กรุณารอสักครู่

 

HomeCategoryกฎหมายอาญา Archives - Page 5 of 11 - บริษัท ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น จำกัด

กรณีที่ทรัพย์สินมีชื่อเจ้าของหลายคน หากจะทำนิติกรรม ต้องอาศัยความยินยอมจากเจ้าของทุกคนเสมอ

กรณีที่ทรัพย์สินมีชื่อเจ้าของหลายคน หากจะทำนิติกรรม ต้องอาศัยความยินยอมจากเจ้าของทุกคนเสมอ หากไม่สามารถตกลงหรือยินยอม เจ้าของคนใดคนหนึ่งต้องยื่นฟ้องต่อศาลขอแบ่งกรรมสิทธิ์ 1 แบ่งทรัพย์สินดังกล่าวกันเองก่อน 2 เมื่อไม่สามารถแบ่งได้ให้ประมูลราคาระหว่างกันเอง 3 ถ้าตกลงกันไม่ได้ก็ให้นำทรัพย์สินดังกล่าวออกขายทอดตลาด และได้เงินสุทธิเท่าใดให้แบ่งกันคนละครึ่ง หรือตามส่วนของเจ้าของรวม

อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ หลังจากสามีภริยาหย่าขาดจากกันแล้ว แบ่งออกเป็น 2 กรณี

คดีเพิกถอนอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ หลังจากสามีภริยาหย่าขาดจากกันแล้ว แบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้ 1 กรณีหย่าด้วยความยินยอม ให้สามีภริยาทำความตกลงเป็นหนังสือท้ายทะเบียนหย่า ณ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ ว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรคนใด ถ้ามิได้ตกลงหรือตกลงกันไม่ได้ ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด แต่ถ้าตกลงกันว่าให้ฝ่ายใดเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูบุตร ย่อมมิใช่ข้อตกลงให้ฝ่ายนั้นเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองด้วย แต่ต้องถือว่าอำนาจปกครองยังอยู่กับบิดาและมารดา หากคนใดคนหนึ่งถึงแก่ความตาย อำนาจปกครองก็ยังตกอยู่อีกคนหนึ่ง 2 กรณีหย่าโดยคำพิพากษาศาล ให้ศาลซึ่งพิจารณาคดีฟ้องหย่านั้นชี้ขาดด้วยว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรคนใด โดยศาลมีอำนาจถอนอำนาจปกครองบุตรของคู่สมรสนั้นได้ ตามมาตรา 1582 และสั่งให้บุคคลภายนอกเป็นผู้ปกครองได้ ทั้งนี้ ให้ศาลคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของบุตรเป็นสำคัญ โดยไม่ต้องพิจารณาว่าเป็นการเกินพิพากษาคำขอหรือไม่ แม้โจทก์ไม่ได้ขอมาในคำขอท้ายฟ้อง ศาลก็พิพากษาเกินคำขอในเรื่องนี้ได้ แต่ถ้าปรากฎว่าผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองตามมาตรา 1520 ประพฤติไม่เหมาะสมควร หรือภายหลังพฤติการณืได้เปลี่ยนแปลงไป ศาลมีอำนาจสั่งเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครอง โดยคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของบุตรเป็นสำคัญ เหตุในการถอนอำนาจปกครอง 5 กรณี 1 ผู้ใช้อำนาจปกครองถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ 2 ใช้อำนาจปกครองโดยมิชอบ ทำให้เกิดความเสียหายแก่บุตรผู้เยาว์ เช่น เฆี่ยนตีบุตรอย่างรุนแรง ยุยงส่งเสริมให้บุตรลักขโมย สอนบุตรสูบบุรี่ ดื่มสุรา ละทิ้ง ไม่เลี้ยงดูเอาใจใส่ ลงโทษบุตรอย่างทารุน หรือปล่อยปละละเลยให้บุตรประพฤติชั่ว...

ส่งหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองให้แก่ผู้จำนอง แม้ไม่มีผู้รับ ก็ถือว่าส่งโดยชอบแล้ว

ส่งหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองให้แก่ผู้จำนองแม้ไม่มีผู้รับก็ถือว่าส่งโดยชอบแล้ว คำพิพากษาฎีกาที่ 2066/2564 แม้ซองจดหมายบอกกล่าวบังคับจำนองที่โจทก์ส่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับระบุภูมิลำเนาจำเลย แต่ส่งไม่ได้โดยมีตราประทับของไปรษณีย์ระบุว่าไม่มีเลขที่บ้านตามจ่าหน้า แสดงว่ายังไม่ได้มีการนำจดหมายไปส่ง ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลย ถือไม่ได้ว่าโจทก์ผู้รับจำนองมีจดหมายบอกกล่าวบังคับจำนองไปถึงจำเลยผู้เป็นลูกหนี้โดยชอบแล้ว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 169 วรรคหนึ่ง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำนอง แม้หนังสือสัญญาจำนองที่ดินระบุว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไปจำนวน 400,000 บาท จำเลยย่อมนำสืบพยานบุคคลว่าจำเลยกู้ยืมเงินจากโจทก์ไปเพียง 200,000 บาท ไม่เป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 เพราะเป็นการนำสืบถึงความไม่บริบูรณ์ขอสัญญากู้เงินตาม ป.พ.พ.มาตรา 640 วรรคสอง ไม่ใช่เป็นการนำสืบเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94(ข) แต่เป็นการนำสืบถึงความไม่สมบูรณ์แห่งหนี้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 วรรคท้าย หมายเหตุ : ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การบอกกล่าวบังคับจำนองเป็นการแสดงเจตนาอย่างหนึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 169 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า “การแสดงเจตนาที่กระทำต่อบุคคลซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้าให้ถือว่ามีผลนับแต่เวลาที่การแสดงเจตนานั้นไปถึงผู้รับการแสดงเจตนา….” ถ้อยคำว่า “ไปถึง” นั้น หมายความว่า ต้องมีการแสดงเจตนาโดยมีการนำจดหมายบอกกล่าวบังคับจำนองไปส่งยังลูกหนี้ ณ ภูมิลำนาหรือสำนักทำการงานของลูกหนี้แล้ว แม้ไม่มีผู้ใดรับไว้ ก็ถือได้ว่าผู้รับจำนองมีจดหมายบอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบแล้ว

ใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน เป็นเอกสารราชการ ไม่ใช่เอกสารสิทธิ

ใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน เป็นเอกสารราชการไม่ใช่เอกสารสิทธิ คำพิพากษาฎีกาที่ 912/2564 ใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน(แบบ ป.4) มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมการใช้อาวุธปืนตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 เป็นเพียงเอกสารราชการไม่ใช่เอกสารสิทธิตาม ป.อ.มาตรา 1(9) หมายเหตุ : ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เอกสารสิทธิ คือ เอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อสิทธิ เปลี่ยนแปลงสิทธิ โอนสิทธิ สงวนสิทธิ หรือระงับซึ่งสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน(แบบ ป.4) เป็นเพียงเอกสารซึ่งนายทะเบียนอาวุธปืนออกให้แก่ผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการมีอาวุธปืนไว้ในครอบครอง ซึ่งผู้ขอใบอนุญาตต้องยื่นคำขอและผ่านการพิจารณาจากเจ้าหน้าที่ตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด ใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน(แบบ ป.4) ไม่อาจโอนให้แก่บุคคลอื่นได้

“โจทก์ฟ้องว่าจำเลยลักเงินของผู้เสียหาย แต่ในทางพิจารณาฟังได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการฉ้อโกงธนาคาร ศาลจะลงโทษจำเลยในความผิดฐานฉ้อโกง และสั่งให้จำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายได้หรือไม่ ?

“โจทก์ฟ้องว่าจำเลยลักเงินของผู้เสียหาย แต่ในทางพิจารณาฟังได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการฉ้อโกงธนาคาร ศาลจะลงโทษจำเลยในความผิดฐานฉ้อโกง และสั่งให้จำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายได้หรือไม่ “ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 687/2563 มาตรา 192 ห้ามมิให้พิพากษา หรือสั่ง เกินคำขอหรือที่มิได้กล่าว ในฟ้อง ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่าง กับข้อเท็จจริงดั่งที่กล่าวในฟ้อง ให้ศาลยกฟ้องคดีนั้น เว้นแต่ข้อ แตกต่างนั้นมิใช่ในข้อสาระสำคัญและทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลจะ ลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นก็ได้ ในกรณีที่ข้อแตกต่างนั้นเป็นเพียงรายละเอียด เช่น เกี่ยวกับ เวลาหรือสถานที่กระทำความผิดหรือต่างกันระหว่างการกระทำผิด ฐานลักทรัพย์ กรรโชกรีดเอาทรัพย์ ฉ้อโกง โกงเจ้าหนี้ ยักยอก รับ ของโจร และทำให้เสียทรัพย์หรือต่างกันระหว่างการกระทำผิด โดยเจตนากับประมาท มิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญ ทั้งมิให้ ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคำขอหรือเป็นเรื่องที่ โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ เว้นแต่จะปรากฏแก่ศาลว่าการที่ ฟ้องผิดไปเป็นเหตุให้จำเลยหลงต่อสู้ แต่ทั้งนี้ศาลจะลงโทษจำเลย เกินอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดที่โจทก์ฟ้องไม่ได้ ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงบางข้อดั่งกล่าวในฟ้อง และตามที่ปรากฏ ในทางพิจารณาไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ห้ามมิให้ ศาลลงโทษจำเลยในข้อเท็จจริงนั้น ๆ ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามฟ้องนั้นโจทก์สืบสม แต่โจทก์อ้างฐาน ความผิดหรือบท มาตรา ผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐาน ความผิดที่ถูกต้องได้ ถ้าความผิดตามที่ฟ้องนั้นรวมการกระทำหลายอย่าง...

จำเลยมีเจตนาที่จะเอาของมีค่าในกระเป๋าเท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาจะเอากระเป๋า เมื่อหาของมีค่าไม่เจอจึงส่งกระเป๋าคืน การกระทำของจำเลยยังไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์สำเร็จไป

จำเลยมีเจตนาที่จะเอาของมีค่าในกระเป๋าเท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาจะเอากระเป๋า เมื่อหาของมีค่าไม่เจอจึงส่งกระเป๋าคืน การกระทำของจำเลยยังไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์สำเร็จไป คำพิพากษาฎีกาที่ 869/2555 จำเลยใช้อาวุธปืนจี้ขู่เข็ญผู้เสียหายว่า อย่าส่งเสียงและให้ส่งของมีค่าให้เมื่อผู้เสียหายส่งกระเป๋าสะพายให้และพูดว่า จะเอาอะไรก็เอาไปขอบัตรประจำตัวประชาชนไว้ จำเลยค้นกระเป๋าสะพายแล้วไม่มีของมีค่าจึงส่งกระเป๋าสะพายคืนให้และคลำที่คอผู้เสียหายเพื่อหาสร้อยคอ ผู้เสียหายบอกจำเลยว่าไม่มีของมีค่าติดตัวมา จำเลยจึงปล่อยตัวผู้เสียหายแล้วเดินหนีไป แสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้ประสงค์จะแย่งเอากระเป๋าสะพายของผู้เสียหายไปเป็นของตน เพียงแต่ต้องการค้นหาของมีค่าในกระเป๋าสะพายเท่านั้น มิฉะนั้นเมื่อจำเลยได้กระเป๋าสะพายแล้วก็ต้องหลบหนีไปทันทีโดยไม่ต้องเปิดดูและคืนกระเป๋าสะพายให้ผู้เสียหาย ดังนั้น เมื่อจำเลยยังไม่ได้ของมีค่าตรงตามเจตนาของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงยังไม่เป็นการชิงทรัพย์สำเร็จ ติดต่องานจ้าง

หย่าโดยยินยอมและหย่าเพื่อหนีหนี้ ขั้นตอนและผลทางฎหมายเป็นอย่างไร ?

หย่าโดยยินยอมและหย่าเพื่อหนีหนี้ ขั้นตอนและผลทางฎหมายเป็นอย่างไร ? มาฟัง…. “หย่าโดยความยินยอม” ๑.ทำเป็นคำร้องยื่นต่อนายอำเภอ ตกลงหย่าขาดจากกัน โดยลงชื่อคู่สมรสและพยานสองคนกด็เป็นการหย่าที่สมบรูณ์ คำพิพากษาฏีกา ๖๑๐/๒๔๙๖ ๒.สัญญาหย่ามีพยานสองคน พยานที่ลงชื่อเป็นพยานคนแรกเบิกความว่า หลังจากที่ตนเซ็นชื่อแล้วจะมีใครเซ็นชื่อหรือไม่ไม่ทราบ พยานอีกคนเบิกความว่า เมื่อภรรยานำหนังสือสัญญาหย่ามาให้เซ็นก็เซ็นไป ไม่ถือว่าทั้งสองคนรู้เห็นเป็นพยานในการหย่า ไม่ถือเป็นหนังสือหย่าตามกฎหมาย คำพิพากษาฏีกา ๔๑๗/๒๔๙๔ ๓. ตกลงหย่ากันแล้ว สามีลงชื่อในหนังสือหย่าต่อหน้าพยานสองปาก ส่วนภรรยาลงชื่อหลังจากที่พยานคนหนึ่งไปแล้ว ถือว่าสัญญาหย่าสมบรูณ์ กฎหมายไม่ได้บังคับให้ลงชื่อต่อหน้าพยานพร้อมกันสองคน ความประสงค์มีเพียง ให้พยานลงชื่อในสัญญานั้นพยานทั้งสองคนต้องรู้เห็นในข้อความที่ตกลงกัน คำพิพากษาฏีกา ๑๔๑/๒๔๘๗ ๔.ทำหนังสือหย่ากันถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ไม่ยอมไปจดทะเบียนหย่าอีกฝ่ายฟ้องบังคับให้สามีไปจดทะเบียนหย่าได้ คำพิพากษาฏีกา ๑๒๙๑/๒๕๐๐ ๕.ทำหนังสือสัญญาหย่ากันแล้ว อีกฝ่ายไม่ไปจดทะเบียนหย่าที่อำเภอ ยังสามารถบังคับโดยวิธีอื่นที่ไม่ต้องจับกุมคุมขัง ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาได้ คำพิพากษาฏีกา ๕๘๐/๒๕๐๘ ๖.การหย่ามีผลสมบรูณ์เมื่อจดทะเบียนหย่า ส่วนระเบียบการจดทะเบียนครอบครัวที่นายทะเบียนที่รับแจ้งการหย่า ให้แจ้งการหย่าไปที่อำเภอที่จดทะเบียนสมรส หรือแจ้งไปที่สนง.จดทะเบียนกลาง ก็เป็นเพียงหลักฐานการตรวจสอบทางทะเบียนเท่านั้น คำพิพากษาฏีกา ๕๙๕/๒๕๓๔ ๗.หย่าโดยสมรู้กันโดยหลอกลวงโดยสมคบกันระหว่างคู่กรณี แล้วไปจดทะเบียนหย่า การหย่าไม่ผูกพันคนภายนอก คำพิพากษาฏีกา ๓๖๙๘/๒๕๒๔ ๘.หย่าแล้วยังอยู่ด้วยกัน และร่วมกันสร้างเรือนพิพาทอีกหลังร่วมกัน ปรับปรุงที่พิพาททำเป็นนา ขุดบ่อปลา...

คู่สมรสมีชู้ในระหว่างจดทะเบียนสมรสกันอยู่ แม้ภายหลังจากนั้นได้จดทะเบียนหย่ากันแล้ว ก็สามารถฟ้องเรียกค่าทดแทนจากชู้ได้

คู่สมรสมีชู้ในระหว่างจดทะเบียนสมรสกันอยู่ แม้ภายหลังจากนั้นได้จดทะเบียนหย่ากันแล้ว ก็สามารถฟ้องเรียกค่าทดแทนจากชู้ได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4261/2560 โจทก์ในฐานะภริยามีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่น ที่แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคสอง แม้ขณะฟ้องจะได้จดทะเบียนหย่ากันแล้ว กรณีมิใช่การกระทำละเมิด ส่วนปัญหาจำเลยต้องใช้ค่าทดแทนแก่โจทก์หรือไม่ เห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนให้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัย เนื่องจากคู่ความได้สืบพยานกันเสร็จสิ้นแล้ว

อายุความในทางคดี คืออะไร ?

อายุความคือ กำหนดเวลาในการฟ้องร้องดำเนินคดีแพ่งหรือคดีอาญา ครับ กล่าวคือว่า ถ้าในทางแพ่งไม่ได้ยื่นฟ้องภายในกำหนดระยะเวลา คดีก็จะขาดอายุความในการฟ้องร้องคดีนั้นเองครับ ส่วนคดีอาญา ถ้าไม่ฟ้องภายในกำหนดเวลา คดีก็จะขาดอายุความเช่นกัน ผลของการไม่ยื่นฟ้องภายในกำหนดเวลาตามที่กฎหมายกำหนดคือ ศาลอาจยกเอาเหตุแห่งการขาดอายุความมายกฟ้องคดีได้นั้น เอง ซึ่งจะมีผลทำให้โจทก์แพ้คดีนั้น ครับ

ถ้าตั้งใจจะหย่าขาดแล้ว ห้ามใจอ่อน!! มิฉะนั้นอาจหมดสิทธิในการฟ้องหย่า

ถ้าตั้งใจจะหย่าขาดแล้ว ห้ามใจอ่อน!! มิฉะนั้นอาจหมดสิทธิในการฟ้องหย่า คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2561/2561 แม้จะฟังได้ว่าข้อกล่าวหาของโจทก์เป็นเหตุหย่าตามกฎหมายก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ได้ให้อภัยในการกระทำของจำเลยแล้ว สิทธิฟ้องหย่าของโจทก์ย่อมหมดไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1518 โจทก์นำ จ.มาอยู่ในบ้านโจทก์และอยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยาจนมีบุตรด้วยกัน 1 คน โดยโจทก์ให้ใช้นามสกุลของโจทก์ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์อุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นฉันภรรยา เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ให้อภัยในการกระทำของโจทก์ จำเลยจึงมีเหตุฟ้องหย่าโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา1516 (1) เหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของโจทก์ฝ่ายเดียว ทั้งจำเลยไม่ได้ประกอบอาชีพอะไรโดยโจทก์เคยให้เงินจำเลยเป็นค่าใช้จ่าย การที่โจทก์หย่ากับจำเลยทำให้จำเลยยากจนลง จำเลยจึงมีสิทธิได้รับค่าเลี้ยงชีพจากโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1526