กรุณารอสักครู่

 

HomeCategoryกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ Archives - Page 8 of 11 - บริษัท ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น จำกัด

ถ้าจะร้องขอถอนผู้จัดการมรดก !!! ผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งจะต้องร้องขอก่อนที่การแบ่งปันทรัพย์มรดกเสร็จสิ้นลง!!

ถ้าจะร้องขอถอนผู้จัดการมรดก !!! ผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งจะต้องร้องขอก่อนที่การแบ่งปันทรัพย์มรดกเสร็จสิ้นลง!! คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2150/2561 การร้องขอศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกตามป.พ.พ. มาตรา 1727 วรรค 1 ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดต้องร้องขอเสียก่อนที่การแบ่งปันทรัพย์มรดกเสร็จสิ้นลง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้ร้องได้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแล้ว โดยไม่มีทรัพย์มรดกของผู้ตายหลงเหลือให้จัดการเองต่อไป จึงถือได้ว่าผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกได้จัดการมรดกเสร็จสิ้นแล้ว และผู้คัดค้านจะอ้างว่าผู้ร้องยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกโดยมีเจตนาทุจริตปกปิดผู้คัดค้านและบุตรซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตาย ทั้งได้โอนทรัพย์มรดกให้แก่ผู้ไม่มีสิทธิ์ หรือมีเหตุผลตามกฎหมายอันเป็นเท็จในการร้องขอถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้ก็ตาม ก็ไม่อาจถือได้ว่าการปันมรดกรายดังกล่าวยังไม่เสร็จสิ้น การที่ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกภายหลังการปันทรัพย์มรดกเสร็จสิ้นแล้ว ย่อมต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว

คู่สัญญาเป็นนิติบุคคลต่างประเทศจะยื่นฟ้องที่ไหนดี

คู่สัญญาเป็นนิติบุคคลต่างประเทศจะยื่นฟ้องที่ไหนดี อ่านโพสนี้!! …การฟ้องคู่สัญญาที่เป็นนิติบุคคลต่างประเทศเป็นจำเลยให้รับผิดในข้อหาผิดสัญญาสามารถยื่นฟ้องต่อศาลไทยที่มูลคดีเกิด กล่าวคือ ผิดสัญญาที่ไหนก็ฟ้องที่ศาลนั้น ต้องดูในข้อสัญญาต่อไปว่ามีข้อตกลงว่าถ้ามีกรณีพิพาทให้ไปดำเนินการในชั้นอนุญาโตตุลาการหรือไม่ โดยให้ถือเอาสำนักทำการที่ประกอบกิจการภายในประเทศไทยเป็นภูมิลำเนาในการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้กับจำเลย ที่สำคัญ ถ้าจำเลยมีสิทธิเรียกร้องใดๆ กับบุคคลภายนอกอื่นภายในประเทศ สิ่งที่ต้องทำ คือ ขอคุ้มครองชั่วคราว โดยยื่นพร้อมฟ้องหรือก่อนศาลมีคำพิพากษา ให้อายัดสิทธิเรียกร้องดังกล่าวไว้ก่อน เพื่อง่ายต่อการบังคับชำระหนี้ต่อไป…

“หมิ่นประมาท” คืออะไร ความผิดแบบไหนเข้าหมิ่นประมาณ

กลายเป็นคำติดปากไปแล้วกับการบอกว่า “เดี๋ยวจะฟ้องหมิ่นประมาท” ทั้งๆที่บางความผิดไม่เข้าองค์ประกอบของการหมิ่นประมาทด้วยซ้ำ วันนี้เลยจะนำมาแชร์ว่าความผิดหมิ่นประมาทต้องประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ? “หมิ่นประมาท” คือ การใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง -การใส่ความ ข้อความที่กล่าวแม้จะเกิดจากการตอบคำถามผู้อื่น ก็เป็นการใส่ความแล้ว ผิดฐานหมิ่นประมาทได้ -การใส่ความ ต้องเป็นการยืนยันข้อเท็จจริง จะเป็นความจริงหรือความเท็จก็ได้ การกล่าวข้อความที่ได้รับบอกเล่ามา เป็นการยืนยันข้อเท็จจริง -สำหรับข้อความจะเป็นหมิ่นประมาทหรือไม่ ต้องพิจารณาตามความรู้ของวิญญูชนทั่วๆ ไป มิใช่ความรู้สึกของผู้ถูกดูหมิ่นแต่ฝ่ายเดียว -การแจ้งความเท็จว่ามีการกระทำความผิดอาญาเกิดขึ้น เพื่อแกล้งให้ผู้อื่นได้รับโทษ นอกจากเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ ยังเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วย -การใส่ความนั้น ต้องมีการระบุตัวผู้อื่นที่ถูกใส่ความว่าเป็นใคร หรือเป็นที่เข้าใจได้ว่าหมายถึงบุคคลใด -ความผิดฐานหมิ่นประมาทต้องเป็นการเจตนาใส่ความต่อบุคคลที่สาม “หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา “หมายถึง การกระทำใดๆ ที่ทำให้ข้อเท็จจริงนั้นแพร่หลายไปยังบุคคลภายนอกในลักษณะวงกว้าง และเป็นความผิดสำเร็จทันทีที่มีการจำหน่ายหนังสือพิมพ์ หรือโพสต์ข้อความลงในเฟสบุ๊ค นั้น

แอบอัดเสียงไว้ก็ใช้เป็นพยานในชั้นศาลได้ !!

แอบอัดเสียงไว้ก็ใช้เป็นพยานในชั้นศาลได้!! หลายคนคงเคยได้ยิน หรือเข้าใจว่าการแอบบันทึกเทป บันทึกภาพเคลื่อนไหว หรือบันทึกเสียงในขณะที่มีการสนทนากัน โดยที่อีกฝ่ายไม่รู้นั้น เป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบ และนำไปใช้ในศาลไม่ได้ แต่อีกหลายคนที่เคยขึ้นศาลกลับบอกว่าได้สิ!! ฉันก็เคยใช้มาก่อน!! ซึ่งเป็นประเด็นที่น่า สนใจว่าสรุป การแอบบันทึกเทปภาพเคลื่อนไหวในขณะที่มีการสนทนากัน สามารถใช้เป็นประเด็นในชั้นศาลได้หรือไม่ FINDMYLAWYER​ ขอไขข้อข้องใจแบบนี้ค่ะ กฎหมาย ป.วิ.อ. มาตรา 226​ กำหนดว่า ห้ามศาลรับฟัง การแอบบันทึกเทปหรือภาพเคลื่อนไหวในขณะที่มีการสนทนากันจริง!! แต่การห้ามดังกล่าว ห้ามนำมาใช้บังคับเฉพาะกรณีเจ้าพนักงานของรัฐที่แอบบันทึกเทป บันทึกภาพเคลื่อนไหว หรือบันทึกเสียงเท่านั้น ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันมิให้เจ้าพนักงานของรัฐใช้วิธีการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบนั่นเอง ( แต่ก็มีข้อยกเว้นนะ ต่อให้เจ้าหน้าที่รัฐแอบบันทึกเทปบันทึกภาพเคลื่อนไหวจริง แต่หากศาลมองว่า หลักฐานนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการอำนวยความยุติธรรมมากกว่าผลเสีย ก็สามารถนำหลักฐานมาใช้ได้)​ ส่วนที่ประชาชนแอบบันทึกภาพ บันทึกภาพเคลื่อนไหวและเสียง หรือบันทึกเสียงอย่างเดียว ประชาชนยังสามารถนำมาใช้เป็นพยานหลักฐานในศาลได้ ไม่ถือว่าเป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยไม่ชอบ ติดต่องาน Info@legalclinic.co.th #Findmylawyer #แอบอัดเสียง #อัดเสียง #พยาน

เพื่อนยืมเงินไปแล้วไม่คืน ไปแจ้งความตำรวจก็ไม่รับแจ้งความ แบบนี้ทำยังไงดี??

เพื่อนยืมเงินไปแล้วไม่คืน ไปแจ้งความตำรวจก็ไม่รับแจ้งความแบบนี้ทำยังไงดี?? หลายๆคนอาจจะยังเข้าใจผิดกันอยู่ ว่าให้ยืมเงินแล้วพอลูกหนี้ไม่คืนนั้นเราจะสามารถไปแจ้งความให้ตำรวจดำเนินคดีได้ แต่เนื่องจากนิติกรรมสัญญาการกู้ยืม เป็นการตกลงระหว่างคู่สัญญาในทางแพ่ง โดยหลักกฎหมายแพ่งแล้วคู่สัญญาจะตกลงกันอย่างไรก็ได้เท่าที่ไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน เป็นคดีแพ่ง คือ การโต้แย้งกันเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลและทรัพย์สิน โดยมุ่งหมายให้จำเลยชำระเงิน ซึ่งกฎหมายกำหนดให้เจ้าหนี้ต้องใช้สิทธิฟ้องร้องทางศาลเอง (ในกรณีนี้จะเป็นการให้ยืมเงินกันเอง ไม่ใช่ในกรณีเจ้าหนี้นอกระบบ หรือ สถาบันการเงิน) ทั้งนี้ การฟ้องร้องคดีกู้ยืมเงิน ต้องมีหลักฐาน โดยทนายฝ้ายได้เคยอธิบายเกี่ยวกับสัญญากู้ยืมเงินไปแล้วในโพสก่อน แต่จะมาขอเน้น ในส่วนของหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ การตกลงขอยืมกันผ่านทางไลน์ ทางแชท หรือทางอีเมล์ ที่มีการพูดโต้ตอบกัน มีการโอนเงินไปให้ ก็สามารถถือเป็นหลักฐาน ในการกู้ยืมเงินฟ้องร้องได้ เพราะถือว่าเป็นการลงมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์เรียบร้อยแล้ว โดยมีข้อความครบถ้วนว่า ยืมเงินเป็นจำนวนเท่าใด จะใช้คืนเมื่อไหร่ ก็เพียงพอแล้วที่จะเป็นหลักฐานการกู้ยืม โดยกฎหมายให้ถือเอาชื่อ Facebook เป็นการลงลายมือชื่อของผู้ยืมด้วย โดยนำพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาใช้บังคับค่ะ

รถหายในระหว่างผ่อน ไม่ต้องส่งต่อ!!

รถหายในระหว่างผ่อน ไม่ต้องส่งต่อ!! คงเป็นปัญหาที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตัวเองใช่มั้ยคะ เพราะกว่าจะดาวน์รถกว่าจะผ่อนมาแต่ละงวดเลือดตาแทบกระเด็นเลยทีเดียว แต่เรื่องแบบนี้ก็เกิดขึ้นมานับครั้งไม่ถ้วนไม่ว่าจะเป็นการโจรกรรมหรือความประมาทของเจ้าของรถเอง และขอเรื่องดังกล่าวเคยเกิดขึ้น วันนี้จึงหยิบยกข้อกฎหมายมาเล่าให้ฟังเกี่ยวกับ กรณีที่รถหายในระหว่างผ่อน ว่าเรายังมีสิทธิหน้าที่อย่างไร ถ้าการสูญหายนั้น ไม่ได้เกิดจากความประมาทเลินเล่อของผู้เช่าซื้อ เมื่อทรัพย์สินที่เช่าซื้อสูญหาย สัญญาเช่าซื้อย่อมระงับไป ผู้เช่าซื้อไม่ต้องรับผิดชอบในการชำระค่าเช่าซื้ออีกต่อไป​ พูดง่ายๆก็คือ ถ้าพิสูจน์ได้ว่าไม่ได้ประมาทแต่ยังหายอีกก็ไม่ต้องผ่อนต่อ (ฎีกา2772 / 2560) แต่อีกในกรณีหนึ่งตรงข้ามกันเลย คือการสูญหายหรือถูกโจรกรรม เกิดจากความประมาทเลินเล่อของเจ้าของรถเอง​ เข่น สตาทรถทิ้งไว้ แล้วลงไปซื้อของ กรณีแบบนี้ประมาทความเลินเล่อของเจ้าของรถเอง ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยต่อเจ้าของรถแต่อย่างใด (ฎีกา1305/2559) อ่านมาถึงตรงนี้ นอกจากจะมีข้อกฎหมายให้เพื่อนๆได้อัพเดทแล้วก็อยากให้ระมัดระวังในการใช้ชีวิตกันให้มากขึ้นด้วยนะคะ ติดต่องาน Info@legalclinic.co.th #Findmylawyer

แสดงความเห็นยังไงไม่ให้ถูกฟ้องหมิ่นประมาท ในปัจจุบันมีตัวอย่างให้เห็นมากมายกับการคอมเม้นต์แสดงความคิดเห็น บางคนก็ไปว่าให้เขาเสียหายทั้งทั้งที่ไม่รู้ข้อเท็จจริง ว่ากันสนุกปาก บางคนก็ถูกฟ้องมาแล้วก็เข็ดหลาบแต่บางคนมันก็อดไม่ได้จริงๆ จึงเกิดเป็นข้อสงสัยมาว่าเราต้องคอมเม้นต์แบบไหนล่ะถึงจะไม่เข้าข่ายหมิ่นประมาท โพสต์นี้มีคำตอบมาลองอ่านนะ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต (1) เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม (2) ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่ (3) ติชม ด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ หรือ (4) ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรม เรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลหรือในการประชุม ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท เช่น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3546/2558 ข่าวเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเรื่องการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติและมีการออกโฉนดที่ดินทับซ้อนพื้นที่สวนป่าเป็นข่าวที่สังคมให้ความสนใจเพราะมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของทุกคนในสังคม และข้อเท็จจริงตามที่จำเลยที่ 1 นำมาตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ของตนเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากการสืบสวนและสอบสวนของเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทั้งในส่วนของกรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช รวมถึงเจ้าพนักงานตำรวจ เมื่อจำเลยทั้งสองในฐานะสื่อมวลชนมีหน้าที่เสนอข่าวสารที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองให้ประชาชนทราบโดยเสนอข้อมูลไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามที่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องสืบสวนและสอบสวนได้ความ หาใช่เป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยทั้งสองสร้างขึ้นมาเองไม่ แม้ข้อความบางส่วนอาจทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจว่าโจทก์มีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำความผิดด้วยอันเป็นการใส่ความโจทก์ให้ได้รับความเสียหาย โดยที่โจทก์ยังมิได้ถูกเรียกไปแจ้งข้อกล่าวหาหรือดำเนินคดี แต่การดำเนินคดีก็เป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานผู้เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการได้ภายในกำหนดอายุความ อีกทั้งการนำเสนอข่าวสารเชิงวิเคราะห์ของจำเลยทั้งสอง ก็เป็นการติชมวิพากษ์วิจารณ์ และแสดงความคิดเห็นไปตามข้อเท็จจริงที่ได้ความมาจากการสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องโดยสุจริตและติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ ดังนั้นจำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทตาม ป.อ. มาตรา 329 (3) จากคำพิพากษาศาลฎีกา แม้จะเห็นได้ว่าการเผยแพร่ข้อความใดๆ โดยสุจริตตามมาตรา 329 จะไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทก็ตาม แต่ก็ไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายหรือผู้ที่ถูกกระทบกระเทือนสิทธิจากการเผยแพร่ข้อความดังกล่าวดำเนินการตามกฎหมาย...

แม่เคยยกที่ดินให้ เมื่อลูกอกตัญญู แม่ขอถอนการให้ได้!!

แม่เคยยกที่ดินให้ เมื่อลูกอกตัญญู แม่ขอถอนการให้ได้!! วันนี้ช่วง 6 โมงเช้ามีสายของ สหายต่างวัยท่านหนึ่งโทรมาปรึกษาข้อกฎหมาย ก่อนที่จะสอบถามว่าเรื่องราวมันเป็นยังไง แน่นอนว่าต้องบ่นก่อนอยู่แล้ว เพราะว่ามีเรื่องด่วนอะไรถึงต้องโทรมาปรึกษาในยามเช้าขนาดนี้ แต่เมื่อได้ฟังที่มาที่ไปก็เข้าใจว่าทำไมเขาทุกข์ใจ เรื่องราวมีว่า เขามอบที่ดินให้ลูกชาย ยกให้ (ไม่ใช่พินัยกรรมนะ เค้ายังไม่ตาย) ให้ตอนมีชีวิต ต่อมาลูกชายมีภรรยา และภรรยามองว่าอยากมีแค่ พ่อ แม่ ลูก เลยขอให้ตัวพี่ที่มาปรึกษา ซึ่งเป็นแม่ ออกจากที่ดังกล่าว ซึ่งแม่ก็บอกว่าถ้าออกไปก็ไม่มีที่อยู่ พอไม่ออกก็ไม่หยิบยื่นข้าว น้ำ กรณีแบบนี้ พี่เขาจะทำไงได้บ้าง?? ฟังจบสาย ก่อนเข้าข้อกฎหมายอยากจะขอด่าก่อน แต่การด่าไม่ใช่กิจของทนายอ่ะเนอะ เลยเล่าข้อกฎหมายให้ฟังไป แบบนี้ การยกที่ดินให้ ไปไปโอนมาแล้ว จะถอนการให้ไม่ได้ เว้นแต่เหตุผู้รับเนรคุณ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 531 (เหตุเนรคุณ มีดังนี้) (1) ถ้าผู้รับได้ประทุษร้ายต่อผู้ให้เป็นความผิดฐานอาญาอย่างร้ายแรง ตามประมวลกฎหมายลักษณะอาญา หรือ(2) ถ้าผู้รับได้ทำให้ผู้ให้เสียชื่อเสียง หรือหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง หรือ(3) ถ้าผู้รับได้บอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่ผู้ให้ ในเวลาที่ผู้ให้ยากไร้และผู้รับยังสามารถจะให้ได้” แต่ใช่ว่าจะเรียกคืนได้ทุกกรณี การให้ที่ไม่สามารถที่จะฟ้องขอเพิกถอนคืนการให้ เพราะเหตุเนรคุณ ได้แก่ 1 เมื่อผู้ให้ได้ให้อภัยผู้รับในเหตุประพฤติเนรคุณแล้ว 2 เมื่อผู้ให้ถึงแก่ความตาย โดยไม่ได้ฟ้องคดีไว้ ทายาทจะฟ้องเองไม่ได้ 3 ให้ตอบแทนการทำงาน...

ด่า “ไม่ระบุชื่อ” จะถูกฟ้องหมิ่นประมาทหรือไม่ ?

ด่าไม่ระบุชื่อจะถูกฟ้องหมิ่นประมาทหรือไม่? อันนี้เห็นหลายคนมากบอกต่อกันว่าด่าใครก็ไม่ต้องระบุชื่อซ์ดาเป็นตัวอักษรย่อก็ได้แค่นี้ก็ไม่เป็นหมิ่นประมาทแล้วเพราะไม่ได้เอ่ยชื่อ เตือนไว้ก่อนเลยนะคะเคสแบบนี้ก็ฟ้องกันมาแล้วหลายเคส เพราะแม้จะไม่ได้ระบุชื่อเจาะจงใครเป็นพิเศษ แต่หากมีตัวย่อหรือโพสต์ด้วยประการใดใดก็ตามที่ทำให้บุคคลทั่วไปที่ได้อ่าน หรือได้ฟังเเล้วเข้าใจได้ในทันทีว่าที่โพสไปนั้นหมายถึงใคร แม้ว่าจะไม่ได้ระบุชื่อหรือเอ่ยชื่อบุคคลใดใดก็ตาม โพสต์แบบนี้ถือว่าเข้าข่ายมีความผิดฐานหมิ่นประมาทได้ บางคนเมื่อถูกฟ้องแล้วยังมีการมาบอกว่า “ที่พูดไปก็เรื่องจริงทั้งนั้นจะหมิ่นประมาทได้ยังไง!!” อันนี้อยากให้ดูองค์ประกอบของข้อหานี้นะคะโดยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ระบุว่า 1. ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม 2. โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง 3. ผู้นั้นกระทำความผิดฐาน หมิ่นประมาท 4. ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จะเห็นได้ว่าจากองค์ประกอบของกฎหมายไม่ได้บอกเลยว่าเรื่องที่นำมาพูดนั้นจะเป็นเรื่องจริงหรือเท็จ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องจริงหรือเท็จ หากการพูดนั้นทำให้บุคคลนั้นเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นเกลียดชังก็เข้าองค์ประกอบความผิดของฐานนี้แล้วค่ะ ทุกวันนี้ใช้ชีวิตของตัวเองก็ยากพออยู่แล้วอย่าไปคอมเม้นต์ การใช้ชีวิตของใครเลยค่ะโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับหลายหลายคนที่ชอบไปเม้นด่าบุคคลสาธารณะอย่าลืมนะคะว่าแม้เค้าเป็นบุคคลสาธารณะ แต่เค้าไม่ได้ถูกด่าได้โดยสาธารณะ การวิพากษ์วิจารณ์กับการหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นแตกต่างกัน จะโพสต์อะไรคิดดีดีก่อนนะ และสำหรับใครที่มีปัญหาด้านกฎหมายต้องการติดต่อหาทนายความเพื่อดำเนินการใช้สิทธิ์เรียกร้องตามกฏหมาย หรือแม้แต่ขั้นตอนการสืบบุคคล สืบทรัพย์สินก็สามารถติดต่อได้ที่ info@legalclinic.co.th

ข้างบ้านส่งเสียงดังรบกวน มีความผิดตามกฎหมายหรือไม่ ?

เนื่องจากเป็นช่วงวันหยุดยาวนะคะหลายคนก็จะเจอปัญหากับที่ข้างบ้านมีปาร์ตี้เสียงดังจากการสังสรรค์ ขอความร่วมมือก็แล้วบอกดีดีก็แล้ว ก็ยังจะส่งเสียงดังรบกวนในกรณีนี้มีความผิดตามกฏหมายหรือไม่มาฟังกันค่ะ 1. ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 370 ระบุไว้ว่า “ผู้ใดส่งเสียง ทำให้เกิดเสียงหรือกระทำความอื้ออึง โดยไม่มีเหตุอันสมควร จนทำให้ประชาชนตกใจหรือเดือดร้อน ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท” กรณีนี้สามารถไปแจ้งที่สน. ใกล้บ้านได้เลยนะคะ 2. บัญญัติการสาธารณสุข 2535 มาตรา 26 ระบุว่า “ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจห้ามผู้ใดผู้หนึ่งมิให้ก่อเหตุรำคาญ ในที่ หรือทางสาธารณะหรือสถานที่เอกชนรวมทั้งการระงับเหตุรำคาญด้วย ตลอดทั้งการดูแล ปรับปรุง บำรุงรักษา บรรดาถนน ทางบก ทางน้ำ รางระบายน้ำ คู คลอง และสถานที่ต่าง ๆ ในเขตของตนให้ปราศจากเหตุรำคาญในการนี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือเพื่อระงับ กำจัด และควบคุมเหตุรำคาญต่าง ๆ ได้ ดังนั้น หากเกิดกรณีข้างบ้านเสียงดังถือเป็นการละเมิดสิทธิผู้อื่นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่มีอำนาจห้ามไม่ให้ผู้ใดก่อเหตุรำคาญในที่สาธารณะหรือสถานที่เอกชนสามารถเข้ามาระงับกรณีข้างบ้านเปิดเพลงเสียงดังได้ค่ะ 3. ประมวลกฎหมายและพาณิชย์มาตรา 1337 ที่กำหนดให้เจ้าของบ้านที่ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนรำคาญ มีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากข้างบ้านเปิดเพลงเสียงดังได้ด้วย วันหยุดพักผ่อนเป็นวันที่ทุกคนต่างอยากพักผ่อนนะคะการพักผ่อนของแต่ละคนแตกต่างกันบางคนชอบปาร์ตี้สังสรรค์บางคนเพียงได้พักผ่อนเงียบเงียบอ่านหนังสือจิบกาแฟหรืออยู่กับครอบครัวก็เป็นการพักผ่อนเช่นกันดังนั้นต่างคนควรใช้สิทธิ์ให้อยู่ในขอบเขตไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนจะเป็นการดีที่สุดค่ะ