กรุณารอสักครู่

 

HomeCategoryกฏหมายแรงงาน Archives - Page 13 of 68 - บริษัท ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น จำกัด

ย้ายสถานที่ทำการ เท่ากับบีบออกหรือเปล่า ลาออกจะได้ค่าชดเชยไหม?

ย้ายสถานที่ทำการ เท่ากับบีบออกหรือเปล่า ลาออกจะได้ค่าชดเชยไหม? ว่ากันในเรื่องบีบออกนี้ถามกันเข้ามาในทางทาง Facebook Tiktok แล้วก็แชทกลุ่มเลยนะคะ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ ถ้าตอบไม่ถูกหูก็โดนว่าว่า” ทนายไม่เข้าใจหรอก” ทนายเข้าข้างนายจ้าง” ก็ต้องขออภัยด้วย อยากให้ข้อมูลที่ถูกต้อง มากกว่าข้อมูลที่ถูกใจ เพราะว่าถ้าตอบถูกใจและผลทางกฎหมายมันไม่เป็นไปตาม ที่ท่านผู้ถามอยากได้ยินผลเสียก็จะเกิดแก่ตัวท่านผู้ถามเอง ในเรื่องของการบีบออกนี้บางคนก็จะเล่าให้ฟังว่าหัวหน้างาน/นายจ้าง พูดไม่ดีไม่เคยถนอมน้ำใจเหน็บแนมประชดประชันตลอดถือว่าบีบออกหรือยัง ถ้าลาออกจะได้ค่าชดเชยไหม?? ถ้าให้ตอบตามหลักกฎหมายก็คือยังไม่ถือว่าบีบออก เพียงแต่มันเป็นนิสัยที่ไม่ดีของผู้พูดเอง และอาจจะพูดจนเคย ติดเป็นนิสัย ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าดีนะ แต่ก็ไม่ใช่การบีบออกจริงๆถ้าลาออกมาเพราะเหตุนี้ไปฟ้องเรียกค่าชดเชย ก็อาจไม่ได้ สัปดาห์นี้เลยจะมาเรียบเรียงพฤติการณ์ต่างๆที่เกี่ยวกับการบีบออก ลองมาศึกษากันดูนะคะ เผื่อเจอในชีวิตจริง การโยกย้ายสถานที่ทำงาน หรือเปลี่ยนแปลงจากตำแหน่งหน้าที่เดิม ถือว่าบีบออกหรือไม่?? โดยทั่วไปนายจ้างมักจะจัดทำสัญญาจ้างแรงงานเป็นหนังสือไว้กับลูกจ้างตั้งแต่เริ่มจ้าง ซึ่งมักจะกำหนดเงื่อนไขหนึ่งไว้ในสัญญาจ้างแรงงานไว้อย่างชัดเจนว่า นายจ้างมีสิทธิโยกย้ายเปลี่ยนแปลงหน้าที่การงานของลูกจ้างได้ตามความเหมาะสม หากเจตนาไม่ใช่กรณีกลั่นแกล้งโยกย้าย ทั้งยังมีการจ่ายค่าตอบแทนที่ไม่ได้ต่ำไปกว่าเดิม ลูกจ้างก็ต้องปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวหากผู้จ้างลาออกเองก็จะไม่ถือว่าเป็นการบีบออก ส่วนคำว่า “หากเจตนาไม่ใช่กรณีกลั่นแกล้งโยกย้าย + จ่ายค่าตอบแทนที่ไม่ได้ต่ำไปกว่าเดิม” มีลักษณะเป็นยังไงลองฟังฎีกานี้นะคะ คำพิพากษาที่ 4105 – 4108/2550 การที่จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์ทั้งสี่ที่ทำงานอยู่ที่หน่วยงานของจำเลยในจังหวัดเชียงใหม่ไปทำงานที่หน่วยงานของจำเลยในจังหวัดระยอง จังหวัดอ่างทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดสมุทรปราการกับจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นการย้ายโดยจำเลยมีสิทธิกระทำได้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย แม้การย้ายสถานที่ทำงานจะมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันในครอบครัวของผู้ถูกย้ายก็เป็นเรื่องธรรมดา แต่ตำแหน่งใหม่ที่จำเลยสั่งย้ายโจทก์ทั้งสี่ไปทำงานและค่าจ้างที่ได้รับก็ไม่ต่ำกว่าตำแหน่งเดิม เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยมีการกระทำอื่นที่เป็นการกลั่นแกล้งย้ายโจทก์ทั้งสี่...

ลูกจ้างขโมยของ นายจ้างเลยให้เขียนใบลาออก หากไม่ยอม จะแจ้งความดำเนินคดี แบบนี้ ถือว่าบีบออกไหม ฟ้องบริษัทได้ไหมคะ?? คราวนี้เป็นคำถามฝังลูกจ้างที่เล่าให้ฟังว่าตัวเองขโมยของจากบริษัทจริงก็รับแล้วขอโทษไปแล้ว และจะพยายามหามาชดใช้แต่นายจ้างกับข่มขู่ว่าให้ลาออกเองแต่โดยดีถ้าไม่อย่างนั้นจะเลิกจ้าง และจะพิจารณาในการแจ้งความด้วย ได้เกิดเป็นคำถามว่าแบบนี้ฟ้องนายจ้างได้ไหมคะ พี่ทนายรับว่าความไหม?? อันนี้ตอบไปไวๆได้เลยนะคะว่า “ไม่รับค่ะ” อย่างแรกเลยคือ การที่ขโมยของเขาไม่ใช่แค่ขอโทษและจบ ไม่ใช่รับปากว่าจะหามาคืนแล้วจบๆกันไป คดีลักทรัพย์เป็นอาญาแผ่นดินโดยเฉพาะคดีลักทรัพย์นายจ้างมีโทษหนักขึ้นกว่าเดิมอีก การอยู่ต่อก็ต้องเกิดความไม่ไว้ใจในการทำงานร่วมกันอยู่แล้ว ดังนั้น ถ้าทัศนคติความคิดคือทำไมนายจ้างต้องทำให้เป็นเรื่องใหญ่ และสิ่งที่นายจ้างทำมันไม่ถูกต้อง เพราะแค่ขโมยเล็กน้อย ไม่ได้เสียหายไรมากมาย พี่ว่าความคิด ตรรกะแบบนี้คงร่วมงานกันยาก แต่หากผู้ถามประสงค์จะใช้สิทธิ์ทางกฎหมาย ลองหาทนายคนอื่น ที่รับทำคดีก็ได้ค่ะ น่าจะมีอยู่บ้างเพราะแต่ละคนก็มีความคิดไม่เหมือนกันไม่มีถูกไม่มีผิดแค่คิดต่างเท่านั้น คราวนี้มาดูข้อกฎหมายบ้าง กรณีที่นายจ้างข่มขู่ว่าจะใช้สิทธิตามกฎหมาย (ขู่ว่าจะใช้สิทธิตามกฎหมาย) ทำให้ลูกจ้างเกรงกลัวและลงนามในใบลาออกด้วยตัวเอง ซึ่งหากลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิด ก็มีสิทธิที่จะไม่ลงนามในใบลาออก แต่เมื่อลูกจ้างลงนามในใบลาออกด้วยตนเองแล้วนั้น ถือเป็นการแสดงความต้องการสิ้นสุดสัญญาจากมาจากฝ่ายลูกจ้าง แปลว่าลูกจ้างจะไม่มีสิทธิได้ค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม (คำพิพากษาฎีกาที่ 2053/2552) โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่มีความผิดและไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า ไม่จ่ายเงินค่าชดเชย ไม่จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับจำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 45,800 บาท ค่าชดเชย 228,900 บาท เงินโบนัสประจำปี 2547...

ตำแหน่งตำ่ลง + ลดเงินเดือน ลูกจ้างไม่ยอมจึงออกหนังสือเตือน ข้อหาขัดคำสั่งนายจ้าง มันใช่เหรอ?

ตำแหน่งตำ่ลง + ลดเงินเดือน ลูกจ้างไม่ยอมจึงออกหนังสือเตือน ข้อหาขัดคำสั่งนายจ้าง มันใช่เหรอ? จากโพสก่อนหน้า “การโยกย้ายตำแหน่งเนื่องจากการปรับโครงสร้างการทำงานและเป็นไปตามเงื่อนไขการจ้าง นายจ้างสามารถกระทำได้ตามอำนาจในทางบริหารองค์กร” งั้นนายจ้างของโยกย้ายปรับเปลี่ยนตำแหน่งลูกจ้าง ทั้งยังขอลดเงินเดือน ลดสวัสดิการ ก็ได้สิ หรือเงินเดือนเท่าเดิมก็ได้ แต่ลักษณะงานด้วยกว่าเดิมนะ ใจเย็นนะนายจ้าง อันนั้นมันหมายถึงว่าการกระทำที่จะต้องเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมกับพนักงานหรือลูกจ้างด้วย ไม่ใช่ว่าเขียนไว้ในสัญญาว่ามีอำนาจโยกย้ายหรือลดเงินเดือนแล้วจะทำได้เลย สำหรับใครที่เจอเรื่องในกรณีเดียวกันลองพิจารณาจากฎีกานี้ดู คำพิพากษาที่ 868/2548 แม้นายจ้างจะมีอำนาจบริหารในการโยกย้ายตำแหน่งงานของลูกจ้างเพื่อให้เหมาะสมแก่งาน เพื่อให้การทำงานของลูกจ้างมีประสิทธิภาพซึ่งมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างก็ตาม แต่การย้ายนั้นต้องไม่เป็นการลดตำแหน่งหรือค่าจ้างของลูกจ้าง อีกทั้งไม่เป็นการกลั่นแกล้งลูกจ้างด้วย การที่จำเลยย้ายโจทก์ในตำแหน่งเลขานุการประสำนักงานใหญ่ฝ่ายจัดซื้อซึ่งทำงานธุรการในฝ่ายจัดซื้อไปดำรงตำแหน่งพนักงานทั่วไปประจำแผนกผักและผลไม้ สาขาสุขาภิบาล 1 ของจำเลยซึ่งทำหน้าที่จัดเตรียมสินค้าและชั่งผลไม้ รวมทั้งทำความสะอาดในบริเวณสถานที่ซึ่งมีลักษณะงานที่ด้อยกว่าเดิม ทั้งเป็นการย้ายโจทก์จากตำแหน่งเลขานุการซึ่งเป็นพนักงานระดับ 4 ไปเป็นพนักงานทั่วไปประจำแผนกผักและผลไม้ ซึ่งหัวหน้าแผนกดังกล่าวเป็นพนักงานระดับ 3 จึงเป็นการย้ายที่ลดตำแหน่งของโจทก์ลง แม้จะจ่ายค่าจ้างเท่าเดิม ก็เป็นคำสั่งย้ายที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ การที่โจทก์ปฏิเสธไม่ยอมไปทำงานในตำแหน่งใหม่ที่ต่ำกว่าเดิมนั้น มิใช่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของนายจ้าง จำเลยไม่อาจออกหนังสือเตือนในการกระทำของโจทก์ดังกล่าวได้ การที่โจทก์ปฏิเสธไม่ยอมไปทำงานในตำแหน่งใหม่จึงมิใช่เป็นการกระทำผิดซ้ำหนังสือเตือน ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (4) เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จากคำพิพากษาเห็นได้ชัดว่าเจตนาของนายจ้างไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรมกับลูกจ้าง ลูกจ้างมีสิทธิ์ที่จะปฏิเสธไม่ปฎิบัติตาม นายจ้างจะมาเลิกจ้างโดยอ้างว่าลูกจ้างขัดคำสั่งและไม่จ่ายค่าชดเชยไม่ได้!! ถึงตอนนั้นนายจ้างจะมาอ้างว่าทำผิดโดยไม่รู้หรือไม่เข้าใจ ก็เตรียมเซ็นต์เบิกเงินจ่ายทั้งค่าชดเชยและค่าเลิกจ้างไม่เป็นธรรมไว้ด้วยนะ

“โยกย้ายตำแหน่งเนื่องจากการปรับโครงสร้าง” ลูกจ้างไม่ทำตามได้ไหม

“โยกย้ายตำแหน่งเนื่องจากการปรับโครงสร้าง” ลูกจ้างไม่ทำตามได้ไหม คราวก่อนเป็นเรื่องของการโยกย้ายตำแหน่งการทำงานและสถานที่ปฏิบัติงานไปแล้วคราวนี้เป็นเรื่องของการโยกย้ายตำแหน่งงานโดยนายจ้างอ้างว่าเป็นการปรับโครงสร้างกรณีนี้ลูกจ้างจะไม่ทำตามได้ไหม ลองมาอ่านกันค่ะ การปรับโครงสร้างองค์กร หมายถึง การปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารงาน หรือกระจายอำนาจหน้าที่ขององค์กรจากโครงสร้างเดิม ตลอดจนเป็นการปรับปรุงโครงสร้างต่าง ๆ และหน้าที่ต่าง ๆ ภายในองค์กร เพื่อให้องค์กรบรรลุเป้าหมายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อบริษัทจำเป็นต้องมีการปรับโครงสร้างการทำงาน มีการย้ายตำแหน่งลูกจ้างเพื่อให้เกิดสภาพคล่องตัวขึ้น โดยลูกจ้างยังคงได้รับค่าจ้างและสวัสดิการคงเดิม ไม่มีการลดหรือเปลี่ยนแปลง ไม่สั่งให้ลูกจ้างไปทำในหน้าที่ ที่ไม่ได้มีความรู้ความถนัด ที่ใกล้เคียงจากความสามารถของลูกจ้าง นายจ้างก็สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างและโยกย้ายได้ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องดูจากการกระทำอันที่ไม่ยุติธรรมต่อลูกจ้าง ถ้าบอกคุณว่าเจตนาเป็นการย้ายจริงลดทอนคุณค่าในการทำงานลดเงินเดือนลดตำแหน่งหรือสิทธิประโยชน์อื่นใด นายจ้างก็เตรียมตัวเตรียมใจ จ่ายค่าชดเชย และค่าเลิกจ้างไม่เป็นธรรมไว้ได้เลย ใครยังนึกภาพไม่ออกและอยากอ่านแนวฎีกา ลองมาพิจารณาตามแนวคำพิพากษานี้นะคะ คำพิพากษาที่ 6700/2549 บริษัทจำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้โจทก์ไปดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายธุรการและบริการ มีหน้าที่วิเคราะห์ต้นทุน รวบรวมข้อมูลและเอกสาร ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ปรับโครงสร้างขึ้นใหม่ เนื่องจากเดิมจำเลยที่ 1 มี 26 สาขา และต้องการเพิ่มอีก 5 สาขา การแบ่งงานดังกล่าวเพื่อให้สภาพคล่องตัวขึ้น โดยโจทก์ยังคงได้รับค่าจ้างและสวัสดิการเหมือนเดิม และเป็นไปตามเงื่อนไขการจ้างงาน โจทก์จะไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 หาได้ไม่ การที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้โจทก์ไปดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายธุรการและบริการเมื่อวันที่ 18...

Quiet Firing บีบออกทางใจ สถาณการณ์สุดเลวร้าย ที่นายจ้างไม่เสียค่าชดเชย

Quiet Firing บีบออกทางใจสถาณการณ์สุดเลวร้าย ที่นายจ้างไม่เสียค่าชดเชย หลายคนคอมเม้นคำว่า Quiet Firing มาให้เห็นกันเยอะเป็นศัพท์ที่น่าสนใจประกอบกับพฤติกรรมเหล่านี้ก็เป็นพฤติกรรมของนายจ้าง ที่เป็นแนวทำให้อยากลาออกโดยทำให้เรารู้สึกแย่ไม่ก้าวหน้าแล้วก็ลาออกไปเองโดยที่นายจ้างไม่ต้องเสียค่าชดเชยตามกฎหมาย เพราะไม่ได้เป็นการ ไล่ออกเลิกจ้าง หรือมีพฤติกรรมที่เข้าข่ายเป็นการบีบออกตามแนวคำพิพากษาได้ศาลฎีกาต่างๆ Quiet Firing หากแปลตรงตัวคือการไล่ออกอย่างเงียบๆ หรือ การทำให้ พนักงานรู้สึก ดังนี้ -ไม่มีค่า -ไม่ได้รับการมองเห็น -ไม่มีโอกาสเติบโต – อยู่มา 5 ปี 6 ปีเงินเดือนได้ปรับปีละไม่กี่ร้อย – ไม่เปิดโอกาสให้เติบโต – แช่แข็งเงินเดือนให้คงที่ จนตัดสินใจลาออกเอง การกระทำลักษณะนี้จะทำให้พนักงานอาจรู้สึกว่ามีการกดดันหรือประสบปัญหาในสถานที่ทำงาน ซึ่งพฤติกรรมข้างบนไม่ว่าจะเป็นการทำเหมือนลูกจ้างคนงานเป็นอากาศ ไม่เปิดโอกาสให้เติบโต แช่แข็งเงินเดือนให้คงที่ไว้ ให้ลูกจ้างไปมองหางานใหม่และลาออกไปเอง พฤติกรรมเหล่านี้หากไม่ได้ตกลงว่าเป็นสภาพการจ้างว่าเงินเดือนต้องขึ้นทุกปีก็ถือว่า “ไม่ผิดกฎหมาย หากไม่น้อยกว่าค่าแรงขั้นต่ำ” แต่ใครล่ะมันจะไปทนอยู่ในที่แบบนั้น การลาออกเอง เพราะความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ หรือความรู้สึกว่าอยู่ไปก็ไม่เจริญ จึงอาจไม่ถือว่าเป็นการบีบออก อันเป็นเหตุที่ลูกจ้างจะได้รับค่าชดเชย ดังนั้นใครที่ตกอยู่ในสถานการณ์ Quiet Firing ก่อนที่จะลาออก เรามองหาช่องทางอาชีพใหม่ การหารายได้เสริม แล้วก็ตั้ง สติให้ดี...

ลาป่วยตั้งแต่ 3 วันทำงานขึ้นไป นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองของแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง หรือ ของสถานพยาบาลของทางราชการ

ประเด็นเกี่ยวกับเรื่องการลา วนเวียนมาถึงอีกรอบนึงกับคำถามที่ว่าเมื่อลาป่วยตั้งแต่ 3 วันทำงานขึ้นไปนายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองของแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง หรือ ของสถานพยาบาลของทางราชการ.. ให้แก่นายจ้าง (ตามพรบ.คุ้มครองแรงงานมาตรา 32) จึงเกิดคำถามว่า แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหมายถึงโรงพยาบาลเท่านั้นหรือไม่? คลินิกกฎหมายแรงงาน ขออธิบายและให้ความเห็นดังเน้!! อย่างแรกเลยต้องอธิบายความก่อนว่า แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งคืออะไร ซึ่งคำว่า แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง หรือ ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน ชั้นหนึ่ง นี้ ปรากฎในพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2479 มาตรา 12 ว่าให้แบ่งผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน เป็นชั้นหนึ่งและชั้นสอง โดยสรุปคือ แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหมายถึงแพทย์ทั่วไปที่จบปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตและสอบได้ใบอนุญาตจากแพทยสภา ส่วนโรคศิลปะสาขาเวชชกรรมชั้นสอง จะปรุงยาหรือผสมยาให้กับเฉพาะคนไข้ของตนเท่านั้น ดังนั้น หากตีความตามมาตรา 32 จึงหมายความว่า ใบรับรองแพทย์ ต้องได้จากแพทย์ ไม่ว่าจะได้จากคลินิกหรือโรงพยาบาล เพราะคลินิกก็ตรวจโดยแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งเช่นกัน แต่ต้องไม่ใช่จากสถานพยาบาลที่ดำเนินงานโดยอาชีพอื่น เช่น จากคลินิกพยาบาลและการผดุงครรภ์ หรือคลินิกแพทย์แผนไทย คลินิกแพทย์ทางเลือก เป็นต้น ส่วนบริษัทไหนที่กำหนดเรื่องการลาไว้ว่าหากลาป่วย 1 วันก็ต้องแสดงใบรับรองแพทย์นั้น ตามหลักกฎหมายชัดเจนไว้ว่าไม่ถูกต้อง แต่อาจจะต้องสอบถามที่มาดังกล่าวว่าเกิดจากอะไร ที่ทำให้ลูกจ้างและนายจ้างไม่ไว้ใจกัน เช่น อาจมีพนักงานบางกลุ่ม บางท่าน...

เด็กฝากเด็กเส้น ความเหลื่อมล้ำที่มีในทุกองค์กร

เด็กฝากเด็กเส้น ความเหลื่อมล้ำที่มีในทุกองค์กร จากกระทู้ถามเมื่อบ่ายนี้ พบว่า 100/100 ที่มาตอบ เจอกันทุกคนทุกองค์กร ดังนั้น เด็กฝาก-เด็กเส้น เป็นสิ่งที่พบเห็นกันทั่วสังคมไทยอยู่แล้ว ซึ่งจากฝ้ายโพล (ไม่มีอ้างอิงที่ไหน ไม่ได้สำรวจใคร โพลตัวเองแบบคิดเองสรุปเอง และไม่รับความเห็นต่าง) ได้สรุปว่า คนทำดี ที่เจอเด็กเส้นเข้าไปส่วนมาก หมดใจนะ หมดใจนี่ไม่ใช่ว่า อยากทำชั่วให้องค์กรป่นปี้เสียหาย แต่พอเจอมาตรฐานเด็กเส้นไป จากที่เคยทำงานแบบโปรแอคทีฟมันรู้สึกท้อ เหนื่อย และเริ่มมองหางานใหม่ ก่อนโพสกระทู้คำถามนั้น เราวางสายจากเพื่อน ที่โทรมาบ่นว่า “น่าจะมีกฏหมายแรงงานคุ้มครองเรื่องเด็กเส้นบ้างเนอะ มาจากไหนไม่รู้งานไม่เป็นเลยมาเสียบตำแหน่งที่ทุกคนพยายามและอยากเติบโต” ซึ่งเพื่อนก็แค่บ่นแต่ทำไรไม่ได้ เพราะกฎหมายแรงงานไม่ได้คุ้มครองเรื่องนี้ แต่ทีแน่ๆเพื่อน อัพเดท CV และเริ่มมองหางานใหม่แล้ว ซึ่งเราเองก็เห็นพ้องว่า ถ้าอยู่แล้วรู้สึกลำบากใจไม่เป็นธรรม ไม่เติบโต จงไปอยู่ในที่ๆเหมาะสมและรู้สึกมีคุณค่า **แต่สิ่งที่ได้เตือนไปคือ ลาออกเมื่อพร้อม และอีกข้อที่เตือนสติคือ เด็กเส้นมีทุกที่ ทุกองค์กร เพราะเป็นวัฒนธรรมของผู้บริหาร และเจ้าของที่ฝากลูกหลานคนสนิทมาทำงานด้วยยังมีเสมอ ดีหน่อยก็ฝากมาฝึกงานเป็นน้องๆในแผนก ให้โค้ชเรื่องการสอน การถ่ายทอดงานไปในตัว ซึ่งอันนี้ดีนะ เราได้ฝึกตัวเองด้วย แต่กรณีแย่หน่อยคือมาถึงแล้วเป็นผู้บริเหินเลย อันนี้ก็จะงงๆหน่อยสร้างความสับสนและลำบากใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชาหลายๆท่าน จากประสบการณ์แบบเพื่อนเล่า...

วิธีเก็บหลักฐานการจ้างงาน เมื่อ บริษัท/ HR ไม่ให้สัญญาจ้าง

วิธีเก็บหลักฐานการจ้างงาน เมื่อ บริษัท/ HR ไม่ให้สัญญาจ้าง ก่อนที่จะมาแนะนำวิธีการและข้อกำหมายที่เกี่ยวข้อง ต้องถามองค์กรที่ หวงสัญญาจ้างงาน ไว้ดั่งไข่ในหิน ว่า “ทำไป ทำเพื่อออออออออออออออ” เพราะกฎหมายไม่ได้มี ไม่เคยมี และยังไม่มี กฎข้อบังคับว่าสัญญาจ้างแรงงานจะอยู่ในรูปแบบไหน ดังนั้นจึงสามารถทำเป็นรูปแบบหนังสือ หรือจะตกลงกันด้วยวาจาก็ได้ แต่เพื่อป้องกันปัญหาการโต้แย้งระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง เพราะคนเราเปลี่ยนคำพูดได้เสมอ หรือเข้าใจกันไปคนละอน่าง หรือลืมว่าเคยรับปากกันอย่างไร จึงเกิดทำเป็นสัญญากันขึ้น ด้วยเหตุดังกล่าว เมื่อทำเป็นสัญญา คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจึงชอบที่จะได้ไว้คนละฉบับ การที่ HR ไม่ให้ หรือนายจ้างไม่ให้ จึงไม่เป็นไปตามเจตนาดัวต้น และไม่เกิดประโยชน์เลย เป็นข้อดีด้วยซ้ำ จะได้ย้ำเตือนว่าแต่ละฝ่ายมีสิทธิหน้าที่อย่างไร ส่วนลูกจ้างท่านใดที่นายจ้าง HR ไม่ให้สัญญาจ้างไว้ และเผื่อมีปัญหาในอนาคต สามารถเก็บหลักฐาน ดังนี้ •ตอนจะเซนสัญญาถ่ายรูปสัญญาไว้ •หลักฐานการแจ้ง ขาด ลา มา สาย ที่ไลน์ หรือช่องทางอื่นๆในการติดต่อสื่อสาร ที่ชี้ให้เห็นถึงอำนาจบังคับบัญชา •การสั่งงาน ทางไลน์ ทางอีเมล •สลิปเงินเดือน หรือสเตทเม้นที่มีเงินเข้า •กรณีนายจ้างจ่ายเงินสด...

Quiet Quitting ใจไปแต่กายยังอยู่

Quiet Quitting ใจไปแต่กายยังอยู่ วันก่อนมีแฟนเพจบางท่าน เม้นศัพท์แสง HR เลยคิดว่า ช่วงนี้มานำเสนอศัพท์ในแวดวง HR บ้างดีกว่า จะได้เอาไว้อัพเดท คลังศัพท์ และเพื่อเสริมความรู้ให้อินเทรนจะได้ไปคุยกับเขารุ้เรื่อง เริ่มจากคำว่า Quiet Quitting ถ้าแปลตรงตัวคือ ออกไปเงียบๆ แต่ถ้าให้แปลแบบสวยงามและตรงกับประเด็นต้องขอใช้คำของคุณ รวิศ หาญอุตสาหะ ที่นิยามไว้ว่า “การลาออกทางใจ” คือ ทำงานเฉพาะหน้าที่ที่กำหนด ไม่เกินหน้าที่ ไม่มีจิตอาสา ทำให้จบไปวันๆ ลาออกจากคนที่เคยทุ่มเท แต่ทำให้จบไปวันๆไม่ได้ใบเตือน ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแค่นั้นพอ ซึ่ง Quiet Quitting นี่เกิดได้หลายสาเหตุ ตัวอย่างเช่น ทำดีเสมอตัว ทำชั่วเอาไปประหาร หรือทำดีแต่ไม่โดนใจนาย ไม่เชื่อมั่นในองค์กร หรือมากมายหลายเหตุผลที่ทำให้ความรู้สึกรักและอยากทำเพื่อองค์กรมันตายลงไปเรื่อยๆ แต่ก็ไม่กล้าลาออก เพราะเศรษฐกิจที่บัดวบแบบนี้ทำให้ต้องทนอยู่ อยู่ทนกันต่อไป ซึ่งส่งผลต่อการทำงานเชิงคุณภาพอย่างมาก ดังนั้นเทรนด์ Quiet Quitting นี้จึงเป็นอีกเป็นอีกเทรนด์ที่บริษัทและผู้บริหารสมควรจะกังวลและต้องหาทางรับมือ ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะอันตรายแบบ Quiet Quitting อาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในบริษัท เช่น...

สรุป 10 เรื่องที่ลูกจ้างไม่รู้และต้องรู้

สรุป 10 เรื่องที่ลูกจ้างไม่รู้และต้องรู้ 🤓 1.สัญญาจ้างทำด้วยวาจาก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นหนังสือ 2.กฎหมายไม่ได้กำหนดระยะเวลาทดลองงานไว้ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่ลูกจ้างทำงานต่อเนื่องการครบ 120 วันและนายจ้างประสงค์เลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิดนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 118 3.แม้นายจ้างไม่พอใจผลการทดลองงานและต้องการเลิกจ้าง ก็ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า เว้นแต่ลูกจ้างทำผิดตาม ม.119 4. ไม่ว่าจะเลิกจ้างด้วยเหตุใดนายจ้างมีหน้าที่ต้องออกหนังสือรับรองการทำงานให้แก่ลูกจ้างและในหนังสือรับรองการทำงานต้องไม่มีข้อความที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง 5.ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 1 ปีมีสิทธิลาพักร้อนได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน กรณีนายจ้างประสงค์จะให้มากกว่า 6 วันก็ได้ แต่ให้น้อยกว่าไม่ได้) 6. กรณีทำงานยังไม่ครบ 1 ปี นายจ้างจะให้วันลาพักร้อนโดยเฉลี่ยตามสัดส่วนก็ได้ 7.การสะสมวันลาพักร้อนเพื่อนำไปใช้ในปีถัดไปเป็นสิทธิที่นายจ้างจะให้ลูกจ้างหรือไม่ก็ได้ 8.นายจ้างไม่มีสิทธิเรียก รับ หลักประกันการทำงาน หรือหลักประกันความเสียหายในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นเงินหรือทรัพย์สินอื่น หรือการค้ำประกันด้วยบุคคล เว้นแต่ สภาพของงานที่ลูกจ้างทำนั้นเกี่ยวข้องกับเงิน หรือทรัพย์สินของนายจ้าง ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างได้ เช่น พนักงานบัญชี หรือมีหน้าที่รักษาทรัพย์แทนนายจ้าง เป็นต้น 9.เมื่อสิ้นสุดการจ้าง ไม่ว่าด้วยกรณีใดๆ หากไม่มีความเสียหายเกิดขึ้น นายจ้างต้องคืนหลักประกันให้แก่ลูกจ้างภายใน 7 วัน ถ้าคืนช้ากว่านั้น นายจ้างต้องเสียดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างในอัตราร้อยละ 15...