กรุณารอสักครู่

 

HomeBlog

ผู้ประกอบกิจการตาม (ม.11/1) ส่งลูกจ้างรับเหมาค่าแรงคืนนายจ้างโดยตรง ไม่เป็นการเลิกจ้าง

ผู้ประกอบกิจการตาม (ม.11/1) ส่งลูกจ้างรับเหมาค่าแรงคืนนายจ้างโดยตรง ไม่เป็นการเลิกจ้าง การที่นายจ้างผู้ประกอบกิจการซึ่งเป็นนายจ้างตาม ม.11/ 1 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ส่งลูกจ้างรับเหมาค่าแรงคืนนายจ้างตามสัญญาจ้างบริการ ไม่ถือว่านายจ้างผู้ประกอบการกิจการเลิกจ้างเพราะเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาว่าจ้าง ระหว่างผู้ประกอบกิจการกับนายจ้างรับเหมาค่าแรง ศาลฎีกาก็ตัดสินไว้ในหลายคดี เช่นในฎีกาที่ 4599/2561 ,4600/2561 เป็นต้น เมื่อมิใช่การเลิกจ้างของนายจ้างผู้ประกอบกิจการ จึงเป็นหน้าที่ของนายจ้างโดยตรงของลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่จะต้องหางานให้ลูกจ้างตนเองทำต่อไป และจ่ายค่าจ้างให้ตลอดระยะเวลาที่ลูกจ้างพร้อมที่จะทำงาน ตราบใดที่นายจ้างตรงไม่มีงานให้ลูกจ้างทำ แต่ตราบนั่นยังคงจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้าง แม้ไม่ได้งานให้ลูกจ้างทำ ก็ยังไม่ถือว่า นายจ้างโดยตรงได้เลิกจ้างลูกจ้างรับเหมาค่าแรง ตามนิยาม ม.118 พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ แต่ถ้าหากนายจ้างไม่มีงานให้ลูกจ้างทำ และไม่จ่ายค่าจ้าง ก็ถือว่านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างตาม ม.118 พรบ.คุ้มครองแรงงานฯและเมื่อการเลิกจ้างด้วยเหตุดังกล่าว มิใช่กรณีลูกจ้างทำผิดตาม ม.119 และลูกจ้างมีอายุงาน 120 วันขึ้นไป ย่อมมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามอัตรา ตาม ม. 118 พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ ฉะนั้น เมื่อนายจ้างผู้ประกอบกิจการตาม ม.11/1 ส่งตัวลูกจ้างกลับคืนนายจ้างโดยตรงแล้ว ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงจึงไม่ต้องกลับไปทำงานกับนายจ้างผู้ประกอบกิจการตาม ม.11/1 อีก แต่ต้องสอบถามนายจ้างโดยตรงของเราว่า มีงานอะไรให้เราทำหรือไม่ หากไม่มีงานให้ทำ ไม่จ่ายค่าจ้าง ไม่จ่ายค่าชดเชยและหายเงียบไปเฉยๆ...

ไม่เลิกจ้าง แต่ไม่มีงานให้ทำ บอกให้ไปนอนรองานอยู่บ้านก่อน แบบนี้ถือว่าเลิกจ้าง!!

ไม่เลิกจ้าง แต่ไม่มีงานให้ทำ บอกให้ไปนอนรองานอยู่บ้านก่อน แบบนี้ถือว่าเลิกจ้าง!! เรื่องบางเรื่องแม้ไม่พูด คำตอบก็อาจชัดเจนได้จากพฤติกรรม ก็เหมือนความรักนั่นแหละ ไม่พูดว่ารัก แต่ก็มีวิธีการแสดงออกหลายอย่างให้รู้ แต่ไม่ว่ายังไงก็ตาม การรับรู้ของคนแตกต่างกัน พูดบ้างก็ดี อย่าวให้คิดเอง เพราะนี่เป็นคนคิดมาก ทั้งบวกมากลับมาก เอ๊ะ ..เข้าเรื่องนี้ได้ไงยังก่อนพี่ทนายยยย กลับมาเข้าเรื่องก่อน เดี๋ยวไกลไปกว่านี้ เรื่องของเรื่องวันนี้คือ ไม่เลิกจ้าง แต่ไม่มีงานให้ทำ บอกให้ไปนอนรองานอยู่บ้านก่อน แบบนี้เลิกจ้รางหรือยัง ไม่บอกตรงๆแต่ทำแบบนี้ ไม่เข้าใจ หรืออาจจะเข้าใจไม่ตรงกัน ในเรื่องนี้ เคยมีคดีแบบเดียวกันเลยในปี 62 ในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7393/2562 ว่า นายจ้าง แสดงพฤติกรรมแนวๆเดียวกันนั้นและศาลตัดสินว่า พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นพฤติการณ์เลิกจ้าง !! “พฤติการณ์เลิกจ้าง” โดยพฤติการณ์ในคดีนี้คือ หลังสิ้นสุดการทำงานโครงการ บริษัทแจ้งลูกจ้างว่าไม่ต้องเข้ามาทำงานอีกและให้แต่ละคนกลับไปทำงานที่บ้านพร้อมคืนอุปกรณ์สิ่งของทั้งหมด และตัดลูกจ้างออกจากระบบข่าวสารทางอีเมลของบริษัทด้วย ต่อมา เมื่อถึงครบกำหนดวันจ่ายค่าจ้างบริษัทก็ไม่จ่ายค่าจ้างให้ “ในกรณีที่ไม่ให้งานและไม่ให้เงินเช่นนี้ก็ถือว่าเป็นการเลิกจ้างแล้ว” ไม่ต้องบอกชัดเจนแต่ก็ชัดแจ้งด้วยพฤติกรรม แต่อย่างที่เคยบอกไปว่าเวลาอ่านฎีกาเพื่อนำมาอ้างอิงกับเคสเราเอง อยากให้ลองอ่านฎีกาเต็ม และทำความเข้าใจก็ อย่าไปอ่านฎีกาโดยย่อเท่านั้น อาจเข้าใจผิดได้ ที่ให้ลองไปอ่านฎีกายาวดูเพราะฎีกานี้ในทางนำสืบ ทางลูกจ้างก็นำสืบได้ว่า ลูกจ้างยังคงรอการทำงานที่บ้านตามคำสั่งของบริษัท แต่ไม่ปรากฏว่าบริษัทไปประมูลงานใหม่มาเลย...

ต้องการจ้างลูกจ้างซึ่งมีอายุเกิน 60 ปี ยังสามารถทำได้ไหม ?

ต้องการจ้างลูกจ้างซึ่งมีอายุเกิน 60 ปี ยังสามารถทำได้ไหม ? ทำได้สิ ทำไมจะไม่ได้ แก่แต่กายใจยังสดชื่น เหมือนคนแถวนี้ จะเลขสี่แล้วก็ยังฝดใฝ 5555+ อ่ะ สาระดีกว่า กรณีนี้ มีเพื่อน HR ท่านนึง ไปพบผู้สมัครรายนึงที่อายุ 60 ปีแล้ว แค่คุณสมบัติตรงกับที่หาอยู่ เลยสอบถามว่า มีแนวปฏิบัติในการจ้างพนักงานอานยุเกิน 60 อย่างไร? ยังจ้างแบบจ้างแรงงานได้ไหม ? หรือต้องจ้างแบบที่ปรึกษา ? ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า สัญญาจ้างแรงงานเป็นสัญญาที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ในลักษณะที่เป็นปัจเจกชน ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานหลักเสรีภาพในการทำสัญญา ตราบเท่าที่ไม่ขัดกับความสงบเรียบร้อย ดังนั้น นายจ้างกับลูกจ้าง จึงสามารถทำความตกลงในสัญญาจ้างเกี่ยวกับเงื่อนไขการจ้าง การทำงาน ระยะเวลาการจ้าง การเกษียณอายุ รวมถึงการระงับของสัญญาจ้างแรงงานได้ โดยความตกลงนั้นต้องไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ดังนั้น เมื่อพรบ. คุ้มครองแรงงานไม่ได้มีบทบัญญัติห้ามในเรื่องกำหนดเงื่อนไขการเกษียณอายุไว้ จะรับมาเป็นพนักงานประจำก็ได้ หรือในทางกลับกันจะเป็นที่ปรึกษาก็ได้ ซึ่งความเห็นเรามันไม่เกี่ยวกัยอายุ แต่เกี่ยวกับลักษณะงานมากกว่า ต้องดูลักษฌะงาน ตำแหน่งงานก่อนว่า เหมาะสมกับการจ้างประเภทใด แบบนั้นจะเป็นประโยชน์ กับทั้งสองฝ่ายมากที่สุดฮะ

ลาคลอดได้กี่วัน นับยังไง ?

ลาคลอดได้กี่วัน นับยังไง ? 1. ลาคลอดได้ 98 วัน ซึ่งในระยะเวลา 98 วันของการลาคลอดนี้ จะนับรวมการลาเพื่อไปตรวจครรภ์ก่อนคลอดบุตรด้วย เป็นการลาเพื่อคลอดบุตร 90 วัน และลาเพื่อไปตรวจครรภ์เดือนละครั้ง รวม 8 วัน ทั้งหมดเป็น 98 วัน เพราะฉะนั้น หากต้องการลาไปตรวจครรภ์ เดือนละครั้ง ก็สามารถใช้สิทธิวันลาคลอดได้เลย (ไม่ใช่สิทธิลาป่วย เพราะกาตั้งท้องไม่ใช่โรค) 2. หากลูกจ้าง/พนักงาน ตกลงกับทางบริษัทกันได้แล้วว่าจะเริ่มลาคลอด วันแรกในวันไหน สิทธิวันลาคลอดนั้นก็จะนับรวดเดียวจากวันนั้นๆ ยาวไปเลยจนครบ 90 วัน 3. ลาคลอดนับรวมวันหยุด โดย มาตรา 41 แห่ง พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ กำหนดให้นับรวมวันหยุดในระหว่างวันลาคลอดนั้นด้วย ดังนั้น หากมีวันหยุดทั้ง 3 กรณี คือ วันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี และวันหยุดพักผ่อนประจำปี ระหว่างวันลาเพื่อการคลอดบุตรต้องนับรวมเข้าไปในวันลาคลอด 98 วันด้วย ดังนั้น...

แก้ไขข้อบังคับ ไม่ต้องส่งไปที่ กรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน

แก้ไขข้อบังคับ ไม่ต้องส่งไปที่ กรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน มีเพื่อนๆสอบถามมาทาง inbox ว่า ที่ปรึกษามีการแก้ไขข้อบังคับให้เป็นปัจจุบันทั้งในเรื่องของการกำหนดนิยามวันลาต่างๆสิทธิประโยชน์ต่างๆรวมถึงความผิดในหมวดวินัยจึงมีประเด็นว่าในกรณีที่แก้ไขข้อบังคับดังกล่าวแล้วจะต้องนำส่งกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงานหรือเปล่าเพราะไปฟัง บางท่านมาก็บอกว่าต้องส่งบางท่านก็บอกว่าไม่ต้องส่ง พรบคุ้มครองแรงงานกำหนดไว้ในมาตรา 108 ว่า ให้นายจ้างที่มีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปจัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานโดยข้อบังคับนั้นก็จะต้องประกอบไปด้วยรายละเอียดประมาณ 8 ข้อ โดยให้นายจ้างประกาศให้ใช้ข้อบังคับ เกี่ยวกับการทำงานภายใน 15 วันนับแต่วันที่นายจ้างมีลูกจ้างรวมกันได้ 10 คนขึ้นไป โดยให้นายจ้างจัดเก็บสำเนาข้อบังคับนั้นไว้ณสถานประกอบกิจการหรือสำนักงานของนายจ้างตลอดเวลาและให้นายจ้างเผยแพร่และปิดประกาศข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานโดยเปิดเผยณสถานทำงานของลูกจ้างหรือเพิ่มเติมโดยวิธีการอิเล็กทรอนิกส์ด้วยก็ได้เพื่อให้ลูกจ้างได้รับทราบและเข้าถึงได้โดยสะดวก จากข้อความดังกล่าว ก็จะเห็นว่าไม่ต้องส่งไปที่กรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงานกฎหมายกำหนดให้นายจ้างจัดเก็บไว้ณสถานประกอบกิจการและการปิดประกาศก็ต้องชัดเจนให้ลูกจ้างรับทราบเท่านั้นค่ะ

ต่อให้เขียนไว้ชัดว่า หากลาออกไม่บอกล่วงหน้า ก็จะไม่จ่ายค่าจ้าง..ก็ทำไม่ได้ !!

ต่อให้เขียนไว้ชัดว่า หากลาออกไม่บอกล่วงหน้า ก็จะไม่จ่ายค่าจ้าง..ก็ทำไม่ได้ !! จากโพสต์ก่อนๆ ก็เคยเขียนไปหลายครั้งว่า ข้อสัญญาที่ขัดกับความสงบเรียบร้อยนั้น “ใช้บังคับไม่ได้” ยกตัวอย่างเช่น การที่บริษัททำข้อสัญญาไว้ชัดเจน ว่าหากลูกจ้างลาออกโดยแจ้งล่วงหน้าไม่ครบตามที่ตกลงกันนายจ้างมีสิทธิ์ไม่จ่ายค่าจ้างหรือหักค่าจ้างไว้เพื่อชำระค่าเสียหาย “แบบนั้นทำไม่ได้” แต่ก็ยังมีหลายท่านคอมเม้นว่า “ก็ถ้าตกลงกันแล้วทำไมจะทำไม่ได้” “มันต้องดูสัญญาด้วยหรือเปล่าไม่ใช่ดูแต่กฎหมาย” ใครที่ยังคิดแบบนั้นอยู่ ลองทำใจโล่งๆ ไม่อารมณ์เสีย ไม่หุนหวย แล้วคิดตามนะคะ กฎหมายแรงงานเนี่ย เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย มีลักษณะบังคับเป็นการจำกัดเสรีภาพในการทำสัญญาบางประการของนายจ้าง ที่ต้องเป็นเช่นนี้ก็เพราะว่านายจ้างนั้นมีอำนาจต่อรองในเชิงเศรษฐกิจเหนือกว่าลูกจ้าง ดังนั้น ลักษณะของสัญญาจ้างแรงงานจึงมีลักษณะบังคับที่จำกัดเสรีภาพเอาไว เพื่อไม่ให้นายจ้างตกลงอะไรกับลูกจ้างได้ตามใจนายจ้างทุกอย่าง หรือถ้าพูดให้เข้าใจง่ายๆก็คือ ถึงแม้ลูกจ้างจะตกลงทำสัญญาหรือยินยอมทำสัญญาอะไรก็ตาม ที่ขัดกับกฎหมายแรงงาน ที่เป็นการลดสิทธิ์ของผู้รับจ้างเอง ทั้งที่มีกฎหมาย คุ้มครองแรงงานให้สิทธิ์อยู่แล้ว กฎระเบียบข้อนั้น ก็ไม่สามารถทำได้แม้ลูกจ้างจะเซ็นชื่อยอมรับไปแล้ว ผลย่อมเป็นโมฆะ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ค่ะ ซึ่งค่าจ้างในวันที่ลูกจ้างได้ทำงานไปแล้วนั้น นายจ้างก็มีหน้าที่ต้องจ่าย การที่ลูกจ้างลาออกโดยไม่แจ้งล่วงหน้าหรือแจ้งไม่ครบก็เป็นเพียงการลาออกผิดระเบียบ แต่หากทำให้เกิดความเสียหายนายจ้างก็ไปใช้สิทธิ์ฟ้องได้ แต่จะไปหักหรือไม่จ่ายเงินลูกจ้างไม่ได้ ติดต่องาน

ไล่กรรมการบริษัทออกต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่ ?

ไล่กรรมการบริษัทออกต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่ ? การพิจารณาว่าต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่ เบื้องต้นก็ต้องพิจารณานิติสัมพันธ์ระหว่างกรรมการกับบริษัทก่อนว่าเป็นไปตามสัญญาจ้างแรงงานหรือไม่ เพราะหากไม่อยู่ภายใต้สัญญาจ้างแรงงาน กฎหมายแรงงายย่อมไม่สามารถนำมาปรับใช้ ยกตัวอย่างในคดีหนึ่ง กรรมการและผู้ถือหุ้นของบริษัท มีหน้าที่ดูแลด้านการตลาดในการทำงานของกรรมการรายนี้ไม่ปรากฎว่าต้องอยู่ภายใต้ระเบียบหรือข้อบังคับในการทำงาน และแม้ว่าจะได้รับมอบหมายให้ดูแลงานของบริษัทโดยต้องมาทำงานทุกวันก็ไม่มีผู้ใดบังคับบัญชาได้ นอกจากนี้ยังปรากฎว่ากรรมการรายนี้ยังเป็นผู้เริ่มก่อตั้งบริษัท การทำงานจึงทำในฐานะผู้ซึ่งเป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นที่ต้องดูแลรักษาผลประโยชน์ของบริษัทที่ร่วมก่อตั้งมา แม้จะได้รับเงินเดือน แต่เมื่อการทำงานไม่ใช่ลักษณะของสัญญาจ้างแรงงาน ดังนั้นเมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติถอดถอนออกจากการเป็นกรรมการบริษัท จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าชดเชย เพราะฉะนั้นการไล่กรรมการออกอาจไม่จำต้องจ่ายค่าชดเชยเสมอไป ต้องพิจารณานิติสัมพันธ์ระหว่างกรรมการกับบริษัทเป็นที่ตั้ง (คำพิพากษาฎีกาที่ 2548/2548)

สัญญาจ้างแรงงานระบุข้อตกลงว่า ลูกจ้างจะทำงานให้บริษัทเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี หากลาออกก่อนกำหนดยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้กับบริษัท ข้อตกลงเช่นนี้ใช้บังคับได้หรือไม่ ?

สัญญาจ้างแรงงานระบุข้อตกลงว่า ลูกจ้างจะทำงานให้บริษัทเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี หากลาออกก่อนกำหนดยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้กับบริษัท ข้อตกลงเช่นนี้ใช้บังคับได้หรือไม่ ? กรณีเช่นนี้ ศาลฎีกาได้วางหลักไว้ในคำพิพากษาศาลฏีกาที่ 7620/2559 ว่า การที่สัญญาเพิ่มเติมแนบท้ายหนังสือสัญญาจ้าง ข้อ 3 ระบุความว่า พนักงานตกลงที่จะทำงานให้กับบริษัทเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี นับตั้งแต่วันเข้าทำงาน หากพนักงานมีความประสงค์จะลาออกก่อนครบกำหนดเวลา พนักงานยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้กับบริษัทไม่น้อยกว่าเงินเดือนในเดือนสุดท้ายที่พนักงานได้รับ ถือได้ว่าเป็นข้อตกลงกำหนดความเสียหายเพื่อการผิดนัดไม่ชำระหนี้ไว้ล่วงหน้า จึงเป็นข้อตกลงเบี้ยปรับเมื่อโจทก์ไม่ชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 และ 380 ซึ่งหากกำหนดไว้สูงเกินส่วนศาลแรงงานกลางมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้โดยให้พิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สิน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง กล่าวคือศาลแรงงานกลางจะต้องพิจารณาทางได้เสียของจำเลยในฐานะเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย มิใช่เฉพาะความเสียหายที่คำนวณได้เป็นเงินเท่านั้น นอกจากนี้เบี้ยปรับยังเป็นการกำหนดขึ้นเพื่อลงโทษโจทก์ซึ่งมีฐานะเป็นลูกหนี้ผิดสัญญาจ้างแรงงานด้วย จึงชอบที่จะพิจารณามูลเหตุการผิดสัญญาของลูกหนี้ว่าเป็นการจงใจกระทำผิดสัญญาเพื่อแสวงหาประโยชน์ใส่ตนเป็นการได้เปรียบกว่าอีกฝ่ายหนึ่งด้วยหรือไม่ ทั้งนี้ ศาลแรงงานกลางจะใช้ดุลพินิจไม่ให้ค่าเสียหายส่วนนี้เสียเลยไม่ได้เพราะไม่มีบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตราใดที่ให้อำนาจงดเบี้ยปรับเสียทั้งหมด ดังนั้นศาลแรงงานกลางจึงต้องฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมถึงทางได้เสียของจำเลยทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ได้แก่จุดมุ่งหมายของข้อสัญญาที่ให้ทำงานครบ 2 ปี ความจำเป็นที่ต้องทำสัญญาไว้เช่นนี้ ความสำคัญของตำแหน่งหน้าที่การงานของโจทก์ต่อจำเลย ความเสียหายอื่นที่มิใช่ทรัพย์สิน รวมตลอดถึงเหตุผลที่โจทก์ผิดสัญญาจ้างแรงงานว่าเป็นการกระทำไปโดยจงใจเพื่อแสวงหาประโยชน์ใส่ตนเป็นการได้เปรียบกว่าอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่เสียก่อน แล้วใช้ดุลพินิจพิเคราะห์ถึงข้อเท็จจริงทางได้เสียของจำเลยทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายกำหนดเบี้ยปรับเป็นจำนวนพอสมควรเบี้ยปรับได้หรือไม่ กล่าวโดยสรุป นายจ้างสามารถกำหนดเงื่อนไขในลักษณะนี้ไว้ในสัญญาจ้างได้ โดยถือว่าเป็นการกำหนดความเสียหายไว้ล่วงหน้าเป็นลักษณะข้อตกลงเบี้ยปรับ ดังนั้น ศาลมีอำนาจปรับลดจำนวนเบี้ยปรับลงได้หากเห็นว่าสูงเกินส่วน...

เลิกจ้างต้องระบุเหตุผลในการเลิกจ้าง ไม่เช่นนั้นจะยกขึ้นเป็นเหตุต่อสู้ไม่จ่ายค่าชดเชย “ไม่ได้”

เลิกจ้างต้องระบุเหตุผลในการเลิกจ้าง ไม่เช่นนั้นจะยกขึ้นเป็นเหตุต่อสู้ไม่จ่ายค่าชดเชย “ไม่ได้” บอกหลายทีแล้วว่าเวลาเขียนหนังสือเตือนหรือหนังสือเลิกจ้างก็ไม่ต้องกระมิดกะเมี้ยนเกรงใจกันขนาดนั้น ทำดีก็ให้ชม ให้รางวัล แต่ทำผิดก็ต้องเตือน เตือนนี่ก็เตือนเป็นหนังสือนะไม่ใช่พูดเฉยๆถ้าพูดเฉยๆวนไปวนมานี่เรียกว่า “บ่น” ไม่ได้เป็นการเตือนตามกฎหมายแรงงาน (คำนี้ดีฟังมาจากพี่ต๋องแฟนเพจ) เลิกจ้างก็ตรงไปตรงมา ระบุเหตุผลให้ชัดเจนในหนังสือเลิกจ้างไม่ใช่เขียนสั้นๆว่า ประพฤติตนไม่เหมาะสม เหมือนนายจ้างรายนึง ที่มาปรึกษาว่ากรณีนี้ พนักงานประพฤติตนไม่เหมาะสมหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการดูแลลูกน้องในแผนก เรื่องความผิดทางวินัยอื่นๆ ที่ลูกจ้างฝ่าฝืนหลายประการ และยืนยันว่า ลูกจ้างผิดจริง แต่ในทางปฏิบัติกลับไม่มีใบเตือนแทนหนังสือเลิกจ้าง ระบุเหตุผลโคตรสั้นเพียงว่า ประพฤตินไม่เหมาะสม ในกรณีดังกล่าว ในทางกฎหมายเมื่อนายจ้างไม่ได้ระบุเหตุผลแห่งการเลิกจ้างว่า ลูกจ้างประพฤติผิดวินัยอะไรบ้าง ที่เป็นความผิดวินัยตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน นายจ้างจะยกเหตุความผิดทางวินัยอื่นๆที่ไม่ได้ระบุไว้มาต่อสู้ เพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยไม่ได้ เทียบเคียงจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3553/2556 แล้วต้องเขียนยังไงดีคะ?? ใครอ่านมาถึงตรงนี้ก็อยากจะบอกว่านายจ้างก็ควรระบุข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุเกี่ยวกับการเลิกจ้างและผลกระทบความเสียหายให้เพียงพอที่จะทำให้ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างได้ทราบว่าตัวเองถูกเลิกจ้างเพราะเรื่องอะไร เช่นลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับในข้อไหนบ้างโดยที่นายจ้างอาจจะไม่จำเป็นจะต้องระบุรายละเอียดข้อเท็จจริงทั้งหมดก็ได้แต่ก็ต้องระบุให้เพียงพอที่จะให้ลูกจ้างได้ทราบสาเหตุแห่งการเลิกจ้างนั้น อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ใครยังไม่แน่ใจว่าจะต้องเขียนเลิกจ้างยังไงติดต่อ inbox ได้นะคะค่าบริการไม่แพง.. ทนายยังว่างอ่ะจ้างได้. อิอิ

ทำงานด้วยอารมณ์ เพื่อนร่วมงานไม่ประสงค์จะทำงานด้วย เลิกจ้างได้ไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม!!

ทำงานด้วยอารมณ์ เพื่อนร่วมงานไม่ประสงค์จะทำงานด้วย เลิกจ้างได้ไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม!! จากคำถามหลังบ้านวันนี้ก็เป็นคำถามที่อ้างอิงว่าหัวหน้างานรายนึงเป็นคนใช้อารมณ์ทำงานทำให้ลูกน้องไม่อยากร่วมงานด้วยเลย และแผนกอื่นๆก็ไม่ประสงค์จะติดต่อการงานด้วยถ้าไม่จำเป็น ทำให้เกิดความลำบากในการติดต่อประสานงานเป็นอย่างมาก ในกรณีนี้สามารถเลิกจ้างได้หรือไม่คะ?? สำหรับความเห็นของเราเอง เรามองว่าในกรณีนี้หากเพื่อนร่วมงานไม่ประสงค์จะร่วมงานด้วยทำงานด้วยก็ลำบากและมีหลักฐานแน่ชัด ไม่ว่าจะเป็นการสอบสวนหรือการสอบถาม ความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชา ที่มีหลักฐานแน่นอน ก็สามารถเลิกจ้าง โดยไม่ใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมแต่อย่างใด แต่ยังต้องจ่ายค่าชดเชยเนื่องจากว่าไม่ได้เป็นความผิดตามมาตรา 119 แห่งพรบคุ้มครองแรงงานที่จะเป็นเหตุให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย (มาตรา 119 ได้บัญญัติยกเว้นให้ นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้ (1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง (2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย (3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง (4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน โดยหนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด (5) ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันติดต่อกัน ไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร (6) ลูกจ้างได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก) ส่วนถ้าใครเกิดคำถามว่าความเห็นข้างต้น มีแหล่งที่มาหรือเทียบเคียงคำพิพากษาใดบ้าง ความเห็นข้างต้นนี้เรา เทียบเคียงตามคำพิพากษาที่ 2575/2524 ค่ะ .. เป็นกรณีที่ใกล้เคียงกันใครสนใจลองไปเปิดหาอ่านดูได้นะคะ