กรุณารอสักครู่

 

HomeCategoryกฎหมายอาญา Archives - Page 4 of 11 - บริษัท ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น จำกัด

การให้ที่ไม่สามารถที่จะฟ้องขอเพิกถอนคืนการให้ เพราะเหตุเนรคุณ ได้แก่เหตุดังนี้ !

การให้ที่ไม่สามารถที่จะฟ้องขอเพิกถอนคืนการให้ เพราะเหตุเนรคุณ ได้แก่เหตุดังนี้ ! 1 เมื่อผู้ให้ได้ให้อภัยผู้รับในเหตุประพฤติเนรคุณแล้ว 2 เมื่อผู้ให้ถึงแก่ความตาย โดยไม่ได้ฟ้องคดีไว้ ทายาทจะฟ้องเองไม่ได้ 3 ให้เป็นบำเเหน็จสินจ้างโดยแท้ (ตอบแทนการทำงาน) 4 ให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพัน 5 ให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา ตามหน้าที่ศีลธรรม 6 ให้ในการสมรส 7 เมื่อเวลาได้ล่วงไปแล้ว 6 เดือน นับแต่ได้ทราบเหตุเนรคุณ แต่ต้องไม่เกิน 10 ปีนับแต่เหตุเนรคุณนั้นเกิดขึ้น ติดต่องาน info@legalclinic.co.th #หนังสือมอบอำนาจ #ดำเนินคดี #อายุความ #คดีอาญา #ฟ้องชู้ #สินสมรส #ไกล่เกลี่ย #ฟ้อง #อายัตทรัพย์ #บังคับคดี #findmylawyer #ประมวลกฎหมาย #ทนายความ #เงินกู้ #ลูกหนี้ #มรดก #เนรคุณ #เจ้าหนี้ #สืบทรัพย์ #หนี้สิน #กู้

รู้หรือไม่? ทรัพย์สินของสามีภรรยาจะไม่เป็นสินสมรสก็ได้ ถ้าทำสัญญาก่อนสมรส

รู้หรือไม่? ทรัพย์สินของสามีภรรยาจะไม่เป็นสินสมรสก็ได้ ถ้าทำสัญญาก่อนสมรส คิดจะตกลงปลงใจกับใครสักคน แต่ก็กังวลว่าหากจดทะเบียนสมรสไปแล้ว ทรัพย์สินต่างๆที่เราหาได้หลังจากจดทะเบียนจะกลายเป็นสินสมรส หรือต้องรับผิดชอบหนี้ร่วมกับคู่สมรส ทนายมีคำแนะนำ คือ “สัญญาก่อนสมรส” เพื่อเป็นการตกลงเรื่องทรัพย์สินที่จะเป็นสินสมรส การกระทำ ภาระหนี้ของคู่สมรส โดยต้องทำสัญญาก่อนการจดทะเบียนสมรส ทั้งนี้ สัญญาก่อนสมรสนั้น กฎหมายกำหนดให้ คู่สมรสที่จะจดข้อสัญญากันไว้ในทะเบียนสมรสต้องทำดังต่อไปนี้ 1. จะต้องจดแจ้งข้อตกลงไว้ในทะเบียนสมรสพร้อมกับการจดทะเบียนสมรส 2. ต้องทำเป็นหนังสือและคู่สมรสทั้งสองฝ่ายลงลายมือชื่อ 3. ต้องมีพยานอย่างน้อย 2 คน 4. ต้องนำสัญญาแนบท้ายทะเบียนสมรสและต้องระบุในทะเบียนสมรสว่ามีสัญญาแนบท้ายไว้ด้วย หากไม่ให้ครบตามแบบที่กำหนด สัญญาจะเป็นโฆมะ ไม่มีผลบังคับนะคะ

ผู้เช่าซื้อรถ ผ่อนค่างวดไม่ไหว จะคืนรถไฟแนนซ์โดยไม่เสียค่าส่วนต่าง ต้องทำอย่างไร ?

ผู้เช่าซื้อรถผ่อนค่างวดไม่ไหว จะคืนรถไฟแนนซ์โดยไม่เสียค่าส่วนต่าง ต้องทำอย่างไร ? 1. ผู้เช่าซื้อจะต้องเป็นฝ่ายคืนรถเอง โดยต้องดำเนินการคืนรถให้ไฟแนนซ์ก่อนที่จะผิดนัดชำระค่างวดครบ 3 งวด 2. รถต้องอยู่ในสภาพที่ซ่อมแซมเรียบร้อยและใช้การได้ดี 3. ผู้ให้เช่าซื้อ (ไฟแนนซ์) ยอมรับรถคืน โดยที่ไม่มีการทำบันทึกข้อตกลงหรือโต้แย้งเกี่ยวกับค่าส่วนต่าง ซึ่งหากมีข้อตกลงฯ เพิ่มเติม ผู้เช่าซื้ออาจจะยังคงต้องรับผิดในค่าส่วนต่างอยู่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4607/2562 แม้ตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 12 จะให้สิทธิผู้เช่าซื้อในการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเสียเมื่อใดก็ได้ โดยผู้เช่าซื้อจะต้องส่งคืนและส่งมอบรถยนต์ในสภาพที่ซ่อมแซมเรียบร้อยและใช้การได้ดีในสภาพเช่นเดียวกับวันที่รับมอบรถยนต์ไปจากเจ้าของพร้อมทั้งอุปกรณ์ และอะไหล่ทั้งหมดให้แก่เจ้าของ ณ สำนักงานของเจ้าของ แต่สัญญาข้อดังกล่าวยังระบุเงื่อนไขต่อไปอีกว่า “และชำระเงินทั้งปวงที่ถึงกำหนดชำระหรือเป็นหนี้ตามสัญญานี้อยู่ในเวลานั้นทันที…” แสดงให้เห็นว่า กรณีที่จะถือว่าเป็นการเลิกสัญญาตามสัญญาเช่าซื้อข้อดังกล่าว ก็ต่อเมื่อจำเลยที่ 1 ต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์พร้อมกับชำระเงินทั้งปวงที่ถึงกำหนดชำระหรือเป็นหนี้ตามสัญญานี้อยู่ในเวลาที่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์แล้ว เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่า นอกจากจำเลยที่ 1 จะส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินทั้งปวงที่ถึงกำหนดชำระหรือเป็นหนี้ตามสัญญาแก่โจทก์ทันที อันเป็นการปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญาเพื่อใช้สิทธิเลิกสัญญา กรณีจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อตามสัญญาข้อ 12 ที่จะทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกค่าขาดราคาตามสัญญาข้อ 13 พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์โดยไม่ปรากฏข้อโต้แย้งคัดค้านของโจทก์ ถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยาย โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดราคาอันเป็นค่าเสียหายตามข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อได้

ลูกหนี้โอนย้ายทรัพย์สินของตนภายหลังได้รับหนังสือทวงหรือถูกฟ้อง อาจมีความผิดอาญาฐาน “โกงเจ้าหนี้”

ลูกหนี้โอนย้ายทรัพย์สินของตนภายหลังได้รับหนังสือทวงหรือถูกฟ้อง อาจมีความผิดอาญาฐาน “โกงเจ้าหนี้” คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16070-16072/2555 ตาม ป.อ. มาตรา 350 บัญญัติไว้ชัดเจนว่า ผู้ใดเพียงแต่รู้ว่าเจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ แล้วย้ายไปเสีย ซ่อนเร้นหรือโอนไปให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ใด แกล้งให้ตนเองเป็นหนี้จำนวนใดอันไม่เป็นความจริง ก็ถือว่าเป็นความผิดตามมาตราดังกล่าวแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในเรื่องผิดสัญญาและเรียกค่าเสียหาย จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นใดพอชำระหนี้แก่โจทก์ ขณะที่คดีแพ่งดังกล่าวอยู่ระหว่างบังคับคดีตามคำพิพากษา จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดิน 3 แปลง ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเสน่หา แม้คดีแพ่งดังกล่าวจำเลยที่ 1 ได้ฟ้องแย้ง และผลคดีอาจจะเปลี่ยนแปลงโดยศาลฎีกาอาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชนะคดีตามฟ้องแย้ง ซึ่งไม่แน่ว่าโจทก์จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในชั้นที่สุดหรือไม่ก็ตาม ก็ถือว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานโกงเจ้าหนี้แล้ว ไม่จำต้องถือเอาคำพิพากษาของศาลที่พิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดในทางแพ่งมาเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานดังกล่าว แต่อย่างไรก็ดีการที่ลูกหนี้จะมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้หรือไม่ ก็ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงอื่นๆ ประกอบกับต้องพิจารณาเจตนาพิเศษว่าการโอนย้ายทรัพย์สินของลูกหนี้นั้นทำไปเพื่อไม่ให้เจ้าหนี้ของตนได้รับชำระหนี้ดังกล่าวหรือไม่ด้วย

คดีบัตรเครดิต จะเริ่มนับอายุความเมื่อใด ?

คดีบัตรเครดิต จะเริ่มนับอายุความเมื่อใด ? ในคดีบัตรเครดิตโดยทั่วไปเมื่อเจ้าหนี้ได้แจ้งกำหนดการชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ทราบแล้ว เมื่อถึงกำหนดลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนด อายุความจะเริ่มนับทันทีในวันถัดไป โดยมีอายุความทั้งสิ้น 2 ปีนับจากผิดนัดชำระหนี้ ถ้าหากธนาคารไม่ได้ฟ้องร้องในเวลา 2 ปี คดีก็เป็นอันขาดอายุความ ซึ่งส่งผลให้ธนาคารหมดสิทธิเรียกร้องต่อลูกหนี้ ทั้งนี้ถึงขะขาดอายุความไปแล้ว ทางฝ่ายเจ้าหนี้สามารถยื่นฟ้องได้ โดยศาลก็จะดำเนินการไปตามกระบวนการของกฎหมายต่อไป เช่น ถ้าจะให้ศาลหยิบยกเอาเรื่องการขาดอายุความขึ้นมาพิจารณานั้น ลูกหนี้ต้องยื่นคำให้การต่อสู้คดีในเรื่องของการขาดอายุความ ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในชั้นศาล ซึ่งศาลก็จะนำมาพิจารณาตรวจสอบดูข้อเท็จจริง และถ้าหากเป็นจริงตามที่ลูกหนี้ยื่นคำให้การต่อสู้มา ทางศาลก็จะทำการ”ยกฟ้อง” คือพิพากษาให้คดีตกไป โดยไม่บังคับให้เป็นไปตามคําฟ้องของเจ้าหนี้ต่อไป ซึ่งในเรื่องนี้ได้มีกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ตามมาตรา 193/29 กำหนดไว้ว่า เมื่อไม่ได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ศาลจะอ้างเอาอายุความมาเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้ ติดต่องาน Info@legalclinic.co th #ดำเนินคดี #อายุความ #คดีอาญา #สินสมรส #ฟ้องชู้ #อสังหา #ทนายความ #วิทยากรสอนกฎหมาย #ลูกหนี้ #มรดก #หมิ่นประมาท #เจ้าหนี้ #สืบทรัพย์ #ชู้สาว #บัตรเครดิต

หญิงหม้ายจะจดทะเบียนสมรสใหม่ได้เมื่อหย่าหรือสามีเสียชีวิตครบ 310 วัน !!!

หญิงหม้ายจะจดทะเบียนสมรสใหม่ได้เมื่อหย่าหรือสามีเสียชีวิตครบ 310 วัน !!! เอาละ! หลายๆคนคงสงสัยว่ากฎหมายจะมายุ่งอะไรก็กับคนจะจดทะเบียนสมรสมีสามีใหม่ ในเมื่อก็หย่าแล้ว หรือสามีเก่าก็เสียชีวิตแล้ว ฟังก่อนนน กฎหมายกำหนดไว้เพื่อป้องกันปัญหาเกี่ยวกับบุตรที่อาจจะเกิดมาว่าเป็นบุตรของสามีเก่าหรือสามีใหม่ หากยอมให้ฝ่ายหญิงสมรสกับชายคนใหม่ทันที และในระหว่างนี้เกิดตั้งครรภ์ขึ้นมา อาจมีข้อโต้แย้งได้ว่าใครเป็นพ่อของเด็ก ทำให้ยากต่อการเลี้ยงดูบุตรและจัดการแบ่งมรดกต่าง ๆ ดังนั้นตามกฎหมาย ผู้หญิงจึงต้องเว้นระยะก่อนจดทะเบียนสมรสใหม่ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 310 วัน แต่กฎหมายก็มีข้อยกเว้นให้หญิงหม้ายจะสามารถจดทะเบียนสมรสใหม่ได้เลยก็ต่อเมื่อ 1. คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น 2. สมรสกับคู่สมรสเดิม 3. มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์ 4. ศาลมีคำสั่งให้สมรสได้ กฎหมายอาจจะยุ่งยากไปบ้างแต่เขาก็กำหนดไว้เพื่อป้องกันปัญหาในภายหน้านะคะ

ผู้ให้เช่าจะขึ้นค่าเช่า จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้เช่า

ผู้ให้เช่าจะขึ้นค่าเช่า จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้เช่า การเช่าอสังหาริมทรัพย์กฎหมายกำหนดว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ มิฉะนั้นจะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ ดังนั้นการขึ้นค่าเช่าก็ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้เช่า ผู้ให้เช่าจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีผู้เช่าให้รับผิดตามค่าเช่าที่ขึ้นได้ ถ้าไม่มีก็บังคับได้เพียงค่าเช่าตามสัญญาเช่าเดิม คำพิพากษาฎีกาที่ 5387/2549 ตามสัญญาเช่าอาคารกำหนดอัตราค่าเช่าไว้เดือนละ 17,000 บาท เมื่อครบกำหนดการเช่า 1 ปี จำเลยยังคงอยู่ในตึกแถวพิพาทต่อมา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 570 ให้ถือว่าโจทก์จำเลยเป็นอันได้ทำสัญญาใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลาซึ่งหมายความว่าข้อตกลงเกี่ยวกับกำหนดเวลาไม่มีผลบังคับกันต่อไป ส่วนสัญญาข้ออื่นคงเป็นไปตามสัญญาเช่าเดิม รวมทั้งอัตราค่าเช่าด้วย และโดยเหตุที่การเช่าอสังหาริมทรัพย์นี้ ป.พ.พ. มาตรา 538 บังคับให้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ มิฉะนั้นจะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ ดังนั้นเมื่อโจทก์จะขอบังคับให้จำเลยชำระค่าเช่า ซึ่งเป็นอัตราค่าเช่าที่สูงกว่าที่กำหนดไว้ในหนังสือสัญญาเช่าอาคาร โจทก์ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อจำเลยมาแสดงว่าได้มีการตกลงขึ้นค่าเช่าดังที่โจทก์อ้าง การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่าได้มีการตกลงขึ้นค่าเช่าในอัตราเดือนละ 20,000 บาท จึงเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 จำเลยคงต้องรับผิดชำระค่าเช่าที่ค้างชำระเดือนละ 17,000 บาท ตามอัตราค่าเช่าในสัญญาเช่าเดิม

สัญญากู้ยืมเงินติดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วน ต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน

สัญญากู้ยืมเงินติดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วน ต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน สัญญากู้ยืมเงินจะต้องติดอากรแสตมป์ 1 บาท ต่อทุกๆ 2,000 บาท จึงจะใช้อ้างเป็นพยานหลักฐานต่อศาลได้ โดยจะต้องติดอากรแสตมป์ก่อนที่จะนำสัญญากู้มาอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดี คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1626/2559 ป.รัษฎากร มาตรา 118 บัญญัติว่า “ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีกหรือสำเนาตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ที่ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้และขีดฆ่าแล้ว…” หนังสือสัญญากู้เงิน มีลักษณะเป็นตราสาร จึงต้องปิดอากรแสตมป์ให้ถูกต้องครบถ้วนตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร หนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวระบุจำนวนเงินกู้ 200,000 บาท ต้องปิดอากรแสตมป์ให้ถูกต้องครบถ้วน 100 บาท แต่โจทก์ปิดอากรแสตมป์เพียง 30 บาท จึงไม่ครบถ้วน จึงต้องห้ามมิให้รับฟังหนังสือสัญญากู้เงิน เป็นพยานหลักฐาน เท่ากับว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือตามปพพ. มาตรา 653 วรรคแรก โจทก์จึงฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ จำเลยให้การว่าไม่ได้กู้ยืมเงินและไม่ได้รับเงิน 200,000 บาทจากโจทก์ จำเลยไม่ได้ยอมรับว่าได้ทำสัญญากู้เงินกับโจทก์จริง ดังนั้น การอ้างหนังสือกู้เงินเป็นพยานหลักฐานโจทก์จึงต้องปิดอากรแสตมป์ให้ถูกต้องครบถ้วนตามป.รัษฎากร เมื่อโจทก์ปิดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วนสัญญากู้เงินดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตปิดอากรแสตมป์เพิ่มเติมให้ครบถ้วนอีก 70 บาท มาพร้อมกับฎีกานั้น การร้องขอดังกล่าวโจทก์ชอบที่จะกระทำเสียก่อนหรือในขณะที่ได้นำหนังสือกู้เงินมาอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง หรือก่อนที่ศาลชั้นต้นพิพากษา การที่โจทก์เพิ่งมาร้องขอหลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาคดีไปแล้วย่อมล่วงเลยเวลาที่จะอนุญาตให้แก้ไข

การนำสืบส่งหนังสือมอบอำนาจเป็นพยานหลักฐานต้องติดอากรแสตมป์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย แต่หากคู่ความนำสืบสำเนาหนังสือมอบอำนาจและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่คัดค้าน สำเนานั้นก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้

การนำสืบส่งหนังสือมอบอำนาจเป็นพยานหลักฐานต้องติดอากรแสตมป์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย แต่หากคู่ความนำสืบสำเนาหนังสือมอบอำนาจและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่คัดค้าน สำเนานั้นก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8536/2558 แต่ในกรณีที่โจทก์นำสืบส่งสำเนาหนังสือมอบอำนาจเป็นพยานต่อศาลจำเลยไม่ได้คัดค้านว่าไม่มีต้นฉบับหรือต้นฉบับปลอม หรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับ ถือว่าจำเลยยอมรับว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องกับต้นฉบับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 125 ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารเช่นว่านั้นเป็นพยานหลักฐานได้ตามมาตรา 93(4) สำเนาหนังสือมอบอำนาจจึงรับฟังเป็นพยานเอกสารได้ เมื่อปรากฎว่าเป็นการรับฟังสำเนาเอกสารเป็นพยานหลักฐานแทนต้นฉบับเอกสาร จึงหาใช่การรับฟังต้นฉบับเอกสารเป็นพยานหลักฐานอันจะต้องปิดอากรแสตมป์และขีดฆ่าอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรและสำเนาหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวก็มิใช่คู่ฉบับหรือคู่ฉีกแห่งตราสารจึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปิดอากรแสตมป์และขีดฆ่าอากรแสตมป์ด้วยเช่นกัน สำเนาหนังสือมอบอำนาจจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้

ข้อตกลง/ข้อสัญญาให้ระงับการดำเนินคดีหรือถอนฟ้องคดีอาญาแผ่นดิน เป็นข้อตกลงที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 จึงตกเป็นโมฆะ

ข้อตกลง/ข้อสัญญาให้ระงับการดำเนินคดีหรือถอนฟ้องคดีอาญาแผ่นดิน เป็นข้อตกลงที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 จึงตกเป็นโมฆะ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4351/2548 บันทึกข้อตกลงประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ทั้งสามและจำเลยกับ ว. ที่ให้โจทก์ทั้งสามถอนฟ้องคดีอาญาที่ยื่นฟ้องจำเลยกับ ว. ไว้ให้โจทก์ทั้งสามถอนฟ้องคดีอาญาที่ยื่นฟ้องจำเลยกับ ว. ไว้ในข้อหาปลอมเอกสารสิทธิ ใช้เอกสารสิทธิ ใช้เอกสารสิทธิปลอมซึ่งเป็นคดีอาญาแผ่นดินไม่ใช่คดีความผิดอันยอมความได้ เป็นข้อตกลงที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 150