กรุณารอสักครู่

 

HomeBlog

ลูกจ้าง “ประมาทเลินเล่อ” เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย “ร้ายแรง” นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

ลูกจ้าง “ประมาทเลินเล่อ” เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย “ร้ายแรง” นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย เพราะมีคำว่าประมาทเลินเล่อเข้ามาเกี่ยวข้องก็เป็นข้อน่าพิจารณาอีกว่าแบบไหนเรียกว่า”ประมาท” ได้บ้าง ประมาทนี้ก็คือการกระทำไปโดยที่ “ไม่ได้มีเจตนา” ที่จะให้นายจ้างได้รับความเสียหายแต่ก็ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังหรือความละเอียดรอบคอบให้เพียงพอในภาวะวิสัยและพฤติการณ์ในตำแหน่งหน้าที่ของตนเองที่ควรจะใช้ความระมัดระวังนั้นได้ ยกตัวอย่าง ที่เป็นการประมาทเลินเล่อทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายร้ายแรงเช่น ลูกจ้างได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ปิดเปิดตู้เก็บเงินรักษาเงินสดโดยนายจ้างได้มอบกุญแจลิ้นชักไว้ให้แก่ลูกจ้างแต่ลูกจ้างหลงลืมกุญแจไว้บนโต๊ะทำงานทำให้คนอื่นเอากุญแจไปใช้และขโมยเงินของนายจ้างไป (เทียบเคียงกับคำพิพากษาฎีกาที่ 5603/2546) ยังไงก็ตามตามที่ทำเครื่องหมายฟันหนู (อัญประกาศ) ไว้ในหัวข้อว่าการจะเลิกจ้างได้โดยไม่จ่ายค่าชดเชยนั้นต้องเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง + นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงด้วย….นั่นก็หมายถึงว่า การประมาทเลินเลอนั้นต้องมีผลให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงนายจ้างถึงจะมีสิทธิ์เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ซึ่งถ้าเป็นเพียงความประมาทเลินเล่อแต่นายจ้างเสียหายเพียงเล็กน้อยในกรณีเช่นนี้นายจ้างจะเลิกจ้างก็อาจจะยังต้องจ่ายค่าชดเชย กรณีไหนบ้างที่ไม่ถือว่าร้ายแรงยกตัวอย่างเช่นลูกจ้างทำหน้าที่ขับรถให้กับผู้บริหารขับรถด้วยความประมาทไปเฉี่ยวชนรถต้องเสียค่าซ่อมประมาณ 60,000 บาท แต่รถดังกล่าวมีสัญญาประกันภัย จึงอาจถือได้ว่าลูกจ้างประมาทเลินเล่อ แต่นายจ้างไม่ได้รับความเสียหายร้ายแรง เลิกจ้างนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย (เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 2132/2545) สรุปก็คือจะพิจารณาว่าลูกจ้าง ประมาทเลินเล่อ จนเลิกจ้าง แบบไม่จ่ายค่าชดเชยได้หรือไม่นั้นก็ต้องเข้าองค์ประกอบว่า ต้องเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง + นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงด้วย ลองนำไปพิจารณาดู ถึงหลักเกณฑ์ดังกล่าวนะคะ… ถามทนายทีละประเด็นทนายก็ไม่ทราบเหมือนกันค่ะทนายไม่ใช่ศาลลูกจ้าง “ประมาทเลินเล่อ” เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย “ร้ายแรง” นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย เพราะมีคำว่าประมาทเลินเล่อเข้ามาเกี่ยวข้องก็เป็นข้อน่าพิจารณาอีกว่าแบบไหนเรียกว่า”ประมาท” ได้บ้าง ประมาทนี้ก็คือการกระทำไปโดยที่ “ไม่ได้มีเจตนา” ที่จะให้นายจ้างได้รับความเสียหายแต่ก็ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังหรือความละเอียดรอบคอบให้เพียงพอในภาวะวิสัยและพฤติการณ์ในตำแหน่งหน้าที่ของตนเองที่ควรจะใช้ความระมัดระวังนั้นได้ ยกตัวอย่าง ที่เป็นการประมาทเลินเล่อทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายร้ายแรง เช่น ลูกจ้างได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ปิดเปิดตู้เก็บเงินรักษาเงินสดโดยนายจ้างได้มอบกุญแจลิ้นชักไว้ให้แก่ลูกจ้างแต่ลูกจ้างหลงลืมกุญแจไว้บนโต๊ะทำงานทำให้คนอื่นเอากุญแจไปใช้และขโมยเงินของนายจ้างไป (เทียบเคียงกับคำพิพากษาฎีกาที่...

ฝ่าฝืนระเบียบอะไรบ้าง ? ที่ไม่ถือว่าเป็นการร้ายแรง… ต้องตักเตือนก่อน จึงเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย

ฝ่าฝืนระเบียบอะไรบ้าง ? ที่ไม่ถือว่าเป็นการร้ายแรง… ต้องตักเตือนก่อน จึงเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย หลายครั้งที่มีคนสอบถามเข้ามาว่าพฤติกรรมอย่างไรจึงถือว่าร้ายแรงและไม่ร้ายแรง ถ้าให้ตอบตรงๆก็คือ ต้องมานั่งคุยกันก่อนขอทราบตั้งแต่ ข้อเท็จจริง ระเบียบข้อบังคับของบริษัทผลกระทบ ความเสียหายของนายจ้างหรือบุคลากรรายอื่นๆหรือแม้แต่ชื่อเสียงของนายจ้างก็เกี่ยวข้องด้วยทั้งหมด แต่เคยอธิบายแบบนี้แล้วก็ปรากฏว่าเกิดความไม่พอใจ ว่าตอบแบยทนายนี่หน่า ไม่ชัดเจนเลย โว้ยยแก…ก็มันเกี่ยวข้องอ่ะ ฟังแกพิมพ์มา สี่บรรทัดจะให้ตอบเลยแบบฟันธง ก็คงเกินไป..ศาลยังต้องนัดสืบและฟังพยานหลักฐานคู่ความทั้งสองฝ่าย ฉันเป็นใครก่อน อ่านสี่บรรทัดให้ฟันธง..เดี๋ยวเหอะ!! เพื่อให้เป็นแนวทาง และหยุดวีน วันนี้จึงได้รวบรวม ตัวอย่างการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่ไม่ถือเป็นการร้ายแรงและต้องตักเตือนก่อนโดยรวบรวมมาจากหนังสือของอาจารย์พงษ์รัตน์ เครือกลิ่น ลองอ่านกันนะ ลูกจ้างขาดประสิทธิภาพในการทำงานหรือมีผลการทำงานที่แย่ไม่ถือเป็นการผิดข้อบังคับร้ายแรงอ้างอิงทำพิพากษามีการที่ 4490/2529 ลูกจ้างมาทำงานสายไม่ถือว่าฝ่าฝืนข้อบังคับกรณีร้ายแรงเขาพิพากษาศาลฎีกาที่ 3265/2528 ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ไปกินข้าวเวลา 15 นาทีโดยไม่ปรากฏว่าเกิดความเสียหายแก่นายจ้างไม่ถือว่าเป็นความผิดร้ายแรงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1680/25 2525 ลูกจ้างออกจากสำนักงานไปสอนหนังสือน้อยครั้งครั้งละ 2 ชั่วโมงไม่เป็นความผิดร้ายแรงตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 140/2529 ลูกจ้างออกนอกโรงงานไปทำธุระส่วนตัวโดยไม่ได้ขออนุญาตจากผู้บังคับบัญชาประมาณ 1 ชั่วโมงไม่ถือว่าเป็นความผิดร้ายแรงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3900/2529 จากแนวฎีกาหลายๆอันที่ยกตัวอย่างไปก็จะเห็นได้ว่า ความผิดที่ลูกจ้างได้ทำนั้นไม่ได้ส่งผลกระทบกับนายจ้างอย่างร้ายแรงแต่อย่างใด จึงไม่อาจถือว่าเป็นความผิดอะไรแรงที่นายจ้างสามารถเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยนายจ้างจึงจำเป็นจะต้องออกหนังสือเตือนให้ครบถ้วนตามองค์ประกอบของกฎหมายเสียก่อน แต่ยังไงก็ตามอย่างที่เคยเน้นย้ำไปว่าแนวฎีกาแต่ละฎีกาก็อาจจะมีข้อเท็จจริงแตกต่างกันเช่นสมมุติว่าลูกจ้างแอบออกไปนอกสำนักงานเพียงแค่ 15 นาทีแนวฎีกาอาจจะมองว่าไม่ใช่เรื่องร้ายแรงแต่หาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นคือ 15 นาทีนั้นทำให้การผลิตชิ้นงานเสียหายแก่นายจ้างเป็นอย่างมากกรณีนี้ก็ถือว่าเป็นการร้ายแรง ดังนั้นถึงต้องบอกว่าดูเป็นพฤติกรรมในแต่ละเรื่องและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับนายจ้างด้วย ฝากไว้ให้คิดดดด

บุคคลภายนอกที่มิใช่คู่ความ แต่สมัครใจเข้ามาในคดีโดยตกลงร่วมรับผิดกับลูกหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล ก็ถูกบังคับคดีได้

บุคคลภายนอกที่มิใช่คู่ความ แต่สมัครใจเข้ามาในคดีโดยตกลงร่วมรับผิดกับลูกหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล ก็ถูกบังคับคดีได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3787/2564 แม้ ส. เป็นบุคคลภายนอกมิใช่คู่ความในคดีที่ถูกฟ้องแต่แรก แต่ ส. ยินยอมเข้ามาในคดีโดยตกลงยอมรับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความอย่างลูกหนี้ร่วมและได้ลงลายมือชื่อผูกพันตนว่าจะชำระหนี้แก่โจทก์ในสัญญาประนีประนอมยอมความด้วย เมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 274 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2560 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน 2560 และโจทก์ยื่นคำขอออกหมายบังคับคดีภายหลังจากมาตรา 274 ที่แก้ไขใหม่ มีผลใช้บังคับแล้ว การบังคับคดีของโจทก์จึงตกอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 274 วรรคหนึ่งที่แก้ไขใหม่ สัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมที่ ส. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกยินยอมเข้ามาผูกพันตนว่าจะชำระหนี้แก่โจทก์ร่วมรับผิดกับจำเลยมีผลผูกพัน ส. ในฐานะเป็นบุคคลที่ศาลมีคำพิพากษาให้ชำระหนี้หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาให้ต้องปฏิบัติตาม เมื่อ ส. ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอม โจทก์มีสิทธิขอให้บังคับคดี ส. ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 274 วรรคหนึ่งที่แก้ไขใหม่

ตัวแทนขายสินค้า ถือว่าเป็นผู้ครอบครองสินค้าหรือเงินค่าสินค้า หากเบียดบังสินค้าหรือเงินไป จะมีความผิดอาญาฐานยักยอกทรัพย์

ตัวแทนขายสินค้า ถือว่าเป็นผู้ครอบครองสินค้าหรือเงินค่าสินค้า หากเบียดบังสินค้าหรือเงินไป จะมีความผิดอาญาฐานยักยอกทรัพย์ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 445/2536 ส. ภรรยาจำเลยมีหน้าที่จำหน่ายสินค้าและรับเงินค่าสินค้าของโจทก์ร่วม ได้รับเงินสดค่าสินค้าจากลูกค้าของโจทก์ร่วมไว้แล้วไม่นำเงินสดที่รับไว้ส่งมอบให้แก่แคชเชียร์ แต่เบียดบังเอาเงินสดนั้นไปเป็นของตนเองหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต จึงเป็นการยักยอกทรัพย์ของโจทก์ร่วม บัญชีกระแสรายวันของจำเลยมีรายการหมุนเวียนทางการเงินมากการนำเงินเข้าฝากและถอนเงินจากบัญชีแต่ละรายการมีจำนวนมากกว่ารายได้ตามปกติของจำเลยและส.ส.นำเงินฝากเข้าบัญชีจำเลยช่วงระยะเวลาเดียวกับที่ ส.ยักยอกเงินของโจทก์ร่วมและเมื่อส.นำเงินเข้าฝากแล้ว จำเลยได้ออกเช็คสั่งจ่ายเงินจากบัญชีใกล้เคียงกับจำนวนเงินที่ ส. นำเข้าฝาก การถอนเงินโดยสั่งจ่ายเช็คบางฉบับจำเลยก็สั่งจ่ายเพื่อชำระค่าที่ดินพร้อมตึกแถวที่จำเลยกับ ส. ไปติดต่อซื้อด้วยกัน โดยที่ดินพร้อมตึกแถวดังกล่าว มีราคาสูงเกินกว่าฐานะและรายได้ตามปกติของจำเลยกับ ส.ที่จะซื้อได้ พฤติการณ์ถือได้ว่าจำเลยได้รับเอาเงินฝากนั้นไว้ทุกคราวที่ ส.นำเข้าฝากโดยจำเลยรู้ว่าส. ได้เงินนั้นมาจากการยักยอกโจทก์ร่วม จำเลยจึงมีความผิดฐานรับของโจร ส. นำเงินเข้าฝากในบัญชีของจำเลยต่างวันเวลากัน จำเลยจึงมีความผิดหลายกรรมต่างกัน ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏชัดว่าการบังคับคดี ส. ได้เงินมาชำระหนี้ให้โจทก์ร่วมเท่าใด ครบถ้วนแล้วหรือไม่ จะฟังว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ร่วมหาได้ไม่และหากโจทก์ร่วมบังคับคดี ส.แล้วจะบังคับคดีจำเลยได้อีกเพียงใดนั้นเป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี

ขอเงินสามีมาซื้อที่ดิน แต่ตั๋วว่าซื้อที่ดินเอง …ถ้าแสดงแหล่งที่มาของเงินไม่ได้ ที่ดินนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ร่วม

ขอเงินสามีมาซื้อที่ดิน แต่ตั๋วว่าซื้อที่ดินเอง …ถ้าแสดงแหล่งที่มาของเงินไม่ได้ ที่ดินนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ร่วม คู่สมรสชาวไทยซื้อที่ดินและเปิดเผยข้อมูลอันเป็นเท็จว่าเธอนั้นมีสถานะโสด ไม่ได้เปิดเผยว่าเธอสมรสกับชาวต่างชาติ ดังนั้นเนื่องจากคู่สมรสชาวไทยไม่สามารถยืนยันได้ว่ามีแหล่งที่มาของเงินทุนที่ใช้ในการซื้อที่ดิน (ในระหว่างการสมรส) เป็นสินส่วนตัวจึงได้รับการสันนิษฐานตามกฎหมายว่าเงินนั้นเป็นสินสมรสตามมาตรา 1474 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และหากเงินนั้นถูกพิจารณาว่าเป็นสินสมรส คู่สมรสชาวต่างชาติจะมีสถานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน คู่สมรสชาวต่างชาติได้มาซึ่งที่ดินโดยการละเมิดมาตรา 86 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน และอาจได้รับโทษตามมาตรา 111 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน คู่สมรสชาวไทยที่ถือครองที่ดินในฐานะตัวแทนของชาวต่างชาติโดยฝ่าฝืนมาตรา 96 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน และอาจได้รับโทษตามมาตรา 111 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน นอกจากนั้นคู่สมรสชาวไทยยังมีความผิดในฐานแจ้งข้อมูลเท็จแก่พนักงานเจ้าหน้าที่และเป็นเหตุให้ทางเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการตามมาตรา 137 และ 267 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ที่ดินต้องถูกจำหน่ายจ่ายโอนภายในระยะเวลาที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนดตามมาตรา 94 และ 96 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน

คลอดแล้วทิ้ง ศาลถอนอำนาจปกครองได้

คลอดแล้วทิ้ง ศาลถอนอำนาจปกครองได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4323/2540 ในการถอนอำนาจปกครองนั้น กฎหมายให้อำนาจศาลถอนเสียได้โดยลำพังโดยไม่ต้องให้ผู้ใดร้องขอก็ได้ หากมีเหตุตามบทบัญญัติแห่งป.พ.พ.มาตรา 1582 วรรคหนึ่ง ดังนั้น แม้ในขณะผู้ร้องยื่นคำร้องผู้ร้องยังมิได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้เยาว์ก็ตาม แต่เมื่อความปรากฏต่อศาลว่ามารดาของผู้เยาว์ย้ายไปอยู่ที่อื่นและสมรสใหม่ตั้งแต่ผู้เยาว์อายุได้เพียงปีเศษและไม่เคยกลับมาดูแลผู้เยาว์อีกเลย กรณีจึงเป็นการที่มารดาผู้เยาว์ใช้อำนาจปกครองแก่ตัวผู้เยาว์โดยมิชอบ ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาถอนอำนาจปกครองจากมารดาผู้เยาว์ และเมื่อปรากฏว่าผู้เยาว์อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้ร้องมาโดยตลอดการให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ย่อมเหมาะสมกว่า ติดต่องาน info@legalclinic.co.th

นิติกรรมที่ลูกหนี้กระทำต่อบุคคลภายนอกภายหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายแล้ว ตกเป็นโมฆะ แม้บุคคลภายนอกสุจริตและเสียค่าตอบแทน

นิติกรรมที่ลูกหนี้กระทำต่อบุคคลภายนอกภายหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายแล้ว ตกเป็นโมฆะ แม้บุคคลภายนอกสุจริตและเสียค่าตอบแทน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5677/2560 ลูกหนี้ที่ 2 จดทะเบียนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 และได้ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 ภายหลังจากที่ลูกหนี้ที่ 2 ถูกศาลพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว โดยไม่ปรากฏว่าลูกหนี้ที่ 2 กระทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้จัดการทรัพย์หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ การจดทะเบียนโอนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทย่อมเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 , 24 และเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายตกเป็นโมฆะ ตามป.พ.พ.มาตรา 150 แม้จะมีการทำนิติกรรมนั้นโดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและได้จดทะเบียนโดยสุจริตก็ตาม ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ก็ไม่อาจยกความสุจริตและเสียค่าตอบแทนขึ้นอ้างเพื่อให้มีผลลบล้างบทกฎหมายได้

สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งเกิน 1 ปี อีกฝ่ายหนึ่งยกขึ้นเป็นเหตุ “ฟ้องหย่าได้”

สามีหรือภริยา  จงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งเกิน 1 ปี  อีกฝ่ายหนึ่งยกขึ้นเป็นเหตุ “ฟ้องหย่าได้” แต่ต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่าการทิ้งร้างต้องเกิดจากความจงใจในลักษณะที่ไม่หวนกลับไปหาคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง โดยไม่ประสงค์จะอยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยาอีกต่อไป คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4404/2558 การทิ้งร้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (4) นั้น จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่าคู่ความนั้นจงใจทิ้งร้างไปในลักษณะที่ไม่หวนกลับไปหาคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งโดยไม่ประสงค์ที่จะอยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยาอีกต่อไป เป็นเวลาติดต่อกันเกินกว่าหนึ่งปี จำเลยออกไปจากบ้านตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2555 แต่จำเลยกลับมาพักอยู่กับโจทก์ระหว่างวันที่ 11-15 กันยายน 2555 อีกจึงยังไม่เกินกว่ากำหนดเวลา 1 ปี และย่อมแสดงว่าจำเลยยังประสงค์จะอยู่กินกับโจทก์ต่อไป แต่โจทก์เป็นฝ่ายเปลี่ยนกุญแจบ้านไม่ให้จำเลยเข้าไปอยู่ในบ้านและไม่ยอมพูดคุยกับจำเลยเพื่อปรับความเข้าใจ ในขณะที่จำเลยยอมโทรศัพท์ขอโทษมารดาโจทก์ และยอมรับผิดกับมารดาโจทก์ มารดาจำเลยก็ไม่ต้องการให้โจทก์จำเลยหย่ากัน โดยนัดโจทก์และมารดาโจทก์มาพูดคุย แต่มารดาโจทก์ก็ไม่ยอมช่วยและบอกว่าโจทก์กับจำเลยต้องแยกกันอยู่ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยยังมีเยื่อใยต่อโจทก์ ต้องการอยู่กับโจทก์ต่อไป จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์หรือกระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้างแรงอันจะเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่าได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (4) และ (6)

เข้า..มาตอกบัตรแล้วหาย!! กลับมาอีกครั้งมาตอกบัตรเลิกงานเลิกจ้างได้ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย!!

เข้า..มาตอกบัตรแล้วหาย!! กลับมาอีกครั้งมาตอกบัตรเลิกงานเลิกจ้างได้ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย!! ในกรณีนี้มีเพื่อนๆH ถามเข้ามาว่าถ้าเกิดลูกจ้างเข้ามาตอกบัตรแล้วหายไปแต่ปรากฏว่าหายไปเพียงแค่ครึ่งวันตอนบ่ายแล้วกลับมาอีกครั้งตอนตอกบัตรเลิกงานเช่นนี้สามารถเลิกจ้างได้เลยหรือไม่?? ถ้าเป็นกรณีดังกล่าวถ้าปรากฏว่าลูกจ้างขอออกไปโดยไม่ได้ขออนุญาตไม่ได้มีเหตุจำเป็นเร่งด่วนฉุกเฉินอันสมควร แต่กลับออกไปและกลับมาตอกบัตรอีกครั้งเพื่อลงเวลาออกงานก็จะถือได้ว่าลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ แล้วมากไปกว่านั้นหาข้อบังคับของนายจ้างหรือในสัญญาจ้างได้กำหนดเรื่องเบี้ยขยันไว้สำหรับให้ลูกจ้างที่ไม่ขาดงานอยู่ครบชั่วโมงการทำงานแต่ลูกจ้างรายดังกล่าวยังคงทำพฤติกรรมเช่นว่าอีกก็อาจถือได้ว่าการกระทำของลูกจ้างดังกล่าวเป็นการทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรงนายจ้างจึงเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย (อ้างอิง ฎีกา 3438/2526) เพื่อน HR ท่านใดที่ประสบปัญหาแบบนี้อยู่ลองเรียกลูกจ้างมาสอบสวนก่อนนะคะว่าออกไปทำอะไรจะได้เข้าใจกันทั้งสองฝ่ายหากผิดก็ลงโทษไปตามระเบียบค่ะ

ลูกจ้างลาออกกะทันหัน นายจ้างจะอายัดเงินเดือนไว้ ไม่จ่ายค่าจ้างได้หรือไม่ ?

ลูกจ้างลาออกกะทันหัน นายจ้างจะอายัดเงินเดือนไว้ ไม่จ่ายค่าจ้างได้หรือไม่ ? ตามกฎหมาย การแสดงเจตนาลาออกของลูกจ้างไม่ว่าด้วยวิธีใดก็ตาม แจ้งทางโทรศัพท์ ส่งอีเมล์ ส่งไลน์ ก็มีผลทำให้สัญญาจ้างแรงงานเป็นอันสิ้นสุดลง โดยที่ไม่จำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากนายจ้าง และ “นายจ้างไม่มีสิทธิอายัดเงินเดือนลูกจ้าง หรืออ้างว่าจะไม่เงินจ่ายเงินเดือนเพราะการลาออกกะทันหันของลูกจ้างทำให้นายจ้างเสียหายไม่ได้” นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้ถูกต้องและตามกำหนดเวลา ถ้ากำหนดเป็นรายเดือน นายจ้างก็ต้องจ่ายเงินตามงวดที่กำหนด หรือถ้าตกลงกันเป็นอย่างอื่นได้ก็ต้องประโยชน์ต่อลูกจ้าง หากไม่จ่ายนายจ้างมีโทษสูงสุด คุก 6 เดือน ปรับ 1 แสนบาท ทั้งนี้ นายจ้างก็มีสิทธิได้รับเงินจากลูกจ้างกรณีลูกจ้างลาออกโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า หรือลาออกโดยไม่เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของบริษัทเช่นกัน ถามว่าได้เงินได้อย่างไร ก็คือลูกจ้างอาจจะถูกนายจ้างฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้ แต่นายจ้างจะต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่าการลาออกของลูกจ้างดังกล่าวนั้น นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างไร สรุปก็คือ ต่อให้ลูกจ้างจะลาออกกะทันหัน ลาออกผิดระเบียบ ลาออกไม่บอก หรืออะไรก็ตามแต่ ยังไงลูกจ้างก็ต้องได้เงินเดือน นายจ้างไม่มีสิทธิทึกทักว่าบริษัทตัวเองเสียหายและอายัดเงินเดือนลูกจ้างเอง ถ้าหากนายจ้างต้องการเงินค่าเสียหายต้องไปยื่นฟ้องร้องลูกจ้างให้ศาลเป็นผู้ตัดสินเท่านั้น จะยึดเงินเอง หักเงินเองไม่ได้ ————-