนั้นนายจ้างจึงไม่มีสิทธิหักเงินค่าธรรมเนียมธนาคารออกจากค่าจ้างของลูกจ้าง นายจ้างมีหน้าที่คืนค่าจ้างที่หักไว้แก่ลูกจ้าง พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เพราะฉะนั้นนายจ้างคนไหนที่หักค่าธรรมเนียมโอนเงินในลักษณะนี้อยู่ ปรับเปลี่ยนด่วนน! (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14541-14551/2557)

นายจ้างบอกเลิกจ้างทางโทรศัพท์ จะอ้างว่าไม่มีผลและลูกจ้างขาดงานเกิน 3 วันจึงเลิกจ้าง ไม่ได้!!!

นายจ้างบอกเลิกจ้างทางโทรศัพท์ จะอ้างว่าไม่มีผลและลูกจ้างขาดงานเกิน 3 วันจึงเลิกจ้าง ไม่ได้!!! การบอกเลิกจ้างไม่มีกฎหมายกำหนดไว้ว่าต้องทำเป็นหนังสือ ดังนั้นการบอกเลิกจ้างด้วยวาจา จึงมีผล และสามารถทำได้ และการบอกเลิกจ้างก็มีผลทันที เมื่อนายจ้างบอกเลิกจ้างโดยไม่ได้แจ้งเหตุที่จะเลิกจ้าง โดยไม่จ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างทราบ การเลิกจ้างก็มีผลสมบูรณ์ และลูกจ้างเข้าใจว่าถูกเลิกจ้าง ไม่มีสภาพเป็นพนักงานอีกต่อไป ลูกจ้างจึงไม่ทำงานให้นายจ้างอีกต่อไป จึงไม่ใช่เหตุที่นายจ้างจะยกขึ้นอ้างว่าลูกจ้างขาดงานเกิน 3 วัน จึงมีหนังสือเลิกจ้างด้วยเหตุนี้ เพราะการเลิกจ้างมีผลสมบูรณ์ตั้งแต่การบอกเลิกจ้างทางโทรศัพท์แล้ว นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยในการเลิกจ้างให้ลูกจ้างด้วย ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ 30/2563 เห็นว่า การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง “ทางโทรศัพท์” ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 การที่ลูกจ้างไม่มาทำงานหลังจากนั้นระหว่างวันที่ 1 – 7 กุมภาพันธ์ 2562 ความเป็นลูกจ้างนายจ้างจึงสิ้นสุดลงก่อนแล้ว การที่นายจ้างมีหนังสือเลิกจ้าง โดยอ้างขาดงานติดต่อกันเกินกว่า 3 วันทำงานจึงไม่มีผลเป็นการเลิกจ้างอีกความเป็นลูกจ้างนายจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 จึงสิ้นสุดลงก่อนแล้ว การที่โจทก์มีหนังสือเลิกจ้าง โดยอ้างเหตุว่าจำเลยที่ 2 ขาดงานตั้งแต่วันที่ 1 – 7 กุมภาพันธ์ 2562 โดยไม่แจ้งเหตุและไม่มีเหตุอันสมควร ถือว่าจำเลยที่...

นายจ้างจะหักเงินเดือนเนื่องจากลูกจ้างทำให้เสียหาย ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อน !!!

นายจ้างจะหักเงินเดือนเนื่องจากลูกจ้างทำให้เสียหาย ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อน !!! ตามกฎหมายคุ้มครองแรงกำหนดห้ามนายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดของลูกจ้าง แต่อย่างไรก็ตาม มาตรา 76 (4) ได้กำหนดยกเว้นให้นายจ้างสามารถหักค่าจ้างฯ ของลูกจ้าง ในกรณีเป็นการหักเพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้าง ซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง จากข้อกำหนดของกฎหมายจะเห็นได้ว่า กรณีที่นายจ้างจะหักค่าเสียหายจากเงินเดือนของลูกจ้างที่ทำให้นายจ้างเกิดความเสียหายนั้นต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างด้วย และห้ามมิให้หักเกิน 10% ของเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ หากจะหักเกิน 10% ต้องได้รับความยินยอมในส่วนนี้เพิ่มเติมด้วย ดังนั้น จะหักเงินลูกจ้างสุ่มสี่สุ่มห้าไม่ได้นะคะ ต้องพิจารณาความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของลูกจ้างและลูกจ้างต้องยินยอมให้หักด้วยนะ

นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้าง outsource ต้องได้รับค่าตอบแทน สิทธิประโยชน์ สวัสดิการ เท่ากับลูกจ้างโดยตรง มิเช่นนั้นนายจ้างอาจมีความผิดอาญา

นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้าง outsource ต้องได้รับค่าตอบแทน สิทธิประโยชน์ สวัสดิการ เท่ากับลูกจ้างโดยตรง มิเช่นนั้นนายจ้างอาจมีความผิดอาญา ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน กำหนดว่า “ให้ผู้ประกอบกิจการดำเนินการให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่ทำงานในลักษณะเดียวกันกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรง ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ” แต่ทั้งนี้ การทำงานของลูกจ้าง outsource หรือลูกจ้างรับเหมาค่าแรงตามกฎหมายนั้นต้องเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของนายจ้าง คือต้องทำงานในลักษณะเดียวกัน หน้าที่การงานเป็นอย่างเดียวกันกับกับลูกจ้างโดยตรง จึงต้องได้รับค่าตอบแทนอัตราเดียวกัน สิทธิประโยชน์และสวัสดิการเท่ากันทุกคน หากนายจ้างไม่ได้ปฎิบัติตามกฎหมาย มีความผิดทางอาญาต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท จึงเรียนมาเพื่อทราบและให้นายจ้างปฎิบัติให้เท่าเทียมกันนะคะ ทำงานเหนื่อยเหมือนกันต้องได้เงินเท่ากันค่ะ

ลูกจ้าง outsource ต้องได้รับค่าตอบแทน สิทธิประโยชน์ สวัสดิการ เท่ากับลูกจ้างโดยตรง ต้องทำงานในลักษณะเดียวกันเท่านั้น!!

ลูกจ้าง outsource ต้องได้รับค่าตอบแทน สิทธิประโยชน์ สวัสดิการ เท่ากับลูกจ้างโดยตรงต้องทำงานในลักษณะเดียวกันเท่านั้น!! ลูกจ้าง outsource ที่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทน สิทธิประโยชน์ สวัสดิการ เท่ากับลูกจ้างโดยตรงของนายจ้างต้องทำงานหลักในลักษณะเดียวกันเท่านั้น แต่งานในลักษณะอื่นๆ ที่ไม่ใช่งานหลักแต่เป็นเพียงการทำงานที่ส่งผลต่อธุรกิจโดยทางอ้อมจะได้รับไม่เท่ากันก็ได้ ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ 285-298/2561 มีความเห็นว่า การทำงานอันเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของผู้ประกอบกิจการต้องเป็นงานหลักเท่านั้น มิใช่งานที่มีผลต่อการผลิตหรือธุรกิจโดยอ้อม การทำงานให้บริการงานทำความสะอาดสำนักงาน งานทำสวน งานธุรการทั่วไป งานรับส่งพนักงานและเอกสาร งานขับรถประจำตำแหน่งผู้บริหาร ถือเป็นการให้บริการและอำนวยความสะดวก แก่พนักงานของนายจ้าง ไม่ใช่งานหลักตามความหมายในกิจการปิโตรเลียมแต่เป็นเพียงการทำงานที่ส่งผลต่อธุรกิจของผู้ประกอบกิจการโดยทางอ้อม การทำงานนี้จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นนายจ้างตามพรบ. คุ้มครองแรงงาน มาตรา 11/1 ผู้ประกอบกิจการจึงไม่ต้องให้สิทธิประโยชน์และสวัสดิการเช่นเดียวกับพนักงานของตน ติดต่องาน info@legalclinic.co.th

ลาออกไม่ถูกระเบียบ นายจ้างสามารถฟ้องได้ แต่ได้เท่าไหร่ เป็นเรื่องที่ต้องพิสูจน์ ให้ศาลเห็นนะ

ลาออกไม่ถูกระเบียบ นายจ้างสามารถฟ้องได้ แต่ได้เท่าไหร่ เป็นเรื่องที่ต้องพิสูจน์ ให้ศาลเห็นนะ นายจ้างหลายท่านก็บอกว่ากฎหมายไม่แฟร์เลยลูกจ้างลาออกโดยไม่บอกล่วงหน้าหรือบอกไม่ครบนายจ้างก็ได้รับความเสียหายนายจ้างแต่ละรายก็บรรยายไปต่างๆนานาว่าตนเองได้รับความเสียหายอย่างไรบ้าง ประเด็นแรกที่ต้องพิจารณาถามว่าลูกจ้างผิดไหมที่ลาออกโดยไม่ได้บอกล่วงหน้าก็ต้องตอบเลยว่า “ผิด” เพราะ การบอกเลิกสัญญาจ้างให้อีกฝ่ายหนึ่งบอกกล่าวล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 งวด การจ่ายค่าจ้าง แต่ไม่ต้องบอกกล่าวกันล่วงหน้าเกิน 3 เดือน (ม.17 วรรค 2) แต่ถามว่าผิดแล้วมีสิทธิ์ที่จะให้เขาไม่ออกได้ไหม ก็ต้องตอบว่า “ไม่ได้” คนเขาจะออกจะเอาอะไรมารั้งอ่ะ แต่ที่ทำได้แน่ๆคือ “ฟ้องร้องและเรียกความเสียหายจากการลาออกไม่บอกล่วงหน้า” แน่นอนค่ะการที่ลูกจ้างลาออกโดยไม่ได้บอกล่วงหน้า หากนายจ้างอ้างว่ามีความเสียหายนายจ้างก็ต้องไปพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่าเสียหายอย่างไร และศาลจะเป็นผู้ใช้ดุลพินิจพิจารณาตามหลักฐานที่นำเสนอ และพิพากษา ให้ค่าความเสียหายดังกล่าวแก่นายจ้าง นายจ้างบางคนบอกว่าไม่คุ้มเลยต้องเสียค่าทนายความเสียเวลาไปศาลอีก และลูกจ้างก็ไม่ได้ ทำให้เกิดความเสียหายเยอะ เอ้า..คำตอบตัวเองก็พูดมาแล้วนี่ แต่ถ้าประสงค์จะเชือดไก่ให้ลิงดูไม่อยากให้ลูกจ้างคนอื่นเอาเป็นเยอะเยี่ยงอย่างก็ลองเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียดูและดำเนินการนะคะ กฎหมายไม่ได้ตัดสิทธิ์นายจ้างที่จะฟ้องร้องอยู่แล้วค่ะ ติดต่องาน info@legalclinic.co.th

ไม่ได้เงินเดือนงวดสุดท้ายเพราะนายจ้างอ้างว่าทำให้เกิดความเสียหายแบบนี้ก็ได้หรอคะ

ไม่ได้เงินเดือนงวดสุดท้ายเพราะนายจ้างอ้างว่าทำให้เกิดความเสียหายแบบนี้ก็ได้หรอคะ เอาคำตอบไปก่อนเลยไม่ได้ค่ะ หลักในเรื่องของค่าจ้างนี้บอกไว้ชัดเจนแล้วว่าค่าจ้างคือเงินในส่วนที่ได้ทำงานไปแล้ว หากจะมีการหักอะไรได้นั้นก็ต้องเป็นไปตามมาตรา 76 คือ **ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักเพื่อ (1) ชำระภาษีเงินได้ตามจำนวนที่ลูกจ้างต้องจ่ายหรือชำระ เงินอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ (2) ชำระค่าบำรุงสหภาพแรงงานตามข้อบังคับของสหภาพแรงงาน (3) ชำระหนึ้สินสหกรณ์ออมทรัพย์ หรือสหกรณ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันกับสหกรณ์ออมทรัพย์หรือหนี้ที่เป็นไปเพื่อสวัสดิการที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างฝ่ายเดียว โดยได้รับความยินยอมล่วงหน้าจาก ลูกจ้าง (4) เป็นเงินประกันตามมาตรา 10 หรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้าง ซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง (5) เป็นเงินสะสมตามข้อตกลงเกี่ยวกับกองทุนเงินสะสม การหักตาม (2) (3) (4) และ (5) ในแต่ละกรณีห้ามมิให้หักเกินร้อยละ 10 และจะหักรวมกันได้ไม่เกิน 1 ใน 5 ของเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกำหนดเวลาการจ่ายตาม มาตรา 70 เว้น แต่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง จะเห็นได้ว่าใน 5 วงเล็บดังกล่าวไม่มีการ พูดเรื่องของการหักหลบลบหนี้ค่าความเสียหายที่ลูกจ้างได้ทำขึ้นหรือนายจ้างอ้างว่าลูกจ้างได้ทำขึ้นแต่อย่างใด ดังนั้นจึง “หักไม่ได้” สำหรับฝั่งนายจ้างบอกว่าถ้ามีความเสียหายจริงหล่ะ ทำยังไง…? ได้...

ฟรีแลนซ์ฟ้องศาลไหนคะพี่ ศาลแรงงานหรือศาลแพ่ง??

ฟรีแลนซ์ฟ้องศาลไหนคะพี่ ศาลแรงงานหรือศาลแพ่ง?? แน่นอนค่ะ ว่าศาลแรงงาน จะพิจารณาคดี แรงงานเท่านั้นซึ่งหมายความว่าโจรและจำเลยจะต้องมีสถานะเป็นนายจ้างลูกจ้างด้วย แต่จากคำถามของน้องที่ inbox เข้ามาน้องเข้าใจว่า ตัวเองรับงานแบบฟรีแลนซ์ แต่เขาก็เป็น “นายจ้าง” แล้วหนูก็เป็น “ลูกจ้าง” แบบนี้ก็หมายความฟ้องได้ที่ศาลแรงงานใช่ไหมคะ คำตอบคือไม่ใช่ค่ะเพราะแม้ว่าเรารับงานแบบฟรีแลนซ์และจะเรียกตัวเองว่าลูกจ้างเรียกผู้จ่ายเงินว่านายจ้างแต่ต้องดูลักษณะของการทำงานด้วย เช่น การทำงานของลูกจ้างนายจ้างสามารถกำหนดว่าให้เข้ามาทำวันไหนบ้างเวลาไหนบ้างหากไม่ปฏิบัติตามก็จะมีโทษทางวินัย มีอำนาจบังคับบัญชา แล้วก็จ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างด้วย ดังนั้นหากลักษณะงานของน้องเป็นแบบนั้นก็สามารถฟ้องที่ ศาลแรงงานได้แต่ถ้านายจ้างไม่มีอำนาจบังคับบัญชาเช่น ที่บอกไปข้างต้น มุ่งเอาความสำเร็จของงาน ก็ไม่ได้อยู่ในความหมายของคำว่านายจ้างลูกจ้าง อันเป็นเหตุให้ไม่สามารถไปฟ้องที่ศาลแรงงานหรือกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงานได้ค่ะ ติดต่องาน info@legalclinic.co.th

มาสายไม่เท่ากับลากิจ

มาสายไม่เท่ากับลากิจ ก่อนอื่นต้องบอกว่าเรื่องนี้เคยพูดไปแล้วนะคะแต่ก็จะมาพูดซ้ำให้ฟังกันอีกครั้งนึงเรื่องของการที่ลูกจ้างมาศาลและนายจ้างบังคับให้ใช้เป็นวันลากิจ ต้องเข้าใจนะ สายก็คือสาย สายไม่ใช่ลากิจ นายจ้างจะตีความว่า เพราะเธอไปติดธุระส่วนตัวของเธอมาน่ะสิ เธอถึงมาสาย ดังนั้นเธอต้องใช้ลากิจ แบบนี้มันก็เป็นการตีความที่ไม่ถูกต้องเอาเสียเลย ต้องเข้าใจก่อนว่ากฎหมายกำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิ์ลากิจธุระอันจำเป็นได้ไม่น้อยกว่า 3 วันทำงานต่อปี โดยที่กฎหมายมีเจตนารมณ์ให้ลูกจ้างลาเพื่อไปทำธุระที่จำเป็นไม่ว่าจะเป็นธุระส่วนตัวที่คนอื่นทำแทนไม่ได้หรือธุระของบุคคลในครอบครัว ที่เป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นการที่บอกว่ามาสายแล้วให้ไปใช้ลากิจจึงขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย สรุปว่าสายก็คือสายค่ะ นายจ้างจะตัดเบี้ยขยัน จะออกหนังสือเตือนจะพิจารณาไม่ปรับขึ้นเงินเดือนหรือโบนัสก็เป็นมาตรการที่นายจ้างจะต้องจัดทำแต่มาตรการทั้งหลายเหล่านี้ก็ต้องสอดคล้องกับกฎหมายด้วย มีบางองค์กรบอก ว่าทำมาตั้งนานไม่เห็นมีปัญหาเลย เธ๊อออออ เธอ ยังไม่ถูกฟ้องหรือเปล่า เพราะว่าอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจของลูกจ้างเขาไม่มี อันนี้เป็นเรื่องที่นายจ้างต้องพิจารณาและก็ให้รู้ไว้ด้วยว่าหลายคนเขาดับเครื่องชนมีมาแล้วนะ ในกรณีที่นายจ้างไม่ให้ความเป็นธรรมและไม่ดำเนินการตามกฎหมายเลย ไปฟ้องทั้งๆที่ยังร่วมงานกันอยู่ก็มีให้เห็นเยอะไป ในมุมของนายจ้างฝ้ายเข้าใจนายจ้างนะ อย่างที่บอกไปว่าฝ้ายเองเป็นทั้งลูกจ้างแล้วก็เป็นนายจ้างด้วย แต่สุดท้ายแล้วไม่ว่าจะอยู่ในฐานะนายจ้างหรือลูกจ้างการทำงานร่วมกันสิ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาได้คือการสื่อสารและการพูดคุย ลองปรับลองจูนถามหาเหตุผลของการมาสายกันดูนะคะ ปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฎหมายมากที่สุดก็จะเป็นผลดีกับทั้งสองฝ่ายค่ะ ติดต่องาน info@legalclinic.co.th

หัวหน้า Sexual Harassment ลูกน้อง นายจ้างเลิกจ้างได้!!!

หัวหน้า Sexual Harassment ลูกน้อง นายจ้างเลิกจ้างได้!!! กฎหมายคุ้มครองแรงงานได้กำหนดว่า ผู้กระทําการล่วงเกิน คุกคาม หรือก่อความเดือดร้อนรําคาญทางเพศต่อลูกจ้างจะต้องเป็นนายจ้าง หัวหน้างานผู้ควบคุมงาน ผู้ตรวจงาน กระทําต่อผู้ถูกกระทําซึ่งเป็นลูกจ้างโดยไม่จํากัดว่าจะต้องเป็นหญิงและเด็กเท่านั้น Sexual Harassment หรือ การคุกคามทางเพศ อาจไม่ถือว่าเป็นเหตุให้นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 119 โดยตรง แต่หากกำหนดไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ถือเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับกรณีร้ายแรงก็เลิกจ้างได้ ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3560/2556 โจทก์(ลูกจ้าง) ทำงานตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการฟ้องว่าจำเลย (นายจ้าง) เลิกจ้างโจทก์ โดยอ้างว่าโจทก์กระทำการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานร้ายแรงในเรื่องล่วงละเมิดทางเพศ โดยปราศจากหลักฐานยืนยันตามข้อกล่าวอ้าง จำเลยให้การว่าโจทก์กระทำล่วงละเมิดทางเพศต่อนางสาว ก. ผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นความผิดวินัยร้ายแรง ศาลฎีกาเห็นว่าคืนวันที่ 6 กันยายน 2548 ระหว่างโจทก์และนางสาวไก่พักค้างคืนที่โรงแรมเพื่อไปแจกทุนการศึกษาในวันรุ่งขึ้นที่จังหวัดเชียงราย โจทก์กระทำอนาจารอันเป็นการล่วงละเมิดทางเพศต่อน้องสาว ก. ของผู้ใต้บังคับบัญชาการกระทำดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนพรบ. คุ้มครองแรงงาน มาตรา 16 ซึ่งมีโทษทางอาญา และยังมีเป็นการฝ่าฝืนนโยบายเกี่ยวกับข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานจึงถือได้ว่าเป็นความผิดร้ายแรง ติดต่องาน info@legalclinic.co.th