กรุณารอสักครู่

 

HomeBlog

หัวหน้าแผนกไล่ออก พอไปฟ้อง บริษัทบอกว่า คนไล่ออกไม่มีอำนาจ ลูกจ้างขาดงานไปเองเกิน 3 วันบริษัทจึงต้องเลิกจ้าง

หัวหน้าแผนกไล่ออก พอไปฟ้อง บริษัทบอกว่า คนไล่ออกไม่มีอำนาจ ลูกจ้างขาดงานไปเองเกิน 3 วันบริษัทจึงต้องเลิกจ้าง กรณีที่มีผู้เข้ามาสอบถามนี้เราอาจจะเห็นได้บ่อยๆ สำหรับบริษัท ในทุกขนาด หากเป็นบริษัทขนาดเล็กบริหารงานแบบ family business ก็อาจจะเห็นได้ว่าไม่ได้มีเฉพาะกรรมการผู้จัดการหรือฝ่าย HR เป็นคนเลิกจ้าง บางทีเป็นภรรยาของท่านหัวหน้างานหรือเป็นหัวหน้าแผนกก็เลิกจ้างได้เหมือนกัน เมื่อพนักงานถูกเลิกจ้างเรียบร้อยแล้วไปใช้สิทธิที่ศาลปรากฎว่าบริษัทก็สู้คดีบอกว่าการแสดงเจตนาเลิกจ้างโดยบุคคลที่ไม่มีอำนาจนั้นย่อมไม่มีผลทำให้สัญญาจ้างที่สุดลง แถมยังสู้ด้วยว่า ลูกจ้างมาหาไม่ขาดงานไปเองจึงเป็นเหตุให้เลิกจ้าง ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย กรณีนี้ต้องพิจารณาโดยละเอียดสำหรับผู้ที่ถามเข้ามาแล้วให้ตอบทันทีเลยก็อาจจะตอบได้ยากเพราะต้องฟังข้อเท็จจริงทั้งสองฝ่าย รวมถึงดูเอกสารและหลักฐานต่างๆที่เกี่ยวข้องแต่เบื้องต้นขอให้ความเห็นดังนี้ค่ะ การแสดงเจตนาเลิกสร้างโดยบุคคลที่ไม่มีอำนาจย่อมไม่มีผลทำให้สัญญาจ้างสิ้นสุดลงเว้นแต่นายจ้างจะได้ให้สัตยาบัน หรือกระทำพฤติการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่ทำให้เห็นว่านายจ้างได้เชิดบุคคลนั้นให้มีอำนาจเลิกสร้างแทนนายจ้างเป็นตัวแทนของนายจ้างด้วยนายจ้างรู้เห็นยินยอมก็อาจถือได้ว่าบุคคลนั้นเป็นนายจ้างที่มีอำนาจเลิกจ้างได้เช่นบริษัท ABC มีนาย หล่อเป็นกรรมการผู้จัดการโดยมีนางสาวสวย เป็นหัวหน้าแผนกหนึ่ง ออกมานางสาวสวยไม่มีปากเสียงกับพนักงานภายในแผนกจึงได้เรียกพนักงาน มาบอกเลิกจ้าง ซึ่งบริษัทก็รับทราบและฝ่าย HR ก็ได้ออกหนังสือรับรองการทำงานให้ ร่วมทั้งจ่ายเงินงวดสุดท้ายและคืนเงินหลักประกันการทำงานให้แก่พนักงานรายดังกล่าวกรณีนี้ก็ถือได้ว่านางสาวสวยกระทำการเรียนนายจ้างในฐานะตัวแทนเชิญอันมีคนผูกพันในจ้างก็ได้บอกเลิกจ้างแล้ว คดีเช่นนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้งใครสนใจที่จะอ่านลองไปหาอ่านกันได้ที่คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6985/2547 ติดต่องาน info@legalclinic.co.th

นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้าง แบบนี้ถือว่าเลิกจ้างหรือไม่?

นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้าง แบบนี้ถือว่าเลิกจ้างหรือไม่?? พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานมาตรา 118 วรรค 2 ให้นิยามของคำว่าเลิกจ้างว่าการเลิกจ้างหมายถึงการกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปนั้นไม่จ่ายค่าจ้างให้ไม่ว่าจะเป็นเหตุแห่งการสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นและรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ จากนิยามดังกล่าวนั้นจึงถือได้ว่าการเลิกจ้างตามกฎหมายมีอยู่ 2 กรณีคือ 1. นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานแล้วไม่จ่ายค่าจ้าง ไม่ ว่าจะด้วยเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือหยุดเอง และ 2. ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ดังนั้นในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานแต่ไม่จ่ายค่าจ้างก็ ยังไม่เข้า นิยามของการเลิกจ้างตามที่กล่าวมาข้างต้น หากจะเทียบเคียงคดีความที่เคยมีก่อนหน้านี้คงจะต้องเทียบเคียงจากฎีกาที่ 3710/2531 โดยคดีนี้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่านายจ้างไม่ได้แสดงเจตนาเลิกจ้างแต่ไม่จ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่านายจ้างไม่ได้กีดกันห้ามจ้างเข้าไปทำงานลูกจ้างยังคงปฏิบัติหน้าที่ได้ตลอดกรณีนี้ไม่ถือว่านายจ้างเลิกจ้าง อ่าน มาถึงตรงนี้ก็คงร้องว่าอ้าว!! ไปทำงานแล้วไม่ได้ค่าจ้างจะไปทำงานเพื่ออะไรกฎหมายไม่ยุติธรรมไม่คุ้มครองเลย… ใครที่คิดแบบนี้อยู่ไม่ใช่นะอ่านให้จบก่อน กรณีที่นายจ้างยังคงให้ลูกจ้างทำงานอยู่แต่ไม่จ่ายค่าจ้างนั้นลูกจ้างมีสิทธิ์ฟ้องเรียกค่าจ้างค้างจ่ายพร้อมดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีและหากนายจ้างจงใจผิดนัดโดยปราศจากเหตุอันสมควรนายจ้างต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 15 ทุกระยะเวลา 7 วันด้วย ( อ้างอิงตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานมาตรา 9) ใครมีคำถามใน inbox ก็ใจเย็นหน่อยนะคะจะทยอยเอามาตอบเรื่อยๆในหน้าเพจนะเพื่อเป็นประโยชน์กับคนอื่นด้วย ติดต่องาน Info@legalclinic.co.th

ไม่ผ่านทดลองงาน ถือว่าเลิกจ้างไม่เป็นธรรมไหม ฟ้องได้ไหม?

ไม่ผ่านทดลองงาน ถือว่าเลิกจ้างไม่เป็นธรรมไหม ฟ้องได้ไหม?? Inbox ของคำถามนี้เป็น inbox ที่ต้องบอกว่าน้องใจเย็นก่อนที่จะขยายความใดๆต่อ โดยน้องที่เข้ามาปรึกษานี้มีอายุการทำงาน 1 เดือน นายจ้างได้บอกกล่าวล่วงหน้าแล้วว่า น้องืำงานไม่เป็นไปตามมาตรฐานการทำงาน และเกณฑ์การประเมิน รวมถึงกฎระเบียบอย่างไร จึงจะเลิกจ้างและไม่ผ่านการทดลองงาน (ก็คือนายจ้างได้ ทำหน้าที่ตามกฎหมายตามมาตรา 17 เรียบร้อยแล้ว) ซึ่งน้องก็ยังมีคำถามว่าน้องจะได้ค่าชดเชยหรือไม่และมีสิทธิ์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือเปล่า คำตอบมีดังนี้!! 1. ถ้าชดเชยจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ น้องทำงานต่อเนื่องกันครบ 120 วันและถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด 2. การทดลองงานเป็นกรณีที่ นายจ้างกำหนดระยะเวลาเพื่อทดสอบความรู้ความสามารถ ทักษะในการปฏิบัติงาน ทัศนคดีในการทำงาน ปฏิสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานและ ผลการปฏิบัติงานของลูกจ้างก่อนพิจารณาว่าจะจ้างลูกจ้างต่อไปหรือไม่ หากผลการทดลองปฏิบัติงานของลูกจ้างเป็นที่พอใจของนายจ้าง นายจ้างก็จะรับเข้าทำงานเป็นลูกจ้างประจำหากผลงานไม่เป็นที่พอใจ นายจ้างก็มีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างนั้นได้ ทั้งนี้ เพื่อที่นายจ้างจะได้คัดเลือกเฉพาะลูกจ้างที่มีคุณภาพให้ได้ทำงานกับนายจ้างต่อไป อันเป็นปกติของการบริหารงานบุคคล การที่บริษัทประเมินผลการปฏิบัติงานของโจทก์ว่าต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานจึงเป็นการพิจารณาไปตามมาตรฐานการทำงานที่พึ่งคาดหมายได้ ไม่ใช่ว่าจะนำหลักเกณฑ์ที่เพิ่งกำหนดขึ้นมาใช้ หรือเป็นการประเมินที่ไม่โปร่งใสและไม่เป็นธรรม การที่บริษัทเลิกจ้างจึงไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ใครอยากมีกรณีเทียบเคียงลองไปดูคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์คดีชนัญพิเศษที่ 860/2564 นอกเหนือ ไปกว่าหลักกฎหมายแล้ว พี่อยากฝากก็คือว่าทุกคนต่างรู้ว่าตัวเองมีสิทธิ์อะไรแต่อาจจะลืมไปว่าสิทธิ มาพร้อมๆกับหน้าที่ ดังนั้นอย่าลืมทำหน้าที่ของตัวเองให้ดี ด้วยนะคะ ติดต่องาน Info@legalclinic.co.th

นายจ้างตั้งคณะกรรมการสอบว่าผมผิด ถือเป็นการบีบออกหรือเปล่า?

นายจ้างตั้งคณะกรรมการสอบว่าผมผิด ถือเป็นการบีบออกหรือเปล่า? เป็นอีกประเด็นคำถามที่น่าสนใจ กับกรณีที่ถามมาว่านายจ้าง เกิดความไม่ไว้วางใจ ลูกจ้างรายนึงจึงได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวน ระหว่างการสอบสวนลูกจ้างรู้สึกกดดันไม่สบายใจจึงได้ยื่นใบลาออก หลังจากยื่นใบลาออกก็มาสอบถามว่ากรณีนี้ถือว่าถูกบีบออกหรือไม่และจะสามารถเรียกร้องเงินค่าชดเชยได้เท่าไหร่ ต้องขอเรียนตามตรงค่ะหลายๆครั้งคำว่าบีบออกไม่ได้ มีคำนิยาม ตายตัวตรงตัวเป๊ะๆตามกฎหมาย ว่าต้องทำอย่างไรจึงจะถือว่าบีบออก จึงต้องพิจารณา จากข้อเท็จจริงในแต่ละรายและแต่ละเรื่องไปที่สำคัญพิจารณาจากข้อมูลของฝ่าย 1 ฝ่ายใดแต่ฝ่ายเดียวไม่ได้ จึงไม่สามารถตอบได้ว่ากรณีนี้ ถือว่าบีบออกหรือไม่แต่ที่แน่ๆในกรณีนี้มีคำพิพากษาศาลฎีกาเทียบเคียง คือคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ 312/2564 โดยคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนาญพิเศษดังกล่าวก็เป็นเรื่องใกล้เคียงกันค่ะเรื่องกรณีดังกล่าวได้สอบสวนแล้วและปรากฏว่าลูกจ้างมีความผิดด้วย แต่อยู่ระหว่างรวบรวมเอกสารหลักฐาน เพื่อพิสูจน์ความเสียหาย และในทางนำสืบทางบริษัทก็สามารถนำสืบได้ว่า ไม่ได้มีการข่มขู่ให้เขียนใบลาออกแต่อย่างใดแต่ลูกจ้างเป็นผู้พิจารณา ตัวเองรู้สึกกดดันกับการถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนและเป็นผู้ลาออกเองโดยความสมัครใจในคดีนี้ศาลจึงพิพากษาให้นายจ้างชนะคดีและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมแต่อย่างใด คดีน่าสนใจนะคะใครอยากลองอ่านพฤติการณ์ของคำว่าบีบออกว่าใช่หรือไม่ใช่คำพิพากษานี้ก็เป็นอีกหนึ่งคำพิพากษาที่น่าสนใจค่ะลองไปหาอ่านดูนะคะ ติดต่องาน Info@legalclinic.co.th

“มาทำงานก็อาจไม่ได้ตังค์ ลาออกไปซะดีกว่า” พูดแบบนี้ถือว่าบีบออกหรือไม่ ?

“มาทำงานก็อาจไม่ได้ตังค์ ลาออกไปซะดีกว่า” พูดแบบนี้ถือว่าบีบออกหรือไม่? ช่วงนี้มีคนเล่า พฤติการณ์ต่างๆให้ฟังเยอะมากว่าแบบนี้ถือว่าบีบออกหรือเปล่า ต้องขอเรียนตามตรงค่ะหลายๆครั้งคำว่าบีบออกไม่ได้ มีคำนิยาม ตายตัวตรงตัวเป๊ะๆตามกฎหมาย ว่าต้องทำอย่างไรจึงจะถือว่าบีบออก จึงต้องพิจารณา จากข้อเท็จจริงในแต่ละรายและแต่ละเรื่องไปที่สำคัญพิจารณาจากข้อมูลของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดแต่ฝ่ายเดียวไม่ได้ จึงไม่สามารถตอบฟังธง เป๊ะ โช๊ะ โด๊ะ เด๊ะ ให้ท่านได้ในทันที ดั่งใจท่านหมาย เลยอาจจะสร้างความขุ่นข้องหมองใจให้แก่ท่านผู้สอบถามบ้าง แต่ก็ไม่ขออภัย เพราะไม่ได้ทำอะไรผิด แต่เพราะว่าคำถามมันเป็นประโยชน์เลยขอเอามาตอบหน้าเพจโดยการเทียบเคียงกรณีต่างๆที่ลูกจ้างเข้าใจว่าเป็นการบีบออกแต่ศาลวินิจฉัยว่าไม่ใช่มาให้ท่านทั้งหลายฟัง เผื่อว่าจะเกิดประโยชน์และจะทำให้ใช้ดุลพินิจในการตัดสินใจลาออกได้ถี่ถ้วนยิ่งขึ้น ได้คำพิพากษาที่จะนำมาเล่าในวันนี้ก็คือ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ 622-623/2564 พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน มาตรา 118 วรรคสอง บัญญัติว่า การเลิกจ้างตามมาตรานี้ หมายความว่าการกระทำใดที่นายจ้าง “ไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไป+ไม่จ่ายค่าจ้างให้” ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายรวมถึง กรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป ดังนั้น ในความหมายของการเลิกจ้างดังกล่าวข้างต้น จะต้องเป็นกรณีที่นายจ้างต้องกระทำการใดที่ไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ การที่นาย ฤ. ผู้จัดการบริษัท พูดว่าเดือนพฤศจิกายนนี้ น่าจะได้รับค่าจ้างครั้งสุดท้ายและเดือนธันวาคจะไม่ได้รับค่าจ้าง ใครอยู่ก็ได้แต่ไม่ได้เงินใครไม่อยู่ให้ไปหางานทำ บริษัท ยังไม่ได้จ่ายค่าเช่าให้กับเจ้าของตึก แถมมีภรรยาผู้จัดการพูดเสริมมาอีกว่า “ไม่ต้องมาทำงานแล้วไม่ได้เงินเดือน ดีกว่ามาทำงาน แต่ไม่ได้เงินเดือนจะเสียความรู้สึกกัน” แล้วฟางมาถึงท่อนนี้หลายคนอาจคิดว่า นี่แหละบีบออก!!...

ลูกเมียน้อยมีสิทธิได้รับมรดกจากบิดาหรือไม่ ?

ลูกเมียน้อยมีสิทธิได้รับมรดกจากบิดาหรือไม่ ? ในทางกฎหมายนั้น ลูกเมียน้อย (ลูกนอกสมรส) ก็อาจมีสิทธิได้รับมรดกของบิดาได้ โดยต้องพิจารณา ดังนี้ 1. บิดามีการจดทะเบียนรับรองบุตร 2. มีการรับรองโดยพฤตินัย เช่น บิดาแจ้งในใบเกิดว่าเป็นบิดาของบุตร บิดาให้บุตรใช้นามสกุล บิดาพาเมียน้อยไปฝากครรภ์ที่โรงพยาบาล เป็นต้น ซึ่งหากมีกรณีข้างต้น ลูกเมียน้อยดังกล่าวก็จะถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย จะมีสิทธิได้รับมรดกของบิดาในฐานะทายาทโดยธรรมได้ ทั้งนี้เรื่องการรับมรดกของลูกเมียน้อยนั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงโดยละเอียด การที่ลูกเมียน้อยจะมีสิทธิรับมรดกหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงเป็นรายกรณีไป ควรปรึกษาทนายความที่มีความเชี่ยวชาญ ติดต่องาน info@legalclinic.co.th

คำมั่นจะให้เช่าต้องมีข้อตกลงในสัญญาเกี่ยวกับ ค่าเช่า + ระยะเวลาเช่า ไม่เช่นนั้นถือว่าไม่ใช่คำมั่นจะให้เช่า

คำมั่นจะให้เช่าต้องมีข้อตกลงในสัญญาเกี่ยวกับ ค่าเช่า + ระยะเวลาเช่า ไม่เช่นนั้นถือว่าไม่ใช่คำมั่นจะให้เช่า เปิดมาหัวข้อวันนี้พูดด้วยเรื่องคำมั่น ก็ต้องขออธิบายกันสักนิดว่าคำมั่นคืออะไร “คำมั่น หมายถึง การแสดงเจตนาให้ความแน่นอนว่าฝจะกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง โดย “คำมั่น” ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีได้หลายกรณี เช่น คำมั่นว่าจะให้รางวัล คำมั่นว่าจะให้เช่า ซึ่งคำมั่นจะต้องมีความชัดเจน ในข้อตกลงดังกล่าว ดังนั้น คำมั่นจะให้เช่าต้องมีลักษณะข้อตกลงในสัญญาชัดแจ้งเกี่ยวกับ “ค่าเช่า” “ระยะเวลาเช่า” มิฉะนั้นถือว่าไม่ใช่คำมั่นจะให้เช่า หากผู้ให้เช่าไม่ให้เช่าต่อ ผู้เช่าไม่มีอำนาจฟ้องให้ผู้ให้เช่าต่อสัญญาเช่าได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3801/2555 สัญญาเช่ามีคำมั่นว่าก่อนครบสัญญาเช่า โจทก์และจำเลยจะปรับเปลี่ยนค่าเช่าหรือระยะเวลาเช่าในอัตราที่เป็นธรรม ดังที่ปฏิบัติมาเป็นปกติประเพณี ข้อความดังกล่าวไม่มีรายละเอียดชัดเจนเกี่ยวกับค่าเช่าหรือระยะเวลาเช่าที่แน่นอนอันเป็นสาระสำคัญของสัญญาเช่า จึงยังไม่เข้าลักษณะคำมั่นจะให้เช่า ซึ่งเมื่อจำเลยเพิกเฉยไม่สนองรับคำเสนอที่โจทก์แจ้งไป ถือว่าคำเสนอของโจทก์ตกไป สัญญาเช่าจึงไม่เกิดขึ้น กรณีถือได้ว่าจำเลยไม่ได้กระทำการอันเป็นการโต้แย้งสิทธิหน้าที่ของโจทก์ ที่โจทก์จะบังคับให้จำเลยทำสัญญาเช่าฉบับใหม่กับโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย

ผัวแยกไปอยู่กับเมียใหม่ จะมาฟ้องหย่าเมียเก่า โดยอ้างเหตุสมัครใจแยกกันอยู่ไม่ได้

ผัวแยกไปอยู่กับเมียใหม่ จะมาฟ้องหย่าเมียเก่า โดยอ้างเหตุสมัครใจแยกกันอยู่ไม่ได้ หลายคนอาจจะเคยได้ยินคร่าวๆว่าหนึ่งในเหตุของการฟ้องหย่าก็คือ … สามีและภรรยาสมัครใจแยกกันอยู่หรือไม่อาจอยู่ร่วมกันได้ ปกติสุขเกิน 3 ปีก็สามารถ นำมาเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ แต่กรณีที่สอบถามเขาว่ามาเนี่ย คือผัวไปมีเมียน้อย ย้ายไปเสวยสุขกันแล้วจะมาหัวหมอใช้เหตุนี้ในการฟ้องหย่าเมียหลวงอีก…ทำไมไม่อายขนาดนี้นะ!! ก่อนที่จะอารมณ์ขึ้นไปมากกว่านี้บอกทงคำต่อไปเลยละกันว่าตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาบอกว่าผัวเนี่ยจะอ้างเหตุนี้ในการฟ้องหย่าเมียไม่ได้ โดยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10560/2557 สามีเป็นฝ่ายตัดสินใจแยกไปอยู่ที่อื่นเองแล้วกลับไปมีภริยาใหม่จนมีบุตรด้วยกัน ภริยาจึงไม่ได้ไปมาหาสู่อยู่กินหลับนอนฉันสามีภริยาด้วย สามีฟ้องหย่าไม่ได้ เพราะมิใช่พฤติการณ์ที่แสดงว่าภริยาสมัครใจแยกกันอยู่ เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขมาตลอดมาเกิน 3 ปี อันเป็นเหตุให้สามีฟ้องหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 แค่นี้ไปมีเมียใหม่ก็ว่าแย่แล้ว กลับ มารับผิดชอบดูแลตกลงแบ่งทรัพย์สิน และขอหย่าให้เป็นที่เรียบร้อยจะดีกว่า เอาเหตุที่ตัวเองผิดหมดมาเป็นเหตุฟ้องหย่าอีก อ่านแล้วปวดหัว เฮ้อ

นายจ้างจ่ายค่า OT เหมาเท่ากันทั้งบริษัท ผิดกฎหมายหรือไม่?

นายจ้างจ่ายค่า OT เหมาเท่ากันทั้งบริษัท ผิดกฎหมายหรือไม่ การคำนวณค่าจ้างในการทำงานล่วงเวลา คือ การทำงานที่เกินจากการทำงานเวลาปกติไปแล้ว กฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างไม่น้อยกว่า 1.5 (หนึ่งเท่าครึ่ง) ของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง นายจ้างจะกำหนดเป็นเรทตายตัว ยกตัวอย่างเช่น 50บาท/ชั่วโมงทุกตำแหน่งนั้นย่อมทำไม่ได้ เพราะนายจ้างต้องคำนวนค่าทำงานล่วงเวลาตามอัตราค่าจ้างหรือเงินเดือนของลูกจ้างคนนั้นๆ หากนายจ้างคนไหนบริษัทไหนยังคิดแบบนี้อยู่รีบแก้ไขนะคะ เพราะกฎหมายกำหนดโทษไว้ทั้งจำทั้งปรับเลยค่ะ

นายจ้างกำหนดจ่ายค่าล่วงเวลาแบบเหมาจ่าย ผิดกฎหมายหรือไม่ ?

นายจ้างกำหนดจ่ายค่าล่วงเวลาแบบเหมาจ่าย ผิดกฎหมายหรือไม่ ? OT หรือค่าล่วงเวลา คือ เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานล่วงเวลาในวันและเวลาทำงานปกติ โดยการทำงานล่วงเวลาถือเป็นสิทธิของลูกจ้างที่จะทำหรือไม่ก็ได้ นายจ้างไม่มีสิทธิที่จะใช้หรือบังคับให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้ ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างเป็นคราวๆไป ดังนั้น นายจ้างย่อมไม่มีสิทธิมากำหนดการจ่ายค่าล่วงเวลาแบบเหมาจ่าย ต้องจ่ายตามที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนดไว้ว่า การจ่ายค่าล่วงเวลาในวันทำงาน โดยให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างได้ทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน โดยให้จ่ายในอัตราไม่น้อยกว่า 1.5 ของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ ข้อกำหนดการจ่ายค่าล่วงเวลาแบบเหมาจ่ายของนายจ้างจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามคำพิพากษาฎีกาที่ ๕๙๗๘/๒๕๕๐ ข้อตกลงที่รวมค่าล่วงเวลาเหมาจ่ายไปกับค่าจ้างในเวลาทำงานตามปกติโดยไม่มีการคิดค่าล่วงเวลาที่ทำจริง เป็นการเอาเปรียบลูกจ้างทั้งมีลักษณะเป็นการผูกพันให้ลูกจ้างต้องยอมทำงานล่วงเวลาตลอดไปโดยนายจ้าง ไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นคราวๆ ไป จึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งขัดต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน และตกเป็นโมฆะ เพิ่มเติมอีกนิด แล้วถ้าเหมาจ่ายคำนวนแล้วจ่ายไม่ครบถ้วนตามกฎหมายมีความผิดอีกนะคะ ติดไว้ก่อนแล้วจะมาอธิบายนะ