กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฏหมายแรงงานงานผลิตสารเคมีอันตราย ถ้าหากมีอุปกรณ์ป้องกันแล้ว นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างทำงาน 8 ชั่วโมง/วัน ลูกจ้างจะต้องได้รับค่าล่วงเวลาหรือไม่

10 July 2025
งานผลิตสารเคมีอันตราย ถ้าหากมีอุปกรณ์ป้องกันแล้ว นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างทำงาน 8 ชั่วโมง/วัน ลูกจ้างจะต้องได้รับค่าล่วงเวลาหรือไม่
 
แม้ว่าจะเป็นงานผลิตสารเคมีอันตราย หรือใช้สารเคมีอันตรายเป็นสารตั้งต้นในการผลิต แต่หากลักษณะของโรงงานผลิตสารเคมีปลอดภัยตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด มีอุปกรณ์และระบบป้องกัน อีกทั้งงานของตัวลูกจ้างก็ไม่ใช่งานที่ต้องสัมผัสกับสารอันตรายเป็นระยะเวลานานก็ถือว่าไม่ใช่งานอันตรายที่ห้ามทำเกิน 7 ชั่วโมง/วัน ลูกจ้างจะไม่ได้รับค่าล่วงเวลา
 
แต่ถ้าหากไม่เหมือนกรณีตามที่ได้กล่าวไปข้างต้นทุกประการ เช่น แม้ตัวโรงงานและอุปกรณ์ป้องกันทุกอย่างจะครบถ้วนตามมารฐาน แต่ลูกจ้างต้องทำงานโดยที่ต้องสัมผัสสารเคมีนาน 7-8 ชั่วโมง กรณีนี้ลูกจ้างก็มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาเพิ่มเติมเช่นกัน ไม่ต้องไปคำนึงถึงเรื่องมีอุปกรณ์หรือระบบป้องกันตัวลูกจ้างหรือไม่ เพราะถือว่างานที่ลูกจ้างทำเป็นงานอันตรายตามกฎหมายแล้ว
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9548-9570/2539
คุณสมบัติของสารเฟอร์ฟูรัลและเฟอร์ฟูริลแอลกอฮอล์ แม้ในอุณหภูมิปกติก็ระเหยเป็นไอได้ และเมื่อสัมผัสทางผิวหนังหรือเยื่อบุตาก็ทำให้ผิวหนังหรือดวงตาได้รับอันตราย หากเข้าสู่ร่างกายโดยทางหายใจหรือทางปากก็อาจเกิดอันตรายต่อร่างกายได้ สารดังกล่าวจึงเป็นวัตถุเคมีที่เป็นอันตรายในตัวของมันเอง เมื่อสารดังกล่าวเป็นสารที่ระเหยได้ในอุณหภูมิปกติ บุคคลที่ทำงานผลิตสารดังกล่าวจึงอาจได้รับอันตรายตลอดเวลา โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยทำงานด้านการผลิตสารดังกล่าว งานของโจทก์จึงเป็นงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือร่างกาย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือร่างกายของลูกจ้าง
 
ทั้งนี้ไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยจะมีระบบป้องกันอันตรายหรืออุบัติเหตุดีเพียงใดและลูกจ้างของจำเลยเคยได้รับอันตรายหรือไม่ งานดังกล่าวของจำเลยจึงตกอยู่ในบังคับประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน จำเลยจะต้องจัดให้ลูกจ้างทำงานไม่เกินสัปดาห์ละ 42 ชั่วโมง เมื่อปรากฎว่าจำเลยให้โจทก์ทำงานสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมง หรือเฉลี่ยวันละ 8 ชั่วโมงโดยทำงาน 6 วัน เวลาทำงานปกติคือ 8 ถึง 17 นาฬิกา พัก 12 ถึง 13 นาฬิกา โจทก์จึงทำงานล่วงเวลาวันละ 1 ชั่วโมง ซึ่งจำเลยต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่โจทก์
 
คำพิพากษาฎีกาที่ 12115-12180/2547
นายจ้างผลิตสินค้าที่ต้องใช้สารเคมีอันตรายเป็นวัตถุดิบ ลูกจ้างมีเวลาทำงาน 7 ชั่วโมง 40 นาที ตัวลักษณะของโรงงานเป็นระบบปิด พนักงานที่ทำงานในสายพานผลิตไม่ได้สัมผัสกับผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ลูกจ้างที่ต้องสัมผัสกับสารเคมีโดยตรงก็สัมผัสเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ 10-20 นาที วันหนึ่งไม่กี่ครั้ง ไม่ได้สัมผัสติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนานถึง 7-8 ชั่วโมง อีกทั้งตัวโรงงานก็ปฏิบัติเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยของกฎกระทรวงทุกประการ และตัวนายจ้างก็ได้จัดให้ลูกจ้างสวมอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลแล้ว
 
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า งานผลิตสารเคมีอันตราย ถือเป็นงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง ซึ่งกำหนดขึ้นเพื่อคุ้มครองลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสารเคมีไม่ให้ได้รับหรือสัมผัสกับสารเคมีเป็นระยะเวลานานเกินควร ซึ่งในกรณีดังกล่าว ลูกจ้างไม่ได้สัมผัสกับสารเป็นระยะเวลานาน อีกทั้งทางโรงงานก็ได้มีการป้องกันที่เป็นตามมาตรฐานของกฎกระทรวง งานของลูกจ้างจึงไม่ใช่งานที่อาจเป็นอันตรายต่อความปลอดภัยและสุขภาพ ลูกจ้างที่ทำงานไม่เกิน 8 ชั่วโมง/วัน จะไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย
 
🏛️ สนใจติดต่องาน ขอทราบค่าบริการ ⚖️
💬 คดีความ
💬 ที่ปรึกษากฎหมาย
💬 ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง 💬Thai/Eng
💬 งานบรรยาย/อบรม
💼 in-house training
 
สอบถามค่าบริการได้ทาง info@legalclinic.co.th
 
ช่องทางความรู้อื่นๆสามารถติดตามได้ที่
🌐 https://legalclinic.co.th/
 
🌐 https://www.youtube.com/labourlawclinic
 
🌐 https://www.tiktok.com/@labourlawclinic
 
#ลูกจ้าง #hr #คลินิกกฎหมายแรงงาน #มนุษย์เงินเดือนรู้กฎหมาย #ทนายฝ้าย #กฎหมายแรงงาน #วันหยุด #โอที #ot #ค่าจ้าง #ค่าแรง #ค่าทำงาน
#คดีแรงงาน #ทนายคดีแรงงาน #ทนายด้านแรงงาน #HR #เงินเดือน #ลาออก #เลิกจ้าง #PROFESSIONAL #บริษัท #นายจ้าง #ค่าชดเชย #ที่ปรึกษากฎหมาย #ลูกน้อง #ลูกจ้าง #เจ้านาย #กฎหมายแรงงาน #สัญญาจ้าง
#ONLINETRAINING #ไล่ออก #ระบบระเบียบPDPA #PDPA #แรงงาน #กฎหมาย #ประกันสังคม
#PARTTIMEJOBS #PARTTIME