กรุณารอสักครู่

 

HomeBlog

ลูกจ้างไม่รู้ว่าเกษียณตามข้อบังคับแล้ว แต่มาลาออกเพื่อต้องการเกษียณ กรณีเช่นนี้นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่ ?

ลูกจ้างไม่รู้ว่าเกษียณตามข้อบังคับแล้ว แต่มาลาออกเพื่อต้องการเกษียณ กรณีเช่นนี้นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่? สำหรับประเด็นเรื่องการเกษียณเป็นอีกปัญหาที่นายจ้างหลายๆ บริษัทยังคงสับสนในข้อกฎหมาย โดยเฉพาะกรณีที่ลูกจ้างถึงอายุเกษียณอายุแล้วแต่ไม่ได้เกษียณอายุจริง นายจ้างและลูกจ้างตกลงให้ทำงานต่อไปจนสับสนไปหมดว่าสรุปแล้วจะเกษียณอายุเมื่อไหร่กันแน่ วันนี้ทางเพจจึงมีประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเกษียณอายุมาแชร์ให้ทุกคนเช่นเคย สำหรับการเกษียณอายุนั้น เป็นสิทธิของลูกจ้างที่จะเกษียณอายุตามข้อบังคับฯ ของบริษัท และการเกษียณถือเป็นการเลิกจ้างอย่างหนึ่งที่นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย แต่หากลูกจ้างไม่เกษียณอายุและแสดงความประสงค์ขอทำงานต่อ และนายจ้างตกลงให้ทำงานต่อ เช่นนี้ลูกจ้างก็สามารถเก็บสิทธิเกษียณอายุไว้และแจ้งความประสงค์ต่อนายจ้างในภายหลังได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม มีเคสนึงเกิดขึ้นและเป็นกรณีที่น่าสนใจ คือ เมื่อลูกจ้างอายุครบ 60 ปีแล้วแต่ยังคงทำงานต่อไปเพราะไม่รู้ว่าตัวเองต้องเกษียณอายุตามข้อบังคับบริษัทฯ แล้ว นายจ้างก็ไม่ได้แจ้งให้เกษียณอายุและอนุญาตให้ทำงานต่อไปเรื่อยๆ จนกระทั่งลูกจ้างมาขอลาออกหลังอายุ 60 พร้อมทั้งแจ้งว่าขอลาออกเพราะอยากเกษียณอายุ ไม่อยากทำงานต่อไป กรณีเช่นนี้จะว่าถือเป็นการเกษียณหรือลาออกกันแน่?​ คำตอบก็คือ แม้ว่าลูกจ้างจะมาลาออกก็ตาม แต่การลาออกของลูกจ้างเป็นการแจ้งความประสงค์หรือเจตนาว่าจะเกษียณอายุ ดังนั้นถือเป็นการเกษียณอายุ ไม่ใช่การลาออก และนายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าชดเชยด้วย เห็นได้ว่า กฎหมายถือเจตนาของลูกจ้างเป็นหลัก ดังนั้นบริษัทใดมีพนักงานที่จะเกษียณอายุ อย่าลืมแจ้งการเกษียณอายุให้พนักงานทราบให้เรียบร้อยเพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนที่อาจเกิดขึ้นจากการเกษียณอายุนะคะ

หย่าโดยยินยอมและหย่าเพื่อหนีหนี้ ขั้นตอนและผลทางฎหมายเป็นอย่างไร ?

หย่าโดยยินยอมและหย่าเพื่อหนีหนี้ ขั้นตอนและผลทางฎหมายเป็นอย่างไร ? มาฟัง…. “หย่าโดยความยินยอม” ๑.ทำเป็นคำร้องยื่นต่อนายอำเภอ ตกลงหย่าขาดจากกัน โดยลงชื่อคู่สมรสและพยานสองคนกด็เป็นการหย่าที่สมบรูณ์ คำพิพากษาฏีกา ๖๑๐/๒๔๙๖ ๒.สัญญาหย่ามีพยานสองคน พยานที่ลงชื่อเป็นพยานคนแรกเบิกความว่า หลังจากที่ตนเซ็นชื่อแล้วจะมีใครเซ็นชื่อหรือไม่ไม่ทราบ พยานอีกคนเบิกความว่า เมื่อภรรยานำหนังสือสัญญาหย่ามาให้เซ็นก็เซ็นไป ไม่ถือว่าทั้งสองคนรู้เห็นเป็นพยานในการหย่า ไม่ถือเป็นหนังสือหย่าตามกฎหมาย คำพิพากษาฏีกา ๔๑๗/๒๔๙๔ ๓. ตกลงหย่ากันแล้ว สามีลงชื่อในหนังสือหย่าต่อหน้าพยานสองปาก ส่วนภรรยาลงชื่อหลังจากที่พยานคนหนึ่งไปแล้ว ถือว่าสัญญาหย่าสมบรูณ์ กฎหมายไม่ได้บังคับให้ลงชื่อต่อหน้าพยานพร้อมกันสองคน ความประสงค์มีเพียง ให้พยานลงชื่อในสัญญานั้นพยานทั้งสองคนต้องรู้เห็นในข้อความที่ตกลงกัน คำพิพากษาฏีกา ๑๔๑/๒๔๘๗ ๔.ทำหนังสือหย่ากันถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ไม่ยอมไปจดทะเบียนหย่าอีกฝ่ายฟ้องบังคับให้สามีไปจดทะเบียนหย่าได้ คำพิพากษาฏีกา ๑๒๙๑/๒๕๐๐ ๕.ทำหนังสือสัญญาหย่ากันแล้ว อีกฝ่ายไม่ไปจดทะเบียนหย่าที่อำเภอ ยังสามารถบังคับโดยวิธีอื่นที่ไม่ต้องจับกุมคุมขัง ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาได้ คำพิพากษาฏีกา ๕๘๐/๒๕๐๘ ๖.การหย่ามีผลสมบรูณ์เมื่อจดทะเบียนหย่า ส่วนระเบียบการจดทะเบียนครอบครัวที่นายทะเบียนที่รับแจ้งการหย่า ให้แจ้งการหย่าไปที่อำเภอที่จดทะเบียนสมรส หรือแจ้งไปที่สนง.จดทะเบียนกลาง ก็เป็นเพียงหลักฐานการตรวจสอบทางทะเบียนเท่านั้น คำพิพากษาฏีกา ๕๙๕/๒๕๓๔ ๗.หย่าโดยสมรู้กันโดยหลอกลวงโดยสมคบกันระหว่างคู่กรณี แล้วไปจดทะเบียนหย่า การหย่าไม่ผูกพันคนภายนอก คำพิพากษาฏีกา ๓๖๙๘/๒๕๒๔ ๘.หย่าแล้วยังอยู่ด้วยกัน และร่วมกันสร้างเรือนพิพาทอีกหลังร่วมกัน ปรับปรุงที่พิพาททำเป็นนา ขุดบ่อปลา...

คู่สมรสมีชู้ในระหว่างจดทะเบียนสมรสกันอยู่ แม้ภายหลังจากนั้นได้จดทะเบียนหย่ากันแล้ว ก็สามารถฟ้องเรียกค่าทดแทนจากชู้ได้

คู่สมรสมีชู้ในระหว่างจดทะเบียนสมรสกันอยู่ แม้ภายหลังจากนั้นได้จดทะเบียนหย่ากันแล้ว ก็สามารถฟ้องเรียกค่าทดแทนจากชู้ได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4261/2560 โจทก์ในฐานะภริยามีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่น ที่แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคสอง แม้ขณะฟ้องจะได้จดทะเบียนหย่ากันแล้ว กรณีมิใช่การกระทำละเมิด ส่วนปัญหาจำเลยต้องใช้ค่าทดแทนแก่โจทก์หรือไม่ เห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนให้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัย เนื่องจากคู่ความได้สืบพยานกันเสร็จสิ้นแล้ว

ทำข้อสัญญาไว้ว่าหากลาออกไม่ถูกต้องให้นายจ้างหักค่าจ้างได้ นายจ้างจะหักค่าจ้างโดยอ้างสัญญาได้หรือไม่ ?

ทำข้อสัญญาไว้ว่าหากลาออกไม่ถูกต้องให้นายจ้างหักค่าจ้างได้ นายจ้างจะหักค่าจ้างโดยอ้างสัญญาได้หรือไม่ ? ในการทำสัญญาจ้างแรงงานอาจมีการตกลงกันหลายข้อ และหากพนักงานหรือลูกจ้างผิดสัญญาก็ยินยอมให้บริษัทนายจ้างหักค่าจ้างได้ เช่น ยินยอมให้หักค่าจ้างได้หากพนักงานลางานไม่แจ้งล่วงหน้า หรือลาออกโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า 1 เดือน หรือยื่นใบลาออกแล้วออกไปทันที ไม่รอให้ครบ 1 เดือนก่อนค่อยไป เป็นต้น ปัจจุบันนี้มีนายจ้างหลายคนปฏิบัติในลักษณะนี้ แต่ ณ จุดนี้ อยากให้นายจ้างทุกคนเข้าใจหลักกฎหมายก่อนว่า มาตรา 76 ห้ามมิให้หักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าล่วงเวลาในวันหยุด ค่าทำงานในวันหยุด ดังนั้น แม้ว่านายจ้างจะเขียนสัญญาว่าหากผิดสัญญาจึงหักค่าจ้างได้ อันจะถือว่าลูกจ้างยินยอมตกลงให้หักค่าจ้างก็หักไม่ได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ 1458/2548) เพราะการทำความตกลงที่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายคุ้มครองแรงงาน (มาตรา 76) เท่ากับว่าเป็นการทำข้อตกลงให้ “ขัด” หรือ “แย้ง” กับกฎหมาย ข้อตกลงหักค่าจ้างจึงเป็นโมฆะ และมีความผิดอาญา ดังนั้นเมื่อพนักงานหรือลูกจ้างมาทำงานมีสิทธิได้ค่าจ้าง นายจ้างจะหักค่าจ้างไม่ได้ เช่น ลูกจ้างมาทำงานวันที่ 1-15 และยื่นใบลาออกวันที่ 15 ปรากฏว่าวันที่ 16 ไม่มาทำงานแล้ว เช่นนี้นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันที่ 1-15 อยู่ จะมาอ้างเรื่องลาออกผิดระเบียบหรืออ้างข้อสัญญาเพื่อหักค่าจ้างของลูกจ้างไม่ได้...

ข้อยกเว้นที่ลูกจ้าง “ไม่ได้รับค่าชดเชย”

ข้อยกเว้นที่ลูกจ้างไม่ได้รับค่าชดเชย แม้ว่าลูกจ้างจะต้องได้รับสิทธิ์ตามกฎหมายแรงงาน แต่ก็ยังมีข้อยกเว้นที่นายจ้างจะไม่ต้องจ่ายเงินให้กับลูกจ้าง ดังนี้ 1. ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำผิดทางอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง 2. จงใจให้นายจ้างได้รับความเสียหาย 3. ประมาทเลินเล่อ จนนายจ้างได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง 4. ฝ่าฝืนกฎข้อบังคับของนายจ้าง โดยได้รับหนังสือเตือนแล้ว หรือหากเป็นกรณีร้ายแรงก็ไม่จำเป็นต้องมีหนังสือเตือน (หนังสือเตือนมีอายุ 1 ปีนับจากวันที่ทำผิด ไม่ใช่วันที่ได้รับ) 5. หยุดงานติดต่อกันเป็นเวลา 3 วัน โดยไม่มีเหตุอันควร (ไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตาม) 6. ได้รับโทษหรือได้รับคำพิพากษาให้จำคุก

อายุความในทางคดี คืออะไร ?

อายุความคือ กำหนดเวลาในการฟ้องร้องดำเนินคดีแพ่งหรือคดีอาญา ครับ กล่าวคือว่า ถ้าในทางแพ่งไม่ได้ยื่นฟ้องภายในกำหนดระยะเวลา คดีก็จะขาดอายุความในการฟ้องร้องคดีนั้นเองครับ ส่วนคดีอาญา ถ้าไม่ฟ้องภายในกำหนดเวลา คดีก็จะขาดอายุความเช่นกัน ผลของการไม่ยื่นฟ้องภายในกำหนดเวลาตามที่กฎหมายกำหนดคือ ศาลอาจยกเอาเหตุแห่งการขาดอายุความมายกฟ้องคดีได้นั้น เอง ซึ่งจะมีผลทำให้โจทก์แพ้คดีนั้น ครับ

ถ้าตั้งใจจะหย่าขาดแล้ว ห้ามใจอ่อน!! มิฉะนั้นอาจหมดสิทธิในการฟ้องหย่า

ถ้าตั้งใจจะหย่าขาดแล้ว ห้ามใจอ่อน!! มิฉะนั้นอาจหมดสิทธิในการฟ้องหย่า คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2561/2561 แม้จะฟังได้ว่าข้อกล่าวหาของโจทก์เป็นเหตุหย่าตามกฎหมายก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ได้ให้อภัยในการกระทำของจำเลยแล้ว สิทธิฟ้องหย่าของโจทก์ย่อมหมดไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1518 โจทก์นำ จ.มาอยู่ในบ้านโจทก์และอยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยาจนมีบุตรด้วยกัน 1 คน โดยโจทก์ให้ใช้นามสกุลของโจทก์ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์อุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นฉันภรรยา เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ให้อภัยในการกระทำของโจทก์ จำเลยจึงมีเหตุฟ้องหย่าโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา1516 (1) เหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของโจทก์ฝ่ายเดียว ทั้งจำเลยไม่ได้ประกอบอาชีพอะไรโดยโจทก์เคยให้เงินจำเลยเป็นค่าใช้จ่าย การที่โจทก์หย่ากับจำเลยทำให้จำเลยยากจนลง จำเลยจึงมีสิทธิได้รับค่าเลี้ยงชีพจากโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1526

ประเด็นที่ต้องทราบเกี่ยวกับช่วงทดลองงาน

ประเด็นที่ต้องทราบเกี่ยวกับช่วงทดลองงาน เรื่องการทดลองงานนี้ มีคำถามมาหลากหลายประเด็นทั้งในมุมลูกจ้าง-นายจ้าง ที่น่าจะยังเข้าในผิดกันอยู่ เช่น 1. ระหว่างทดลองงานห้ามลาป่วย 2.ทดลองงานสามารถเลิกจ้างได้เลย โดยไม่ต้องบอกล่วงหน้า 3.ช่วงทดลองงานห้ามลากิจ หากลามีสิทธิหักเงิน และกับอีกความเข้าใจผิดสุดๆที่ก่อให้เกิดปัญหามากับฝ่ายนายจ้างหลายครั้ง เพราะเข้าใจว่าพนักงานที่อยู่ในช่วงทดลองงานนั้นเป็นพนักงานชั่วคราว ส่วนคำตอบจะเป็นอย่างไรนั้น ความจริงมีเพียงสิ่งเดียวววเท่านั้นนนน มาดูกัน 🤓🤓 พนักงานทดลองงานนั้นมีฐานะเป็น “ลูกจ้าง” และมีสิทธิได้ผลประโยชน์ตลอดจนความคุ้มครองตามกฏหมายนับตั้งแต่วันแรกที่เข้าทำงาน เช่นเดียวกับพนักงานประจำ เช่น 1. ระหว่างทดลองงานลูกจ้างให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง การลาป่วยตั้งแต่สามวันทำงานขึ้นไป นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์ (พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 32 )​ ข้อสังเกตุ : แต่อาการเจ็บป่วยบ่อยๆ ลูกจ้างก็ต้องรับทราบด้วยว่า อาจจะมีผลในการประเมินเรื่องสมรรถนะ ความสามารถในการปฎิบัติงานด้วย 2. ถ้าสัญญาจ้างทดลองงานไม่ได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดสัญญาไว้ แต่เป็นปลายเปิด เช่น เริ่มต้นงานวันไหน และมีช่วงทดลองงาน 119 วัน แต่ไม่ได้บอกวันสิ้นสุด เช่นนี้ ถือเป็นสัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา ถ้านายจ้างประเมินแล้วว่าความสามารถ ทัศนคติ หรือสมรรถนะของลูกจ้างไม่เหมาะกับการร่วมงาน ก็ต้องบอกล่วงหน้ากับลูกจ้างไม่น้อยกว่าหนึ่งคราวการจ่ายค่าจ้าง ไม่ใช่ว่า 119...

ลูกจ้างลาออก ลบไฟล์งานออกทั้งหมด นายจ้างฟ้องได้

ลูกจ้างลาออก ลบไฟล์งานออกทั้งหมด นายจ้างฟ้องได้ ก่อนที่จะไปข้อกฎหมายขอแสดงความเห็นส่วนตัวนะ… คือเป็นอะไรกัน เจ็บแค้นเคืองโกรธไม่อยากร่วมงานไม่อยากเห็นหน้าก็ลาออกซะแต่อย่าไปทำประเภทที่ว่าลบไฟล์ ไม่คืน Notebook คือมันไม่มีอะไรดีแถมเสี่ยงโดนฟ้องด้วย. .. เกลียดกันไม่อยากเห็นหน้ากันถ้าลาออกแล้ว ก็จบให้สง่าผ่าเผย มันดีกว่าให้คนมาด่าตามหลังแน่นอน ระบายความในใจเสร็จแล้วมาเข้าเรื่องกฎหมายต่อ… กรณีที่สิ้นสุดสภาพการจ้างโรงไม่ว่าจะด้วยการลาออกเลิกจ้างหรืออะไรก็ตามหากลูกจ้างมีทรัพย์สินที่ต้องคืนนายจ้างเช่นโทรศัพท์ Notebook ลูกจ้างก็ต้องนำไปคืนซะนั่นรวมถึงไฟล์งานต่างๆที่ได้ทำในระหว่างการทำงานที่ผ่านมาด้วย ถามว่าตรงนี้มีกฎหมายมาตราไหนระบุไว้… ไม่มีมาตราไหนระบุไว้ตรงตัวขนาดนั้นหรอกค่ะ และก็ไม่ใช่หลักการของมารยาทเพียงอย่างเดียวแต่เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ของกฎหมายโดยการอ้างคำพิพากษาที่ 546 1/2555 ที่ลูกจ้างฟ้องเรียกค่าชดเชยและสิน จ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า จากนายจ้าง และนายจ้างได้ฟ้องแย้ง เรียกค่าเสียหายจากลูกจ้าง ที่มีหน้าที่ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ โดยนายจ้างฟ้องว่า คุณลูกจ้างเนี่ย จงใจไม่ส่ง มอบงานเกี่ยวกับระบบ ไม่ยอมส่งมอบรหัสหรือ ข้อมูลเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เป็นเหตุให้ระบบคอมฯไม่อาจทำงานได้ต้องจ้างบุคคลภายนอกมาดำเนินการ เสียค่าใช้จ่ายเป็นเงิน 2.6 แสนบาทเศษ สรุปในคดีนี้ศาลก็ให้ลูกจ้างจ่ายค่าความเสียหายดังกล่าวให้แก่นายจ้างแต่เป็นจำนวนเงิน 10,000 บาท ซึ่งอยู่ดีๆศาลก็ไม่ได้ตัดสินว่า 10,000 บาทนะคะแต่ต้องพยานหลักฐานในชั้นศาลด้วยว่าแต่ละฝ่ายนำเสนออย่างไร สรุป ถ้าจะลาออกอะไรที่เป็นข้อมูลก็ส่งมอบให้เขาให้หมดจบๆกันไป ถ้า มันไม่ดีก็ให้เรียกว่า ยังมีมิตรภาพที่ดีต่อกัน อาจจะมีโอกาสวนมาร่วมงานกันใหม่ในภายภาคหน้านะ

ข้อกำหนดของประกันสังคมได้กำหนดไว้ว่า….

ข้อกำหนดของประกันสังคมได้กำหนดไว้ว่า “นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1คนขึ้นไป จะต้องขึ้นทะเบียนนายจ้าง พร้อมกับขึ้นทะเบียนลูกจ้าง เป็นผู้ประกันตนด้วยกับทาจประกันสังคม โดยต้องขึ้นทะเบียนภายใน 30 วัน นับตั้งแต่มีการจ้างงาน เมื่อมีการจ้างลูกจ้างใหม่ก็จะต้องแจ้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างใหม่ภายในกำหนด 30 วัน เช่นเดียวกันและเมื่อมีลูกจ้างลาออกไปนายจ้างก็มีหน้าที่ต้องแจ้งเอาชื่อลูกจ้างออกจากประกันสังคมด้วยเช่นเดียวกัน โดยต้องระบุสาเหตุของการออกจากงานต้องแจ้งภายใน 15 วันของเดือนถัดไป กรณีนายจ้างไม่จ่ายเงินสมทมประกันสังคมให้กับลูกจ้าง นายจ้างจะมีความผิตตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ต้องธะวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ กรณีนายจ้างจ่ายเงินสมทมประกันสังคมไม่ครบถ้วน จะต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือนของเงินสมแทนที่จ่ายขาด กรณีนายจ้างจ่ายเงินสมทบประกันสังคมล่าช้า เกินวันที่ 15 ของเดือนถัดไป นับจากเดือนที่ายเงินเดือนไห้ลูกจ้าง จะต้องจ่ายเงินเพิ่มร้อยละ 2 ต่อเดือน นับจากวันที่ครบกำหนด เช่น ค่าจ้างจวดเดือนมีนาคม นายจ้างจะต้องหักเงินสมทมและปาส่ง ประกันสังคมภายในวันที่ 15 เมชายน แต่นายจ้างจ่ายเงินสมทม ประกันสังคมในวันที่ 30 เมษายน ดังนั้นนายจ้างจะต้องจ่ายเงินเพิ่ม ร้อยละ 2 เป็นเวลา 15...