กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฏหมายแรงงานในการเลิกจ้างนับรวมระยะเวลาทดลองงานหรือไม่

7 May 2021

เจอคำถามที่น่าสนใจมาอีกแล้ว  ในกรณีที่ว่า  ทดลองงาน 6 เดือน ต่อมาทำสัญญาจ้างเป็นพนักงานประจำ ทำไปได้อีก 6 เดือน ก็รู้สึกว่าพนักงานยังไม่ตอบโจทย์  ต้องการเลิกจ้างและจ่ายค่าชดเชยให้ตามกฎหมาย แต่ยังสงสัยว่าต้องนับอายุการทำงานอย่างไร เฉพาะช่วงที่ทำสัญญาจ้างหรือนับตั้งแต่ช่วงทดลองงาน

โพสต์นี้คลินิกกฎหมายแรงงานมีคำตอบค่ะ มาอ่านกัน

1.ต้องนับรวมนับตั้งแต่ เริ่มแรกที่ลูกจ้างได้เข้ามาทำงาน จนถึงวันสุดท้ายที่ทำงาน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าอยู่ในช่วงทดลองงานหรือไม่

2.เหตุที่ ต้องเป็นไปตามข้อ 1 นั้นเนื่องจาก พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 20 กำหนดว่า  “ การที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานติดต่อกันโดยนายจ้างมีเจตนาที่จะไม่ให้ลูกจ้างนั้นมีสิทธิใดตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่ว่านายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานในหน้าที่ใด และการจ้างแต่ละช่วงมีระยะเวลาห่างกันเท่าใดก็ตาม ให้นับระยะเวลาการทำงานทุกช่วงเข้าด้วยกัน เพื่อประโยชน์ในการได้สิทธิของลูกจ้างนั้น”

 

📌 ข้อสังเกตุ 📌

ดังนั้น บริษัทใดที่นายจ้างถึงแบ่งสัญญาจ้างออกเป็นช่วงๆ บางบริษัทก็เป็นรายปี และเมื่อครบระยะเวลาสัญญา ก็จ้างต่ออีกเป็นรายปีไปเรื่อยๆ หรือในบางบริษัท ก็จะให้เว้นช่วงการทำงานไว้ 1-2 อาทิตย์ค่อยต่อสัญญาใหม่ เพื่อให้เข้าใจว่าขาดจากสัญญาเดิม เพื่อเลี่ยงการนับอายุงานต่อเนื่อง ก็โปรดเข้าใจเสียใหม่โดยไปอ่านทบทวนในมาตรา 20 ข้างต้น ว่าหากมีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงการนับระยะเวลาเข้าด้วยกันกฎหมายก็ยังให้นับรวมอยู่ดี

ดังนั้นหาก นายจ้างประสงค์จะไม่จ่ายค่าชดเชยก็จำเป็นที่จะต้อง พิจารณาประเภทการทำงานแล้ว แบ่งประเภทสัญญาให้ถูกต้องเหมาะสมกับการทำงานรวมถึงสอดคล้องกับกฎหมายด้วยนะคะ หากคิดไม่ออกว่าทำอย่างไรก็ไม่เป็นไร ติดต่อจ้างเป็นที่ปรึกษาได้ค่ะเดี๋ยวไปช่วยทำเอง 😆

———- 💙

ติดต่องานขอทราบค่าบริการ

💬คดีความ

💬ที่ปรึกษากฎหมาย

💬ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง Thai/Eng

💬งานบรรยายกฎหมายแรงงาน PDPA

💬 VISA & WORKPERMIT

สอบถามค่าบริการได้ทาง

Info@legalclinic.co.th

และสำหรับท่านใดที่เห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ สามารถแชร์ หรือนำไปอ้างอิงก็สามารถนำไปใช้ได้เลยนะคะ แต่ช่วยใส่ Link Page ต้นทางของคลินิกกฎหมายแรงงานให้ด้วยน้า 😊