กรุณารอสักครู่

 

HomeBlog

ผู้เช่าจะฟ้องขับไล่บุคคลภายนอกที่อาศัยอยู่ในทรัพย์สินที่เช่าได้หรือไม่ ?

ผู้เช่าจะฟ้องขับไล่บุคคลภายนอกที่อาศัยอยู่ในทรัพย์สินที่เช่าได้หรือไม่ ? เมื่อผู้เช่าทำสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์แล้ว แต่ปรากฏว่ายังมีบุคคลภายนอกยังคงอาศัยอยู่ในที่ดังกล่าว ผู้เช่าจะฟ้องขับไล่บุคคลภายนอกได้หรือไม่ ต้องพิจารณาดังนี้ 1. กรณีที่ผู้เช่ายังไม่ได้เข้าครอบครองทรัพย์ที่เช่า – ผู้เช่าจะไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่บุคคลภายนอกให้ออกจากทรัพย์ที่เช่าได้เนื่องจากผู้เช่ายังไม่ได้เข้าครอบครองทรัพย์ืจึงถือว่ายังไม่มีสิทธิครอบครอง การที่ผู้เช่าจะฟ้องขับไล่นั้นจะต้องเรียกผู้ให้เช่าเข้ามาเป็นโจทก์ร่วม เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2504/2551 แม้โจทก์จะมีสิทธิใช้สอยตึกพิพาทในฐานะเป็นผู้เช่าตามสัญญาเช่า แต่โจทก์ก็ยังไม่เคยเข้าครอบครองตึกพิพาทตามสัญญาเช่ามาก่อน ที่จำเลยและบริวารอยู่ในตึกพิพาทก็โดยอาศัยสิทธิของ จ. ไม่ได้อาศัยสิทธิของโจทก์ การที่จำเลยและบริวารยังคงอยู่ในตึกพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการละเมิดต่อเจ้าของตึกหาใช่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่ารายใหม่ไม่ จำเลยจึงไม่ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์เนื่องจากโจทก์กับจำเลยต่างไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารให้ออกจากตึกพิพาทโดยลำพังได้ 2. กรณีที่ผู้เช่าเข้าครอบครองทรัพย์สินที่เช่าแล้ว – หากมีบุคคลภายนอกเข้ามายุ่งเกี่ยวกับทรัพย์นั้น ผู้เช่ามีอำนาจฟ้องขับไล่บุคคลภายนอกได้ด้วยตนเอง เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1224/2511 แม้สัญญาเช่าที่ดินระหว่างมารดาโจทก์กับกระทรวงศึกษาธิการจะระงับโดยเหตุที่มารดาโจทก์ถึงแก่กรรมก็ตาม แต่โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ ซึ่งตกทอดมาจากมารดาโจทก์ ดังนั้น เมื่อโจทก์ยังคงครอบครองที่พิพาทและต่อมาโจทก์ก็ได้ทำสัญญาเช่าที่พิพาทกับกระทรวงศึกษาธิการต่อไปอีกเช่นนี้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งขออาศัยมารดาโจทก์ปลูกบ้านในที่ดินบางส่วนของที่พิพาทได้ กระทรวงศึกษาธิการไม่จำต้องส่งมอบที่ดินที่เช่าให้แก่โจทก์อีก

ถูกกดดันให้เขียนใบลาออก สามารถฟ้องเรียกค่าชดเชยได้

ถูกกดดันให้เขียนใบลาออก สามารถฟ้องเรียกค่าชดเชยได้ โดยปกติแล้วหากลูกจ้างเขียนใบลาออก ลูกจ้างไม่สามารถเรียกร้องอะไร ? แต่ประเด็นคือบางบริษัทกดดันให้ลูกจ้างออกและให้ลูกจ้างเขียนใบลาออกด้วยลายมือ หวังว่าเมื่อไปศาลจะมาบอกศาลได้ว่า เนี่ยลูกจ้างลาออกเอง ลายมือเค้าเอง ดูสิๆๆ แบบนี้ให้ระวังนะ เพราะถ้าในทางการนำสืบได้ความว่า นายจ้างใช้อำนาจ กดดันต่างๆ นานาให้ลูกจ้างออก โดยที่การลาออกไม่ได้เกิดจากความสมัครใจที่จะเขียนใบลาออก ถือว่าเป็นการที่นายจ้าง “เลิกจ้าง” ซึ่งถ้าเป็นการเลิกจ้าง ลูกจ้างมีสิทธิได้รบเงินค่าชดเชยตามอายุการทำงาน ตามที่กำหนดในมาตรา 118 พรบ คุ้มครองงาน (ไม่ต้องมาถามนะ ว่าทำงานกี่ปี ได้เท่าไหร่ เขียนหลายแล้วแล้ว หรือง่ายกว่านั้น search google ค่ะ ไวกว่า และคนตอบไม่หงุดหงิดด้วย ) อ้อ นอกจากนี้ศาลอาจสั่งให้นายจ้างต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้อีก เทียบเคียงแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4052/2548

ลงลายมือชื่อว่าจะไม่เรียกร้องสิทธิประโยชน์ใดๆ จากนายจ้าง อาจทำให้หมดสิทธินำคดีมาฟ้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

ลงลายมือชื่อว่าจะไม่เรียกร้องสิทธิประโยชน์ใดๆ จากนายจ้าง อาจทำให้หมดสิทธินำคดีมาฟ้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ในกรณีนี้หลายคนอาจอ่านเจอฎีกามาในสองแบบ สองลักษณะ อย่างแรกคือแบบที่ แม้ลงชื่อสละสิทธิก็ยังฟ้องได้ อ่ะ แบบนั้นก็ไม่ผิด เพราะต้องดูพฤติการณ์ในแต่ละคดี การนำสืบให้ศาลเห็นด้วย โดยแบบที่ ล็อคคอเซนไม่ให้เวลาทบทวนตัดสินใจ แม้มีลายเซ็นว่าลูกจ้างไม่ติดใจเรียกร้อง ลูกจ้างก็ยังฟ้องได้ ก็มีในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10265/2558 แต่แบบที่ฟ้องไม่ได้ก็มี เช่น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1977/2557 ที่นำสืบได้ไปในแนวทางที่ว่า หลังเลิกจ้าง ลูกจ้างได้รับค่าชดเชย ค่าตกใจ โดยในวันมารับค่าชดเชยค่าตกใจ ลูกจ้างได้บันทึกข้อตกลงสละสิทธิซึ่งเกิดขึ้นหลังจาก ออกจากงานพ้นการเป็นลูกจ้างของจำเลยแล้ว ลูกจ้างมีอิสระแก่ตนพ้นพันธะกรณีและไม่อยู่ใต้อำนาจบังคับ บัญชาของนายจ้างโดยสิ้นเชิง การสละสิทธิเรียกร้องในเงินดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน และไม่เป็นโมฆะ ดังนั้นเมื่อลงลายมือชื่อไปแล้วว่าสละสิทธิจึงมาฟ้องอีกไม่ได้

รวมฮิตเรื่องที่หลายคนอาจยังไม่รู้เกี่ยวกับการลาออก share เก็บไว้เป็นข้อมูลกันนะ

รวมฮิตเรื่องที่หลายคนอาจยังไม่รู้เกี่ยวกับการลาออก share เก็บไว้เป็นข้อมูลกันนะ 1. การลาออกเป็นการแสดงเจตนาเลิกสัญญาจ้างโดยลูกจ้าง ไม่ว่าด้วยวาจาหรือเป็นลายลักษณ์อักษรขอบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานกับนายจ้าง มีผลทำให้สัญญาจ้างแรงงานเป็นอันสิ้นสุดลง (คำพิพากษาฎีกาที่6048-6051/2546) 2.เมื่อแสดงเจตนาลาออกแล้ว จะถอนไม่ได้ ยกเว้นนายจ้างยินยอม การลาออกถือเป็นการแสดงเจตนาฝ่ายเดียวมีผลเมื่ออีกฝ่ายคือนายจ้างและรับทราบการแสดงเจตนานั้นเมื่อแสดงเจตนาลาออกและนายจ้างได้รับทราบเจตนาดังกล่าวแล้วลูกจ้างจะถอนการแสดงเจตนาโดยที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ยินยอมไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 386 (คำพิพากษาฎีกาที่ 1900/2542) 3.ก่อนการลาออกมีผล ลูกจ้างยังมีสถานะเป็นลูกจ้าง หากทำผิดนายจ้างเลิกจ้างได้ เมื่อลูกจ้างยื่นใบลาออกนายจ้างอนุมัติการลาออกแล้ว แต่ในระหว่างที่ยังไม่ถึงกำหนดเวลาพ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้างตามที่กำหนดไว้ในใบลาออก หากลูกจ้างกระทำผิดฝ่าฝืนคำสั่งระเบียบข้อบังคับการทำงานของนายจ้าง นายจ้างมีสิทธิ์ลงโทษทางวินัยและเลิกจ้างได้(คำพิพากษาฎีกาที่ 1919/2546) 4.นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานก่อนครบกำหนดในใบลาออกไม่ใช่การเลิกจ้าง ศาลฎีกาเคยตัดสินว่าสัญญาจ้างสิ้นสุดลงเพราะการลาออกไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง ทั้งนี้เพราะลูกจ้างเป็นฝ่ายแสดงเจตนาขอบอกเลิกสัญญาจ้างก่อน แม้นายจ้างไม่ได้แสดงเจตนาอะไรสัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อถึงวันที่ระบุให้ใบลาออกมีผล แม้นายจ้างจะให้ลูกจ้างออกจากงานก่อนถึงวันดังกล่าวตามที่ลูกจ้างประสงค์โดยลูกจ้างไม่มีความผิดก็มีผลทำให้ลูกจ้างเสียหายเพียงเท่าที่ไม่รับค่าจ้างจนถึงวันที่ลูกจ้างประสงค์จะออกเท่านั้น จึงมิใช่การเลิกจ้าง(คำพิพากษาฎีกาที่ 10161/2551) 5.นายจ้างให้ลูกจ้างเขียนใบลาออกไว้ล่วงหน้าไม่มีผลใช้บังคับ การที่นายจ้างให้ลูกจ้างลงชื่อในใบลาออกที่ไม่กรอกข้อความทำขึ้นเพื่อให้นายจ้างมีสิทธิลูกจ้างออกจากงานได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ซึ่งเป็นสิทธิขั้นต่ำตามกฎหมาย ถือว่าทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ขัดต่อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลใช้บังคับ 6.การลาออก ไม่จำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากนายจ้าง แต่หากลูกจ้างลาออกโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า หรือลาออกโดยไม่เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของบริษัท ลูกจ้างอาจจะถูกนายจ้างฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้ แต่นายจ้างจะต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่าการลาออกของลูกจ้างดังกล่าวนั้น นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างไร (คำพิพากษาฎีกาที่10614/2558) 7.เมื่อลูกจ้างลาออก ลูกจ้างไม่มีสิทธิ์ได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า (ค่าตกใจ)ไม่มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยและไม่ได้รับค่าเสียหายจากการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม เพราะลูกจ้างจะได้รับเงินเหล่านี้ก็ต่อเมื่อถูกนายจ้างเลิกจ้างโดยที่ไม่มีความผิดเท่านั้น

ออกจากงานมาแล้ว แต่นายจ้างยังไม่จ่ายเงิน ทำยังไงดี ?

ออกจากงานมาแล้ว แต่นายจ้างยังไม่จ่ายเงิน ทำยังไงดี ?   อันนี้เป็นคำถามที่มีมาช้านานตั้งแต่รุ่นเปิดเพจแรกๆมาจนถึงทุกวันนี้ ถามกันเข้ามาทุกวัน ซึ่งเรื่องนี้ก็โพสอยู่บ่อยๆ เลยไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะเราสรุปยาวไป จนไม่น่าอ่าน หรือเปล่า วันนี้เลยจะมาสรุปสั้นมากๆ ว่า หากออกจากงานมาแล้ว แต่นายจ้างยังไม่จ่ายเงิน ทำยังไงดี   คำตอบ คือ หากไม่จ่ายลูกจ้างก็เลือกได้ว่าจะร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน ที่กรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงานในเขตพื้นที่ หรือ ฟ้องศาลที่มีเขตอำนาจ ศาลที่มีเขตอำนาจ คือที่ไหนคือสถานที่แรงงานตั้งอยู่ ตั้งอยู่ไหนไปไหนคะพี่ ตามตารางเลยน้อง ส่วนคำถามที่ว่าแล้วทั้งสองที่ต่างกันยังไง ….เสริชค่ะ เสริชว่า ความแตกต่าง กรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน ศาลแรงงาน คลินิกกฎหมายแรงงาน เคยเขียนไว้แล้ว หรือลองเลื่อนดู เร็วกว่ารอพี่นั่งตอบรายคนแน่นอน   แต่ถ้ามีคำถามค้างคาใจ ไม่อยากรอ อยากปรึกษาส่วนตัวโอนเลย รีบตอบแน่นอน

ถูกกดดันให้เขียนใบลาออก สามารถฟ้องเรียกค่าชดเชยได้

ถูกกดดันให้เขียนใบลาออก สามารถฟ้องเรียกค่าชดเชยได้   โดยปกติแล้วหากลูกจ้างเขียนใบลาออก ลูกจ้างไม่สามารถเรียกร้องอะไร ?   แต่ประเด็นคือบางบริษัทกดดันให้ลูกจ้างออกและให้ลูกจ้างเขียนใบลาออกด้วยลายมือ หวังว่าเมื่อไปศาลจะมาบอกศาลได้ว่า เนี่ยลูกจ้างลาออกเอง ลายมือเค้าเอง ดูสิๆๆ แบบนี้ให้ระวังนะ เพราะถ้าในทางการนำสืบได้ความว่า นายจ้างใช้อำนาจ กดดันต่างๆ นานาให้ลูกจ้างออก โดยที่การลาออกไม่ได้เกิดจากความสมัครใจที่จะเขียนใบลาออก ถือว่าเป็นการที่นายจ้าง “เลิกจ้าง” ซึ่งถ้าเป็นการเลิกจ้าง ลูกจ้างมีสิทธิได้รบเงินค่าชดเชยตามอายุการทำงาน ตามที่กำหนดในมาตรา 118 พรบ คุ้มครองงาน (ไม่ต้องมาถามนะ ว่าทำงานกี่ปี ได้เท่าไหร่ เขียนหลายแล้วแล้ว หรือง่ายกว่านั้น search google ค่ะ ไวกว่า และคนตอบไม่หงุดหงิดด้วย ) อ้อ นอกจากนี้ศาลอาจสั่งให้นายจ้างต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้อีก เทียบเคียงแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4052/2548  

ลงลายมือชื่อจะไม่เรียกร้องสิทธิประโยชน์ใดๆ จากนายจ้าง อาจทำให้หมดสิทธินำคดีมาฟ้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

ลงลายมือชื่อจะไม่เรียกร้องสิทธิประโยชน์ใดๆ จากนายจ้างอาจทำให้หมดสิทธินำคดีมาฟ้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม   ในกรณีนี้หลายคนอาจอ่านเจอฎีกามาในสองแบบ สองลักษณะ อย่างแรกคือแบบที่ แม้ลงชื่อสละสิทธิก็ยังฟ้องได้ อ่ะ แบบนั้นก็ไม่ผิด เพราะต้องดูพฤติการณ์ในแต่ละคดี การนำสืบให้ศาลเห็นด้วย โดยแบบที่ ล็อคคอเซนไม่ให้เวลาทบทวนตัดสินใจ แม้มีลายเซ็นว่าลูกจ้างไม่ติดใจเรียกร้อง ลูกจ้างก็ยังฟ้องได้ ก็มีในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10265/2558   แต่แบบที่ฟ้องไม่ได้ก็มี เช่น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1977/2557 ที่นำสืบได้ไปในแนวทางที่ว่า หลังเลิกจ้าง ลูกจ้างได้รับค่าชดเชย ค่าตกใจ โดยในวันมารับค่าชดเชยค่าตกใจ ลูกจ้างได้บันทึกข้อตกลงสละสิทธิซึ่งเกิดขึ้นหลังจาก ออกจากงานพ้นการเป็นลูกจ้างของจำเลยแล้ว ลูกจ้างมีอิสระแก่ตนพ้นพันธะกรณีและไม่อยู่ใต้อำนาจบังคับ บัญชาของนายจ้างโดยสิ้นเชิง การสละสิทธิเรียกร้องในเงินดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน และไม่เป็นโมฆะ ดังนั้นเมื่อลงลายมือชื่อไปแล้วว่าสละสิทธิจึงมาฟ้องอีกไม่ได้  

ล็อคคอเซนไม่ให้เวลาทบทวนตัดสินใจ แม้มีลายเซ็นว่าลูกจ้างไม่ติดใจเรียกร้อง ลูกจ้างก็ยังฟ้องได้

ล็อคคอเซนไม่ให้เวลาทบทวนตัดสินใจ แม้มีลายเซ็นว่าลูกจ้างไม่ติดใจเรียกร้อง ลูกจ้างก็ยังฟ้องได้ นายจ้างได้เลิกจ้างลูกจ้ำงกับพวกโดยเรียกเข้าไปรับเช็คค่าชดเชยและเงินอื่นๆ เป็น ชุดๆ พร้อมจัดเตรียมเอกสารมีข้อความว่าลูกจ้างไม่ติดใจเรียกค่ำเสียหายใดๆ อีก ทั้งหมดใช้เวลาดำเนินการชุดละเพียง 20 นาทีพฤติการณ์ดังกล่าวเชื่อว่าลูกจ้างไม่สามารถใช้วิจารณาญาณตัดสินใจ ในการลงลายมือชื่อในช่วงเวลาอันสั้นได้อย่างถูกต้อง ข้อตกลงสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหหายใดๆ จึงไม่สามารถมีผลใช้บังคับได้ลูกจ้างจึงฟ้องค่ำเสียหายาจาการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้ ใครอยากอ่านฎีกาเต็มไปได้ที่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10265/2558  

ก่อนจะนำค่าจ้างมาคำนวนค่าชดเชย ต้องทราบก่อนว่า “ค่าจ้าง” หมายความว่าอะไร ?

ก่อนจะนำค่าจ้างมาคำนวนค่าชดเชย ต้องทราบก่อนว่า ค่าจ้าง หมายความว่าอะไร ? วันนี้ทนายแบงค์มาช่วยสรุปค่ะ 1. เป็นเงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตาม สัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ หรือระยะเวลาอื่น หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุด และวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงานแต่มีสิทธิ์ได้รับตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน 2. ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 3. ถ้า ไม่มีการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในท้องที่ใดให้ถือว่า อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ พื้นฐานเป็นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของท้องที่นั้น (อัตรค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐาน หมายถึง อัตราค่าจ้างที่คณะกรรมการค่าจ้างกำหนดเพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการกำหนดอัตรา ค่าจ้างขั้นต่ำ) #ลูกจ้างประจำ #ลูกจ้างรายวัน #เงินเดือน #เลิกจ้าง #วิทยากรPDPA #Professional #หนังสือPDPA #บริษัท #นายจ้าง #วางระบบpdpa #กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล #ค่าชดเชย #วิทยากรอารมณ์ดี #ที่ปรึกษากฎหมาย #ลูกน้อง #ลูกจ้าง #เจ้านาย #กฎหมายแรงงาน #Onlinetraining #ไล่ออก

เงินจูงใจเป็นสวัสดิการที่ ไม่นำรวมเป็นฐานเงินเดือน ในการคำนวณค่าชดเชยได้หรือไม่ ?

เงินจูงใจเป็นสวัสดิการที่ไม่นำรวมเป็นฐานเงินเดือนในการคำนวณค่าชดเชยได้หรือไม่ ? เรื่องมีอยู่ว่า นายจ้างรายหนึ่งได้กำหนดเงินประเภท “เงินจูงใจ” ให้แก่ลูกจ้างที่มีความตั้งใจ ขยัน และมีความกะตือรือร้นในการปฏิบัติงาน โดยมีเงื่อนไขว่านายจ้างจะจ่ายเงินจูงใจตามเงื่อนไขดังนี้ – หากลูกจ้างไม่ลางาน/ไม่ขาดงาน ยกเว้นลาพักผ่อน – หากลูกจ้างลางาน/ขาดงาน ยกเว้นลาพักผ่อน จำนวนเงินจูงใจจะถูกหักออกตามจำนวนวันที่ขาดงาน/ลางานจริง โดยให้เอา 30 วันเป็นตัวหาร – หากลูกจ้างถูกลงโทษทางวินัยจะไม่ได้รับเงินจูงใจ – ลูกจ้างจะได้รับเงินจูงใจเมื่อผ่านทดลองงานแล้ว (120 วัน) – นายจ้างมีสิทธิเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือยกเลิกเงินจูงใจได้ตามความเหมาะสม เป็นกรณีไป ค่าชดเชยคำนวณจากค่าจ้างที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเป็นเกณฑ์ โดยค่าจ้าง หมายถึง เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาทำงานปกติ และรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานด้วย เมื่อพิจารณาจากเงื่อนไขการจ่ายเงินจูงใจดังกล่าวแล้วพบว่า นายจ้างตั้งเงื่อนไขการจ่ายเงินจูงใจให้แก่ลูกจ้างที่มีความตั้งใจ ขยัน และมีความกะตือรือร้นในการปฏิบัติงาน ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดเท่านั้น รวมถึงเงินจูงใจที่นายจ้างจะจ่ายให้แก่ลูกจ้างนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของลูกจ้างเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่ถือว่า “เงินจูงใจ” เป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงาน จึงไม่ถือว่าเป็นค่าจ้าง และไม่ต้องนำเงินจูงใจมารวมเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชย ในช่วงหลังๆ มานี้พบว่า นายจ้างมีการออกแบบรูปแบบการจ่ายเงินเพิ่มเติมที่หลากหลายให้แก่ลูกจ้าง ก่อให้เกิดความสับสนว่าจะนำเงินจำนวนใดบ้างมาคำนวณค่าชดเชยบ้าง ทางเพจขอบอกไว้เลยว่า แม้แต่ละบริษัทจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป แต่หลักเกณฑ์การพิจารณายังคงเหมือนเดิม คือ เงินที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างดังกล่าวนั้น เป็นเงินที่จ่ายเพื่อเพื่อตอบแทนการทำงาน หรือเป็นเงินที่จ่ายเพื่อวัตถุประสงค์อื่น...