กฎหมายกฏหมายแรงงาน“เจรจาให้ลาออก” ลูกจ้างขอกลับไปนอนคิดและหยุดงานไป แบบนี้ถือว่าลาออกหรือเลิกจ้าง
“เจรจาให้ลาออก” ลูกจ้างขอกลับไปนอนคิด และหยุดงานไป แบบนี้ถือว่าลาออกหรือเลิกจ้าง เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจแล้วก็เกิดขึ้นบ่อยมากจริงๆ วันนี้ฤกษ์งามยามเหมาะเลยขอ มาแชร์เรื่องนี้ หน้าเพจ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทั้งสองฝ่ายไม่ว่าจะเป็นนายจ้างหรือลูกจ้างค่ะ ในเรื่องของการเรียกไปคุยแล้วแจ้งว่า “ถ้าออกไปดีๆจะให้เงินนู่นนี่นั่น ดีกว่าเลิกจ้างนะเดี๋ยวจะเป็นประวัติ” เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เห็นบ่อยมาก ลูกจ้างบางคนเจอแบบนี้ไปก็ขอเก็บไปนอนคิด คิดไปคิดมาก็คิดว่าหรือนั่นอาจจะเป็นการ เลิกจ้างก็เลยหยุดทำงานไปซะ นายจ้างเลยมีหนังสือบอกว่าขาดงานเกิน 3 วันแล้วนะ ถ้าไม่กลับมาฉันจะเลิกจ้างเธอหรือไม่ก็ออกหนังสือเลิกจ้างมาเลย ในกรณีนี้ จะดูว่าเป็นการเลิกจ้างหรือไม่นั้นต้องพิจารณาโดยละเอียดค่ะ การเลิกจ้างคือการไม่ให้ทำงานและไม่ให้เงินหรือมีพฤติกรรมอื่นๆเช่นตัดบัตรเข้าออกไม่ให้เข้าตึกเข้าอาคาร ตัดสิทธิ์การใช้อีเมลคอมพิวเตอร์หรือเข้าสู่ระบบของบริษัท เป็นต้น แต่หากเป็นกรณีที่นายจ้างเรียกไปและให้เราพิจารณาตัวเองว่าจะลาออกไหมถ้าออกจะได้ค่าตอบแทนหรือข้อเสนอเงื่อนไขอะไรบ้างพฤติการณ์เพียงแค่นี้ยังไม่ถือเป็นการเลิกจ้างหากเราขาดงานไปเลย และนายจ้างตามกลับมา ก็ไม่กลับ ก็อาจจะกลายเป็นการ ละทิ้งหน้าที่และเป็นเหตุที่ให้นายจ้างเลิกจ้างได้โดยที่ลูกจ้างไม่ได้ค่าชดเชยไม่ได้ค่าเสียหายใดๆเลยนะคะ หลายท่านอ่านมาถึงตรงนี้ (สมมุติว่าอ่าน) ก็คงจะมีความรู้สึกว่าแล้วถ้าเป็นทนายล่ะนายจ้างเรียกไปคุยแบบนี้ยังจะอยู่ต่อหรอ?? ถ้าเอาจากตัวฝ้ายเองนะ ถ้านายจ้างเรียกไปคุยแล้วบอกว่าให้ไปลาออกซะ ไม่อยากให้มีประวัติติดตัว ออกไปดีๆ จะดีกว่า เราอาจเลือกทางใดทางหนึ่ง ดังนี้ ถ้าเราอยากออกเช่นกัน ไม่ใช่แกทนฉันไม่ได้ฝ่ายเดียว ฉันก็ทนแกไม่ได้เหมือนกันไอ่หัวโล้น…เราจะเลือกจบแบบที่จบง่ายๆเราก็จะต่อรองข้อเสนอก่อนที่จะยอมรับเงื่อนไขลาออก และถ้าได้ในแบบที่เรารับได้จึงทำกันทุกข้อตกลงให้ชัดเจนแล้วค่อยลาออก กับอีกทางนึงที่เรารู้สึกว่าเราเต็มที่กับบริษัทแล้ว การเลิกจ้างอย่างนี้มันไม่เป็นธรรม เราก็คงจะบอกว่าจะไม่มีกรณีการยื่นใบลาออกอยากเลิกจ้างก็ให้ออกหนังสือเลิกจ้างมาเลยแล้วไปเจอกันที่ศาลยอมเสียเวลา ซึ่งเราจะไม่หายไปเฉยๆไม่ปล่อยให้เวลาเป็นคำตอบเพราะเวลาอาจจะเป็นคำตอบได้ แต่อาจจะทำให้ฝ่ายลูกจ้างไม่ได้ค่าชดเชย หรือถ้าใครอยากอ่านดีบาร์ที่มีข้อเท็จจริงใกล้เคียงกันลองไปดู คำพิพากษาฎีกาที่ 5959/2557 นะ ลองไปพิจารณาดูนะคะเราเชื่อว่าไม่มีใครอยากให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้กับตัวเองแต่ถ้ามันเลี่ยงไม่ได้ มันไม่ได้เกิดจากการตัดสินใจของเราฝ่ายเดียว...