กรุณารอสักครู่

 

HomeBlog

สัญญากู้ยืมเงินติดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วน ต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน

สัญญากู้ยืมเงินติดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วน ต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน สัญญากู้ยืมเงินจะต้องติดอากรแสตมป์ 1 บาท ต่อทุกๆ 2,000 บาท จึงจะใช้อ้างเป็นพยานหลักฐานต่อศาลได้ โดยจะต้องติดอากรแสตมป์ก่อนที่จะนำสัญญากู้มาอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดี คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1626/2559 ป.รัษฎากร มาตรา 118 บัญญัติว่า “ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีกหรือสำเนาตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ที่ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้และขีดฆ่าแล้ว…” หนังสือสัญญากู้เงิน มีลักษณะเป็นตราสาร จึงต้องปิดอากรแสตมป์ให้ถูกต้องครบถ้วนตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร หนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวระบุจำนวนเงินกู้ 200,000 บาท ต้องปิดอากรแสตมป์ให้ถูกต้องครบถ้วน 100 บาท แต่โจทก์ปิดอากรแสตมป์เพียง 30 บาท จึงไม่ครบถ้วน จึงต้องห้ามมิให้รับฟังหนังสือสัญญากู้เงิน เป็นพยานหลักฐาน เท่ากับว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือตามปพพ. มาตรา 653 วรรคแรก โจทก์จึงฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ จำเลยให้การว่าไม่ได้กู้ยืมเงินและไม่ได้รับเงิน 200,000 บาทจากโจทก์ จำเลยไม่ได้ยอมรับว่าได้ทำสัญญากู้เงินกับโจทก์จริง ดังนั้น การอ้างหนังสือกู้เงินเป็นพยานหลักฐานโจทก์จึงต้องปิดอากรแสตมป์ให้ถูกต้องครบถ้วนตามป.รัษฎากร เมื่อโจทก์ปิดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วนสัญญากู้เงินดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตปิดอากรแสตมป์เพิ่มเติมให้ครบถ้วนอีก 70 บาท มาพร้อมกับฎีกานั้น การร้องขอดังกล่าวโจทก์ชอบที่จะกระทำเสียก่อนหรือในขณะที่ได้นำหนังสือกู้เงินมาอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง หรือก่อนที่ศาลชั้นต้นพิพากษา การที่โจทก์เพิ่งมาร้องขอหลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาคดีไปแล้วย่อมล่วงเลยเวลาที่จะอนุญาตให้แก้ไข

สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ ต้องติดอากรแสตมป์

สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ ต้องติดอากรแสตมป์ สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ เช่น เช่าที่ดิน เช่าสำนักงาน เช่าบ้าน ต้องติดอากรแสตมป์ โดยทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท ของค่าเช่า ต้องอากร 1 บาท และผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ให้เช่า ยกตัวอย่างเช่น สัญญาเช่ามีกำหนด 1 ปี ค่าเช่าเดือนละ 10,000 บาท รวมเป็นจำนวนเงิน 120,000 บาท ผู้ให้เช่าก็ต้องติดอากร 120 บาท หากสัญญาเช่าไม่ได้ติดอากรแสตมป์ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ คือจะฟ้องบังคับตามสัญญาเช่าก็ไม่ได้ และหากสรรพากรตรวจพบอาจจะต้องเสียเงินเพิ่มอากร 2 – 6 เท่าอีกด้วย

การนำสืบส่งหนังสือมอบอำนาจเป็นพยานหลักฐานต้องติดอากรแสตมป์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย แต่หากคู่ความนำสืบสำเนาหนังสือมอบอำนาจและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่คัดค้าน สำเนานั้นก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้

การนำสืบส่งหนังสือมอบอำนาจเป็นพยานหลักฐานต้องติดอากรแสตมป์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย แต่หากคู่ความนำสืบสำเนาหนังสือมอบอำนาจและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่คัดค้าน สำเนานั้นก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8536/2558 แต่ในกรณีที่โจทก์นำสืบส่งสำเนาหนังสือมอบอำนาจเป็นพยานต่อศาลจำเลยไม่ได้คัดค้านว่าไม่มีต้นฉบับหรือต้นฉบับปลอม หรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับ ถือว่าจำเลยยอมรับว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องกับต้นฉบับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 125 ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารเช่นว่านั้นเป็นพยานหลักฐานได้ตามมาตรา 93(4) สำเนาหนังสือมอบอำนาจจึงรับฟังเป็นพยานเอกสารได้ เมื่อปรากฎว่าเป็นการรับฟังสำเนาเอกสารเป็นพยานหลักฐานแทนต้นฉบับเอกสาร จึงหาใช่การรับฟังต้นฉบับเอกสารเป็นพยานหลักฐานอันจะต้องปิดอากรแสตมป์และขีดฆ่าอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรและสำเนาหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวก็มิใช่คู่ฉบับหรือคู่ฉีกแห่งตราสารจึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปิดอากรแสตมป์และขีดฆ่าอากรแสตมป์ด้วยเช่นกัน สำเนาหนังสือมอบอำนาจจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้

ลูกจ้างแจ้งลาป่วยผ่านไลน์กลุ่ม (ลาไม่ถูกระเบียบ) ก็ไม่ถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร นายจ้างเลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย

ลูกจ้างแจ้งลาป่วยผ่านไลน์กลุ่ม (ลาไม่ถูกระเบียบ) ก็ไม่ถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร นายจ้างเลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ 2091/2563 นายจ้างขอให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน กรณีที่ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพร้อมดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างเนื่องจากลูกจ้างประสบอุบัติเหตุลื่นล้มกระดูกสะบ้าแตก แพทย์วินิจฉัยแล้วต้องใช้เวลาพักรักษาตัว 6 – 8 สัปดาห์ ลูกจ้างจึงแจ้งลาป่วยผ่านไลน์กลุ่มแผนกที่มีผู้จัดการอยู่ในกลุ่มด้วย ต่อมาลูกจ้างแจ้งลาป่วยต่อเนื่องอีก 2 ครั้ง เนื่องจากแพทย์เห็นสมควรให้รับการรักษาต่อไปอีก โดยแจ้งการลาป่วยพร้อมส่งสำเนาใบรับรองแพทย์ไปในไลน์กลุ่มทั้ง 2 ครั้ง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการเจ็บป่วยของลูกจ้างยังมีอยู่ ถือเป็นกรณีฉุกเฉินที่ลูกจ้างยังไม่อาจไปทำงานตามปกติเพื่อเขียนใบลาป่วยตามข้อบังคับการทำงานได้ ไม่ใช่เป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร จึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

Service charge หรือค่าบริการ ที่ลูกจ้างได้รับทุกเดือนจากนายจ้าง ไม่ถือว่าเป็นค่าจ้าง

Service charge หรือค่าบริการ ที่ลูกจ้างได้รับทุกเดือนจากนายจ้าง ไม่ถือว่าเป็นค่าจ้าง เห็นข่าวแล้วก็แอบอิจฉาเบาๆ ที่พนักงานโรงแรมได้รับ Service charge จากโรงแรมคนละหลายหมื่น แต่ก็แวะมาให้ความรู้กันหน่อย ว่า Service charge นี้ไม่ถือว่าเป็นค่าจ้างนะ เพราะไม่ใช่เงินของนายจ้างที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงาน ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12292/2558 โจทก์ประกอบกิจการโรงแรม โจทก์ได้เรียกเก็บเงินค่าบริการจากลูกค้าที่มาใช้บริการของโรงแรมโจทก์ในอัตราร้อยละ 10 ของราคาห้องพัก อาหารและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในโรงแรมแล้วนำมาจัดสรรเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกร้อยละ 75 แบ่งให้ลูกจ้างประจำทุกคนจำนวนเท่ากัน ซึ่งคำนวณจ่ายตามวันที่ทำงานจริง โดยค่าบริการที่จัดสรรจะไม่ต่ำกว่าเดือนละ 2,000 บาท ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 25 จัดสรรไว้ในบัญชีกองทุนเซอร์วิสชาร์จสำรองสะสมเพื่อสำรองเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ แก่ลูกจ้าง เช่น งานเลี้ยงประจำปี การจัดสัมมนา ค่ารักษาพยาบาล ค่าเบี้ยประกันชีวิต และโบนัส โดยมีคณะกรรมการสวัสดิการเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องการจัดสรรเงินค่าบริการในแต่ละเดือน ในปี 2550 -2551มีการจ่ายค่าบริการให้แก่ลูกจ้างเกินกว่า 2,000 บาททุกเดือน โจทก์ไม่เคยนำเงินของโจทก์มาจ่ายค่าบริการให้แก่ลูกจ้างแต่อย่างใด เงินค่าบริการโดยาแท้จริงแล้วจึงเป็นเงินที่โจทก์เรียกเก็บจากลูกค้าของโจทก์เพื่อจ่ายให้แก่ลูกจ้างของโจทก์เพื่อจูงใจให้ลูกจ้างให้บริการลูกค้าด้วยดี

นายจ้างให้ความช่วยเหลือลูกจ้างที่ถูกอายัดเงินเดือนได้หรือไม่?

นายจ้างให้ความช่วยเหลือลูกจ้างที่ถูกอายัดเงินเดือนได้หรือไม่? หากฝ่าฝืนช่วยเหลือไปผลจะเป็นอย่างไร?​ เป็นอีกหนึ่งคำถามที่เหล่า HR หลายคนสงสัยและอยากจะลองเสี่ยงช่วยเหลือลูกจากที่ถูกอายัดเงินเดือน เนื่องจากสงสารลูกจ้างที่ต้องถูกหักเงินเดือนและเกรงว่าลูกจ้างจะได้รับความลำบากจนต้องลาออกจากบริษัทไป สำหรับใครที่ประสบปัญหาเหล่านี้อยู่ ทางเพจตอบได้อย่างเดียวว่า อย่าหาเรื่องใส่ตัวโดยเด็ดขาด เนื่องจากการฝ่าฝืนคำสั่งอายัดเงิน อาจทำให้นายจ้างเสี่ยงถึงขนาดต้องใช้หนี้ตามคำพิพากษาแทนลูกจ้างไปด้วย หลายคนอาจไม่เชื่อว่ามันถึงขนาดนั้นเลยหรอ? เชื่อเถอะว่ามันถึงขนาดนั้นจริงๆ ในทางปฏิบัตืเมื่อนายจ้างรับทราบคำสั่งอายัดเงินเดือนแล้ว แต่หากนายจ้างสงสารยังอยากช่วยเหลือลูกจ้างโดยชำระเงินเดือนให้แก่ลูกหนี้ไปโดยฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดี อันดับแรก นายจ้างจะไม่สามารถอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดได้ว่าตนเองได้ชำระค่าจ้างให้กับลูกหนี้ไปแล้วได้เลย รวมถึงนายจ้างยังมีหน้าที่ต้องชำระเงินตามคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีอีกด้วย เรียกว่านายจ้างอาจต้องจ่ายเงินออกทั้งสองทาง นอกจากนี้แล้วหากนายจ้างยังไม่ยอมส่งเงินตามคำสั่งอายัด เจ้าพนักงานบังคับคดีจะแจ้งให้เจ้าหนี้ทราบเพื่อให้เจ้าหนี้ยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้นายจ้างชำระหนี้ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดี เสมือนเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือชำระค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้ต่อไป เมื่อถึงวันนัด หากศาลไต่สวนแล้วข้อเท็จจริงเชื่อได้ว่า นายจ้างไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งจริง ศาลจะมีคำสั่งให้นายจ้างชำระหนี้ตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งหรือให้นายจ้างชำระค่าสินไหมทดแทนตามแต่เห็นสมควร และเมื่อศาลมีคำสั่งแล้ว ศาลจะออกคำบังคับให้นายจ้างชำระหนี้ภายในกำหนด และสุดท้ายหากศาลออกคำบังคับแล้วนายจ้างยังดื้อแพ่งไม่ทำตามอีก เจ้าหนี้จะยื่นคำขอให้ศาลบังคับเอากับบุคคลภายนอกเสมือนเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา หลังจากจากนั้นเจ้าหนี้สามารถยึดอายัดทรัพย์สินของนายจ้างได้เสมือนนายจ้างเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาเอง เช่น อายัดเงินฝากของนายจ้างในบัญชีธนาคาร เป็นต้น จะเห็นได้ว่าหากนายจ้างไม่ยอมปฏิบัติตามและดื้อแพ่งไปเรื่อยๆ นายจ้างอาจกลายเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาเหมือนกับพนักงาน รวมถึงอาจถูกบังคับคดีแทนลูกจ้างด้วย ทีนี้ลูกจ้างก็ลอยตัวเลย มีคนมาจ่ายหนี้แทนตัวเองแล้ว และหากนายจ้างอยากได้เงินคืน ก็ต้องไปฟ้องลูกหนี้แยกอีกคดีอีก วุ่นวายไปหมด ดังนั้น ได้รับคำสั่ง/หมายอะไรมา แนะนำให้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดดีกว่านะคะ ฝากถึงลูกหนี้ต่างๆ ด้วยว่า “เป็นหนี้ก็ต้องจ่าย” นะคะ เราเอาเงินเค้ามา เราก็ต้องใช้คืนให้ครบ จะได้ไม่มีปัญหานะคะ

กฎหมายกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับลูกจ้างชาวต่างชาติหรือไม่ ?

กฎหมายกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับลูกจ้างชาวต่างชาติหรือไม่ ? สำหรับบริษัทที่ต้องจ้างพนักงานต่างชาติ รู้กันหรือไม่ว่ากฎหมายได้กำหนดเงินเดือนขั้นต่ำให้กับคนกลุ่มนี้ด้วย กล่าวคือ แรงงานชาวต่างชาติ (ในทีนี้รวมถึงด่างด้าว เช่น พม่า ลาว เขมร ฯลฯ ด้วยนะคะ) แม้ว่าจะเป็นชาวต่างชาติ แต่การจ้างงานในทางแรงงาน กฎหมายแรงงานก็กำหนดค่าแรงขั้นต่ำไว้ในอัตราที่เท่ากับคนไทย คือ ประกาศค่าแรงขั้นต่ำที่เพิ่งประกาศไปเมื่อไม่นานมานี้นั่นเอง พูดง่ายๆ ก็คือ คนไทยมีค่าจ้างขั้นต่ำยังไง คนต่างชาติก็มีค่าจ้างขั้นต่ำแบบนั้น นอกจากนี้แล้วยังมีอีกหลักเกณฑ์นึงที่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบคือ สำนักตรวจคนเข้าเมืองได้กำหนดค่าจ้างขั้นต่ำเอาไว้ โดยหลักเกณฑ์นี้จะนำไปใช้ก็ต่อเมื่อ คนต่างชาติต้องการที่จะขยายระยะเวลาการอยู่ต่อเนื่องด้วยมีความจำเป็นของบริษัท ซึ่งค่าจ้างขั้นต่ำของคนต่างชาติกลุ่มนี้ ต้องมีเงินเดือนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ตามสัญชาติ ดังนี้ – ออสเตรเลีย แคนาดา ญี่ปุ่น อเมริกา ยุโรปตะวันตก 50,000 บาทต่อเดือน – ฮ่องกง, เกาหลีใต้, สิงคโปร์, ไต้หวัน 45,000 บาทต่อเดือน – ประเทศในเอเชีย (ยกเว้น ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, สิงคโปร์, ไต้หวัน, ฮ่องกง, กัมพูชา, พม่า, ลาว,...

ต่อให้ลาออกกะทันหัน เงินประกันก็ต้องคืน!!

ต่อให้ลาออกกะทันหัน เงินประกันก็ต้องคืน ประเด็นนี้มาอีกแล้วกับเรื่องของการลาออกโดยบอกล่วงหน้าไม่ครบตามที่กำหนดไว้เช่นลาออกโดยไม่ได้บอกล่วงหน้า 30 วันหรือตามแต่ที่นายจ้างจะกำหนดนายจ้างจึงขอรีบเงินประกันไว้เช่นนี้สามารถทำได้หรือไม่วันนี้มีคำตอบค่ะ ก่อนอื่นต้องอธิบายก่อนว่า เจ้าหลักประกันหรือเงินประกันความเสียหายจากการทำงานที่นายจ้างเรียกหรือรับไปจากลูกจ้างนี้ สามารถเรียกรับได้เฉพาะลูกจ้างที่เขาที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินของนายจ้างตาม ม.10 แห่งพรบ.คุ้มครองแรงงานฯ ประกอบประกาศกระทรวงแรงงานฯปี 2551ที่ให้เรียกได้ 60 เท่าของค่าจ้างเฉลี่ยต่อวัน นายจ้างจะต้องคืนให้แก่ลูกจ้างภายใน 7 วันนับแต่วันที่ลูกจ้างลาออก ประเด็นต่อมาคือการที่เขาลาออก โดยที่ไม่ได้บอกล่วงหน้าลาออกกะทันหันนายจ้างสามารถหักได้เลยหรือไม่ คำตอบคือ…หากในระหว่างทำงานเขาไม่ได้ทำให้เกิดความเสียหายอะไรเลยนายจ้างก็หักไม่ได้ แต่หากนายจ้างจะบอกว่าฉันเสียหายสิเพราะฉันจะต้องหาคนใหม่มาทำงานเนื่องจากว่าเขาลาออกแบบกระทันหันกรณีนี้นายจ้างจะต้องพิสูจน์ว่าขั้นตอนการหาคนใหม่มาทำงานดังกล่าวนั้นมันทำให้นายจ้างเสียหายโดยมีค่าใช้จ่ายเป็นอย่างไร และ ลูกจ้างจะต้อง เห็นด้วยยินยอมไม่มีข้อโต้แย้งนายจ้างจึงจะสามารถหักเงินประกันดังกล่าวได้

“ถ้าทำไม่ได้ก็ให้ลาออกไป” นายจ้างพูดแบบนี้ยังไม่ใช่เลิกจ้างไม่ไปทำงานระวังถูกไล่ออก!!

“ถ้าทำไม่ได้ก็ให้ลาออกไป” นายจ้างพูดแบบนี้ยังไม่ใช่เลิกจ้างไม่ไปทำงานระวังถูกไล่ออก!! คำถามหลังไมค์ช่วงนี้มีแต่ความใจร้อนทั้งนายจ้างและลูกจ้างในบริบทแห่งการพูดคุยกันนั้น.. ใช้แต่คำไม่สุภาพ…ฝ้ายรับไม่ได้ ( คนที่เคยเจอกันตัวเป็นๆอาจจะคิดในใจว่าแกนั่นแหละตัวไม่สุภาพเลย 5555+) เอาเป็นว่าวันนี้มาแบบสั้นๆแล้วกันประโยคเช่นว่าที่บอกว่า ” ถ้าทำไม่ได้ก็ลาออกไปซะ” กรณีนี้นายจ้างเขาไม่ได้พูดเด็ดขาดว่าเลิกจ้างแต่เขาบอกว่า “ถ้า” ซึ่งก็สามารถตีความได้ว่าถ้าเราไปพิจารณาตัวแล้วว่าทำไม่ได้ก็ออกไป ซึ่งคนใช้สิทธิ์พิจารณามันคือเราเองไง ถ้าเกิดเราพิจารณาแล้วว่าทำไม่ได้ไม่ไปมันก็คือเขาไม่ได้เลิกจ้างไม่มีสิทธิ์ได้ค่าชดเชย… ทนายคิดไปเองหรือเปล่าตีความเองหรือเปล่าไม่จ้า เรื่องเดียวที่คิดไปเองคือเรื่องที่คิดว่าเขารักฉัน ส่วนข้อกฎหมายฉันไม่ชอบคิดไปเองฉันจะมีตัวบทและฎีการองรับเสมอซึ่งหากใครสงสัยในเรื่องนี้ เชิญไปดูฎีกาที่ 1758- 1759/2556

ข้อตกลง/ข้อสัญญาให้ระงับการดำเนินคดีหรือถอนฟ้องคดีอาญาแผ่นดิน เป็นข้อตกลงที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 จึงตกเป็นโมฆะ

ข้อตกลง/ข้อสัญญาให้ระงับการดำเนินคดีหรือถอนฟ้องคดีอาญาแผ่นดิน เป็นข้อตกลงที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 จึงตกเป็นโมฆะ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4351/2548 บันทึกข้อตกลงประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ทั้งสามและจำเลยกับ ว. ที่ให้โจทก์ทั้งสามถอนฟ้องคดีอาญาที่ยื่นฟ้องจำเลยกับ ว. ไว้ให้โจทก์ทั้งสามถอนฟ้องคดีอาญาที่ยื่นฟ้องจำเลยกับ ว. ไว้ในข้อหาปลอมเอกสารสิทธิ ใช้เอกสารสิทธิ ใช้เอกสารสิทธิปลอมซึ่งเป็นคดีอาญาแผ่นดินไม่ใช่คดีความผิดอันยอมความได้ เป็นข้อตกลงที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 150