ค่าชดเชย กับ ค่าเสียหาย จากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมต่างกันอย่างไร
หลายคนอาจจะยังไม่ทราบ แต่ตามกฎหมายแล้ว “ค่าชดเชย” กับ “ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม” มีความแตกต่างกัน
เนื่องด้วยช่วงเศรษฐกิจแบบนี้ บางบริษัทก็ปิดตัวลง มีการเรียกพนักงานไปคุยขอจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย หรือบางที่แย่หน่อยที่หาเรื่องเลิกจ้างแบบไม่จ่ายเลยก็มี และเมื่อเกิดกรณีนายจ้างเลิกจ้าง โดยไม่ได้มีเหตุอันสมควร กฎหมายคุ้มครองแรงงาน แบ่งเรื่องเงินเยียวยาเป็น 2 กรณี ดังนี้
🚩🚩ค่าชดเชย🚩🚩
ลูกจ้างจะได้ต่อเมื่อ = ถูกเลิกจ้าง โดยที่ลูกจ้างไม่ได้กระทำผิดตามมาตรา 119 พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ = กฎหมายกำหนดอัตราไว้ให้แล้ว
- ทำงานต่อเนื่องครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ได้ค่าชดเชย 30 วัน
- ทำงานครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี ได้ค่าชดเชย 90 วัน
- ทำงานครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี ได้ค่าชดเชย 180 วัน
- ทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี ได้ค่าชดเชย 240 วัน
- ทำงานครบ 10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปี ได้ค่าชดเชย 300 วัน
- ทำงานครบ 20 ปี ขึ้นไป ได้ค่าชดเชย 400 วัน
🚩🚩ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม🚩🚩
1.กฎหมายไม่ได้กำหนดจำนวนเงินไว้ แต่เป็นดุลยพินิจศาลกฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ว่าการกระทำในลักษณะไหน จึงจะเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม แต่ให้อำนาจอย่างกว้างๆ แก่ศาลแรงงานในการใช้ ดุลยพินิจวินิจฉัยว่าการเลิกจ้างใดเป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง และกำหนดแนวทางในการพิจารณาว่า ให้ศาลคำนึงถึงอายุของลูกจ้าง ระยะเวลาการทำงานของลูกจ้าง ความเดือดร้อนของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง มูลเหตุแห่งการเลิกจ้าง ค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ ประกอบการพิจารณาด้วย
2. ดังนั้น เงินทั้งสองส่วนจึงเป็นคนละก้อนกัน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าท่านจะได้ทั้งสองส่วนในทุกกรณี เพราะหากท่านได้รับค่าชดเชยเป็นการเยียวยา ซึ่งศาลแรงงานใช้ดุลยพินิจว่าเพียงพอแล้ว ท่านก็อาจไม่ได้รับค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าทุกกรณีที่ลูกจ้างจะได้รับค่าชดเชยหรือค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม เพราะหากลูกจ้างกระทำผิดจริง บริษัทได้มีการเตือนแล้วแต่ยังมีการทำผิดซ้ำ ลูกจ้างก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินจำนวนดังกล่าว.
——– 💙
ติดต่องานขอทราบค่าบริการ
💬คดีความ
💬ที่ปรึกษากฎหมาย
💬ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง Thai/Eng
💬งานบรรยายกฎหมายแรงงาน PDPA
💬 VISA & WORKPERMIT
สอบถามค่าบริการได้ทาง
และสำหรับท่านใดที่เห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ สามารถแชร์ หรือนำไปอ้างอิงก็สามารถนำไปใช้ได้เลยนะคะ แต่ช่วยใส่ Link Page ต้นทางของคลินิกกฎหมายแรงงานให้ด้วยน้า 😊