กรุณารอสักครู่

 

HomeBlog

ทำสัญญาจ้างแบ่งออกเป็นหลายช่วง เพื่อไม่ให้ทำงานติดต่อกัน ถือว่า นายจ้าง เจตนาไม่ซื่อจึงต้องนับระยะเวลา ทุกช่วงเข้าร่วมกัน

ทำสัญญาจ้างแบ่งออกเป็นหลายช่วง เพื่อไม่ให้ทำงานติดต่อกัน ถือว่า นายจ้าง เจตนาไม่ซื่อจึงต้องนับระยะเวลา ทุกช่วงเข้าร่วมกัน . กรณีนี้เป็นกรณีที่เจอบ่อยมากๆ กับการที่บริษัทจะแบ่งสัญญาจ้างออกเป็นช่วงๆมีกำหนดระยะเวลาชัดเจนบางบริษัทต่อสัญญาทุกๆ 6 เดือนบางบริษัทต่อสัญญาทุกๆ 1 ปี จะมีวันว่างไว้สักอาทิตย์หรือ 2 อาทิตย์ หลีกเลี่ยงไม่ให้สัญญาต่อเนื่องกัน เพื่อที่จะไม่นับระยะเวลาเข้ารวมไว้ด้วยกัน แถมไม่จ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างในทุกครั้งที่สัญญาสิ้นสุดลงด้วย . และถามว่าทำอย่างนี้รอดไหม..ตอบได้เลยว่าไม่รอดค่ะ . เพราะสัญญาจ้างแรงงานที่มีการแบ่งทำสัญญาจ้างเป็นช่วงสั้นๆรายช่วงมีกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดเป็นช่วงๆแต่ต่อเนื่องกันแม้จะเว้นว่างไว้สักอาทิตย์หรือ 2 อาทิตย์เพื่อแสดงให้เห็นว่าไม่ได้ให้ทำงานติดต่อกันนะก็ถือว่านายจ้างมีเจตนาไม่ให้ลูกจ้างได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายจึงต้องนับระยะเวลาทำงานทุกช่วงเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ในการได้สิทธิ์ของลูกจ้างตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ 2541 ( อ้างอิงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1821/2545)

สัญญาจ้างกำหนดว่า.. หากลูกจ้างตั้งครรภ์ถือว่าลูกจ้างประสงค์ลาออก ข้อตกลงนี้เป็นโมฆะ

สัญญาจ้างกำหนดว่า หากลูกจ้างตั้งครรภ์ถือว่าลูกจ้างประสงค์ลาออก ข้อตกลงนี้เป็นโมฆะ . พยายามจะเข้าใจนายจ้างว่าการที่ลูกจ้างตั้งครรภ์นายจ้างก็จะต้องให้วันลาคลอด และให้ ค่าจ้างให้ระวังพ่อตามที่กฎหมายกำหนด แม้ว่าลูกจ้างจะมีอายุงานได้แค่ 1 เดือนก็ตาม แต่ การที่นายจ้างจะกำหนดว่าหากลูกจ้างตั้งครรภ์ให้ถือว่าลูกจ้างประสงค์ลาออกมันก็ไม่ใช่ และไม่ถูกต้อง . แม้ว่าการปฏิบัติงานของลูกจ้าง จะไม่สะดวกหากลูกจ้างตั้งครรภ์ แต่ การกำหนดในสัญญาจ้างและข้อบังคับว่าหาก ลูกจ้างตั้งครรภ์ให้ถือว่าลาออกนั้นเป็นวัตถุประสงค์เพื่อให้มีผลเป็นการเลิกจ้าง ขับต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานมาตรา 43 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 (ฎ.1394/2549) . การตั้งครรภ์ไม่ได้เป็นความผิดแล้วไม่ได้เป็นความป่วยไข้ทางที่ดีนายจ้างควรจะคุยกับลูกจ้าง และเปลี่ยนตำแหน่งงานในช่วงระหว่างตั้งครรภ์เพื่อให้สามารถทำงานได้ และร่วมงานกันได้ทั้งสองฝ่ายต่อไป

ทำสัญญาจ้างหลายฉบับ ครบกำหนดตามสัญญาจ้าง มีสิทธิได้ค่าชดเชยหรือไม่ นับอายุงานอย่างไร?

ทำสัญญาจ้างหลายฉบับ ครบกำหนดตามสัญญาจ้าง มีสิทธิได้ค่าชดเชยหรือไม่ นับอายุงานอย่างไร?? . มีคำถามสอบถามเข้ามาว่า ทำสัญญาจ้างปีแบบต่อปีเมื่อครบกำหนดตามสัญญาจ้างแล้ว ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยหรือไม่?? ตอบ!! มีสิทธิได้รับค่าชดเชย เนื่องจากเมื่อครบกำหนดสิ้นสุดตามสัญญาจ้าง ย่อมถือเป็นการเลิกจ้างตาม ม.118 วรรค 2 ที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย . แล้วหากมีการทำสัญญาจ้างหลายฉบับ ดังนี้ จะนับระยะเวลาการทำงานอย่างไร?? . ตอบ!! การนับระยะเวลาการทำงาน จะต้องนับทุกช่วงเวลาเข้าด้วยกัน ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการคำนวณค่าชดเชยในกรณีที่ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง ตาม ม.19 ม.20 และ ม.118 . เทียบเคียง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ 147/2563 ก่อนที่สัญญาจ้างจะครบกำหนดมีการเจรจา ต่อสัญญาจ้างระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ลูกจ้างต้องการให้ต่อสัญญาจ้างอีก 1 ปี แต่นายจ้างต้องการ ต่อสัญญาอีก 6 เดือน จึงไม่สามารถตกลงกันได้ และไม่ได้มีการทำสัญญาจ้างกันต่อไป เมื่อสัญญาจ้าง มีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดของสัญญาไว้ กรณีจึงถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้าง มาตรา 118 วรรค 2 นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย โดยนับระยะเวลาการทำงานต่อเนื่องของสัญญา...

ไม่ผ่านการทดลองงาน มีสิทธิได้รับค่าชดเชยหรือต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือไม่ ?

ไม่ผ่านการทดลองงาน มีสิทธิได้รับค่าชดเชยหรือต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือไม่ ? . สวัสตอนเช้า เขียนยาวก็ไม่ค่อยอ่าน งั้นวันนี้ตอบสั้นๆแล้วกันนะ ไม่ผ่านการทดลองงานมีสิทธิได้รับค่าชดเชย หรือไม่นั้น ต้องตอบว่ามีทั้ง ได้ และไม่ได้ . เพราะกฎหมายคุ้มครองแรงงาน กำหนดว่า กรณีมีสิทธิได้รับค่าชดเชย จะต้องมีการทำงานต่อเนื่องครบ 120 วัน ดังนั้น ถ้านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างในวันที่ 119 วัน เช่นนี้ ลูกจ้างก็ไม่มีสิทธิได้ค่าชดเชย . แต่ๆๆ กรณีที่นายจ้างบอกขยายระยะเวลาทดลองงานออกไปเรื่อยๆ เกิน 120 วัน และเลิกจ้าง โดยที่ลูกจ้างไม่มีความผิด แบบนี้ลูกจ้างก็มีสิทธิได้ค่าชดเชย ส่วนได้เท่าไหร่นั้น เปิด เสริช ดู ม.118 พรบ คุ้มครองแรงงาน . ส่วนนายจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือไม่นั้น คำตอบคือ “ต้องบอกล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า 1 งวดการจ่ายค่าจ้าง” หากสัญญาจ้างนั้นเป็นสัญญาแบบไม่มีกำหนดระยะเวลา (สัญญาแบบไม่มีกำหนดระยะเวลา คือไม่ได้บอกว่าเริ่มต้น สิ้นสุดแน่นอนเมื่อใด) โดยสัญญาที่ไม่มีกำหนดเวลาแน่นอน เนี่ยทำให้นายจ้างเกิดหน้าที่ต้องมีการบอกกล่าวล่วงหน้า ตามมาตรา...

จับได้ว่าลูกจ้างขโมยของ…แต่เค้าทำงานเก่งมากๆ แบบนี้ควรทำยังไงดีคะ ?

จับได้ว่าลูกจ้างขโมยของ..แต่เค้าทำงานเก่งมากๆ แบบนี้ควรทำยังไงดีคะ ?? …………. เจอคำถามนี้ใน inbox โดยมีคำขยายความต่อนิดหน่อยว่าลูกจ้างเก่งอย่างไรและไอ้ที่ขโมยไปคืออะไร แต่อย่ามาสอบถามว่าถ้าไม่อยากเลิกจ้างทำอะไรได้บ้าง . ท่านอื่นๆ คิดว่ายังไงกันบ้างคะ?? . ถ้าให้ตอบในมุมกฏหมาย พฤติกรรมการขโมยของของนายจ้างแบบนี้มันเป็นพฤติกรรมที่สามารถเลิกจ้างได้หรือตามมาตรา 119 (1) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยส่วนสิทธิ์ในการดำเนินคดีอาญาข้อหาลักทรัพย์ก็ยังคงอยู่ แต่ถ้าให้ตอบในมุมความเห็น เราความดีสำคัญไม่น้อยกว่าความเก่ง เพราะคนเก่งสามารถสร้างได้ แต่คนดีนั้นมันต้องมาจากใจของเค้ายิ่งถ้าเป็นไม้แก่ดัดยากแล้วแล้วก็แถมไม่ต้องหวัง . แฟนเพจถามต่อว่ารายนี้ออกหนังสือเตือนได้หรือไม่ เพราะยังไม่อยากไล่ออก … คำตอบคือได้ แต่มันจะสร้าง บรรทัดฐานและทัศนคติต่อนายจ้างหลายหลายอย่างกับพนักงานคนอื่น เช่น ถ้าทำงานเก่งจะทำผิดแค่ไหนก็ได้ แล้วคนอื่นๆล่ะคะถ้าเจอสถานการณ์เดียวกันจะทำอย่างไรคะ ไล่ออก หรือปล่อยไว้?

เลิกจ้างช่วงทดลองงาน เพราะลูกจ้างขาดความเอาใจใส่งาน ไม่ใช่เลิกจ้างไม่เป็นธรรม !!

เลิกจ้างช่วงทดลองงาน เพราะลูกจ้างขาดความเอาใจใส่งาน ไม่ใช่เลิกจ้างไม่เป็นธรรม !! มีหลายคนถามมาว่า ถูกเลิกจ้างในช่วงทดลองงาน ไม่เกิน 119 วัน จะได้ค่าชดเชยไหม ฟ้องเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้รึป่าว แกกกกกก เอาแบบตอบไวๆ เลย เพราะขี้เกียจเขียน Content แต่ KPI ตัวเองบังคับ เลยขอตอบสั้นๆแบบได้ใจความ ไม่พร่ำเพ้อแบบทุกที 1. ค่าชดเชยเกิดเมื่อทำงานครบ 120 วันและถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด (ดูมาตรา 118 พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ) 2. หากนายจ้างพิสูจน์ได้ว่า ลูกจ้างอุทิศเวลาในการปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ ไม่ได้ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ขาดความเอาใจใส่งาน ไม่มีความสามารถตามที่ตกลงกัน ก็เลิกจ้างได้ เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม ลองดูฎีกานี้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ 593/2563 นายจ้างทำสัญญาจ้าง 1 ปี และมีเงื่อนไขทดลองงาน 90 วัน ในระยะทดลองงานลูกจ้างไม่ได้อุทิศเวลาในการปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ มิได้ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ขาดความเอาใจใส่งาน ทั้งไม่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน นายจ้างจึงเลิกจ้างเพราะเหตุไม่ผ่านทดลองงาน อันเป็นเรื่องปกติในการบริหารงานบุคคลที่นายจ้างย่อมมีสิทธิคัดสรรแรงงานที่มีคุณภาพที่สุด ลูกจ้างจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าจ้างจนกว่าจะครบสัญญาจ้าง และค่าเสียหายจากนายจ้าง แต่ๆๆๆกว่าจะออกมาเป็นฎีกานี้ นายทั้งทั้งหลายต้องพิจารณาด้วยว่า...

กฎบริษัท ขาดงานวันศุกร์ หัก 2 เท่า บังคับใช้ไม่ได้ ขัดกฎหมาย!!

กฎบริษัท ขาดงานวันศุกร์ หัก 2 เท่า บังคับใช้ไม่ได้ ขัดกฎหมาย!! ใครไม่ท้อ ฉันท้อ กับกฎนี้ “ กฎบริษัท ขาดงานวันศุกร์ หัก 2 เท่า !! ” อย่างที่บอกไปหลายรอบหลายหนว่า บริษัท อย่าไปคิดว่าเขียนอะไรออกมาแล้วบังคับใช้ได้หมด เพราะที่กฎเหล่านี้ยังคงอยู่ได้ ไม่ใช่เพราะว่ากฎบริษัทเหนือกฎหมาย แต่เพราะลูกจ้างหลายคนไม่อยากมีปัญหาเพราะไม่อยากหางานใหม่ แต่เธออย่าลืมกฎหมายมีอายุความ หรืออีกข้อคือ เมื่ออับจนหนทางทางที่เหลืออาจจะเป็นทางสู้ของเค้าก็ได้นะ กับกรณี…ออกกฎบริษัทว่า ขาดงานวันศุกร์ หัก 2 เท่า บังคับใช้ไม่ได้ ขัดกฎหมายมาตรา 76 ต่อให้ลูกจ้างเซนรับกำดังกล่าว ลูกจ้างก็ยังมีสิทธิฟ้อง ยกตัวอย่าง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14541-14551/2557 นายจ้างมีกฎระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน กำหนดว่า ขาดงานหัก 2 เท่า ย่อมไม่ชอบด้วยมาตรา 76 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และนายจ้างได้หักค่าจ้าง 10 บาท เป็นเวลา 21 เดือน...

เกษียณอายุ แต่จ้างต่อ เลยให้ทำบันทึกข้อตกลงไม่จ่ายค่าชดเชย บันทึกนั้นเป็นโมฆะ

เกษียณอายุ แต่จ้างต่อ เลยให้ทำบันทึกข้อตกลงไม่จ่ายค่าชดเชย บันทึกนั้นเป็นโมฆะ อีกหนึ่งความเข้าใจที่ยังเป็นความเข้าใจผิดที่สร้างความเสียหายทั้งกับนายจ้างและลูกจ้างนั่นก็คือ “เมื่อเซ็นยินยอมเซ็น/บันทึกข้อตกลง/หรือเซ็นสัญญา” สามารถบังคับได้ทุกอย่างในโลก เช่นเดียวกับกรณีที่ปรึกษาเข้ามานี้ว่านายจ้างบอกว่ายังให้ทำงานต่อได้แต่ต้องทำบันทึกข้อตกลง ไม่รับเงินเกษียณอายุเสียก่อนกรณีนี้ใช้บังคับ ได้ไหมคะพี่ทนายคนสวย อันนี้น้องเขาไม่ได้พูดพูดเอง) หนูอ่านมาจากเพจพี่บอกว่าบังคับใช้ไม่ได้แต่ทางฝ่ายกฎหมายของนายจ้างบอกว่าเซ็นแล้วถือว่าเป็นไปตามนั้น พี่ฟันธงให้ แบบแม่นยำมากกว่าหมอลักษณ์เพราะว่ามีฎีกา 1352/2551 ข้อกฎหมายรองรับชัดเจนว่าในกรณีนี้ ไม่สามารถบังคับใช้ได้และเป็นโมฆะ ข้อเท็จจริงก็ไม่แทบจะต่างจากของน้องเลยคือ บันทึกข้อตกลงนี้เขียนเอาไว้ว่าให้บริษัท มีสิทธิเลิกสัญญาได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูจ้างขัดต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 ที่กำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งถูกเลิกจ้างตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนการที่จำเลยทำสัญญากับโจทก์ให้ผิดแผกแตกต่างไปจากข้อที่กฎหมายกำหนดไว้และทำให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างได้รับความเสียหาย จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ไม่มีผลใช้บังคับ ก็ไม่รู้เหมือนกันว่านักกฎหมายที่บริษัทของคุณพ่อน้อง นึกยังไงถึงแนะนำแบบนี้เพราะเสียประโยชน์ทั้งฝั่งนายจ้างและลูกจ้างถ้าพูดให้ชัดคือเมื่อแนะนำผิดๆนายจ้างก็คิดว่าตัวเองทำได้สิ่งที่นายจ้างก็ต้องเสียก็คือดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี เสียชื่อเสียงในการบริหารงาน ส่วนลูกจ้างก็ต้องลำบากลำบนมาศาลอีก การไม่รู้ไม่ผิด หลายเรื่องเราเองก็ไม่รู้เหมือนกันค่อยๆหาความรู้ไปหาด้วยการอ่านโดยการฟังหรือด้วยการถามแต่อย่างหลังนี่จะทำน้อยที่สุดเพราะว่าถ้าถามเลยก็เหมือนเอาภาระเราไปฝากคนอื่นลองหาความรู้ด้วยตัวเองก่อน เพื่อช่วยบรรเทาความสงสัยของตัวเองเป็นอันดับแรก ชอบเรื่องนี้ข้อกฎหมายบอกไปแล้วข้างบนส่วนความรู้สึก หดหู่ใจคือการที่นักกฎหมายแนะนำอะไรผิดๆแต่ก็อย่างที่บอกแหละการไม่รู้ไม่ผิด แต่ผิดที่ไม่หาความรู้แล้วมาแนะนำ อ่านเเล้วท้อ เฮ้อออ

ค่าคอมมิชชั่นที่คำนวณจากยอดขาย ถือเป็นค่าจ้าง

ค่าคอมมิชชั่นที่คำนวณจากยอดขาย ถือเป็นค่าจ้าง บางคนรู้แล้ว บางคนยังไม่รู้ ส่วนบางคนไม่แน่ใจว่าค่าคอมมิชชั่นถือเป็นค่าจ้างหรือไม่ และประเด็นนี้สำคัญตรงไหนเดี๋ยววันนี้จะมาเล่าให้ฟัง ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าหลายบริษัทแม้จะเรียกว่าค่าคอมมิชชั่นเหมือนกันแต่หลักการคำนวณแตกต่างกันบางบริษัทเรียกค่าคอมมิชชั่น แต่ไม่ได้คำนวณจากยอดขายกลับตั้งเป้าเป็นรางวัลจูงใจส่วน อีกประเภทหนึ่งเรียกว่าค่าคอมมิชชั่นเหมือนกันแต่คำนวณจากยอดขายที่ขายได้ประเภทนี้ถือว่าเป็นค่าจ้าง ดังนั้น เมื่อมีการเลิกจ้างโดยที่ลูกจ้างไม่ได้ผิด ค่าคอมมิชชั่นที่มีการคำนวณจากยอดขายที่ขายได้จะต้องนำมาคำนวณเป็นค่าจ้าง เพื่อจ่ายค่าชดเชยด้วยเช่นกัน นอกจากลูกจ้างจะได้รับเงินเดือนเป็นค่าจ้างประจำอยู่แล้ว ลูกจ้างยังมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนการขายหรือค่าคอมมิสชั่น ซึ่งค่าคอมมิสชั่นนี้จะได้รับมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับ “จำนวนยอดขายที่สามารถขายได้” เมื่อเป็นเช่นนี้จึงเห็นได้ว่า ค่าคอมมิสชั่นเป็นเงินส่วนหนึ่งที่บริษัทจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนในการทำงาน โดยคิดตามผลงานที่โจทก์ทำได้ ดังนั้นค่าคอมมิสชั่นจึงเป็นค่าจ้างตามความหมายของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 ที่จะต้องนำไปรวมกับเงินเดือนของโจทก์อัตราสุดท้าย ส่วนจะคำนวณรวมยังไงลองไปติดตามอ่านกันได้ที่ฎีกา คำพิพากษาฎีกา 2863 /2552

สิ้นสุดสัญญาจ้าง นายจ้างไม่ต่อสัญญา สามารถเรียกค่าชดเชยได้

สิ้นสุดสัญญาจ้าง นายจ้างไม่ต่อสัญญา สามารถเรียกค่าชดเชยได้ ถามสั้นตอบสั้น ฉันจะไม่เวิ่นเว้อนะวันนี้ กับประเด็นที่ว่า “ ทำงานตามสัญญาจ้างรายปีต่อเนื่องกันมาตลอดแต่ในปีนี้ในจ้างไม่จ้างต่อ ผมมีสิทธิ์ได้ค่าชดเชยกับเขาไหมครับ??” อ่านนะ อ่านไม่หมดก็จดไว้อ่าน ขี้เกียจจดกดแชร์ไว้อ่าน 1. ลูกจ้าง มีสิทธิได้รับเงิน ดังนี้ – เงินค่าชดเชย ซึ่งการเลิกจ้างเพราะสัญญาจ้างสิ้นสุด ถือเป็นการเลิกจ้างที่นายจ้างต้องจ่ายเงินค่าชดเชย ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ม.118 – เงินอื่นๆ ที่นายจ้างตกลงจ่าย เช่น เงินบำเหน็จ เงินทุนสะสม เงินสวัสดิการ เงินสงเคราะห์ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เงื่อนไขเป็นไปตามระเบียบ ที่นายจ้างกำหนด 2. ลูกจ้าง ไม่มีสิทธิได้รับเงิน ดังนี้ – เงินสินจ้างแทนการบอกกล่าวหน้า (ค่าตกใจ) ถ้าให้พูดแบบภาษาชาวบ้านก็คือไม่ต้องตกใจอะไรเพราะสัญญามันบอกว่าอยู่แล้วว่าเราจะสิ้นสุดกันเมื่อไหร่ แต่ถ้าให้พูดเป็นภาษากฎหมายก็เนื่องจากสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดตามระยะเวลานั้น โดยนายจ้างไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ทั้งนี้ ตาม ม.17 เหตุผลก็เพราะคู่สัญญาทราบดีอยู่แล้วว่าสัญญาจะสิ้นสุดลงเมื่อใด จึงไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนสัญญาจ้างจะสิ้นสุด สำหรับกรณีเลิกจ้างเมื่อสัญญาจ้างสิ้นสุดนั้น ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ลูกจ้างจึงไม่สิทธิเรียกเงินค่าเสียหายจากการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม (ฎ.7350/43,...