กรุณารอสักครู่

 

HomeBlog

ลูกจ้างลักทรัพย์นายจ้าง แม้จะชดใช้คืนแล้วก็ยังต้องถูกดำเนินคดี

ลูกจ้างลักทรัพย์นายจ้าง แม้จะชดใช้คืนแล้วก็ยังต้องถูกดำเนินคดี ความผิดลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้าง เป็นการลักทรัพย์ในเหตุฉกรรจ์ที่ทำให้ผู้กระทำความผิดต้องรับโทษหนักขึ้นต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 10,000 บาท และความผิดอาญาฐานนี้ เป็นความผิดอาญาต่อแผ่นดิน ไม่อาจยอมความกันได้ เมื่อนายจ้างไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานแล้ว ลูกจ้างจะมาไกล่เกลี่ย ขอชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมด แล้วขอให้นายจ้างยอมความไม่ได้ ลูกจ้างก็ยังคงต้องถูกดำเนินคดีต่อไป จนกว่าจะมีคำพิพากษาของศาล แต่กรณีลูกจ้างชดใช้ให้นายจ้างก็เป็นการบรรเทาความเสียหายให้นายจ้าง ที่ศาลจะหยิบยกมาพิจารณาในการพิพากษาลงโทษก็เป็นดุลพินิจของศาล ก็อาจจะให้ได้รับโทษน้อยลงหรือรอลงอาญาได้ วันนี้ดูมาทางทน๊ายทนายก็เพราะว่าเพิ่งไปฟังคำพิพากษาคดีลักทรัพย์นายจ้างนี่แหละ เกือบทุกคดีที่ฟังศาลมีคำพิพากษาให้ลูกจ้างจำคุกและชดใช้ค่าเสียหาย จึงมาเตือนกันหน่อย ว่าอย่าคิดสั้นขโมยของนายจ้างนะ ติดคุกจริง!!

หนูลาออกโดยแจ้งล่วงหน้าไม่ถึง 30 วัน นายจ้างเลยไม่จ่ายเงินเดือน แล้วบอกว่าจะฟ้องหนูด้วย ทำยังไงได้บ้างคะ

หนูลาออกโดยแจ้งล่วงหน้าไม่ถึง 30 วัน นายจ้างเลยไม่จ่ายเงินเดือน แล้วบอกว่าจะฟ้องหนูด้วย ทำยังไงได้บ้างคะ คำถามนี้เป็นคำถามที่เจอแทบทุกวันเลย ดังนั้นอยากให้ทุกคนลองทำความเข้าใจกับโพสต์นี้ดูโดยขอแยกตอบออกเป็น 2 เรื่อง แบบนี้ ข้อ 1. นายจ้างจะไม่จ่ายเงิน “ไม่ได้” เพราะว่าเป็นเงินส่วนที่เราทำงานไปแล้วและนายจ้างไม่มีสิทธิ์หัก ตามกฎหมายใดๆทั้งสิ้น เว้นแต่เราจะไปเซ็นยอมรับว่าทำให้เกิดความเสียหาย ข้อ 2. นายจ้างจะฟ้องทำยังไงดี?? ก็ถ้าเขาจะฟ้องจริงๆก็ทำอะไรไม่ได้ค่ะ ก็ให้เขาฟ้องไป มีหมายศาลมาเราก็มีหน้าที่ไป ส่วนนายจ้างมีหน้าที่พิสูจน์ให้ศาล เห็นเพื่อพิจารณาว่าการที่เราลาออกโดยไม่บอกล่วงหน้าเขาเสียหายอย่างไรและศาลก็จะเป็นผู้ใช้ดุลพินิจของศาล ในส่วนของเราก็เตรียมตัวไปศาลแล้วก็โต้แย้งไป การไปศาลจำเป็นต้องใช้ทนายหรือไม่?? ถ้าทุนทรัพย์ไม่อำนวยก็ไม่ต้องจ้างค่ะไปที่ศาลได้เลยเพราะศาลแรงงานเป็นระบบไต่สวนศาลจะทำหน้าที่ถามตัวลูกจ้างให้เองและจะพิจารณาตัดสินคดีหากลูกจ้างไม่พอใจก็ใช้สิทธิ์อุทธรณ์ได้ค่ะ.. แต่ถ้าอยากอุ่นใจมีทนายคอยอธิบาย และคอยดำเนินการแทนในชั้นศาลก็จ้างได้แล้วแต่เลยค่ะ ส่วนคนที่ถามว่าแล้วนายจ้างจะฟ้องมั้ยคะ?? เธอออออ เธอต้องมีสตินะ T^T ทนายก็บอกได้แค่ว่าเขามีสิทธิ์แต่เขาจะฟ้องไหม ไม่รู้เลย ตอบแทนเขาไม่ได้ อยากรู้ให้ถามเขาค่ะแต่ก็ไม่แนะนำให้ถามเดี๋ยวเหมือนไปยั่วยุกันอีก แล้วถ้าเขาฟ้องจะฟ้องเรามาเป็นทุนทรัพย์เท่าไหร่ก็ตอบไม่ได้อีกเพราะไม่รู้ค่ะ ฟ้องมาเท่าไหร่ไม่ได้หมายความว่าเขาจะได้เท่านั้นเขาต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นกลับไปอ่านวรรคข้างบนอีกทีนึง เพื่อความสบายใจของตัวเอง ดังนั้นเพื่อลดความกังวลใจความไม่สบายใจ ก่อนจะลาออกก็แจ้งให้ถูกต้องตามกฎหมายหรือตามข้อตกลงที่มีร่วมกันไว้นะคะ แต่หากมีเหตุจำเป็นจริงๆก็เข้าไปคุยกับนายจ้างให้เข้าใจถึงเหตุจำเป็นนั้น เพื่อลดข้อพิพาทในอนาคตและลดความไม่สบายใจที่จะเกิดขึ้นด้วยค่ะ

ลูกจ้างทำผิดร้ายแรงแต่นายจ้าง ไม่ลงโทษ ในภายหลังจะนำมาเป็นเหตุเลิกจ้างอีกไม่ได้

ลูกจ้างทำผิดร้ายแรงแต่นายจ้าง ไม่ลงโทษ ในภายหลังจะนำมาเป็นเหตุเลิกจ้างอีกไม่ได้ คนเราทำผิด 1 ครั้งก็สมควรได้รับการพิจารณาลงโทษ 1 ครั้ง ดังนั้นหากกรณีที่ลูกจ้างทำผิดไปแล้วแต่นายจ้างมองว่าอภัยได้ไม่ลงโทษแต่ต่อมาเหม็นขี้หน้ากันพูดจาขัดหูจะนำความผิดเดิมนั้นมาลงโทษทำไม่ได้ เพราะถือว่าเป็นการลงโทษซ้ำแล้วก็ขัดต่อหลักกฎหมาย อ่านมาถึงตรงนี้ถ้านายจ้างเกิดคำถามว่าอ้าวต่อให้ลงโทษช้าแต่เขาทำผิดจริงนี่ ทำไมจะเอามาลงโทษไม่ได้ ลองมาคิดดูนะว่าถ้าสมมุติว่าเป็นตัวเราเองทำผิดไปแล้วครั้งนึง นายจ้างทราบแล้วและเขาก็ไม่ถือโทษโกรธเคืองอะไรเลย อยากให้ทำงานต่อไป ต่อมา นึกอยากจะเอาออกก็เอาเรื่องเดิมมาพูดซ้ำ ไม่ต้องพูดถึงกฎหมายแรงงานหรอกค่ะพูดถึงการใช้ชีวิตจริงๆการเอาเรื่องในอดีตที่เคยให้อภัยมาแล้วมาพูดซ้ำก็เป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเข้าใจได้ ก็เหมือนความรักนั่นแหละรู้ว่ามันจะเป็นบาดแผลในใจถ้าเกิดว่าเขาทำผิด ร้ายแรงไปแล้ว แต่ถ้าจะกลับมาอยู่ด้วยกันต่อก็ต้องให้อภัยถ้าทุกครั้งยังหยิบเรื่องนั้นมาพูดอีก แล้วมาเป็นบทลงโทษหรือเป็นสาเหตุในการเลิกกัน ฟังแค่นี้ก็รู้แล้วว่าจริงๆแล้ว สาเหตุการเลิกมันไม่ใช่เรื่องเดิม พอเรื่องเดิมมาได้รับการอภัยแล้ว ดังนั้นจะสานต่อหรือปล่อยไปก็ให้พิจารณาให้ดีนะคะ หมายถึงเรื่องนายจ้างลูกจ้างพวกเธอคิดอะไรกัน

ค่าขึ้นศาลในคดีแพ่ง กรณีเป็น “คดีที่ไม่มี” ทุนทรัพย์

ค่าขึ้นศาลในคดีแพ่ง กรณีเป็น “คดีที่ไม่มี” ทุนทรัพย์ คดีไม่มีทุนทรัพย์ คือ คดีที่โจทก์มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ โดยสำหรับค่าขึ้นศาลในคดีไม่มีทุนทรัพย์โจทก์ต้องเสียเรื่องละ 200 บาท – ในกรณีเป็นคดีมีทุนทรัพย์กับไม่มีทุนทรัพย์รวมอยู่ในคดีเดียวกันให้คิดค่าขึ้นศาลในอัตราร้อยละ 2 ของจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องโดยเป็นเงินอย่างต่ำ 200 บาท แต่ไม่เกิน 200,000 บาท – คำฟ้องขอให้ศาลบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ คิดค่าขึ้นศาลอัตราร้อยละ 1 ตามจำนวนทุนทรัพย์ที่อนุญาโตตุลาการกำหนดไว้ในคำชี้ขาดแต่ไม่เกิน 100,000 บาท – คำฟ้องขอให้บังคับจำนองหรือบังคับเอาทรัพย์สินจำนองหลุด คิดค่าขึ้นศาลตามจำนวนหนี้ที่เรียกร้องในอัตราร้อยละ 1 แต่ไม่เกิน 100, 000 บาท – อุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 หรือ 228 เสียค่าขึ้นศาลเรื่องละ 200 บาท – ค่าขึ้นศาลในอนาคต เกี่ยวกับค่าเช่า ดอกเบี้ย ค่าเสียหาย เป็นต้น 100 บาท ติดต่อจ้าง Info@legalclinic.co.thค่าขึ้นศาลในคดีแพ่ง กรณีเป็น...

ค่าสินไหมทดแทนกรณีผู้ถูกทำละเมิดถึงแก่ความตาย ทายาทมีสิทธิอะไรบ้าง?

ค่าสินไหมทดแทนกรณีผู้ถูกทำละเมิดถึงแก่ความตาย ทายาทมีสิทธิอะไรบ้าง ทายาทมีสิทธิฟ้องร้องผู้ทำละเมิดเรียกค่าสินไหมทดแทนกรณีผู้ถูกทำละเมิดถึงแก่ความตายได้ ดังนี้ 1. ค่าปลงศพ – ค่าใช้จ่ายในการจัดการศพตามประเพณีทางศาสนา 2. ค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการจัดการศพ เช่น ค่าดอกไม้ ค่าบุหรี่ถวายพระ ค่าเดินทางของผู้มีหน้าที่ปลงศพ ค่าส่งศพกลับภูมิลำเนา เป็นต้น 3. ค่ารักษาพยาบาลก่อนตาย 4. ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ก่อนตาย 5. ค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย ต้องเป็นบุคคลที่มีสิทธิได้รับอุปการะเลี้ยงดูตามกฎหมายเท่านั้น เช่น สามีภริยาต้องอุปการะเลี้ยงดูกันและกัน บุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา 6. ค่าขาดแรงงาน บุคคลที่จะเรียกได้แบ่งเป็น บุคคลในครัวเรือน หรือบุคคลนอกครัวเรือน เช่น นายจ้าง

ทายาทเท่านั้นที่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าปลงศพ บุคคลภายนอกแม้จ่ายค่าปลงศพแทน แต่ไม่ใช่ทายาทไม่มีสิทธิฟ้อง

ทายาทเท่านั้นที่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าปลงศพ บุคคลภายนอกแม้จ่ายค่าปลงศพแทน แต่ไม่ใช่ทายาทไม่มีสิทธิฟ้อง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2514 ค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับค่าปลงศพตามมาตรา 443 วรรค 1หมายความเฉพาะผู้ที่เป็นทายาทของผู้ตายที่จะเรียกร้องเอาแก่ผู้ที่กระทำละเมิด ทำให้เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเพราะสิทธิในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนโดยเหตุที่ได้ละเมิดแก่เจ้ามรดกตกทอดมายังตนผู้เป็นทายาทภายใต้บังคับของมาตรา 1649 เท่านั้นมิได้หมายความว่าใครทำศพผู้ตายแล้วก็จะมีสิทธิเรียกร้องค่าทำศพในลักษณะที่เป็นค่าสินไหมทดแทนฐานละเมิดเสียเองได้เสมอไปเมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่ใช่ทายาทผู้ตายเพราะไม่ได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายในการปลงศพเป็นค่าสินไหมทดแทนแก่ตนในการที่จำเลยกระทำละเมิดต่อผู้ตาย

ทายาทของผู้ตายฟ้องเรียกค่ารักษาพยาบาลผู้ถูกทำละเมิดก่อนตายได้ แม้จะเบิกค่ารักษาจากหน่วยงานราชการไปแล้ว

ทายาทของผู้ตายฟ้องเรียกค่ารักษาพยาบาลผู้ถูกทำละเมิดก่อนตายได้ แม้จะเบิกค่ารักษาจากหน่วยงานราชการไปแล้ว คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2258/2527 จำเลยที่ 3 ประกอบการขนส่งบุคคลเดินรถโดยสารประจำทาง ได้เช่ารถยนต์ของจำเลยที่ 2 มาใช้ในการเดินรถโดยสารของตนโดยมีจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 เป็น คนขับ ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 3 เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยสารโดยประมาทชนโจทก์ได้รับบาดเจ็บ จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ด้วย แม้นายจ้างของโจทก์จะได้ออกเงินค่ารักษาพยาบาลให้แก่โจทก์ไปแล้วก็หาทำให้จำเลยที่ 1 ผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์พ้นความรับผิดในการชดใช้ค่ารักษาพยาบาลไม่โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่ารักษาพยาบาลจากจำเลยทั้งสาม ติดต่องาน info@legalclinic.co.th

ค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมายกรณีละเมิดนั้น ดูหน้าที่ตามกฎหมายเป็นสำคัญ แม้ตามความเป็นจริงผู้ตายไม่ได้อุปการะเลี้ยงดู ผู้รับอุปการะก็ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนนี้ได้

ค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมายกรณีละเมิดนั้น ดูหน้าที่ตามกฎหมายเป็นสำคัญ แม้ตามความเป็นจริงผู้ตายไม่ได้อุปการะเลี้ยงดู ผู้รับอุปการะก็ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนนี้ได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5042/2552 ค่าขาดไร้อุปการะตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคสาม นั้น เมื่อปรากฏว่าผู้ตายมีหน้าที่ที่จะต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูโจทก์ทั้งสามตามกฎหมาย โจทก์ทั้งสามจึงมีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะดังกล่าว โดยไม่ต้องพิจารณาว่าในขณะนั้นผู้ตายได้อุปการะเลี้ยงดูโจทก์ทั้งสามหรือไม่ เมื่อพิจารณาถึงอายุของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ซึ่งขณะเกิดเหตุมีอายุประมาณ 58 ปี และ 34 ปี ตามลำดับแล้ว เห็นว่าโจทก์ที่ 2 และที่ 3 มีโอกาสได้รับการอุปการะตามกฎหมายได้ไม่น้อยกว่า 15 ปี ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าขาดไร้อุปการะให้โจทก์ที่ 2 จำนวน 300,000 บาท และโจทก์ที่ 3 จำนวน 100,000 บาท ถือว่าเหมาะสมแล้ว ส่วนโจทก์ที่ 1 ขณะเกิดเหตุละเมิดมีอายุประมาณ 78 ปี นับว่ามีอายุมากแล้วเมื่อเทียบกับอายุขัยของคนทั่วไป ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าขาดไร้อุปการะให้เป็นเงินถึง 300,000 บาท นับว่าเป็นจำนวนค่อนข้างสูง จึงเห็นสมควรลดลงบางส่วนโดยกำหนดค่าขาดไร้อุปการะให้โจทก์ที่...

ถูกเลิกจ้างกะทันหันมีสิทธิ์ได้อะไรบ้าง ?

ถูกเลิกจ้างกะทันหันมีสิทธิ์ได้อะไรบ้าง ? ก่อนอื่นต้องบอกนะคะว่าสิ่งที่จะได้ตามที่กำลังจะบอกต่อไปนี้จะต้องเป็นกรณีที่ลูกจ้างถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้มีความผิดตามมาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานเท่านั้น ซึ่งถ้าถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้กระทำผิดลูกจ้างมีสิทธิดังนี้ค่ะ 1. ค่าจ้างในส่วนที่ทำงานมาแล้ว 2. เงินต่างๆที่ได้ สำรองจ่ายให้แก่นายจ้าง เช่น ค่าสินค้าเบ็ดเตล็ดค่าอุปกรณ์ต่างๆที่ได้ออกเงินตัวเองไปก่อน ( ซึ่งต้องสามารถเบิกจ่ายได้ตามระเบียบนะไม่ว่าเขาไม่ได้ให้ไปซื้อแล้วไปซื้อนะอันนั้นคนละเรื่อง) 3. ค่าชดเชยตามระยะเวลาการทำงาน ( ทำงานกี่ปีได้เท่าไหร่ search ดูใน Google ได้เลย) 4. ค่าตกใจหรือค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ( ด้วยถ้าตกใจนี้ไม่ใช่ 1 เดือนนะคะอาจจะมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับว่านายจ้างบอกเลิกจ้าง น้อยกว่า 1 งวดการจ่ายค่าจ้างหรือไม่ เรียกได้ว่าบอกผิดชีวิตเปลี่ยนจากจะเสีย 1 เดือนมีโอกาสเสียสูงถึงเกือบ 2 เดือ ก็เป็นได้) ส่วนเรื่องนี้เคยเขียนไว้แล้วนะคะว่าค่าตกใจไม่ใช่ 1 เดือนเสมอไปลองเลื่อนอ่านดู 5. ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมซึ่งเป็นหลังนี้ต้องพร้อมที่ศาลแรงงานและให้ศาลเป็นผู้ใช้ดุลพินิจตัดสินนะคะว่าจะได้เท่าไหร่ไม่ได้มีหลักเกณฑ์กำหนดไว้ตายตัว หลายๆครั้งนะคะก็จะเกิดการโต้แย้งกันระหว่างลูกจ้างกับนายจ้างว่าการเลิกจ้างนี้เป็นการเลิกจ้าง ที่ลูกจ้างกระทำผิดพลาด ในส่วนของคนเลิกจ้างก็บอกว่าลูกจ้างกระทำผิดถึงไล่ออกจึงไม่มีสิทธิ์ได้รับเงินชดเชยอะไรทั้งนั้น แต่ในส่วนของลูกจ้างเองก็บอกว่าไม่ได้ผิดอะไรเลยต้องได้สิในกรณีนี้ไปเลยค่ะกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงานในเขตพื้นที่หรือศาลแรงงาน ไปเล่าเรื่องราวให้เขาฟัง และ นำคดี เข้าสู่กระบวนการพิจารณานะคะ อย่างไรก็ตามในคดีแรงงาน สำหรับลูกจ้างไม่มีทนายความก็ยังทำได้ค่ะแต่ถ้าอยากอุ่นใจติดต่อมาใช้บริการได้ ที่ Info@legalclinic.co.th...

พนักงานไม่เคยใช้ลาพักร้อนเลยแบบนี้บริษัทจะต้องจ่ายเงิน ข้ามาทำงานวันหยุดให้กับพนักงานไหมคะ?

พนักงานไม่เคยใช้ลาพักร้อนเลยแบบนี้บริษัทจะต้องจ่ายเงิน ข้ามาทำงานวันหยุดให้กับพนักงานไหมคะ?? อ่านคำถามแล้วอยากจะมอบโล่จริงๆ แล้วถ้าเกิดโอนถ่ายวันลาพักร้อนกันได้แล้วก็อยากจะขอบ้างเพราะที่มีอยู่ไม่เคยพอเลย อย่างที่เคยบอกไปในโพสก่อนๆ ว่านายจ้างต้องจัดวันลาพักร้อนให้กับพนักงานไม่น้อยกว่า 6 วันทำงานต่อปีหรือจะมากกว่านั้นก็ได้ กรณีที่นายจ้างไม่ให้พนักงานไม่ใช้เลยนายจ้างก็จะต้องจ่ายค่าจ้างในการทำงานวันหยุด แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าเกิดว่าลูกจ้างมีไฟในการทำงาน แล้วไม่อยากลาเลย ในกรณีนี้นายจ้างเอง ก็อยากให้ลูกจ้างลาไปซะเพราะไม่อยากจ่ายค่าทำงานวันหยุด ก็อาจจะต้องให้ลูกจ้างทำหนังสือสละสิทธิ์ ไม่ใช้วันหยุดพักผ่อนหรือไม่ใช้ลาพักร้อน นายจ้างจึงจะไม่ต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดพักร้อนค่ะ ติดต่อ งานบรรยาย งานคดีความและที่ปรึกษากฎหมาย info@legalclinic.co.th