กรุณารอสักครู่

 

HomeBlog

ลูกหนี้โอนย้ายทรัพย์สิน หลังจากที่ถูกเจ้าหนี้ฟ้องคดี มีความผิดอาญาฐานโกงเจ้าหนี้

ลูกหนี้โอนย้ายทรัพย์สิน หลังจากที่ถูกเจ้าหนี้ฟ้องคดี มีความผิดอาญาฐานโกงเจ้าหนี้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16070 – 16072/255 ตาม ป.อ. มาตรา 350 บัญญัติไว้ชัดเจนว่า ผู้ใดเพียงแต่รู้ว่าเจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ แล้วย้ายไปเสีย ซ่อนเร้นหรือโอนไปให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ใด แกล้งให้ตนเองเป็นหนี้จำนวนใดอันไม่เป็นความจริง ก็ถือว่าเป็นความผิดตามมาตราดังกล่าวแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในเรื่องผิดสัญญาและเรียกค่าเสียหาย จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นใดพอชำระหนี้แก่โจทก์ ขณะที่คดีแพ่งดังกล่าวอยู่ระหว่างบังคับคดีตามคำพิพากษา จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดิน 3 แปลง ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเสน่หา แม้คดีแพ่งดังกล่าวจำเลยที่ 1 ได้ฟ้องแย้ง และผลคดีอาจจะเปลี่ยนแปลงโดยศาลฎีกาอาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชนะคดีตามฟ้องแย้ง ซึ่งไม่แน่ว่าโจทก์จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในชั้นที่สุดหรือไม่ก็ตาม ก็ถือว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานโกงเจ้าหนี้แล้ว ไม่จำต้องถือเอาคำพิพากษาของศาลที่พิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดในทางแพ่งมาเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานดังกล่าว

ลูกหนี้กับเจ้าหนี้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยผู้ค้ำประกันไม่ได้ร่วมทำสัญญาด้วย ผู้ค้ำไม่ต้องรับผิด

ลูกหนี้กับเจ้าหนี้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยผู้ค้ำประกันไม่ได้ร่วมทำสัญญาด้วย ผู้ค้ำไม่ต้องรับผิด คำพิพากษาฎีกาที่ 4235/2547 เช็คที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายชำระหนี้ให้แก่โจทก์ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์จึงร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 1 ต่อมามีการทำสัญญาขึ้น โดยจำเลยที่ 1 ไม่ต้องชำระหนี้เต็มจำนวนทันที แต่แบ่งชำระเป็น 4 งวด มีลักษณะเป็นการระงับข้อพิพาทต่อกันและผ่อนผันการชำระหนี้ให้แก่กัน เข้าลักษณะสัญญาประนีประนอมตาม ป.พ.พ. 850 ย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไปและทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามสัญญานั้นตามมาตรา 852 โจทก์คงได้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้นจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันมูลหนี้ซื้อขายเดิมของจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์

ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด สำนักงานบังคับคดี แต่ปรากฏว่ายังมีคนอยู่ในบ้านทำยังไงดี ?

ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด สำนักงานบังคับคดี แต่ปรากฏว่ายังมีคนอยู่ในบ้านทำยังไงดี ? ปัญหา ในกรณีผู้ซื้อทรัพย์สินจากการขายทอดตลาดหรือการประมูลสู้ราคาของสำนักงานบังคับคดี แต่บ้านยังมีลูกหนี้หรือจำเลยและบริวารอาศัยอยู่ ผู้ซื้อจึงจำเป็นต้องยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อบังคับให้ลูกหนี้หรือจำเลยและบริวารออกไป เมื่อพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2560 ได้เริ่มบังคับใช้ ซึ่งเป็นวิธีง่าย โดยผู้ซื้อไม่จำเป็นต้องไปยื่นคำฟ้องขับไล่เป็นคดีใหม่ หลังจากผู้ซื้อได้ทำการโอนกรรมสิทธิ์ต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ในทรัพย์สินที่ประมูลเรียบร้อยแล้ว แต่จำเลยและบริวารยังไม่ยอมย้ายออก ผู้ซื้อต้องดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมาย ดังนี้ 1 ยื่นคำร้องขอออกหมายบังคับคดีลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 334 เพื่อให้ศาลมีคำสั่งออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยผู้ซื้อจะอยู่ในฐานะผู้ร้องในคดีเดิม 2 ผู้ซื้อหรือผู้แทนต้องนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยังที่ตั้งทรัพย์ เพื่อปิดประกาศขับไล่ โดยการจองคิวประมาณ 1-2 วัน เพื่อให้ผู้ที่อยู่อาศัยอ้างว่ามิใช่บริวารจำเลยยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายใน 15 วันนับแต่วันที่ปิดประกาศเพื่อให้ศาลนัดวันไต่สวนคำร้อง 3 หากจำเลยและบริวารยังไม่ออก หรือไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนด ผู้ซื้อต้องเป็นผู้รายงานต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี และขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะมีหนังสือไปรายงานศาล เพื่อมีคำสั่งจับกุมและกักขังโดยผู้ซื้อต้องไปคัดทะเบียนราษฎรบุคคลที่จะขอให้เจ้าพนักงานออกหมายจับรับรองไม่เกิน 1 เดือน 4 คัดถ่ายหมายจับกุมและกักขัง เพื่อนำเจ้าหน้าที่ตำรวจไปดำเนินการจับกุม ส่งตัวมายังศาล หรือบางกรณีศาลอาจจะมีคำสั่งนัดพร้อม เพื่อเรียกตัวจำเลยมีมาสอบถามก่อนก็ได้ 5 กรณีถูกออกหมายจับ ลูกหนี้และบริวาร...

ลูกจ้าง outsource ต้องได้รับค่าตอบแทน สิทธิประโยชน์ สวัสดิการ เท่ากับลูกจ้างโดยตรง ต้องทำงานในลักษณะเดียวกันเท่านั้น!!

ลูกจ้าง outsource ต้องได้รับค่าตอบแทน สิทธิประโยชน์ สวัสดิการ เท่ากับลูกจ้างโดยตรงต้องทำงานในลักษณะเดียวกันเท่านั้น!! ลูกจ้าง outsource ที่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทน สิทธิประโยชน์ สวัสดิการ เท่ากับลูกจ้างโดยตรงของนายจ้างต้องทำงานหลักในลักษณะเดียวกันเท่านั้น แต่งานในลักษณะอื่นๆ ที่ไม่ใช่งานหลักแต่เป็นเพียงการทำงานที่ส่งผลต่อธุรกิจโดยทางอ้อมจะได้รับไม่เท่ากันก็ได้ ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ 285-298/2561 มีความเห็นว่า การทำงานอันเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของผู้ประกอบกิจการต้องเป็นงานหลักเท่านั้น มิใช่งานที่มีผลต่อการผลิตหรือธุรกิจโดยอ้อม การทำงานให้บริการงานทำความสะอาดสำนักงาน งานทำสวน งานธุรการทั่วไป งานรับส่งพนักงานและเอกสาร งานขับรถประจำตำแหน่งผู้บริหาร ถือเป็นการให้บริการและอำนวยความสะดวก แก่พนักงานของนายจ้าง ไม่ใช่งานหลักตามความหมายในกิจการปิโตรเลียมแต่เป็นเพียงการทำงานที่ส่งผลต่อธุรกิจของผู้ประกอบกิจการโดยทางอ้อม การทำงานนี้จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นนายจ้างตามพรบ. คุ้มครองแรงงาน มาตรา 11/1 ผู้ประกอบกิจการจึงไม่ต้องให้สิทธิประโยชน์และสวัสดิการเช่นเดียวกับพนักงานของตน ติดต่องาน info@legalclinic.co.th

ลาออกไม่ถูกระเบียบ นายจ้างสามารถฟ้องได้ แต่ได้เท่าไหร่ เป็นเรื่องที่ต้องพิสูจน์ ให้ศาลเห็นนะ

ลาออกไม่ถูกระเบียบ นายจ้างสามารถฟ้องได้ แต่ได้เท่าไหร่ เป็นเรื่องที่ต้องพิสูจน์ ให้ศาลเห็นนะ นายจ้างหลายท่านก็บอกว่ากฎหมายไม่แฟร์เลยลูกจ้างลาออกโดยไม่บอกล่วงหน้าหรือบอกไม่ครบนายจ้างก็ได้รับความเสียหายนายจ้างแต่ละรายก็บรรยายไปต่างๆนานาว่าตนเองได้รับความเสียหายอย่างไรบ้าง ประเด็นแรกที่ต้องพิจารณาถามว่าลูกจ้างผิดไหมที่ลาออกโดยไม่ได้บอกล่วงหน้าก็ต้องตอบเลยว่า “ผิด” เพราะ การบอกเลิกสัญญาจ้างให้อีกฝ่ายหนึ่งบอกกล่าวล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 งวด การจ่ายค่าจ้าง แต่ไม่ต้องบอกกล่าวกันล่วงหน้าเกิน 3 เดือน (ม.17 วรรค 2) แต่ถามว่าผิดแล้วมีสิทธิ์ที่จะให้เขาไม่ออกได้ไหม ก็ต้องตอบว่า “ไม่ได้” คนเขาจะออกจะเอาอะไรมารั้งอ่ะ แต่ที่ทำได้แน่ๆคือ “ฟ้องร้องและเรียกความเสียหายจากการลาออกไม่บอกล่วงหน้า” แน่นอนค่ะการที่ลูกจ้างลาออกโดยไม่ได้บอกล่วงหน้า หากนายจ้างอ้างว่ามีความเสียหายนายจ้างก็ต้องไปพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่าเสียหายอย่างไร และศาลจะเป็นผู้ใช้ดุลพินิจพิจารณาตามหลักฐานที่นำเสนอ และพิพากษา ให้ค่าความเสียหายดังกล่าวแก่นายจ้าง นายจ้างบางคนบอกว่าไม่คุ้มเลยต้องเสียค่าทนายความเสียเวลาไปศาลอีก และลูกจ้างก็ไม่ได้ ทำให้เกิดความเสียหายเยอะ เอ้า..คำตอบตัวเองก็พูดมาแล้วนี่ แต่ถ้าประสงค์จะเชือดไก่ให้ลิงดูไม่อยากให้ลูกจ้างคนอื่นเอาเป็นเยอะเยี่ยงอย่างก็ลองเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียดูและดำเนินการนะคะ กฎหมายไม่ได้ตัดสิทธิ์นายจ้างที่จะฟ้องร้องอยู่แล้วค่ะ ติดต่องาน info@legalclinic.co.th

ไม่ได้เงินเดือนงวดสุดท้ายเพราะนายจ้างอ้างว่าทำให้เกิดความเสียหายแบบนี้ก็ได้หรอคะ

ไม่ได้เงินเดือนงวดสุดท้ายเพราะนายจ้างอ้างว่าทำให้เกิดความเสียหายแบบนี้ก็ได้หรอคะ เอาคำตอบไปก่อนเลยไม่ได้ค่ะ หลักในเรื่องของค่าจ้างนี้บอกไว้ชัดเจนแล้วว่าค่าจ้างคือเงินในส่วนที่ได้ทำงานไปแล้ว หากจะมีการหักอะไรได้นั้นก็ต้องเป็นไปตามมาตรา 76 คือ **ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักเพื่อ (1) ชำระภาษีเงินได้ตามจำนวนที่ลูกจ้างต้องจ่ายหรือชำระ เงินอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ (2) ชำระค่าบำรุงสหภาพแรงงานตามข้อบังคับของสหภาพแรงงาน (3) ชำระหนึ้สินสหกรณ์ออมทรัพย์ หรือสหกรณ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันกับสหกรณ์ออมทรัพย์หรือหนี้ที่เป็นไปเพื่อสวัสดิการที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างฝ่ายเดียว โดยได้รับความยินยอมล่วงหน้าจาก ลูกจ้าง (4) เป็นเงินประกันตามมาตรา 10 หรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้าง ซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง (5) เป็นเงินสะสมตามข้อตกลงเกี่ยวกับกองทุนเงินสะสม การหักตาม (2) (3) (4) และ (5) ในแต่ละกรณีห้ามมิให้หักเกินร้อยละ 10 และจะหักรวมกันได้ไม่เกิน 1 ใน 5 ของเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกำหนดเวลาการจ่ายตาม มาตรา 70 เว้น แต่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง จะเห็นได้ว่าใน 5 วงเล็บดังกล่าวไม่มีการ พูดเรื่องของการหักหลบลบหนี้ค่าความเสียหายที่ลูกจ้างได้ทำขึ้นหรือนายจ้างอ้างว่าลูกจ้างได้ทำขึ้นแต่อย่างใด ดังนั้นจึง “หักไม่ได้” สำหรับฝั่งนายจ้างบอกว่าถ้ามีความเสียหายจริงหล่ะ ทำยังไง…? ได้...

ค่าขี้นศาลในคดีแพ่ง กรณี “คดีที่มีทุนทรัพย์”

ค่าขี้นศาลในคดีแพ่ง กรณี “คดีที่มีทุนทรัพย์” คดีที่มีทุนทรัพย์ ได้แก่ คดีที่โจทก์เรียกร้องโดยมีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ โดยจำนวนเงินหรือราคาทรัพย์ที่เรียกร้องนั้นถือเป็นทุนทรัพย์ – ค่าขึ้นศาลในคดีที่มีทุนทรัพย์โจทก์ต้องเสียอัตราร้อยละ 2 ของจำนวนทุนทรัพย์ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ซึ่งทุนทรัพย์ 10 ล้านบาท – สำหรับทุนทรัพย์พิพาทเกิน 50 ล้านบาท ส่วนที่เกินเสียอัตราร้อยละ 0.1 – สำหรับคดีมโนสาเร่ ทุนทรัพย์พิพาทไม่เกิน 300,000 บาท เสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 2 แต่ไม่เกิน 1,000 บาท อยู่เขตอำนาจศาลแขวง ติดต่อจ้าง Info@legalclinic.co.th

ฟรีแลนซ์ฟ้องศาลไหนคะพี่ ศาลแรงงานหรือศาลแพ่ง??

ฟรีแลนซ์ฟ้องศาลไหนคะพี่ ศาลแรงงานหรือศาลแพ่ง?? แน่นอนค่ะ ว่าศาลแรงงาน จะพิจารณาคดี แรงงานเท่านั้นซึ่งหมายความว่าโจรและจำเลยจะต้องมีสถานะเป็นนายจ้างลูกจ้างด้วย แต่จากคำถามของน้องที่ inbox เข้ามาน้องเข้าใจว่า ตัวเองรับงานแบบฟรีแลนซ์ แต่เขาก็เป็น “นายจ้าง” แล้วหนูก็เป็น “ลูกจ้าง” แบบนี้ก็หมายความฟ้องได้ที่ศาลแรงงานใช่ไหมคะ คำตอบคือไม่ใช่ค่ะเพราะแม้ว่าเรารับงานแบบฟรีแลนซ์และจะเรียกตัวเองว่าลูกจ้างเรียกผู้จ่ายเงินว่านายจ้างแต่ต้องดูลักษณะของการทำงานด้วย เช่น การทำงานของลูกจ้างนายจ้างสามารถกำหนดว่าให้เข้ามาทำวันไหนบ้างเวลาไหนบ้างหากไม่ปฏิบัติตามก็จะมีโทษทางวินัย มีอำนาจบังคับบัญชา แล้วก็จ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างด้วย ดังนั้นหากลักษณะงานของน้องเป็นแบบนั้นก็สามารถฟ้องที่ ศาลแรงงานได้แต่ถ้านายจ้างไม่มีอำนาจบังคับบัญชาเช่น ที่บอกไปข้างต้น มุ่งเอาความสำเร็จของงาน ก็ไม่ได้อยู่ในความหมายของคำว่านายจ้างลูกจ้าง อันเป็นเหตุให้ไม่สามารถไปฟ้องที่ศาลแรงงานหรือกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงานได้ค่ะ ติดต่องาน info@legalclinic.co.th

มาสายไม่เท่ากับลากิจ

มาสายไม่เท่ากับลากิจ ก่อนอื่นต้องบอกว่าเรื่องนี้เคยพูดไปแล้วนะคะแต่ก็จะมาพูดซ้ำให้ฟังกันอีกครั้งนึงเรื่องของการที่ลูกจ้างมาศาลและนายจ้างบังคับให้ใช้เป็นวันลากิจ ต้องเข้าใจนะ สายก็คือสาย สายไม่ใช่ลากิจ นายจ้างจะตีความว่า เพราะเธอไปติดธุระส่วนตัวของเธอมาน่ะสิ เธอถึงมาสาย ดังนั้นเธอต้องใช้ลากิจ แบบนี้มันก็เป็นการตีความที่ไม่ถูกต้องเอาเสียเลย ต้องเข้าใจก่อนว่ากฎหมายกำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิ์ลากิจธุระอันจำเป็นได้ไม่น้อยกว่า 3 วันทำงานต่อปี โดยที่กฎหมายมีเจตนารมณ์ให้ลูกจ้างลาเพื่อไปทำธุระที่จำเป็นไม่ว่าจะเป็นธุระส่วนตัวที่คนอื่นทำแทนไม่ได้หรือธุระของบุคคลในครอบครัว ที่เป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นการที่บอกว่ามาสายแล้วให้ไปใช้ลากิจจึงขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย สรุปว่าสายก็คือสายค่ะ นายจ้างจะตัดเบี้ยขยัน จะออกหนังสือเตือนจะพิจารณาไม่ปรับขึ้นเงินเดือนหรือโบนัสก็เป็นมาตรการที่นายจ้างจะต้องจัดทำแต่มาตรการทั้งหลายเหล่านี้ก็ต้องสอดคล้องกับกฎหมายด้วย มีบางองค์กรบอก ว่าทำมาตั้งนานไม่เห็นมีปัญหาเลย เธ๊อออออ เธอ ยังไม่ถูกฟ้องหรือเปล่า เพราะว่าอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจของลูกจ้างเขาไม่มี อันนี้เป็นเรื่องที่นายจ้างต้องพิจารณาและก็ให้รู้ไว้ด้วยว่าหลายคนเขาดับเครื่องชนมีมาแล้วนะ ในกรณีที่นายจ้างไม่ให้ความเป็นธรรมและไม่ดำเนินการตามกฎหมายเลย ไปฟ้องทั้งๆที่ยังร่วมงานกันอยู่ก็มีให้เห็นเยอะไป ในมุมของนายจ้างฝ้ายเข้าใจนายจ้างนะ อย่างที่บอกไปว่าฝ้ายเองเป็นทั้งลูกจ้างแล้วก็เป็นนายจ้างด้วย แต่สุดท้ายแล้วไม่ว่าจะอยู่ในฐานะนายจ้างหรือลูกจ้างการทำงานร่วมกันสิ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาได้คือการสื่อสารและการพูดคุย ลองปรับลองจูนถามหาเหตุผลของการมาสายกันดูนะคะ ปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฎหมายมากที่สุดก็จะเป็นผลดีกับทั้งสองฝ่ายค่ะ ติดต่องาน info@legalclinic.co.th

หัวหน้า Sexual Harassment ลูกน้อง นายจ้างเลิกจ้างได้!!!

หัวหน้า Sexual Harassment ลูกน้อง นายจ้างเลิกจ้างได้!!! กฎหมายคุ้มครองแรงงานได้กำหนดว่า ผู้กระทําการล่วงเกิน คุกคาม หรือก่อความเดือดร้อนรําคาญทางเพศต่อลูกจ้างจะต้องเป็นนายจ้าง หัวหน้างานผู้ควบคุมงาน ผู้ตรวจงาน กระทําต่อผู้ถูกกระทําซึ่งเป็นลูกจ้างโดยไม่จํากัดว่าจะต้องเป็นหญิงและเด็กเท่านั้น Sexual Harassment หรือ การคุกคามทางเพศ อาจไม่ถือว่าเป็นเหตุให้นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 119 โดยตรง แต่หากกำหนดไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ถือเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับกรณีร้ายแรงก็เลิกจ้างได้ ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3560/2556 โจทก์(ลูกจ้าง) ทำงานตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการฟ้องว่าจำเลย (นายจ้าง) เลิกจ้างโจทก์ โดยอ้างว่าโจทก์กระทำการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานร้ายแรงในเรื่องล่วงละเมิดทางเพศ โดยปราศจากหลักฐานยืนยันตามข้อกล่าวอ้าง จำเลยให้การว่าโจทก์กระทำล่วงละเมิดทางเพศต่อนางสาว ก. ผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นความผิดวินัยร้ายแรง ศาลฎีกาเห็นว่าคืนวันที่ 6 กันยายน 2548 ระหว่างโจทก์และนางสาวไก่พักค้างคืนที่โรงแรมเพื่อไปแจกทุนการศึกษาในวันรุ่งขึ้นที่จังหวัดเชียงราย โจทก์กระทำอนาจารอันเป็นการล่วงละเมิดทางเพศต่อน้องสาว ก. ของผู้ใต้บังคับบัญชาการกระทำดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนพรบ. คุ้มครองแรงงาน มาตรา 16 ซึ่งมีโทษทางอาญา และยังมีเป็นการฝ่าฝืนนโยบายเกี่ยวกับข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานจึงถือได้ว่าเป็นความผิดร้ายแรง ติดต่องาน info@legalclinic.co.th