กรุณารอสักครู่

 

HomeSearchลาไปตรวจครรภ์ ใช้ "ลาคลอด" หรือ "ลาป่วย"

กฏหมายแรงงานลาไปตรวจครรภ์ ใช้ “ลาคลอด” หรือ “ลาป่วย”

25 July 2022
ก่อนอื่นขอบอกก่อนเลยว่า “ท้อง ไม่ใช่ อาการป่วย” ดังนั้น การที่พนักงานจะลาไปตรวจครรภ์ตามแพทย์นัดจะไปยังคับให้เค้าใช้ ให้ลาป่วย ลากิจ หรือใช้วันหยุดพักผ่อน “ไม่ได้” เมื่อพูดถึงวันลาของลูกจ้าง ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ได้กำหนดคุ้มครองลูกจ้างให้มีสิทธิลาได้ตามกฎหมาย แต่ในวันนี้จะมาพูดคุยในประเด็นเรื่อง การลาไปตรวจครรภ์เป็นการ “ลาคลอด” หรือ “ลาป่วย” สำหรับเรื่องดังกล่าวนี้จะเป็น ลาคลอด หรือ ลาป่วย กฎหมายกำหนดไว้ชัดเจนเลยว่า 1. การลาคลอด ลูกจ้างหญิงมีสิทธิลาคลอดได้ 98 วัน (สิทธิเกิดทันทีที่มีสถานะเป็นลูกจ้างหากตั้งครรภ์ก็มีสิทธิลาคลอด) 2. โดยให้รวมการลาเพื่อไปตรวจครรภ์ตามแพทย์นัดเป็นการ “ลาคลอดบุตร” ด้วย 3. ให้นับวันหยุดที่มีระหว่างลาคลอดบุตร นั้นเข้าไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี ทั้งนี้ ตาม ม.41 ดังนั้นจึงไม่ต้องเถียงกันให้วุ่นวายว่าการไปตรวจครรภ์ตามแพทย์นัด ควรใช้วันลาอะไร นอกจากนี้ กฎหมายยังได้คุ้มครองลูกจ้างหญิงที่ตั้งครรภ์ โดยกำหนดให้ 4. นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างที่ลาคลอดบุตร ไม่เกิน 45 วัน (ม.59) 5. ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างหญิงตั้งครรภ์...

กฎหมายกฏหมายแรงงานลาคลอดได้กี่วัน นับยังไง ?

3 April 2023
ลาคลอดได้กี่วัน นับยังไง ? 1. ลาคลอดได้ 98 วัน ซึ่งในระยะเวลา 98 วันของการลาคลอดนี้ จะนับรวมการลาเพื่อไปตรวจครรภ์ก่อนคลอดบุตรด้วย เป็นการลาเพื่อคลอดบุตร 90 วัน และลาเพื่อไปตรวจครรภ์เดือนละครั้ง รวม 8 วัน ทั้งหมดเป็น 98 วัน เพราะฉะนั้น หากต้องการลาไปตรวจครรภ์ เดือนละครั้ง ก็สามารถใช้สิทธิวันลาคลอดได้เลย (ไม่ใช่สิทธิลาป่วย เพราะกาตั้งท้องไม่ใช่โรค) 2. หากลูกจ้าง/พนักงาน ตกลงกับทางบริษัทกันได้แล้วว่าจะเริ่มลาคลอด วันแรกในวันไหน สิทธิวันลาคลอดนั้นก็จะนับรวดเดียวจากวันนั้นๆ ยาวไปเลยจนครบ 90 วัน 3. ลาคลอดนับรวมวันหยุด โดย มาตรา 41 แห่ง พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ กำหนดให้นับรวมวันหยุดในระหว่างวันลาคลอดนั้นด้วย ดังนั้น หากมีวันหยุดทั้ง 3 กรณี คือ วันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี และวันหยุดพักผ่อนประจำปี ระหว่างวันลาเพื่อการคลอดบุตรต้องนับรวมเข้าไปในวันลาคลอด 98 วันด้วย ดังนั้น...