ลูกจ้าง “ประมาทเลินเล่อ” เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย “ร้ายแรง” นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย เพราะมีคำว่าประมาทเลินเล่อเข้ามาเกี่ยวข้องก็เป็นข้อน่าพิจารณาอีกว่าแบบไหนเรียกว่า”ประมาท” ได้บ้าง ประมาทนี้ก็คือการกระทำไปโดยที่ “ไม่ได้มีเจตนา” ที่จะให้นายจ้างได้รับความเสียหายแต่ก็ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังหรือความละเอียดรอบคอบให้เพียงพอในภาวะวิสัยและพฤติการณ์ในตำแหน่งหน้าที่ของตนเองที่ควรจะใช้ความระมัดระวังนั้นได้ ยกตัวอย่าง ที่เป็นการประมาทเลินเล่อทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายร้ายแรงเช่น ลูกจ้างได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ปิดเปิดตู้เก็บเงินรักษาเงินสดโดยนายจ้างได้มอบกุญแจลิ้นชักไว้ให้แก่ลูกจ้างแต่ลูกจ้างหลงลืมกุญแจไว้บนโต๊ะทำงานทำให้คนอื่นเอากุญแจไปใช้และขโมยเงินของนายจ้างไป (เทียบเคียงกับคำพิพากษาฎีกาที่ 5603/2546) ยังไงก็ตามตามที่ทำเครื่องหมายฟันหนู (อัญประกาศ) ไว้ในหัวข้อว่าการจะเลิกจ้างได้โดยไม่จ่ายค่าชดเชยนั้นต้องเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง + นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงด้วย….นั่นก็หมายถึงว่า การประมาทเลินเลอนั้นต้องมีผลให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงนายจ้างถึงจะมีสิทธิ์เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ซึ่งถ้าเป็นเพียงความประมาทเลินเล่อแต่นายจ้างเสียหายเพียงเล็กน้อยในกรณีเช่นนี้นายจ้างจะเลิกจ้างก็อาจจะยังต้องจ่ายค่าชดเชย กรณีไหนบ้างที่ไม่ถือว่าร้ายแรงยกตัวอย่างเช่นลูกจ้างทำหน้าที่ขับรถให้กับผู้บริหารขับรถด้วยความประมาทไปเฉี่ยวชนรถต้องเสียค่าซ่อมประมาณ 60,000 บาท แต่รถดังกล่าวมีสัญญาประกันภัย จึงอาจถือได้ว่าลูกจ้างประมาทเลินเล่อ แต่นายจ้างไม่ได้รับความเสียหายร้ายแรง เลิกจ้างนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย (เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 2132/2545) สรุปก็คือจะพิจารณาว่าลูกจ้าง ประมาทเลินเล่อ จนเลิกจ้าง แบบไม่จ่ายค่าชดเชยได้หรือไม่นั้นก็ต้องเข้าองค์ประกอบว่า ต้องเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง + นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงด้วย ลองนำไปพิจารณาดู ถึงหลักเกณฑ์ดังกล่าวนะคะ… ถามทนายทีละประเด็นทนายก็ไม่ทราบเหมือนกันค่ะทนายไม่ใช่ศาลลูกจ้าง “ประมาทเลินเล่อ” เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย “ร้ายแรง” นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย เพราะมีคำว่าประมาทเลินเล่อเข้ามาเกี่ยวข้องก็เป็นข้อน่าพิจารณาอีกว่าแบบไหนเรียกว่า”ประมาท” ได้บ้าง ประมาทนี้ก็คือการกระทำไปโดยที่ “ไม่ได้มีเจตนา” ที่จะให้นายจ้างได้รับความเสียหายแต่ก็ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังหรือความละเอียดรอบคอบให้เพียงพอในภาวะวิสัยและพฤติการณ์ในตำแหน่งหน้าที่ของตนเองที่ควรจะใช้ความระมัดระวังนั้นได้ ยกตัวอย่าง ที่เป็นการประมาทเลินเล่อทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายร้ายแรง เช่น ลูกจ้างได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ปิดเปิดตู้เก็บเงินรักษาเงินสดโดยนายจ้างได้มอบกุญแจลิ้นชักไว้ให้แก่ลูกจ้างแต่ลูกจ้างหลงลืมกุญแจไว้บนโต๊ะทำงานทำให้คนอื่นเอากุญแจไปใช้และขโมยเงินของนายจ้างไป (เทียบเคียงกับคำพิพากษาฎีกาที่...