กรุณารอสักครู่

 

HomeCategoryกฏหมายแรงงาน Archives - Page 18 of 68 - บริษัท ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น จำกัด

ประเมินผลการทำงานโดยเปรียบเทียบกับเพื่อนร่วมงานคนอื่นแล้วเลิกจ้าง ถือเป็นเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

ประเมินผลการทำงานโดยเปรียบเทียบกับเพื่อนร่วมงานคนอื่นแล้วเลิกจ้าง ถือเป็นเลิกจ้างไม่เป็นธรรม การประเมินผลการทำงานของพนักงานนั้น นายจ้างจะต้องมาตรฐาน ตำแหน่ง และหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน เพื่อที่จะได้พิจารณาว่าศักยภาพในการทำงานของลูกจ้าง ว่าทำงานมีประสิทธิภาพหรือไม่ หากไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่นายจ้างกำหนด นายจ้างก็อาจจะต้องเลิกจ้าง แต่ในกรณีที่นายจ้างประเมินผลการทำงานโดยเปรียบเทียบกับเพื่อนร่วมงานคนอื่นแล้วเลิกจ้าง ถือเป็นเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ 2123/2565 นายจ้างประกาศโครงการและผลตอบแทนเชิญชวนหาผู้สมัครใจจาก แต่มีลูกจ้างเข้าร่วมโครงการไม่ครบ จึงกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการเลิกจ้างเพื่อพิจารณาคัดเลือกลูกจ้างที่จะเลิกจ้างตามหลักเกณฑ์ นายจ้างจึงอาศัยหลักเกณฑ์การประเมินผลการทำงานย้อนหลัง 3 ปี เปรียบเทียบกันระหว่างโจทก์และนายเอ ลูกจ้างจำเลยอีกคนหนึ่ง ซึ่งเป็นไปโดยไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงและมีความน่าเคลือบแคลงสงสัยเพราะไม่มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมนายจ้างจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม หากในเกิดกรณีการประเมินผลงานไม่ถูกต้อง เป็นไปในลักษณะกลั่นแกล้ง ไม่ตรงตามความจริงและไม่เป็นธรรมต่อเราเอง เราต้องทำความเห็นแย้งหรือคัดค้านทันทีที่ทราบผลการประเมินนะคะ

รับจ้างขับรถบรรทุกได้เงินเป็นเที่ยว ทำงานตามความสมัครใจไม่ใช่จ้างแรงงาน

รับจ้างขับรถบรรทุกได้เงินเป็นเที่ยว ทำงานตามความสมัครใจไม่ใช่จ้างแรงงาน ก่อนอื่น ก่อนที่จะ ตอบได้ว่าเราได้ค่าชดเชยหรือไม่และเป็นเงินเท่าไหร่ก็ต้องดูเสียก่อนว่า เราเป็นลูกจ้างหรือเปล่า? มีนิติสัมพันธ์แบบลูกจ้างนายจ้างไหม? การพิจารณาว่าสัญญาใดเป็นสัญญาจ้างแรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 574 และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หรือเป็นสัญญาจ้างทำของตามประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์ มาตรา 587 นั้น แม้จะต้องพิจารณาถึงการจ่ายสินจ้างหรือค่าจ้างและการจัดหาเครื่องมือหรือสัมภาระในการท างานประกอบด้วยว่ากรณีสัญญาจ้างแรงงาน นายจ้างต้องจ่ายสินจ้างหรือค่าจ้างให้ตลอดเวลาที่ลูกจ้างท างานให้ แต่สัญญาจ้างท าของผู้ว่าจ้างต้องจ่ายสินจ้างตามความสำเร็จของการงานที่ตกลงกัน และสัญญาจ้างแรงงานลูกจ้างไม่ต้องจัดหาเครื่องมือหรือสัมภาระในการท างาน ส่วนสัญญาจ้างทำของ ผู้รับจ้างเป็นผู้จัดหาเครื่องมือสำหรับใช้ทำการงาน ดังนั้น หากรับจ้างขับรถส่งของต้องมีรถบรรทุกสินค้าของตัวเอง จ่ายค่าตอบแทนตามผลงานเป็นเที่ยว จะมาทำงานในวันไหนได้ตามความสมัครใจ มีอิสระเสรีเหนือสิ่งอื่นใด ก็ไม่ใช่จ้างแรงงาน เมื่อมีการเลิกจ้างหรือไม่มีการใช้งานกันอีกต่อไปจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ฎ.13825/2555 ในการขนส่งสินค้านั้น โจทก์ จะต้องมีรถบรรทุกสินค้าของตนเอง จำเลยจะจ่ายคำจ้างให้เฉพาะ วันที่ได้ปฏิบัติงานส่งสินค้าให้แก่จำเลยเท่านั้น วันที่ไม่ได้ปฏิบัติงานจะไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้าง การจ้างงานขนส่งสินค้าเช่นนี้จึงมีลักษณะบ่งบอกถึงจำเลยมุ่งผลสำเร็จของงาน คือให้มีการขนส่งสินค้าไปให้ลูกค้าตามช่วงเวลานั้นจนสำเร็จเสร็จสิ้นไปเป็นสำคัญ หาไต้มุ่งถึงแรงงานที่จำเลยจะได้รับจากการขับรถของโจทก์ไม่ ? นอกจากนี้ยังปรากฏว่าในการทำงานนั้น โจทก์ จะมาทำงานในวันใตก็ได้ตามความสมัครใจ แสดงว่า จำเลย ไม่มีอำนาจควบคุมบังคับบัญชาโจทก์ ว่าโจทก์ จะต้องมาทำงานในวันใดหรือเวลาใด ไม่มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่า โจทก์...

นายจ้าง จ้าง Live ขายของ แม้ในสัญญาจะเขียนว่ามีผลสำเร็จของงาน ก็อาจถึงเป็นจ้างแรงงานไม่ใช่จ้างทำของ

นายจ้าง “จ้าง Live ขายของ” แม้ในสัญญาจะเขียนว่ามีผลสำเร็จของงาน ก็อาจถึงเป็นจ้างแรงงานไม่ใช่จ้างทำของ กรณีนี้เป็นคดีที่เกิดขึ้นจริงและกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณา กรณีที่นายจ้างท่านนึง จ้างพนักงานมาไลฟ์สดขายของโดยแยกจ่ายเป็นเงินเดือนและจ่ายเป็นค่าคอมมิชชั่นตามยอดขายที่พนักงานทำได้ ขายไม่ได้ก็ยังได้เงินเดือน ส่งประกันสังคมให้ ขาด ลา มาสาย ต้องแจ้ง ต้องขออนุญาต ไลน์หาต้องตอบ แต่เมื่อเกิดความไม่พอใจในการทำงานระหว่างกัน นายจ้างก็เลิกจ้างโดยอ้างว่านี่ไม่ใช่ จ้างแรงงาน จนไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย เพราะในสัญญาก็เขียนชัดเจนว่าจ้างทำของ ดังนั้น ขอสู้สุดใจนายขนมต้ม ว่าไม่จ่าย!! ถ้าเผื่อนายจ้างท่านนั้น ผ่านมาแถวนี้ก็อยากให้นายจ้างลองอ่านฎีกานี้อีกสักทีนะคะ เผื่อเทียบเคียงและเป็นกรณีศึกษา คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2870/2556 ในเรื่อง ทำสัญญาจ้างหาโฆษณาแม้รายละเอียดในสัญญามุ่งถึงผลสำเร็จของงานก็ถือเป็นจ้างแรงงานไม่ใช่จ้างทำของ ด้วยวิธีนี้ ศาลได้โปรดพิจารณาพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องและมีคำตัดสินว่า ในการพิจารณาว่าสัญญาใดเป็นสัญญาจ้างแรงงานหรือสัญญาจ้างทำของนั้น ไม่ใช่ว่าดูข้อความในสัญญาเท่านั้น หากแต่ต้องพิจารณาถึงข้อเท็จจริงในการทำงานของนายจ้างและลูกจ้างด้วย ถึงจะทราบถึงเจตนาในการทำสัญญาของคู่สัญญาว่าเจตนาทำสัญญาจ้างแรงงานหรือสัญญาจ้างทำของ แม้สัญญาจ้างหาโฆษณาระหว่างโจทก์และจำเลยจะมีรายละเอียดมุ่งถึงผลสำเร็จของงานอันได้แก่การหาโฆษณาให้แก่หนังสือพิมพ์ของจำเลยให้ได้ตามเป้าประสงค์ในสัญญา แต่ในทางปฏิบัติเมื่อโจทก์กับพวกไม่สามารถหาโฆษณาให้จำเลยได้ตามเป้าประสงค์ในสัญญา จำเลยก็ผ่อนผันให้แก่โจทก็กับพวก ทั้งยังจ่ายเงินเดือนและค่านายหน้าให้ตามสัญญาและเมื่อระยะเวลาตามสัญญาจ้างหาโรษณาครบกำหนดแล้วปรากฏว่าจำเลยยังทำสัญญาจ้างโจทก์กับพวกอีก จึงแสดงถึงเจตนาของจำเลยในการจ้างโจทก์หาโฆษณาว่าแม้มีการกำหนดเป้าประสงค์ในการให้โจทก์กับพวกหาโฆษณามีมูลค่าไม่ต่ำกว่าในสัญญาข้อ 3 แต่จำเลยไม่ได้มุ่งถึงผลสำเร็จของการงานที่ว่าจ้างนั้นเป็นสำคัญ ทั้งในการจ้างโจทก์กับพวก จำเลยกำหนดให้โจทก์มีตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการฝ่ายโฆษณา ส่วนพวกของโจทก็ก็มีตำแหน่งในฝ่ายโฆษณาทั้งสิ้น จำเลยมอบบัตรประจำตัวพนักงานแก่โจทก์โจทก์จะต้องลงเวลาเข้าทำงานและโจทก์มีอำนาจลงโทษตักเตือนลูกจ้างที่กระทำผิดแทนจำเลย พฤติการณ์ตังกล่าวล้วนแสดงถึงอำนาจบังคับบัญชาที่จำเลยมีต่อโจทก์กับพวก นิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยกับโจทก็**จึงเป็นการจ้างแรงงานอย่างแจ้งชัด หาใช่สัญญาจ้างทำของไม่** ก็หวังว่าจะไกล่เกลี่ยกันได้นะคะ.. แต่ถ้าไกล่ไม่ได้ ศาลพิพากษาเดี๋ยวจะมาอัพเดทให้ฟังนะ

บริษัทแม่อยู่อเมริกา บริษัทลูกอยู่ในไทย เจ้านายในไทย “ท้าให้ไปฟ้องที่อเมริกา” แบบนี้ทำยังไงดีคะ

บริษัทแม่อยู่อเมริกา บริษัทลูกอยู่ในไทย เจ้านายในไทย “ท้าให้ไปฟ้องที่อเมริกา” แบบนี้ทำยังไงดีคะ ก่อนที่จะตอบหลักกฎหมายอยากบอกนายจ้างว่าไม่ต้องมาขู่ค่าาา ไม่ต้องมาอ้างว่าต้องอนุมัติจากอเมริกา เงินส่งมาจากอเมริกา เพราะเราเป็นแค่บริษัทสาขาไม่มีสิทธิ์จ่ายจึงฟ้องไม่ได้ การที่บริษัทที่ต่างประเทศมีสาขาอยู่ในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยที่จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด ก็เป็นไปเพื่อความสะดวกในการบริหารงานและทำงานในประเทศต่างๆ ดังนั้นไม่ว่าบริษัทในไทยจะเป็นคนบอกเลิกหรือบริษัทในอเมริกาจะเป็นคนบอกเลิก โดยที่ลูกจ้างไม่ได้ทำผิด นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับลูกจ้าง ใครที่อยากหากรณีใกล้เคียงลองไปอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17815/2555 ที่ศาลได้โปรดพิพากษาว่า … “นายจ้างจดทะเบียนในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ถ้ามีกำไรก็ต้องส่งเข้าบริษัทแม่” เช่นเดียวกัน หุ้นของบริษัทที่มีการซื้อขายในตลาดหุ้นทั่วโลกก็เป็นหุ้นตัวเดียวกัน ไม่ได้แสดงว่าบริษัททุกแห่ง เป็นเจ้าของเดียวกัน ลูกจ้างจึงมีอำนาจฟ้องนายจ้างที่สาขาได้ จำเลยเป็นนิติบุคคลจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดในประเทศไทย และเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบริษัท ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ประเทศอเมริกา นอกจากจำเลยแล้ว บริษัทจดทะเบียนในประเทศต่าง ( ทั่วโลกอีกนับร้อยบริษัท แม้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกันแต่ทุกบริษัทมีนโยบายและการบริหารไปในทิศทางเดียวกัน ถ้ามีกำไรก็ต้องส่งเข้าบริษัทแม่เช่นเดียวกัน หุ้นของบริษัทที่มีการซื้อขายในตลาดหุ้นทั่วโลกก็เป็นหุ้นตัวเดียวกัน ไม่ใด้แยกเป็นหุ้นต่างหาก แสดงว่า บริษัททุกแห่งที่จดทะเบียนเป็นบริษัทกระจายอยู่ทั่วโลกเป็นเจ้าของเดียวกัน โดยมีศูนย์ใหญ่หรือสำนักงานใหญ่ที่ประเทศอเมริกา กรรมการของบริษัทต่าง ๆ ก็แต่งตั้งจากพนักงานของบริษัทนั้น ๆ มิได้มาจากเจ้าของกิจการ แสดงให้เห็นว่าได้จดทะเบียนเป็นบริษัทในประเทศต่างๆ นั้น เพื่อให้เกิดความสะดวกในการบริหารจัดการ โจทก์เข้าทำงานกับจำเลย (บริษัท ) ตั้งแต่ปี 2527 ตำแหน่งวิศวกรแล้วเลื่อนเป็นผู้จัดการโรงงาน...

คดีจบ นายจ้างไม่จ่าย ยังไงต่อ…

คดีจบ นายจ้างไม่จ่าย ยังไงต่อ… ในคดีที่ลูกจ้างฟ้องนายจ้างเป็นคดีต่อศาล ต่อมาศาลพิพากษาให้ลูกจ้างชนะคดี โดยให้นายจ้างชำระเงินให้แก่ลูกจ้าง หากนายจ้างไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษา ลูกจ้างจะบังคับคดีเองไม่ได้ จะเดินไปหยิบของของบริษัทออกมา แทนการชำระหนี้ แบบนี้ไม่ได้นะเพื่อน การบังคับคดี ทำได้โดยขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดี ดำเนินการแทน โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1. ลูกจ้าง ที่ชนะคดี ต้องไปยื่นคำขอออกหมายบังคับคดีและแต่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ศาล เมื่อศาลออกหมายฯ แล้วให้ไป ติดต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อดำเนินการบังคับคดี ณ สำนักงานบังคับคดี เพื่อขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดหรืออายัดทรัพย์สินนายจ้าง 2. เจ้าพนักงาน ทำการ “ยึดทรัพย์สิน” เพื่อดำเนินการขายทอดตลาดเพื่อนำมาชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา โดยเจ้าพนักงานจะประกาศขายทอดตลาดทรัพย์นั้น โดยจะแจ้งวัน เวลา สถานที่ขาย ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบและสามารถตรวจสอบทรัพย์นั้นได้เว็บไซต์กรมบังคับคดี และเมื่อมีการขายทอดตลาดเสร็จสิ้น หรือมีการส่งมอบเงินอายัดเจ้าพนักงานบังคับคดีจะทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย และแจ้งแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาให้มารับเงิน 3. นำอายัดเงินในบัญชี บริษัทนายจ้าง พูดง่ายง่ายก็คือนายจ้างจะเบิกถอนเงินในบัญชีนั้นไม่ได้จนกว่าจะชำระหนี้คามคำพิพากษาให้กับลูกจ้าง รวมถึง อาจจะมีหมายสั่งให้บุคคลภายนอกไม่ให้ชำระหนี้แก่นายจ้าง (ซึ่งในทีนี้คือลูกหนี้ตามคำพิพากษา) แล้วให้ชำระแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีแทน ข้อสังเกต หากเป็นคดีแรงงานกฎหมายกำหนดยกเว้นไม่ต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งรวมถึงค่าธรรมเนียมในชั้นบังคับคดีด้วย (พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ ม.27) ใครบอกว่าขั้นตอนยุ่งยาก ทำไปก็ไม่ได้อะไร… …ลองรึยัง…ลองให้สุดสายไปเลยไหนๆก็ไหนๆ ส่วนนายจ้างถ้าไม่มีจ่ายก็ไปขอผ่อนจ่ายดีดี อย่าไปท้าทาย...

ลูกจ้างลากิจไปดูแลแม่เกิน 3 วัน นายจ้างเลิกจ้างได้หรือไม่ ?

ลูกจ้างลากิจไปดูแลแม่เกิน 3 วัน นายจ้างเลิกจ้างได้หรือไม่? คำถามใน inbox วันนี้เป็นคำถามที่น่าตกใจ แล้วก็น่าเห็นใจ จริงๆกับกรณีที่ลูกจ้างรายนึงขอลากิจไปดูแลแม่ที่ต่างจังหวัด 1 สัปดาห์เพราะว่าแม่ได้รับอุบัติเหตุไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้และตัวเองก็ไม่มีพี่น้องพอที่จะไหว้วานได้ ประกอบกับความเป็นห่วงแม่ซึ่งขอลากิจ ไป 1 สัปดาห์ทั้งๆที่สิทธกิจมีเพียง 3 วันเท่านั้น ปรากฏว่านายจ้างก็ไม่พูดพร่ำทำเพลงส่งหนังสือเลิกจ้างมาเลย ก็ถือว่า ขาดงาน เกิน 3 วัน กรณีแบบนี้ มาเป็นลูกจ้างก็มีแนวทางดำเนินการตามกฎหมายอย่างไร หากพูดตามหลักกฎหมายก่อนต้องเข้าใจก่อนว่า การที่ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ไป 3 วันทำงานติดต่อกันนั้น จะต้องเป็น “การละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร” จึงเป็นที่น่าสงสัยว่า “เหตุอันสมควรคืออะไรบ้าง” แล้วกรณีที่สอบถามเข้ามานั้นถือว่าเป็นเหตุอันสมควรหรือเปล่า อ้างอิงตามหนังสือของอาจารย์พงรัตน์ เครือกลิ่น เหตุอันสมควรก็อาจจะแบ่งได้ ดังนี้ 1. ละทิ้งหน้าที่เพราะสุขภาพร่างกายก็ถือว่ามีเหตุอันสมควร ไม่ต้องยกตัวอย่างที่ไหนไกลยกตัวอย่างไฟล์นี่แหละ ว่าลางาน โดยที่ ไม่มีใบรับรองแพทย์แต่ว่ามีเหตุจำเป็นในเรื่องของการเจ็บป่วย เมื่อไปหาหมอหมอก็เขียนแค่ว่ามีอาการป่วยจริงแต่ไม่ได้บอกว่าให้หยุดกี่วัน หาโดยสภาพ โดยสังขารของวันนี้แล้ว ไปไม่ไหวจริงๆมีหลักฐานอื่นรองรับก็ไม่ถือว่าเป็นการละทิ้งงานโดยไม่มีเหตุอันควร 2. ละทิ้งหน้าที่เพราะเหตุจำเป็น ของครอบครัวก็ถือว่ามีเหตุอันสมควร เช่น ต้องดูแลบิดามารดา คู่สมรส หรือบุตร...

หัวหน้าแผนกไล่ออก พอไปฟ้อง บริษัทบอกว่า คนไล่ออกไม่มีอำนาจ ลูกจ้างขาดงานไปเองเกิน 3 วันบริษัทจึงต้องเลิกจ้าง

หัวหน้าแผนกไล่ออก พอไปฟ้อง บริษัทบอกว่า คนไล่ออกไม่มีอำนาจ ลูกจ้างขาดงานไปเองเกิน 3 วันบริษัทจึงต้องเลิกจ้าง กรณีที่มีผู้เข้ามาสอบถามนี้เราอาจจะเห็นได้บ่อยๆ สำหรับบริษัท ในทุกขนาด หากเป็นบริษัทขนาดเล็กบริหารงานแบบ family business ก็อาจจะเห็นได้ว่าไม่ได้มีเฉพาะกรรมการผู้จัดการหรือฝ่าย HR เป็นคนเลิกจ้าง บางทีเป็นภรรยาของท่านหัวหน้างานหรือเป็นหัวหน้าแผนกก็เลิกจ้างได้เหมือนกัน เมื่อพนักงานถูกเลิกจ้างเรียบร้อยแล้วไปใช้สิทธิที่ศาลปรากฎว่าบริษัทก็สู้คดีบอกว่าการแสดงเจตนาเลิกจ้างโดยบุคคลที่ไม่มีอำนาจนั้นย่อมไม่มีผลทำให้สัญญาจ้างที่สุดลง แถมยังสู้ด้วยว่า ลูกจ้างมาหาไม่ขาดงานไปเองจึงเป็นเหตุให้เลิกจ้าง ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย กรณีนี้ต้องพิจารณาโดยละเอียดสำหรับผู้ที่ถามเข้ามาแล้วให้ตอบทันทีเลยก็อาจจะตอบได้ยากเพราะต้องฟังข้อเท็จจริงทั้งสองฝ่าย รวมถึงดูเอกสารและหลักฐานต่างๆที่เกี่ยวข้องแต่เบื้องต้นขอให้ความเห็นดังนี้ค่ะ การแสดงเจตนาเลิกสร้างโดยบุคคลที่ไม่มีอำนาจย่อมไม่มีผลทำให้สัญญาจ้างสิ้นสุดลงเว้นแต่นายจ้างจะได้ให้สัตยาบัน หรือกระทำพฤติการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่ทำให้เห็นว่านายจ้างได้เชิดบุคคลนั้นให้มีอำนาจเลิกสร้างแทนนายจ้างเป็นตัวแทนของนายจ้างด้วยนายจ้างรู้เห็นยินยอมก็อาจถือได้ว่าบุคคลนั้นเป็นนายจ้างที่มีอำนาจเลิกจ้างได้เช่นบริษัท ABC มีนาย หล่อเป็นกรรมการผู้จัดการโดยมีนางสาวสวย เป็นหัวหน้าแผนกหนึ่ง ออกมานางสาวสวยไม่มีปากเสียงกับพนักงานภายในแผนกจึงได้เรียกพนักงาน มาบอกเลิกจ้าง ซึ่งบริษัทก็รับทราบและฝ่าย HR ก็ได้ออกหนังสือรับรองการทำงานให้ ร่วมทั้งจ่ายเงินงวดสุดท้ายและคืนเงินหลักประกันการทำงานให้แก่พนักงานรายดังกล่าวกรณีนี้ก็ถือได้ว่านางสาวสวยกระทำการเรียนนายจ้างในฐานะตัวแทนเชิญอันมีคนผูกพันในจ้างก็ได้บอกเลิกจ้างแล้ว คดีเช่นนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้งใครสนใจที่จะอ่านลองไปหาอ่านกันได้ที่คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6985/2547 ติดต่องาน info@legalclinic.co.th

นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้าง แบบนี้ถือว่าเลิกจ้างหรือไม่?

นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้าง แบบนี้ถือว่าเลิกจ้างหรือไม่?? พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานมาตรา 118 วรรค 2 ให้นิยามของคำว่าเลิกจ้างว่าการเลิกจ้างหมายถึงการกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปนั้นไม่จ่ายค่าจ้างให้ไม่ว่าจะเป็นเหตุแห่งการสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นและรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ จากนิยามดังกล่าวนั้นจึงถือได้ว่าการเลิกจ้างตามกฎหมายมีอยู่ 2 กรณีคือ 1. นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานแล้วไม่จ่ายค่าจ้าง ไม่ ว่าจะด้วยเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือหยุดเอง และ 2. ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ดังนั้นในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานแต่ไม่จ่ายค่าจ้างก็ ยังไม่เข้า นิยามของการเลิกจ้างตามที่กล่าวมาข้างต้น หากจะเทียบเคียงคดีความที่เคยมีก่อนหน้านี้คงจะต้องเทียบเคียงจากฎีกาที่ 3710/2531 โดยคดีนี้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่านายจ้างไม่ได้แสดงเจตนาเลิกจ้างแต่ไม่จ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่านายจ้างไม่ได้กีดกันห้ามจ้างเข้าไปทำงานลูกจ้างยังคงปฏิบัติหน้าที่ได้ตลอดกรณีนี้ไม่ถือว่านายจ้างเลิกจ้าง อ่าน มาถึงตรงนี้ก็คงร้องว่าอ้าว!! ไปทำงานแล้วไม่ได้ค่าจ้างจะไปทำงานเพื่ออะไรกฎหมายไม่ยุติธรรมไม่คุ้มครองเลย… ใครที่คิดแบบนี้อยู่ไม่ใช่นะอ่านให้จบก่อน กรณีที่นายจ้างยังคงให้ลูกจ้างทำงานอยู่แต่ไม่จ่ายค่าจ้างนั้นลูกจ้างมีสิทธิ์ฟ้องเรียกค่าจ้างค้างจ่ายพร้อมดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีและหากนายจ้างจงใจผิดนัดโดยปราศจากเหตุอันสมควรนายจ้างต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 15 ทุกระยะเวลา 7 วันด้วย ( อ้างอิงตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานมาตรา 9) ใครมีคำถามใน inbox ก็ใจเย็นหน่อยนะคะจะทยอยเอามาตอบเรื่อยๆในหน้าเพจนะเพื่อเป็นประโยชน์กับคนอื่นด้วย ติดต่องาน Info@legalclinic.co.th

ไม่ผ่านทดลองงาน ถือว่าเลิกจ้างไม่เป็นธรรมไหม ฟ้องได้ไหม?

ไม่ผ่านทดลองงาน ถือว่าเลิกจ้างไม่เป็นธรรมไหม ฟ้องได้ไหม?? Inbox ของคำถามนี้เป็น inbox ที่ต้องบอกว่าน้องใจเย็นก่อนที่จะขยายความใดๆต่อ โดยน้องที่เข้ามาปรึกษานี้มีอายุการทำงาน 1 เดือน นายจ้างได้บอกกล่าวล่วงหน้าแล้วว่า น้องืำงานไม่เป็นไปตามมาตรฐานการทำงาน และเกณฑ์การประเมิน รวมถึงกฎระเบียบอย่างไร จึงจะเลิกจ้างและไม่ผ่านการทดลองงาน (ก็คือนายจ้างได้ ทำหน้าที่ตามกฎหมายตามมาตรา 17 เรียบร้อยแล้ว) ซึ่งน้องก็ยังมีคำถามว่าน้องจะได้ค่าชดเชยหรือไม่และมีสิทธิ์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือเปล่า คำตอบมีดังนี้!! 1. ถ้าชดเชยจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ น้องทำงานต่อเนื่องกันครบ 120 วันและถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด 2. การทดลองงานเป็นกรณีที่ นายจ้างกำหนดระยะเวลาเพื่อทดสอบความรู้ความสามารถ ทักษะในการปฏิบัติงาน ทัศนคดีในการทำงาน ปฏิสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานและ ผลการปฏิบัติงานของลูกจ้างก่อนพิจารณาว่าจะจ้างลูกจ้างต่อไปหรือไม่ หากผลการทดลองปฏิบัติงานของลูกจ้างเป็นที่พอใจของนายจ้าง นายจ้างก็จะรับเข้าทำงานเป็นลูกจ้างประจำหากผลงานไม่เป็นที่พอใจ นายจ้างก็มีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างนั้นได้ ทั้งนี้ เพื่อที่นายจ้างจะได้คัดเลือกเฉพาะลูกจ้างที่มีคุณภาพให้ได้ทำงานกับนายจ้างต่อไป อันเป็นปกติของการบริหารงานบุคคล การที่บริษัทประเมินผลการปฏิบัติงานของโจทก์ว่าต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานจึงเป็นการพิจารณาไปตามมาตรฐานการทำงานที่พึ่งคาดหมายได้ ไม่ใช่ว่าจะนำหลักเกณฑ์ที่เพิ่งกำหนดขึ้นมาใช้ หรือเป็นการประเมินที่ไม่โปร่งใสและไม่เป็นธรรม การที่บริษัทเลิกจ้างจึงไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ใครอยากมีกรณีเทียบเคียงลองไปดูคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์คดีชนัญพิเศษที่ 860/2564 นอกเหนือ ไปกว่าหลักกฎหมายแล้ว พี่อยากฝากก็คือว่าทุกคนต่างรู้ว่าตัวเองมีสิทธิ์อะไรแต่อาจจะลืมไปว่าสิทธิ มาพร้อมๆกับหน้าที่ ดังนั้นอย่าลืมทำหน้าที่ของตัวเองให้ดี ด้วยนะคะ ติดต่องาน Info@legalclinic.co.th

นายจ้างตั้งคณะกรรมการสอบว่าผมผิด ถือเป็นการบีบออกหรือเปล่า?

นายจ้างตั้งคณะกรรมการสอบว่าผมผิด ถือเป็นการบีบออกหรือเปล่า? เป็นอีกประเด็นคำถามที่น่าสนใจ กับกรณีที่ถามมาว่านายจ้าง เกิดความไม่ไว้วางใจ ลูกจ้างรายนึงจึงได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวน ระหว่างการสอบสวนลูกจ้างรู้สึกกดดันไม่สบายใจจึงได้ยื่นใบลาออก หลังจากยื่นใบลาออกก็มาสอบถามว่ากรณีนี้ถือว่าถูกบีบออกหรือไม่และจะสามารถเรียกร้องเงินค่าชดเชยได้เท่าไหร่ ต้องขอเรียนตามตรงค่ะหลายๆครั้งคำว่าบีบออกไม่ได้ มีคำนิยาม ตายตัวตรงตัวเป๊ะๆตามกฎหมาย ว่าต้องทำอย่างไรจึงจะถือว่าบีบออก จึงต้องพิจารณา จากข้อเท็จจริงในแต่ละรายและแต่ละเรื่องไปที่สำคัญพิจารณาจากข้อมูลของฝ่าย 1 ฝ่ายใดแต่ฝ่ายเดียวไม่ได้ จึงไม่สามารถตอบได้ว่ากรณีนี้ ถือว่าบีบออกหรือไม่แต่ที่แน่ๆในกรณีนี้มีคำพิพากษาศาลฎีกาเทียบเคียง คือคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ 312/2564 โดยคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนาญพิเศษดังกล่าวก็เป็นเรื่องใกล้เคียงกันค่ะเรื่องกรณีดังกล่าวได้สอบสวนแล้วและปรากฏว่าลูกจ้างมีความผิดด้วย แต่อยู่ระหว่างรวบรวมเอกสารหลักฐาน เพื่อพิสูจน์ความเสียหาย และในทางนำสืบทางบริษัทก็สามารถนำสืบได้ว่า ไม่ได้มีการข่มขู่ให้เขียนใบลาออกแต่อย่างใดแต่ลูกจ้างเป็นผู้พิจารณา ตัวเองรู้สึกกดดันกับการถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนและเป็นผู้ลาออกเองโดยความสมัครใจในคดีนี้ศาลจึงพิพากษาให้นายจ้างชนะคดีและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมแต่อย่างใด คดีน่าสนใจนะคะใครอยากลองอ่านพฤติการณ์ของคำว่าบีบออกว่าใช่หรือไม่ใช่คำพิพากษานี้ก็เป็นอีกหนึ่งคำพิพากษาที่น่าสนใจค่ะลองไปหาอ่านดูนะคะ ติดต่องาน Info@legalclinic.co.th