กรุณารอสักครู่

 

HomeBlog

จ้างก่อสร้างบ้าน แต่ไม่ได้ทำสัญญาไว้ เจ้าของบ้านจะฟ้องได้หรือไม่ ?

จ้างก่อสร้างบ้าน แต่ไม่ได้ทำสัญญาไว้ เจ้าของบ้านจะฟ้องได้หรือไม่ ? สัญญาจ้างรับเหมาก่อสร้าง ถือเป็นสัญญาจ้างทำของประเภทหนึ่งตามกฎหมาย ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 587 บัญญัติว่า “อันว่าจ้างทำของนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจ้าง ตกลงรับจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้น” จะเห็นได้ว่ากฎหมายไม่ได้กำหนดเกี่ยวกับรูปแบบการทำสัญญาจ้างทำของเอาไว้โดยเฉพาะ ดังนั้นสัญญาจ้างรับเหมาก่อสร้างซึ่งถือเป็นสัญญาจ้างทำของอย่างหนึ่งจึงไม่จำต้องทำเป็นหนังสือ ก็สามารถฟ้องร้องกันได้ แต่อย่างไรก็ดีเพื่อความชัดเจนในการปฏิบัติตามสัญญาและการดำเนินกระบวนการเกี่ยวกับการฟ้องร้อง แม้กฎหมายไม่ได้บังคับให้ทำเป็นหนังสือสัญญา ทางเพจก็ขอแนะนำให้คู่สัญญาทำสัญญาเป็นหนังสือต่อกันไว้จะดีที่สุด

เจ้าหนี้สามารถยึด หรืออายัดทรัพย์สินอะไรได้บ้าง ?

เจ้าหนี้สามารถยึด หรืออายัดทรัพย์สินอะไรได้บ้าง ??? ตามที่โพสต์ก่อนได้อธิบายขั้นตอนเริ่มต้นตั้งเรื่องยึดทรัพย์บังคับคดีของเจ้าหนี้แล้ว เจ้าหนี้ยังมีหน้าที่ต้องนำสืบทรัพย์ ว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินอะไรบ้างและอยู่ที่ไหน ทำงานอยู่ที่ไหน หากเจอก็จะส่งเอกสารที่จะดำเนินการยึดทรัพย์ให้เจ้าพนักงานพิจารณาคำขอยึดทรัพย์ โดยจะมีเพียงเจ้าพนักงานของกรมบังคับคดีเท่านั้น ที่เป็นผู้ที่มีหน้าที่เข้ามายึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ไป เมื่อเจ้าหนี้มีหน้าที่นำสืบทรัพย์ควรจะทราบว่ามีทรัพย์สินอะไรบ้างที่เจ้าหนี้สามารถยึดหรืออายัดได้ เพราะเจ้าหนี้ไม่สามารถยึดทรัพย์ของลูกหนี้ได้ทุกอย่าง ดังนั้น ควรต้องทราบว่ามีอะไรบ้างที่เจ้าหนี้สามารถยึดได้โดยชอบธรรม หรืออะไรบ้างที่หากยึดไปแล้วผิดกฎหมาย ทรัพย์สินที่สามารถยึดได้ – ของมีค่า เครื่องประดับทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น เพชร พลอย นาฬิกา และของสะสมที่มีมูลค่า – บ้าน ที่ดิน และถึงแม้ว่าจะยังติดจำนองอยู่ก็สามารถที่จะยึดได้เช่นกัน – รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของลูกหนี้ และไม่ได้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ – เงินในบัญชีเงินฝาก หรือเงินปันผลจากการลงทุน – ทรัพย์สินที่เป็นการลงทุน อาทิ หุ้น ทองคำ ตราสารหนี้ หรือกองทุน – เงินเดือนจากการทำงานของลูกหนี้ที่เป็นพนักงานบริษัทเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจ แต่ต้องมีรายได้เกินกว่า 20,000 บาท ต่อเดือน ถึงจะยึดได้ เห็นไหม!! ระวังนะ อย่าไปยึดคคุณลูกหนี้ที่รักสุ่มสี่สุ่มห้าไม่ได้นะ เตือนแล้วนะ!!!

ข้อแตกต่างระหว่างการจ้างแรงงานและการจ้างทำของ

ข้อแตกต่างระหว่างการจ้างแรงงานและการจ้างทำของ 1. การจ้างทำของ – จะมีความมุ่งหวังที่ผลสำเร็จของงานนั้นเป็นสำคัญ กล่าวคือ ผู้รับจ้างจะมีอิสระในการดำเนินการงานที่จ้างให้สำเร็จลุล่วง ตามลักษณะ แบบ คุณสมบัติ เวลา และมาตรฐานที่ผู้ว่าจ้างกำหนด และในการคิดคำนวณค่าตอบแทนมักใช้ผลสำเร็จของงานที่ตกลงกันเป็นตัวแปรในการพิจารณาค่าตอบแทนของผู้รับจ้าง 2. จ้างแรงงาน – ผู้ว่าจ้างจะมีอำนาจการบังคับบัญชาเด็ดขาดเหนือผู้รับจ้าง กล่าวคือ ผู้ว่าจ้างอาจมอบหมายงานอย่างอื่นให้ผู้รับจ้าง เปลี่ยนแปลงขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้รับจ้างได้ มีอำนาจตักเตือนลงโทษทางวินัย การกำหนดให้ผู้รับจ้างเข้าทำงานตามวันเวลาที่ผู้ว่าจ้างกำหนด คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1468/2562 จำเลยจ่ายค่าจ้างโจทก์เป็นรายเดือนมีจำนวนแน่นอนเท่ากันทุกเดือน มีลักษณะเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงาน ไม่ได้คำนึงถึงผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญ และจ่ายให้ตลอดระยะเวลาที่โจทก์ทำงาน ทั้งโจทก์ได้รับสิทธิ สวัสดิการต่างๆ เหมือนพนักงานลูกจ้างคนอื่นของจำเลย โจทก์ปฏิบัติงานไม่เป็นอิสระแต่ต้องอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของจำเลย จำเลยมีอำนาจสั่งให้โจทก์ไปทำงานที่โครงการอื่นของจำเลยได้ แม้ไม่ปรากฎว่าโจทก์ต้องปฏิบัติตามระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยอย่างเคร่งครัด แต่การที่จำเลยจะหยุดงานต้องแจ้งให้คณะกรรมการของจำเลยทราบก่อนโจทก์จึงไม่ได้มีอิสระในการทำงาน สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นสัญญาจ้างแรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575

ลูกจ้างฟ้องนายจ้าง ให้รับผิดค่าสินไหมทดแทน กรณีกระทำละเมิดได้หรือไม่ ?

ลูกจ้างฟ้องนายจ้าง ให้รับผิดค่าสินไหมทดแทน กรณีกระทำละเมิดได้หรือไม่ ? คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8935/2563 สาเหตุเพลิงไหม้โรงงานจำเลยเกิดจากก๊าซแอลพีจีซึ่งเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตระเหยออกมาจากม้วนโฟมถูกแหล่งความร้อน คือ ไฟฟ้าสถิตที่สะสมอยู่บนผิวโฟม ทำให้เกิดประกายไฟลุกไหม้ขึ้น เป็นเหตุให้โจทก์ถูกไฟไหม้ที่แขนทั้งสองข้างและส้นเท้าซ้าย เมื่อจำเลยเป็นเจ้าของโรงงานและเป็นผู้ครอบครองก๊าซแอลพีจีซึ่งเป็นทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพ กรณีจึงต้องบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 437 วรรคสอง ที่กำหนดให้จำเลยต้องรับผิดชอบเพื่อการเสียหายอันเกิดแต่ทรัพย์นั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดเพราะความผิดของผู้ต้องเสียหายนั้นเอง อันเป็นบทบัญญัติสันนิษฐานความผิดฐานละเมิด มิใช่บทบัญญัติที่เป็นองค์ประกอบความผิดฐานละเมิด ฉะนั้นแม้โจทก์มิได้บรรยายมาในคำฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองก๊าซแอลพีจีซึ่งเป็นทรัพย์ที่เกิดอันตรายได้โดยสภาพ แต่จำเลยให้การว่าเหตุเพลิงไหม้เป็นเหตุสุดวิสัยหรือเกิดเพราะความผิดของโจทก์ที่ประมาทเลินเล่อเอง จึงเป็นการยกข้อต่อสู้ตามบทบัญญัติดังกล่าวเพื่อให้ตนพ้นจากความรับผิด เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าเหตุเพลิงไหม้เกิดจากก๊าซแอลพีจีที่จำเลยเป็นผู้ครอบครอง กรณีเช่นนี้ศาลมีอำนาจยกบทบัญญัติของกฎหมายขึ้นปรับใช้ตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความแล้วมีคำพิพากษาชี้ขาดไปตามนั้น โจทก์มีบาดแผลถูกไฟไหม้ที่แขนทั้งสองข้างและขา 25 เปอร์เซ็นต์ ส้นเท้าซ้ายและตามร่างกายหลายแห่งเป็นบาดแผลระดับที่ 2 ทั้งระดับตื้นและลึก รักษาตัวโดยการผ่าตัด แม้ไม่ปรากฏว่านิ้วมือและแขนทั้งสองข้างของโจทก์สามารถงดได้ตามปกติหรือไม่ แต่เมื่อพิจารณาสภาพร่างกายและอาการบาดเจ็บของโจทก์แล้ว เห็นได้ว่าโจทก์ได้รับความเจ็บปวดทนทุกขเวทนาระหว่างการรักษาพยาบาลและมีแผลเป็นติดตัว ซึ่งเป็นความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงิน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 446 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ผู้ต้องเสียหายจะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความที่เสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินด้วยอีกก็ได้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลย..!!! ติดต่องานจ้าง info@legalclinic.co.th #HR #ลูกจ้างรายวัน #ลูกจ้างประจำ #เงินเดือน #เลิกจ้าง #สัญญาจ้าง #Professional #หนังสือPDPA #บริษัท #นายจ้าง...

สัญญาจ้างมีกำหนดระยะเวลา เมื่อสิ้นสุดแล้ว นายจ้างไม่ต่อสัญญา “ต้องจ่ายค่าชดเชย”

สัญญาจ้างมีกำหนดระยะเวลา เมื่อสิ้นสุดแล้ว นายจ้างไม่ต่อสัญญา “ต้องจ่ายค่าชดเชย” ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่น่าสนใจนะคะ เพราะหลายบริษัท ใช้วิธีทำสัญญาจ้างปีต่อปี เมื่อครบปี ก็ ทำสัญญาต่ออีกฉบับนึง หรือบางบริษัท ก็ใช้วิธีการทำสัญญาแค่ 11 เดือนโดยเข้าใจว่าวิธีดังกล่าวจะไม่ต้องค่าชดเชย ความเข้าใจแบบนี้ ทำให้เสียหายมาหลายบริษัทแล้ว เพราะ 1. หลายคน ตีความจากวรรคสามของมาตรา 118 ที่ว่า”..ค่าชดเชยในวรรคหนึ่ง มีให้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้..” จึงใช้วิธีการทำสัญญาจ้างลูกจ้างเป็นแบบมีกำหนดระยะเวลาเพื่อหวังที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ซึ่งแบบนี้ไม่ถูกต้องเสียทีเดียว เพราะ ในวรรค 4 ของมาตราเดียวกันกำหนดว่า…..”การจ้างที่มีกำหนตระยะเวลาตามวรรคสามจะกระทำได้ สำหรับการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่ไม่ใช่งานปกติของกิจการ หรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอนหรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนต การสิ้นสุด หรือความสำเร็จของงาน หรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานนั้นจะต้อง แล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน 2 ปี… “ 2.ดังนั้นหากลูกจ้างท่านใด ทำงานโดยเซ็นสัญญาเป็นพนักงานแบบมีกำหนดระยะเวลา ในกิจการที่เป็นไปเพื่อการประกอบธุรกิจปกติหรือทางการค้าของนายจ้าง เมื่อครบกำหนดสัญญาจ้าง ลูกจ้างจึงมีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชย 3.การกำหนดสัญญาจ้างเป็น 11 เดือนนั้นก็ไม่สามารถเลี่ยงไม่จ่ายค่าชดเชยได้ เพราะค่าชดเชยจะเกิดขึ้นเมื่อลูกจ้างทำงานต่อเนื่องกันครบ 120 วันและถูกเลิกจ้างโดยที่ลูกจ้างไม่มีความผิด ( ซึ่งการณีที่สัญญาสิ้นสุดลงตามกำหนดระยะเวลาก็ถือว่าเป็นการเลิกจ้างโดยที่ลูกจ้างไม่มีความผิดเช่นกัน) 4.อย่างไรก็ตามสัญญาแบบมีกำหนดระยะเวลานี้นายจ้าง ไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า ก่อนครบกำหนดเพราะมีระยะเวลากำหนดแล้ว...

เป็น HR ออกหนังสือเลิกจ้างแทนนายจ้าง เมื่อลูกจ้างฟ้องจะมีความผิดไหม!!

เป็น HR ออกหนังสือเลิกจ้างแทนนายจ้าง เมื่อลูกจ้างฟ้องจะมีความผิดไหม!! ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่มี HR คนนึงถามเข้ามาและคิดว่าถ้าเอามาตอบหน้าเพจจะเป็นประโยชน์กับท่านอื่นๆที่อยู่ในสถานการณ์แบบเดียวกัน กรณีที่เอสอาร์ออกหนังสือเลิกจ้างแทนนายจ้างก็ชัดเจนว่าเป็นการกระทำการแทนนายจ้าง ดังนั้นเมื่อลูกจ้างฟ้องนายจ้างไม่ว่าจะฟ้องเรียกค่าตกใจค่าชดเชยหรือค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมก็เป็นการฟ้องบริษัทหรือนิติบุคคล เอชอาร์ไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว และเมื่อได้รับหมายศาลแล้วต้องทำอย่างไร?? เมื่อได้รับหมายศาลแล้วก็ให้อ่านคำฟ้องว่าเขาฟ้องมาว่าอะไรและเรามีประเด็นโต้แย้งอย่างไร การไปศาลนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องให้คนที่ทราบรายละเอียดข้อเท็จจริงรวมทั้งข้อมูลเข้าให้การต่อศาล เพราะหากให้คนที่ไม่ทราบเรื่องไปย่อมไม่เกิดประโยชน์กับบริษัท การเบิกความในศาลก็ต้องเบิกความด้วยความสัตย์จริง (สัตย์จริงที่ไม่ใช่สัสจริง) เพื่อให้ก่อเกิดความยุติธรรมแก่ทุกฝ่าย และให้ศาลได้พิจารณาคดีได้อย่างยุติธรรม

ออกจากงานเพราะเหตุ “เกษียณอายุ” ต้องได้รับค่าชดเชย

ออกจากงานเพราะเหตุ “เกษียณอายุ” ต้องได้รับค่าชดเชย “ค่าชดเชย” เป็นเงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายให้ลูกจ้างเมื่อนายจ้างเป็นฝ่ายเลิกจ้างโดยที่ลูกจ้างไม่มีความผิด “การเกษียณอายุ” หมายความว่า กำหนดเวลาสิ้นสุดสัญญาจ้างแรงงานเนื่องจากลูกจ้างมีอายุเกินกว่าที่นายจ้างจะจ้างไว้ทำงานหรือมากเกินกว่าที่ลูกจ้างจะรับทำงานนั้นต่อไป ซึ่งการเกษียณอายุอาจเกิดจากกรณีที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันกำหนดขึ้นไว้ในสัญญาจ้างแรงงานหรือในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างก็ได้ หรืออาจเกิดจากกรณีที่นายจ้างได้กำหนดไว้ในข้อบังคับหรือประกาศของนายจ้างเกี่ยวกับการทำงานก็ได้ ดังนั้นการเกษียณอายุหรือการที่ลูกจ้างออกจากงานเนื่องจากมีอายุครบตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันหรือตามที่นายจ้างกำหนดไว้ จึงถือว่าเป็น “การเลิกจ้าง” ดังนั้น นายจ้างจึงมีหน้าที่ ต้องจ่าย “ค่าชดเชย” ให้แก่ลูกจ้างที่เกษียณอายุนั้นตามอัตราที่กำหนดไว้ในมาตรา 118 วรรคหนึ่ง พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการทำงานของลูกจ้าง  

ผู้จัดการมรดกเบียดบังเอาทรัพย์มรดกเป็นของตนเองโดยไม่แบ่งทายาท มีความผิดฐานยักยอกทรัพย์มรดก ติดคุกนะครับ

ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและมีหน้าที่รวบรวมมรดก เพื่อแบ่งให้ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม หากผู้จัดการมรดกเบียดบังเอาทรัพย์มรดกเป็นของตนเองโดยไม่แบ่งทายาท มีความผิดฐานยักยอกทรัพย์มรดก ติดคุกนะครับ อ้างอิงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 987/2554 จำเลยที่ 1 เป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาท แต่เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นกระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริต โดยจดทะเบียนโอนทรัพย์สินนั้นเป็นของตน เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของผู้อื่นเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา353ประกอบด้วยมาตรา 354 ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว จึงไม่จำต้องปรับบทลงโทษตามมาตรา 352 ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก

ค่าชดเชยจากการเลิกจ้าง ต้องเสียภาษีหรือไม่ ?

ค่าชดเชยจากการเลิกจ้างต้องเสียภาษีหรือไม่ ? เงินชดเชยที่ได้รับจากการเลิกจ้างถือเป็นเงินได้ตามกฎหมาย ดังนั้นผู้ที่ได้รับเงินชดเชยมีหน้าที่ต้องเสียภาษีด้วย แต่หากได้รับเงินค่าชดเชยที่ไม่เกิน 300,000 บาท จะได้รับการยกเว้นภาษี แต่ถ้าหากเงินชดเชยที่ได้รับมากกว่า 300,000 บาท ส่วนที่เกินจะต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย ยกตัวอย่าง เช่น ลูกจ้างได้รับค่าชดเชยจำนวน 600,000 บาท ลูกจ้างจะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินชดเชยจำนวน 300,000 บาทแรกไปเสียภาษี แต่นำเพียงส่วนที่เกินจำนวน 300,000 บาทที่เหลือไปคำนวณภาษีรวมกับรายได้ที่ได้รับในปีนั้น โดยเงินค่าชดเชยในที่นี้ หมายถึง ค่าชดเชยจากการเลิกจ้าง เกษียณอายุ และไล่ออกตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ซึ่งรวมเงินช่วยเหลือจากนายจ้างกรณีลูกจ้างสมัครใจลาออกด้วย (เงินอะไรก็ตามที่ได้ชดเชยจากนายจ้างเพราะการสิ้นสุดสัญญาจ้างระหว่างกันนั่นแหละ)​ นอกจากนี้แล้วเงินในส่วนอื่นๆ เช่น เงินชดเชยวันหยุดพักร้อนประจำปีที่ไม่ได้ใช้ เงินสมทบที่นายจ้างจ่ายให้เป็นพิเศษ ลูกจ้างต้องนำเงินค่าชดเชยในส่วนนี้มาคำนวณรวมภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม สำหรับเงินชดเชยว่างงานจากประกันสังคมจะได้รับยกเว้นภาษีตามกฎหมาย ลูกจ้างไม่ต้องนำเงินชดเชยว่างงานจากประกันสังคมไปคำนวณรวมกับเงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้ประจำปีแต่อย่างใด

ออกจากงานมาแล้ว แต่นายจ้างยังไม่จ่ายเงิน ทำยังไงดี ?

ออกจากงานมาแล้ว แต่นายจ้างยังไม่จ่ายเงิน ทำยังไงดี ? อันนี้เป็นคำถามที่มีมาช้านานตั้งแต่รุ่นเปิดเพจแรกๆมาจนถึงทุกวันนี้ ถามกันเข้ามาทุกวัน ซึ่งเรื่องนี้ก็โพสอยู่บ่อยๆ เลยไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะเราสรุปยาวไป จนไม่น่าอ่าน หรือเปล่า วันนี้เลยจะมาสรุปสั้นมากๆ ว่า หากออกจากงานมาแล้ว แต่นายจ้างยังไม่จ่ายเงิน ทำยังไงดี คำตอบ คือ หากไม่จ่ายลูกจ้างก็เลือกได้ว่าจะร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน ที่กรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงานในเขตพื้นที่ หรือ ฟ้องศาลที่มีเขตอำนาจ ศาลที่มีเขตอำนาจ คือที่ไหนคือสถานที่แรงงานตั้งอยู่ ส่วนคำถามที่ว่าแล้วทั้งสองที่ต่างกันยังไง ….เสริชค่ะ เสริชว่า ความแตกต่าง กรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน ศาลแรงงาน คลินิกกฎหมายแรงงาน เคยเขียนไว้แล้ว หรือลองเลื่อนดู เร็วกว่ารอพี่นั่งตอบรายคนแน่นอน