กรุณารอสักครู่

 

HomeCategoryกฎหมายลิขสิทธิ์ Archives - Page 7 of 7 - บริษัท ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น จำกัด

พ่อเสียชีวิตก่อน ลูกจะมีสิทธิได้รับมรดกจากปู่แทนพ่อหรือไม่ ?

พ่อตายก่อน ปู่ ย่า หลานจะมีสิทธิรับมรดกแทนพ่อไหม ? ก่อนตอบข้อสงสัย จะขออธิบายถึงผู้มีสิทธิรับมรดกตามกฎหมาย คือ ทายาทโดยธรรม 6 ลำดับ โดยแต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลัง คือ 1. ผู้สืบสันดาน 2. บิดามารดา 3. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 4. พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน 5. ปู่ ยา ตา ยาย 6. ลุง ป้า น้า อา และยังร่วมถึงคู่สมรสของผู้ตายที่ยังมีชีวิตอยู่ก็เป็นทายาทโดยธรรมด้วย จะเห็นได้เลยว่ากฎหมายระบุไว้ชัดเจนว่าใครจะมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย แต่ในกรณีข้อสงสัย พ่อในฐานะบุตรเป็นผู้สืบดานตามข้อ 1. ตายก่อน ลูกจะมีสิทธิในการรับมรดกแทนพ่อเมื่อปู่ ย่าตาย เพราะทางกฎหมายลูกถือว่าเป็นผู้สืบสันดานที่อยู่ในชั้นถัดลงไปสามารถรับมรดกแทนได้ ยกตัวอย่างให้เห็นชัดๆ นายดำ มีลูก คือ นายแดง และ นายแดง มีลูก คือ นายขาว หากนายแดงตาย แล้วหลังจากนั้นมา นายดำตาย ผู้มีสิทธิรับมรดกของนายดำแทนที่นายแดงคือนายขาวที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นเอง ถ้ายัง...

ได้รับหมาย ” ยึดทรัพย์บังคับคดี ” ต้องทำอย่างไร ?

แน่นอนแล้วว่าเมื่อมีหมายมาที่บ้านไม่ว่าใครก็ต้องตกใจทั้งนั้น ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะ ผู้กู้ ผู้ใช้(บัตรเครดิต) หรือแม้แต่ผู้ค้ำประกัน และเมื่อได้รับหมายก็ไม่รู้ว่าจะต้องทำยังบ้าง วันนี้ตะมาแนะนำขั้นตอนและข้อควรทราบสำหรับผู้ที่ได้รับหมายดังกล่าว 1. ทางแรกเลยดูจำนวนหนี้ที่เรามีอยู่และติดต่อนิติกรเจ้าของสำนวนซึ่งจะมีชื่อและเบอร์โทรอยู่ด้านท้ายของเอกสาร และโทรแจ้งนิติกรเพื่อขอชำระหนี้ (บางคนบอกว่าโทรหลายครั้งไม่ติด ทำไงต่อ? โอ้ยยยเธอ ถ้าเป็นฉัน ฉันไม่ยอมให้บ้านถูกยึด และจะทำทุกทาง โทรไม่คิดก็ไปเลยค่ะ ไปติดต่อที่กรมบังคับคดี) 2. กรณีที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้เต็มจำนวนได้แต่สามารถชำระได้เพียงบางส่วนก็ให้ติดต่อกับเจ้าหนี้เพื่อขอเจรจาชำระหนี้บางส่วนและให้เจ้าหนี้แถลงขอถอนการประกาศยึดทรัพย์บังคับคดี และข้อสุดท้ายก็คือทำใจให้เข้มแข็งไว้ คิดว่าเงินที่เรากู้มานานเราเอาไปใช้และถึงคราวต้องจ่ายคืน และสำหรับผู้ค้ำประกันก็ขอให้เป็นบทเรียนว่าอย่าไปค้ำใครง่ายง่ายอีก และสำหรับใครที่มีปัญหาด้านกฎหมายต้องการติดต่อหาทนายความเพื่อดำเนินการใช้สิทธิ์เรียกร้องตามกฏหมาย หรือแม้แต่ขั้นตอนการสืบบุคคล สืบทรัพย์สินก็สามารถติดต่อได้ที่ info@legalclinic.co.th #ที่ปรึกษากฎหมาย #ทนายความ #สืบทรัพย์ #สืบก่อนแต่ง #นำยึด #วิทยากรสอนกฎหมาย #วิทยากรอารมณ์ดี

” ด่าเมียด้วยคำหยาบคาย ไม่ให้เกียรติเป็นประจำ ” ถือเป็นเหตุให้เมียฟ้องหย่าได้ !!

หลายหลายคนอาจจะเข้าใจว่าเหตุฟ้องหย่านั้นจะต้องเกิดจากสามีหรือภรรยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไปมีชู้จึงจะฟ้องหย่าได้แท้จริงแล้วไม่ใช่นะคะเหตุฟ้องหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ประกอบไปด้วย 10 เหตุดังนี้ (1) สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ (2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง (ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง (ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่ายที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ (ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้ (3) สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้ (4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้ (4/1) สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิดหรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามีภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือนร้อนเกินควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้ (4/2) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ (5) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปีโดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ (6) สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควรหรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้ (7) สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมีลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้...

กฎหมายลิขสิทธิ์จะคุ้มครองความคิดก็ต่อเมื่อ มีการแสดงออกของความคิดแล้วเท่านั้น

ในการคุ้มครองลิขสิทธิ์งาน หรือจะฟ้องลิขสิทธิ์จากใครก็จะต้องพิจารณาก่อนว่างานนั้นเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์หรือไม่ ซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ จะต้องประกอบไปด้วยสี่หลักเกณฑ์ก็คือ 1. มีการแสดงออกของความคิด 2. สร้างสรรงานด้วยตนเอง 3. เป็นงานที่ประเภทกฎหมายรับรองและ 4. เป็นงานที่ไม่ขัดกับกฎหมาย ตั้งแต่ให้คำปรึกษามาเห็นว่าเรื่องที่เป็นปัญหามากที่สุดก็คงหนีไม่พ้นเรื่องของการนำเอาไอเดียของเพื่อนไปทคนที่ออกไอเดียก็อยากจะฟ้อง เรื่องลิขสิทธิ์จึงเป็นที่น่าพิจารณาว่าเรื่องนี้สามารถฟ้องได้หรือไม่ อย่างไร ถ้าจะพูดตามหลักกฏหมาย กฏหมายลิขสิทธิ์ไม่คุ้มครองความคิด (idea) แต่คุ้มครองการแสดงออกซึ่งความคิด (expression od idea) ดังที่ปรากฏไว้ในมาตรา 6 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2537 ที่วางหลักไว้ว่า …. “การคุ้มครองลิขสิทธิ์ไม่คุ้มถึงความคิด หรือขั้นตอนกรรมวิธี หรือระบบ หรือวิธีใช้หรือทำงาน หรือแนวความคิด หลักการการค้นพบหรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ ซึ่งต่างจากหลักการของสิทธิบัตรที่คุ้มครองความคิดที่แสดงถึงขั้นตอนการผลิต** ถ้าใครยังนึกภาพไม่ออกที่บอกว่ากฎหมายไม่คุ้มครองไอเดียแต่คุ้มครองไอเดียที่ถูกแสดงออกมาแล้ว จะยกตัวอย่างให้ฟัง นางสาวฟ้าใสคิดพลอตเรื่องละครเรื่องหนึ่งไว้ในหัวแต่ยังไม่ได้เขียนและไม่ได้ถ่ายทอดงานนั้นออกมา ในกรณีนี้ก็จะไม่ได้รับความคุ้มครองทางลิขสิทธิ์ค่ะ แม้ต่อมาถ้ามีนางสาวฟ้าหม่นมาเขียนละครแบบเดียวกับที่นางสาวฟ้าใสคิดเอาไว้ ก็จะถือไม่ได้ว่านางสาวฟ้าหม่นละเมิดลิขสิทธิ์ของนางสาวฟ้าใสเพราะความคิดหรือไอเดียดังกล่าวยังไม่ได้ถ่ายทอดรายละเอียดของงานที่มีลักษณะเฉพาะแต่เป็นเพียงโครงเรื่องทั่วๆไป อ่านมาถึงตรงนี้อย่าคิดว่ากฎหมายไม่เป็นธรรมนะคะใครที่มีปัญหาแนวแนวนี้หรือกลัวจะมีปัญหาแนวแนวนี้วิธีทางออกก็คือคิดแล้วลงมือทำเลยหรือยังไม่ต้องแชร์ไอเดียฤหัสอยากจะแชร์ก็แชร์ด้วยความระมัดระวังเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาดังกล่าวค่ะ (อ้างอิงหนังสือ หลักกฏหมายลิขสิทธิ์ : ณัฐกฤตา ลีลาประเทือง)